แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ซุปเปอร์เบื๊อก

หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7
1
จิตวิญญาณมีอยู่ 2 อย่าง คือ   
1. จิตวิญญาณที่แท้จริง หรือ จิตวิญญาณดั้งเดิม หรือ จิตวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นจิตวิญญาณที่มีอยู่แล้วตลอดเวลา ไม่ต้องสร้างขึ้นมา และไม่สามารถทำให้หายไปได้
มีลักษณะ
ไม่อยากมีความทุกข์
อยากมีความสุขที่แท้จริง
ไม่อยากสร้างปัญหาให้แก่ชีวิตเลย
มีความตั้งใจจะให้ดี อยากจะทำให้ดี
2. จิตวิญญาณปรุงแต่ง หรือ จิตวิญญาณปัจจุบัน เป็นจิตวิญญาณที่เกิดขึ้นมาใหม่ เกิดจาก การเรียนรู้ และประสบการณ์ สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ถ้า การเรียนรู้ และประสบการณ์ ไม่ตรงกับลักษณะของ จิตวิญญาณที่แท้จริง จะทำให้มีความทุกข์
ถ้า การเรียนรู้ และประสบการณ์ ตรงกับลักษณะของจิตวิญญาณที่แท้จริง จะทำให้มีความสุขที่แท้จริง

คำเตือน ข้อความข้างต้นเป็นเพียงความคิดปรุงแต่งของคุณพี่จีรานุชเท่านั้น ไม่ใช่ธรรมอันเป็นสัมมาทิฏฐิ น๊าค๊า

2
ผมรู้แต่ผมเป็นคนธรรมดาล่ะครับ เป็นคนที่ห่วยและไม่เอาไหนที่สุดเสมอ
แต่คิดว่าพี่จีรานุชอาจไม่ธรรมดาก็ได้ อันนี้ต้องรอดูพี่เค้าว่างๆมาแสดงธรรม
ธรรมะมีลำดับชั้นความเข้าใจ พี่สาวอาจบรรลุธรรมระดับสูงไปแล้ว อนุโมทนาด้วยครับ
ส่วนผมก็ยังเล่นของเล่นอยู่กับพื้นอยู่เลย  :06:

ถ้าเชื่ออย่างนั้นจริงก็ต้องเชื่อพระพุทธเจ้าด้วยน๊าค๊า
เพราะว่าพี่สาวเชื่อฟังพระพุทธเจ้า ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า
ไม่เชื่อฟังธรรมของผู้เห็นผิด เพราะพระพุทธเจ้าบอกว่ามันเป็นกิจอันเลว อะจ้า


3
มาพิจาราณาความจริงตามพระพุทธเจ้ากันดีกว่านะจ้า

        [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
   ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
   ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต
   ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต
   ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น
   มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต
   มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต
   อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่
   เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด
   พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น
   จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา
   เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
   พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง
   หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
   ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
   ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
   
จบจิตตานุปัสสนา

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,6500.msg26748/topicseen.html#msg26748

 :13:

4
ตอบคุณ ต๊ะติ้งโหน่ง
 
ธรรมะ  แปลว่า   ความจริง
                     ความดี
                     ความงาม
                     ธรรมดา
                     ธรรมชาติ (สิ่งที่มีอยู่แล้วตลอดเวลา)
                     ความจริงที่ปรากฎ
                     กฎธรรมชาติ
                     ความถูกต้อง
                     สัจธรรม
                     สิ่งที่มีอยู่จริง
                     ทรงอยู่ในสภาพตามความเป็นจริง (สภาวะธรรม)
 
นั้นดัง ธรรมะ จึงเป็นสิ่งบริสุทธิ์
 
จุดมุ่งหมายสูงสุดของเราชาวพุทธ หรือ พระพุทธศาสนา คือ การทำจิตให้บริสุทธิ์ ซึ่งก็คือ การรู้ว่า จิตที่แท้จริง หรือ จิตเดิมแท้นั้น บริสุทธิ์  ประภัสสร   ความทุกข์ก็จะร่วงออกไปเองค่ะ          :13:
 
                     
     

ตอบแบบให้ชาวบ้านธรรมดาๆอย่างผม เข้าใจได้ง่ายๆดีครับพี่จีรานุช
อนุโมทนานะครับผม :13:

หุหุหุ เพราะคุณพี่จีรานุชก็ยังเป็นปุถุชนเช่นเดียวกันกับคุณน้องบอลยังไงล่ะจ้ะ
สภาวะธรรมไม่สูงกว่ากันถึงได้เข้าใจเหมือนๆ กัน  :25:

6
อนุโมทนาสาธุ อ่าจ๊ะ น้องต๊ะติ้งโหน่ง

7
นาทั้งหลาย มีหญ้าเป็นโทษ

หมู่สัตว์มีราคะเป็นโทษ

เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคล
                         
ถวายในท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีผลมาก


นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ

หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นโทษ

เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวาย

ในท่านผู้ปราศจากโทสะ ย่อมมีผลมาก


นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ

หมู่สัตว์นี้มีโมหะเป็นโทษ

เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวาย

ในท่านผู้ปราศจากโมหะ

ย่อมมีผลมาก


นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ

หมู่สัตว์นี้มีความอิจฉาเป็นโทษ

เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวาย

ในท่านผู้ปราศจากความอิจฉา

ย่อมมีผลมาก ฯ


จบตัณหาวรรคที่ ๒๔

8
การให้ธรรมเป็นทานย่อมชำนะการให้ทั้งปวง

รสแห่งธรรมย่อมชำนะรสทั้งปวง

ความยินดีในธรรมย่อมชำนะความยินดีทั้งปวง

ความสิ้นตัณหาย่อมชำนะทุกข์ทั้งปวง




โภคทรัพย์ทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม

แต่หาฆ่าผู้ที่แสวงหาฝั่งไม่


คนมีปัญญาทรามย่อมฆ่าตนได้

เหมือนบุคคลฆ่าผู้อื่นเพราะความ
                         
อยากได้โภคทรัพย์ ฉะนั้น

9
ส่วนผู้ใดยินดีแล้วในฌานเป็นที่สงบ                         

วิตก มีสติทุกเมื่อ เจริญอสุภะอยู่

ผู้นั้นแลจักทำตัณหาให้สิ้นไป

ผู้นั้นจะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้

ภิกษุผู้ถึงความสำเร็จแล้ว ไม่มีความสะดุ้ง

ปราศจากตัณหาไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน

ตัดลูกศรอันยังสัตว์ให้ไปสู่ภพได้แล้ว

อัตภาพของภิกษุนี้มีในที่สุด

ภิกษุปราศจากตัณหา ไม่ยึดมั่น

ฉลาดในนิรุติและบท รู้จักความประชุมเบื้องต้น

และเบื้องปลายแห่งอักษรทั้งหลาย

ภิกษุนั้นแลมีสรีระในที่สุด


เรากล่าวว่า มีปัญญามาก เป็นมหาบุรุษ

เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้แจ้งธรรมทั้งปวง

อันตัณหาและทิฐิไม่ฉาบทาแล้วในธรรมทั้งปวง

ละธรรมได้ทุกอย่างพ้นวิเศษแล้วเพราะความสิ้นตัณหา

รู้ยิ่งเอง พึงแสดงใครเล่า (ว่าเป็นอุปัชฌาย์หรืออาจารย์)

10
สัตว์เหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว

สัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไปตามกระแสตัณหา

ดุจแมลงมุมแล่นไปตามใยที่ตนทำเอง ฉะนั้น


นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องผูกแม้นั้นแล้ว

เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ย่อมละทุกข์ทั้งปวงไป

ท่านจงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอดีตเสีย

จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอนาคตเสีย

จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเสีย

จักเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษแล้วในสังขตธรรมทั้งปวง

จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก


ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่ผู้ที่ถูกวิตกย่ำยี

ผู้มีราคะกล้า มีปกติเห็นอารมณ์ว่างาม

ผู้นั้นแลย่อมทำเครื่องผูกให้มั่น

หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7