ใต้ร่มธรรม

วิถีธรรม => พุทโธโลยี - เวทีสะท้อนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ฐิตา ที่ มีนาคม 29, 2013, 09:53:46 pm

หัวข้อ: สังขตะ - อสังขตะ > "สิ่ง"นั้น :พุทธวจน
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มีนาคม 29, 2013, 09:53:46 pm
(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xtp1/v/t1.0-9/s720x720/11146560_948743631837428_3431829459128485304_n.jpg?oh=58c5f0120dbb526c4a4cb88a7a737d28&oe=55C22228&__gda__=1443473855_05e1a7adfdb4ded6d042565625dd9be2)
>> F/B ไปให้ถึงซึ่งโลกุตระ :https://www.facebook.com/groups/104243923041392/ (https://www.facebook.com/groups/104243923041392/)

 (http://www.youtube.com/watch?v=HRh4Ot87LKE#)นิพพานเป็นอย่างไร?
[พุทธวจน]
ภิกษุ ท.! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ);
๒. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ) ;
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏก (ฐิตสฺส อญ ฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คือสังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.

ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ) ;
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ) ;
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺ ญถตฺตํ ปญฺญายติ).
ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.
- ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗.

ภิกษุ ! ในปัญหาของเธอนั้น เธอไม่ควรตั้งคำถามขึ้นว่า
มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลมเหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือในที่ไ­หน?”
ดังนี้เลย, อันที่จริง เธอควรจะตั้งคำถามขึ้นอย่างนี้ว­่า:
“ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน?
ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม
ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน?
นามรูป ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือในที่ไ­หน? ดังนี้ต่างหาก.

ภิกษุ ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้:“สิ่ง” สิ่งหนึ่ง
ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง
เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ไม่ม­ีที่สุด
แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดย­รอบ,นั้นมีอยู่.
ใน “สิ่ง”นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง
นั้นแหละความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม
ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูปย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ.
นามรูป ดับสนิทใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ, ดังนี้”.
บาลี เกวัฏฏสูตร สี. ที. ๙/๒๗๗/๓๔๓.
ตรัสแก่เกวัฏฏะคหบดี ที่ปาวาริกัมพวัน เมืองนาลันทา.

(https://lh6.googleusercontent.com/-zCaQfcJeDqA/UVWQiwAVwVI/AAAAAAAAN0s/46sIUaDWKds/w497-h373/pindabad.paint.jpg)