1
บทความ (Blog) / พระมหาธาตุเจดีย์วัดเขียนบางแก้ว อีกหนึ่งพระธาตุของไทย ที่หลายคนยังไม่รู้จัก
« เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2017, 01:42:20 pm »
พระมหาธาตุเจดีย์วัดเขียนบางแก้ว
เป็นโบราณสถานที่มีอายุกว่า 1,000 ปี เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งของจังหวัดพัทลุง ประดิษฐานอยู่ภายในวัดเขียนบางแก้ว เชื่อว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณวัดเขียนนี้จะเป็นที่ตั้งของเมืองพัทลุงมาก่อน เพราะพบซากปรักหักพังของศิลาแลง และพระพุทธรูปมากมาย เช่นพระแก้วคุลา ศรีมหาโพธิ(ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น) พระพุทธรูปสองพี่น้อง
เส้นทาง
ใช้ทางหลวงหมายเลข 4081 เลยอำเภอเขาชัยสนไปประมาณ 7 กิโลเมตร ในเขตบ้านบางแก้วใต้ บริเวณกิโลเมตร ที่ 14 จะมีป้ายบอกทางเข้าวัดอยู่ซ้ายมือประมาณ 2.5 กิโลเมตร
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
การออกแบบเป็นเจดีย์ทรงลังกา ระฆังคว่ำ ที่ก่อสร้างโดยใช้แบบเดียวกับวันเจดีย์พระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงโบราณวัตถุ เช่น ถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์ซุ่ง ราชวงศ์เหม็ง ราชวงศ์เซ็ง สังคโลกสมัยสุโขทัย ศิวลึงค์ ฐานโยนี และพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้พื้นเมืองเป็นจำนวนมาก แสดงถึงว่าบริเวณนี้มีการติดต่อรับอารยธรรมอินเดียมาตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์
ขอบคุณเนื้อหาและภาพจากwww.จตุธรรมธาตุ.com
ผมไม่ได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์นะครับ เพียงแค่อยากจะนำสถานที่ทางพระพุทธศาสนาน่าสักการะมาฝากเท่านั้นครับ
เป็นโบราณสถานที่มีอายุกว่า 1,000 ปี เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งของจังหวัดพัทลุง ประดิษฐานอยู่ภายในวัดเขียนบางแก้ว เชื่อว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณวัดเขียนนี้จะเป็นที่ตั้งของเมืองพัทลุงมาก่อน เพราะพบซากปรักหักพังของศิลาแลง และพระพุทธรูปมากมาย เช่นพระแก้วคุลา ศรีมหาโพธิ(ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น) พระพุทธรูปสองพี่น้อง
เส้นทาง
ใช้ทางหลวงหมายเลข 4081 เลยอำเภอเขาชัยสนไปประมาณ 7 กิโลเมตร ในเขตบ้านบางแก้วใต้ บริเวณกิโลเมตร ที่ 14 จะมีป้ายบอกทางเข้าวัดอยู่ซ้ายมือประมาณ 2.5 กิโลเมตร
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
การออกแบบเป็นเจดีย์ทรงลังกา ระฆังคว่ำ ที่ก่อสร้างโดยใช้แบบเดียวกับวันเจดีย์พระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงโบราณวัตถุ เช่น ถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์ซุ่ง ราชวงศ์เหม็ง ราชวงศ์เซ็ง สังคโลกสมัยสุโขทัย ศิวลึงค์ ฐานโยนี และพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้พื้นเมืองเป็นจำนวนมาก แสดงถึงว่าบริเวณนี้มีการติดต่อรับอารยธรรมอินเดียมาตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์
ขอบคุณเนื้อหาและภาพจากwww.จตุธรรมธาตุ.com
ผมไม่ได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์นะครับ เพียงแค่อยากจะนำสถานที่ทางพระพุทธศาสนาน่าสักการะมาฝากเท่านั้นครับ