-
(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpa1/v/t1.0-9/11128_359380117573063_403118324283087184_n.jpg?oh=75bf5b2d4f3e7c5671ded8e3842640c8&oe=550E7ADC&__gda__=1423398917_6d444f103d7b625f75e98270b2928357)
รินไซเซน RINZAIZEN
จิตยิ่งนิ่ง พิธีกรรม ยิ่งเป็นของไม่จำเป็น
สมาธิยิ่งแน่วแน่หนทางยิ่งเด่นชัด
เมื่อบรรลุซึ่งจิตหนึ่ง พิธีกรรม คือสิ่งแรกที่ถูกทำลาย
พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์สูงสุดคือวิถีชีวิตประจำวัน
(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpa1/v/t1.0-9/p128x128/11128_359380117573063_403118324283087184_n.jpg?oh=339ba4a71392c71eb8a2a283ca61f605&oe=5506B0A3&__gda__=1427936037_32e5c551e458f88b7279abf221a3e5d5)
จิตที่กระเด็นกระดอน ก็ดุจดังสายน้ำที่ซัดสาดก้อนหิน
จิตหนึ่งก็ดุจดังสายน้ำ ยิ่งไหลลึกยิ่งนิ่งเงียบยาวนาน
ไม่มีอะไรที่พิเศษ และไม่มีอะไรที่ธรรมดา
(https://lh6.googleusercontent.com/-JCf45uHUnNU/UchZeOxkbeI/AAAAAAAAE_A/o80sBSN0fXo/w506-h491-o/1010550_535451823178754_911807791_n.jpg)
- http://www.facebook.com/RINZAIZENTHAILAND (http://www.facebook.com/RINZAIZENTHAILAND)
(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xfp1/v/t1.0-9/q83/p526x296/10644569_735375093221207_5919443517128647466_n.jpg?oh=cd20b41a4411bf63dd61f833bee9d68b&oe=54D8BA98&__gda__=1427757105_e0247f11b19a0b0723de831352d01a7f)
รินไซเซน RINZAIZEN
... เมื่อสายฝนพริ้วคืนสู่สายธาร ...
ธารา ! ไยเธอจึงดูคร่ำเครียด เหมือนแบกโลกไว้ทั้งใบ
มีสิ่งใดที่ค้างคาอยู่ในใจที่เคยปลอดโปร่ง กระนั้นหรือ !?
ชีวิตนี้ช่างสับสน ผู้คนเกิดมาแล้วล้วนแก่ เจ็บ ตายไป
แล้วอะไรเล่า คือเป้าหมายในการดำรงอยู่ของชีวิตเล่า !?
ธารา ! เธอกำลังขบคิดปัญหาที่คนโบราณเคยคิดกัน
เวลาของชีวิตในโลกนี้แสนสั้น ดั่งสายลมเย็นพัดผ่าน
การขบคิดอย่างมีเหตุผลด้วยใจสงบ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง
ที่อาจปลดเปลื้องความสับสนลงได้บ้าง เป็นบางส่วน !
หากไม่ใช้การขบคิดแล้ว เราจะเข้าใจมันได้อย่างไรกัน
ธรรมเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น ก็ต้องขบคิดจึงจะเข้าใจ !?
ธารา ! ความเข้าใจธรรมเชิงเหตุผล เป็นเรื่องมีมานาน
มันไม่ผิดหรอก, แต่การจะเข้าถึงธรรมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง !
ความเข้าใจธรรมแบบมีเหตุผลเป็นวิธีของนักปราชญ์
ส่วนการเข้าถึงนั้น ความคิดนึกตรึกตรองต้องเงียบลง !
เหนือการขบคิดแยกแยะนอบน้อมตามแล้ว, ยังมีวิธีอื่น
ที่อาจบรรลุถึงธรรมได้เร็วกว่านี้อยู่อีกหรือ โปรดชี้แนะ !?
ธารา ! สัจจธรรมๆ ไม่ใช่เป็นอย่างที่เราคิดนึกกันหรอก
เหตุผลนั้นมาจากการค้นคิด แต่ชีวิตนี้เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ !
หากเธอยังใช้ตรรกะหรือเหตุผลใดๆ มันก็ยังไม่ใช่ทาง
เพราะการบรรลุถึงสิ่งที่ดำรงอยู่ ต้องสัมผัสกับมันตรงๆ !
และรู้สึกต่อมันอย่างเต็มเปี่ยม โดยไร้ความคิดขวางกั้น.
คำอธิบายใดๆ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องผ่านการคิดนึกมาก่อน !
การรู้ธรรมในระดับการจดจำ อาจเป็นกับดักที่น่าเชื่อถือ
ยิ่งขบคิด แยกแยะมาก ก็อาจนำจิตเข้าสู่โลกสมมุติบัญัติ !
สัจจธรรมเป็นสิ่งที่สดใส และใหม่อยู่เสมอในทุกๆ ขณะ
เธอจงคล้อยสู่ความจริง ใช่แค่การสาธกเอื้อนเอ่ยถึงมัน !
สุนทรีย์วาทะอาจบำบัดความเศร้า แต่ส่วนลึกนั้นยังมืด
บทสรุปเรื่องเวียนว่ายตายเกิดนั้น เป็นหลักธรรมในคัมภีร์ !
การจะเข้าถึงชีวิต ก็ต่อเมื่อการคาดคิดทั้งหลายมลายลง
ดั่งสายฝนพริ้วคืนสู่สายธาร ความขัดแย้งสิ้นสุด ณ ที่นั่น !
เมื่อม่านหมอกความคิดสร่างซา ทุกสิ่งพลันแจ่มชัด สดใส
เมื่อละอองแห่งตัวตนเหือดหายไป ดวงใจก็พบความอิสระ !
ธารา ! ผู้พลาดโอกาสในการเข้าถึงมีมาก เพราะอุปสรรค
ผู้ท้าทาย เมื่อกล้าปลดภาระความกังวลจึงได้ประจักษ์แจ้ง !
แล้วอะไรกันเล่าที่เป็นเครื่องกั้นจิต ไม่ให้พบอมตะธรรมนี้
หรือยังมีสิ่งซับซ้อนซ่อนอยู่, ขอได้โปรดเมตตาแถลงไข !?
ธารา ! ชาวนาปลูกข้าวในพื้นนาฉันใด, เธอก็จงทำเช่นนั้น
อย่าไขว่คว้าหาสิ่งที่ไม่มี แต่จงจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังมีอยู่ !
จงขยันหมั่นเพียร ตั้งแต่พลิกหน้าดิน คาดไถ หว่านกล้า
เฝ้าระวังสิ่งแปลกปลอม ใส่ใจถนอมรักในต้นข้าวอยู่เสมอ !
ในเวลาไม่นาน ข้าวที่หว่านเพาะย่อมออกรวงให้เก็บเกี่ยว
สิ่งนี้เธอล้วนต้องบำเพ็ญเพียรอยู่ ณ พื้นที่นาแปลงนี้นี่เอง !
จงเป็นปกติตั้งมั่น คลอเคลียกับอารมณ์กรรมฐานอยู่เนืองๆ
อย่าปล่อยใจให้ส่ายไปตามสิ่งที่เนื่องอยู่กับอายตนะผัสสะ !
การหลงไหลตามสังขารปรุงแต่ง จะมีก็แต่ทางเสื่อมถอย
จงตื่นตัวและตระหนักรู้ว่า สิ่งใดที่เกิดขึ้นแล้วต้องเสื่อมลง !
อย่าตื่นตระหนกพิศวง ต่อมายาอันหรูหราของสังสารวัฏฏ์
จงตามเห็นความเสื่อมสลายนั้น แล้วสลัดคืนอยู่เป็นประจำ !
ไม่ว่าต้องพบสิ่งใด ก็จงอยู่กับกรรมฐานอันจะนำเธอขึ้นฝั่ง
จงกลับสู่ยานนี้แล้วแล่นตรงไป อย่าอาลัยอยู่ในความมืด !
นอกจากอิสรภาพแห่งใจวิสุทธิ์นี้ ก็มีเพียงการสลัดให้สิ้น
เมื่อนิวรณ์ระงับกำลังสมาธิก็แก่กล้า ปัญญาญาณจึงปรากฏ !
โลกที่มืดมนจะเริ่มสว่างไสว ใจที่เศร้าหมองกลับผุดผ่อง !
สรณะอันประเสริฐเลิศล้ำ ก็ล้วนซ่อนอยู่ในใจที่ระทมทุกข์ !
ธารา ! ความแตกต่างมีอยู่เฉพาะในการคิดแยกแยะเท่านั้น
ส่วนอมตะธรรมนั้นมีอยู่เพียงอมตรส ผู้ฉลาดยังยากจะรู้ตาม !
เมื่อละวิพากษ์วิจารณ์แล้วเท่านั้น จึงเข้าสู่ความเป็นหนึ่ง
ในเอกธรรมย่อมไม่มีความสับสน เรื่องตัวตนหรือไร้ตัวตน !
บูรพาจารย์ผู้เข้าถึงล้วนเห็นแจ้งธรรมนี้ จากจิตที่เป็นเอกะ
ส่วนนักวิภาษวิธีนั้น ถกเถียงก็เพียงหาเหตุผลหักล้างกัน !
ธารา ! ชีวิตนี้แสนสั้น กาลเวลาก็เหมือนไฟที่กำลังสุมหัว
น้ำในบ่อกำลังแห้งขอด ชีวิตของกุ้งปูปลากำลังจะหมดลง !
ผู้ดำรงอยู่ในวิถีธรรมย่อมดื่มด่ำ ผู้หิวโหยจำต้องบรรเทา
สิ่งใดมีความเกิดสิ่งนั้นเป็นมายา จงรู้ชัดและอย่าหมกมุ่น !
ผู้ครอบครองจักยังคับแคบ ผู้เกื้อกูลจึงพบความไม่สิ้นสุด
มหาสมุทรสุดลึกยังพอวัดได้ แต่ใจนี้กว้างใหญ่แผ่ไพศาล !
.
.
บารมี ศรีอริยทรัพย์ ริมธารน้ำร้อน
เป่โถว ไทเป ไต้หวัน 29/10/2014
(https://scontent-b-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xfp1/v/t1.0-9/p526x296/10409026_735166396575410_8899320361698453716_n.jpg?oh=3768cdae984bf548fc052f95ba9d3e95&oe=55199A0B)
ชื่อว่าเครือข่าย
ย่อมมีการโยงไย
เมื่อคว้าที่ปลาย
ย่อมจับได้ถึงต้น !
.
.
26/11/2014
-
(https://lh3.googleusercontent.com/-qkqYZHUtjGE/UeO0uAqR7rI/AAAAAAAACB8/lFBzmb44K44/w306-h529-o/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%81+++%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88...12.gif)
....กรรมฐานกับการบรรลุธรรม ?...
ก็เหมือนอุบายวิธีกับเป้าหมาย
หากไม่มีวิธีการก็ไม่อาจบรรลุเป้าหมาย
แม้ผู้รู้บางท่านอาจจะกล่าวว่า ไม่ต้องมีวิธีการ
เพราะจิตคือพุทธะอยู่แล้ว
แต่นั่นเป็นเงื่อนไข เฉพาะกรณีของแต่ละบุคคล
ที่มีอินทรีย์แก่กล้า หรืออ่อนแอต่างกัน
บางท่านดูเหมือนว่าจะพร้อมต่อการปล่อยวางอยู่เสมอ
บางท่านก็จุกจิกจู้จี้ ชอบบ่น สับสน วุ่นวาย
ชอบเก็บเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มาคิดให้เสียพลังงานจนเป็นความเคยชิน
และนี่คืออุปสรรค ที่ทำให้พลาด จากการเห็นแจ้งธรรมะ
ในปัจจุบันอย่างฉันพลัน
(https://lh4.googleusercontent.com/proxy/HLXdwdD1B33Vlo_IfqJT6BO4ud8Dno-s177T0yK0iHl6tnfrutovJSKCNgpSyKdnUD1fPzWbAS4oXmf6ehMX2sXZGyr6kYvdn4u4CzMGXzZXScF-ImUpaQ=w325-h325)
จิตที่พร้อมจะบรรลุธรรม คือจิตที่จดจ่ออยู่กับอารมณ์ปัจจุบันเสมอ
จิตที่ซัดส่าย สับสน เฉื่อยชา เซื่องซึม ฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่ติดอยู่ในนิวรณ์
อันเป็นเครื่องกั้นต่อการบรรลุธรรม
การฝึกกรรมฐาน มีความสำคัญเหมือนการฝึกท่ามวยนั่นเอง
หากไม่มีท่าทางชั้นเชิง รุก รับ ถอยล่น หลีกซ้าย สลับขวา
หรือแม้แต่การสวนหมัด ซึ่งเป็นการยืมแรงคู่ต่อสู้
ปะทะกับคู่ต่อสู้เองเมื่อเขาบุกรุกเข้ามา
(https://lh3.googleusercontent.com/-6WMRJfeNT9E/UeOoqPBUj7I/AAAAAAAAHhY/0xsdczP3BGQ/w506-h759-o/P7130052.JPG)
กรรมฐานบางอย่างเป็นเครื่องอยู่ในยามปกติ
แต่บางอย่างเหมาะกับการช่วงใช้ในยามวิกฤติ
ควรจำไว้เสมอว่า...กรรมฐาน ก็คือปัจจัยสำคัญ ต่อการบรรลุธรรม
หากขาดอารมณ์กรรมฐาน ก็เหมือนเป็นขุนพลที่ไร้ทวน
คำสั่งนั้นไม่มีอำนาจ
การมีอารมณ์กรรมฐาน ก็เหมือนจอมทัพที่มีดาบอาญาสิทธิ์
คำสั่งมีประกาสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นเสือกระดาษ หรือดาบลิเก
เมื่ออารมณ์กรรมฐานหนักแน่นมั่นคงแล้ว ความวิตก ฟุ้งซ่าน เซื่องซึม
ก็หายไป. จิตมีความแจ่มใส สามารถสะท้อนภาพ ทุก ๆ อย่าง
ตามที่เป็นจริง ไม่บิดเบือน ไม่หลอกหลอน
(http://media-cache-ec0.pinimg.com/236x/be/6e/be/be6ebe7ea66178811fd9b4a606666d8f.jpg)
การจะมีอารมณ์กรรมฐานที่หนักแน่นได้นั้น
ต้องอาศัยการจดจ่อที่ลึกซึ้ง เฉียบคม
ในระหว่างการจดจ่ออยู่นั้น ไม่มีอารมณ์อื่นเข้าแทรกซ้อนรบกวน
ส่วนองค์บริกรรมภาพนิมิต หรือจุดที่เพ่ง ความเข้มที่จดจ่อนั้น
ต้องปรับสมดุลอยู่เสมอ
บางอารมณ์หนักไปทางความสงบ
บางอารมณ์คล้อยไปทางพิจารณาไตรลักษณ์
ถ้าความสงบลึกเกิน วิปัสสนาก็ดำเนินไปลำบาก
ถ้าความสงบรำงับน้อย วิปัสสนาก็หยาบ ไม่แยบคาย
ทุกสายภาวนา ล้วนแล้วแต่มีกรรมฐานเป็นเครื่องอยู่
อาจมีรูปแบบและวิธีการแตกต่างกัน
ท่านผู้ใฝ่ธรรม ควรเลือกเอามาตามจริต
และใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อการบรรลุธรรมในที่สุด
(http://media-cache-ec0.pinimg.com/236x/c5/6b/da/c56bda556fa3b1744b1f5098f2f45bfb.jpg)
FB :ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
>>> F/B รินไซเซน RINZAIZEN
-
(https://lh4.googleusercontent.com/-4Du0AlA6vDk/VLrhljTrgaI/AAAAAAAEpoc/ABXjcj9sTLs/w346-h481/Arabic%2Beyes_sofia_glitters%2B.gif)
...ใครกันที่ทุกข์ไปกับมัน ? ...
"เมื่อจุดไฟให้สว่าง ความมืดก็หายพลัน" ...!
ความระทมขมขื่นเหมือนฝันร้ายที่ไม่มีคนฝัน
ความยุ่งยากหรือปมที่ยึดไว้ในจิต ไม่อาจแก้ออกทีละปม
การเยียวยาเพียงเพื่อ เสริมตัวตน ให้ดูดีนั้น ก็ไม่มีวันจบสิ้น
คุณอาจรู้สึกเบาสบาย หายกังวลใจลงบ้าง แต่นั่นไม่ถาวร
อย่าลืมว่าการเปลี่ยนที่พักพิงนั้น ยังไม่ใช่ การพบบ้านที่แท้
การควานหาเงื่อนปมระบมปวด
ก็เหมือนคุ้ยฟอยหาตะเข็บ ความฝังใจเจ็บ
มีอยู่มาก เหมือนภูเขาขยะที่ถูกหมักหมม
วิธีขุดรากถอนโคนทุกข์ คือ ตระหนักรู้ และไม่บิดเบือนมัน
ทุ่มเท.. พลังทั้งหมด ไปที่การปลุกใจให้ตื่นอย่างต่อเนื่อง
(https://lh6.googleusercontent.com/-Cjf-MpiAiiw/VDuWexeXHXI/AAAAAAAEi7c/otROiIEYgK4/w346-h512/1f6d315266cad517b41ac66c2a202dd4.jpg)
ความทุกข์ที่ฝังลึก ก็ไม่ต่างจากความเหงาเศร้าซึม
ผิวเผิน คือมันเป็นอารมณ์แฝงตัวอยู่ในจิต ไม่ใช่สิ่งจริงแท้ดั้งเดิม
ทุกข์โทมมนัสล้วนเป็นการเกาะตัวของ ความจำที่มีอคติ
และอคติก็คือ ความคิดแยะแยก ที่ควบคุมวิธีการมองโลก
การได้ระบายอารมณ์อาจดูเหมือนหายป่วย แต่เชื้อยังอยู่
คือความยึดติดไม่มีวันสร่างซา เพราะหลงว่าเป็นเรื่องจริง
เมื่อเข้าใจและตระหนักอย่างคมชัด สิ่งมายาก็ไร้ที่อาศัย
ไม่มีสังขารใด..
..ตั้งอยู่เป็นตัวตนถาวร... ใครกันที่ทุกข์กับมัน ?
(https://lh4.googleusercontent.com/-E6pAGd8mlWI/UfZg-UQ7LkI/AAAAAAAEuB0/xqYfu3L_0bY/w426-h583/tumblr_mpe64pd7ue1qa95wro3_500.jpg)
Fb : ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen , Clearmind Zhao Ping
>>> F/B รินไซเซน RINZAIZEN
-
(https://lh4.googleusercontent.com/-e5wrGXYL8ak/VLbqEpOcNwI/AAAAAAAAgr8/rF0p4hSDVlw/w502-h312-no/IMG_0153.JPG)
... ใครถูกท้าทาย ! ...
สิ่งที่ผ่านเข้ามาท้าทายนั้น แท้จริงคืออะไร !
ใครกันหนอสะดุ้งตื่น เมื่อต้องถูกมันกล้ำกราย ?
โลกนี้ ก็คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์
สิ่งที่รับรู้โลก คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ความรับรู้ คือมโนวิญญาณ ผ่านทางอายตนะทั้งหก
(https://lh5.googleusercontent.com/-M-Bz16XTn1U/VLrYZWMoxhI/AAAAAAAAg1k/xdHfrYP4jaU/w502-h295-no/IMG_0165.JPG)
จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ เป็นทวารทางผ่าน
มโนแยกแยะชอบ-ชัง แล้วเก็บเข้าคลัง "ภวังคะ"
สังสาระหมุนวน เพราะขาดค้นตรวจตรา มโนก็มายา
จึงแยกแยะไปตามอำนาจอวิชชาบ้าหลง เป็นตัวตน
วิปัสสนาแจ้งชัด ไม่ขัดในรูปเสียงไม่เคืองในอารมณ์
มโนเคยหลงชม พลิกสุขสม-ตรอมตรม เป็นปัญญา
ตระหนักว่าอนิจจาวัฏฏะสังขารา กระทบแล้วเสื่อมไป
ใด ๆ ล้วนไม่แน่ วิชชาแท้ทวนกระแสอย่างเคยชิน
วิสังขารหยุดพล่านการดิ้นรน พ้นตัวตนหลงท้าทาย
ไร้จิตเกิด-ดับสลับเปลี่ยน หมดเสี้ยนหนามธรรมดำรง
(https://lh4.googleusercontent.com/-WNnoP4dyP78/UgW3WIky9JI/AAAAAAAEzzc/ZoW53HXf2IQ/w426-h284/1098157_353844168051292_215563999_n.jpg)
Fb : ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen , Clearmind Zhao Ping
>>> F/B รินไซเซน RINZAIZEN
-
รินไซเซน Rinzai ZEN
24 มิถุนายน เวลา 23:48 น. ·
● ท่าทีที่นอบน้อม เหมือนน้ำที่สามารถดำรงสถานะได้อยู่ทุกที่ บุคคลผู้มีความนอบน้อมย่อมเป็นที่ต้อนรับมากกว่าบุคคลผู้แข็งกร้าว ก้าวร้าว เถรตรงเกินไป ไร้ซึ่งปัญญาในการพิจารณาให้รอบคอบรอบด้าน
● นักศึกษาเซนที่แท้ คือผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความนอบน้อม เพราะความนอบน้อมแบบเซนนั้นไม่ใช่ลักษณะของความหัวอ่อนว่านอนสอนง่าย แต่เป็นลักษณะของการนอบน้อมด้วยปัญญาเห็นแจ้ง ไม่ดูหมิ่นดูแคลนผู้อื่น ยกตนข่มท่าน หรือดูหมิ่นปัญญาของผู้อื่นว่าต่ำกว่าตน เป็นผู้ให้ความเคารพต่อสรรพสิ่งได้อย่างไม่ลังเลตะขิดตะขวงใจ
● นักศึกษาเซนที่แท้ย่อมไม่กล่าวว่าตนนั้นรู้อะไร หรือไม่รู้อะไร การมุ่งศึกษาด้วยใจถ่อม นั่นคือลักษณะของนักศึกษาเซนที่แท้จรืง มีความอดกลั้นต่อสิ่งทั้งหลายด้วยสติรู้เท่าทันต่อสิ่งที่เกิดหรือที่กำลังจะเกิดขึ้น นั่นคือผู้ควบคุมตนเอง
● เมื่อเราดำรงอยู่ด้วยความนอบน้อม ด้วยความอดกลั้น บาปอกุศลทั้งหลายที่จะเกิดก็ย่อมเกิดได้ยาก กรรมไม่ดีทั้งหลายที่จะเกิดก็ย่อมเกิดได้ยาก วจีกรรมที่จะเกิดก็ย่อมระงับไป การกระทบกระทั่งกัน การทำร้ายทำลายซึ่งกันและกัน การโกรธแค้นชิงชังซึ่งกันและกันก็ย่อมเกิดได้ยาก เพราะความนอบน้อม ความอดทนอดกลั้นย่อมก่อให้เกิดความสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมจิตใจ
● เมื่อภายในใจไร้ซึ่งความโกรธแค้นชิงชัง ก็ย่อมนำมาซึ่งความปลอดโปร่งโล่งสบายแห่งจิต ปัญหาทั้งหลายในปัจจุบันที่จะเกิดก็ย่อมลดน้อยถอยลงไปในที่สุด การเบียดเบียนกันก็ย่อมไม่มี ซึ่งนับวันก็ยิ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากเต็มที มีแต่สนับสนุนให้แสดงออกในเรื่องที่เป็นบาปอกุศล เรื่องที่ควบคุมได้ยากกันเสียมาก ในที่สุดก็ควบคุมกันไม่ได้ เมื่อควบคุมไม่ได้ การแก้ไขก็ไม่ต่างอะไรกับการพายเรือวนอยู่ในอ่างนั่นเอง
● การเป็นฅนตรงไปตรงมานั้น อาจดูเหมือนว่ามันจะดี แต่ถ้าความตรงไปตรงมานั้นไม่ประกอบไปด้วยปัญญาอันถูกต้อง ไม่ประกอบด้วยกาล ไม่ประกอบไปด้วยความนอบน้อม มันก็มักจะนำปัญหามาให้ มากกว่าจะนำสิ่งดีๆมาให้ แล้วจะมาพร่ำบ่นว่าทำดีไม่ได้ดีก็ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่นัก
● ดังนั้น การสำรวมในบาปอกุศลทั้งหลาย จึงเป็นวิธีการแก้ไขที่นุ่มนวลที่สุด เป็นการแก้ไขที่ละมุนละม่อมที่สุด เป็นการแก้ไขที่ตรงจุดที่สุด เพราะไม่ได้มุ่งแก้ไขที่ผู้อื่นบุคคลอื่น แต่เป็นการแก้ไขที่ต้นตอของปัญหาเพื่อไม่ให้มันเกิดซ้ำซาก เหมือนการระงับยับยั้งเชื้อโรคไม่ให้กระจายออกไปด้วยยาปฏิชีวนะต่างๆ เมื่อเชื้อโรคถูกระงับยับย้งไว้ได้ เราก็เร่งสร้างความเพียรทำลายเชื้อโรคเหล่านั้นเสียให้หมดสิ้นไป ย้อนทวนกระแสบาปอกุศลขึ้นไปจนถึงที่สุด
● เพียรทำลายล้างเชื้อโรคในใจด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ด้วยวิปัสสนา ด้วยซาเซน อันเป็นรากฐานที่พระพุทธองค์และครูบอาจารย์ทั้งหลายวางเอาไว้ดีแล้ว ชัดเจนแล้ว แสดงให้เห็นแล้ว ละได้แล้ว ใช้ความดีเพื่อให้ทะลุไปสู่ความไม่มีดีไม่มีชั่ว ไปสู่ความไม่เกิดไม่ตายอันเป็นบรมธรรมนั้น นั่นเอง ฯ
______________________________________________________________________
(แชร์ได้ มอบให้เป็นธรรมทาน)
[ 座禅 ] 、24•06•2559•2016 | 23:30 UTC+07
**************************************************
..... 念佛是誰 เนี่ยน ฝอ ซื่อ เสย ....
ใครบริกรรมพุทโธ !
ประโยคนี้ นับเป็น 話頭 ฮั้วโถว หนึ่งในหลายๆ กุศโลบาย
ที่ชาวพุทธนิกายเซนนำมาใช้เพื่อ "การชงักจิต" ให้สดุดลง
จากที่เคยชอบคิดนึกตรึกตรอง ใคร่ครวญไม่รู้จักจบจักสิ้น
จิตที่คิดปรุงแต่งเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์ เมื่อ "ชงักลง" ก็พบ
หน้าตาแท้ ในปัจจุบันทันที !
ชาวพุทธมหายานมีปกติบริกรรมภาวนา "อามิตาภะ" คือนามพระพุทธเจ้า
แห่งแดนสุขาวดี โดยตั้งจิตปรารถนาลาจากวัฏฏสงสาร แต่ในเมื่อ กำลัง ยัง
ไม่เพียงพอ ก็ขอให้ไปเกิดใหม่ ในภพที่มีพระพุทธเจ้าแสดงธรรม
และบำเพ็ญเพียร ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการบรรลุธรรม
นิกายเซน สอนให้ย้อนกลับเข้ามาค้นหาความบริสุทธิ์ ในภายในของจิตเดิมแท้แห่งตน
จึงช่วงใช้การตั้งคำถาม เพื่อให้เกิดการสดุดและพลิกกลับ 返聞自性 ฝั่น เหวิน จื้อ ซิ่ง
เมื่อไร้จิต ที่หลงแล่นไปตามกระแสผัสสะ "สภาวบริสุทธิ์" ก็ผุดผ่อง เป็นอิสระอยู่เช่นนั้น !
念佛念心 心念佛 เนี่ยนฝอเนี่ยนซิน ซินเนี่ยนฝอ : บริกรรมพุทโธ บริกรรมจิต จิตแจ้งพุทโธ
参禪参性 性参禪 ชานฉานชานซิ่ง ซิ่งชานฉาน : วิปัสสนา พิจารณาสภาวะ สภาวะวิปัสสนา
แม้วิธีการทั้งสองจะดูคล้ายแตกต่าง แต่ก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือการพบจิตบริสุทธิ์ในภายใน
อย่างแรกเริ่มต้นด้วยศรัทธาในองค์พระสัมมาฯ ภาวนาขัดเกลาจิต ลดละอกุศลจนแจ่มแจ้ง
อย่างหลังสลัดคืนทุกสิ่ง ไม่นิ่งนอนเนิ่นช้าหาความสุข ไม่ไถลจิตคิดเกี่ยวเกาะสิ่งเศร้าหมอง !
อย่างแรกเน้นความศรัทธา ภาวนาพุทธานุสสติ ละบาปเจริญบุญ เกื้อหนุนกุศลกรรมบทสิบ
อย่างหลังปลุกจิตรู้ตื่น สลัดคืนนิวรณ์สิ่งปกคลุม ไม่ลุ่มหลงในชีวิต วันคืนเกื้อกูลสรรพสัตว์
จากสิ่งที่มี-เป็น มองเห็นความว่าง จากเคยมืดมนข้ามพ้นสว่างไสว ใจอิสระพบพระนิพพาน !
(http://media-cache-ak0.pinimg.com/736x/8e/06/7d/8e067d6ba627ebacb64a5402ec46ffcd.jpg)
9/1/2015 บารมี ศรีอริยทรัพย์
รินไซเซน RINZAIZEN
-
(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xap1/v/t1.0-9/10923583_766147396810643_1889417289901949523_n.jpg?oh=838e034d0bdc1fa1adec305a1bc048ce&oe=5526948C&__gda__=1432371280_138a89295fd8fa781fe3c55e84439011)
..... เป็นอิสระจากจิต คือพุทธะ .....
หลักการพุทธศาสนานิกายเซน
ของ ปรมาจารย์โพธิธรรม (ตั๊กม้อ)
เมื่อครั้งท่านเข้าไปสู่แผ่นดินมังกร ยุคราชวงค์เหลียง
ซึ่งการศึกษาพุทธศาสตร์ตามพระคัมภีร์ กำลังรุ่งเรือง
แม้องค์พระมหากษัตริย์ ก็ทรงบำเพ็ญบุญ สร้างบารมี
ทะนุบำรุงวัดวาอาราม ตลอดทั้งถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์
แต่ด้วยเจตจำนงที่หวังจะถ่ายทอด แนวทางบรรลุธรรม
จึงยังเป็นการยาก สำหรับผู้ที่ยึดความรู้ธรรมะตามตำรา !
ต่อมาท่านจึงไปภาวนาอยู่หลังวัดเส้าหลิน นานกว่า 9 ปี
กระทั่งมีผู้พร้อมที่จะบรรลุธรรมจาริกมา คือ ภิกษุฮุ้ยเข่อ
指直人心 จื๋อ จื่อ เหลิน ซิน : ถ่ายทอดโดยชี้ตรงไปสู่จิต
ภิกษุฮุ้ยเข่อ ผู้สับสนกระวนกระวาย ไม่เป็นอันกินอันนอน
ร้อนใจด้วยกรรมหนักในอดีต ปรารถนาจะพบทางหลุดพ้น
จึงดั้นด้นซมซานมาสู่ภูเขาซงซาน ที่หลีกเร้นของผู้รู้แจ้ง !
แต่แล้วก็ต้องทนหนาวเหน็บ เมื่อปรมาจารย์ยังอยู่ในฌาน
เวลาผ่านไปไฟแห่งโมหะยังแผดเผา ผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นใจตน
ความคิดจากอดีตไม่เหือดหาย ความคิดพะวงอนาคตรุมเร้า
ความคิดปัจจุบันก็มีแต่รอยแผลเก่า น่าเศร้าโศกเสียนี่กระไร !
(http://media-cache-ec0.pinimg.com/236x/c3/73/e1/c373e1ac56f4e55f430efdfc1a1eb9eb.jpg)
โอ ภิกษุเอ๋ย ! แม้จะพากเพียรเรียนธรรม กดข่มกิเลสตัณหา
ปวารณาตนต่อรัตนะ ก็ใช่จะขจัดอาสวะดับทุกข์ได้โดยพลัน
เหมือนเศษก้างปลากำลังติดคอ ใครกันหนอที่จะช่วยเจ้าได้ !
เมื่อถึงกาลอันควร ครูผู้รู้แจ้งจึงถอยออกจากฌานการพักผ่อน
ปรากฏเห็นผู้มาเยือนคุกเข่าสงบนิ่ง ท่ามกลางหิมะโปรยปราย !
ตั๊กม้อ : อากาศเย็นยะเยือก ไยท่านจึงได้ทรมานตนอยู่เช่นนั้น ?
ฮุ้ยเข่อ : ท่านผู้สงบเอ๋ย ! ที่ข้าน้อยเร่ร่อนมาก็หวังให้ท่านเมตตา
ชี้ทางหลุดพ้นแก่คนยากไร้, ใจของข้าฯ เป็นทุกข์เหลือประมาณ !
ตั๊กม้อ : จงเอาใจของเจ้านั้น รีบส่งมา ข้าฯ จะช่วยให้สมปรารถนา !
ทันใด เมื่อฮุ้ยเข่อย้อนกลับเข้าไปมองหาใจที่กำลังสับสน นั่นเอง
พลันก็พบแต่ความว่างเปล่า, ดุจฟ้าสีคราม ปราศจากเมฆหมอก !
ฮุ้ยเข่อ : ท่านผู้สงบเอ๋ย ! เมื่อข้าฯ มองหาใจแต่ก็ไม่อาจพบมันได้ !
ตั๊กม้อ : นั่นแหละ, ข้าฯ ได้ช่วยเจ้าให้สงบลง จากใจของตนแล้ว !
ฮุ้ยเข่อ ผู้มีอุปาทานยึดมั่นถือมั่นว่าใจเป็นตัวเป็นตน ก็สว่างไสว
พบอมตะธรรม เป็นอิสระจากใจตน ในบัดดล ณ ขณะนั้น นั่นเอง.
(http://media-cache-ak0.pinimg.com/236x/45/01/64/4501649fc8522435698fbfcc757d772c.jpg)
ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุเคราะห์แก่ผู้มีบุญสัมพันธ์ ตั๊กม้อจึงให้หลัก
เพื่อการพบอมตะธรรมไว้ และได้สืบทอดลงมายาวนาน กว่าพันปี !
不利文字 ปู้ ลี่ เหวิน จื้อ : ไม่ยึดติดกับตัวอักขระ
教外别傳 เจี้ยว ไหว้ เปี๋ย ฉวน : ถ่ายทอดพิเศษนอกคัมภีร์
指直人心 จื๋อ จื่อ เหลิน ซิน : ชี้ตรงไปสู่จิตที่แท้
見性成佛 เจี้ยน ซิ่ง เฉิง ฝอ : พบสภาวะสำเร็จพุทธะ
นี่เป็นการจุดประกายแห่งจิตวิญญาณเซนยุคเริ่มต้น ในแผ่นดินจีน.
เมื่อถึงยุคปรมาจารย์เจ้าโจ 趙州 เซนได้เริ่มเป็นที่แพร่หลายไปทั่ว
เคยมีผู้ถามท่านว่า "ตามคัมภีร์ว่า "สรรพสัตว์ล้วนมีธรรมชาติพุทธะ,
แล้วในสุนัขตัวนั้นเล่า มีธรรมชาติพุทธะหรือไม่" !? ,
เจ้าโจ : 無 ไม่มี ! นี่จึงได้กลายเป็น 公安 กงอัน ปริศนาธรรม สืบมา
"กงอัน" อันลือเลื่องบทนี้ มีคำตอบจากปรมาจารย์เซนว่า 無 อู๋ ไม่มี !!!
ได้กลับแปรเป็น "องค์กรรมฐาน" ของสาวกเซนในกาลต่อมา. แทนที่
จะช่วยขจัดปัดเป่าความวิตกวิจารณ์ออกไปในทันที ตามจุดประสงค์
ที่แท้ แต่แล้วกลับมีบางสายนำมันไปใช้เป็น "องค์บริกรรม" ดั่งควาย
"เคี้ยวเอื้อง" จนน้ำลายฟูมปาก ! ซึ่งไม่ต่างจากการฝึกสมถะแบบอื่นๆ !
และด้วยความยึดมั่นถือมั่นแบบใสซื่อ เถรตรงนี่เอง เซนจึงได้ตายลง
เหมือนซากศพไร้วิญญาณ กลายเป็นแค่เรื่องเล่าขานตราบทุกวันนี้
การนำเอาคำตอบอันเปล่งปลั่งด้วยพลังชีวิตของเซน ไปใช้ผิดลู่ทาง
จึงทำให้การบรรลุธรรมฉับพลันอย่างเซน ต้องลดคุณค่าลงเป็นเพียง
การนั่งข่มใจให้จดจ่อที่คำบริกรรม เหมือนหมาที่ขยันแทะเลียกระดูก !
"เซน" ไม่ใช่จิตบำบัด ที่ให้ยิ้มน้อยๆ คลอเคลียกับลมหายใจ เข้า-ออก !
หากการเล่นเกมส์สมาธิภาวนาข้างถนนเป็นเซน ก็ขอให้เป็นแค่การเริ่ม
และการสลัดคราบของความเป็นนักภาวนาอาสาออกไป ถือเป็นภารกิจ
ที่ใครเป็นสาวกเซน ล้วนต้องตระหนัก !
無 อู๋ ไม่มี คำนี้, เป็นสิ่งที่ปราจารย์เซนเจ้าโจ ชี้ตรงไปสู่พุทธภาวะทันที
ก่อนที่ความคิดเรื่อง "มี" หรือ "ไม่มี" จะปรากฏตัวเป็นรูปความคิดขึ้นมา !
"เซน" ไม่ใช่ลัทธิปฏิเสธโลก แล้วเข้าไปจมอยู่กับกรอบจำกัดของข้อวัตร
และไม่ใช่พวกที่ดิ้นรนแสวงหาอีโก้ ความเป็นตัวตนของตนแต่อย่างใด !
"เซน" เคารพและศรัทธายิ่ง ในธรรมชาติอันบริสุทธิ์ดั้งเดิมของสรรพสัตว์
ดังนั้น สิ่งที่ต้องขจัดออกไป คือ บทบาทอันจอมปลอมของอัตตาต่างหาก !
ไม่ว่าจะมาในคราบเซน หรือรูปแบบดั้งเดิม ก็อย่าให้มันกลายเป็นสิ่งบดบัง
เพราะมีเพียงการสลายตัวตนลงเท่านั้น ธรรมชาติแท้จึงอาจเปล่งประกาย !
以假為真 อี เจี่ย เหวย เจิน : หลงยึดเอาสิ่งปลอมว่าเป็นจริงจัง
以少為足 อี ซ่าว เหวย จู๋ : หลงยึดเอาสิ่งเล็กน้อยว่าเป็นที่สุด !
นี่คือคำเตือนจากปรมาจารย์เซนครั้งบุราณกาล ที่ลูกหลานเซนพึงตระหนัก.
無 อู๋ : ไม่มี
無心 อู๋ ซิน : ไม่มีจิต
無可得 อู๋ เข่อ เต๋อ : ไม่อาจได้รับ
無不可得 อู๋ ปู้ เข่อ เต๋อ : ไม่มีสิ่งใดที่ไม่ได้รับ
無所不在 อู๋ เสว่อ ปู้ ไจ้ : ไม่มีแห่งใดที่ไม่มีอยู่
無量無遍 อู๋ เลี่ยง อู๋ เปียน : ไม่มีประมาณ ไม่มีจำกัด
無路可行 อู๋ ลู่ เข่อ สิง : ไม่มีทางไป
無自無他 อู๋ จื้อ อู๋ ทา : ไม่มีตนเอง ไม่มีผู้อื่น
無來無去 อู๋ ไหล อู๋ ชวี่ ไม่มีการมา ไม่มีการไป
無攀缘心 อู๋ พาน เหยี่ยน ซิน : ไม่มีจิตไปเกาะเกี่ยว
無行無相 อู๋ สิง อู๋ เซี่ยง : ไร้รูป ไร้ลักษณะ
應無所住 อิง อู๋ สว่อ จู้ : อย่าให้จิตตั้งอยู่ที่ใด
(http://media-cache-ec0.pinimg.com/236x/02/66/d7/0266d70a47de2ab076e9b96a70adf9d4.jpg)
16/1/2015 บารมี ศรีอริยทรัพย์
รินไซเซน RINZAIZEN
: https://www.facebook.com/RINZAIZENTHAILAND?fref=nf (https://www.facebook.com/RINZAIZENTHAILAND?fref=nf)
-
(http://www.tairomdham.net/index.php?action=dlattach;topic=8615.0;attach=3613;image)
:24: :24: :24:
พี่ แป๋ม หายไปอีกแล้ว
-
(https://scontent.fbkk1-1.fna.fbcdn.net/hphotos-xfa1/v/t1.0-9/11828651_704630162982290_5243141392700680862_n.jpg?oh=fd378be25982b3e556edf307b80917b7&oe=563D1B2E)
...... เปิดเผยสิ่งที่ซ่อนเร้น ......
ขณะที่คุณกำลังใส่ใจ ฟังคำวิจารณ์จากผู้อื่นนั้น
ก็คือ ขณะแห่งการสยบความอหังการลงนั่นเอง !
"ตัวตน" มักเกาะเกี่ยวแอบแฝงอยู่กับสิ่งที่ปักใจ
แต่คราใดที่มีคนอื่นมาลูบคม พลันก็ลุกเป็นไฟ !
เห็นธรรม คือเห็นสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในสิ่งเปิดเผย
ถึงธรรมนั้น ก็ไม่มีสิ่งใดเกินไปกว่าเท่าที่มันเป็น !
เมื่อปัจจุบันขณะเต็มเปี่ยม ย่อมไม่พบสิ่งที่พร่อง
เพราะจิตเลื่อนลอย อารมณ์ร้อยแปดจึงครอบงำ !
.
4/8/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี
(https://scontent.fbkk1-1.fna.fbcdn.net/hphotos-xpt1/v/t1.0-9/11707758_701752416603398_1623693190394474115_n.jpg?oh=39974ee654d659cdc639fa3e90ba22f3&oe=563AF6F1)
...... สิ่งนั้น คือ ......
หากจิตนี้ยังมีการปรุงแต่งตื่นเต้นหวั่นไหว ไปกับเรื่องใด
ความผูกพันในเรื่องนั้นๆ นั่นเอง คือสิ่งที่ต้องถูกสลัดออก !
ถ้าไขว่คว้าหาสิ่งเที่ยงแท้ถาวร ก็เท่ากับขุดหลุมฝังศพตน
หากดิ้นรนเพื่อไม่ให้มีอะไรเลย ก็ยิ่งกว่าไถลลื่นลงก้นเหว !
สลัดออกๆ ก็เหมือนการถอนหนามทิ่มตีนออก นั่นแหละ
เมื่อจิตรำงับดับลงจนถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่ปรากฏอยู่นั้น คือ...!
.
26/7/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี
(https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/236x/7d/bd/5e/7dbd5eac510094890583435201d49756.jpg)
จงปล่อยให้ความกลัดกลุ้มที่รุมเร้านั้น นั่นเอง
นำคุณคืนสู่ความตื่นรู้,
เมื่ออ่อนโยน ผ่อนคลาย ก็ไม่ขัดแย้ง,
จึงเคลื่อนคล้อยไปกับกระแส !
.
26/7/2014 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี
(https://lh3.googleusercontent.com/-otctkphOnKA/VcAUW2ZQkPI/AAAAAAAABkI/1u6n4l7_EC0/w346-h519/F9BEC20FC.jpg)
...... พลิกจิต ......
สิ่งที่ได้ผ่านไปแล้วนั้น ไม่อาจจะนำมันกลับคืนมา
แม้เพียงชั่วขณะเดียว สิ่งนั้นก็ชื่อว่าได้ผ่านไปแล้ว.
เราไม่อาจรู้ว่า อนาคตจะเกิดเรื่องอะไรๆ ขึ้นมาอีก,
ดังนั้น, พวกเราจึงมีเพียงแค่ปัจจุบันขณะนี้ เท่านั้น.
การพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนเช่นนี้,
ช่วยในการพลิกจิต ให้หมุนคล้อยมาในทางธรรม..!
องค์กรรมาปะที่ 17 ผู้นำนิกายคากิว แห่งวัชรยาน
.
26/7/2014 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี แปล
(https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/736x/9b/f5/d2/9bf5d279b96437aaea0e706d7cd4c10a.jpg)
...... ความสำเร็จที่ไม่กลับกลาย ......
หากคุณคิดอ่านจะเป็น ผู้ประสบความสำเร็จแล้ว
ก็จงเข้าใจและระมัดระวัง ทางไปสู่ความล้มเหลว !
ลูกหลานที่ไม่รู้จักบรรพชน ก็หาใช่อนุชนผู้สืบต่อ
ผู้ไม่เคยฝึกตน ย่อมไม่มีปัญญาจะไปอบรมคนอื่น !
หากไม่รู้จักการเป็นผู้ตาม ก็ยากจะรู้การเป็นผู้นำ
เคล็ดลับที่เปิดเผยแล้ว ย่อมหมดสิ่งที่น่าสนใจอีก !
ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ มิใช่สิ่งที่ต้องจดจำ
มีอำนาจต้องตัดสินใจ ความโลเลคือทางพ่ายแพ้ !
ปรัชญาสายกลาง หาใช่การยึดติดแง่มุมบางส่วน
ปรัชญาจิตนิยม ล้วนปฏิเสธการยึดถือในมายาจิต !
ไม่รู้จุดหมายการภาวนา ลำบากไปก็เหนื่อยเปล่า
เมื่อทราบใจความสำคัญ ก็ไม่ต้องแบกหามคัมภีร์ !
อย่านำเสนอหัวใจ โดยที่ยังไม่ได้ชี้ให้เห็นเปลือก
ผู้ที่มือยังสกปรก ลูบคลำสิ่งใดก็ย่อมเปื้อนเปรอะ !
สิ่งใดอาจเอื้อนเอ่ย สิ่งนั้นย่อมมีรูปลักษณะอาการ
ความตระหนักรู้เป็นความคมชัด ที่ไม่มีการแล่นไป !
จิตที่คมชัด แม้ยามช่วงใช้ก็เคลื่อนไหวอย่างมั่นคง
เมื่อวางของหนักลงแล้ว จงอย่าเที่ยวหามสิ่งใดอีก !
ความเมตตากรุณา เป็นดุจสายฝนอันโปรยปราย
สติปัญญาอันแจ่มใส คือไม่ลำเอียงเพราะชอบ-ชัง !
.
23/7/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี
(https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/736x/33/c4/06/33c406476fde9d062c193ba8856fb69e.jpg)
...... สลัดคืนสังสาระ ......
เพราะลื่นไหลตามเงา เราเขาพลันยุ่งเหยิง
สุขรื่นเริงคละเคล้า รุมเร้าสุมเผาดวงหทัย !
แจ่มแจ้งธรรมหามีใคร ได้หมุนไปตามโลก
ความเศร้าโศกสิ้นสุด เมื่อหยุดเพลิดเพลิน !
.
21/7/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี
(https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/236x/f2/23/bd/f223bd1905c758b900725c8d1407e233.jpg)
หากย้อนกลับ ก็อาจพบที่ที่คุณจากมา
แต่ถ้าถลำเรื่อยไป แม้เงาก็อาจไม่พบ !
.
11/7/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลฯ
(https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/236x/23/fa/31/23fa317e43f28aa7e40992921f0ed7c6.jpg)
ผู้ที่ยังตามความรู้นั่นเอง คือผู้ที่ยังต้องท่องเที่ยวไป !
เพราะขณะหนึ่งนั้นแสนสั้น สุดจะเอ่ยรำพันจำนรรจา
สรรพสิ่งปรากฏวับแล้วดับวูบ ลูบคลำไซร้ไม่ใช่ทาง !
.
8/7/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี
(https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/736x/28/ae/9e/28ae9ed5eaa23b5dea78b1b625ccf19e.jpg)
...... การเยี่ยวยาแผลใจในเชิงลึก ......
ความตระหนักรู้อย่างผ่อนคลาย คือรหัสปลดล็อคอารมณ์
ความเนิ่บช้าอย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นแสงทำลายความมืด !
ทุกๆ ขณะที่จิตแล่นไปเสวยอารมณ์จร คือการเผชิญหน้า
แต่ละขณะที่จิตกำลังตื่นตัวอยู่ คือช่วงที่สลายขั้วขัดแย้ง !
การสะสมยึดติดอย่างไม่รู้ตัว ย่อมก่อให้เกิดการหมักหมม
ประสบการณ์นั้นไม่ตั้งอยู่ เพราะขาดแยบคายจึงคิดไปเอง !
แค่การจดจ่อแต่ขาดความแยบคาย อาจพาจิตตกสู่ภวังค์
ด้วยความรู้สึกตัวและแววไว ทุกขณะไซร้แปรเป็นหนทาง !
คำพูดอันมากหลาย ไม่อาจกลายเป็นความจริงที่ไร้อักษร
ประสบการณ์ผ่านแล้วผ่านเลย แต่ความยึดติดข้องเกี่ยว !
เรื่องที่เคยเกิดขึ้นแล้วย้อนมากำเริบซ้ำ ย้ำว่ายังมีค้างคา
ทุกสิ่งที่ดิ้นรนไขว่คว้า ล้วนเป็นมายาสะท้อนจากดวงจิต !
ช่วงซึมซาบอยู่กับความจริงแต่ละขณะๆ คือการคลี่คลาย
เมื่อตัวผู้รับรู้ถูกปลุกให้ตื่นขึ้น สิ่งที่ถูกรับรู้จึงไร้พิษเจือปน !
.
.
.
1/7/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี
ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
https://www.facebook.com/livelyzen (https://www.facebook.com/livelyzen)