ใต้ร่มธรรม

อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี => มาลาบูชาครู => ข้อความที่เริ่มโดย: ฐิตา ที่ สิงหาคม 23, 2013, 04:24:28 pm

หัวข้อ: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ สิงหาคม 23, 2013, 04:24:28 pm

(https://lh3.googleusercontent.com/-cXBnJAaV1Pk/UhZL7YVv-UI/AAAAAAAABxg/Rx2XLl1DRdc/w526-h426/photo.jpg)

พระอาจารย์ชยสาโร

การพัฒนาชีวิตของเรา ต้องดำเนินทั้งภายนอกด้วย ทั้งภายในด้วย
ถ้าหากว่าเรามัวพัฒนาแต่เรื่องภายนอกโดยไม่คำนึงหรือละเลยสิ่งภายใน
การพัฒนานั้นจะขาดความสมดุล แล้วในที่สุดจะไม่ประสบความสำเร็จ
************

เราพึ่งพระรัตนตรัยตลอดชีวิตได้โดย ไม่ต้องสงสัย
ที่พึ่งนอกจากนั้น เป็นที่พึ่งที่ทรยศ จะช่วยเราจริง ๆ ไม่ได้
แม้ว่าเราจะพึ่งมันได้เป็นบางครั้งบางคราว
แต่ว่าถึงที่สุดแล้วมันก็จะหนีจากเรา มันจะพลัดพรากจากเราไป
เพราะมันเป็น “สังขาร” หมด
เราจึงพยายามปฏิบัติเพื่อบรรลุสิ่งที่เรียกว่า “วิสังขาร”
สิ่งที่อยู่เหนือความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย
*******************

เพราะเรากลัวตัวเอง กลัวอยู่กับตัวเอง ก็ต้องเดินออกนอกอยู่ตลอดเวลา
ซัดส่ายไปตามอารมณ์ภายนอกอยู่ตลอดเวลา
เลยเป็นทาสของสิ่งภายนอกอยู่ร่ำไป สิ่งภายนอกขึ้นๆ ลงๆ เราก็ขึ้นๆ ลงๆ
ตามความเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้น
จิตใจของเราก็ ไหวกระเพื่อม อยู่ตลอดเวลา
ไหวกระเพื่อมจนกระทั่ง เราถือความวุ่นวายว่าเป็นความปกติ
******************

บางทีการเคลื่อนไหวและการกระทำการงานต่าง ๆ
เป็นสิ่งที่สมควร  แต่บางคราว
การอยู่นิ่งและการงดเว้นจากการกระทำก็เหมาะสมกว่า
****************

ถึงแม้ว่าการปฏิบัติของเรานั้น ยังไม่ถึงขั้นที่ว่า
“การปฏิบัติชอบ”
ก็อย่างน้อยที่สุด ขอให้เรา “ชอบปฏิบัติ” เสียก่อน
*****************

เมื่อยังไม่ได้ปฏิบัติ ธรรมะก็เป็นแค่ปรัชญาอันลึกซึ้งที่น่าสนใจ
แต่ในโลกที่เป็นจริง พอกิเลสเกิดขึ้น
เราก็ทนต่อกิเลสไม่ได้ มันฉุดลากไปเลย ความรู้ของเรามันหายไปไหนก็ไม่รู้
****************

การจะฆ่ากิเลสหรือนิวรณ์นั้นต้องเข้าใจคำว่า “ฆ่า” นั้นว่า..
หมายถึง การรู้เท่าทัน ฆ่าด้วยการรู้เท่าทัน
**************

การปฏิบัติทุกขั้นตอน อย่าไปปฏิบัติเพื่อจะเป็นเพื่อจะเอา
เพราะจะเป็นการปฏิบัติที่..
เป็นการพายเรือในอ่าง ไม่เป็นการปฏิบัติที่จะข้ามไปฝั่งโน้น
*********************

ถ้าจะฟังเทศน์แต่ความจริงล้วน ๆ พระจะต้องขึ้นธรรมาสน์พูดแต่คำว่า
“เกิด-ดับ เกิด-ดับ เกิด-ดับ” คงไม่มีใครอยากฟัง
ฟังไม่กี่ครั้งก็เบื่อ ผู้แสดงธรรมจึงต้องชูรสบ้าง หาอะไรมาประกอบการอธิบาย
เพื่อให้มันน่าฟัง แต่แท้จริงแล้วความรู้เกี่ยวกับโลกที่ลึกซึ้งที่สุด
ก็สักแต่ว่าความเข้าใจในเรื่อง การเกิด และ การดับ
นักปฏิบัติผู้สามารถรู้แจ้งในการเกิดและการดับของสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายในการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย
และย่อมน้อมจิตไปเพื่อสิ่งที่อยู่เหนือการแตกสลาย
******************

เมื่อเราเห็นด้วยตนเองและเข้าใจเรื่องกิเลสแล้ว เราจะเห็น
ความทุกข์หลายๆ อย่างในชีวิตเรานี้ ไม่จำเป็นเลย มันไม่ได้เกิดเพราะ
ดวงไม่ดี หรือเพราะกรรมเก่า
แต่เกิดเพราะความคิดผิดของเราต่างหาก
******************

เราต้องรู้ว่าเดี๋ยวนี้เราปฏิบัติเพื่ออะไร เราปฏิบัติเพื่อ
อยากเอา อยากเด่นไหม
หลวงพ่อชาท่านก็สอนเสมอว่า อย่าปฏิบัติเพื่อจะเอาอะไร
อย่าปฏิบัติเพื่อจะได้อะไร อย่าเป็นพระพุทธเจ้า อย่าเป็นพระอรหันต์
อย่าเป็นพระอนาคามี อย่าเป็นพระสกิทาคามี
อย่าเป็นพระโสดาบัน อย่าเป็นอะไรเลย เป็นแล้วมันเป็นทุกข์
**********************

อย่าเป็นอะไรเลย สบาย ความสบายอยู่ตรงที่ เราไม่ต้องเป็นอะไร
เราไม่ต้องเอาอะไร ภาวนาจนไม่มีความรู้สึกว่า
ได้กำไรหรือขาดทุนจากการปฏิบัติ มีความรู้สึกราบรื่น
สิ่งภายนอกขึ้นๆ ลงๆ แต่เราก็ไม่ขึ้นๆ ลงๆ ตาม
เราอยู่ด้วยความวางเฉยของผู้รู้เท่าทัน อาการแห่งความสุข
ก็มีอยู่ แต่มันอยู่ข้างนอกมันไม่ได้เข้าไปถึงใจของเรา
*******************

จิตไม่ใช่อารมณ์ อารมณ์ไม่ใช่จิต อันนี้เป็นหลักสำคัญมาก
ท้องฟ้าไม่ใช่เครื่องบิน เครื่องบินไม่ใช่ท้องฟ้า
ท้องฟ้าก็อยู่อย่างนั้นแหละ เมฆก็ผ่านไปผ่านมา เครื่องบินก็
ผ่านไปผ่านมา เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว
อันนี้เป็นอากาศ แต่ว่าอากาศไม่ใช่ท้องฟ้า ท้องฟ้าไม่ใช่อากาศ
************************

จิตไม่ใช่อารมณ์ อารมณ์ไม่ใช่จิต เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ
เดี๋ยวพอใจ เดี๋ยวไม่พอใจ อันนี้ก็เป็นอารมณ์
แต่อารมณ์ไม่ใช่ใจ ที่ว่าวันนี้ใจไม่ดี ใจไม่สบาย ความจริง
ไม่ใช่เรื่องของใจนี่ ใจมันนิ่ง ความยินดีและความยินร้าย ความพอใจ
และความไม่พอใจเป็นเรื่องของอารมณ์ต่างหาก
ให้รู้จักแยกจิตออกจากอารมณ์
ยอมให้อารมณ์เป็นอารมณ์ ให้จิตเป็นจิต นี่เราจะมีความสบายอยู่ตรงนี้
*********************

การภาวนาคือ การลดความโง่ของตัวเอง ผู้ที่หาว่า..
ไม่มีเวลาภาวนา คือผู้ที่ถือว่าไม่มีเวลาลดความโง่ของตัวเอง
*****************
ผู้ที่มีสติกำหนดรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง จะเป็นผู้ที่รู้สึกสดใสและเป็น
ผู้ไม่กระสับกระส่าย กระวนกระวายที่จะแสวงหา
ความสุขและความมั่นคงจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
หรือจะเป็นความรักความเคารพจากคนอื่น
ทีนี้ เราไม่มีความรู้สึกว่าเราขาดอะไร ไม่ต้องการอะไรจากใครในโลก
เราไม่มีความรู้สึกว่าเรามีอะไรเกิน
จะมีแต่ความรู้สึกว่ามันพอดี ตรงนี้แหละจิตเป็นธรรม
***********************
เราไม่ต้องไปแสวงหาความแปลก ๆ ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
ให้มารู้จัก มาตระหนักกับสิ่งที่มันมีอยู่แล้วตามธรรมดา ๆ นั่นแหละ
ปัญญาไม่ได้เกิดจากสิ่งผิดปกติ
แต่มันเกิดจากการรับรู้อย่างทะลุปรุโปร่งต่อสิ่งปกติ

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

(https://lh4.googleusercontent.com/-0tIccs5tGTU/Uhb6VRVWBHI/AAAAAAAAQIY/CMiRBM-QV0A/w426-h284/319330_10151073200744266_461941103_n.jpg)
Post By... Butsaya
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คัดลอกและนำมาเผยแผ่โดย คุณธารน้ำใส :
: dhammajak.net วันที่ 12 ก.พ 2555
: tamdee.net/พระอาจารย์ชยสาโร-ท่านเว่ยหลาง-10-28-152
หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ สิงหาคม 25, 2013, 02:10:31 pm
(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xtp1/v/t1.0-9/11060839_728993283876027_9169372901763394581_n.jpg?oh=17aa13e51b23be0ad39fa45e4cd52caa&oe=55D6127C&__gda__=1443431754_cf6a4ac3cbc00c7d4b327d25951d3cca)

ทุกคนเกลียดทุกข์ และรักสุข
ทุกคนจึงควรสนใจว่า ทุกข์เกิดอย่างไร ดับอย่างไร
สุขเกิดอย่างไร ดับอย่างไร

สมมุติฐานของพระพุทธศาสนาคือทุกข์
เกิดเพราะกิเลสเกิด ดับเพราะกิเลสดับ
สุขเกิดเพราะคุณธรรมเกิด ดับเพราะคุณธรรมดับ

ใครยอมรับในหลักการนี้ จึงมีปัญหาชีวิตสี่ข้อ :
๑. ทำอย่างไร กิเลสจะไม่เกิด
๒. ทำอย่างไร จะดับกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ทำอย่างไร คุณธรรมจึงจะเกิด
๔. ทำอย่างไร คุณธรรมที่เกิดขึ้นแล้วจะดียิ่งขึ้นๆไป

นักภาวนาในพระพุทธศาสนา คือผู้ที่เพียร
พยายาม แก้ปัญหาสี่ข้อเหล่านี้

พระอาจารย์ชยสาโร
***************************

สมาธิทําให้จิตเป็นกลาง
 ไม่ยินดียินร้าย
 พร้อมที่จะเห็นสิ่งทั้งหลาย
 ตรงตามความเป็นจริง

- พระอาจารย์ชยสาโร

 ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
samadhi brings equanimity
 neither swaying towards nor away from experience
 the mind is ready to see all things
 in their true light

 - Ajahn Jayasaro
*******************

สัมมาทิฐิในเบื้องต้น
 คือมีอุดมการณ์
 ค่านิยม
 ความเชื่อถือ
 ที่ตรงตามความเป็นจริงของธรรมชาติ
 เข้าใจในกฎแห่งกรรม
การเวียนว่ายตายเกิด
 บุญและบาป
 ความทุกข์และความสุข
 ศักยภาพของมนุษย์
 ตรงตามความเป็นจริง

- พระอาจารย์ชยสาโร

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
mundane right view:
 ideals
 values
 beliefs
 in tune with the truth
 an accurate grasp
 of the law of kamma
 the process of rebirth
 wholesome and unwholesome qualities
 suffering and happiness
 the potential of a human birth

 - Ajahn Jayasaro
******************

ความเสมอต้นเสมอปลายไม่ต้องดีเสมอไป
 ความเสมอต้นเสมอปลายของผู้ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น
ระหว่างการทำสิ่งที่ถูกต้อง นับว่าดี เป็นคุณธรรมของผู้มีวุฒิภาวะ
 ส่วนการอ้างความเสมอต้นเสมอปลาย
เมื่อฝืนกระทำในสิ่งที่รู้ว่าผิด เพียงเพราะเสียดายเงิน
หรือเวลาที่ลงทุนไปแล้ว นั่นคือกิเลส ไม่ใช่คุณธรรม

 พระอาจารย์ชยสาโร
******************

แรกๆ ยังพร่ามัวอยู่
 ก็ลังเลใจ
 ในช่วงนี้ต้องพึ่งศรัทธาความเชื่อมั่นว่า
 การหลุดพ้นจากกิเลสเท่านั้น
 ที่สามารถตอบสนองความต้องการแท้จริงของชีวิต
 และ ข้าพเจ้าสามารถละกิเลสได้
ด้วยความเพียร

- พระอาจารย์ชยสาโร
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
in the beginning the way ahead is indistinct
 we doubt and hesitate
 but faith sustains us
 confidence that nothing but freedom from defilement
 can answer the deepest needs of the human heart
 and that this ultimate freedom truly can be ours
 through wise effort

 - Ajahn Jayasaro


(http://0.static-atcloud.com/files/comments/72/727169/images/1_display.jpg)

ธรรมชาติพร้อมตลอดเวลา
ที่จะสอนผู้ที่พร้อมตลอดเวลาที่จะศึกษา
บทเรียนใหญ่ที่สอนคือ
ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
โดยไม่มีใครสร้าง
ไม่มีเจ้าของ
ธรรมชาติสอนให้เราฉลาด
ในเรื่องการกระทํา
และผลการกระทํา
- พระอาจารย์ชยสาโร
จากบท 'อริยสัจคือมรรค ควรทำให้มีขึ้น' ในหนังสือตามความเป็นจริง
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
nature is constantly ready
to teach those who are constantly ready
to learn from it
nature’s biggest lesson
is that everything occurs
appears and disappears
through causes and conditions
with no creator
and no director
nature instructs us
in the intricate play
of cause and effect
- Ajahn Jayasaro
From the chapter on 'the path should be cultivated' seen in their true light
..
..

คำสรรเสริญใครๆ ก็ชอบ แต่อย่าเพิ่งชอบมากเพราะมันเป็นของอันตราย
ยิ่งชอบยิ่งติดใจกับคำสรรเสริญ จะยิ่งไม่ชอบคำนินทาหรือคำวิพากษ์วิจารณ์
อยู่ไปอยู่มาบางสิ่งที่ควรทำก็ไม่ทำเพราะกลัวว่าจะไม่มีใครชม
หรือกลัวจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ความชอบคำสรรเสริญกับความไม่ชอบคำนินทา
กลายเป็นสิ่งที่มีอำนาจในหัวใจเหนือความรู้สึกว่าถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง
สิ่งใดมีหวังว่าจะมีคนชมมากก็ขยันทำ สิ่งใดกลัวว่าจะไม่มีใครชมก็ขี้เกียจทำ
ผู้ใหญ่ชอบคำสรรเสริญมากจะดึงดูดคนประจบประแจง
ผู้ใหญ่รังเกียจคำนินทาหรือคำวิพากษ์วิจารณ์ ผู้น้อยจะไม่กล้าให้ข้อมูลบางอย่าง
ผู้ใหญ่จึงจะขาดข้อมูลในการทำงาน
พระอาจารย์ชยสาโร

(https://scontent-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xpa1/v/t1.0-9/11169877_726892057419483_5814863221127259779_n.jpg?oh=00e8d684e62d0fadbc0554ab429e9eb7&oe=55DBB9FC)

จิตที่ไม่ตั้งมั่นไม่สามารถเห็นอะไรตามความเป็นจริงได้
ทั้งนี้เพราะจิตที่ขาดการฝึกอบรมย่อมมีคราบกิเลสต่างๆติดแน่นอยู่
เป็นเปลือกหุ้มจิตเอาไว้ตลอดเวลา รู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง
คำสอนของพระพุทธองค์
จึงไม่ใช่เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิดใจในเวลามีทุกข์
คำสอนของพระพุทธองค์ให้วิธีการฝึกจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ
เพื่อมีกำลังสลัดคราบกิเลสออกไป ด้วยการรู้ เห็น
สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
เมื่อจิตมีคุณสมบัติพอที่จะดูชีวิตของตนอย่างเป็นกลางได้
เราจึงจะจับหลักได้ว่า สิ่งใดยิ่งมองยิ่งชัด สิ่งนั้นเป็นของจริง
สิ่งใดยิ่งมองยิ่งไม่ชัดสิ่งนั้นเป็นของปลอม
เพราะดู เพราะรู้ เพราะเห็น นั่นแหละ มนุษย์เราจึงมีโอกาส
เป็นที่พึ่งแห่งตน
พระอาจารย์ชยสาโร

(https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/v/t1.0-9/11082451_711635548945134_5618863738830740146_n.jpg?oh=8993f71fe1e8ed6ef22ea6ffd83a2061&oe=56084498&__gda__=1440233458_eeeb455c457a0cea6f54b581f5652b4a)

สมัยนี้คนนิยมลดน้ำหนักกันทั้งกายและวาจา การลดน้ำหนักทางกายอาจจะมีผลดีต่อชีวิต แต่การลดน้ำหนักของคำพูดไม่เคยดีเลย

วีธีทำให้คำพูดมีน้ำหนักน้อยลงก็ง่ายมากคือโกหกบ่อยๆ ไม่นานก็ไม่มีใครอยากเชื่อเราเลย แต่ข้อเสียไม่ได้จบอยู่แค่นี้ เพราะขณะเดียวกันกับที่เรากลายเป็นที่ระแวงของคนรอบข้าง เราเองก็กลายเป็นคนขี้ระแวง พร้อมที่จะแปลคำพูดและกิริยาท่าทางของคนอื่นว่าเป็นเท็จหรือเสแสร้ง โดยสรุปว่าเราเป็นอย่างไรเขาก็คงเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน

พระอาจารย์ชยสาโร
หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ สิงหาคม 25, 2013, 02:33:07 pm
(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/p480x480/1170760_415823925192966_383940945_n.jpg)

คนดีที่ยังมีกิเลสเป็นคนดีตลอดเวลาไม่ได้ คนที่ยังไม่ถึงดี ก็ไม่ต้องพูดถึง ความต้องการสุขเวทนามีอำนาจเหนือจิตใจคนเรามากเหลือเกิน หลายสิ่งหลายอย่างที่เรารู้ว่าไม่ดี แต่ก็ปล่อยไม่ได้เพราะเสียดายความสุขที่เราได้จากมัน การแก้ไขจึงไม่ได้อยู่ที่การยอมรับว่าสิ่งไม่ดีทั้งหลายมีโทษอย่างเดียว ปัญหาสำคัญคือทำอย่างไรเราจึงจะยอมหาความสุขที่ดีกว่าจากสิ่งเสพติดที่มีมากมายก่ายกอง แต่มีจุดรวมอยู่ที่สุขเวทนา ไม่มีใครที่ไหนติดเฮโรอีน ยาบ้า ฯลฯ หรอก สิ่งเหล่านั้นเป็นแค่สื่อเท่านั้น สิ่งที่คนเราติดอย่างเหนียวแน่นคือความสุขที่ได้จากมัน

- พระอาจารย์ชยสาโร
จากหนังสือ หลับตาทำไม
โดย มูลนิธิปัญญาประทีป และโรงเรียนทอสี
**************

บทนี้มีข่าวดีและข่าวร้าย ข่าวร้ายคือ กิเลสสิ่งที่ก่อทุกข์อยู่ในใจของเรามีเยอะเหลือเกิน (ขอโทษ ถ้าเป็นข่าวเก่ามากแล้วสำหรับผู้อ่าน) ข่าวดีคือ ไม่มีกิเลสตัวไหนที่สู้ธรรมที่เป็นคู่ปรับของมันได้

 เมื่อเทียบกับการรักษาร่างกายก็น่าจะต้องยอมรับว่าในบางแง่การรักษาจิตใจสบายกว่า โรคทางกายบางโรคไม่มียารักษาเลย เป็นแล้วได้แต่บรรเทาเวทนาความเจ็บปวดจนผู้ป่วยหมดบุญ บางโรคมียารักษาอยู่ แต่รักษาคนไม่ได้ผลทุกคน เพราะยาจะดีขนาดไหนก็ยังเป็นของไม่แน่นอน

 ส่วนยาของพระพุทธเจ้านั้น ผู้ใดใช้ถูกต้องตามที่พระองค์ทรงแนะนำ และใช้จนหมดชุด ผู้นั้นย่อมหายแน่ ยิ่งกว่านั้นการหายจากกิเลสคือหายตลอดไป ไม่ใช่หายชั่วคราว หรือหายจากโรคหนึ่งแล้วเป็นอีกโรคหนึ่งเพราะผลข้างเคียงของยาที่เพิ่งทาน ธรรมะไม่มีผลข้างเคียงเป็นโทษ

 จากหนังสือ ๖ พระสูตร
จัดทำโดย มูลนิธิปัญญาประทีป และโรงเรียนทอสี
*******************

ถ้ากำลังรักแม่ วันนี้ขอให้ความรักของเราปรากฏด้วยการกระทำและการพูด ถ้ากำลังโกรธหรือน้อยใจแม่ ขอให้อภัยท่าน และวันนี้ตั้งใจทำอะไรสักอย่างให้แม่มีความสุข อย่าเป็นทุกข์เพราะการคาดหวัง แม่ไม่ใช่พระอรหันต์อยู่ในบ้าน แม่เป็นคนธรรมดา พยายามเอาใจท่านใส่ใจเรา และทำให้ความสัมพันธ์กับแม่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าจะอยู่ด้วยกันอีกสักนานเท่าไร

 พระอาจารย์ชยสาโร
********************

...คนก็เป็นอย่างนี้ เพราะเขามีความคิดอย่างนี้เพราะเขามีกิเลสอย่างนี้ ถ้าเราบอกว่าเขาไม่น่าเป็นอย่างนั้นเลย เขาไม่น่าทำอย่างนั้นเลย เหมือนกับว่าเขาไม่ควรเป็นเขา เขาควรจะเป็นอีกคนหนึ่ง หรือเหมือนกับบอกว่าเขาไม่น่ามีกิเลส อ้าว ถ้าเขาไม่มีกิเลสเขาก็เป็นพระอรหันต์เสียแล้ว ปุถุชนก็ต้องมีกิเลส ทำไมเขาจะไม่มี

 มันไม่ยุติธรรม อ้าวทำไมมันต้องยุติธรรม ปุถุชนด้วยกันมันจะยุติธรรมได้อย่างไร ถ้ายุติธรรมก็ต้องหมู่พระอริยเจ้านั่นแหละถึงจะยุติธรรม...

จากธรรมเทศนาเรื่อง เห็นแก่ตัวกิเลส
วันที่ 25 มกราคม 2555 ณ บ้านพอ แม่ริม เชียงใหม่
******************

...ไม่มีสิ่งใดเลยที่ไม่เป็นที่เกิดอคติ เกิดความรำคาญ เกิดความหงุดหงิดได้ ถ้าเราไม่เห็นโทษของความรำคาญ ความหงุดหงิด คือมีความคิดผิดหรือมิจฉาทิฏฐิอยู่เบื้องหลัง เห็นว่ามันสมควรจะหงุดหงิด มันสมควรจะรำคาญ มันสมควรจะไม่พอใจในเรื่องนี้ ถ้าถามว่าสมควรทำไหม สมควรจริงหรือ

 เราต้องเด็ดขาดกับตัวเอง ไม่มีสิ่งใดเลยที่สมควรจะโกรธ สมควรจะหงุดหงิด สมควรจะรำคาญ เพราะความรำคาญเป็นกิเลส ความหงุดหงิดเป็นกิเลส ความโกรธก็เป็นกิเลส อย่าไปยุ่งเรื่องเหตุผล แต่ แต่ มันไม่น่า มันไม่ถูก มันไม่ใช่ อย่าไปทางโน้นเลย หยุดแล้วกลับมาดูที่ประสบการณ์ เดี๋ยวนี้จิตใจเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ จิตใจเราเบิกบานหรือเศร้าหมอง ดูที่ประสบการณ์ตรง พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ 84,000 พระธรรมขันธ์ คำสั่งสอนพระพุทธองค์มากมายก่ายกอง แต่สรุปแล้วมีแต่สองเรื่องเท่านั้น ทุกข์กับดับทุกข์ ด้วยความคิดอย่างนี้ การพูดอย่างนี้ มองอย่างนี้ กำลังสร้างทุกข์หรือกำลังดับทุกข์ เราอยู่ตรงนี้มันง่ายดี...

จากธรรมเทศนาเรื่อง ภาวนาคิอเรียนรู้
ณ บ้านพอ วันที่ 22 มกราคม 2555 แม่ริม เชียงใหม่
*******************

พูดอะไรบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีเหตุผล แต่เราเชื่อว่ามีเหตุผลเพราะอะไร เพราะความรู้สึกขณะที่พูดไม่ใช่เพราะเนื้อหา เพราะในขณะที่พูดเรารู้สึกเชื่อมั่น ความเชื่อมั่นเป็นสังขารแล้วเป็นสังขารที่เสี่ยงต่ออันตราย เสี่ยงต่ออันตรายว่าถ้าเราเป็นคนพูดเก่งพูดด้วยความเชื่อมั่น คนรอบข้างที่ขาดความเชื่อมั่นซึ่งมีจำนวนมากก็จะเชื่อเราง่าย อ้าว จะไม่ดีเหรอ อ้าว อาจจะดีก็ได้ ถ้าเราเป็นผู้มีศีลธรรม แต่ก็ชวนให้เราประมาทก็ได้ ชวนให้เราใช้ความสามารถนี้เอารัดเอาเปรียบคนอื่นได้ ซึ่งในระยะยาวก็เป็นผลเสียกับตัวเราเองเพราะกรรมที่ทำไว้...

ความคิดเห็นไม่ตรงกันถึงจะถึงกับเถียงกันไม่เป็นปัญหา เป็นสิ่งที่ดีด้วยซ้ำไป เพราะถ้าทุกคนมีความเห็นตรงกัน พูดในสิ่งที่ทุกคนเห็นด้วยอยู่แล้ว นี่จะนำไปสู่ความเสื่อม แต่ถ้าใครมีอะไรก็พูดออกไปจะบังคับให้คนอื่นคิดเหมือนตนมันก็เสื่อม

 ตามหลักประชาธิปไตยเราก็ต้องสร้างกรอบ ต้องรักษาสิทธิมนุษยชนเป็นหลักประกันความปลอดภัยของผู้ที่จะแสดงความคิดเป็นออกมา และจะต้องพัฒนาจิตใจของคน เคารพซึ่งกันและกัน ไม่ด่วนสรุปว่าเพราะเราเชื่อมั่นว่าเราถูกเพราะฉะนั้นเขาต้องผิด เพราะเราเชื่อมั่นว่าตัวเองบริสุทธิ์ใจเพราะฉะนั้นคนที่มีความเห็นไม่เหมือนกับเราต้องไม่บริสุทธิ์ใจ อันนี้ไม่เป็นเหตุเป็นผล อาจจะมองจากคนละแง่มุมก็ได้…

จากธรรมเทศนาเรื่อง ภาวนาหาข่าวตัวเอง
วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ บ้านบุญ ปากช่อง นครราชสีมา
*******************

(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/p480x480/1011576_410779905697368_106907044_n.jpg)

สมมุติว่าเถรวาท สมมุติว่ามหายาน
สมมุติว่าภิกษุ สมมุติว่าภิกษุณี
สมมุติว่าผู้ชาย สมมุติว่าผู้หญิง
ความจริงระดับสมมุติต้องเคารพเอาไว้
แต่ในขณะเดียวกัน
นักบวชเราต้องเข้าถึงความจริงเหนือภาษา เหนือความคิด
ด้วยการปฏิบัติถูกต้องตรงตามแนวทาง
ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
พระอาจารย์ชยสาโร
หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ สิงหาคม 25, 2013, 03:21:58 pm

(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/p480x480/1016771_392160330892659_583092590_n.jpg)

สิ่งที่องค์พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีเเล้วนั้น
ไม่ได้เกิดจากนิมิตในสมาธิของท่าน แต่เกิดจากวิชชา

 พระอาจารย์ชยสาโร
***********************

life’s not an easy thing
 it’s no smooth run
 sometimes it weighs us down
 so much
 life taxes us
 with more than we’d choose ...

ชีวิตนี้ไม่ง่าย
 ชีวิตนี้ไม่ราบรื่น
 ชีวิตนี้โอ๊ยหนัก
 ชีวิตนี้ท้าทาย
 ชีวิตนี้ไหวหวั่น
 ชีวิตนี้เหมือนฝัน
เหมือนฝันสั้น แสนสั้น

- พระอาจารย์ชยสาโร
********************

(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/s480x480/532033_362612513847441_1847954848_n.jpg)

งานนำจิตออกจากความหลง
 ออกจากการวกวนของกิเลส
 ไม่เหลือวิสัย
 แต่เป็นงานที่ไม่มีใครทําให้เราได้
 ต้องทําเอง
 ถ้ายังไม่เริ่มจะเริ่มเมื่อไรดี
วันนี้ไม่ดีหรือ?
ขออย่าอ้างคําว่า “จะ”
ไม่ต้องรอฟังเสียงระฆังวัดเรียกหรอก
(น่ากลัวหูจะตึงเสียก่อน แล้วไม่ได้ยิน)

- พระอาจารย์ชยสาโร
................................
the task of leading the mind
 out of its sleep and dreams
 is not beyond us
 but it is work
 work that no earthly or unearthly power can do for us
 it is our own responsibility
 and if we haven’t yet started on this path
 when should we start?
 why not today?

 may the urgency of our condition
 ring within your heart
 like a monastery bell!

 - Ajahn Jayasaro
*********************

ในภาคปฏิบัติ เราถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
 ด้วยการเอาหลักธรรมเป็นหลักดําเนินชีวิต
 ไม่ลืมธรรม ไม่หลงโลก

- พระอาจารย์ชยสาโร
..............................
in our practice
 we go to the Dhamma as our refuge
 guiding our life by the light of the teachings
 not forgetting the Dhamma
 not turning our back on the Dhamma
 dwelling undeluded by the world

 - Ajahn Jayasaro
**********************

ในการทําบุญ
 ผู้ให้ก็รับ
 ผู้รับก็ให้
 ทั้งสองฝ่าย
 ก็ชื่นใจ

in every generous act
 the one who gives receives
 the one who receives gives
 both feel refreshed and restored

 - Ajahn Jayasaro

(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/s480x480/564738_318256271616399_253770173_n.jpg)

หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ สิงหาคม 25, 2013, 04:07:48 pm

(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/p480x480/988689_410927215682637_1429893106_n.jpg)

พระสงฆ์เราถือว่าต้องเป็นตัวอย่างที่ดีต่อสังคม
 เมื่อมารวมกันเยอะๆ เราจึงพยายามให้เป็นในลักษณะชุ่มนุ่ม
 คือทุกรูป ชุ่มชื่น ชุ่มใจ ด้วยการบริหารจิตให้เป็นบุญเป็นกุศล ไม่ให้สิ่งเศร้าหมอง ครอบงำได้ และ นุ่มนวล ด้วยการสำรวม กาย วาจา รักษากิริยามารยาทให้อ่อนโยนและงดงาม

 พระอาจารย์ชยสาโร
**************************

คำว่า "พุทธะ" แปลว่า ตื่น…ตื่นจากหลับ
 พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า มนุษย์ทั้งหลายดำเนินชีวิตเหมือนอยู่ในความฝัน และพระอริยเจ้าทั้งหลายเริ่มด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราเป็นผู้ตื่น

 แล้วก็เป็นธรรมดาว่าปกติเราฝัน ในขณะที่ฝันเราก็ไม่รู้สึกว่าฝัน น้อยมากแล้วก็น้อยคนที่จะรู้ตัว ในขณะที่ฝันมันรู้สึกเหมือนเป็นโลกที่เป็นจริงของเราอยู่ในเวลานั้น ถ้าตื่นจากฝันแล้วทบทวนที่ฝันเมื่อกี้นี้แล้วมันจะรู้สึกว่ามันแปลกๆ มันไม่ค่อยเหมือนโลกธรรมดาของเรา มันมีเหตุผลอะไรของมันเองเฉพาะโลกนั้นที่เราอยู่ในขณะที่ฝัน พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าโลกที่คนเราอยู่ซึ่งรู้สึกเป็นของจริงของจังนั้นเหมือนความฝัน แต่มีแต่พระอริยเจ้าเท่านั้นที่จะรู้ได้

 ในขณะที่เรากำลังฝันอยู่ เราก็ยังสามารถได้ประโยชน์จากความคิดแนวนี้ว่า สิ่งนี้สิ่งที่เราสำคัญมั่นหมาย สิ่งที่เราให้น้ำหนักมากเหลือเกินนั้น ในสายตาของผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงนี่ก็เป็นแค่ความฝัน เราจะได้ไม่เอาจริงเอาจังกับมันจนเกินไป

 หลายสิ่งหลายอย่างที่เราถือว่าสามัญสำนึกถือว่าชัดเจนแล้ว โดยด้วยสายตาของจิตใจที่บริสุทธิ์แล้ว มันก็ไม่ใช่อย่างนั้น

 จากธรรมเทศนา เรื่อง อัศจรรย์แปดอย่าง
วันที่ 16 กันยายน 2555 ณ บ้านบุญ ปากช่อง นครราชสีมา
*******************************

เมื่อเราเห็นความเกิดขึ้นของกิเลส ความตั้งอยู่ของกิเลส เสน่ห์ของกิเลส ความยากในการที่จะปล่อยวางกิเลสได้ชัดเจนแล้ว เราก็ต้องให้อภัยตัวเองบ้างและในขณะเดียวกันเราก็ต้องเอาใจเขาใส่ใจเราว่าเราเป็นยังไงเขาก็เป็นอย่างนั้น เราไม่ต้องการมีกิเลส ตรงกันข้ามอยากจะฝึกให้ไม่มีกิเลสแต่มันยังทำไม่ค่อยได้ มันยากมาก ดังนั้นเราก็ควรจะคิดต่อว่าขนาดเราตั้งอกตั้งใจมากถึงขนาดนี้มันยังไม่ค่อยได้ผล นับประสาอะไรกับคนทั่วไปที่ไม่เคยคิดจะปฏิบัติ ไม่อยู่ในสมองเลย เราจะไปหวังอะไรกับเขาได้ กิเลสเป็นสิ่งที่มันฝังรากลึกมากในจิตใจของมนุษย์ จะถอนได้นี่เป็นเรื่องใหญ่ มันไม่ใช่ว่า 3 วัน 7 วัน 1 เดือน 1 ปี มันต้องข้ามภพข้ามชาติ

 ในการปฏิบัติธรรม ญาติโยมมักจะใจร้อนและเข้าใจผิดว่าควรจะได้แล้ว เข้าคอร์สหลายคอร์สแล้วแล้วยังไม่เข้าฌานสักทีมันยังไม่เกิดวิปัสสนาสักที มันจะเร็วขนาดนั้นเชียวหรือ มันต้องใช้เวลา อันนี้ไม่ใช่วิ่งร้อยเมตรนะเป็นวิ่งมาราธอน ไม่ใช่มาราธอนเป็นไตรแอตตาลอน และไม่ใช่ไตรแอตตาลอนหนี่งไตรแอตตาลอนเป็นไตรแอตตาลอนเป็นร้อยๆต่อกัน เพราะฉะนั้นอย่าไปหาความสบายใจที่ผลงาน ถ้าจะต้องการความสบายใจในระหว่างการปฏิบัติก็ควรจะอยู่ที่มั่นใจว่าเราอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้อง ถ้าเราทำตรงตามนี้วันใดวันหนึ่งต้องถึง บางช่วงที่เรารู้สึกมีกำลังมากเราก็วิ่งได้เลย วันไหนเหนื่อยหน่อยก็เดิน เดินไม่ไหวก็คลาน เพียงแต่ว่าอย่าลงจากทางเท่านั้นเองวันใดวันหนึ่งจะถึง ชาติใดชาติหนึ่งจะถึง

 จากธรรมเทศนา เรื่อง เดินไม่ได้ก็คลาน
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 บ้านพอ แม่ริม เชียงใหม่
***************************

เมื่อสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นในจิตใจของเราขอให้สังเกตว่าการพยายามไล่สิ่งนี้ออกจากจิตใจจะไม่ได้ผลการพยายามไล่สิ่งที่ไม่ดีออกจากจิตใจจะกลับทำให้สิ่งนั้นกำเริบเป็นการสำคัญมั่นหมายในสิ่งนั้นซึ่งจะทำให้สิ่งนั้นมีกำลังมากขึ้นพระพุทธองค์จึงให้เรากำหนดรู้ตัวปัญหาแต่ให้เราละด้วยการปล่อยวางตัวสาเหตุนี่คือความฉลาดในความคิด

 พระอาจารย์ชยสาโร จากหนังสือ โกรธทำไม
โดย มูลนิธิปัญญาประทีป และโรงเรียนทอสี
*********************************

เมื่อเรารู้ว่าความโกรธเป็นผลเกิดจากการไม่ยอมรับความจริง เช่น ไม่ได้สิ่งที่อยากได้ คนรอบข้างไม่เป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น เราก็มีทางแก้ไขคือ ฝึกยอมรับในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาที่เกิดขึ้น ไม่เอาเป็นเอาตายกับความอยากได้ ไม่หมายมั่นปั้นมือจนเกินไป สำหรับผู้กล้าลืมหูลืมตาต่อการเกิดดับภายในจิต การผ่านไปแห่งเวลาจะสอนความจริงของธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา

- พระอาจารย์ชยสาโร
จากหนังสือ กระโถน กระถาง โดย มูลนิธิปัญญาประทีป และโรงเรียนทอสี
*****************

การมองคนที่เรารักด้วยความคาดหวังบางอย่างเป็นเหตุให้ผิดหวังได้ง่าย เมื่อมีเรื่องไม่พอใจกันเกิดขึ้น ความเสียใจและขัดข้องใจว่าเขาไม่เป็นอย่างที่เขาควรจะเป็น (คืออย่างที่เราต้องการให้เขาเป็น) ความขมขื่นก็ทวีขึ้น พระพุทธเจ้าชี้ให้เราเห็นว่าทุกข์เพราะตัณหาความอยาก

 อย่างไรก็ตาม การรักใครไม่น่าจะต้องหมายความว่ามีหน้าที่หลับหูหลับตาต่อข้อบกพร่องของเขา และเข้าข้างเขาในทุกๆเรื่อง เพราะจะขาดความเป็นเพื่อนที่ดี แต่จะช่วยใครได้ต้องใจเย็น ไม่ท้อแท้ ด้วยความเคารพและยอมรับภาวะปัจจุบันไว้ก่อน

- พระอาจารย์ชยสาโร
จากหนังสือ หลักรัก จัดทำโดย มูลนิธิปัญญาประทีป และโรงเรียนทอสี
**************************

(https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/s480x480/735085_328403393935020_1537757808_n.jpg)
หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ สิงหาคม 25, 2013, 04:48:41 pm

                   (https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/p480x480/295562_350172748424751_121113909_n.jpg)
การรักษาศีลเป็นบุญ เพราะเป็นการมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนที่ดีงามที่สันติสุข เป็นการหลุดพ้นจากความไม่เคารพนับถือตัวเอง เป็นการหลุดพ้นจากการกระทำที่เป็นบาปกรรม ที่สร้างความทุกข์ความเดือดร้อนแก่เพื่อนมนุษย์ แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย และเป็นการหลุดพ้นจากสิ่งเศร้าหมองที่อยู่ในใจบางสิ่งบางอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงธรรมะในชั้นสูง โดยเฉพาะความรู้สึกว่าตัวเองไม่ดี

- พระอาจารย์ชยสาโร
จากหนังสือ นักเพ่งคุณ นักจับถูก โดย มูลนิธิปัญญาประทีป และโรงเรียนทอสี
**************************

"ความฉลาด ความดี และความสุข" มาพร้อมกัน
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แยกออกจากกันไม่ได้...
เพราะถ้าเราฉลาดจริงๆแล้วจะไม่มีทางทำความชั่วได้เลย
และเมื่อไม่ทำความชั่วจิตใจก็เป็นกุศลเป็นสุข
********************

ธรรมะไม่ใช่ของหนัก สำหรับผู้ออกกำลังใจทุกวัน
- พระอาจารย์ชยสาโร
*****************************

พลังน้ำที่น้อมต่ำ พลังธรรมที่ถ่อมตัว

Just as water’s strength can be seen
 when it falls from a great height
 so is humility
 the measure of a man’s integrity.
*******************

ชีวิตอิสระ
 โดดเดี่ยว ในป่า ฟ้ากว้าง
 เคว้งคว้าง บนหน ทางใหญ่
 ล้มบ้าง ลุกบ้าง เป็นไร
 ปีกฝัน ยังใฝ่ โบยบิน
ไม่ต้อง ให้เก่ง เหนือใคร
 ทำดี ที่ใคร ตัดสิน
 แบกกลด แบกบาตร เดินดิน
 ชีวิต พอกิน ประทัง
 ไม่หยุด ก้าวไป เรื่อยๆ
 แม้เหนื่อย ไม่ท้อ ถอยหลัง
 มีธรรม น้ำใจ พลัง
 สองขา คงยัง ก้าวเดินฯ
....................................
Wandering Free
 Alone in the looming forest
 rootless on the road,
 I may slip or even fall
 but my aspiration won’t waiver.
 What’s the use of competition?
 Who can judge my life?
 With this alms bowl and robe
 I’ll get by.
 Though exhausted I’ll not give in —
forward I’ll go!
 With the Dhamma as my companion,
 these two legs will take me far.

(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/s480x480/527734_354146934693999_803018316_n.jpg)

ในสมัยปัจจุบันความเจริญทางวัตถุเพิ่มความอ่อนแอของมนุษย์มากขึ้นทุกที กลายเป็นว่าเราใช้สิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันโดยไม่เข้าใจสิ่งเหล่านั้น หมายถึงว่ามันเสียแล้วเราไม่มีปัญญาซ่อมไม่มีปัญญาแก้ เราก็น้อมสิ่งเหล่านี้มาสู่ชีวิตจนกระทั่งขาดสิ่งเหล่านี้แล้วงงแทบทำอะไรไม่ถูก สะดวกสบายไหมก็สะดวกสบาย เป็นประโยชน์ไหมก็เป็นประโยชน์ ไม่ได้คัดค้านในจุดนี้ แต่ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่าถ้าวิถีชีวิตเราหรือคุณภาพชีวิตเราขึ้นอยู่กับสิ่งภายนอกซึ่งเราควบคุมไม่ได้ หรือควบคุมบางส่วนได้บางระดับได้ เราก็อยู่ในภาวะที่ล่อแหลมต่ออันตราย

 ฉะนั้นในการดำเนินชีวิตท่ามกลางสิ่งอำนวยความสะดวกที่เราไม่คิดจะปฏิเสธ ในขณะเดียวกันยอมรับว่าเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมในบางส่วนของชีวิตเราได้ การปลีกวิเวกเป็นครั้งคราวอย่างน้อยปีละครั้งปีละสองครั้ง วางสิ่งเหล่านี้ไว้ชั่วคราวมาดูใจมาเรียนรู้ว่าขาดสิ่งเหล่านี้มันเป็นอย่างไรไหม พออยู่ได้ไหม

 อาจจะมีบางท่านบอกว่าดีเหมือนกัน ปิดคอมพิวเตอร์ ปิดไอแพด ไม่ติดต่อเฟสบุ๊ก ไม่ดูโทรศัพท์มือถือนี้ดี ดีมากสำหรับคนอื่น แต่สำหรับตัวเองนี้ก็คงต้องดูบ้างเหมือนกันเพราะว่ามีเรื่องสำคัญ เราเป็นคนสำคัญเราก็มีเรื่องสำคัญ ถ้ามีใครคิดอย่างนั้นก็ขอให้ทบทวนอีกทีว่าจำเป็นจริงๆไหม มันสำคัญจริงๆไหม ถ้าหากว่าเราวางไว้โดยสิ้นเชิงมันจะเป็นอย่างไรไหม อานิสสงค์ของการเข้ารีทรีตอย่างนี้ บางคนอาจจะไม่เห็นว่าเป็นอานิสสงค์หรือไม่ใช่สิ่งที่น่าชื่นใจเท่าไหร่ ก็คือการสำนึกว่าเราไม่สำคัญเหมือนที่เราคิด

 จากธรรมเทศนาเรื่อง เรื่อง ตายชั่วคราว
โดยพระอาจารย์ชยสาโร วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๕
ในการปฏิบัติธรรมบ้านพอ ปี ๒๕๕๕ ณ บ้านพอ แม่ริม เชียงใหม่
***************************

(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/p480x480/945478_384775598297799_583071854_n.jpg)
หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ สิงหาคม 25, 2013, 04:51:01 pm

(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/p480x480/7870_390021261106566_1180300325_n.jpg)

ถ้าต้องการให้โลกไม่มีปัญหาเหมือนกับต้องการให้มหาสมุทรไม่มีคลื่น มันเป็นธรรมชาติของมัน… เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน เรียกว่ามันถูกต้อง มันถูกต้องของมัน บางทีที่ไม่ถูกต้องคือความคิดของเราที่อยากให้มันเป็นอย่างอื่น

 จากธรรมเทศนาเรื่อง เรื่อง อ่านใจ วันที่ 30 มกราคม ๒๕๕๖
ในการปฏิบัติธรรมบ้านพอ ปี ๒๕๕๖ ณ บ้านพอ แม่ริม เชียงใหม่
***************************

การพัฒนาสิ่งดีงามในชีวิตต้องพัฒนาทั่งกาย ทั้งวาจา ทั้งจิต ทั้งปัญญา พร้อมๆกัน ศีลในระดับละเอียดนั้นท่านแปลว่าปกติ เราสำรวมกาย วาจา สำรวมใจ ได้สำนึกได้สังเกตความไม่ปกติของตัวเอง เมื่อเราพยายามอยู่กับลมหายใจ จิตใจดิ้นรน ไม่ค่อยยอม นั่นก็เป็นกำไรทางปัญญา ถึงจะไม่ได้กำไรทางความสงบของจิตใจ ปัญญาที่รู้ว่าภาวะจิตของเราทุกวันนี้มันเป็นอย่างนี้ เราสังเกตว่าจิตมันชอบคิดเรื่องอะไรบ้างเวลาจะอยู่กับลมหายใจ แต่ว่ามันหนีไป มันโดดเรียน โดดเรียนแล้วมันหนีไปอยู่ที่ไหน มันไปหาความบันเทิงที่ไหน

 เวลาเราคิดต้องสังเกตว่าอาการของจิตใจที่เผลอที่กำลังคิดอยู่ เราจะมองในกรณีของเนื้อหาที่คิดก็ได้ ก็จะได้ปัญญาตรงนี้ด้วยว่าจิตใจสนใจเรื่องอะไรบ้าง

 ดังนั้นคนเราเข้าข้างตัวเองเป็นประจำ อาจจะมองตัวเองในแง่ที่ดีเกินไปเสียส่วนใหญ่ สลับกับมองตัวเองในแง่ร้ายแต่จะตรงกับความเป็นจริงน้อยมาก ส่วนมากถ้าไม่ดีเกินความจริง มันก็ร้ายกว่าความจริง แต่เมื่อเราพยายามอยู่กับลมหายใจ จิตไปที่ไหนเราโกหกตัวเองไมได้ นี่คือสิ่งที่จิตเรายินดี นี่คือสิ่งที่จิตใจเราสนใจ เป็นการเปิดเผยว่าจิตใจของเรากำลังยึดติดในเรื่องอะไรบ้าง

 จากธรรมเทศนาเรื่อง ภาวนาคิอเรียนรู้
ณ บ้านพอ วันที่ 22 มกราคม 2555 แม่ริม เชียงใหม่
*********************

เราทำสมาธิเพื่อหาทางสายกลาง คือ จุดที่ไม่คิดแต่ไม่หลับ
 ถาม: ช่วงแรกของการนั่งสมาธิจะมีอาการง่วงมาก แต่พอฝืนใจตนเองไปสักนิด อาการง่วงหายไปเป็นปลิดทิ้ง มีคนกล่าวว่าถ้าอาหารง่วงหาย เป็นเพราะมีสมาธิ แต่ทำไมดิฉันยังคิดมากฟุ้งซ่านอยู่ถ้าดิฉันมีสมาธิจริงๆ

 ตอบ: การที่ความง่วงหายนั้น ก็อาจจะเป็นเพราะมีสมาธิก็ได้ หรืออาจจะเป็นเพราะมีความฟุ้งซ่านก็ได้ เป็นแค่การเปลี่ยนตัวนิวรณ์ใหม่ คืออาจจะเป็นสมาธิสักพัก แต่สมาธิไม่มั่นคง แล้วก็เลยกลายเป็นความฟุ้งซ่านต่อ นี่ก็เป็นไปได้ ส่วนมากจิตใจของคนเราก็เหมือนเด็กเล็ก เคยสังเกตเด็กไหม คือมันรู้จักแต่วิ่งกับหลับ วิ่งไปวิ่งมาเหนื่อยก็หลับไปเลย ส่วนมากโตแล้วเราก็ยังเป็นอย่างนั้น จิตรู้แต่ฟุ้งซ่านกับง่วง ฟุ้งซ่านคิดไปคิดมา พอความคิดลดน้อยลงๆ ก็ง่วง เราจึงรู้จักแต่คิดกับหลับ ไม่คิดก็หลับ ไม่หลับก็คิด ทีนี้เราทำสมาธิเพื่อหาทางสายกลาง คือ จุดที่ไม่คิดแต่ไม่หลับ สมาธิมันอยู่ตรงนี้แหละ ไม่ใช่ง่ายๆ ต้องใช้เวลาเหมือนกัน

 จากหนังสือ ชีวิตคือความท้าทาย
จัดทำโดย มูลนิธิปัญญาประทีป และโรงเรียนทอสี
********************

...ความคิดก็เป็นผู้สร้างโลก เราสร้างโลกที่เราอยู่อาศัยด้วยความคิด ด้วยสัญญา นี่ไม่ได้หมายถึงโลกที่เป็นวัตถุแต่หมายถึงโลกแห่งความหมาย โลกของแค่ละคนคือสิ่งที่เราเลือกสำคัญมั่นหมาย สิ่งที่เราให้น้ำหนัก สิ่งที่เราถือว่าสำคัญ นั่นคือโลกที่เราอยู่

 ถ้าเราไม่ศึกษากระแสอารมณ์ ไม่ศึกษากระแสความคิด เราจะไม่รู้สึกตัวในเรื่องนี้ ก็ถือว่าเป็นคอมม่อนเซนส์ เป็นเรื่องที่ชัดเจนแล้ว ทุกๆคนก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นอย่างนี้ แต่พอเราหยุดเมื่อไหร่ โลกที่เราสร้างขึ้นมาและสร้างอยู่ทุกวันทุกเวลานาทีนั้นก็วินาศ วันนี้มีพยากรณ์ว่าปีนี้ปลายปีนี้โลกจะวินาศ โลกมันก็วินาศอยู่ตลอดเวลา โลกวินาศมันก็ดีเหมือนกัน ถ้าเป็นโลกแห่งความคิด โลกมายาที่แต่ละคนสร้างขึ้นมาและเครียดในการรักษาไว้

 ที่พระพุทธองค์และครูบาอาจารย์ต้องการให้เราพิจารณาถึงความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอนเป็นประจำก็คือ สัญชาตญาณของผู้ลอยตามกระแสคือการมองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของแน่นอน การฝึกมองการระลึกสำนึกอยู่ในความไม่แน่นอนก็เป็นการทวนกระแสของตัณหาเหมือนกัน...

จากธรรมเทศนาเรื่อง ภาวนาคิอเรียนรู้
ณ บ้านพอ วันที่ 22 มกราคม 2555 แม่ริม เชียงใหม่
**************************

จิตใจปล่อยวางความเพลินอยู่ในความจำ ความเพลินอยู่ในความคิด สามารถอยู่อย่างสันโดษ มักน้อย อยู่ในปัจจุบัน ไม่หิวโหย ไม่แสวงหาสิ่งใดเป็นเครื่องบันเทิงของจิตใจ แล้วเรื่องแปลกคือพอเราหยุดการแสวงหาความสุข ความสุขก็ปรากฏทันที

 คือสามัญสำนึก อวิชชาบอกว่าเราต้องการความสุข เราก็ต้องแสวงหา แล้วยิ่งในสมัยปัจจุบันนี้ ก็จะเข้าใจว่าความสุขเกิดจากการบริโภค เกิดจากการจ่ายเงิน เกิดจากการตอบสนองความต้องการของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือเป็นเรื่องของกาม แต่เรื่องนี้เราไม่ต้องไปเถียงกับใคร ขอให้เราได้ศึกษาความจริงของชีวิต โดยไม่ต้องผ่านหนังสือ ไม่ต้องผ่านผู้รู้ ไม่ต้องผ่านอะไรก็ได้ เราแต่ละคนทุกคน มีศักยภาพที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ตัวเองได้ อันนี้เป็นบุญของการเกิดเป็นมนุษย์

 จากธรรมเทศนาเรื่อง โอฆะสี่ น้ำท่วมใจ
ณ บ้านบุญ วันที่อาทิตย์ 2 ตุลาคม 2554 ปากช่อง นครราชสีมา


(https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/s480x480/734871_319499178158775_1187748848_n.jpg)
:https://www.facebook.com/jayasaro.panyaprateep.org
หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กันยายน 14, 2013, 06:28:09 pm

(https://lh3.googleusercontent.com/-YFTlbyD2FXI/UjQ6r6_GTpI/AAAAAAAES90/E27ZwfFxCoM/w426-h651/image.jpg)

ในศาสนาพุทธ เราถือว่าสมาธิคือเครื่องระงับอารมณ์
มีแต่ปัญญาเท่านั้นที่สามารถระงับกิเลสได้
แต่ปัญญาจะทำหน้าที่ขจัดกิเลสได้ก็เมื่อจิตมีความสงบ
ความมั่นคง ความผ่องใส และพลังของสมาธิ

พระอาจารย์ชยสาโร

(https://lh6.googleusercontent.com/-UYu2wW9497k/UjQZ0bC-QdI/AAAAAAAAEN0/KSqH6tpZgl0/w546-h460/DSC06121.JPG)
:mohandas karimpanackal
G+ NaiChang Boon สนทนาธรรมตามกาล
หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กันยายน 17, 2013, 09:52:15 pm

(https://lh6.googleusercontent.com/-Z2qp6OezV1I/UjhYzw7OpqI/AAAAAAAAF2s/XuRR7mS4wNo/w426-h568/56+-+1)


...ผู้ที่มีสติกำหนดรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง จะเป็นผู้ที่รู้สึกสดใส
และเป็นผู้ไม่กระสับกระส่าย กระวนกระวาย
ที่จะแสวงหาความสุขและความมั่นคงจากภายนอก
ไม่ว่าจะเป็นลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
หรือจะเป็นความรักความเคารพจากคนอื่น

ทีนี้ เราไม่มีความรู้สึกว่าเราขาดอะไร
ไม่ต้องการอะไรจากใครในโลก
เราไม่มีความรู้สึกว่าเรามีอะไรเกิน
จะมีแต่ความรู้สึกว่ามันพอดี ตรงนี้แหละจิตเป็นธรรม...

(พระอาจารย์ชยสาโร)
>>> F/B คติธรรมนำชีวิต


ในระดับตัวบุคคล สิ่งที่สร้างความทุกข์ความเดือดร้อนให้กับชีวิตเรามากที่สุด น่าจะเป็นความเจ็บไข้ได้ป่วย แต่ความทุกข์กายไม่ใช่เรื่องของกายอย่างเดียว จิตใจมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่เสมอไม่มากก็น้อย เช่น ความเครียด ความซึมเศร้า ความกังวล อารมณ์เศร้าหมองทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมมีผลกระทบต่อภูมิต้านทานโรค ทำให้ป่วยง่ายและหายช้า เป็นที่ยอมรับกันแล้วในวงการแพทย์ว่า ความโกรธเป็นปัจจัยสำคัญของโรคหัวใจ ส่วนความโลภอาจทำให้ติดยาเสพติดหรือเป็นกามโรคได้ อีกเรื่องหนึ่งที่กำลังเป็นที่วิตกกันมากคือนิสัยการกิน

 คนจำนวนมากทีเดียวยอมกินอาหารที่เป็นพิษต่อร่างกายเพียงเพราะชอบรสชาติ คนสมัยนี้เป็นโรคเพราะวิถีชีวิตกันมาก โรคอ้วนเป็นตัวอย่างที่เด่นที่สุด สาเหตุสำคัญคือการกินมากเกินความต้องการของร่างกาย ในปัจจุบันนี้นักวิจัยบอกว่าคนอเมริกันตายเพราะโรคอ้วนปีละ ๓๐๐,๐๐๐ คน การรักษาโรคอ้วนใช้งบประมาณปีละ ๑,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ ยุคนี้คือยุคไขมันเจริญ การไม่ควบคุมอาหาร การไม่ยอมออกกำลังกาย เป็นปัญหาของพฤติกรรมก็จริง แต่เกิดจากมโนกรรมคือจิต ต้องแก้ที่จิตใจคนก่อน เพราะถ้าบริหารอารมณ์ได้ เรื่องปากมันจะเป็นเอง ไม่ต้องกินแก้กลุ้ม กินแก้เบื่อ กินแก้เหงา อีกต่อไป

การฝึกจิตทำให้รู้จักปล่อยวางความยึดถือยึดมั่นในอารมณ์ คนเรารู้จักบริหารอารมณ์ได้ดีก็ช่วยทางด้านสุขภาพกายได้ดีด้วย โรคที่เกิดเพราะกรรมยังคงมีอยู่จริง แต่โรคที่มีสาเหตุมาจากจิตจะลดน้อยลงมาก ยารักษาโรคที่กระทรวงสาธารณสุขต้องซื้อมาจากเมืองนอกในราคาแพงๆ จะลดลง สรุปว่าการนั่งหลับตาช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ประหยัด แค่ราคายานอนหลับ ยากล่อมประสาท ก็ได้เงินมหาศาลแล้ว

หลวงพ่อชยสาโร
ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรมให้อยู่เป็นสุข โดยธรรมสุจริต "ตดเกิดตดดับ"..
>>> F/B พอเพียง มาก กับ Kajitsai Sakuljittajarern

(https://lh3.googleusercontent.com/-Wuciq07AVZg/UjhUt-OzIjI/AAAAAAAEU2o/PA4753Us1cw/w426-h284/image.jpg)
หัวข้อ: Re: บทบาทจำกัดในการสร้างที่พึ่งภายใน
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ เมษายน 12, 2014, 09:28:59 pm

(http://media-cache-ak0.pinimg.com/736x/b0/97/96/b0979673cc252a5973b69d44f8003ed0.jpg)                           

เอกลักษณ์ของศาสนาพุทธ คือการยกปัญญาเป็นคุณธรรมสูงสุด ชาวพุทธเราหากมีความจริงใจต่อพระศาสนา จึงต้องมุ่งมั่นให้เป็นผู้มีปัญญา พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าสมาธิเป็นบาทฐานของปัญญาประเภทที่รู้เห็นตามความเป็นจริง จนสามารถทำลายกิเลสได้ ส่วนปัญญาที่เกิดจากความจดจำหรือคิดไตร่ตรอง เป็นประโยชน์มากในชีวิตประจำวัน แต่ได้ผลดีเฉพาะเวลาที่ทุกสิ่งทุกอย่างปกติ พอกิเลสเกิดขึ้น พอมีเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง มักจะลืมปัญญาระดับนี้เลย พออารมณ์ดับแล้ว เราจึงนึกได้ว่าอะไรเป็นอะไร ฉะนั้น ปัญญาแบบจำได้คิดได้ มีบทบาทจำกัดในการสร้างที่พึ่งภายใน เราจำเป็นต้องเสริมด้วยปัญญาที่สามารถยืนหยัดตลอดเวลา แม้ในยามวิกฤติ บัณฑิตผู้มีปัญญา เห็นเรื่องที่ควรคิด ควรพิจารณาก็คิดพิจารณาในเรื่องนั้น แต่บัณฑิตรู้จักกาละเทศะ เวลาไหนไม่ต้องคิดก็สามารถปล่อยวางได้ ท่านว่า สามารถอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องการ ตามความต้องการคือสมาธิภาวนา จิตสงบแล้ว ถึงเวลาที่สมควรก็น้อมใจเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักธรรม เหมือนแมงมุม ไม่มีแมลงก็อยู่เฉยๆ อย่างมีสติ พอแมลงติดหยากไย่ก็ออกไปจัดการ

ในสมัยปัจจุบันนี้ คนจำนวนมากเป็นทุกข์เพราะความคิดมากกว่าปัญหาในการเอาตัวรอดทางด้านวัตถุ แต่สังคมยังไม่ค่อยปรับตัวกับสถานการณ์ใหม่ ยังไม่มีค่านิยมในการบริหารความคิด ระบบการศึกษาสอนแต่ให้คนรู้จักคิด เราจึงคิด คิด คิด อยู่ตลอดเวลา แต่หยุดคิดไม่ค่อยเป็น นอกจากเวลานอนหลับเท่านั้น และทุกวันนี้คนเครียดมากเสียจนนอนไม่ค่อยหลับก็มีเยอะ หรือถึงจะนอนหลับก็ยังต้องฝันอีก หลับแล้วต้องฝันเพราะอะไร เพราะความคิดยังคั่งค้างอยู่ ไม่ยอมปล่อยวาง ตื่นขึ้นมาตอนเช้าก็ไม่สดชื่นเพราะสมองแช่อยู่ในความอยาก ความกลัว ความกังวลอยู่ทั้งคืน จะจัดการกับความคิด ไม่ให้มันเป็นพิษเป็นภัยต่อชีวิตเรา อาตมาเชื่อว่าการฝึกจิตคือทางเดียวที่ได้ผล

การฝึกสมาธิภาวนาจะประสพความสำเร็จอย่างเต็มที่ ต้องประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สิ่งที่ผู้ภาวนาจะขาดไม่ได้คือ ความเข้าใจในหลักสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่นกฎแห่งกรรม อริยสัจสี่ ไตรลักษณ์ เป็นต้น จำเป็นต้องรู้ความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันของศีล สมาธิ ปัญญา ต้องไม่เชื่ออะไรที่ขัดกับความจริงของธรรมชาติ เช่นไม่เชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าสร้างโลกคอยดลบันดาลชีวิตของมนุษย์ ไม่เชื่อว่านิพพานเป็นอัตตาเป็นต้น ถ้าอย่างนั้นผู้ที่นับถือศาสนาอื่นหรือลัทธิอื่นทำสมาธิได้ไหม ได้สิ และได้ผลคือความสงบสุขในระดับหนึ่งด้วย ที่ไม่ได้คือความตั้งใจมั่นซึ่งเป็นบาทฐานของวิปัสสนา อันเป็นอาวุธเดียวที่สามารถนำเราไปสู่ความเป็นอิสระจากกิเลสอย่างแท้จริง

ความเห็นผิด ไม่ใช่อุปสรรคเดียวที่ควรระวัง ความอยากผิดก็อันตรายเหมือนกัน หลวงพ่อชาท่านสอนลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอว่า อย่าปฏิบัติเพื่อเอาอะไร อย่าปฏิบัติเพื่อจะได้อะไร จงปฏิบัติเพื่อละ ปฏิบัติเพื่อปล่อย ถ้านั่งสมาธิคิดอยากได้นั่น อยากเห็นนี่ อยากมี อยากเป็น การทำสมาธิจะเศร้าหมอง แล้วจะไม่เป็นสมาธิพุทธ เพราะการทำสมาธิด้วยตัณหา ไม่ใช่แนวทางเพื่อพ้นทุกข์ ทั้งนี้ก็เพราะมันเป็นการกระทำที่ขัดแย้งในตัว คือถ้าเผื่อเราทำสมาธิเพื่อละตัณหาเป็นแรงบันดาลใจแล้วเราจะสำเร็จไหม เหมือนผู้นำประเทศเชิญเจ้าพ่อเป็นอธิบดีกรมตำรวจช่วยปราบคนพาล ครูบาอาจารย์ให้เราทำสมาธิด้วยฉันทะ คือความอยากไม่อยู่เกี่ยวกับกามหรืออัตตา เช่นต้องการให้จิตใจเรามีคุณธรรม ละกิเลสได้ เรานั่งหลับตาเพื่อทำให้จิตเราสงบจากกาม สงบจากอกุศลทั้งหลาย พอที่จะอำนวยความสะดวกแก่การทำงานของปัญญา

                     (http://media-cache-cd0.pinimg.com/originals/7d/69/e6/7d69e69d09776530c28caded041ad74d.jpg)

The uniqueness of Buddhism Is to lift up the moral wisdom . If we are true to the Buddhist religion. It must strive to be wise . The Buddha said that mindfulness baht base of intellectual types accomplice after the fact . It can be frustrating Passion The intelligence that arises from the recognition or contemplated . Be very useful in everyday life. It is effective only when everything normal. Passion is happening I have severe traumatic . Intellectual level tend to forget this. The mood extinct We realized what was happening, so intelligent designer recalls thinking . Play a limited role in creating a refuge within. We need to supplement with wisdom that can stand all the time. Even in times of crisis Graduate spirituality Comments should think about Consideration should also think about that. Secretary is selectively I think it's time not to be able to let him be the one you want. According to the spiritual meditation to calm the mind should bow to achieve a deeper understanding of the principles do not like spiders, insects are dormant consciously stick insects cobweb enough to handle it .

In this present Many people are suffering because of the greater difficulty in inciting the object. But society has not adapted to the new situation . N values in management thinking. Education system , but to teach people to think we were thinking , thinking, thinking all the time , but rarely stop to think . It 's time to sleep And the stressful day, so much so that sleep a lot. I also need to sleep or to dream more. What sleep to dream I think the bottleneck Not released Waking up in the morning refreshed because the brain is not immersed in craving , fear, worry all night . To deal with the idea It's not a threat to life . The ego believes that a spiritual practice is the only way to be effective.

Practicing meditation will succeed fully. Sammādiṭṭhi approval must include what the prayer is indispensable . Understanding of the significance of the Four Noble Truths of Buddhism such as karma , Trinity , etc. need to know the relationship between the living precepts , meditation wisdom must not believe anything that is contrary to the truths of nature. God created the world , such as do not believe there are preordained life. Nirvana's ego will not believe . So those of other religions or cults like meditation to me , and the result is peace in the future. That was not intended, it is the base of introspection baht . As a weapon, one that can lead us to a truly free from passion .

Comments are not the only obstacle to be aware of . I want the same danger . Ajahn he always taught his devotees . Do not practice what Do not do anything to Give effect to the Practice to leave I meditate, I think that I see here, I have wanted to be a gloomy meditation . It is not a Buddhist meditation Because meditation with passion Aligned to suffering This is because it is an act of contradiction . If meditation is for us to be inspired by the passion , we will accomplish this . The Godfather -like leader is the chief of police to subdue a bully . Meditation teacher gave us a proxy . It is not erotic or ego. To my mind , such a moral passion and we ride our eyes to make the mental peace of Kam. Propagators are composed of Enough to facilitate the work of intelligence.

หลวงพ่อชยสาโร

(https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc1/t1.0-9/10150455_456683597796101_5110571893029850211_n.jpg)

ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรมให้อยู่เป็นสุข โดยธรรมสุจริต "ตดเกิดตดดับ"..
>>> F/B พอเพียง มาก กับ Kajitsai Sakuljittajarern
หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ พฤษภาคม 30, 2014, 03:59:49 pm

(https://scontent-a-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xfa1/t1.0-9/p180x540/10426735_667327170003917_8557904618323729805_n.jpg)

อาหารกาย ป้อนได้ แต่อาหารใจ
ทุกคนต้องกินเอง ย่อยเอง
..
..

สมมุติว่ามีคนคนหนึ่งยืนอยู่กลางถนนสี่เลน บ่นตลอดเวลาว่า
“ที่นี่ไม่สงบเลย ที่นี่วุ่นว่าย ที่นี่ทำไมรถเยอะ”
รถเยอะเพราะถนนเป็นที่ของรถซิ อยากสงบอย่ายืนอยู่ตรงนั้น

จิตใจที่ยังขาด การฝึกอบรม ย่อมมีอารมณ์
วิ่งไปวิ่งมาตลอดทั้งวัน
เหมือนถนนสี่เลนมีรถวิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา
อยากสงบต้องเรียนวิธีนำจิตออกจากที่ขวักไขว่
มาอยู่ใต้ร่มของต้นไม้ใหญ่คือพุทธธรรม

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..

ลึกๆมนุษย์เราต้องการความสุขที่มั่นคงแน่วแน่
ความสุขที่ไว้ใจได้ ที่ไม่มีวันเสื่อม ปัญหาคือเราแสวงหา
ความสุขที่เที่ยงแท้ถาวรนั้นในสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวร
คือ รูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัสทางกาย และความรู้สึกนึกคิดต่างๆ
สิ่งเหล่านี้มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเป็นธรรมดา
แม้แต่เครื่องรับสิ่งเหล่านี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
ก็แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเป็นธรรมดา
สรุปว่าเราหาความสุขผิดที่ ความทุกข์ ความขับข้องใจต่างๆที่เกิดในระหว่าง
การแสวงหาความสุขอย่างขาดปัญญาคือ ทุกขะ อริยสัจที่๑

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..

(https://scontent-a-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xpa1/t1.0-9/p403x403/1902991_501905349918156_497196723_n.jpg)

ปัญหาของปุถุชนมักจะเป็นเรื่องง่ายๆ ว่าสิ่งที่มาพร้อมกับความสุข
ไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป และสิ่งที่มาพร้อมกับความทุกข์และทุกขเวทนา
ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีเสมอไป ดังนั้นเราจะคบหรือไม่คบ
จะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้อง โดยเอาสุขหรือทุกข์เป็นหลักตัดสิน
อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ถ้าเราเฉยๆ
ไม่ทำอะไรเพียงเพราะว่าไม่รู้สึกสุขหรือทุกข์ อันนี้ความเสียหายต่างๆ
มันก็จะค่อยๆ เกิดทีละเล็กทีละน้อยได้โดยเราไม่รู้ตัวได้
เพราะฉะนั้น การฝึกสติถึงสำคัญอย่างยิ่ง ฝึกสติคือรู้ตัว
ในแต่ละสถานการณ์แต่ละฉากของชีวิต นักปฏิบัติต้องคิดว่า
เมื่อมีสิ่งแวดล้อมอย่างนี้ มีหน้าทีการงานอย่างนี้
วางใจอย่างไร มันจึงจะดีที่สุด จึงจะได้มีสติ
และจะมีสติกับอะไร มีสติกับการเคลื่อนไหวของกายไหม
มีสติกับความรู้สึกในกายไหม มีสติกับการพูดไหม
จะตั้งสติอยู่ตรงไหนอย่างไรมันจึงจะปลอดภัย
ทุกข์มันจึงจะเกิดขึ้นไม่ได้
ปัญญาจึงจะมีโอกาสทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว
นี่มันเป็นกีฬาประจำวัน มันสนุกตรงนี้

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..

อานิสงส์ผลดีด้านนอก
ของการขัดเกลาพฤติกรรม
คือความสามัคคีของชุมชน
บรรยากาศปลอดภัย
และอบอุ่น

- พระอาจารย์ชยสาโร
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

the visible fruit of the training of conduct
is harmony of the group
an atmosphere of safety
and warmth

- Ajahn Jayasaro
..
..

อานิสงส์ผลดีด้านใน
ของการขัดเกลาพฤติกรรม
คือจิตปราศจากความเดือดร้อน
เคารพนับถือตัวเอง
รู้สึกเป็นมิตรกับตัวเอง
พร้อมที่จะรับแสงสว่างของธรรม

- พระอาจารย์ชยสาโร
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

the internal fruit of the training of conduct
is a mind free of guilt and regret
fortified by self respect
we become a friend to ourself
primed to welcome the Dhamma’s light

- Ajahn Jayasaro
..
..

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
เกลียดทุกข์ รักสุข
ไม่ต่างกับตัวเราเลย
ผู้มีปัญญาจึงไม่เบียดเบียนสัตว์
ให้ความปลอดภัย
และเมตตา

- พระอาจารย์ชยสาโร
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

all yes all beings
hate to suffer
love to feel good
just as we do
knowing this
the wise person harms no creature
but offers them safety
and kindness

- Ajahn Jayasaro
..
..

ส่วนมากความรู้ของมนุษย์เรา มักจะ
เป็นในลักษณะนี้
คือว่า ผิดพลาดแล้วจึงค่อยสำนึกตัว
ในทางพระพุทธศาสนา
เราต้องการความรู้เท่าทันในปัจจุบัน
ไม่ปล่อยให้สายเกินแก้

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..

(https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xaf1/t1.0-9/s403x403/10273745_530742353701122_5642773813837277895_n.jpg)

รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ เป็นของกลาง
ไม่มีพิษมีภัยในตัวมันเอง
แต่จิตใจมีตัณหา เหมือนโรงงานผลิตทุกข์
โดยเอาสิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุดิบ
ตราบใดที่ยังไม่ละสมุทัย โรงงานย่อมผลิตทุกข์ไปเรื่อยๆ
แต่ถ้าเราละตัณหาได้เมื่อไหร่ โรงงานก็ปิด และธรรมชาติก็
กลับกลายเป็นธรรมชาติล้วนๆ

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..
หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ พฤษภาคม 30, 2014, 04:14:46 pm
(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpa1/t1.0-9/s403x403/10013229_521001064675251_9068314598031487162_n.jpg)

เปรียบเทียบจิตใจ เหมือนท้องฟ้า
อารมณ์และสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นดับไป อยู่ในจิตใจ
เหมือนสิ่งที่ปรากฏอยู่ในท้องฟ้า..
เราแยกได้ระหว่างท้องฟ้ากับสิ่งที่ปรากฏในท้องฟ้า
เราก็ควรจะแยกระหว่างจิตใจ กับ สิ่งที่ปรากฏในจิตใจ

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..

(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/t1.0-9/s403x403/1530338_520963814678976_1529044919759613044_n.jpg)

ถ้าเรามองดูแล้วก็ต้องยอมรับว่าบางสิ่งบางอย่างเจอแรกๆ นี่ชอบมาก
อยู่นานๆ เฉยๆ บางสิ่งบางอย่างเคยชอบมาก
ตอนหลังไม่ชอบเลยก็มี ในทำนองเดียวกันบางสิ่งบางอย่าง
คนบางคนเจอแรกๆไม่ชอบเลย
อยู่ไปนานๆก็ทนได้ ในที่สุดกลายเป็นเพื่อนสนิทกันก็ได้

ดังนั้นเมื่อความรู้สึกต่างๆเปลี่ยนได้ ไม่ใช่ของตายตัวแน่นอนทีเดียวแล้ว
เราก็จะไม่ต้องเพลิดเพลินกับสิ่งที่ชอบจนเกินไป
เราก็ระมัดระวังเพราะมันก็เปลี่ยนได้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นมากจนเกินไป
เจอสิ่งที่ไม่ชอบก็ไม่ต้องทุกข์ใจมาก เพราะสิ่งนั้นก็เปลี่ยนแปลงได้
ความรู้สึกของเราก็เปลี่ยนแปลงได้ ทั้งสองฝ่ายนี้ไม่แน่นอน
นี่ไม่ใช่การปลอบใจ แต่เป็นการยอมรับความจริงที่เราสามารถมองเห็นได้

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..

(https://scontent-a-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xaf1/t1.0-9/p403x403/10253796_521547427953948_3398688793870720599_n.png)

What is the purpose of walking meditation and how is it practiced?

Walking meditation provides both a supplement and an alternative to sitting meditation. Some meditators prefer it to sitting and may make it their main practice. Walking meditation is a particularly useful option when illness, tiredness or a full stomach make sitting meditation too difficult. Whereas in sitting meditation mindfulness is developed in stillness, in walking meditation it is developed in movement. Practicing walking meditation in combination with sitting thus helps the meditator to develop a flexible all-round awareness that can be more easily integrated into daily life than that which is developed by sitting meditation alone. As an added bonus, walking meditation is good exercise.

To practice walking meditation, a path of some 20-30 paces long is determined, with a mark placed at the mid-point. Meditators begin by standing at one end of the path with hands clasped in front of them. Then they begin walking along the path to its other end, where they stop briefly, before turning around and walking back to where they started. After another brief halt, they repeat this, walking back and forth along the path in this way for the duration of the walking meditation session. Meditators use the beginning, the end and the mid-point of the path as check-points to ensure that they have not become distracted. The speed at which meditators walk varies according to the style of meditation being practiced and to individual preference.

In the initial effort to transcend the five hindrances to meditation a variety of methods may be employed. One popular method, similar to that mentioned in the discussion of sitting meditation, is to use a two-syllable meditation word (mantra): right foot touching the ground mentally reciting the first syllable; left foot touching the ground, the second. Alternatively, awareness may be placed on the sensations in the soles of the feet as they touch the ground. As in sitting meditation, the intention is to use a meditation object as a means to foster enough mindfulness, alertness and effort to take the mind beyond the reach of the hindrances, in order to create the optimum conditions for the contemplation of the nature of body and mind.

from without and within by Ajahn Jayasaro
..
..

(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/t1.0-9/s403x403/1383803_516136121828412_1735198615_n.png)

ส่วนมากเราก็อยู่ในลักษณะหวัง คือทำเหมือนเดิม คิดเหมือนเดิม
พูดเหมือนเดิม แต่หวังว่า
ผลของการกระทำนั้นจะไม่เหมือนเดิม จะดีกว่าเดิม

ตราบใดที่เรายังหวังพึ่งสิ่งหรือบุคคลนอกตัว
แต่เหตุปัจจัย คือการกระทำ การพูด การคิด เหมือนเดิม
ผลก็มักเหมือนเดิมอยู่ดี (คือไม่ดี)
เราสามารถทำให้ชีวิตดีขึ้นได้ด้วยการรับผิดชอบการกระทำของตน
คือความจริงใจในเรื่องทาน ศีล และภาวนา

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..

(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xap1/t1.0-9/p403x403/1781906_509641455811212_1506921027_n.jpg)

นิพพิทา กับความเบื่อหนายทั่วไป ไม่เหมือนกัน
จิตใจเราเหมือนลิง เบื่อทั่วไป
คือตัวลิงมันเบื่อ
นิพพิทาคือเราเบื่อตัวลิง
เบื่อทั่วไปคือกิเลส นิพพิทาคือทางออกจากกิเลส

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..

ถึงแม้ว่ากิเลสยังมีอยู่
และเรายังไม่เบื่อกิเลส
อย่างน้อยขอให้มีศีลธรรมกำกับ
ไม่ให้กิเลสเป็นเหตุ
เบียดเบียนตนหรือผู้อื่น

- พระอาจารย์ชยสาโร
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

even though the defilements remain
even though we’re still willing to give them a home
govern them with precepts
don’t allow them to cause harm
to self or others

- Ajahn Jayasaro
..
..

(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xaf1/t1.0-9/p180x540/10153017_516137281828296_673620915_n.png)

ที่พระตถาคตสอนให้พวกเธอ
ละบาป บําเพ็ญกุศล
ก็เพราะเป็นสิ่งที่พวกเธอทําได้
ถ้าทําไม่ได้ เราก็ไม่สอน

- พระอาจารย์ชยสาโร
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

“That the Tathagata teaches you to abandon
the unwholesome and develop the wholesome
is because it is something you can do.
If you could not, I would not teach you to do so.”

- Ajahn Jayasaro
..
..

(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpa1/v/t1.0-9/s403x403/1536566_475197975922227_1064668593_n.jpg?oh=de5798e0bbbf0872806070b3d0b43339&oe=53F0AFB7&__gda__=1408428170_89bbbb42cbbdcb336ce5b7f78bed2c85)
- ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
>>> ------------ 10 มีนาคม 57


(https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpa1/v/t1.0-9/p526x296/10850179_652696818172341_8126845229550577149_n.jpg?oh=edb48f629413479df53b29cd4bb67352&oe=5547A5F6&__gda__=1425721360_06599962d4198bd35cd339425548abed)

ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
18/12/2557

การยอมพูดเท็จในบางกรณีที่อ้างว่าจำเป็นหรือสมควร แม้แต่ในเรื่องที่ฟังเผินๆชวนรู้สึกว่าไม่น่าจะผิด เช่นการพูดเท็จเพื่อไม่ให้เขาเสียใจ ย่อมมีโทษทุกครั้ง ในทำนองเดียวกันการงดเว้นจากการพูดเท็จย่อมเกิดผลดีทุกครั้ง

๑. พูดเท็จแล้ว สัจจะบารมีไม่เจริญ เราจะตั้งมั่นอย่างแน่วแน่ในสัจจะได้ ก็เมื่อเราฝึกพูดความจริงในทุกๆสถานการณ์โดยไม่มียกเว้น ไม่มีกรณีพิเศษ การตั่งมั่นอยู่ในสัจจะคือความสุข และเป็นฆราวาสธรรมข้อแรก

๒. การยอมพูดเท็จในบางกรณีย่อมเปิดช่องให้กิเลสครอบงำได้ เช่นอ้างว่าจำเป็นเมื่อไม่จำเป็นจริงๆ ที่จริงเป็นการพูดเท็จเพราะเขินหรืออายบ้าง หรือเพราะกลัวเขาโกรธ หรือเพราะความอยากได้ เพราะกลัวพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ เพราะขี้เกียจอธิบาย เป็นต้น กิเลสหลายตัวเพิ่มขึ้นเพราะการไม่สำรวมวาจา

๓. การไม่ยอมพูดเท็จเป็นอันขาด บังคับให้ฉลาดในการสื่อสาร เช่นทำให้ต้องหาคำพูดที่ได้ผลทั้งสองฝ่าย คือ เขาไม่เสียใจ เราไม่ผิดศีล

๔. ผู้มีปัญญาในการสื่อสาร ผู้ไม่ยอมพูดเท็จเป็นอันขาด ย่อมกลายเป็นที่ยอมรับ ที่ไว้ใจ และที่เคารพนับถือของคนรอบข้าง คำพูดของคนผู้นี้มีนำ้หนัก

พระอาจารย์ชยสาโร
หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2015, 03:55:24 pm
(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xfp1/v/t1.0-9/1796495_693805647394791_9143573295671322550_n.jpg?oh=efafa27d472b34464fb62f35434a5592&oe=554F43EB&__gda__=1431080816_cae947122fb7de6120ddb93d85fb915d)

ไม่มีอะไรในโลกนี้ ใม่มีใครในโลกนี้ที่บังคับให้เราทุกข์ใจได้
บางสิ่งบางอย่าง คนบางคน อาจชวนให้เราทุกข์ใจ
แต่ถ้าเราไม่ขาดสติ
ไม่ปล่อยให้ตัณหาผสมโรงกับสิ่งหรือกิริยาที่ยุอารมณ์
ความทุกข์ใจเกิดไม่ได้
ข่าวร้ายคือ ไม่ฝึกจิตให้รู้เท่าทันสิ่งกระทบ จะต้องโลภในสิ่งที่ชวนให้โลภ
โกรธในสิ่งที่ชวนให้โกรธ และหลงในสิ่งที่ชวนให้หลง อย่างไม่มีวันจบสิ้น

ข่าวดีคือ มนุษย์ทุกคนไม่ว่าชายว่าหญิง
สามารถฝึกจิตของตนให้เป็นอิสระภายในได้
คือไม่ต้องโลภในสิ่งที่ชวนโลภ ไม่ตัองโกรธในสิ่งที่ชวนโกรธ
และไม่ต้องหลงในสิ่งที่ชวนหลง

พระอาจารย์ชยสาโร
หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มีนาคม 29, 2015, 04:52:48 pm
(https://lh4.googleusercontent.com/--NP_7IwRz-g/VQMM7eNa07I/AAAAAAAAHW0/gyYXv88QhYk/w640-h480-no/11061338_355049851344822_6069423831042098692_n.jpg)

สร้างภาพ ?

คำถามข้อที่ ๒๒ คนทุกคนมีข้อดีและข้อด้อยในตัวเอง การที่เราทำแต่สิ่งที่ดี ประพฤติดีให้คนอื่นเห็น แต่ไม่ได้ประพฤติข้อด้อย ข้อบกพร่องของเราให้ผู้อื่นรู้ ทำให้คนอื่นคิดว่าเราดี อย่างนี้เป็นการโกหกหรือไม่

ท่านชยสาโรตอบ : เราทราบว่าจิตใจมีผลต่อการพูดและการกระทำ จิตมาก่อนใช่ไหมเราจึงพูดจึงทำ แต่ในขณะเดียวกันการกระทำและการพูดก็มีผลต่อจิตใจ ยกตัวอย่างในเรื่องของศีล ถ้าเรารักษาศีลข้อแรกอย่างเคร่งครัด จะสังเกตได้ว่าการต้องงดเว้น คิดจะฆ่า คิดจะทำอะไรก็ไม่ทำ จะทำให้ความรู้สึกต่อสัตว์เปลี่ยนไป เพราะเจตนาจะงดเว้น ถ้าเรามีการกระทำหรือการพูดในสิ่งที่ดี ก็เป็นการสรรเสริญสิ่งที่ดี ถ้ามีการกระทำหรือการพูดตามอำนาจของสิ่งที่ไม่ดี ก็เป็นการสรรเสริญสิ่งที่ไม่ดี

อันนี้คือหลักการอย่างหนึ่ง เราก็มีทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี แต่เราต้องการให้พ้นจากสิ่งที่ไม่ดี เหลือไว้แต่สิ่งที่ดี วิธีการก็ต้องใช้อาวุธหลายอย่าง ใช้วิธีการหลายอย่าง แต่อย่างหนึ่งก็คือ สิ่งที่ไม่ดีให้มันอยู่ที่จิตใจอย่างเดียว อย่าพึงแสดงออกภายนอก มันจะทำให้พลังของสิ่งที่ไม่ดีนั้น ค่อยๆลดถอยลง

ในขณะเดียวกัน การไม่ทำตามและไม่พูดตามสิ่งไม่ดีงามในจิตใจ ไม่ได้หมายความว่าเราปิดบังอำพราง ถ้าเราทำสิ่งที่ไม่ดีแล้วยอมรับผิด อย่างนี้ก็ถือว่าไม่โกหก แต่ไม่ใช่ว่าทำอะไรไม่ดีแล้วต้องเที่ยวประกาศให้ทุกคนทราบ นี่ก็ไม่จำเป็น

พระพุทธองค์สอนเรื่องความแตกต่างระหว่างบัณฑิตกับพาลในหลายกรณีเรื่องการพูด

ท่านว่าพาลชอบพูดถึงเรื่องที่ไม่ดีของคนอื่น แม้ไม่มีคนถาม เขาจะพูดก่อน แล้วพูดอย่างละเอียดด้วย ไม่เบื่อ ไม่มีสรุป ไม่มีสังเขป พูดทั้งหมดเลย และอาจจะเกินความจริงด้วยซ้ำไป สิ่งที่ดีของคนอื่นไม่อยากพูดถึง ถ้าไม่มีใครถามจะไม่บอก ถึงจะรู้ก็ไม่อยากให้เขาทราบความดีของคนอื่น แต่ถ้ามีใครปรารภหรือใครถาม ก็จะตอบอย่างสั้นที่สุด

แต่เรื่องของตัวเองจะตรงกันข้าม ความไม่ดีของตัวเองไม่อยากให้ใครทราบ ถ้ามีใครถามหรือว่าจำเป็นต้องพูดจะพูดให้สั้นที่สุด แล้วก็จะมีข้ออ้างมากมายด้วย แต่ถ้าจะพูดถึงความดีของตนจะเทศน์ได้ทั้งวันทั้งคืน “ตอนเริ่มต้นฉันก็ไม่มีอะไรนะ ฉันก็สร้างตัวเองด้วยความขยันหมั่นเพียรของตัวเอง” อะไรอย่างนี้ พูดเรื่องความดีของตัวเองนี่สนุก แต่สนุกคนเดียว คนอื่นเขาไม่ค่อยสนุกหรอก นี่คือลักษณะของพาล

ส่วนนักปราชญ์จะตรงกันข้ามทุกข้อ ปราชญ์ไม่อยากจะพูดถึงความไม่ดีของคนอื่น พยายามจะไม่พูด แต่ถ้าการไม่พูดนั้นจะมีผลกระทบต่อสถาบันหรือต่อส่วนรวม บางทีต้องพูดเหมือนกัน แต่จะพูดอย่างสั้นที่สุด ไม่ได้พูดชวนให้เกิดความโกรธจากอคติและอาจจะพยายามมองที่เหตุปัจจัยที่ทำให้เขาทำอย่างนั้น

ปราชญ์ชอบที่จะพูดถึงความดีของคนอื่น “นี่สังเกตไหม คนนั้นเขาน่ารักนะ เขาดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ” ใจเขาเองก็เป็นกุศล แล้วคนอื่นก็ค่อยๆชื่นใจด้วย “ใช่ไม่ได้สังเกตมาก่อน... ใช่” ก็เลยมีความสุขในความดีของคนอื่นและชอบเปิดเผย ชอบประกาศให้คนอื่นได้ทราบด้วย

ส่วนความไม่ดีของตัวเองยินดีจะเปิดเผยโดยที่คนอื่นยังไม่ถาม ก็พูดได้เลย เราจะเห็นครูบาอาจารย์ไม่ว่าหลวงพ่อชา ไม่ว่าท่านสุเมโธ ท่านเล่าถึงสมัยที่ท่านบวชใหม่ๆ ท่านมักจะเล่าถึงกิเลสของท่าน เราก็เคยอ่านเคยฟังท่านพูด ท่านจะพูดอย่างตลก

วันหนึ่งท่านอาจารย์สุเมโธเล่าว่า ท่านโกรธพระองค์หนึ่งมาก ไม่รู้จะทำอย่างไร ท่านก็เดินเข้าป่าแล้วก็เลือกต้นไม้ต้นหนึ่ง แล้วก็ ตูม !! ชกต้นไม้ในป่า ไม่กล้าชกพระ

เรื่องทำนองนี้ท่านจะเล่าโดยไม่ปิดบัง เราก็ขำด้วยได้กำลังใจด้วย เพราะเราเห็นว่าตอนท่านเริ่มต้นการปฏิบัติท่านก็มีปัญหามากเหมือนกัน ที่ท่านเป็นอย่างนี้ไม่ใช่ว่าเป็นตั้งแต่เกิด ท่านเป็นด้วยการฝึกฝนอบรม

หลวงพ่อชาก็เหมือนกัน ท่านไม่เคยคิดที่จะปิดบังเพื่อให้ทุกคนเห็นว่าท่านบริสุทธิ์และน่าเลื่อมใสทุกอย่าง ท่านยินดีเปิดเผยกิเลสของท่านเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ส่วนความดีของท่าน ๆ จะพูดถึงน้อยมาก ไม่อยากจะพูด

ฉะนั้นให้เรามีความจริงใจ สำคัญอยู่ที่เจตนาของเรา

ถ้าเราเห็นว่าการเปิดเผยข้อบกพร่องของเราเป็นสิ่งที่สมควร จะเป็นคติธรรมหรือเป็นการให้กำลังใจคนอื่น เราก็พูด ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับคนอื่น พูดแล้วไม่ได้ประโยชน์ ก็ไม่จำเป็นต้องพูดทุกเรื่องไป

จากหนังสือคลายปม ท่านชยสาโรภิกขุ หน้าที่ ๕๓-๕๖
Anucha Ko G+
สนทนาธรรมตามกาล  -  Mar 13, 2015
 
หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ เมษายน 24, 2015, 01:03:54 pm
(https://scontent-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xap1/v/t1.0-9/17121_711640088944680_933722003701780066_n.jpg?oh=ffdab7c0e5b3b305faddeffa4d4db5a5&oe=55DAAA5E)

ตอนอาตมาบวชใหม่ๆ มักจะมีคนถามบ่อยๆว่า ท่านคิดถึงบ้านไหม
อาตมาจะตอบเสมอว่า ไม่ แล้วเสริมว่า.. แต่... ระลึกถึง ทุกวัน
อาตมาแยกแยะอย่างนี้ เพราะความรู้สึกของสองคำนี้ ต่างกันมาก
ความคิดถึง เกิด เมื่อจิตอ่อนแอ ไม่สามารถมีความสุขกับสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ความคิดถึงย่อมทวีขึ้นด้วยความปรุงแต่ง และเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

ส่วนการ ระลึกถึง ก็เกิดจาก การสำนึกในบุญคุณ ของผู้ที่มีพระคุณต่อตน
พยายามไม่ลืมสิ่งดีที่ได้รับจากท่าน และด้วยความตั้งใจจะให้ความพลัดพราก
จากบุพการี เกิดผลดีที่สุด ให้ท่านได้รับส่วนบุญจากการทำความดีของเราไปด้วย


(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/v/t1.0-9/11072949_711639605611395_1197320822138077150_n.jpg?oh=60f0d8354eb90cdebefde189b2fa4957&oe=559898C1&__gda__=1439650475_2b1ad16e8209334ce47c689436a9fa76)

ความอ่อนน้อมถ่อมตน เกิด เมื่อเรามีปัญญา
เห็นความกะล่อนของจิตใจตัวเอง เห็นความลำเอียง
และเมื่อเราตั้งใจ ไม่ลืมความผิดพลาดของเราในอตีต


(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xfp1/v/t1.0-9/11102962_711637508944938_1289557866498527555_n.jpg?oh=b800f45b4882cc5684abeb1b7de89339&oe=55DF4991&__gda__=1436513816_9066c2a65fe6d8f3e83c43e36a5fdb38)

อย่าเพิ่งรังเกียจ สิ่งกระทบ อย่างไรๆ ก็หนีไม่พ้น
ผู้มีสติและสัมปชัญญะครอบครอง จิตใจเปรียบเหมือนระฆัง
กระทบแล้ว เหง่ง เหง่ง เหง่ง เพราะดี


(https://scontent-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xtp1/v/t1.0-9/11121787_713605778748111_6861644453431639756_n.jpg?oh=c0dea8eacabb96f130eb69335c9223aa&oe=559FBA01)
วินโย สาสนาสา อายุติ
วินัยคือชีวิตของพระศาสนา
พระสงฆ์วัดป่านานาชาติสวดปาติโมกข์กลางป่า อุทยานแห่งชาติไทรโยค จ.กาญจนบุรี
(https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpa1/v/t1.0-9/11149466_716399011802121_5856423302967876998_n.png?oh=15fb2fe140ae74c602d9a97ad8f3a420&oe=55DC6C3C&__gda__=1440027268_a9dba778c07d9c83563f133659d63476)
(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpa1/v/t1.0-9/11058407_699773466798009_7733557616719812467_n.jpg?oh=8f18b1e539a0afdf1983ae9899c1ff47&oe=55CE228B&__gda__=1436315699_98b47d3a0b3b1d676980f4d397207c21)
ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
15 เมษายน เวลา 6:00 น. ·
'เหนื่อยจัด'
หลังจากเดินทางกลับจากต่างประเทศซึ่งท่านอาจารย์มีภารกิจอย่างหนักตลอดเวลาสามวันที่เดินทาง จากสนามบินท่านก็ตรงเข้าร่วมพิธีทำวัตรสวดมนต์พร้อมทั้งแสดงธรรมแก่ญาติโยมเนื่องในวันอาสาฬหบูชาทันที ต่อด้วยการร่วมพิธีกรรมกับพระสงฆ์รูปอื่นๆ จนใกล้เที่ยงคืน เช้าวันรุ่งขึ้นลูกศิษย์จึงไต่ถามท่านด้วยความเป็นห่วง
ลูกศิษย์ “เมื่อคืนท่านอาจารย์เหนื่อยมากมั้ยครับ”
ท่านอาจารย์ “หลับเป็นมรณภาพเลยล่ะ”
--
ที่มา: 'เรื่องท่านเล่า' หนังสือรวมนิทานที่พระอาจารย์ชยสาโรเมตตาเล่าไว้ เรียบเรียงโดย ศรีวรา อิสสระ
https://www.facebook.com/jayasaro.panyaprateep.org?fref=nf (https://www.facebook.com/jayasaro.panyaprateep.org?fref=nf)
หัวข้อ: Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กันยายน 28, 2015, 08:11:15 pm
ในชีวิตประจำวันผู้ครองเรือน
จะรักษาจิตให้นิ่งไม่ได้
แต่การดูแลจิตให้ดี
ไม่ให้ปรุงแต่งในสิ่งกระทบ
ด้วยความยินดีหรือยินร้าย
ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่มีพิษมีภัย
ตรงกันข้าม.....
กลายเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ
คือวัตถุดิบในการผลิตปัญญา
..
..
พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า
ถ้าเรากำหนดรู้ “ทุกข์”
ตรงตามความเป็นจริงแล้ว
ในขณะนั้นเราก็ได้ละ “สมุทัย”
ทำ “นิโรธ” ให้แจ้ง
และเจริญ “มรรค” ให้ถึงพร้อมไปด้วย

พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ
>> F/B เพจ สมาธิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xta1/v/t1.0-9/12043084_792997630808925_1217424114992814389_n.jpg?oh=992cc2c77fe42d220b63bf2a432344d1&oe=56994351&__gda__=1452646872_6958fdecde1b6f273f4ef0d876706369)

ถ้าเรามองดูแล้วก็ต้องยอมรับว่าบางสิ่งบางอย่างเจอแรกๆนี่ชอบมาก
อยู่นานๆเฉยๆ บางสิ่งบางอย่างเคยชอบมาก ตอนหลังไม่ชอบเลยก็มี
ในทำนองเดียวกันบางสิ่งบางอย่าง คนบางคนเจอแรกๆไม่ชอบเลย
อยู่ไปนานๆก็ทนได้ ในที่สุดกลายเป็นเพื่อนสนิทกันก็ได้

 ดังนั้นเมื่อความรู้สึกต่างๆเปลี่ยนได้ ไม่ใช่ของตายตัวแน่นอนทีเดียวแล้ว
เราก็จะไม่ต้องเพลิดเพลินกับสิ่งที่ชอบจนเกินไป เราก็ระมัดระวัง
เพราะมันก็เปลี่ยนได้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นมากจนเกินไป เจอสิ่งที่ไม่ชอบก็ไม่ต้อง
ทุกข์ใจมาก เพราะสิ่งนั้นก็เปลี่ยนแปลงได้ ความรู้สึกของเราก็เปลี่ยนแปลงได้
ทั้งสองฝ่ายนี้ไม่แน่นอน
 นี่ไม่ใช่การปลอบใจ แต่เป็นการยอมรับความจริงที่เราสามารถมองเห็นได้
พระอาจารย์ชยสาโร
..
..
(https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/v/t1.0-9/11889551_770657753042913_7444548144402752212_n.jpg?oh=4fb1b97dabd0b642e9e02b4291b6081a&oe=5696F1E0&__gda__=1453078666_6b22a6a6f7f34d4256c6aa0e897ecdb8)


(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpl1/v/t1.0-9/12047191_792306944211327_9175945946033717674_n.jpg?oh=fc2e6eef236347e475f549f685d1eeb2&oe=56A5D3BA&__gda__=1452448310_70aa025a0d83dcd9a9fb14eef6cfcb24)

พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
ฉะนั้นเราจะเข้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งโดยแท้ได้
ก็ด้วยการเข้าถึงพระธรรม
พระพุทธเจ้าปรินิพพานนานแล้วก็จริง แต่ธรรมะเป็นอมตะ
ไม่ได้หายไปไหน เหมือนน้ำที่อยู่ไต้ดินใครยอมขุดดิน
อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคย่อมมีสิทธิ์ดื่มรสพระธรรม
และการดื่มรสพระธรรมนั้นเปรียบเสมือนการกราบพระพุทธเจ้า
พระอาจารย์ชยสาโร

(https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xtp1/v/t1.0-9/12033125_791501697625185_5858039278355575976_n.jpg?oh=751e5bcd83a7e101a26a3ed0f6509714&oe=56A0AEB4&__gda__=1452574082_508264cc2922b42fd83c828c9810c36c)
                            >> F/B jayasaro.panyaprateep.org