ใต้ร่มธรรม
ริมระเบียงรับลมโชย => รับสายลมเย็นหน้าระเบียง => ข้อความที่เริ่มโดย: sithiphong ที่ กรกฎาคม 07, 2013, 09:09:30 am
-
ขอรวบรวมเนื้อหาสาระทางด้านกฎหมาย จากแหล่งความรู้ต่างๆ
นำมาลงไว้ รวบรวมไว้ในการเรียนรู้กฎหมาย ไว้เป็นแนวทางป้องกันตนเอง และไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากบุคคลต่างๆ
:13:
.
-
การจัดการที่จอดรถ ‘คอนโดฯ’ - กฎหมายรอบรั้ว
วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/950/216944-
(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/216944.jpg)
การบริหารจัดการที่จอดรถในอาคารชุด เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ผู้บริหารอาคารชุดจำต้องคำนึงถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักจะเป็นการร้องเรียนว่ามีไม่เพียงพอ สิทธิในการจอดรถไม่เป็นไปตามที่ได้รับข้อมูลจากเจ้าของโครงการขณะตกลงซื้อ หรือบางรายจอดรถทับสิทธิคนอื่น บางรายนำรถของตัวเองที่มีหลายคันมาจอดภายในอาคารชุด ทำให้ที่จอดรถลดน้อยลง ปัญหาเหล่านี้สร้างความกดดันให้กับทั้งกรรมการและฝ่ายบริหารอาคารชุด ซึ่งอาจนำไปสู่การร้องเรียน ประท้วงให้เปลี่ยนบริษัทบริหารจัดการ หรือคณะกรรมการอาคารชุดได้
โดยปกติในเบื้องต้น เจ้าของโครงการจะจัดให้มีจำนวนที่จอดรถให้ตรงตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้าง และในที่สุดได้รับใบอนุญาตเปิดใช้อาคาร (อ.6) ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนอาคารชุด ซึ่งการแบ่งสันปันส่วนที่จอดรถให้กับเจ้าของร่วม โดยทั่วไปมักจัดสรรให้ตามแบบและขนาดของห้องชุด เช่น ห้องสตูดิโอ จัดให้มีที่จอดรถได้หนึ่งคัน ห้องขนาดหนึ่งและสองห้องนอนมีที่จอดรถได้สองคัน ห้องขนาดสามห้องนอนหรือเพนท์เฮาส์มีที่จอดรถได้สามคัน เป็นต้น แต่ในทางปฏิบัติ การใช้ชีวิตจริงอาจไม่สามารถทำได้ตามนั้น
เช่นห้องขนาดสตูดิโอ ระบุให้มีที่จอดรถหนึ่งคัน แต่ในความเป็นจริงอาจอยู่ด้วยกันสองคน สามีภรรยามีรถสองคัน หมายความว่าจะมีรถหนึ่งคันสามารถเข้ามาจอดในอาคารชุดได้ แต่อีกคันหนึ่งจะต้องแลกบัตรในฐานะผู้มาเยี่ยมทุกวัน ซึ่งสร้างความหงุดหงิดไม่น้อย ทางแก้ไขที่ทำได้คือ ทำสติกเกอร์ หรือบัตรผ่านเข้า-ออกพิเศษให้รถคันที่สองนี้ให้เข้ามาในโครงการโดยไม่ต้องแลกบัตร แต่อนุญาตให้จอดในที่จอดของผู้มาเยี่ยม ซึ่งที่จอดรถของผู้มาเยี่ยมนี้มักจัดไว้นอกอาคารบริเวณโดยรอบ หรืออาจกั้นไว้ในอาคารจอดรถแยกให้เป็นสัดส่วน ก็จะลดปัญหาข้างต้นได้ แต่แน่นอนว่าจะทำให้ที่จอดรถที่เตรียมไว้ลดลง แต่ก็ยังดีกว่าที่จะปล่อยให้เจ้าของร่วมไม่มีที่จอดรถ
อีกปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เจ้าของร่วมบางรายมีรถหลายคัน จึงนำรถมาจอดในที่จอดรถของอาคารชุด บางรายมีมารยาทก็ไปจอดในที่จอดรถผู้มาเยี่ยม แต่หลายคนก็ไม่สนใจ เลือกจอดตามใจ บางรายจอดทิ้งไว้เป็นเดือน ซึ่งถ้าเป็นที่จอดรถประเภทที่ไม่ได้มีการกำหนดเลขที่บ้านผู้เป็นเจ้าของไว้ ก็อาจไม่มีปัญหา ตราบเท่าที่ยังมีที่จอดรถอย่างพอเพียง แต่ถ้าเป็นที่จอดรถประเภทที่กำหนดเลขที่บ้านไว้ก็มักทำให้มีเรื่องทะเลาะกันได้ ซึ่งปัญหาก็มักไปลงเอยที่นิติบุคคลที่จะต้องหามาตรการในการแก้ไข เช่น ต้องมีการล็อกล้อ เสียค่าปรับหรือใช้วิธีเตรียมแม่แรงไว้เพื่อเคลื่อนย้ายรถที่จอดขวางหรือจอดทับสิทธิ ซึ่งก็จะเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างเจ้าของรถที่ถูกเคลื่อนย้ายกับนิติบุคคลต่อไป
จะเห็นได้ว่าการบริหารที่จอดรถให้มีประสิทธิภาพต้องมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น การออกแบบและจัดที่จอดรถให้เหมาะสมและพอเพียงโดยเจ้าของโครงการตั้งแต่ต้น โดยคำนึงถึงความเป็นจริง การชี้แจงของนิติบุคคลให้เจ้าของร่วมทราบถึงสิทธิในการจอดรถ รวมทั้งการบังคับใช้กฎข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการจอดรถอย่างเข้มงวดโดยไม่เลือกปฏิบัติ และประการสำคัญที่สุดคือการที่เจ้าของร่วมในอาคารชุดนั้น ๆ ต้องมีจิตสำนึกในการรู้จักสิทธิและหน้าที่โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นนะครับ.
ดินสอพอง
-
ค่าทดแทนจากการเวนคืนที่ดิน
วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/345/201761-
กระผมนั่งคิดครึ้ม ๆ ว่า วันนี้นั่งเขียนต้นฉบับด้วยดินสอท่ามกลางแสงวับแวม ๆ จากเทียนไขที่จุดรายล้อม เขียนเสร็จแล้วนั่งสามล้อถีบมาส่งต้นฉบับที่เดลินิวส์ เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว
จึงเรียกสามล้อกลับบ้านอย่างสบายใจ รอเวลาขึ้นรถไฟไปต่างจังหวัดซึ่งคงใช้เวลาไม่กี่วันก็ถึงที่หมาย
น้ำยังท่วมตามปกติ นั่นหมายถึงว่ากระผมกำลังมีปูปลากุ้งหอยมาให้จับกินถึงหน้าบ้านอย่างอุดมสมบูรณ์ ไปไหนมาไหนก็นั่งเรือแจวไม่รีบร้อน โน พรอบเบล็ม
อา นี่มันช่างเป็นชีวิตที่แสนผาสุกอะไรอย่างนี้ มันคือชีวิตในอุดมคติ เรียบง่าย ไม่รีบเร่ง แสนสบาย ไม่มีความเครียด ทำยังไงหนอท่านผู้อ่านจึงจะได้มีชีวิตที่เพอร์เฟกต์เหมือนกระผมบ้าง
ก็ไม่แน่หรอกขอรับโปรดอย่าอิจฉากระผม วันแห่งความผาสุกเช่นนั้นกำลังใกล้เข้ามาอย่างน่าพิศวง เพราะจะสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูก็มีคนต่อต้าน จะมีสามจี ก็มีคนฟ้องขัดขวาง จะมีรถไฟความเร็วสูง ก็คัดค้านกันเสียงระงม จะสร้างเขื่อนใหญ่ ๆ วันนี้ไม่มีทางสร้างได้ จะจัดการเรื่องน้ำท่วมให้เป็นระบบ ก็มีการฟ้องร้องให้ระงับการดำเนินการ
ท่านผู้คัดค้านทุกเรื่องกำลังทำฝันให้เป็นจริง ขณะที่กำลังเคลิบเคลิ้ม ดันมีท่านผู้อ่านใช้นามว่า “แฟนเดลินิวส์” ถามมาอย่างไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม สุขเสิกอะไรกันฟะ
ขอทราบหลักเกณฑ์และวิธีการในการคิดค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินว่าจะมีการ ปรับลดจากราคาเดิมได้หรือไม่ และที่ดิน ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่เหลืออยู่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จะมีสิทธิอย่างไรบ้างตามกฎหมาย
อันนี้สิน่าห่วงจริงเพราะโครงการต่าง ๆ ของรัฐในเรื่องเหล่านี้ต้องมีการเวนคืนที่ดินชาวบ้าน
ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามกฎหมาย สุขจริงทุกข์จริง เพราะมีข้อโต้แย้งเป็นคดีปกครองจำนวนมากไม่เห็นมีใครเป็นห่วง
ประการแรก ปัญหาว่ากำหนดค่าทดแทนที่ดินไว้เรียบร้อย มีการเปลี่ยนใจจะปรับลดจำนวนเงินค่าทดแทนในภายหลังได้หรือไม่ อาจเป็นเพราะหน่วยงานผู้ดำเนินการประสบปัญหาในทางงบประมาณในภายหลัง เป็นต้น
ถ้าการกำหนดราคาครั้งแรกกระทำโดยชอบตามหลักเกณฑ์ในมาตรา ๒๑ แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพิจารณาอย่างเป็นธรรมแล้ว พูดคำไหน คำนั้นครับ เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจหน่วยงานผู้เวนคืนที่จะปรับลดได้ ดังมีกรณีที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพื่อก่อสร้างทางหลวงตารางวาละ ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อมาได้ปรับลดอัตราค่าทดแทนลงร้อยละ ๑๐ คงเหลือตารางวาละ ๙,๐๐๐ บาท
โดยอ้างปัญหาภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น (ซึ่งน่าจะหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง)
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า นอกจากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้พิจารณากำหนดค่าทดแทนตามมาตรา ๒๑ แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ แล้วยังพิจารณาจากสภาพและทำเลที่ตั้งของที่ดินด้วย การกำหนดราคาทดแทน จึงชอบด้วยเหตุผลและเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินแล้ว
แต่การที่คณะกรรมการฯ ได้ปรับลดอัตราค่าทดแทนที่ดินลงร้อยละ ๑๐ เป็นตารางวาละ ๙,๐๐๐ บาท โดยอ้างปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบใดบัญญัติให้อำนาจไว้ จึงไม่เป็นธรรมแก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ศาลพิพากษาให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่เจ้าของที่ดินในอัตราตารางวาละ ๑๐,๐๐๐ บาท (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๖๘/๒๕๔๙)
คดีปกครองเรื่องค่าทดแทนนี่ ปกติชาวบ้านเขาขอสามคำ ขอเงินเพิ่ม นี่ไปลดจนชาวบ้านฟ้องได้แค่เหลือเท่าทุน
คำถามต่อมาเกี่ยวกับที่ดินส่วนที่เหลืออยู่จากการเวนคืน มีมาตรา ๒๑ วรรคสามแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย
ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยวางหลักเกณฑ์ไว้ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๙ / ๒๕๔๙ ดังนี้
ประการแรกต้องได้ความว่า ที่ดินส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลงอันเป็นผลจากการเวนคืน
เป็นหน้าที่ ของหน่วยงานผู้เวนคืนที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงจากการเวนคืนหรือไม่ เพียงใด โดยไม่จำต้องให้เจ้าของที่ดินผู้ถูกเวนคืนร้องขอเสียก่อน
ซึ่งการกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่ราคาลดลง จะต้องลดลงโดยเป็นผลโดยตรงจากการเวนคืนเท่านั้น
ทั้งนี้ ต้องพิจารณาจากผลกระทบต่าง ๆ ที่ทำให้ที่ดินเฉพาะแปลงนั้นเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากการเวนคืนโดยตรง
พิจารณาผลกระทบอะไรบ้าง ท่านว่าให้พิจารณาถึงรูปร่างลักษณะ ขนาดที่เปลี่ยนแปลงไปของที่ดิน รวมถึงข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ เป็นต้น
และ มิอาจนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาได้ เนื่องจากราคาประเมินทุนทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกำหนดราคาประเมินที่ดินทั้งระบบและเป็นการสำรวจเพื่อกำหนดราคาที่ดินใหม่ทุก ๆ สี่ปี
ก็ต้องกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือตามความเป็นจริงและเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินผู้ถูกเวนคืน
อย่างไรก็ดี คดีนี้ ปรากฏว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีส่วนที่เหลือจากการเวนคืนยังคงใช้ประโยชน์ได้ และมิได้มีราคาสูงขึ้นหรือลดลงแต่อย่างใด ศาลจึงไม่จำต้องกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้ผู้ฟ้องคดี
เรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนมีกำหนดไว้ในกฎหมายหลายประเด็น จึงมีปัญหากันมากสำหรับชาวบ้านที่ถูกเวนคืนและไม่ใช่นักกฎหมาย เพื่อรับใช้ท่านผู้อ่านเดลินิวส์ถ้ามีข้อสงสัยประการใดสอบถามมาที่อีเมลข้างล่างนี้ ปัญหาใดมีหลักกฎหมายน่าสนใจ ก็ขออนุญาตนำลงเผยแพร่ต่อไปขอรับ.
พิสิษฐ์ พลรักษ์เขตต์
www.naipisit.com/ (http://www.naipisit.com/)อีเมล์ :praepim@yahoo.com
.
-
กฎหมายแรงงานน่ารู้ .. ลาเพื่อรับราชการทหาร
-http://hilight.kapook.com/view/79595-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
หนุ่ม ๆ วัยทำงานหลายคน ที่ได้รับหมายเรียกเข้ารายงานตัวเพื่อรับราชการทหาร แต่ก็ยังกังวลใจในเรื่องของการลางาน เพราะยังไม่เข้าใจถึงสิทธิ์ในการลา วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการลาเพื่อรับราชการทหาร มาฝากให้พนักงานชายหนุ่มทั้งหลายได้เข้าใจกันจ้า
ลาเพื่อรับราชการทหาร
การลาเพื่อเข้ารับราชการทหาร ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 35 นั้น เป็นการอนุญาตให้ลาเพื่อเข้ารายงานตัวต่อหน่วยงานทหาร ตามหมายเรียกพล เพื่อตรวจสอบและเพื่อฝึกวิชาทหาร แต่ไม่ใช่การลาเพื่อรับราชการทหารที่เกิดจากการเกณฑ์ทหารเหมือนที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งการลาแบบนี้เรียกว่า ลาระดมพล โดยมีรายละเอียดดังนี้
จำนวนวันที่ลา สามารถลาได้ตามที่กำหนดมาในหมายเรียก
ค่าจ้างในวันที่ลา ตามมาตรา 58 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาด้วย แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน ใน 1 ปี
เมื่อได้ทราบข้อมูลของการลาเพื่อรับราชการทหารเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมใช้สิทธิ์การลาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ด้วยนะคะ และหากมีข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับประกันสังคมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ กระปุกดอทคอมจะนำมาฝากให้คนทำงานได้ทราบกันอีกแน่นอนจ้า
http://hilight.kapook.com/view/79595 (http://hilight.kapook.com/view/79595)
-
หมั้น-แต่งงาน-สมรส
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1375525023&grpid=&catid=02&subcatid=0207-
โดย พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช
คอลัมน์ ฎีกาชีวิต (มติชนรายวัน 3 สิงหาคม 2556)
สังคมไทยยังมีความสับสนพอสมควรในเรื่องการหมั้น การจัดพิธีแต่งงาน และการสมรส จนดูว่าเกี่ยวพันกันแยกกันไม่ออก ครั้นเกิดปัญหาขึ้นถ้าทั้งสองฝ่ายหาทางตกลงกันเพื่อยุติประเด็น 3 ประการข้างต้นด้วยเหตุและผลและไม่ใช้กฎหมายมาช่วยแก้ไขปัญหาดีกว่าเป็นไหนๆ
ให้แปลกใจอยู่เหมือนกันว่า มนุษย์เราต่างเชื่อในความยุติธรรมและยึดมั่นในความถูกหรือผิดด้วยกัน เมื่อมีปัญหาใดทำไมไม่ใช้ความเชื่อที่กล่าวไว้มาช่วยกันแก้ไข หรืออาจหาคนกลางและจ้างทนายที่ปรึกษาไว้ด้วยยิ่งดี หรือจะใช้มโนธรรมควบคู่กันไปยิ่งวิเศษ ปัญหาอาจคลี่คลายก็ได้
พูดกันตามภาษาชาวบ้านไม่ต้องใช้กฎหมายมายุติปัญหาได้หรือไม่ เช่น ชายหนุ่มและหญิงสาวคู่หนึ่งต่างรักกัน ชายนั้นต้องรับผิดชอบต่อการสู่ขอหมั้นหมายหญิงคนที่เขารัก หลังผ่านการทาบทามพ่อแม่ฝ่ายหญิงกันล่วงหน้า ชายควรจะดูฐานะทางการเงินของตัวเองเสียก่อนๆ ที่จะคิดขอหมั้นหญิง
ถ้าฝ่ายหญิงไม่ขัดข้องชายบิดพริ้วไม่ได้ ครั้นถึงวันสู่ขอหมั้นหมายกันจริงๆ ชายมีหน้าที่ส่งมอบของหมั้นและสินสอดหรือโอนทรัพย์สินให้ตามที่ตกลงกันไว้ก่อน เหตุผลก็คือเพื่อเป็นหลักฐานหรือจะเรียกว่าเป็นหลักประกันว่าชายนั้นจะสมรสกับหญิงไม่แปรเปลี่ยนว่ากันไปตามนี้
พระเดชพระคุณท่านอย่าได้อ้างว่าหลักทรัพย์ที่ตกลงกันนั้นยังขาดอยู่ไว้วันแต่งงานกันจริงๆ จะนำมาส่งมอบให้ครบอย่ากังวล หรือให้ของหมั้นแต่บางส่วนและค้างบางส่วน ไม่ว่ากรณีใดก็ตามถ้าฝ่ายหญิงเชื่อฝ่ายหญิงต้องรับความเสี่ยงกันเอง หากต่อมาเกิดปัญหาเห็นทีจะต้องโทษการตัดสินใจของตัวเอง
ใช่ว่าเรื่องที่ยกมาเป็นตัวอย่างจะไม่เคยเกิดขึ้น เกิดขึ้นมาแล้วทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว ครั้นวันวิวาห์มาถึงชายเตรียมงานเลี้ยงออกค่าใช้จ่ายเอง แต่ของหมั้นขอยกยอดไว้ก่อนก็ดี หรือที่ค้างบางส่วนยังหามาให้ไม่ทันขอผัดผ่อนไปก่อนก็ดี
หรือซ้ำร้ายชายให้ฝ่ายหญิงออกค่าใช้จ่ายในงานแต่งไปก่อน ส่วนของหมั้นเป็นเพียงสัญญาว่าจะมอบให้ภายหลัง หลังแต่งงานกันแล้วชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรสผัดผ่อนหญิงและทะเลาะกัน ที่สุดชายขนของออกจากบ้านหลังนั้น
สิ่งที่ยกมากล่าวจะว่าชายผิดสัญญาหมั้นก็ไม่ใช่ เพราะการหมั้นยังไม่เกิดขึ้น เป็นแต่เพียงสัญญากันไว้ว่าจะ...แต่ยังไม่ได้มีการส่งมอบของหมั้น หญิงจะอ้างชายผิดสัญญาหมั้นก็ไม่ได้ จะอ้างได้ก็ต่อเมื่อการหมั้นเกิดขึ้นแล้ว แต่ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานฝ่ายหญิงใจดีมากออกค่าใช้จ่ายให้ก่อนจะส่งบิลไปเก็บเงินกับใครดี
เมื่อไม่มีการหมั้น ฝ่ายหญิงเรียกค่าทดแทนความเสียหายจากฝ่ายชายก็ยากนะ เพราะกฎหมายก็ไม่เปิดช่องอีกเช่นกัน ปัญหาเช่นที่ยกมานี้จะไปเรียกร้องความยุติธรรมจากใครให้หนักใจแทน
ฝ่ายหญิงทั้งเจ็บใจทั้งสูญเสียความสาวและถูกสังคมรอบข้างลงโทษด้วยเสียงซุบซิบนินทา ก่อนอื่นใดสิ่งแรกและสำคัญคือต้องตั้งสติให้มั่น ค่อยๆ ดูเหตุแห่งปัญหาทั้งหมดเกิดจากชายหรือการตัดสินใจของฝ่ายหญิงผิดพลาดก่อน และใช้ปัญญาคิดอ่านกันต่อไป
ฝ่ายหญิงต้องใจเย็นอย่าใช้อารมณ์หากควบคุมไม่ได้เกรงว่าเหตุร้ายจะตามมา ทั้งสองฝ่ายค่อยๆ หาช่องทางคลี่คลายความเสียหาย ดูซิว่าฝ่ายชายจะมีทางออกบรรเทาความเสียหายได้แค่ไหน เพียงใด?
ถ้าชายคนที่หญิงเคยเชื่อว่ารักเธอยังมีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ น่าจะหาทางเยียวยาความเสียหายหรือแสดงความรับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่แท้ เว้นแต่หญิงดูคนผิดมาแต่แรกคงเก็บความเสียใจไว้คนเดียวกระมัง
อีกเรื่องหนึ่งหากชายให้ของหมั้นบางส่วนแต่ผิดสัญญาหมั้นภายหลังถือว่าการหมั้นเกิดขึ้นแล้ว เมื่อชายผิดสัญญาหมั้นไม่ยอมสมรส ของหมั้นบางส่วนก็ตกเป็นสิทธิแก่หญิง ส่วนที่ค้างไว้อย่าได้หวังคำสัญญา
เพราะว่าของหมั้นต้องส่งมอบให้หญิงในวันหมั้น มอบส่วนที่เหลือในวันอื่นหาใช่ของหมั้นไม่
เรื่องจะกล่าวถึงต่อไป "ให้ของหมั้นหญิง คู่หมั้นแต่บางส่วน" เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมากฎหมายคุ้มครองสิทธิหญิงไว้อย่างไร?
-
อะไรคือกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน กันแน่
วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2556 เวลา 00:03 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/188732/225302-
(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/225302.jpg)
อะไรคือร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่ต้องให้นายกรัฐมนตรีรับรอง
การเสนอร่างพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และร่างพระราชบัญญัติธรรมดาทั่วไป ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ 3 วิธีโดย 1) คณะรัฐมนตรี 2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ส่วนร่างพระราชบัญญัติทั่วไป นอกจาก 3 วิธีดังกล่าวแล้ว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติทั่วไปได้ด้วย โดยที่หากร่างพระราชบัญญัติทั่วไปที่เสนอนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีด้วย ส่วนร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแม้ว่าจะเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงินแต่ไม่มีบทบัญญัติให้ต้องเสนอนายกรัฐมนตรีให้คำรับรองด้วย จึงสามารถเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรได้เลย
ในการดำเนินงานของกระทรวงการคลังก็มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติทั่วไปที่มีลักษณะเกี่ยวด้วยการเงินเช่นกัน แต่เนื่องจากเป็นร่างที่เสนอจากคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 142 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีอยู่ในคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว จึงไม่ต้องขอคำรับรองจากนายกรัฐมนตรีซ้ำอีก
แล้วปัญหาว่าอะไรคือร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่ต้องให้นายกรัฐมนตรีรับรองจะพิจารณาแต่เพียงชื่อหรืออ่านเผินๆ คงไม่ได้ อย่างเช่น เมื่อเร็วๆนี้ มีร่างพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งที่ดูชื่อก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเงิน แต่ก็ยังมีประเด็นปัญหาให้ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นร่างพระราชบัญญติที่เกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติแต่ละเรื่องว่าเข้าข่ายตามมาตรา 143 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือไม่ กล่าวคือ เป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาในลักษณะเป็นการขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร การจัดสรร รับ จ่ายเงินแผ่นดิน หรือโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การกู้เงิน การค้ำประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หรือเงินตรา
สำหรับกรณีเกิดเป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีหรือไม่นั้น รัฐธรรมนูญได้กำหนดแนวทางการวินิจฉัยไว้โดยให้ที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะ เป็นผู้วินิจฉัย และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรจัดให้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว หากเสียงส่วนใหญ่เห็นว่า “ไม่ใช่” สภาผู้แทนราษฎรก็สามารถพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไปได้ แต่หาก “ใช่” ก็ต้องส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรองร่างพระราชบัญญัตินั้นๆ ก่อน จึงจะบรรจุเข้าสู่วาระของสภาผู้แทนราษฎรได้ นอกจากนี้ แม้ว่าตอนเสนอร่างพระราชบัญญัติจะพิจารณา ว่าไม่เกี่ยวด้วยการเงิน แต่หากในชั้นการพิจารณาของสภามีการปรับแก้ไขร่างพระราชบัญญัติจนมีเนื้อหาเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ก็ต้องดำเนินการเพื่อให้นายกรัฐมนตรีรับรองอีกด้วย
นางสาวรินทร์ธิยา เธียรธิติกุล
สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
https://www.facebook.com/ (https://www.facebook.com/)สำนักกฎหมาย-สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
-
การยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร - กฎหมายรอบรั้ว
วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/950/234251-
การยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนการปฎิบัติดังนี้ เมื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่อมาที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือมีกรณีให้ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามที่กำหนดในข้อบังคับให้คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรยื่นคำขอจดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
พร้อมด้วยหลักฐานคือ หนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร, รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกที่มีมติให้ ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร, บัญชีที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคบริการสาธารณะและทรัพย์สินอื่นของนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร, บัญชีหนี้หรือภาระผูกพันของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและหนังสือยินยอมของเจ้าหนี้ให้ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร(ถ้ามี), หลักฐานการจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และทรัพย์สินอื่นไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา(ถ้ามี) และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือสาขา ได้จดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นอันยกเลิก และให้หมายเหตุ การยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และหนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติ บุคคลหมู่บ้านจัดสรรทั้งสองฉบับนี้ให้ตรงกัน กับให้ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่งตั้ง ผู้ชำระบัญชีภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่จดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับแก่การชำระบัญชีของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยอนุโลม แต่ห้ามมิให้ผู้ชำระบัญชีจำหน่ายที่ดินอันเป็น สาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะมีมติเป็นอย่างอื่น และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการโดยต้องจัดการชำระบัญชีของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้เสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือมีกรณีที่คณะกรรมการจะกำหนด เวลาไว้เป็นอย่าง อื่น
ส่วนเรื่องที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะรวมทั้งทรัพย์สินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่เหลือจากการชำระหนี้ให้ผู้ชำระบัญชีโอนที่ดินและทรัพย์สินดังกล่าวให้ แก่นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นที่จัดตั้งขึ้น ในกรณีที่มิได้จัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนที่ดิน และทรัพย์สินดังกล่าวให้ผู้ชำระบัญชีดำเนินการจด ทะเบียนโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคให้เป็นสาธารณประโยชน์ หรือให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยผู้รับ โอนจะต้องไม่กระทำการอันถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง หรือส่งผลกระทบต่อการได้รับบริการหรือใช้ประโยชน์ ในสิ่งอำนวยความสะดวกเดิมของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแต่อย่างใดนะครับ
ดังนั้นหากภายหลังการตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แล้วพบว่าการเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้นไม่เป็น ประโยชน์ต่อสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรแล้วก็สามารถยกเลิกการจดทะเบียนได้ตลอดเวลาเพียงแต่ต้องทำตามขั้นตอน ที่กฎหมายกำหนดเท่านั้นครับ
ดินสอพอง
.
-
การควบรวมนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร - กฎหมายรอบรั้ว
วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/950/235655-
ตาม พรบ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 กำหนดให้ผู้จัดสรร ต้องจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โดยความ เห็นชอบจากผู้ซื้อแปลงย่อยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และต้องให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับจากวันยื่นขอจดทะเบียนต่อ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือสาขา แต่ในกรณีผู้จัดสรรมีการดำเนินการขออนุญาตจัดสรรแบ่งเป็นเฟส เช่นโครง การมีการแบ่งพัฒนาเป็น 3 เฟส ก็อาจต้องยื่นขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเฟส 1 ก่อน ตามด้วย เฟส 2 และ 3 ตามลำดับ จึงอาจมีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรถึง 3 นิติบุคคลภายใน 1 โครงการ
และตาม พรบ.ดังกล่าว มาตรา 45กำหนดให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลง ย่อยตามแผนผังโครงการ (มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วตั้งแต่ 2 นิติฯ) และมีพื้นที่ติดต่อกัน หรือใกล้ เคียงกันสามารถควบรวมเป็น 1 นิติฯ ทั้งนี้มติของที่ประชุมใหญ่แต่ละแห่งที่อยู่ภายในโครงการเดียวกันต้องมีเสียง ไม่น้อยกว่าสามในสี่ หรือเอกฉันท์ ให้ควบรวม และต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับที่แต่ละนิติฯ ด้วย
ดังนั้น ในกรณีที่หมู่บ้านจัดสรรแต่ละเฟส มีทางเข้า-ออกทางเดียวกัน และมีการโอนสาธารณูปโภคส่วน กลางมาใช้ร่วมกันในภายหลัง จึงจำเป็นต้องมีการขอจดทะเบียนควบรวมนิติฯ ดังกล่าว
โดย ตามพ.ร.บ. กำหนดให้คณะกรรมการหมู่บ้านยื่นคำขอจดทะเบียนควบนิติฯตามแบบที่คณะกรรมการ จัดสรรที่ดินกลางกำหนดที่จังหวัด หรือสาชาสาขาพร้อมหลักฐานได้ดังนี้
- หนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่ละแห่ง
- รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกแต่ละแห่งที่มีมติให้ควบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และ เห็นชอบกับข้อบังคับของนิติฯที่เกิดจากการควบ
- สำเนาข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดจากการควบ
- บัญชีหนี้หรือภาระผูกพันของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่ละแห่งและหนังสือยินยอมของเจ้าหนี้ในการ ควบนิติฯ (ถ้ามี)
- บัญชีทรัพย์ที่เป็นสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และทรัพย์สินอื่นของนิติฯ แต่ละแห่ง
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือสาขาได้รับคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานแล้ว ให้พิจารณาความถูกต้อง ของเอกสารตามกฎหมายมีคำขอและเอกสารหลักฐาน, สำเนาข้อบังคับ และ วัตถุประสงค์ ของนิติฯ หากต้องครบ ถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดให้ปิดประกาศคำขอไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือ สาขา สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ, แขวง, ที่ทำการกำนันในท้องที่นั้น, สำนักงานหรือที่ทำการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ที่ดินจัดสรร นั้นตั้งอยู่ และที่บริเวณที่ทำการจัดสรร แห่งละหนึ่งฉบับ ซึ่งต้องปิดประกาศไว้ 30 วัน และหากมีผู้คัดค้านภาย ในกำหนด เจ้าพนักงานที่ดินฯ ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง และสรุปเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณาโดยเร็ว จากนั้น แจ้งผู้คัดค้านและเจ้าพนักงานที่ดินฯ ภายใน 15 วัน ซึ่งหากไม่ชอบด้วยกฎหมายให้เจ้าพนักงานที่ดินฯ มีคำสั่งยกเลิก คำขอดังกล่าว หากเห็นชอบก็ให้มีคำสั่งควบรวมนิติฯ ได้
ทั้งนี้นิติฯ ใหม่ที่เกิดจากการควบรวมจะได้ทั้งสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบที่นิติฯ เดิม (ก่อนควบรวม) พึงมีทุกประการมีครับ
ดินสอพอง
-
9 ปัญหายอดฮิต เกี่ยวกับกฎหมายการสร้างบ้าน - รอบรู้เรื่องบ้าน
วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/950/239531-
(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/239531.jpg)
เมื่อพูดถึงเรื่อง “กฎหมาย” หลายคนมักส่ายศีรษะ ปิดตาไม่อยากรับรู้ และปล่อยให้สถาปนิกจัดการเคลียร์แบบหรือหาทางลักไก่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่รู้หรือไม่ กฎเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ตราขึ้นเป็นกฎหมายนั้น ล้วนมีเหตุและผลเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและความปลอดภัยของตัวเจ้าของบ้านเอง “บ้านและสวน” จะมาไขข้อข้องใจ 9 ปัญหายอดฮิตเกี่ยวกับกฎหมายการสร้างบ้านซึ่งหลายคนสงสัยและมักเข้าใจผิด มีอะไรบ้างมาดูกัน
ทำไมต้องสร้างบ้านโดยเว้นระยะรอบบ้านจะสร้างชิดรั้วเลยได้ไหม ได้พื้นที่เยอะดี
ไม่ได้ กฎหมายกำหนดให้บ้านที่มีพื้นที่น้อยกว่า 300 ตารางเมตรในด้านที่ไม่มีช่องเปิดต้องมีระยะถอยร่นจากตัวอาคารถึงแนวเขตที่ดิน ซึ่งอย่างน้อยก็ต้อง 0.50 เมตร (แล้วท่านยังต้องให้เพื่อนบ้านเห็นชอบและเซ็นรับรองในเอกสารว่ายินยอมด้วย) แต่สำหรับบ้านที่มีพื้นที่มากกว่า 300 ตารางเมตร ด้านที่เป็นผนังทึบต้องเว้นรอบบ้าน 1 เมตร เพราะอย่าลืมนะครับว่า เวลาช่างก่อสร้างบ้านของท่าน อย่างน้อยเขาก็ต้องตั้งนั่งร้าน หรือต้องมีระยะให้ช่างเข้าไปทำงานฉาบ ทาสีผนังข้าง ๆ บ้านท่าน เราจึงต้องมีระยะพื้นที่ว่างรอบ ๆ บ้านไว้ด้วย
เจาะผนังเพื่อแขวนภาพบนคอนโดมิเนียมได้ไหม
ผนังคอนโดมิเนียมส่วนที่กั้นระหว่างห้องหนึ่งกับอีกห้องหนึ่ง เป็นผนังที่มีเจ้าของร่วมกัน (คนละครึ่ง) หากเจาะสกรูสั้น ๆ ก็คงไม่เป็นไร แต่หากใช้สกรูตัวยาวอาจทะลุไปทำความเสียหายต่อทรัพย์สินเขาได้ แล้วอีกอย่างคือเรื่องเสียงที่เกิดขึ้นเวลาเจาะผนัง มันช่างดังสะท้านไปถึงแก้วหูเลย ดังนั้นหากจะเจาะผนังก็ควรแจ้งเพื่อนบ้านข้างเคียงเสียหน่อยก่อนเจาะก็จะดีที่สุด
อยู่คนเดียว เลยทำห้องนอนขนาดเล็กแค่ 2.50 X 2.50 เมตร ผิดกฎหมายไหม
ผิด กฎหมายกำหนดให้ห้องนอนต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 8 ตารางเมตร และส่วนที่แคบที่สุดต้องกว้างอย่างน้อย 2.50 เมตรด้วย นั่นหมายถึงห้องที่เล็กที่สุดต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 3.20 X 2.50 เมตรนั่นเอง
ต้นไม้ข้างบ้านยื่นกิ่งก้านข้ามรั้วมายังเขตพื้นที่บ้านเรา ตัดทิ้งได้เลยไหม
ในบ้านเราแม้ไม่มีกฎหมายห้าม แต่เพื่อความสมานฉันท์ระหว่างเพื่อนบ้าน ก็ควรบอกให้เจ้าของต้นไม้ทราบถึงปัญหาดังกล่าวก่อน ถ้าเจ้าของต้นไม้ไม่ดำเนินการ เราก็สามารถตัดส่วนที่ยื่นเกินมาได้
บ้านที่อยู่ใกล้คลองหรือทางน้ำธรรมชาติ ต้องมีระยะถอยห่างเท่าไร
ถ้าแหล่งน้ำนั้นกว้างน้อยกว่า 10 เมตร บ้านต้องถอยห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 3 เมตร
แหล่งน้ำกว้างกว่า 10 เมตร บ้านต้องถอยห่างอย่างน้อย 6 เมตร ถ้าเป็นแหล่งน้ำใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องถอยห่างอย่างน้อย 12 เมตร
หากก่อสร้างบ้านโดยไม่ขออนุญาตจะเกิดอะไรขึ้น เรื่องนี้สำคัญหรือเปล่า
เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องส่งแบบเพื่อยื่นขออนุญาต มิฉะนั้นหากนายช่างหรือนายตรวจจากทางราชการมาตรวจพบ อาจมีเอกสารให้ระงับงานก่อสร้างไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับใบอนุญาต และหากสิ่งก่อ
สร้างที่ได้ทำไว้นั้น
ขัดต่อข้อกฎหมายอีก อาจต้องรื้อถอนและทำใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอีกด้วย ขออนุญาตไว้ตั้งแต่แรกจึงน่าจะดีที่สุด
ไม่ติดรางน้ำฝนได้ไหม ไม่เห็นจะสวยเลย
หากการระบายน้ำจากบ้านเราไม่พุ่งข้ามรั้วไปบ้านข้างเคียง ไม่ต้องติดรางน้ำก็ได้ เพราะจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้มีกฎหมายบังคับชัดเจน แต่ถ้าลองนึกถึงใจเขาใจเรา การติดรางน้ำเพียงไม่กี่บาท ย่อมดีกว่าการต้องมีเพื่อนบ้านเป็นศัตรูเป็นไหน ๆ
รูปแบบของบันไดกว้างยาวเท่าไรก็ได้หรือเปล่า
กฎหมายอาคารกำหนดให้บันไดภายในบ้านต้องมีความกว้างอย่างน้อย 0.90 เมตร โดยวัดระยะที่โล่งจริง ๆ ไม่รวมราวบันไดหรือสิ่งที่ยื่นออกมาขวางทางเดิน หากคิดไม่ออกบอกไม่ถูก ก็ทำกว้างๆ ไว้สักหน่อย ไม่ควรต่ำกว่า 1.20 เมตร เพื่อความสะดวกในการเดินขึ้นลง นอกจากนี้ขนาดของลูกตั้งก็ห้ามสูงเกิน 20 เซนติเมตร ลูกนอนต้องกว้างไม่ต่ำกว่า 22 เซนติเมตร
สร้างรั้วบ้านใหม่ สูงได้กี่เมตร
ไม่ว่าจะเป็นรั้วบ้านด้านติดกับถนนทางเข้าหรือด้านที่ติดกับเพื่อนบ้าน เราสามารถสร้างรั้วได้ใหม่ชิดกับรั้วเดิมโดยไม่ต้องขออนุญาตข้างบ้านก่อน แต่ต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร วัดจากระดับฟุตปาธหรือถนนสาธารณะ.
บ้านและสวน
http://www.dailynews.co.th/article/950/239531 (http://www.dailynews.co.th/article/950/239531)
-
-http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=189059-
-http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=189074-
.
http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=189059 (http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=189059)
http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=189074 (http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=189074)
-
สปส.เตือนผู้ประกันตน ม.39 ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน ถูกตัดสิทธิ์ทันที
-http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&cat=762&id=3986-
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ขอให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 ควรส่งเงินสมทบตามกำหนด หากขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน ถูกตัดสิทธิ์ทันที และควรหมั่นตรวจสอบการนำส่งเงินสมทบอย่างสม่ำเสมอ
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้พบปัญหาของผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวนมากขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน ทำให้สิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนแรกที่ขาดส่ง หรือกรณีที่ผู้ประกันตนให้หักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคารฯ แต่ยอดเงินในบัญชีมีไม่เพียงพอ ทำให้สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตนได้ จึงขอเตือนผู้ประกันตนให้ความสำคัญในการตรวจสอบการนำส่งเงินสมทบ อย่างสม่ำเสมอ และควรนำส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง หากผู้ประกันตนขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน และกรณีภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ถึง 9 เดือน จะถูกตัดสิทธิการเป็นผู้ประกันตนทันที
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถส่งเงินสมทบได้ 4 วิธี คือ
(1) จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
(2) จ่ายเงินทางธนาณัติ
(3) ส่งผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
(4) เปิดบัญชีประเภทออมทรัพย์เพื่อให้ทางธนาคารหักจากบัญชีเงินฝาก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
ซึ่งหากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบโดยวิธีหักจากบัญชีธนาคารจะต้องมีเงินให้เพียงพอเพื่อหักเงินสมทบ โดยธนาคารคิดค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท หากเดือนใดวันที่ 15 เป็นวันหยุดทำการจะเลื่อนไปหักบัญชีในวันทำการถัดไป ธนาคารจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้ผู้ประกันตนทางไปรษณีย์
สำนักงานประกันสังคมขอย้ำให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 ทราบว่าหากนำส่งเงินสมทบล่าช้าเกินกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)
…………………………………….………………………………
ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคม
สอบถามประกันสังคม โทร.1506 ให้บริการ 24 ชั่วโมง / www.sso.go.th (http://www.sso.go.th)
-
เรื่องน่ารู้ ก่อนทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์
-http://money.kapook.com/view79943.html-
เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
เช่าซื้อรถยนต์ ต้องทำยังไง ก่อนทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ต้องจ่ายเงินทั้งหมดก่อนหรือไม่ มาดูข้อมูลก่อนทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กัน
ต้องยอมรับว่า รถยนต์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในยุคปัจจุบันที่แทบขาดไม่ได้ไปเสียแล้ว ดังนั้นสำหรับคนที่กำลังอยากซื้อรถยนต์สักคัน แต่ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ เรามีข้อมูลน่ารู้ จากหนังสือชุดรู้รอบเรื่องการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย www2.bot.or.th มาฝากให้ได้ศึกษาข้อมูลกันแล้วจ้า
รู้..ก่อนทำสัญญาเช่าซื้อรถ
ก่อนที่จะตัดสินใจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อรถ เราควรทราบถึงสาระสำคัญบางประการ ของประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 ดังนี้
1. เมื่อผู้เช่าซื้อจ่ายเงินครบตามสัญญาแล้ว กรรมสิทธิ์ในรถจะตกเป็นของผู้เช่าซื้อทันที ผู้เช่าซื้อจะต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนรถให้เป็นของผู้เช่าซื้อภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับเอกสารประกอบการจดทะเบียนครบถ้วน
2. ถ้าผู้เช่าซื้อต้องการจ่ายค่าเช่าซื้อทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีก่อนกำหนด ผู้เช่าซื้อต้องให้ส่วนลดในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยเช่าซื้อ ที่ยังไม่ถึงกำหนดจ่าย
3. ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการติดตามทวงถามหนี้ทั้งหมด ตามที่ผู้เช่าซื้อได้จ่ายไปตามจริง
4. สัญญาเช่าซื้ออาจถูกยกเลิก (และอาจนำไปสู่การถูกยืดรถได้ในที่สุด) หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระหนี้ 3 งวดติดต่อกัน และผู้ให้เช่าซื้อได้มีจดหมายลงทะเบียนตอบรับแจ้งผู้เช่าซื้อให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และผู้เช่าซื้อไม่ได้ปฏิบัติตาม
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) www.ocpb.go.th (http://www.ocpb.go.th) หรือสอบถามได้ที่ โทร. 1166
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือชุดรู้รอบเรื่องการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย
-http://www2.bot.or.th/FinancialLiteracy/FCC/eBook4/-
-
เป็นหนี้บัตรเครดิต จะโดนยึดเงินเดือนไหม!!
-http://money.sanook.com/170812/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B6%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99/-
เป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบ หมุนจ่ายไม่ทัน ใครเคยเป็นบ้าง ถ้าใครไม่เคยนับว่าเป็นเรื่องดีที่รู้จักการบริหารการเงิน แต่ถ้าใครกำลังเผชิญสภาวะนี้อยู่ ลองอ่านบทความนี้ดู
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ อายัดเงินเดือน โบนัส ได้หรือไม่
การใช้เงินอนาคตผ่านบัตรพลาสติก ทั้งบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดนั้น หากสามารถบริหารการเงินได้เป็นอย่างดี ใช้แล้วจ่ายตรงกำหนดเวลา จะได้รับประโยชน์มากทั้งการสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของรางวัล และการเลื่อนเวลาการจ่ายเงินสดออกไป แต่หากไม่รู้เท่าทันการใช้เงินอนาคตเหล่านี้ หวังเพียงแค่โปรโมชั่นของแถมมากมายจากการสมัคร แล้วใช้จ่ายอย่างไม่ลืมหูลืมตา อาจเป็นโทษมหันต์ได้เช่นกัน
ข้อควรรู้ก่อนเริ่มต้นทำบัตรเครดิตนั้น ผู้ใช้บัตรเครดิต จำเป็นต้องมี "วินัยในการใช้เงิน" คือ ต้องจ่ายชำระหนี้ให้ตรงตามกำหนด หากชำระเต็มจำนวนได้ยิ่งดี พยายามมีบัตรเครดิตให้น้อยใบที่สุดเพื่อควบคุมหนี้ ใช้จ่ายในวงเงินที่เราสามารถชำระคืนได้ และหมั่นตรวจสอบว่าในแต่ละเดือนมีพฤติกรรมใช้จ่ายเงินเกินตัวหรือไม่ เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มมีพฤติกรรมดังกล่าว ควรเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย พิจารณาให้ดีว่ารายจ่ายส่วนใหญ่เป็นของจำเป็นหรือฟุ่มเฟือย แค่นี้ก็ไม่ต้องปวดหัวกับการมีหนี้แล้วครับ
พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหา คือ รูดบัตรเครดิตใช้เงินล่วงหน้าก่อน อยากได้อะไรก็รูดๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงศักยภาพในการชำระหนี้ ว่าจะมีเงินชำระหนี้หรือไม่ จะรู้ตัวอีกทีก็เมื่อวงเงินเต็มไม่สามารถรูดได้อีกนั่นล่ะครับ พอนานวันเข้าก็หาทางออกด้วยการกู้เงินจากบัตรกดเงินสดมาชำระหนี้บัตรเครดิต และกู้หมุนเวียนสลับไปเรื่อยๆ แรกๆ ก็ยังหมุนเงินคล่องมือ แต่หลังจากมีหนี้หลายใบ ก็เริ่มกู้เงินไม่ได้แล้ว พอเงินหมุนไม่คล่อง ไม่สามารถจ่ายเจ้าหนี้ได้ จากที่เคยรูดหรือกดเงินสดได้ ก็เริ่มเป็นกังวลกับการที่ไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้ กลัวเจ้าหนี้จะมาทวงหนี้ถึงที่ทำงาน ซึ่งปัญหาหนี้เหล่านี้ส่งผลให้ลูกหนี้บางรายที่ยังคงมีความสามารถชำระหนี้ได้ ไม่กล้าไปทำงานหรือบางรายลาออกไปเลยก็มี
สำหรับผู้ที่เป็นหนี้สินมากมายและไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้วนั้น ข้อควรรู้ประการหนึ่ง คือ เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์สินที่จำเป็นในการดำรงชีพ เช่น โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ อุปกรณ์เครื่องครัว โทรทัศน์ หรือ ทรัพย์สินที่ใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากินได้ แต่หากเป็นทรัพย์สินมีค่าอย่างอื่น เช่น บ้าน รถยนต์ เงินฝากในบัญชีธนาคาร สร้อย แหวน ทองคำ กรมบังคับคดีมีสิทธิ์ที่จะยึดทรัพย์สินเพื่อนำมาชำระหนี้ได้
สำหรับคำถามเจ้าหนี้สามารถอายัดเงินเดือน หรือโบนัส ได้หรือไม่นั้น หลักเกณฑ์การอายัดเงินเดือนที่ควรทราบไว้ คือ ลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำของข้าราชการจะไม่ถูกอายัดเงินเดือน หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือเป็นพนักงานบริษัทแล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิ์อายัดเงินเดือนเพื่อใช้หนี้ได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินเดือนเท่านั้น ทั้งนี้ หากมีค่าใช้จ่ายจำที่จำเป็นอื่นๆ อีก เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่ารักษาพยาบาลพ่อแม่ซึ่งเจ็บป่วยอยู่ สามารถนำหลักฐานเพื่อลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้อีก
ข้อควรรู้อีกประการ คือ หากลูกหนี้มีเงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท เจ้าหนี้ไม่สามารถสั่งอายัดเงินเดือนได้ เนื่องจากต้องเหลือเงินขั้นต่ำให้ใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพในชีวิตประจำวันด้วย กรณีที่มีเงินเดือนมากกว่า 10,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น มีรายได้เดือนละ 20,000 บาท ลูกหนี้จะถูกอายัดเงินได้สูงสุดไม่เกิน 6,000 บาท ทำให้มีเงินเหลือใช้จ่ายแต่ละเดือน 14,000 บาท เป็นต้น
นอกเหนือจากเงินเดือนแล้ว เงินได้และทรัพย์สินอื่นๆ เจ้าหนี้สามารถสั่งอายัดได้หรือไม่นั้น สำหรับบัญชีเงินฝาก เจ้าหนี้สามารถสั่งอายัดได้ทั้งจำนวน ในส่วนของรายได้อื่น เช่น เงินโบนัส หากเป็นช่วงสิ้นปีแล้วมีโบนัส เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ 50% ในส่วนของทรัพย์สินที่เป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือหากร่วมทุนอยู่กับผู้อื่นเปิดบริษัท กรมบังคับคดีสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาด และอายัดทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่เป็นของผู้ถูกอายัดเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ทั้งจำนวน
จะเห็นได้ว่าการเริ่มต้นเป็นหนี้นั้น ไม่ได้เป็นการได้เงินมาใช้ฟรีๆ เพียงแต่เป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า ต้องใช้คืนหนี้ทั้งเงินต้นรวมทั้งดอกเบี้ย หากคุณเป็นผู้ที่ยังเป็นหนี้ไม่มากนักและพอที่จะชำระหนี้ไหว ต้องการที่จะปลดหนี้เพื่อความเป็นไทให้กับตัวเอง เริ่มต้นวันนี้ยังไม่สายครับ เพียงแค่จัดการโอนหนี้รวมเป็นก้อนเดียว มีบัตรเครดิตเพียงแค่เพื่อใช้จ่ายได้สะดวกหรือยามจำเป็น ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องพยายามรักษาเครดิตคุณไว้ให้ดี เพราะหากก่อหนี้เสียไว้แล้ว และต้องการกู้ซื้อบ้านหรือทำธุรกิจในอนาคต อาจดับความฝันในอนาคตได้
โดย : คนอง ศรีพิบูลพานิชย์, AFPT
ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย
-
เกณฑ์การยึด-อายัดทรัพย์-อายัดเงินเดือน
-http://www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=40192&Itemid=64-
-http://www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&catid=7&Itemid=64&view=category&limitstart=0&limit=20-
การถูกยึดทรัพย์
เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระคืนตามคำพิพากษาภายใน 15 หรือ 30 วันแล้วแต่ศาลจะกำหนดในคำพิพากษา
(ขอให้มียอดเข้าไปหลังมีคำพิพากษาภายในช่วงเวลานี้ คือ จ่ายคืนบางส่วนก็ได้ ไม่ใช่จ่ายเต็ม) คือ จะจ่าย Haircut หรือผ่อนจ่ายตามที่ตกลงได้กับเจ้าหนี้ก็ได้
เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้
โดยให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายยึดและอายัดต่อไป
1. ทรัพย์สินที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มูลค่ารวมกัน 50,000 บาทแรกห้ามเจ้าหนี้ยึด ทรัพย์ที่จำเป็นในการดำรงชีพ เช่น
โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ โทรทัศน์ เครื่องครัว แต่ถ้าเป็นสร้อย แหวน นาฬิกา
ของเหล่านี้แม้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของลูกหนี้ แต่เจ้าหนี้ก็มีสิทธิยึดได้เพราะไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต
2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือทำมาหากินของลูกหนี้ ถ้ามูลค่ารวมกัน 100,000 บาทแรก ห้ามเจ้าหนี้ยึด เครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร(ถ้าประกอบธุรกิจรับถ่ายเอกสาร) ในกรณีที่เครื่องมือประกอบอาชีพมีราคาสูงกว่า 100,000 บาท และจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ก็สามารถขอต่อศาลได้
หากมีเจ้าหนี้หลายราย ทรัพย์ใดถูกยึดไปแล้ว ห้ามเจ้าหนี้รายอื่นมายึดซ้ำ เจ้าหนี้รายใดยึดก่อนก็ได้สิทธิก่อน
การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่างๆ
หากศาลตัดสินแล้ว เราควรติดต่อทนายโจทก์ว่าจะจ่ายอย่างไร จะผ่อนชำระหรือจ่ายงวดเดียวก็แล้วแต่จะตกลงกัน
แต่หากลูกหนี้เพิกเฉยไม่ติดต่อ ไม่ยอมจ่ายเงิน หรือตกลงเรื่องการจ่ายเงินไม่ได้ ทนายโจทก์ก็จะทำเรื่องขอยึดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือน และหากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 2, 3, 4 ... จะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้ ต้องรอคิว ให้รายแรกอายัดครบก่อน ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกินสิบปี หากเกินสิบปีก็จะหมดอายุความ
.........................................................
เกณฑ์การอายัดเงินเดือนของกรมบังคับคดี หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ/ลูกจ้างประจำของข้าราชการจะไม่ถูกอายัดเงินเดือน หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง หรือเป็นพนักงานบริษัท ฯลฯ จะถูกอายัดเงินเดือน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. อายัดเงินเดือนไม่เกิน 30 %
*** ลูกหนี้เงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท --- อายัดไม่ได้
*** ลูกหนี้เงินเดือนเกิน 10,000 บาท อายัดได้ 30 % แต่จะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้ใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 10000 บาท
เช่น
- ลูกหนี้เงินเดือน 9,500 บาท ไม่ถูกอายัด
- ลูกหนี้เงินเดือน 12,000 บาท ถูกอายัด 2,000 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,000 บาท
- ลูกหนี้เงินเดือน 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท เหลือไว้ใช้จ่าย 10,500 บาท
***หากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ เช่นค่าเลี้ยงดูบุตร ค่ารักษาพยาบาล สามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนที่ กรมบังคับคดีเพื่อให้ลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้
*** การอายัดเงินเดือนจะให้บริษัทนำส่ง หรือลูกหนี้นำส่งกรมบังคับคดีเองก็ได้
2. เงินโบนัส จะถูกอายัดไม่เกิน 50 %
3. เงินตอบแทนการออกจากงาน จะถูกอายัด 100 %
4. เงินค่าตอบแทนต่างๆ / ค่าสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าตำแหน่ง
*** การถูกอายัดจะขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหน้าจะสืบทราบหรือไม่และร้องขอต่อศาลว่าจะอายัดเท่าไหร่
5. บัญชีเงินฝาก ---อายัดได้
6. เงิน กบข --- อายัดไม่ได้
7. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำกับบริษัท ----อายัดไม่ได้ (พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)
แต่ถ้าทำกองทุนต่างๆกับธนาคารต้องดูตามหลักเกณฑ์ของ กองทุนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ และมีข้อห้ามการบังคับคดีหรือไม่ ถ้าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ และไม่มี ข้อห้ามก็จะอายัดได้
8. เงินค่าวิทยะฐานะ (ค่าตำแหน่งทางวิชาการ) ถ้าเป็นข้าราชการจะไม่ถูกอายัด แต่ถ้าเป็นสังกัดเอกชนจะถูกอายัด เพราะถือว่าเป็นเงินเดือน
9. หุ้น ---กรมบังคับคดีสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือ ถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้
10. เงินสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท หากเจ้าหนี้สืบทราบว่าเป็นสมาชิกสหกรณ์ใด สามารถอายัดเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน เงินค่าหุ้นสหกรณ์ได้
11. ร่วมทุนกับผู้อื่นเปิดบริษัท
---หากผู้ร่วมลงทุนมีปัญหาถูกอายัดทรัพย์---กรมบังคับคดีจะอายัดเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สิน
ของผู้ถูกอายัดเท่านั้น ไม่ได้อายัดทั้งหมด อาจดูเฉพาะส่วนของเงินปันผล
ใบหุ้นฯลฯ ของผู้ถูกอายัด
.........................................................
การถูกอายัดเงินเดือน กรมบังคับคดีจะอายัด 30% จากเงินเดือนเต็ม ก่อนหักภาษี และประกันสังคม เช่น 15000 บาท ถูกอายัด 4500 บาท จะเหลือเงินไว้ใช้ จ่ายภาษี ประกันสังคม ฯลฯ 10500 บาท
.........................................................
การอายัดเงินเดือน ลูกหนี้จะถูกอายัดจากยอดเงินเดือนเต็ม
บ้านหรือที่ดินถึงแม้จะติดจำนองหรือผ่อนอยู่กับธนาคาร ก็ถูกยึดไปขายทอดตลาดได้
รถยนต์หรือจักรยานยนต์ หากยังติดไฟแนนซ์อยู่จะยึดไม่ได้ เพราะกรรมสิทธิ์เป็นของบริษัทไฟแนนซ์
ยังไม่ใช่ทรัพย์สินของคุณ
หากลูกหนี้ผู้ถูกอายัดเงินเดือนมีภาระที่ต้องจ่ายเงินกู้ให้แก่ หน่วยงานอื่น เช่นสหกรณ์ต่างๆ
ลูกหนี้จะต้องคำนวณว่า เงินเดือนที่เหลือจากการถูกอายัดมีเพียงพอ
ที่จะใช้จ่ายประจำวันตลอดเดือน และเหลือพอที่จะจ่ายเงินกู้คืนให้สหกรณ์หรือไม่
- หากลูกหนี้ถูกอายัดเงินเดือน และถูกหักเงินกู้สหกรณ์แล้ว ยังมีเงินพอใช้และเหลือเก็บบ้างก็ถือว่าไม่เป็นไรไม่ต้องกังวล
- แต่หากถูกอายัดเงินเดือน และถูกหักเงินกู้สหกรณ์แล้วเงินเหลือไม่พอใช้จ่าย
ก็ควรหาทางแก้ไข เพราะถ้าไม่แก้ไขมันอาจจะนำไปสู่ปัญหาการหมุนจ่ายแบบเดิมอีกรอบ
ทำให้แก้ไขปัญหาหนี้ไม่หมดสักที โดยลูกหนี้ควรจะ...
1 .เจรจากับทางสหกรณ์ หาทางลดหย่อนยอดเงินที่ต้องชำระคืนในแต่ละเดือนโดยอาจจะยืดระยะผ่อนชำระ
ให้นานออกไป(ในกรณีที่ถูกหักบัญชีอัตโนมัติ)
2. อาจจะหยุดจ่ายและให้ทางสหกรณ์ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย
และอายัดเงินเดือนต่อไป (วิธีนี้อาจสร้างปัญหาให้กับสหกรณ์ได้)
ลูกหนี้ยังสามารถใช้วิธีที่ 3 คือ
3. ลูกหนี้สามารถนำยอดเงินที่ถูกหักจ่ายคืนให้สหกรณ์มาขอ ลดหย่อนเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้ (ขอลดหย่อนได้สูงสุด 50% เท่านั้น)
หมายความว่า ให้ลูกหนี้นำยอดภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ลูกหนี้ต้องจ่ายรวมทั้งเงินที่ต้องชำระคืนแก่
สหกรณ์มารวมยอดและขอลดยอด การอายัดเงินเดือน ไม่ให้กรมบังคับคดีอายัดเงินเดือนจาก ยอดเต็มถึง 30 % ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ในการขอลดยอดการถูกอายัดจะขอลดยอดได้มากที่สุด คือให้กรมบังคับคดีอายัดไม่ต่ำกว่า 15%
***วิธีที่สามนี้เป็นวิธีที่น่าทำที่สุด***
รวบรวมโดย: sunshine
******************************************************************************
อ่านเพิ่มเติม
100 คำถามยอดนิยม ของเวบไซด์กรมบังคับคดี
led.go.th/100q/main.asp
-http://led.go.th/100q/main.asp-
ท่านถาม - เราตอบ ของเวบไซด์กรมบังคับคดี
test.led.go.th/faqn/faq.asp
-http://test.led.go.th/faqn/faq.asp-
เวบไซด์กรมบังคับคดี
led.go.th/
-
ข้อต่อสู้ในคดีแพ่งที่ลูกหนี้ควรศึกษา
-http://www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&catid=7&id=1897&Itemid=64&view=topic-
เมื่อตนเองต้องตกอยู่ในฐานะลูกหนี้และอาจต้องถูกฟ้องคดีต่อศาล ลูกหนี้บางคนตกใจและยิ่งต้องเจอกับการทวงหนี้แบบไม่ค่อยจะถูกต้องนักจากตัวแทนฝ่ายเจ้าหนี้ด้วยแล้ว
บางคนอาจเกิดอาการเครียดและเท่าที่เคยปรากฏเป็นข่าวบางคนถึงกับคิดฆ่าตัวตายเนื่องจากไม่รู้ว่าจะหาเงิน
จากที่ไหนมาใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้ปัญหาเหล่านี้อาจจะไม่ต้องกังวลนัก หากท่านรู้ถึงข้อต่อสู้ที่ตนเองมีอยู่เพื่อจะได้นำไปใช้ชี้แจงกับฝ่ายเจ้าหนี้ได้
สำหรับข้อต่อสู้ของลูกหนี้นั้นก็มี...เป็นต้นว่า
- ตนเองเป็นหนี้จริงหรือไม่ สัญญาที่เจ้าหนี้อ้างว่าลูกหนี้เป็นหนี้อยู่นั้นเป็นสัญญาปลอมหรือไม่
- หนี้ที่เจ้าหนี้นำมาทวงถามกับลูกหนี้นั้น สามารถบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ หรือเป็นโมฆะหรือไม่ หรือได้ทำถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
- ในส่วนดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้เรียกร้องมานั้น ได้มีการคิดถูกต้องตามสัญญาหรือไม่ และเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ (กฎหมายกำหนดให้คิดได้ไม่เกิน 15% ต่อปี ยกเว้นกรณีที่เจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินสามารถคิดได้ตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตไว้)
- และเรื่องสำคัญหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาเรียกร้องเอาแก่ลูกหนี้นั้นขาดอายุความหรือยัง หากขาดอายุความแล้วเมื่อลูกหนี้ยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาล ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง
แต่ถ้าลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว ศาลก็ไม่สามารถนำปัญหาเรื่องหนี้ขาดอายุความหรือไม่มาวินิจฉัยได้ ลูกหนี้ก็เสียประโยชน์ไป
อายุความฟ้องคดีก็มีเป็นต้นว่า
1. หนี้บัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปีนับจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
2. กรณีเช่าซื้อ แบ่งเป็น
2.1 กรณีที่เรียกเอาค่าเสียหายจากสภาพทรัพย์สินชำรุดบุบสลาย เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและผู้ให้เช่าซื้อกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ได้ให้เช่าซื้อไปแล้ว หากพบว่ามีการชำรุดบุบสลายผู้ให้เช่าซื้อต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้นภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ตนได้รับทรัพย์นั้นคืน
2.2 ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้ภายในอายุความ 2 ปี
2.3 อายุความฟ้องเรียกค่าติดตามยึดทรัพย์คืน, เรียกค่าเสียหายหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อ, เรียกค่าเสียหายให้ผู้เช่าซื้อชดใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อแทน, เรียกค่าเสียหายหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้ครอบครองทรัพย์ที่เช่าซื้อ เหล่านี้ต้องฟ้องภายในอายุความ 10 ปี
3. กรณีหนี้เงินกู้ต้องฟ้องภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
4. มูลหนี้ค่าสินค้าที่ผู้ขายเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาค่าสินค้าที่ได้ส่งมอบไปนั้นมีอายุความ 2 ปี แต่ถ้าซื้อสินค้ามาเพื่อใช้ในกิจการของตน เช่น ผู้รับเหมาซื้ออุปกรณ์ก่อสร้างมาใช้ในกิจการที่ตนรับเหมานั้นมีอายุความ 5 ปี
5. และสำหรับกรณีที่ลูกหนี้เสียชีวิต ไม่ว่าหนี้เดิมจะมีอายุความยาวกว่าหนึ่งปีไปอีกเท่าใดก็ตาม เจ้าหนี้จะต้องฟ้องกองมรดกของลูกหนี้ให้ชำระหนี้เสียภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรรู้ว่าลูกหนี้ตาย
6. สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปี ทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด
7. กรณีเจ้าหนี้จำนอง จำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง หรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ตนได้ยึดถือไว้ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินดังกล่าวนั้นตลอดไปไม่มีอายุความ แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้ (แต่ลูกหนี้ก็ต้องยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย ศาลจึงจะวินิจฉัยให้ได้)
*** สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องอายุความได้จากในกระทู้นี้ ***
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=813&Itemid=29
ที่กล่าวมานี้ก็เป็นกรณีตัวอย่างพอสังเขป เพื่อให้ลูกหนี้หรือแม้แต่ฝ่ายเจ้าหนี้ได้รู้ถึงสิทธิของตนเอง ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน แต่อย่างไรก็ตามหากเราเป็นหนี้แล้ว ก็ควรจะต้องชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้ ไม่เจตนาแนะนำให้เบี้ยวหนี้ แต่ต้องการให้ท่านที่ไม่มีกำลังพอจะชำระหนี้ในขณะนี้ ไม่ต้องตกใจจนเกินไปนัก
หากหนี้ไม่ขาดอายุความ และมีการฟ้องร้องบังคับคดีเกิดขึ้นแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีกำลังที่จะชำระคืนได้ไหว ก็ให้เจรจากับเจ้าหนี้ขอผ่อนชำระก็ได้ โดยจะเจรจาเองหรือแต่งตั้งทนายความให้ไปเจรจาแทนตนเองก็ได้ แต่ไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินไป เนื่องจากการเป็นหนี้นั้นไม่มีโทษทางอาญา(กล่าวคือไม่มีโทษจำคุกหรือปรับนั่นเอง) หากมีใครมาขู่ว่าจะนำตำรวจมาจับหรือจะต้องถูกจำคุก ก็ไม่ต้องกลัว เพราะตำรวจไม่มีอำนาจจับกุมลูกหนี้ในเรื่องคดีแพ่ง
ฟันธง...
-
ท้องไม่รับ ทำอะไรได้บ้าง
-http://men.sanook.com/1746/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/-
เรื่องการชิงสุกก่อนห่าม นี่เป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใครจริงๆ ครับ เข้าใจว่าเรื่องเซ็กซ์กับผู้ชายนั้น มันอยู่ข้างๆ กัน แต่หากรักจะชิงสุกก่อนห่ามแล้วก็ต้องรู้จักการป้องกัน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาเรื่องฝ่ายหญิงตั้งท้อง และปัญหานี้จะไม่ใช่ปัญหาครับ เมื่อฝ่ายชายยินยอมที่จะรับผิดชอบ และทางฝ่ายหญิงเขาก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเกิดว่า ผู้ชายไม่รับ ปัญหาต่างๆ ย่อมตามมาอย่างแน่นอน และผู้ชายที่ทำแล้วไม่ยอมรับผิดชอบก็รู้ไว้นะครับ ว่าฝ่ายหญิงก็สามารถเอาผิดคุณตามกฏหมายได้ ดั่งกรณีที่ Sanook! MEN จะนำมาให้เป็นกรณีศึกษานี้ครับ
ฝ่ายชายไม่รับเป็นพ่อเด็กทำอย่างไรดี
น้องสาวอายุ 26 ปี ท้องประมาณ 4 เดือน แล้วก็บอกให้ญาติฝ่ายชายไปขอ แต่ญาติฝ่ายชายกลับปฏิเสธ แบบนี้ฝ่ายหญิงต้องทำอย่างไรบ้าง ตอนนี้ทำอะไรไม่ถูกเลย และถามต่อไปอีกว่า ถ้าเกิดฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ แล้วตอนเด็กคลอด ผู้เป็นญาติหรือพี่หรือน้องฝ่ายหญิงสามารถเป็นพ่อ(ชื่อเป็นพ่อในใบเกิด) เด็กได้หรือไม่อย่างไร และเมื่อเวลาผ่านไปฝ่ายชายอยากจะมีสิทธิในตัวเด็กจะทำได้หรือไม่
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
1. น้องสาวย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกให้ชายรับผิดโดยฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555,1556
2. เมื่อคลอดบุตรแล้ว ในใบแจ้งเกิดสามารถเว้นว่างช่องบิดาผู้ให้กำเนิดได้ หากกรอกข้อมูลที่เป็นเท็จ ย่อมมีความผิดอาญาฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ จดข้อความอันเป็นเท็จลงในสูติบัตรอันเป็นเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน ตาม ป.อ. มาตรา 267
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1555 ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(2) เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(3) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
(4) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
(5) เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้
(6) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
(7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร
พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรนั้น ให้พิจารณาข้อเท็จจริงที่แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตรซึ่งปรากฏในระหว่างตัวเด็กกับครอบครัวที่เด็กอ้างว่าตนสังกัดอยู่เช่น บิดาให้การศึกษา ให้ความอุปการะเลี้ยงดูหรือยอมให้เด็กนั้นใช้ชื่อสกุลของตนหรือโดยเหตุประการอื่น
ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ถ้าปรากฏว่าชายไม่อาจเป็นบิดาของเด็กนั้นได้ ให้ยกฟ้องเสีย
มาตรา 1556 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่เด็กเป็นผู้เยาว์ ถ้าเด็กมีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน ในกรณีที่เด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ญาติสนิทของเด็กหรืออัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กก็ได้
เมื่อเด็กมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ เด็กต้องฟ้องเอง ทั้งนี้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
ในกรณีที่เด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว จะต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันบรรลุนิติภาวะ
ในกรณีที่เด็กตายในระหว่างที่เด็กนั้นยังมีสิทธิฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรอยู่ผู้สืบสันดานของเด็กจะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก็ได้ ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรมาก่อนวันที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรภายหลังที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้เหตุดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ต้องไม่พ้นสิบปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่ผู้สืบสันดานของเด็กเป็นผู้เยาว์ ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 276 ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากบิดาไม่รับเป็นบุตรบุญ ไม่สามารถใส่ชื่อบิดาในใบเกิดได้
ขอบคุณบทความจาก
ฝ่ายชายไม่รับเป็นพ่อเด็กทำอย่างไรดี
http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=7236 (http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=7236)
-
ฉลากสินค้าสำคัญอย่างไร - ไขปัญหาผู้บริโภค
-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/214415/%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+-+%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-
เมื่อพูดถึง “ฉลากสินค้า” ทุกท่านที่เป็นผู้บริโภคคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ไม่รู้จักฉลากสินค้า เพราะในชีวิตประจำวันผู้บริโภคสามารถพบเห็นฉลากสินค้าได้ทั่วไป
วันเสาร์ 8 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 00:00 น.
เมื่อพูดถึง “ฉลากสินค้า” ทุกท่านที่เป็นผู้บริโภคคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ไม่รู้จักฉลากสินค้า เพราะในชีวิตประจำวันผู้บริโภคสามารถพบเห็นฉลากสินค้าได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นฉลากยา ฉลากอาหาร ฉลากเครื่องสำอาง ฉลากเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือฉลากสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วฉลากสินค้ามีความสำคัญกับผู้บริโภคอย่างไร
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองไว้ 5 ประการ คือ
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ 2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ 3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา 5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
โดยพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 กำหนดว่า “ฉลาก” หมายถึง รูป รอยประดิษฐ์ กระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏข้อความเกี่ยวกับสินค้าซึ่งแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุสินค้าหรือสอดแทรก หรือรวมไว้กับสินค้า หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุสินค้า และหมายความรวมถึงเอกสารหรือคู่มือสำหรับใช้ประกอบสินค้า ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้านั้น
“ฉลากของสินค้า” จะต้องระบุข้อความดังนี้
- ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร กรณีที่เป็นสินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาเพื่อขาย จะต้องระบุประเทศที่ผลิตด้วย เช่น โทรทัศน์สี คอมพิวเตอร์ สมุดพิมพ์เขียน น้ำหอมปรับอากาศ ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ผลิตในประเทศมาเลเซีย ฯลฯ
- ชื่อผู้ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย
- ชื่อผู้ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
-สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขายหรือของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
- ต้องแสดงปริมาณ หรือขนาด หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้า
- ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด เช่น ใช้ทำความสะอาดพื้นไม้หรือพื้นกระเบื้อง ภาชนะเคลือบใช้ตั้งบนเตาไฟ ฯลฯ
- ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการใช้ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค เช่น ห้ามใช้ของมีคมกับการแซะน้ำแข็งในตู้เย็น ควรเก็บสินค้าไว้ในที่ร่มและไม่เปียกชื้น ฯลฯ
- คำเตือน (ถ้ามี)
- วัน เดือน ปี ที่ผลิต หรือวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือวัน เดือน ปี ที่ควรใช้ก่อน (ถ้ามี)
- ราคาต้องระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นด้วยก็ได้ นอกจากนี้สินค้าที่ควบคุมฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้แก่ สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (กรณีจะเข้าข่ายเป็นโรงงานก็คือใช้แรงงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป หรือใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป) สินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายและคณะกรรมการว่าด้วยฉลากยังมีอำนาจออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก กำหนดให้สินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพร่างกาย หรือจิตใจ เนื่องในการใช้สินค้าหรือโดยสภาพของสินค้านั้น หรือสินค้าทั่วไปใช้เป็นประจำ
การกำหนดฉลากของสินค้านั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค ในการที่จะทราบข้อเท็จจริงในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากได้ สำหรับการแสดงข้อความในฉลากสินค้าต้องใช้ข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ ในกรณีที่สินค้านั้น ๆ มีกฎหมายของหน่วยงานราชการอื่นควบคุมในเรื่องฉลากอยู่แล้ว ก็ให้จัดทำฉลากตามกฎหมายนั้น ๆ เช่น อาหารต้องจัดทำฉลากตามพระราชบัญญัติอาหาร ฯลฯ
เมื่อฉลากสินค้าเป็นแหล่งข้อมูลในการอุปโภค และบริโภคของผู้บริโภค ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้กำหนดสิทธิที่ผู้บริโภคจะต้องได้รับข่าวสาร ดังนั้นไม่ว่าจะก่อนซื้อหรือก่อนใช้สินค้าหรือบริการ หยุดให้ความสำคัญอ่านฉลากสักนิดเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค.
-
การมอบอำนาจ กับ อากรแสตมป์
การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบอำนาจให้อีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน
วันจันทร์ 17 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 00:53 น.
(http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x490/cover/561363.jpeg)
การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบอำนาจให้อีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน และการกระทำนั้นมีผลทางกฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง การทำหนังสือมอบอำนาจโดยเฉพาะกิจการสำคัญๆ เช่น กิจการอันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือกิจการอันเกี่ยวกับการฟ้องร้องคดีต่อศาล ต้องกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง และไม่ควรลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความให้ครบถ้วนชัดเจน มิฉะนั้น แม้จะปรากฏในภายหลังว่าข้อความดังกล่าวผิดไปจากเจตนารมณ์ของ ผู้มอบอำนาจก็ตามหากเกิดความเสียหายขึ้นก็ถือว่าผู้มอบอำนาจต้องรับผิดชอบเนื่องจากประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่อาจใช้ยันบุคคลภายนอกที่สุจริตและเสียค่าตอบแทนได้
ทั้งนี้สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของการมอบอำนาจตั้งตัวแทนซึ่งมิได้กระทำในรูปแบบลักษณะตราสารสัญญา คือ ต้องปิดแสตมป์เพื่อเสียค่าอากรด้วย ซึ่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายหมวดนี้ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีซึ่งตาม ข้อ 7. กำหนดให้ผู้มอบอำนาจต้องปิดแสตมป์เพื่อเสียค่าอากร 3 กรณี คือ
(1) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว เสียค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
(2) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว เสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
(3) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายตนต่างกระทำกิจการแยกกันได้คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบ คนละ 30 บาท
อากรแสตมป์เป็นแสตมป์ที่แสดงถึงการชำระภาษีอากรให้แก่รัฐ การปิดอากรแสตมป์นั้นนอกจากต้องปิดอากรให้ครบถ้วนตามกฎหมายแล้วต้องขีดฆ่าที่อากรด้วย มิฉะนั้นหากไม่ปิดอากรแสตมป์ หรือปิดไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย จะมีผลทำให้อาจถูกเรียกเงินเพิ่มอากรจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ (มาตรา 113) และอาจทำให้สัญญาหรือตราสารที่ทำนั้นไม่สามารถใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ (มาตรา 118) โดยตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2523 หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบแต่ไม่ขีดฆ่า เท่ากับไม่ได้ปิดอากรบริบูรณ์ โจทก์ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หนังสือดังกล่าวจึงใช้อ้างไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทน และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2535 สัญญากู้ยืมเงินปิดอากรแสตมป์ครบบริบูรณ์และได้ขีดฆ่าเพื่อมิให้นำไปใช้ได้อีกแม้มิได้ลงวันเดือนปีที่อากรแสตมป์แต่สัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียก็ถือเป็นการปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้วจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ดังนั้น การมอบอำนาจที่สำคัญดังกล่าวข้างต้นจึงไม่อาจละเลยเรื่องอากรไปได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นไปเพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์ของการมอบอำนาจที่จะผูกพันตามข้อบังคับของกฎหมายอันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ตัวผู้มอบอำนาจนั่นเอง
พิมลพรรณ การขยัน
สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
https://www.facebook.com/ (https://www.facebook.com/)สำนักกฎหมาย-สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
-
อายุความบัตรเครดิต
-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/222880/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95++-+%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-
ปัจจุบัน “ธุรกิจบัตรเครดิต” รัฐได้มีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในเรื่องธุรกิจบัตรเครดิต เช่น ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
วันเสาร์ 15 มีนาคม 2557 เวลา 00:00 น.
“การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ” แต่ถ้ามีหนี้ก็จงชำระหนี้ให้ครบถ้วนถูกต้องตามกำหนดเวลา โดนเฉพาะหนี้บัตรเครดิตซึ่งถ้าไม่รอบคอบและเรียนรู้ศึกษาให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะรูด “หนี้สิน” อาจกลายมาเป็นปัญหาใหญ่ในชีวิตของคุณได้ทีเดียว เช่นเดียวกับหลาย ๆ ต่อหลายกรณีที่มีปัญญาที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตและได้มาร้องเรียนกับสคบ. ปัญหาที่เข้ามาร้องเรียนส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับ การชำระหนี้ ค่าทำเนียม ค่าเบี้ยปรับ บัตรเครดิตหาย โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดจากการขาดวินัยและความรู้ไม่เท่าทันของผู้ใช้บัตรเครดิตทั้งสิ้น อันที่จริงจริงหากเราใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัยและเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ ปัญหาดังกล่าวจะไม่สามารถสร้างความทุกข์ใจให้กับผู้บริโภคได้เลย
อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกและปลอดภัยกว่าการถือเงินสด อีกทั้งการซื้อสินค้าและบริการได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินทันที สามารถถอนเงินสดมาใช้จ่ายในยามฉุกเฉินและสะสมสำหรับผู้บริโภคที่กำลังตัดสินใจจะทำบัตรเครดิตควรอ่านรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ผู้ออกบัตรหลาย ๆ แหล่ง เพื่อเปรียบเทียบ เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี ระยะเวลาชำระคืนโดยปลอดดอกเบี้ย วันที่เริ่มคิดดอกเบี้ย การผ่อนชำระเงินขั้นต่ำ เงื่อนไขการนำบัตรเครดิตไปใช้ในต่างประเทศ ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการอื่น ๆ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และรายละเอียดอื่น เช่น จุดบริการรับชำระเงิน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการสมัครบัตรเครดิต ภาระหน้าที่ของผู้ถือบัตร การทำบัตรหาย การขอยกเลิกบัตร
ปัจจุบัน “ธุรกิจบัตรเครดิต” รัฐได้มีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในเรื่องธุรกิจบัตรเครดิต เช่น ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2544 พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 ซึ่งมีสาระสำคัญในการดูแลธุรกิจบัตรเครดิต แล้วทีนี้หากพลาดพลั้งเกิดเป็นหนี้บัตรเครดิตขึ้นมา ทราบหรือไม่ว่าเขามีอายุความฟ้องร้องกันกี่ปี
เมื่อถามถึงว่าอายุความคืออะไร ตามประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บอกว่า อายุความ คือ สิทธิเรียกร้องที่คนเรามีสิทธิที่จะเรียกร้องต่อกันได้ภายในระยะที่กฎหมายกำหนดสิทธินั้นเอาไว้ ถ้าผู้มีสิทธิเรียกร้องไม่ร้องเอาจนพ้นระยะเวลานั้น สิทธิที่จะเรียกร้องในเรื่องนั้นก็จะหมดไป เรียกว่า “ขาดอายุความ” ซึ่งผู้ที่ต้องถูกบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นก็มีสิทธิปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามที่ผู้นั้นเรียกร้องได้ โดยไม่ผิดกฎหมาย
เดิมทีคดีบัตรเครดิตมีอายุความในการฟ้องร้องภายในกำหนด 10 ปี แต่ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาตีความในเรื่องอายุความของบัตรเครดิตไว้ว่าเป็นการเรียก เอาค่าที่โจทย์ได้ออกเงินทดรองไป มีอายุความ 2 ปี ซึ่งเป็นกรณีทั่วไป ที่ธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชําระหนี้ภายในกําหนดเวลา 2 ปี นับแต่ลูกหนี้ได้ชําระหนี้แก่ธนาคารครั้งสุดท้าย ถ้าหากธนาคารไม่ฟ้องร้องในเวลา 2 ปี คดีก็ขาดอายุความลูกหนี้ก็พ้นความรับผิดไม่ต้องชําระหนี้ แต่แม้ว่าคดีขาดอายุความไปแล้วก็ตามถ้าธนาคารเจ้าหนี้ยื่นฟ้องมาแล้วและลูกหนี้ไม่ยื่นคําให้การแก่คดีภายในกําหนดของกฎหมายลูกหนี้ก็แพ้คดีอยู่ดี แต่ทางที่ดีอย่าเป็นหนี้เลยจะดีกว่า.
-
การจดทะเบียนสมรส เรื่องสำคัญที่คู่บ่าวสาวควรรู้
-http://wedding.kapook.com/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-84544.html-
เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
หนุ่มสาวที่กำลังถกเถียงหรือลังเลเรื่องการจดทะเบียนสมรส ลองอ่านเรื่องความสำคัญของทะเบียนสมรส และประโยชน์ของทะเบียนสมรสที่นำมามาบอกกันก่อนดีกว่า
เราเชื่อว่าว่าที่คู่บ่าวสาวที่กำลังจะเข้าพิธีวิวาห์คงมีการพูดคุยกันเรื่อง "ทะเบียนสมรส" เช่น จะจดทะเบียนสมรสดีไหม, จดกับไม่จดแตกต่างกันอย่างไร, การจดทะเบียนสมรสมีขั้นตอนยุ่งยากหรือเปล่า หรือทะเบียนสมรสผลดีต่อชีวิตคู่และทายาทอย่างไรบ้าง ฯลฯ ซึ่งบางคู่เข้าใจตรงกัน บางคู่เข้าใจแตกต่างกัน ดังนั้น วันนี้เราจึงนำข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับการการจดทะเบียนสมรสมาบอกเล่ากันค่ะ เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไปสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น, สมรสกับคู่สมรสเดิม, มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์, ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้, ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
สำเนาทะเบียนบ้าน
ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส
การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้นต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง การแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
ค่าธรรมเนียม
การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะรับ-ส่งนายทะเบียน การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท
ทะเบียนสมรสสำคัญอย่างไร
การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสมีความสำคัญต่อคู่แต่งงาน สามีภรรยา เพราะเป็นเอกสารทางกฎหมายที่ใช้สำหรับยืนยันความสัมพันธ์ และเป็นหลักฐานที่ใช้สำหรับการยืนยันสิทธิ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา เช่น การรับรองบุตร ซึ่งจะทำให้บุตรได้รับสิทธิ์ต่าง ๆ ตามกฎหมาย การแบ่งสินสมรส การฟ้องหย่าในกรณีสามีหรือภรรยามีชู้ เป็นต้น
การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสามีภรรยาบางคู่ ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น คู่สามีภรรยาที่ทำธุรกิจ หรือนักการเมือง ซึ่งการจดทะเบียนสมรสทำให้ต้องมีการตรวจสอบทางบัญชีการเงินของทั้งสามีภรรยา เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรืออาจเกิดการฟ้องร้องได้ การแต่งงานแบบนี้จึงอาจไม่มีทะเบียนสมรสโดยความยินยอมและตกลงของสามีภรรยาเอง แต่ในขณะเดียวกันการแต่งงานโดยไม่จดทะเบียนสมรสก็กลายเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายที่ทำให้สามีหรือภรรยาโอนทรัพย์สินของตัวเองไปยังบัญชีของอีกฝ่าย เพื่อเลี่ยงการตรวจสอบหรือการเสียภาษีได้เช่นกัน
ประโยชน์ของทะเบียนสมรส
1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน นั่นหมายความว่าสามีจะหาเลี้ยงภรรยา หรือภรรยาจะหาเลี้ยงสามี หรือจะช่วยดูแลกันและกันก็ได้
2. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงหรือภรรยามีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของสามี หรือจะไม่ใช้ก็ได้
3. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงต่างชาติมีสิทธิ์ขอถือสัญชาติไทยตามสามีได้ (ถ้าอยากถือสัญชาติไทย)
4. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์จัดการสินสมรสร่วมกัน (ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรส)
5. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน
6. การจดทะเบียนสมรสทำให้มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการหรือนายจ้าง เช่น กรณีที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือการรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน
7. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทน จากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้ เช่น สามีโดนรถชน ภรรยาสามารถเรียกค่าเสียหายถึงชีวิตกับผู้ขับรถชนได้
8. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาสามารถหึงหวงคู่สมรสของตัวเองได้อย่างออกหน้าออกตามกฎหมาย และหากพบว่าคู่สมรสมีชู้ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสของตัวเอง และเรียกค่าเสียหายได้จากชู้ด้วย
9. การจดทะเบียนสมรสทำให้บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้นามสกุลพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ (บุตรเป็นสิทธิ์ตามชอบธรรมของแม่อยู่แล้ว)
10. การจดทะเบียนสมรสทำให้ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้
11. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
12. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น ภรรยาโดนกระชากกระเป๋า สามีสามารถแจ้งความฟ้องร้องดำเนินคดีกับคนร้ายได้ หรือสามีโดนคนพูดจาหมิ่นประมาทว่าร้าย ภรรยาก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทฝ่ายตรงข้ามแทนสามีได้
ทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมายนานแค่ไหน อายุของทะเบียนสมรส
การจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทะเบียนสมรสก็จะมีผลทางกฎหมายหรือมีอายุยาวตลอดไปจนกว่าจะมีการจดทะเบียนหย่า ซึ่งการจดทะเบียนหย่าก็เป็นไปตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย หรือถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องมีการฟ้องหย่าโดยให้ศาลเป็นผู้พิจารณา เพื่อใช้เหตุผลและหลักฐานต่าง ๆ ประกอบ รวมถึงการหาข้อตกลงต่าง ๆ เช่น การแบ่งสินสมรส สิทธิ์การดูแลบุตร ค่าเลี้ยงดู เป็นต้น
การจดทะเบียนสมรสซ้อน
ตามกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้นผิดกฎหมาย และไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย เช่น หนุ่มเอจดทะเบียนสมรสกับสาวบี แล้วอีกไม่นานหนุ่มเอก็ไปจดทะเบียนสมรสกับสาวซี แบบนี้เรียกว่าจดทะเบียนสมรสซ้อน ซึ่งกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรสครั้งหลังเป็นโมฆะ หากการจดทะเบียนสมรสครั้งแรกยังไม่มีการจดทะเบียนหย่าที่สมบูรณ์ และภรรยาที่จดทะเบียนสมรสซ้อนจะไม่มีรับสิทธิ์ตามกฎหมายใด ๆ ทั้งสิ้น ในขณะเดียวกัน ถ้าหนุ่มเอลักไก่ด้วยการจดทะเบียนสมรสไว้กับสาวทั้งสองคน แต่อยู่ ๆ หนุ่มเอจดทะเบียนหย่ากับสาวบี แล้วไปอยู่กับสาวซี กฎหมายก็ไม่ให้สิทธิ์เช่นกัน เพราะถือว่าหนุ่มเอและสาวซีจดทะเบียนสมรสซ้อนในช่วงที่ยังมีการจดทะเบียนสมรสตัวจริงอยู่
บริการตรวจสอบทะเบียนสมรส
ทางอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ khonthai.com หรือที่กรมการปกครองงานทะเบียนสมรสสอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 1548
พอจะทราบความสำคัญและประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรสหรือใบทะเบียนสมรสกันแล้ว ใครที่กำลังจะแต่งงาน หรือแต่งงานไปแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลองกลับมาทบทวนกันอีกครั้งค่ะว่าจริง ๆ แล้วการจดทะเบียนสมรสดีกับเราหรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและเหตุผลของแต่ละคนและแต่ละคู่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
-http://www.momypedia.com/article-7-21-258/%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AA/-
-bora.dopa.go.th-
-dopa.go.th-
-
เล่นสงกรานต์ถูกลวนลาม "แจ้งเอาผิดตามกฎหมาย"ได้นะจ๊ะ
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1397347921&grpid=03&catid=&subcatid=-
การออกไปเล่นน้ำสงกรานต์ในที่ต่างๆ แล้วโดนลวนลามทางร่างกาย ไม่ว่าจะกอด จูบ ลูบ คลำโดยเจ้าตัวไม่ได้ยินยอม ถือว่าเข้าข่ายความผิดฐานอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้
หากโดนกอด จูบ ลูบคลำ ตามร่างกาย โดนจับของลับ สามารถเอาผิด ตามมาตรา 278 "ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า 15 ปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นไม่อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถ ขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นคนอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
แต่หากไกล่เกลี่ยลงตัว ผู้เสียหายยอมความ สามารถทำได้ ตามมาตรา 281 "การกระทำความผิดตาม มาตรา 276 วรรคแรก และ มาตรา 278 นั้น ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือ ถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการ กระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ใน มาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้" และที่สำคัญผู้เสียหายต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีด้วย
ไม่ว่าเพศใดๆ ต้องรู้เท่าทันกฎหมาย เมื่อออกไปเล่นน้ำแล้วโดนลวนลามร่างกาย ต้องไม่ปล่อยเฉย จบด้วยคำขอโทษ หรือติดป้ายประจาน เพราะสามารถเอาผิดผู้กระทำตามกฎหมายได้ ชนิดติดคุกหัวโตนานนับ 10 ปีได้
คดีอนาจารไม่ใช่ปรับเงินเพียง 500 บาท แล้วปล่อยกลับบ้านเหมือนที่หลายคนเข้าใจ
-
พนักงานลาป่วยได้ทุกกรณีหรือไม่ ?
-http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1397210918-
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์ โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ http://tamrongsakk.blogspot.com (http://tamrongsakk.blogspot.com)
เมื่อทำงานไปแล้วทุกคนมีโอกาสเจ็บไข้ได้ป่วยกันบ้างเป็นธรรมดาของสังขาร ซึ่งตามกฎหมายแรงงานเขาบอกไว้ในมาตรา 32 ให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ซึ่งการลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือของสถานพยาบาลของทางราชการ
ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือสถานพยาบาลของทางราชการ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ
ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างในวันลาป่วยเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วันทำงาน
จากกฎหมายแรงงานที่ผมยกมาข้างต้น จึงสรุปแบบภาษาชาวบ้านได้ว่าลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง (ไม่ใช่ลาป่วยได้ปีละ 30 วันทำงานอย่างที่หลายคนเข้าใจผิดนะครับ) และหากบริษัทอนุญาตให้ลาป่วยจะต้องจ่ายค่าจ้างให้ในวันที่ลาป่วยด้วย (แต่จ่ายให้ไม่เกิน 30 วันทำงาน ถ้าหากปีใดพนักงานลาป่วยจริงเกินกว่า 30 วันทำงาน ส่วนที่เกิน 30 วันทำงานนั้น บริษัทอาจจะไม่จ่ายให้ก็ได้)
ที่ผมบอกมาทั้งหมดนั้นอยู่บนเงื่อนไขสำคัญว่า "ในกรณีที่ลูกจ้างป่วยจริง ๆ" นะครับ
เพราะเรา ๆ ท่าน ๆ จะทราบว่ายังมีพนักงานบางคนที่ "ไม่ได้ป่วยจริง" แต่ไม่อยากจะมาทำงาน ก็เลยอ้างว่า "ป่วย" และขอลาป่วย ซึ่งตามระเบียบของทุกบริษัทจะมีบอกไว้ว่าในกรณีที่พนักงานจะลาป่วยให้ลาป่วยในโอกาสแรกที่จะทำได้ (เช่นโทรศัพท์) มาที่ผู้บังคับบัญชา (ซึ่งก็คือหัวหน้างานโดยตรงนั่นแหละครับ)
แต่ในทางปฏิบัติมักจะพบว่าพนักงานที่แกล้งป่วยมักจะโทร.มาขอลาป่วยกับใครก็ได้ที่ไม่ใช่หัวหน้า
การลาป่วยลักษณะนี้มักจะลาไม่ให้ถึง 3 วันทำงาน เพื่อจะได้ไม่ต้องไปหาใบรับรองแพทย์มายืนยันซะด้วยสิครับ
ปัญหาจะเกิดกับหัวหน้างานว่า...แล้วควรจะต้องอนุญาตให้ลาป่วยทุกกรณีหรือไม่ ? ไม่อนุญาตได้ไหม ถ้าไม่ได้ป่วยจริง ?
จากปัญหาดังกล่าวตอบได้ดังนี้ครับ
1.หากลูกน้องของท่านป่วยจริง ก็ต้องอนุญาตให้ลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน (แต่ถ้าบริษัทจะใจดีจ่ายให้เกินกว่า 30 วันก็ไม่มีปัญหานะครับ)
2.สำหรับกรณีลูกน้องที่มักจะชอบอู้งานโดยอ้างว่าลาป่วย ท่านอาจจะไปเยี่ยมเยียนลูกน้องที่ลาป่วยที่บ้าน หรือที่หอพักของเขาก็ได้ (แต่อย่าไปบอกเขาล่วงหน้าว่าจะไปเยี่ยม) ในกรณีที่เขาลาป่วยไม่ถึง 3 วันเพื่อไปดูว่าเขาป่วยจริงหรือไม่ ซึ่งท่านจะต้องรู้ทันลูกน้องประเภทมือวางอันดับหนึ่งจอมอู้พวกนี้
ถ้าไปเยี่ยมแล้วไม่อยู่ที่ห้องพัก หรือเดินหน้าบานกลับมาห้องพัก อย่างนี้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องอนุญาตให้ลาป่วย เพราะไม่ป่วยจริง และถือว่าขาดงานในวันนั้นได้เลยครับ
3.หัวหน้างานจึงควรจะต้องแยกแยะให้ดีระหว่างลูกน้องที่ป่วยจริง กับลูกน้องที่มักจะชอบอ้างว่าป่วย (แต่ไม่ได้ป่วยจริง) จะได้มีการปฏิบัติกับลูกน้องได้อย่างถูกต้อง และเท่าทันลูกน้อง
แล้วกรณีที่ลูกน้องลาป่วยเท็จล่ะ..ผลจะเป็นอย่างไร ?
ตามอ่านต่อที่ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1397210918 (http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1397210918)
-
.
(http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x490/cover/670870.jpeg)
ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก ต้องมีข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระสำคัญของสินค้านั้น ระบุชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบธุรกิจ
วันเสาร์ 10 พฤษภาคม 2557 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/236204/%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87++-+%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-
ฉลากสินค้ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญและใส่ใจอ่านรายละเอียดก่อน ซื้อเพื่อรักษาสิทธิของตัวท่านเอง การอ่านฉลากสินค้าจะช่วยให้ทราบถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของส่วนประกอบ ปริมาณ สามารถเปรียบเทียบราคาระหว่างผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อก็สามารถช่วยให้ประหยัดเงินในกระเป๋าได้ไม่น้อย นอกจากนี้รายละเอียดของฉลากยังบอกให้ทราบถึงวิธีการเก็บรักษา การใช้งานได้อย่างถูกต้อง หากผู้บริโภคมีความเสี่ยงที่จะแพ้ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก็จะสามารถทราบได้จากการอ่านฉลากและหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเสีย แต่หากเกิดปัญหาในการบริโภคผลิตภัณฑ์ ก็สามารถร้องเรียนให้มีการดำเนินการต่อผู้ผลิต ผู้แทนจำหน่าย ได้ตามชื่อและที่อยู่ที่ปรากฏในฉลากด้วย และเพื่อเป็นการควบคุมให้ผู้ประกอบการ จัดทำฉลากได้อย่างถูกต้อง สคบ. จึงได้ออกประกาศเรื่องลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ซึ่งสินค้าที่ควบคุมฉลากก็ได้แก่ สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและสินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก ต้องมีข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระสำคัญของสินค้านั้น ระบุชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบธุรกิจ สถานที่ผลิต หรือสถานที่ประกอบธุรกิจนำเข้าประเภทสินค้า ประเทศที่ผลิตกรณีนำเข้า ข้อความอันจำเป็น ได้แก่ ราคา ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำ คำเตือน วันเดือนปีหมดอายุ หรือกรณีอื่นตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากกำหนด ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาไทยกำกับภาษาต่างประเทศสามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน
ลักษณะของฉลากที่ควบคุมต้องระบุข้อความดังนี้ ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้า กรณีสั่ง/นำเข้าให้ระบุประเทศที่ผลิต ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศ ไทยของผู้ผลิตเพื่อขาย ชื่อหรือเครื่องหมาย การค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้สั่งหรือนำเข้ามาเพื่อขาย สถานที่ตั้งที่สามารถติดต่อได้จริง ขนาด มิติ ปริมาณ ปริมาตร น้ำหนัก วิธีใช้ ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ คำเตือน (ถ้ามี) วันเดือนปีที่ผลิต หรือ หมดอายุ หรือที่ควรใช้ก่อน ราคาพร้อมระบุหน่วยบาท โดยการแสดงฉลากสินค้าต้องแสดงไว้ที่ตัวสินค้า ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อ สอดแทรกหรือรวมไว้กับสินค้า เอกสารหรือคู่มือ ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุ และหากผู้ประกอบการขายสินค้าที่ควบคุมฉลากแต่ไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่การแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.
-
ขอดูสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ท่านผู้ถามก็ช่างกระไรหนอ คุณใช้ชื่อนี้เวลานี้ถามมาที่กระผมนี้เล่นเอากระผมสะดุ้งโหยง จะดีร้ายประการใดก็รีบค้นคว้าหาคำตอบให้ดีกว่า
วันเสาร์ 7 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/Content/Article/242945/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+%E0%B8%9B.%E0%B8%9B.%E0%B8%8A.-
ท่านผู้ใช้นามว่าปฏิรูปถามมาว่า มีความประสงค์จะขอดูสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งจะขอดูได้ไหม
ท่านผู้ถามก็ช่างกระไรหนอ คุณใช้ชื่อนี้เวลานี้ถามมาที่กระผมนี้เล่นเอากระผมสะดุ้งโหยง จะดีร้ายประการใดก็รีบค้นคว้าหาคำตอบให้ดีกว่า
มีคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๔๒๗/๒๕๕๑ ที่พอจะนำมาเป็นแนวทางในเรื่องนี้ครับ
เหตุเกิดจากผู้ร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. ต้องการทราบรายละเอียดสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในเรื่องที่ตนร้องเรียนกล่าวหาเจ้าหน้าที่ตำรวจรายหนึ่งซึ่งต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช.วินิจฉัยว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล
สงสัยมาก ไม่ผิดได้อย่างไรหว่า ใคร่จะทราบรายละเอียดในการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้แน่ชัด จึงทำหนังสือแสดงความประสงค์ขอตรวจดูและคัดสำเนาสำนวนการสอบสวนทั้งหมด ปรากฏว่าท่านไม่อนุญาต
ไปร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารซึ่งท่านก็วินิจฉัยให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ แต่คณะกรรมการป.ป.ช.ท่านก็ยืนกรานไม่ให้เหมือนเดิม
ท่านก็มีอำนาจตามมาตรา ๑๒๐ แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดเปิดเผยข้อความ ข้อเท็จจริง หรือข้อมูลที่ได้มาเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยมิได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. และมิใช่เป็นการกระทำตามหน้าที่ราชการหรือเพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบหรือไต่สวนข้อเท็จจริง หรือเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำปรับ
แบบนี้ก็ต้องไปเล่นต่อที่ศาลปกครองตามธรรมเนียม คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ ๒ ขอให้เปิดเผยข้อมูลตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารดังกล่าว
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ท่านผู้อ่านที่เคารพที่ศาลท่านต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลปกครอง
แต่ในคดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เป็นกรณีใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ในการออกกฎ คำสั่งหรือมติใด ๆ ที่มีผล กระทบต่อบุคคลเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
และเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ การไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีตรวจและคัดสำเนาเอกสารในสำนวนการไต่สวน จึง มิใช่กระทำในฐานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญและใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ
แต่เป็นการกระทำในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีไม่เปิดเผยสำนวนการสอบสวนตามคำวินิจฉัยตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้เปิดเผยตามคำขอจึงเป็นคดีตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ ดังกล่าว
และตามมาตรา ๔ แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบมาตรา ๑๐๔ และมาตรา ๑๐๘ แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ สำนักงาน ป.ป.ช.เป็น “หน่วยงานอิสระของรัฐ” และผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่ง มิให้เปิดเผยข้อมูลคำสั่งได้ตามมาตรา ๓๕ วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ
ผู้ฟ้องคดีขอตรวจและคัดสำเนาสำนวนการสอบสวนที่มาจากการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึง เป็นเอกสารที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามมาตรา ๑๙ (๓) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯซึ่งต้องห้ามมิให้เปิดเผยตามมาตรา ๑๒๐ ดังกล่าว
แต่บทบัญญัติดังกล่าว มิได้ห้ามหรือให้อำนาจผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่อย่างใด การใช้ดุลพินิจเปิดเผยหรือไม่ย่อมต้องพิจารณา พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯประกอบด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าข้อมูลข่าวสารที่ขอให้เปิดเผยเป็นข้อมูลที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรืออาจทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพและไม่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี
กรณีจึง ไม่มีเหตุที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๒๕ และคำวินิจฉัยให้เป็นที่สุด คณะกรรมการฯจึงมีฐานะเป็น “คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท” ตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ มีผลผูกพันให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตาม เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการข้อมูลฯจึงเป็น การละเลยต่อหน้าที่ พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการตามคำขอของผู้ฟ้องคดี
ก่อนมีเรื่องกับหน่วยงานที่ไม่ยินยอมเปิดเผยข้อมูลให้ตามคำขอ อย่าลืมไปดำเนินการทางคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารก่อนนะขอรับ.
พิสิษฐ์ พลรักษ์เขตต์
-www.naipisit.com/อีเมล- : -praepim@yahoo.com-
-
โดนเลิกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้า จะทำอย่างไรดี
-http://money.kapook.com/view89785.html-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก decha
โดนเลิกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้า จะทำอย่างไรดี จะเรียกร้องค่าชดเชยจากบริษัทได้หรือไม่ เรามีคำตอบ
เชื่อว่าพนักงานบริษัทหลาย ๆ คนอาจจะเคยประสบปัญหาถูกเลิกจ้างโดยไม่บอกล่วงหน้า จนได้รับความลำบากและเดือดร้อนอย่างมาก หากใครที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ล่ะก็...ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากบริษัทได้ ซึ่งวันนี้เราก็มีข้อมูลจากเว็บไซต์ decha.com มาร่วมด้วยช่วยกันคลายทุกข์ และตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ
คำถาม : แม่ทำงานเป็นพนักงานขายกับบริษัทหนึ่ง แล้วบริษัทต่อสัญญาไม่ได้ โทรมาบอกเลิกจ้างทั้งที่จะเปิดขายอีกไม่กี่วัน แล้วเงินประกันก็ยังไม่คืนทำงานมาประกันสังคมก็ไม่มีให้ แต่ถ้าของขาดของหายหักเงินตลอด แม่ไม่ได้ติดใจอะไร แต่อยากได้เงินประกันคืนไว ๆ แต่ก็ติดตลอด พอแม่ว่าไป มาบอกเลิกจ้างบริษัทน่าจะรับผิดชอบ กลับบอกว่าให้ไปว่ากับโรงเรียนที่ไม่ต่อสัญญา เราจะทำอย่างไรได้บ้างคะ
คำตอบ : การที่บริษัทนายจ้างเลิกจ้างมารดาของท่าน นอกจากนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากการเลิกจ้างนั้นแล้ว หากบริษัทไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและคืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามีให้แก่มารดาซึ่งเป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10 วรรคสอง, มาตรา 17 วรรคสาม ดังนี้ มารดามีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ตนทำงานอยู่ หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งตามความมาตรา 123, มาตรา 124 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
สรุปว่า หากโดนเลิกจ้างโดยที่ไม่บอกล่วงหน้า ก็สามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน เพื่อเรียกร้องค่าชดเชย หรือเพื่อให้รับกลับเข้าทำงานได้นั่นเอง
-
6 วิธีรับมือกระทู้โจมตีบนโลกออนไลน์
-http://ch3.sanook.com/22127/it-24-%E0%B8%8A%E0%B8%A1-digital-marketing-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B5-
IT 24 ชม. Digital Marketing รับมือกระทู้โจมตีบนโลกออนไลน์
หลายๆท่านที่เคยเข้าเว็บบอร์ดดังอย่าง Pantip หรือไม่ก็คลิกอ่านกระทู้ pantip ผ่านทาง Social Network ต่างๆ ก็จะเห็นกระทู้ที่ตั้งขึ้น ซึ่งเป็นกระทู้แนะนำที่คนสนใจจำนวนมาก และบ่อยครั้งที่แบรนด์มักจะถูกโจมตีจากผู้บริโภค งานนี้แบรนด์จะรับมือจัดการกับกระทู้นี้อย่างไร? เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของแบรนด์ และหวังให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวแบรนด์มากขึ้น
เราได้รวบรวมข้อมูลจาก นายอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ผู้ดูแลโครงการเว็บไซต์ Pantip โฉมใหม่ ได้ให้คำแนะนำภายในงาน Thailand Zocial Awards 2014 เมื่อช่วงบ่ายวันพุธที่ผ่านมา เกี่ยวกับ 6 ข้อ ในการรับมือ แก้วิกฤต ในกรณีคนโพสต์โจมตีแบรนด์ของเรา
6 ข้อที่ว่านี้ คือ Prompt / Apologize / Non-legal /Tone / Influencer / Policy
P = Prompt
แบรนด์ควรติดตามกระทู้อย่างใกล้ชิดเพื่อตอบสนองอย่างรวดเร็ว
ควรใช้ Social Media Monitoring tool ในการติดตาม
ควรแสดงตัวตนในกระทู้ เพื่อให้ผู้อ่านรู้ว่าบริษัททราบเรื่องแล้ว ตัวอย่างเช่น“สวัสดีครับ ผมเจ้าหน้าที่จากบริษัท . .. ขอรับเรื่องจากเจ้าของกระทู้ไปตรวจสอบ และ รีบแจ้งผลให้ทราบครับ”
A = Apologize
แม้บริษัทไม่ได้ผิด ก็สามารถขอโทษได้ เพราะเราไม่ได้ต้องการยอมรับผิด แต่ต้องการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า
ถ้าบริษัทผิดเองจริง ต้องขอโทษอย่างจริงใจ และควรระบุแนวทางการแก้ไข ไม่ให้กรณีนี้เกิดขึ้นอีก
ถ้าพนักงานของบริษัทผิดจริง ก็ต้องให้พนักงานคนนั้นขอโทษต่อลูกค้า และถ้าเป็นไปได้ ควรแจ้งลูกค้าว่ามีการลงโทษพนักงานอย่างไร?
N = Non-legal
ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่รู้จักกฎหมาย และไม่อยากขึ้นศาล แต่การประกาศจะดำเนินคดีกับผู้โพสต์ ผู้เผยแพร่ข้อความ อาจส่งผลเชิงลบกับบริษัท เพราะผู้บริโภคจะรู้สึกถูกข่มขู่ให้ปิดปาก พวกเขาจะหาวิธีแก้เผ็ดบริษัทในช่องทางต่างๆ
กรณีที่เป็นคู่แข่ง หรือเกรียน มีเจตนาทำลายชื่อเสียงบริษัท บริษัทสามารถสู้ได้ดยการดำเนินคดีแบบเงียบๆไม่ต้องประกาศให้โลกรู้ เพราะเป็นการเรียกแขกโดยใช้เหตุ
T = Tone
ลูกค้าไม่ใช่พระเจ้า แต่ลูกค้าเป็นปีศาจ ทำอย่างไรให้ปีศาจพอใจ ไม่โกรธ ออกฤทธิ์
ตอบกระทู้ให้รู้สึกเจ็บปวดยิ่งกว่าลูกค้า
เราไม่ได้คุยกับลูกค้า สองต่อสอง แต่เรากำลังคุยโดยที่มีไทยมุงจำนวนมากๆ
การเผย ชื่อ สกุล ให้กับลูกค้า ( อาจเป็นทางกระทู้หรือทางหลังไมค์) จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราจริงใจกับเขา ลูกค้าจะรู้ว่าเราคือ contact point สำหรับการติดต่อในอนาคต
I = Influencer
รับมือกับกระทู้ที่มีพลัง Influencer สูง (กระทู้ที่อยากอ่านและอยากโหวตให้ติดกระทู้แนะนำ อยากให้แชร์อ่านเยอะๆ ) อย่างทันถ่วงที
เป็นพันธมิตรกับ Influencer ที่ช่วยให้เรารับมือกับวิกฤตในอนาคต
ทำให้ตัวเองเป็น Influencer ซะเลย (อย่างผู้บริหารแบงค์มาโพสต์ตั้งกระทู้เล่าเคล็ดลับทางการเงินขึ้น Pantip เอง)
P = Policy (ซึ่งเป็นเรื่องทีต้องคุยในองค์กร)
ใครควรเป็นคนแรกที่พบกระทู้ที่พูดถึงบริษัท ? / ใครควรเป็นคนตอบกระทู้ ? / คนตอบกระทู้มีอำนาจในการตัดสินใจแค่ไหน? / ใครเป็นคนรับเรื่อง ส่งต่อไปยังแผนกต่างๆของบริษัท และติดตามเรื่องให้กับลูกค้า ? / มีการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าอย่างไร ?
นี่ก็คือเรื่องราวการจัดการบริหาร ฺBrand Crisis ที่เกิดจากลูกค้าโพสต์กระทู้โจมตีขึ้นบน Pantip ที่แบรนด์ต่างๆจะต้องเตรียมพร้อมรับมือ และแก้ไขสถานการณ์นี้ให้ได้ ซึ่ง 6 ข้อนี้ ถ้าทำได้ จะช่วยรักษาความเชื่อมั่นของแบรนด์ และ แบรนด์ของคุณได้รับความสัมพันธ์ที่ดีบนเว็บบอร์ดด้วย ..
http://ch3.sanook.com/22127/it-24-%E0%B8%8A%E0%B8%A1-digital-marketing-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B5 (http://ch3.sanook.com/22127/it-24-%E0%B8%8A%E0%B8%A1-digital-marketing-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B5)
.
-
เป็นหนี้บัตรเครดิตถูกเชิญไปขึ้นศาล เสียประวัติการทำงานหรือไม่
-http://money.kapook.com/view89782.html-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก decha.com
เป็นหนี้บัตรเครดิตถูกเชิญไปขึ้นศาล ควรจะทำอย่างไร และจะเสียประวัติการทำงานหรือไม่ อยากรู้มาไขข้อข้องใจกันเลย
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมพกพาบัตรเครดิตแทนเงินสด เนื่องจากสามารถใช้จ่ายได้อย่างสะดวกสบายและที่สำคัญยังสามารถสะสมแต้มได้รับของรางวัลมากมาย อ๊ะ ๆ แต่ถ้าหากใช้แบบไม่ยั้งคิดบัตรเครดิตก็อาจหนี้มหาศาลโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ แถมยังต้องขึ้นโรงขึ้นศาลอีกต่างหาก ซึ่งใครที่กำลังประสบปัญหานี้แต่ไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไร และกังวลว่าจะกระทบกับงานที่ทำหรือไม่ วันนี้เรามีข้อมูลจากเว็บไซต์ decha.com มาไขข้อข้องใจกันค่ะ
คำถาม : คุณกุ้งขอคำปรึกษาเรื่องบัตรเครดิต ได้รับเอกสารจากบัตรเครดิตให้ไปขึ้นศาล ยอดหนี้ประมาณ 70,000 บาท อยากทราบว่าต้องทำยังไงต่อดีคะ และจะเสียประวัติมีผลกระทบกับงานที่ทำอยู่หรือไม่ จะถูกไล่ออกไหม ถ้ามีการผ่อนชำระหนี้หมดแล้วประวัติเสียจะลบหรือไม่คะ
คำตอบ :
1. ต้องดูว่ามีความสามารถในการชำระเงินหรือไม่ ถ้ามีความสามารถในการชำระหนี้ควรไปเจรจาที่ศาล ขอจ่ายงวดเดียวหรือ 2 งวด หรือขอลดยอดหนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อท่าน แต่ถ้าไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ไม่ต้องไปศาลเพราะไม่เกิดประโยชน์อะไรกับท่าน
2. การเป็นหนี้ไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน เพราะเป็นเรื่องส่วนตัว
3. ประวัติการค้างชำระหนี้มีผลต่อการกู้ยืมเงินในอนาคตแน่นอน และชื่อของท่านอยู่ในเครดิตบูโร เป็นเวลา 3 ปี
-
ภาษีมรดก คืออะไร มาไขข้อข้องใจกันเถอะ
-http://money.kapook.com/view96529.html-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาษีมรดก คืออะไร อัตราภาษีมรดก ที่ต้องถูกเรียกเก็บในกรณีที่ได้รับทรัพย์สินหรือมรดกเป็นอย่างไร เราจะพาไปไขข้อข้องใจกัน
ข่าวคราวการออก พ.ร.บ.ภาษีมรดก พร้อมเปลี่ยนแปลง อัตราภาษีมรดก ใหม่ อาจทำให้หลายคนที่ไม่คุ้นหูกับภาษีชนิดนี้เริ่มหันมาสนใจและอยากรู้จัก ภาษีมรดก กันมากขึ้น โดยเฉพาะทายาทหรือบุคคลที่มีโอกาสได้รับมรดก วันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ ภาษีมรดกและอัตราภาษีมรดก มาให้ทำความเข้าใจกันค่ะ
ภาษีมรดก คืออะไร
ภาษีมรดก เป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บเมื่อมีการโอนทรัพย์สินจากพ่อ-แม่ คนในครอบครัว หรือผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เสียชีวิตลง ให้กับทายาทหรือผู้รับมรดก โดยเป็นการเรียกเก็บที่นิยมทำกันในประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อความยุติธรรมในการจัดเก็บภาษีตามความสามารถในการเสียภาษี หรือเรียกว่าเก็บภาษีตามฐานะ โดยจะคำนวณจากทรัพย์สินในกองมรดกทั้งหมดที่ตกทอดจากผู้เสียชีวิตไปยังทายาทหรือผู้รับมรดก และสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
ภาษีกองมรดก
เป็นการรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของผู้เสียชีวิตมาประเมินภาษีและชำระตามจำนวนที่ประเมินได้ จากนั้นจึงนำทรัพย์สินตกทอดไปยังทายาทหรือผู้รับมรดก โดยจะเป็นการจัดเก็บแบบอัตราก้าวหน้าตามมูลค่าของกองมรดก ซึ่งมีข้อดีในการจัดเก็บภาษีได้มากและเป็นธรรมตามมูลค่ามรดก แต่มีข้อเสียคือเป็นการจัดเก็บแบบเหมารวม ดังนั้นเมื่อทายาทนำมรดกไปแบ่งกันอาจทำให้คนที่ได้รับมรดกน้อยเสียภาษีเท่ากับคนที่ได้รับมรดกมากกว่า
ภาษีการรับมรดก
เป็นการจัดเก็บภาษีหลังการแบ่งมรดก โดยผู้รับมรดกแต่ละคนเป็นผู้เสียภาษี ซึ่งจะมีอัตราไม่เท่ากันตามจำนวนมรดกที่ได้รับ แต่ลำดับชั้นของสิทธิในการรับมรดก เช่น ผู้รับมรดกแบบพินัยกรรม ซึ่งไม่ใช่ทายาทโดยตรงก็จะเสียภาษีมากกว่าทายาทโดยตรง เป็นต้น สำหรับข้อดีของภาษีชนิดนี้ คือเมื่อแบ่งมรดกออกเป็นส่วน ๆ ให้ทายาทแต่ละคนแล้ว จะมีโอกาสที่ต้องเสียภาษีน้อยกว่า เพราะมีเกณฑ์ขั้นต่ำในการจัดเก็บภาษีมรดก หากจำนวนมรดกที่ได้รับไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ข้อเสียคือภาครัฐจัดเก็บภาษีได้ยาก และการเรียกเก็บเป็นรายคนต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าการเก็บแบบรวม
ใครต้องเสียภาษีมรดก
ผู้ที่ต้องเสียภาษีมรดก คือผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้าของมรดก ซึ่งแบ่งออกเป็น ทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรม ซึ่งเรียงลำดับได้รับมรดกก่อนและหลังดังนี้
ทายาทโดยธรรม
1. ลูกเจ้าของมรดก, ลูกนอกสมรสที่รับรองบุตรแล้ว, ลูกบุญธรรม และคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
2. บิดา-มารดาแท้ ๆ ของเจ้าของมรดก
3. พี่-น้อง ร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน
4. พี่-น้อง ร่วมบิดา หรือ ร่วมมารดาเดียวกัน
5. ปู่-ย่า-ตา-ยาย
6. ลุง-ป้า-น้า-อา
ผู้รับพินัยกรรม
คือผู้ที่ถูกกำหนดไว้ว่าให้รับมรดกจากเจ้าของมรดกที่เสียชีวิต หรือสิทธิตามพินัยกรรม ทั้งนี้ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมอาจเป็นคนเดียวกันก็ได้ แตกต่างกันที่ทายาทโดยธรรมต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น
อัตราภาษีมรดก
สำหรับ อัตราภาษีมรดก ที่ถูกเรียกเก็บในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2557) จะแบ่งการเสียภาษีออกเป็นขั้นดังนี้
หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ไม่เสียภาษีมรดก
หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต 4 ปี เสียภาษีมรดก 10% ของมูลค่ารวม
หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต 3 ปี เสียภาษีมรดก 20% ของมูลค่ารวม
หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต 2 ปี เสียภาษีมรดก 30% ของมูลค่ารวม
หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต น้อยกว่า 2 ปี หรือเสียชีวิตก่อนโอน เสียภาษีมรดก 40% ของมูลค่ารวม
อัตราภาษีมรดก 2558
หลังจากมีการหาข้อสรุปในการจัดเก็บภาษีมรดกกันมานาน และกรมสรรพากรได้เสนอให้มีการอนุมัติ พ.ร.บ.ภาษีมรดกใหม่ พร้อมเตรียมผลักดันให้มีการบังคับใช้ในปี 2558 แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปอัตราภาษีมรดกที่แน่ชัด โดยมีเพียงการคาดการณ์ไว้ดังนี้
เก็บภาษีมรดกจากผู้รับ 5% ของมูลค่าทรัพย์สิน แต่ไม่เกิน 30%
เก็บภาษีมรดกอัตราเดียว 10% ของมูลค่าทรัพย์สิน และยกเว้นสำหรับมรดกที่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
เก็บภาษีกองมรดกแบบขั้นบันได ดังนี้
ทรัพย์มรดกสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 50 ล้านบาทแรก ไม่เสียภาษีมรดก
ทรัพย์มรดกสุทธิส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท เสียภาษีมรดก 10%
ทรัพย์มรดกสุทธิส่วนที่เกิน 200 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีมรดก 20%
เก็บภาษีการรับมรดกเป็นขั้นบันได ดังนี้
ทรัพย์สินสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทแรก ไม่เสียภาษีมรดก
ทรัพย์สินสุทธิส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 40 ล้านบาท เสียภาษีมรดก 10%
ทรัพย์สินสุทธิส่วนที่เกิน 40 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีมรดก 20%
ทั้งนี้เป็นเพียงการคาดเดาอัตราภาษีมรดก ปี 2558 ที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งข้อสรุปจะออกมาเป็นอย่างไร คงต้องรอติดตามความคืบหน้าต่อไป แต่เบื้องต้นคงทำให้หลาย ๆ คนรู้จักกับภาษีมรดกกันมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเตรียมตัวเสียภาษีอย่างถูกต้อง ลองศึกษาข้อมูลภาษีมรดกกันไว้แต่เนิ่น ๆ นะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
sanpakornsarn และ เฟซบูีก MP Accounting & Law Office
-
สามี หนีหน้าที่ได้หรือ? : คอลัมน์ ฎีกาชีวิต
-http://women.sanook.com/34729/-
คอลัมน์ ฎีกาชีวิต
โดย พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช
คู่สมรสอาจเกิดปัญหารุนแรงถึงขั้นแตกหักจนยากจะทนอยู่ร่วมชีวิตกันได้อีกต่อไปทางเลือกที่ไม่อื้อฉาวคือพูดคุยกันเสียก่อนถ้ายอมรับเหตุและผลกันได้ก็ไม่ต้องมีความจำเป็นยื่นคำขาดขอหย่าหรือใช้สิทธิทางศาลชายหรือหญิงฝ่ายใดขาดความซื่อสัตย์ไม่เคารพหน้าที่ที่มีต่อกันจะพบชะตากรรมเดียวกัน
ความซื่อสัตย์ของชีวิตคู่พึงรักษากันไว้ให้มั่นคงคือรากฐานสำคัญของครอบครัวฝ่ายใดไม่ซื่อสัตย์ไม่เคารพหน้าที่คือต้นเหตุแห่งปัญหาจะเป็นผลร้ายแรงต่อชีวิตครอบครัวอาจเกิดจากสามีจะไปติดพันหญิงอื่นภริยาปากร้ายใจดีชอบดูหมิ่นเหยียดหยามสามีเลยเถิดไปถึงบุพการี หรือเข้าบ่อนติดการพนัน เป็นอาทิ
เพียงแต่ว่าถ้าฝ่ายใดพอมีสติกันอยู่บ้างอาจเตือนสติฝ่ายก่อเหตุให้รีบแก้ไขเสียและขอให้คิดถึงความรักความดีงามการเสียสละและชีวิตของลูกๆซึ่งกำลังเติบใหญ่มีพ่อแม่อยู่กันพร้อมหน้าปัญหาใดเข้ามาก็แก้ไขกันได้ถ้าพ่อแม่แยกกันอยู่เพราะหย่ากันแล้วจะเกิดผลร้ายตามมาต่ออนาคตของลูกได้
เมื่อมีเหตุจะเชื่อเช่นนั้นก่อนหย่าให้แยกกันอยู่กันชั่วคราวจะด้วยวาจาหรือจะเป็นลายลักษณ์อักษรให้รีบทำเถิดเพื่อให้โอกาสคนก่อเหตุมีเวลาแก้ไขปัญหาก่อนที่จะตัดสินใจหย่ากัน
ข้อตกลงแยกกันอยู่สามีอยู่บ้านหนึ่งภริยาอยู่อีกบ้านหนึ่งถือว่ามีผลบังคับกันได้ไม่ขัดต่อศีลธรรมและกฎหมายแต่สิ่งที่ต้องตระหนักทั้งสามีภริยาต่างมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูต่อกันอย่าลืม..แกล้งลืม...
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา(ยังไม่ได้มีการหย่า) ต่างต้องอยู่กินด้วยกัน (อาจแยกกันอยู่ชั่วคราวได้) ต่างต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน (มาตรา 1461) ค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงผูกพันเสมือนหนึ่งเงาตามตัวทั้งสามีและภริยาไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อกันได้
สิ่งที่คู่สมรสควรตระหนักไว้ว่า "ตราบใดที่การสมรสไม่สิ้นสุดลงด้วยความตายก็ดี การหย่าก็ดี หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสก็ดี สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันไป"
เพราะถือว่าสามีภริยาคู่นั้นยังไม่หย่าขาดจากกันตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา1501ต่างต้องมีหน้าที่ต่อกันจนกว่าจะหย่า(ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 2627/2530)
มีหลายกรณีเกิดขึ้นในศาลขณะที่สามีภริยาแยกกันอยู่ชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหาที่ยังไม่ลงตัวระหว่างนั้นเกิดปัญหาตามมาถึงขั้นมีการฟ้องร้องต่อศาลและสู้คดีกันถึงสามศาลจึงขอนำมาเป็นตัวอย่างเทียบเคียงกับชีวิตจริงดั่งอุทาหรณ์สองเรื่องอ่านแล้วจะรู้เข้าใจถึงหน้าที่ของสามีภริยาที่มีต่อกัน
ศาลพิพากษาให้สามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูภริยาเป็นรายเดือนเหตุเพราะโจทก์หรือสามีมีฐานะดีกว่าจำเลยคือภริยา(คำพิพากษาฎีกาที่3822/2534) หรือ
ภริยาสมัครใจแยกกันอยู่กับสามีชั่วคราวทั้งๆ ที่เธอไม่ได้เป็นฝ่ายก่อเหตุสร้างปัญหา เธอกระทำด้วยความสุจริตใจแม้ใจจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม ภริยาอาจอยู่ในฐานะพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่งหลังแต่งงานถูกสามีขอร้องให้ออกจากงานมาทำหน้าที่ดูแลบ้านเรือนและรับภาระเลี้ยงลูก
ครั้นมีเหตุแห่งปัญหาสามีอาจไปติดพันหญิงอื่นหรือเหตุใดก็ช่างเถอะแต่จำต้องแยกกันอยู่ชั่วคราวหลังจากนั้นสามีปฏิเสธจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูทั้งๆ ที่มีความสามารถอุปการะเลี้ยงดูภริยาได้
คิดว่าแยกกันอยู่ชั่วคราวตัวใครตัวมันหาได้ไม่ ความรับผิดชอบยังติดตามตัวสามี
สามีมีงานการทำเป็นปึกแผ่นมีรายได้แน่นอนเป็นรายเดือนหรือมีอาชีพค้าขายก็ได้ครั้นเกิดปัญหาไม่อาจลงตัวอาศัยเวลาช่วยคลี่คลายแก้ไขเหตุสามีจะปฏิบัติกับภริยาตนเองเสมือนหนึ่งเธอมีรายได้จากงานประจำแต่ความเป็นจริงเธอทำหน้าที่เป็นแม่บ้านมีหน้าที่ต้องเลี้ยงลูกและไม่มีรายได้เหมือนก่อน
ไม่ใช่สิ่งถูกต้องยุติธรรมกับภริยาและแม่ของลูก สภาพความเป็นจริงบังคับให้เธอไปหยิบยืมเงินคนอื่นได้นานเท่าใดกัน สามีอยู่ใกล้ชิดรู้อยู่แก่ใจดีกว่าคนนอกและควรตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ยกมากล่าวไว้ว่าเธอยังอยู่ในสถานะของภริยาและสามีจะปฏิเสธหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูภริยาได้อย่างไรกัน
หน้าที่ของสามีที่ดีต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบเสมอ
เรื่องทำนองนี้หากมีคดีขึ้นสู่ศาล คิดหรือว่าชายผู้เป็นสามีจะหนีหน้าที่ที่มีต่อภริยาได้กระนั้นหรือ? คำตอบคือไม่อาจหนีพ้นความรับผิดชอบต่อภริยาได้ครับ (ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 5627/2530)
-
คดีแพรวา 9 ศพ ไขภาษากฎหมายจากคำพิพากษา
-http://news.sanook.com/1794570/-
นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com
ย้อนรอยคดีแพรวาสาวซีวิค 9 ศพ และไขภาษากฎหมายจากคำพิพากษาล่าสุดจากศาลฎีกา
ทันทีที่มีข่าวออกมาว่าศาลฎีกาไม่รับคำฟ้องในคดีสาวซีวิค 9 ศพ โลกโซเชียลก็เดือดยิ่งกว่าอุณหภูมิในบ้านเรา หลายๆ คนออกมาแสดงความไม่พอใจ บวกกับกระแสสังคมที่มีต่อเรื่องนี้ แม้แต่ศาลก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปด้วย
แต่เดี๋ยวก่อน...การไม่รับฟ้องในครั้งนี้คืออะไร และจะมีผลอย่างไรต่อคดีนี้ นั่นคือสิ่งที่หลายๆ คนอาจจะยังสงสัย ด้วยความกำกวมในภาษาข่าวและภาษากฎหมาย
หากจะคลายความสงสัยในเรื่องนี้ เราคงต้องไปถามผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอย่าง ทนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ (@tanaiwirat)
ก่อนอื่นต้องย้อนกลับไปตั้งแต่คำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อปี 2555 ซึ่งเป็นการพิพากษาด่านแรกของคดีดังแห่งปีที่สังคมจับตามอง
คำพิพากษาในตอนนั้นคือ จำเลยมีความผิดฐานขับขี่รถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อคดี จึงลดโทษให้ 1 ใน 3 คือลงโทษจำคุก 2 ปี โดยให้รอลงอาญาเป็นเวลา 3 ปี พร้อมสั่งคุมประพฤติจำเลย 3 ปี และห้ามขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์
สังคมจึงตั้งคำถามว่าทำไมโทษมันช่างเบาบางเสียเหลือเกินเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม คดีความนี้ก็ได้ยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยการยื่นอุทธรณ์จากทั้ง 2 ฝ่าย
ฝ่ายโจทก์ต้องการให้เพิ่มโทษ พร้อมทั้งดำเนินการฟ้องร้องในทางแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายไปด้วย
ในขณะที่ฝ่ายจำเลยต้องการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาจากศาลชั้นต้น โดยต้องการจะยืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเองและไม่ใช่การขับขี่โดยประมาท
ศาลอุทธรณ์ยังคงยืนยันตามศาลชั้นต้น คือจำเลยมีความผิดฐานขับขี่รถยนต์โดยประมาท ตัดสินให้เพิ่มระยะเวลาการรอลงอาญาเป็น 4 ปี และบำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมง เป็นเวลารวม 4 ปี ส่วนโทษอื่นๆ ให้คงตามศาลชั้นต้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ฝ่ายจำเลยต้องการ
ดังนั้น ฝ่ายจำเลยจึงได้ยื่นคำร้องต่อไปในชั้นศาลฎีกา เพื่อพิสูจน์ว่าสาวซีวิคไม่ได้ขับรถโดยประมาท
จากข่าวล่าสุด ชัดเจนแล้วว่าศาลฎีกาไม่รับคำร้องของฝ่ายจำเลย ซึ่งถ้าจะต้องแปลไทยเป็นไทย ก็ขอสรุปง่ายๆ ว่าคำพิพากษายังมีผลคงเดิม คือสาวซีวิคมีความผิดฐานขับขี่รถยนต์โดยประมาท บทลงโทษที่ได้รับก็ยังคงเดิมไว้ดังที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไปก่อนหน้านี้ และยังส่งผลให้คดีทางแพ่งสามารถเดินหน้าต่อไปได้
ในแง่มุมของนักกฎหมาย คำสั่งของศาลฎีกาในลักษณะนี้อาจจะดูมีประโยชน์ต่อทางผู้เสียหายหรือฝ่ายโจทก์ แต่ที่จะมองข้ามไปไม่ได้ก็คือ การที่ฝ่ายจำเลยพยายามยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาอาจเป็นการยืดเวลาที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายออกไป เนื่องจากต้องหยุดกระบวนการทางแพ่งไว้ชั่วคราว เพื่อรอคำตัดสินทางอาญา
นับตั้งแต่วันแรกที่เกิดอุบัติเหตุจนถึงวันนี้ จะเห็นว่าฝ่ายจำเลยจะให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหามาโดยตลอด แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาว่าเธอมีความผิด ประเด็นในการต่อสู้คดีของสาวซีวิคก็ถูกเปลี่ยนมาเป็น "ประมาท" หรือ "ไม่ประมาท"
ทำไมประเด็นนี้จึงมีความสำคัญ?
เพราะคดีนี้ไม่ได้มีแค่ความผิดในทางอาญา ฝ่ายโจทก์ก็ได้มีการฟ้องร้องทางแพ่ง โดยเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินถึง 120 ล้านบาท โดยคดีจะเข้าสู่กระบวนการทางแพ่งได้ก็ต่อเมื่อคดีทางอาญาสิ้นสุดลง ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ ศาลแพ่งจะยึดคำพิพากษาของศาลอาญาเป็นหลัก
แนวทางการตัดสินในศาลแพ่งจึงไม่ได้อยู่ที่ผิดหรือไม่ผิด เพราะตัดสินไปแล้วด้วยศาลอาญา หากแต่อยู่ที่ "จะจ่ายค่าเสียหายอย่างไร" มากกว่า
เนื่องจากในตอนที่เกิดเหตุ จำเลยยังเป็นเยาวชน การเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งจึงไปตกอยู่กับผู้ปกครอง ในฐานะที่เป็นผู้อบรมเลี้ยงดู หรือในอีกทางหนึ่ง ศาลก็สามารถเรียกค่าเสียหายกับจำเลย (สาวซีวิค) ได้โดยตรง ซึ่งก็จะเป็นเรื่องของการบังคับคดีในลำดับถัดไป
ดังนั้น ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะได้รับการชดเชย (แต่จะช้าหรือเร็วก็เป็นอีกเรื่องนึง)
-
วิธีเคลม เมื่อสายการบินทำกระเป๋าเดินทางบุบ แตก ล้อหลุด
By
spin9
-
Mar 21, 2019
.
เดินทางกันมามากๆ ก็ต้องเจอเข้าสักไฟลต์แหละครับ ที่พอเรารับกระเป๋าจากสายพาน แล้วพบว่ากระเป๋าเดินทางของเราสภาพไม่เหมือนเดิม บุบบ้าง แตกบ้าง หรือล้อหายไปข้างนึง ความจริงแล้วสายการบินรับประกันความเสียหายเหล่านี้นะครับ แต่เราต้องทำให้ถูกวิธี จึงจะสามารถเคลมได้ฟรี
.
สำรวจกระเป๋าเดินทางทุกครั้งที่รับจากสายพาน
นอกจากจำนวนกระเป๋าที่เราต้องสำรวจแล้ว ว่าได้รับกลับมาครบถ้วน อย่าลืมตรวจสอบสภาพกระเป๋าทุกครั้งครับ โดยเฉพาะเรื่องของการบุบ แตก ที่ลากกระเป๋า และ ล้อกระเป๋า ว่ายังสามารถใช้งานได้เป็นปกติหรือไม่
.
หากใครใช้รถเข็นกระเป๋าของสนามบิน ให้หลีกเลี่ยงการยกกระเป๋าขึ้นรถเข็นกระเป๋าทันทีจากสายพานก่อนนะครับ ลองลากกระเป๋า หมุนดูรอบๆ ก่อนสักนิด ว่ากระเป๋าอยู่ในสภาพเดียวกับที่เราโหลดไป ค่อยลำเลียงขึ้นรถเข็นกระเป๋าครับ
.
แจ้งทันที ที่พบปัญหา *สำคัญมาก*
.
หลักการเคลมกระเป๋าเดินทางเมื่อพบความเสียหาย ต้อง”แจ้งทันที” เท่านั้นนะครับ ใกล้กับสายพานรับกระเป๋า จะมีเคาน์เตอร์บริการของสายการบินอยู่ (ถ้าหาไม่เจอ สอบถามเจ้าหน้าที่ได้ครับ ว่าสายการบินที่เราเดินทาง ต่องติดต่อที่เคาน์เตอร์ไหน บางครั้งจะเป็นเคาน์เตอร์ของสายการบินพันธมิตรกัน) ให้นำกระเป๋าที่เสียหายไปแจ้งต่อเคาน์เตอร์ทันทีที่พบปัญหาครับ อย่าเพิ่งนำกระเป๋าที่เสียหายกลับ โดยที่ไม่แจ้งนะครับ เพราะจะพลาดโอกาสการเคลมไปเลย
.
เหตุที่ต้องแจ้งทันที เพราะหากเรานำกระเป๋าที่แตก หัก เสียหาย ล้อหลุด กลับออกไป และคิดว่าจะนำกลับมาเคลมใหม่ในโอกาสหน้า มันจะไม่ใช่ความผิดของสายการบินแล้วครับ สายการบินจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครคือผู้ทำความเสียหาย หรือหากเราเอากระเป๋าที่เสียหาย มาเช็คอินเพื่อโหลดกระเป๋าในการเดินทางครั้งถัดไป สายการบินจะทำการบันทึกความเสียหายของกระเป๋าใบนั้นไว้ตั้งแต่ตอนโหลด ทำให้เราไม่สามารถเคลมได้อีกแล้ว
.
วิธีการเคลม
.
เมื่อเราติดต่อกับเคาน์เตอร์บริการสายการบิน ว่ากระเป๋าเราเสียหายจากการเดินทางครั้งนั้น ทางเคาน์เตอร์จะขอแท็กกระเป๋าตัวจริงของเรา (ที่เราได้รับมาตอนที่เราเช็คอิน) เพื่อบันทึกเข้าระบบ และออกเอกสาร Damage Report มาให้เราครับ โดยมีการบันทึกลักษณะ สี ยี่ห้อกระเป๋า และรูปแบบความเสียหายเอาไว้อย่างครบถ้วน ถ้าเราได้เอกสารนี้แล้ว ก็เป็นอันสบายใจได้เลย ว่าสายการบินจะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกระเป๋าของเรา
.
การซอ่มกระเป๋า สามารถทำได้หลายรูปแบบครับ ส่วนมากแล้ว สายการบินจะนัดเวลาเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามารับกระเป๋าของเราไปซ่อม และนำกลับมาคืนให้ หรือถ้าเราไม่สะดวก ก็สามารถเจรจาว่า เราจะหาร้านซ่อมกระเป๋าเอง และนำบิลค่าซ่อมมาเบิกก็ได้ทำได้เช่นกัน
.
หากกระเป๋ามีความเสียหายเกินกว่าที่ร้านจะซ่อมได้ (เช่นแตกทั้งใบ) ทางสายการบินก็จะมีตัวเลือกของการชดเชยกระเป๋าใบใหม่ให้ หรือชดเชยมาเป็นเงินครับ ซึ่งก็จะมีเงื่อนไขและวงเงินรับประกันความเสียหายส่วนนี้อยู่ แต่ละสายการบินอาจจะมีวงเงินคุ้มครองสูงสุดไม่เท่ากันครับ
.
เดินทางครั้งหน้า แล้วกระเป๋าพัง ไม่ต้องตกใจนะครับ โดยส่วนมากแล้ว สายการบินคุ้มครองในส่วนนี้ครับ
.
ขอให้สนุกกับการเดินทางทุกท่าน
.
บทความโดย:
อู๋ spin9
https://spin9.me/2019/03/21/how-to-claim-damaged-luggage/?fbclid=IwAR37mDBal9257-zK8lFnX6YCvP60kCY3arSYnkh1Vbt-pkCcx9LBcZD5NAE
.
.
-------------------
.
.
แนะวิธีคอมเพลนต่อโรงแรมและสายการบิน
.
เดินทางกันบ่อยๆ ก็ต้องมีบ้างแหละครับ ที่ต้องเจอกับการบริการที่ต่ำกว่ามาตรฐานของบรรดาสายการบิน และโรงแรมต่างๆ บล็อกวันนี้ผมจะเขียนถึงวิธีคอมเพลน ที่จะเป็นประโยชน์ที่สุด เมื่อเราได้รับการบริการอย่างไม่เป็นธรรม ต่ำกว่ามาตรฐาน หรือเกิดข้อผิดพลาดจากผู้ให้บริการ ซึ่งจะทำให้เราได้รับการชดเชยต่อเหตุการณ์นั้นค่อนข้างแน่นอน
.
ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อนครับ ว่าบทความนี้ ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านไปหาช่องทางหรือหาเรื่องคอมเพลนนะครับ แต่เขียนขึ้นเพื่อเป็นคำแนะนำในการปฏิบัติเมื่อเราได้รับการบริการอย่างไม่เป็นธรรมเท่านั้น และในบทความนี้ ผมจะขอเน้นเฉพาะกลุ่มสายการบิน กับโรงแรมนะครับ (หรือใครจะประยุกต์ไปหาผู้ให้บริการกลุ่มอื่นๆ ก็ไม่ว่ากัน)
.
อะไรคือการบริการไม่เป็นธรรม หรือต่ำกว่ามาตรฐาน?
.
ไม่มีผู้ให้บริการรายไหน ไม่ว่าจะเป็นสายการบิน หรือโรงแรม ที่อยากจะโดนคอมเพลนหรอกครับ แต่ข้อผิดพลาดก็มักจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความประมาทเลินเล่อของพนักงาน, การจัดการที่ล่าช้า หรือ อาจจะเป็นระบบที่แย่เองก็เป็นได้ พอเกิดข้อผิดพลาด ก็จะส่งต่อประสบการณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นมาถึงลูกค้าแบบพวกเรา ซึ่งโดยส่วนมาก พวกเราก็อาจจะยอมๆ ปล่อยผ่านๆ ไปบ้าง เพราะเป็นเรื่องเล็กน้อย หรือไม่อยากจะไปถกเถียงอะไรด้วย หรือในบางกรณี เราก็อาจจะใช้อารมณ์ในการไปคอมเพลน ด่าทอ ต่อว่าพนักงาน เสียอารมณ์กันทุกฝ่าย โดยไม่ได้ทำให้เกิดการชดเชยอะไรขึ้นมาอย่างเป็นธรรมอยู่ดี
.
ตัวอย่างของการได้รับบริการอย่างไม่เป็นธรรม หรือต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น ก็อย่างเช่น
.
อุปกรณ์อำนวยความสะดวกไม่ครบตามที่โฆษณาไว้ หรืออุปกรณ์ชำรุด
ห้องโรงแรมไม่สะอาด, ที่นั่งบนเครื่องบินไม่สะอาด (แบบต่ำกว่ามาตรฐานนะครับ ไม่ใช่แค่มีฝุ่นนิดหน่อย)
มีเสียงดังรบกวนจากบรรยากาศภายนอก, จากห้องข้างเคียง จนไม่สามารถพักผ่อนได้
สิ่งอำนวยความสะดวกบางอย่างของโรงแรมปิดปรับปรุง โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าตั้งแต่ตอนจอง
ระบบเอนเตอร์เทนเม้นต์บนเครื่องบินเสีย ไม่สามารถรับชมได้เป็นระยะเวลานานกว่าครึ่งของเที่ยวบิน
ถูก downgrade ไปยังชั้นโดยสารที่ต่ำกว่า หรือ ถูกเปลี่ยนห้องโรงแรมไปยัง type ที่ด้อยลงกว่าที่ทำจองมา
พนักงานไม่สุภาพ
.
อันนี้เป็นตัวอย่างเบื้องต้น แบบเล็กๆ น้อยๆ ที่ปัญหาเหล่านี้อาจจะเกิดกับใครก็ได้นะครับ หลายคนอาจปล่อยผ่าน หรือบางปัญหาก็อาจจะขอให้โรงแรม/สายการบินแก้ไขได้ทันท่วงที (ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนห้อง เปลี่ยนที่นั่ง หรืออัปเกรดไปยังห้องที่ดีกว่าเดิม อัปเกรดไปชั้นโดยสารที่สูงกว่าเดิม) แต่หากปัญหาเหล่านี้ ไม่ได้ถูกแก้ไข หรือไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ห้องเต็ม หรือพนักงานไม่ใส่ใจที่จะแก้ไข อันนี้ต้องมาดูต่อครับ ว่าเราควรจะต้องทำยังไง
.
โดยปกติแล้ว ถ้าเราไม่สามารถให้พนักงานหรือผู้จัดการแก้ไขปัญหา ณ ตอนนั้นได้ และเราต้องทนรับกับการไม่บริการที่ไม่เป็นธรรม หรือการบริการที่แย่ลงกว่าที่ควรจะเป็น ผู้ให้บริการทุกราย มักจะมีขั้นตอนของการรองรับกรณีพวกนี้อยู่แล้ว ผมแนะนำให้ทำตามขั้นตอนนี้ครับ
.
เก็บหลักฐานของการได้รับบริการแย่ๆ เหล่านั้นไว้ เช่น ภาพถ่าย วันเวลาที่ได้รับ หลักฐานการจอง บอดดิ้งพาส หรือ ชื่อพนักงาน
ส่งอีเมล ไปยังฝ่ายดูแลลูกค้าของสายการบิน หรือโรงแรมนั้นๆ ภายหลังจากการเข้ารับบริการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งโดยปกติจะมีแบบฟอร์มให้กรอกอยู่ในหน้าเว็บของผู้ให้บริการ
ระบบคอมเพลนพวกนี้ จะมีขั้นตอนของมันอยู่ครับ กรอกไป ก็จะมีตอบกลับมา ว่าจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับภายในกี่ชั่วโมงหรือกี่วัน ตรงนี้ ต้องรอหน่อยครับ เพื่อให้ทางสายการบิน/โรงแรม ตอบกลับ และ เสนอการชดเชยมาให้
ไม่โพสคอมเพลนดังกล่าวบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้ความเสียหายเกิดเป็นวงกว้างขึ้น และทำให้การเจรจาชดเชยยากขึ้น เว้นเสียแต่ศูนย์บริการลูกค้าปฏิเสธที่จะดูแลอย่างเป็นธรรม
.
ตัวอย่างจริง (1)
.
เหตุการณ์: ผมกลับมาที่ห้องโรงแรมตอนเย็นแล้ว พบว่าพนักงานลืมทำความสะอาดห้องพัก เมื่อกดเรียก ก็ใช้เวลาอีกกว่า 2 ชั่วโมงจึงจะมีพนักงานมาทำความสะอาดให้ นอกจากนี้ ยังได้รับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในห้องน้ำไม่ครบ ตอนกลางคืนกดเรียกไปทั้งหมด 4 ครั้ง ไม่มีคนรับสายทุกเบอร์ ทั้งๆ ที่เขียนไว้ว่ากดเรียกได้ 24/7
สถานที่เกิดเหตุ: โรงแรมแห่งหนึ่งในกลุ่ม Starwood
.
ผมส่งอีเมลอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น หลังจากเชคเอ้าท์มาแล้ว และได้รับการติดต่อจากศูนย์บริการลูกค้าของ SPG (Starwood) เพื่อขออภัยและส่งเรื่องต่อไปยังผู้จัดการโรงแรมแห่งนั้น เพื่อเจรจาการชดเชยจากการบริการที่ต่ำกว่ามาตรฐาน โดยผู้จัดการเสนอชดเชยเป็นคะแนน Starpoints จำนวน 6,000 คะแนน จากข้อผิดพลาดดังกล่าวนี้
.
ผมตอบกลับ ขอเจรจาได้รับคะแนน Starpoints จำนวน 12,000 คะแนน เพราะเป็นจำนวนคะแนนที่จะสามารถแลกห้องพักได้ฟรี 1 คืนในโรงแรมแบรนด์เดียวกับที่เข้าพัก เพื่อเป็นการชดเชย (และก็น่าจะดูสมเหตุสมผลกว่าการได้รับ 6,000 คะแนน ซึ่งเป็นเพียงแค่ครึ่งเดียวของคะแนนที่สามารถแลกห้องพัก 1 คืนได้)
.
ผู้จัดการตอบตกลง จบเคส ได้รับการชดเชยเป็นคะแนน Starpoints 12,000 คะแนน (ถ้าไม่ต่อรอง อาจะได้แค่ครึ่งเดียว)
.
ตัวอย่างจริง (2)
.
เหตุการณ์: ผมใช้บริการสายการบิน United ชั้นธุรกิจ และเกิดปัญหาขณะเครื่องบินขึ้น มีน้ำแอร์หยดลงมาที่ไหล่จากแผงแอร์ด้านบน เป็นจำนวนมาก (ชนิดที่เอาหนังสือพิมพ์มารอง ก็ถึงกับชุ่มไปทั้งเล่ม) แม้ว่าเมื่อเครื่องรักษาระดับได้แล้ว น้ำแอร์จะหยดน้อยลง แต่เจ้าหน้าที่สายการบิน United ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ผมได้ พูดจาไม่สุภาพ และบอกกับผมว่าจะให้ย้ายไปนั่ง Coach (Economy) ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่รับไม่ได้ ในเที่ยวบินที่ยาวนานกว่า 10 ชั่วโมง
.
ผมเจรจากับผู้จัดการเที่ยวบิน ได้รับโค้ดสำหรับคอมเพลนบนหน้าเว็บไซต์ของ United ซึ่งต้องนำโค้ดนี้ ไปกรอกและอธิบายเหตุการณ์ด้วยตัวเองอีกครั้ง จากนั้นจึงจะมีเจ้าหน้าที่ตอบกลับ ว่ากรณีดังกล่าว จะสามารถชดเชยเป็นอะไรให้เราได้บ้าง
.
จบเคส ได้รับการชดเชยเป็นเงินจำนวน $200 พร้อมเสนอว่าสามารถนำค่าซักรีดเสื้อผ้าในการเดินทางครั้งนั้นมาเบิกได้เพิ่มเติม (จริงๆ ผมถือว่าชดเชยน้อยมากครับในเคสนี้ ควรได้เยอะกว่านี้พอสมควร)
.
ตัวอย่างจริง (3)
.
เหตุการณ์: รับกระเป๋าที่สายพานสนามบินต่างประเทศแห่งหนึ่ง และพบว่ากระเป๋าถูกโยนจนเกิดความเสียหาย (ล้อเบี้ยวไปข้างนึง)
.
กรณีนี้เป็นกรณีที่หลายคนเข้าใจผิดและปฏิบัติผิดครับ หากเกิดเหตุการณ์กระเป๋าเสียหายจากการเดินทาง ต้องทำการเคลมทันที ที่สนามบินแห่งนั้น โดยให้ไปยังเคาน์เตอร์บริการของสายการบิน (มักจะอยู่ใกล้กับสายพานรับกระเป๋า) และแจ้งความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อขอรับเอกสาร Damage Report จากสายการบิน ณ สนามบินที่เกิดเหตุ จึงจะสามารถนำไปเคลมได้ ซึ่งหลักฐานที่ต้องใช้คือ บอดดิ้งพาส และแท็กกระเป๋าของไฟลต์นั้นๆ
.
หลักการของการเคลมกระเป๋าเสียหาย คือเมื่อเราได้รับเอกสาร Damage Report แล้ว สายการบินมักจะให้เราเอากระเป๋าไปหาร้านซ่อมเอง และนำใบเสร็จค่าซ่อมมาเบิกเป็นเงินคืนในภายหลังครับ แต่ก็จะมีกรณีที่สายการบินรับกระเป๋าไปซ่อมให้เช่นกัน อันนี้ต้องติดต่อกับแต่ละสายการบินเพื่อดูตามขั้นตอนอีกครั้ง
.
หากเราไม่ได้เคลมกระเป๋าในสนามบินที่เกิดเหตุ เช่นล้อหลุดไปข้างนึง แล้วปล่อยผ่านไป พอจะเดินทางอีกที ถ้านำกระเป๋าล้อหลุดใบนั้นไปเช็กอินเพื่อโหลดกระเป๋าอีกครั้ง เจ้าหน้าที่จะระบุว่ากระเป๋าเสียหายตั้งแต่ก่อนโหลด ดังนั้น จะไปเคลมที่สนามบินปลายทางไม่ได้แล้วนะครับ อันนี้ต้องระวังให้ดี
.
จบเคส ซ่อมกระเป๋าฟรี
.
.
อันนี้เป็นตัวอย่างบางส่วน ให้คุณผู้อ่านได้พอเห็นภาพครับ ว่าหากทำการขั้นตอนและหลักการในการคอมเพลน ก็จะได้รับการชดเชยกลับมาในระดับที่น่าจะพึงพอใจกันทุกฝ่าย โดยไม่เสียอารมณ์มากนัก และไม่มีความจำเป็นต้องไปด่าทอต่อว่าพนักงานในจุดเกิดเหตุแต่อย่างใด เพราะหลายๆ ครั้ง ก็ไม่ใช่ความผิดที่พนักงานคนใดคนนึง รวมถึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาด้วย
.
สายการบิน และโรงแรมส่วนมาก จะมีนโยบายในการชดเชยให้กับเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้อยู่แล้ว โดยจะมีการชดเชยกลับมาในรูปแบบของเงินชดเชย, voucher, หรือคะแนนสะสม โดยให้เราระลึกไว้เสมอครับ ว่าเราสามารถต่อรองได้ หากคิดว่าตัวเลขนั้นยังไม่เหมาะสมเพียงพอ หรือหากทางโรงแรม/สายการบิน ไม่เสนอการชดเชยใดๆ มาให้ เราก็สามารถเรียกร้องตามสิทธิที่เหมาะสมได้ครับ เช่น ผมเคยส่งอีเมล แจ้งขอการชดเชยจากสายการบิน กรณีระบบ entertainment บนเครื่องบินพังตลอดทั้งไฟลต์ และได้รับการชดเชยมาเป็นไมล์สะสมจำนวน 5,000 ไมล์ ซึ่งผู้โดยสารนับร้อยคนในไฟลต์เดียวกันนั้น อาจจะมีคนขอชดเชยเพียงไม่กี่คนก็ได้ (ใครขอ ก็ได้ชดเชย ใครปล่อยผ่าน ก็เสียสิทธิ์ตรงนี้ไป)
.
ในทางกลับกัน ไม่ใช่แค่เรื่องคอมเพลนเท่านั้น แต่หากเราได้รับการบริการที่ประทับใจเป็นพิเศษ ก็อย่าลืมที่จะส่งต่อคำชมไปยังศูนย์บริการลูกค้าได้เช่นกันนะครับ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจต่อการทำงาน ทั้งของพนักงานคนนั้นๆ และขององค์กรโดยรวมครับ ผมมักจะส่งคำชมไปยังสายการบินและโรงแรม โดยระบุชื่อพนักงานที่ให้บริการอยู่เสมอ หากสามารถทำให้เราประทับใจในการรับบริการได้
.
พบกันใหม่บทความหน้า สวัสดีครับ
.
บทความโดย:
อู๋ spin9
https://spin9.me/2018/03/18/how-to-complain-an-unfair-treatment/
.
-
ส่งข้อความด่าทางไลน์ มีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือไม่
.
ด้วยการสื่อสารปัจจุบันที่ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ความระมัดระวังทางอารมณ์ย่อมเกิดขึ้นได้น้อยในวันนี้ทีมงานทนายกฤษดา มีข้อคิดวิเคราะห์ให้ท่าผู้อ่านได้วินิจฉัยว่าการส่งข้อความด่าทางไลน์นั้นมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาและข้อชี้ขาดความเห็นแย้งดังนี้
.
หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา
.
มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
คําชี้ขาดความเห็นแย้งที่ ๔๐๙/๒๕๕๙ ป.อ. ดูหมินซึ่งหน้า (มาตรา ๓๙๓)
.
ผู้ต้องหาได้ส่งข้อความผ่านโปรแกรมแชทไลน์เข้าไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ผู้เสียหายที่ ๑ มีข้อความว่าผู้เสียหายที่ ๑ เป็นชู้กับผู้เสียหายที่ ๒ – ที่ ๕ ต่อมาหลังเกิดเหตุ ผู้ต้องหารับว่าเป็นผู้ส่งข้อความดังกล่าวไปยังผู้เสียหายที่ ๑ จริง แต่เนื่องจากขณะที่ ผู้เสียหายที่ ๑ รับข้อความดังกล่าว ผู้ต้องหาไม่ได้อยู่ต่อหน้าหรือกล่าวข้อความดังกล่าวซึ่งหน้า ผู้เสียหายที่ ๑ ซึ่งองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๙๓ บัญญัติให้ ผู้กระทําต้องกล่าวข้อความดูหมิ่นต่อหน้าผู้ถูกกระทํา เพราะบทบัญญัติมาตรานี้ มีเจตนารมณ์ ป้องกันเหตุร้ายที่อาจเข้าถึงตัวกันได้ทันทีที่มีการกล่าวข้อความดูหมิ่น เมื่อผู้ต้องหาส่งข้อความ อันเป็นการดูหมิ่นผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยผู้ต้องหาไม่ได้ปรากฏตัวให้ผู้เสียหายที่ ๑ เห็นซึ่งหน้าที่สามารถเข้าถึงตัวกันได้ทันทีที่ผู้ต้องหาส่งข้อความ การกระทําของผู้ต้องหา จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า คดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง
.
มีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้
.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๒๒/๒๕๕๗ จำเลยโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหายด่าว่าและทวงเอกสาร ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอยู่ห่างไกลกันคนละอำเภอกับจำเลย แต่องค์ประกอบความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจา ผู้กระทำต้องกล่าวซึ่งหน้าผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า
.
หมายเหตุท้ายฎีกา ความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ตาม ป.อ.มาตรา 393 นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการดูหมิ่นซึ่งหน้าจะต้องกระทำด้วยการใช้คำพูด จึงอาจเป็นการกระทำด้วยวิธีการอย่างอื่น เช่นส่งกระดาษที่มีข้อความด่าว่าให้ผู้อื่น ชี้ไปที่สุนัขในลักษณะเปรียบเปรยว่าเขาผู้นั้นเป็นสุนัข เพียงแต่การกระทำดูหมิ่นนั้นจะต้องเป็นการกระทำซึ่งหน้าผู้อื่นที่ผู้กระทำนั้นเจตนาต้องการดูหมิ่นเขา…….ถ้ามิได้กระทำซึ่งหน้าผู้เสียหาย จึงขาดองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 ซึ่งเป็นไปตามหลักการตีความกฎหมายอาญาที่ว่า “กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด”
.
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
.
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th
.
https://www.lawyers.in.th/2019/03/08/curse-through-line/?fbclid=IwAR1YpIvJyWEtzzh_RxZroVZb19kXQ7bWOy0jTuw6L8jSvUWKEe6-4LFr20g (https://www.lawyers.in.th/2019/03/08/curse-through-line/?fbclid=IwAR1YpIvJyWEtzzh_RxZroVZb19kXQ7bWOy0jTuw6L8jSvUWKEe6-4LFr20g)
.
.
***************************************
-
.
หากอ่านดูแล้วเจี๊ยวจ๊าว เอื้อมนิ้วยาวๆของท่าน #กดไลค์ #กดแชร์ #กดsubscribe #กดออด #กดกริ่ง #กดกระดิ่ง #กดระฆัง ให้ด้วย เพื่อจะได้ไปพลาดในเรื่องต่อไป และเป็นกำลังใจให้กับผมในการหาเรื่องดีงามต่อไป
.
.
.**********************************.
.
.
โทรศัพท์ด่าว่าผู้อื่น โดยผู้กระทำกับผู้อื่นกับผู้อื่นอยู่สถานที่ห่างไกลคนละอำเภอ จะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า หรือไม่
.
โพสโดย ทนายใกล้ตัว
7 กุมภาพันธ์ 2564
.
โทรศัพท์ด่าว่าผู้อื่น โดยผู้กระทำกับผู้อื่นกับผู้อื่นอยู่สถานที่ห่างไกลคนละอำเภอ จะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า หรือไม่
.
การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การพิจารณาว่าการกล่าวดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยาม สบประมาทผู้ที่ถูกกล่าวหรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว
.
????คำถาม : โทรศัพท์ด่าว่าผู้อื่น โดยผู้กระทำกับผู้อื่นกับผู้อื่นอยู่สถานที่ห่างไกลคนละอำเภอ จะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า หรือไม่
.
✅คำตอบ : องค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 นั้น ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจา ผู้กระทำต้องกล่าวซึ่งหน้าผู้เสียหาย เพราะว่าบทบัญญัติมาตรานี้มีเจตนาป้องกันเหตุร้ายที่อาจเข้าถึงตัวกันทันทีที่มีการกล่าวดูหมิ่น
.
ความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 นั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าการดูหมิ่นซึ่งหน้าจะต้องกระทำด้วยการใช้คำพูดเท่านั้น จึงอาจเป็นการกระทำด้วยวิธีการอย่างอื่น เช่น ส่งกระดาษที่มีข้อความด่าว่าให้ผู้อื่น ชี้ไปที่สุนัขในลักษณะเปรียบเปรยว่าเขาผู้นั้นเป็นสุนัข
.
เพียงแต่การกระทำดูหมิ่นนั้นจะต้องเป็นการกระทำซึ่งหน้าผู้อื่น ที่ผู้กระทำนั้นเจตนาต้องการดูหมิ่นเขา ถ้าไม่ได้กระทำซึ่งหน้าผู้เสียหาย จึงขาดองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393
.
⭐คำพิพากษาฎีกาที่ 3711/2557
.
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานดูหมิ่น ผู้อื่นซึ่งหน้าขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393
.
แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าจำเลยโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหายด่าว่าและทวงเอกสารจากผู้เสียหาย ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอยู่ที่สถานีบริการขนส่ง (บขส.) ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา จำเลยอยู่ที่ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นสถานที่ห่างไกลคนละอำเภอ
.
แต่องค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 นั้น ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจา ผู้กระทำต้องกล่าวซึ่งหน้าผู้เสียหายเพราะว่าบัญญัติมาตรานี้มีเจตนาป้องกันเหตุร้ายที่อาจเข้าถึงตัวกันทันทีที่มีการกล่าวดูหมิ่น
.
ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบจึงยังไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า
.
????มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
#ทนายความ #ทนาย #คดีความ #กฎหมาย #ชุลมุนต่อสู้
.
-
.
#การหักลดหย่อนภาษี #กรณีใบอนุโมทนาบัตร
#กรมสรรพากร
.
คำพิพากษาฎีกาที่ 7700/2548
.
นาย วุฒิวาร วาระศิริ โจทก์
กรมสรรพากรจำเลย
.
เรื่อง การหักลดหย่อน กรณีใบอนุโมทนาบัตร
.
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29
.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ตรี , 47(7)
.
คดีนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพียงว่า ใบอนุโมทนาบัตรที่ระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาค โจทก์สามารถนำไปหักลดหย่อนเงินบริจาคได้หรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า แม้โจทก์ไม่มีใบอนุโมทนาบัตรของวัดมาแสดง แต่โจทก์พิสูจน์พยานบุคคลว่ามีการบริจาคจริง โจทก์ก็ย่อมนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนได้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง นอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แม้คู่ความจะหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว
.
มาตรา 47 (7) แห่ง ป. รัษฎากร ให้สิทธิผู้มีเงินได้พึงประเมินนำเงินที่ตนบริจาคมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยหักได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่หักรายจ่ายแล้ว เมื่อใบอนุโมทนาบัตรที่โจทก์นำมาหักเป็นค่าลดหย่อนระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาค โจทก์จึงมีสิทธินำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้
.
การที่ใบอนุโมทนาบัตรระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาคก็เพื่อเหตุผลทางด้านจิตใจและความเชื่อทางศาสนาว่า บุคคลในครอบครัวของโจทก์ทุกคนได้ร่วมกันทำบุญกุศล เมื่อโจทก์เป็นผู้มีชื่อระบุในใบอนุโมทนาบัตรเพียงคนเดียวโดยไม่มีชื่อบุคคลอื่นร่วมด้วย โจทก์จึงมีสิทธินำเงินบริจาคทั้งจำนวนตามที่ปรากฏในใบอนุโมทนาบัตรพิพาท มาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ได้
.
การขอคืนภาษีอากรที่นำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสีย หรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ผู้เสียภาษีจะต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีต่อเจ้าพนักงานของจำเลย ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 27 ตรี การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวน 21,806 บาท ที่โจทก์นำไปชำระแก่จำเลยตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีแล้วจึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
.
ที่มา เว็บไซด์กรมสรรพากร ( rd.go.th )
https://www.rd.go.th/36246.html (https://www.rd.go.th/36246.html)
.
-
.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
.
ขอขอบคุณ ที่มาของบทความและภาพ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กรุงเทพธุรกิจ (bangkokbiznews)
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
.
.
.
"PDPA" หรือ "พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" เริ่ม 1 มิ.ย. คุ้มครองอะไรบ้าง ?
.
โพสโดย กรุงเทพธุรกิจ (bangkokbiznews)
30 พ.ค. 2565 เวลา 11:00 น
.
สรุปหลักเกณฑ์ กฎหมาย "PDPA" หรือ "พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562" ที่บังคับใช้ 1 มิ.ย. 65 คืออะไร คุ้มครอง "ข้อมูลส่วนบุคคล" แบบไหน และใครได้รับการคุ้มครองบ้าง
.
"PDPA" หรือ "พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562" เริ่มบังคับใช้ 1 มิ.ย. 65 ซึ่งเป็นแนวทางในการปกป้องสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลในระดับสากล "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" พาไปทำความรู้จักหลักเกณฑ์เบื้องต้นของ PDPA ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคนนับจากที่เริ่มใช้กฎหมาย
.
PDPA คืออะไร ?
.
PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act ซึ่งหมายถึง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีขึ้นเพื่อให้ภาคเอกชนและภาครัฐ(บุคคล/นิติบุคคล) ที่เก็บรวมรวม ใช้ เปิดเผย และ/หรือ โอนข้อมูลส่วนบุคคลในไทยให้เป็นไปตามมาตรการปกป้องข้อมูลของผู้อื่นจากการถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว
.
โดยหลักเกณฑ์หลักๆ คือต้องขอความยินยอมจาก "เจ้าของข้อมูล" ก่อนการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลเสมอ
.
ข้อมูลแบบไหนที่ถือเป็น "ข้อมูลส่วนบุคคล"
.
สำหรับ ข้อมูลส่วนบุคคล ตาม PDPA หมายถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้ระบุตัวบุคคลได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น
.
- เลขประจำตัวประชาชน ชื่อ-นามสกุล
- ที่อยู่
- เบอร์โทรศัพท์
- อีเมล
- ข้อมูลทางการเงิน
- เชื้อชาติ
- ศาสนาหรือปรัชญา
- พฤติกรรมทางเพศ
- ประวัติอาชญากรรม
- ข้อมูลสุขภาพ
.
ทั้งนี้ ข้อมูลคนตาย ข้อมูลนิติบุคคล ไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายนี้
.
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิอะไรบ้าง ?
.
- สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ
- สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
- สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
.
PDPA มีประโยชน์อะไรบ้าง ?
.
ระดับประชาชน
.
- รับทราบวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บ ใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างแจ้งชัด
- ขอให้ลบ ทําลาย หรือขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้
- สามารถร้องเรียนและขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หากมีการใช้ข้อมูลฯนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้แต่แรก
- ลดความเดือดร้อนรําคาญ หรือความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
.
ระดับหน่วยงานรัฐและเอกชน
.
- ยกระดับความเชื่อมั่นในมาตรฐานการจัดเก็บ ใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล ในระดับนานาชาติ
- มีขอบเขตในการจัดเก็บ ใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลที่ชัดเจน
- มีการดําเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลมีความโปร่งใส รับผิดชอบต่อสังคม ตรวจสอบได้
.
ระดับประเทศ
.
- มีมาตรการในการกํากับดูแลการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ
- มีเครื่องมือในการกํากับการดําเนินงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- สามารถตรวจสอบการดําเนินงานภาครัฐและภาคธุรกิจ เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความถูกต้องเหมาะสม
.
----------------------------------------------
.
อ้างอิง: สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, ธนาคารแห่งประเทศไทย
.
.
.
.
.
กฎหมาย PDPA 10 ข้อต้องรู้ ก่อนบังคับใช้ 1 มิ.ย.นี้
.
โพสโดย ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
27 พ.ค. 2565 เวลา 4:02 น.
.
เปิด 10 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ทุกคนควรรู้ ก่อนบังคับใช้คุ้มครองข้อมูลส่วนตัว 1 มิ.ย.65 นี้
.
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ซึ่งย่อมาจากคำว่า Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 หลังจากที่ถูกเลื่อนออกมาให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้
.
กฎหมายฉบับนี้ จะมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของเราเอง รวมถึงได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้เกิดขึ้นกับบุคคลหรือนิติบุคคลในการเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ หากผู้ใดหรือองค์กรใดไม่ปฏิบัติตามนั้น มีโทษทั้งทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษทางปกครอง
.
PDPA ย่อมาจาก คำว่า Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) กฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล การสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้อย่างถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต
.
อย่างไรก็ดี เนื่องจากเป็นกฎหมายใหม่ก่อนมีผลบังคับใช้ ชวนมาเปิดสาระสำคัญ 10 ข้อที่เราต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายฉบับใหม่นี้กัน ดังนี้
.
1. "ข้อมูลส่วนบุคคล" คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมแต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมเฉพาะ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัว ข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ (มาตรา 6)
.
2. "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" ต้องเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเอาไว้ก่อหรือในขณะเก็บรวบรวม (ห้ามใช้นอกเหนือวัถตุประสงค์) (มาตรา 21 )
.
3. "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเราเท่าที่จำเป็น ภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 22 ) ใช้ข้อมูลของเราให้น้อยที่สุด
.
4. ความยินยอม เป็นฐานการประมวลผลฐานหนึ่งเท่านั้น "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" มีหน้าที่ในการกำหนดฐานการประมวลผลให้สอดคล้องกับลักษณะการประมวลผลและความสัมพันธ์ระหว่าง "ผู้ควบคุมข้อมูล" กับ "เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล" (ตามมาตร 24 หรือ มาตรา 26)
.
5.ในการขอความยินยอม "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" จะต้องคำนึงอย่างที่สุดในความเป็นอิสระของ "เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล" (ต้องไม่มีสภาพบังคับในการให้/ไม่ให้) (มาตรา 19 วรรคสี่)
.
6. "เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล" มีสิทธิต่าง ๆ ดังนี้
.
สิทธิในการถอนความยินยอม ในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้ (มาตรา 19 วรรคห้า)
สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice) (มาตรา 23)
สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 30)
สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 31)
สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 32)
สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ (มาตรา 34)
สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 34)
สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 35)
.
7. กฎหมาย PDPA ให้กับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีสัญชาติใดก็ตาม (มาตรา 5)
.
8.ในกรณีที่เหตุการละเมิด "ข้อมูลส่วนบุคคล" มีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของ "เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล" กฎหมายกำหนดให้ "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" มีหน้าที่ แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ พร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้า (มาตรา 37(4))
.
9."ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" มีหน้าที่จัดทำบันทึกรายการกิจกรรม เพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้ โดยจะบันทึกเป็นหนังสือหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
.
10. "เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล" มีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม PDPA หรือ ประกาศฯ ที่ออกตาม PDPA ทั้งนี้ กระบวนการร้องเรียนเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการฯ ประกาศกำหนด (มาตรา 73)
.
-
.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
.
ขอขอบคุณ ที่มาของบทความและภาพ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กรุงเทพธุรกิจ (bangkokbiznews)
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
.
.
.
"PDPA" หรือ "พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" เริ่ม 1 มิ.ย. คุ้มครองอะไรบ้าง ?
.
โพสโดย กรุงเทพธุรกิจ (bangkokbiznews)
30 พ.ค. 2565 เวลา 11:00 น
-
.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
.
ขอขอบคุณ ที่มาของบทความและภาพ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กรุงเทพธุรกิจ (bangkokbiznews)
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
.
.
.
"PDPA" หรือ "พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" เริ่ม 1 มิ.ย. คุ้มครองอะไรบ้าง ?
.
โพสโดย กรุงเทพธุรกิจ (bangkokbiznews)
30 พ.ค. 2565 เวลา 11:00 น
-
.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
.
ขอขอบคุณ ที่มาของบทความและภาพ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กรุงเทพธุรกิจ (bangkokbiznews)
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
.
.
.
"PDPA" หรือ "พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" เริ่ม 1 มิ.ย. คุ้มครองอะไรบ้าง ?
.
โพสโดย กรุงเทพธุรกิจ (bangkokbiznews)
30 พ.ค. 2565 เวลา 11:00 น
-
.
4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA
.
โพสโดย PDPC Thailand
30 พฤษภาคม 2564
.
1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA
.
ตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
.
2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA
.
ตอบ สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
.
3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA
.
ตอบ การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน
.
4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้
.
ตอบ ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว
.
(1) เป็นการทำตามสัญญา
.
(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
.
(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล
.
(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
.
(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
.
(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง
.
ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆไป
.
PDPA = พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
.
มาตรา 4(1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น
.
ติดตาม fb : PDPC Thailand
.
-
.
4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA
.
โพสโดย PDPC Thailand
30 พฤษภาคม 2564
.
-
.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
-
.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
-
.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
-
.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
-
.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
-
.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
-
.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
-
.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
-
.
.
พ.ร.บ.ใหม่ หนุน WFH แก้รถติด-มลพิษ หลังเลิกงานมีสิทธิไม่ตอบเจ้านาย
.
.
ที่มา prachachat
วันที่ 23 มีนาคม 2566 - 15:54 น.
.
.
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ สนับสนุนการทำงานแบบเวิร์กฟอร์มโฮม เริ่มบังคับ 18 เม.ย. 2566 เปิดทางนายจ้าง-ลูกจ้างตกลงเวลาทำงาน พักผ่อน วันลา ให้ชัดเจน
.
วันที่ 23 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 โดยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะทำให้ลูกจ้างซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความมั่นคงในการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นทางเลือกสำหรับนายจ้างและลูกจ้างในการจ้างแรงงาน
.
รูปแบบทำงานเปลี่ยน
.
นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ด้วยพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เพราะรูปแบบการทำงานในองค์กรธุรกิจต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยมีการทำงานจากที่พักอาศัยของลูกจ้าง หรือเวิร์กฟอร์มโฮม (work from home: WFH) หรือจากสถานที่อื่น ๆ ซึ่งอยู่นอกสถานประกอบการของนายจ้างมากขึ้น
.
ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและออก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 ซึ่งได้เพิ่มเติมบทบัญญัติที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกจ้างให้ได้ความคุ้มครอง เป็นประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้าง ตลอดจนมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาจราจร ลดการใช้พลังงานและเชื้อเพลิงด้วย
.
โดยได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 และจะมีผลบังคับเมื่อพ้น 30 วันนับแต่วันประกาศ (หรือมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566) เป็นต้นไป
.
กฎระเบียบใหม่ใน พ.ร.บ.
.
กฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ได้เพิ่มบทบัญญัติ มาตรา 23/1 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
.
1. นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงให้ลูกจ้างนำงานในทางการที่จ้างที่ลูกจ้างสามารถปฏิบัติงานนอกสถานประกอบการหรือนอกสำนักงานของนายจ้าง ไปทำที่บ้านหรือที่พักอาศัยของลูกจ้าง หรือตกลงให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ ได้
.
2. ในการตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างนั้น อาจตกลงให้มีรายละเอียด เช่น
.
– ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการตกลง
.
– วันและเวลาการทำงานปกติ วัน-เวลาการทำงานล่วงเวลา และเวลาพัก
.
– เกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานวันหยุด รวมทั้งการลาประเภทต่าง ๆ
.
– ขอบเขตหน้าที่ของลูกจ้าง ขอบเขตการกำกับควบคุมของนายจ้าง
.
– ภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการทำงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน
.
– เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานปกติตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือสิ้นสุดการทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธในการติดต่อสื่อสารไม่ว่าในทางใด ๆ กับนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน เว้นแต่ลูกจ้างได้ให้ความยินยอมโดยทำหนังสือไว้ล่วงหน้าก่อน
.
– ลูกจ้างซึ่งทำงานที่บ้าน หรือที่พักอาศัย หรือทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ มีสิทธิและอยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานต่าง ๆ เช่นเดียวกับลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการหรือสำนักงานของนายจ้างด้วย
.
.