แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - นวลปราง

หน้า: [1]
2
เข้าไปดูรายละเอียดและกำหนดการได้ที่http://www2.sac.or.th/databases/lmf2010/

3
ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นในการเข้าชมงาน!!! :25: :25: :18: :18:

4
เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งที่ 2
    ข่าวเมื่อวันที่ : 08 กรกฎาคม 2553
    หนึ่งศตวรรษหลังยุคสยามใหม่ จากมุมมองท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 25 – 1 ธันวาคม 2553
 
พบกับเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่บอกเรื่องราววิถีชีวิตชุมชนคนท้องถิ่น เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ การทำงานของชุมชน คนคอเดียวกันเรื่องสังคมวัฒนธรรม กว่าห้าสิบแห่งของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทยที่จะมาบอกเล่าพัฒนาการสังคมวัฒนธรรมสยามใหม่ในมุมมองคนท้องถิ่น ที่บางแง่มุมอาจไม่พบเจอในประวัติศาสตร์ ร่วมเสวนาเรื่องราวคนพิพิธภัณฑ์ที่พร้อมจะ “ก้าวไปด้วยกัน” และร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในการเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานและทอดพระเนตรนิทรรศการ
 
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th

แผนที่และการเดินทาง

งานเทศกาลครั้งนี้จัดที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร


1. การเดินทางโดย รถยนต์

จากฝั่งพระนคร ข้ามสะพานกรุงธน (ซังฮี้) ลงจากสะพานกรุงธน ตรงมาตามถนนสิรินธร ขึ้นสะพานลอยข้ามแยกถนนจรัลสนิทวงศ์-สิรินธร ผ่านห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ขึ้นสะพานลอยข้ามทางแยกต่างระดับถนนบรมราชชนนี เมื่อลงสะพาน ให้ออกเส้นทางคู่ขนานที่ทางออกแรก (สังเกตป้าย “ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ๕๐๐ เมตร”)ตรงมาตามถนนบรมราชชนนี ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ

จากฝั่งพระนคร ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ลงจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ตรงมาตามถนนบรมราชชนนีระดับดินโดยไม่ขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้า แต่ให้ขึ้นสะพานลอยข้ามแยกถนนจรัลสนิทวงศ์-บรมราชชนนี ผ่านห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ขึ้นสะพานลอยข้ามทางแยกต่างระดับ (ซึ่งจะเป็นทางบังคับเลี้ยวซ้าย เพื่อไปทางพุทธมณฑล) เมื่อลงสะพาน ให้ออกเส้นทางคู่ขนานที่ทางออกแรก (สังเกตป้าย “ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ๕๐๐ เมตร ”) ตรงมาตามถนนบรมราชชนนี ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ

2. การเดินทางโดย รถประจำทาง

รถประจำทางที่ผ่านหน้าศูนย์ฯ
รถปรับอากาศ – ปอ.๖๖, ปอ.๕๑๑,  ปอ.๕๑๕, ปอ.๕๑๖, ปอ.๕๓๙
รถธรรมดา – สาย ๑๙, ๔๐, ๕๗, ๑๒๓, ๑๒๔, ๑๒๕, ๑๒๗, ๑๔๖,๑๔๙


5
ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น / เซนแห่งวะบิ ซะบิ
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 10:40:49 pm »

ความงามของตำหนิและการแลเห็นความสมบูรณ์ของความไม่สมบูรณ์ในสรรพสิ่ง คือแก่นแท้ของศิลปะแบบวะบิ-ซะบิ
วะบิ-ซะบิ คือความงามของสรรพสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่คงทนถาวร และไม่เสร็จสมบูรณ์ คือความงามของสรรพสิ่งที่สงบเสงี่ยมและอ่อนน้อม อย่างไม่ยึดติดในแบบแผนตายตัว...นี่คือความงามในทัศนะของเซน

...ในความหมายหนึ่ง วะบิ-ซะบิคือเซนของสรรพสิ่ง ผู้ที่เกี่ยวพันกับวะบิ-ซะบิในญี่ปุ่น ถ้าไม่เป็นอาจารย์แห่งพิธีชา ก็เป็นนักบวช หรือไม่ก็เป็นนักรบ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ฝึกฝนเซน และดื่มด่ำในเจตนารมณ์ของเซนอย่างลึกซึ้งทั้งสิ้น

ซะบิ ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง “ร่วงโรย”
วะบิ ในความหมายดั้งเดิม หมายถึง ความทนทุกข์ของการใช้ชีวิตเพียงลำพังในธรรมชาติ ไกลห่างจากสังคม และชวนให้นึกถึงสภาวะความรู้สึกที่ท้อแท้ ซึมเศร้า ชวนหดหู่ใจ
 

แต่วะบิ-ซะบิ ที่ใช้เรียกควบรวมในความหมายแห่งยุคปัจจุบันกลับมีความหมายในเชิงบวก ที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงแห่งชีวิตที่เรียบง่าย ชีวิตที่รุ่มรวยทางจิตวิญญาณแม้จะอยู่อย่างสมถะโดยสมัครใจ วิธีการมองสรรพสิ่งที่ล่วงพ้นไปจากคติแบบแผนที่สังคมตกลงยอมรับและยึดถือสืบต่อกันมาการมุ่งมีประสบการณ์เชิงศิลปะที่น่าตื่นใจอย่างสงัด การเอาชนะความอลังการ ความหรูหรา ด้วยความเรียบง่ายอย่างติดดินและไม่สมบูรณ์แบบ แต่ทำให้จิตจดจ่อมีสมาธิอยู่กับ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ และปรากฏอยู่จริง เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงอย่างบูรณาการสู่ธรรมชาติ ในขั้นสูงสุดของการดำรงอยู่ จนกระทั่งเข้าสู่ความศักดิ์สิทธิ์เชิงจิตวิญญาณได้อย่างเป็นไปเองโดยธรรมชาติ

การสัมผัสประสบการณ์วะบิ-ซะบิ จึงไม่อาจพบหรือสัมผัสได้ในธรรมชาติ ณ ชั่วขณะของความบานสะพรั่งและเขียวชอุ่ม แต่จะพบวะบิ-ซะบิได้ ณ ชั่วขณะของภาวะเริ่มแรก หรือการทรุดตัวพังพาบลงไป คือจะพบได้ในสิ่งที่ชั่วคราว ไม่แน่นอน และไม่เที่ยงแท้ เช่น บุปผาร่วง หิมะโปรย ฝนกระหน่ำ เมฆคลุ้มคลั่ง รวมทั้งสิ่งที่ยากจะมองเห็น เปราะบาง พร้อมที่จะสลายตัวไป อันไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาที่หยาบกระด้าง


ผู้ที่สามารถสัมผัสประสบการณ์วะบิ-ซะบิได้ คือผู้ที่สามารถชะลอความเร็วในการเร่งรีบใช้ชีวิตลงได้ สามารถมีความใจเย็น มีความอดทน และใส่ใจพอที่จะมองอย่างใกล้ชิด ฝึกฝนศิลปะต่างๆ อันสุขุมประณีตได้เท่านั้น

วะบิ-ซะบิ คือความซาบซึ้งและแลเห็นคุณค่าในความไม่จีรังของชีวิต... ต้นไม้ยามฤดูหนาวที่เหลือเพียงกิ่งก้านแห้งเหี่ยวโรยรา หรือซากสันฐานของอาคารที่แตกเป็นเศษเล็กเศษน้อยหัก และถูกปกคลุมไปด้วยตะไคร่และวัชพืชต่างๆ

วะบิ-ซะบิยังหมายถึงการเหยียบย่างบนโลกใบนี้อย่างแผ่วเบา และรู้ถึงวิธีที่จะซาบซึ้งในคุณค่ากับสิ่งใดก็ตามที่เข้ามาเผชิญหน้ากับเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยสักเพียงใดก็ตาม เพราะวะบิ ซะบิจะบอกให้เราหยุดความหมกมุ่นของเราที่มีต่อความสำเร็จทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความมั่งคั่ง สถานะทางสังคม อำนาจ และความหรูหรา แต่ให้เราหันมาเบิกบานกับชีวิตที่นี่และเดี๋ยวนี้เลย โดยไม่ถูกฉุดรั้งด้วยความยึดติดใดๆ


วะบิ ซะบิจึงเป็นเรื่องของดุลยภาพอันละเอียดอ่อน ระหว่างความรื่นรมย์ที่เราได้รับจากสิ่งต่างๆ กับความรื่นรมย์ที่เราได้รับจากความเป็นอิสระจากสิ่งทั้งหลายในเวลาเดียวกัน

แม้วะบิ ซะบิจะเป็นเพียงกระบวนทัศน์ทางสุนทรียภาพชนิดหนึ่ง แต่ผู้ที่นับถือในกระบวนทัศน์ทางสุนทรียภาพชนิดนี้ ย่อมสามารถใช้ชีวิตอย่างมีศิลปะแบบเซนได้ อย่างไม่ถูกพันธนาการด้วยลัทธิวัตถุนิยมและบริโภคนิยมอันฉาบฉวยและตื้นเขิน

การจะทำอย่างนั้นได้ คนผู้นั้นจะต้องมีความพากเพียรและความมุ่งมั่นในการใช้ชีวิต ที่จะกล้าตัดสินใจเลือกที่จะไม่กระทำสิ่งต่างๆ เพื่อปล่อยให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามครรลองของมัน เมื่อถึงเวลาจำเป็นและสมควรแก่กาล

สังคมเราในทุกวันนี้กำลังขาดแคลนประสบการณ์ตรงทางศิลปะ ที่สามารถหยั่งลึกสู่ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณได้ด้วย ชีวิตที่ขาดความสง่างามของศิลปะที่เรียบง่ายเป็นธรรมชาติ จึงกลายเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยความสับสน ฟุ้งซ่าน ปราศจากพลัง

วะบิ-ซะบิจึงเป็นวิถีแห่งศิลปะแบบเซนที่คนสมัยนี้ไม่ควรมองข้าม!


..............................



เรียบเรียงจาก วิถีแห่งฟ้าของนักกลยุทธ์ สำนักพิมพ์ openbook โดย สุวินัย ภรณวลัย


6
หยาดฝนแห่งธรรม / บันทึกของกฤษณมูรติ
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 03:56:48 pm »
บันทึกของกฤษณมูรติ..#1..


บรอควู๊ด ปาร์ค แฮมป์ไชร์
14 กันยายน 1973

วันก่อนกลับมาจากเดินเล่น ผ่านท้องทุ่งและแมกไม้ ยังเดินผ่านดงไม้แห่งหนึ่ง* (เป็นดงไม้ที่เต็มไปด้วยไม้หายาก รวมทั้งต้นเรดาวู๊ด ขึ้นอยู่ในสวนป่าบรอควู๊ด) ใกล้ๆกับบ้านขาวหลังใหญ่ ปีนบันไดข้ามรั้วเข้าไปในดงไม้ เรารู้สึกได้ในทันที ถึงความสงบสันติอย่างลึกล้ำ นิ่งสงัด ไม่มีสิ่งใดเคลื่อนไหว การเดินเข้าไปคล้ายเป็นสิ่งต้องห้าม เท้าที่ก้าวเหยียบลงบนดิน คล้ายจะทำลายบรรยากาศอันศักดิ์สิทธิ์ลง เสียงพูดคุยดูยิ่งจะทำลายบรรยากาศ แม้แต่เสียงลมหายใจ ไม้เรดวู๊ดต้นมหึมานั้น แลดูสงบอย่างยิ่ง ชาวอเมริกันอินเดียนเรียกมันว่า ผู้สงบเงียบ และมันก็ดูเงียบสงบจริงๆ แม้แต่สุนัขก็หยุดวิ่งไล่กระต่าย เธอคงได้แต่ยืนอยู่กับที่ ไม่กล้าแม้แต่จะหายใจ เธอคงจะต้องรู้สึกคล้ายกับตนเองเป็นผู้รุกล้ำ ด้วยเหตุว่าเธอกำลังหยอกล้อและหัวร่อ และเดินเข้ามาในดงไม้โดยหารู้ไม่ว่ามีสิ่งใดดำรงอยู่ สิ่งนั้นย่อมทำให้ประหลาดใจและตระหนกเมื่อค้นพบตระหนกต่อความรู้สึกลึกล้ำดื่มดำที่จู่โจมเข้ามาอย่างไม่คาดฝัน หัวใจก็จะเต้นแผ่วเบาลง นิ่งอึ้ง อับจนถ้อยคำด้วยความพิศวง ณ ที่แห่งนี้คือใจกลางของบริเวณทั้งหมด ทุกครั้งที่เธอเข้ามา ก็จะพบความงามและความสงบงัน ความสงบอันแสนประหลาด จงเข้ามาเมื่อเธอปราถนา และก็จะพบมันดำรงอยู่ที่นั่นเสมอ เต็มเปี่ยม ทรงคุณค่า และอยู่เหนือถ้อยคำใดๆ

ทุกรูปแบบของการทำสมาธิ อย่างจงใจ หาใช่ของจริงไม่ มันไม่มีทางเป็นไปได้เลย ความพยายามที่จะฝึกสมาธิโดยจงใจ หาใช่สมาธิไม่ มันจะต้องกำเนิดขึ้นเอง หาใช่เชื้อเชิญมันมา สมาธิไม่ใช่การเล่นของจิตใจ ทั้งมิใช่ความปราถนาและปิติสุข ความพยายามทุกประการที่จะฝึกสมาธิก็คือ การขับไล่มันไป มีเพียงการตระหนักรู้ในสิ่งที่เธอกำลังคิดกำลังทำอยู่เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นนอกไปจากนี้ ตัวการมองเห็นและการได้ยินก็คือการทำนั่นเอง เป็นการทำที่ ปราศจากผลได้หรือผลเสีย ความสามารถในการทำ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเห็นหรือได้ยิน สมาธิตามแบบแผนล้วนนำไปสู่ความหลงผิด สิ่งลวงและมายา เพราะความปราถนานั่นเองที่ทำให้พร่ามัวหลงทาง

นี่เป็นยามเย็นอันน่าอภิรมย์ แสงสนธยาอันนิ่มนวลแห่งฤดูใบไม้ผลิ ทออาบไล้แผ่นดิน


บันทึกของกฤษณมูรติ..#2 ..


บรอควู๊ด ปาร์ค แฮมป์ไชร์
15 กันยายน 1973

เป็นการดีที่จะอยู่เพียงลำพัง ไกลห่างจากหนทางของโลก เพราะการเดินบนทางสายนั้นก็คือการเดินเพียงลำพัง เพียงลำพังเดินลัดเลาะได้ตามทางข้างธารน้ำเชี่ยว ซึ่งส่งเสียงอึกทึก หลากล้นไปด้วยสายน้ำแห่งฤดูใบไม้ผลิและหิมะที่หลอมละลาย รับรู้ถึงความโดดเดี่ยวของแมกไม้ งดงามอยู่ในความวิเวก ความโดดเดี่ยวของผู้คนตามท้องถนน คือความเจ็บปวดของชีวิตเขาไม่เคยเข้าถึงความหมายของการอยู่เพียงลำพังเลย ห่างไกลและยากจะสัมผัสถึง การเต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้นั้น ก่อให้เกิดทุกข์มิรู้จบสิ้น มีความปราถนาที่จะแสดงออกพร้อมด้วยความสับสน สิ้นหวัง ความเจ็บปวดนั่นแหละคือสิ่งที่ผู้คนที่เดินตามถนนหนทางเป็นกัน เขาไม่เคยได้อยู่เพียงลำพังเลย ความทุกข์ คือลีลาของความโดดเดี่ยวชนิดนั้น

ธารน้ำจากขุนเขาสายนั้น เต็มเปี่ยมหลากล้นไปด้วยหิมะที่หลอมละลายผสมรวมกับสายฝนต้นฤดูกาล เธอยังอาจได้ยินเสียงก้อนหินใหญ่ถูกกระแสน้ำเชี่ยวพัดพาผลักดัน มีต้นสนสูงตระหง่าน ซึ่งมีอายุห้าสิบปีหรือกว่านั้น หักโค่นลงในธารน้ำ หนทางก็ถูกน้ำพัดขาดหายไป สายน้ำขุ่นข้นด้วยโคลนตมเป็นสีฟ้า-เทา ในทุ่งหญ้าเบื้องบนดารดาษด้วยดอกไม้ป่า อากาศสดบริสุทธิ์เต็มไปด้วยความเบิกบานรื่นรมย์ บนสันเขาสูงขึ้นไปยังปกคลุมด้วยหิมะ บนธารน้ำแข็งและบนยอดเขายังปกคลุมด้วยหิมะคราวล่า มันจะยังคงขาวโพลนอยู่เช่นนั้นตลอดฤดูร้อน

นี่เป็นยามเช้าอันพิเศษสุด ซึ่งเธออาจเดินเที่ยวเล่นไปอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย ไม่ทันรู้ถึงความชันของลาดเขาด้วยซ้ำ มีกลิ่นหอมอ้อยอิ่งอยู่ในบรรยากาศ หอมชัดและเข้ม ในหนทางไร้ผู้คน ไม่ว่าจะเดินขึ้นหรือเดินลงก็มีเธออยู่เพียงลำพังกับหมู่สนสีดำ และสายน้ำเชี่ยว ท้องฟ้าส่องประกายความเจิดจ้า มีเพียงขุนเขาเท่านั้นที่อาจมีสีชนิดนี้ ซึ่งเธอสามารถมองเห็นลอดผ่านพุ่มไม้และลำต้นสน ไม่มีใครมาให้สนทนาด้วย ทั้งไม่มีการหยอกล้อของจิต วิหกแมคบี้ลายขาวดำบินมาและหายลับไปในป่า หนทางซึ่งนำเราผ่านพ้นลำธารอึกทึกและความเงียบ คือทางอันสูงสุด มันไม่ใช่ความเงียบหลังจากที่กระแสเสียงสงบลง ไม่ใช่ความเงียบที่มากับอาทิตย์ยามอัศดง ทั้งไม่ใช่ความเงียบเมื่อดวงจิตดับลง ไม่ใช่ความเงียบในพิพิธภัณฑ์หรือโบสถ์ แต่เป็นบางสิ่งบางอย่างซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับเวลาและสถานที่ มันไม่ใช่ความเงียบที่จิตพยายามสร้างขึ้นเอง ดวงอาทิตย์นั้นร้อนแรง และร่มไม้นั้นเย็นสบาย

เขาเพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ว่า ไม่มีความคิดใดๆ ผุดขึ้นมาระหว่างการเดินเลย ไม่ว่าจะเป็นถนนคับคั่งจอแจในเมื่องหรือในทางสายเปลี่ยวล้วนเป็นเฉกเช่นกัน ตั้งแต่เด็กมาแล้วที่เขาเป็นดังนี้ ไม่มีความคิดผุดขึ้นมาในดวงจิตเขาเพียงแต่เฝ้ามองและสดับฟัง ไม่มีอะไรอื่นมากไปกว่านี้ ความคิดและกระบวนการต่อเนื่องของมันไม่เคยเกิดขึ้นมาเลย ไม่มีทั้งจินตภาพ อยู่มาวันหนึ่งเขาเกิดตระหนักขึ้นได้ถึงลักษณะพิเศษประการนี้ เขาพยายามที่จะคิด แต่ไม่มีความคิดใดๆ ปรากฏขึ้นในการเดินกับใครหรือเพียงลำพัง ล้วนปราศจากกระแสความคิด นี่คือการอยู่เพียงลำพัง

เหนือยอดเขาหิมะ หมู่เมฆกำลังก่อตัวขึ้น หนาหนักและทึบทะมึนบางที ฝนอาจตกในไม่ช้านี้ แต่ในขณะนี้ดวงอาทิตย์ยังสว่างไสวและเงาบนพื้นยังคมชัด ในอากาศยังมีกลิ่นหอมผสานอยู่ และฝนจะนำกลิ่นหอมอย่างใหม่ปะปนมาด้วย จากที่นี้ไป หนทางยังห่างไกลจากกระท่อมคนเลี้ยงสัตว์



พจนา จันทรสันติแปล


7
ปรางได้เอาไปตั้งกระทู้ไว้ที่บอร์ดพลังจิตและเว็บธรรมะเว็บอื่นๆ
ก้อมีพี่ๆเพื่อนๆช่วยกันเข้าไปคลิกให้อีกเยอะเลยค่ะ......

8
เสียงลำธารคือองค์พระพุทธะ
ภูดอยคือธรรมกายศรี
แปดหมื่นสี่พันมาในราตรี
เอ่ยวจีบอกใครอย่างไรหนอ




เขียนถวายเจ้าอาวาสวัดตงหลิน
- ซูตงเปอ กวีเอกยุคราชวงค์ซ่ง -


9
เมื่อคืนประมาน1-2ทุ่ม ข้าพเจ้าได้รับโทรศัพท์จากพระอ.จที่นับถือท่านหนึ่งคือ "พระมหาแผน" ท่านโทรมาด้วยน้ำเสียงที่เป็นกังวลมาก ได้ความว่าตอนนี้สามเณรที่ท่านดูแลอยู่90รูปกำลังจะลำบากเพราะอาหารที่มีอยู่กำลังจะหมดไปของใหม่ก็ไม่มีมาเพราะอยู่ไกลจากชุมชน ข้าพเจ้าเคยค่อนท่านหลายครั้งว่าทำไมต้องเอาลูกเค้ามาเลี้ยง ท่านก็ตอบเหมือนๆกันทุกครั้งไปว่า “เด็กพวกนี้เป็นคนยากจนพ่อไปทางแม่ไปทางเป็น โจร ก็มี” ท่านว่า “ฉันเอาเค้ามาเลี้ยงอย่างน้อยๆก็สั่งสอนให้เค้าเป็นคนดีในสังคมได้ เหลือท่าเด็กมันมีบุญมีวาสนาก็จะได้เป็น*เนื้อนาบุญ* สืบต่อพระศาสนาต่อไป” ข้าพเจ้าก็จนแต้มอีกตามเคย

มีอยู่ครั้งนึงพระอ.จท่าน เล่าให้ฟังว่าท่านได้เรืยกประชุมเณรเพราะท่านหมดกำลังที่จะดูแลเณรน้อยทั้งหลายต่อไป ท่านทั้งหลายทราบไหมเกิดอะไรขึ้น? สามเณรพร้อมใจกันกราบแทบเท้าท่านแล้วพูดว่า “หลวงพ่อกินเกลือพวกผมก็ขอกินเกลือแต่ถ้าท่านอดพวกผมก็ยอมอด” ข้าพเจ้าฟังแล้วก็น้ำตาไหล มีเด็กจำนวนหนึ่งข้าพเจ้าได้เป็นเจ้าภาพบวชให้ จำได้ว่ามีเด็กอยู่คนหนึ่งอายุประมาน10-11ขวบไม่ได้แจ้งข้าพเจ้ามาก่อนว่าต้องการบวชเธออุตส่าห์โกนหัวมาเส็ดสับมาแต่เช้าตู่เธอหลบอยู่ใต้ถุนศาลาพอเห็นข้าพเจ้าก็ตรงมากราบเท้าข้าพเจ้าแล้วบอกว่า “คุณน้าผมอยากเป็นคนดี คุณน้าช่วยผมด้วย” ในที่สุดก็เป็นเจ้าภาพบวชให้เธอ ข้าพเจ้ามานั่งคิดๆว่าถ้าอาหารหมดทีก็หาให้ทีมันจะเป็นเหมือน “เบี้ยต่อไส้” เลยอยากจะตั้ง “กองทุน” เพื่ออาหารพระ-เณรขึ้นมาสักกองจะได้เป็นทุนสำรองต่อไป วันนี้ข้าพเจ้าได้ให้พี่สาวไปเปิดบัญชีไว้และได้กราบเรียนท่านพระอ.จ ท่านดีใจใหญ่ และได้ซื้อ ข้าวสาร50ถุง น้ำปลา2ลัง ขนมปัง6ปีบ น้ำแดง1ลัง น้ำมัน1ลัง น้ำตาล10ถุง เกลือ10ถุง มาม่า4กล่องไว้ใช้ก่อนชั่วคราว จึงขอเรียนเชินทุกท่านผู้ใจบุญทั้งหลายมาช่วยกันก่อตั้งกองทุนในครั้งนี้ เพื่อสืบต่ออายุพระสงฆ์สามเณรและพระพุทธศาสนา ท้ายสุดนี้ข้าพเจ้าขอกราบอาราธนาบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรม และ พระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย ขอให้ทุกท่านผู้เป็นกำลังใหญ่ในการสืบต่ออายุบวรพระพุทธศานาจงมีความสุขสวัสดีตรอดตราบเท่าเข้าสู้พระนิพานเทิด….สาธุ สาธุ สาธุ

สิ่งของที่รับบริจาคสงเคราะห์พระภิกษุสามเณร ( 01-9408541 พระมหาแผน)

ข้าวสารอาหารแห้ง เช่น กะปิ น้ำปลา ซอส เครื่องแกง เครื่องปรุงแต่งอาหาร ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น
อุปกรณ์การศึกษา เช่น สมุด ปากกา ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด เป็นต้น
หนังสือเรียนนักธรรมตรี-โท-เอก พระบาลีและสายสามัญ

“ อาตมาภาพขอบิณฑบาตเป็นอาหารแห้ง เช่น ข้าวสาร-เครื่องปรุงรสแกงต่างๆ ตลอดถึงผัก-ปลา-หมู-ไก่ เป็นต้น เพราะเมื่อโรงเรียนย้ายที่ตั้งใหม่ ระยะการเดินทางไกลถ้าเป็นอาหารปรุงเสร็จแล้ว จะไม่ทันฉันเพล และอาหารแห้งสามารถเก็บไว้จัดภัตตาหารถวายภิกษุ-สามเณร ในวันต่อไปได้
เพราะสถานที่ย้ายโรงเรียนไปเป็นทุ่งท้องนาห่างไกลตลาดที่จะจัดซื้อภัตตาหารถวายมื้อเพลได้ ในปัจจุบันมีพระภิกษุ-สามเณรประมาณ 90 กว่ารูป โยมที่ถวายอาหารแห้งได้มีโอกาสทำบุญกับพระ-เณรเป็นจำนวนมาก”

(01-9408541 พระมหาแผน)
สำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทองประเภทบัญชี : ออมทรัพย์
หมายเลขบัญชี : 203-0-06304-5
ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม
ชื่อบัญชี : ร.ร.ปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง


http://board.palungjit.com/f179/ขอความเมตตาช่วยต่อชีวิต-พระเณร-21733.html

10


สิ่งที่ทางวัดรับบริจาค :

1. หนังสือธรรมะหรือหนังสือทั่วไปที่มีประโยชน์ ที่ท่านมีอยู่แล้ว ต้องการ ให้ปัญญาต่อกับผู้อื่น.
2. หนังสือใหม่ ซื้อจากร้านขายหนังสือทั่วไป / หรือ หนังสือมือ 2 ก็ได้
3. ซีดีธรรมะที่ท่านต้องการบริจาค.
4. เครื่องคอมพิวเตอร์เก่า เพื่อใช้เป็นสื่อเรียนรู้ของนักเรียน ร.ร.พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (วัดเกาะ)


การส่งหนังสือ,ซีดี,อุปกรณ์คอมพ์ฯ.

- ส่งถึง ห้องสมุดวัดเกาะวาลุการาม ต.สวนดอก อ.เมือง จ.ลำปาง 52000
- หนังสือถ้าซื้อจากร้าน ในบางแห่งมีบริการส่งทางไปรษณีย์ถึงผู้รับต่างจังหวัดได้ (สอบถามเงื่อนไขการส่งได้ที่ร้านนั้นๆ)

ท่านเขียนชื่อผู้บริจาคด้านในปกหนังสือได้ตามต้องการ.

วัดเกาะฯ โทร. 054-323426 , 054-217528


หากท่านไม่สดวกในการบริจาคหลายๆเล่ม ท่านสามารถบริจาคได้ 1 เล่มก็พอ หรือจะ ให้ทานธรรมะเดือนละ 1 เล่มก็ได้

ด่วนบริจาคได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธ.ค. 2570


http://www.watkoh.com/data/library/view.asp
 

หน้า: [1]