แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - sithiphong

หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 ... 713
1
.
.
โกกาลิกสูตร - ว่าด้วยพระโกกาลิกะ ระยะเวลาขุมนรก
.
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
.
.
๑๐. โกกาลิกสูตร๑-
ว่าด้วยพระโกกาลิกะ
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]
๑๐. โกกาลิกสูตร
.
            ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
.
            สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น แล โกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาชั่วลุอำนาจความปรารถนาชั่ว”
.
            เมื่อโกกาลิกภิกษุกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
.
@เชิงอรรถ :
@๑ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๘๑/๒๔๘, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๙/๒๐๐-๒๐๔
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๕}
.
.
            แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ มีพระพุทธพจน์ที่ข้าพระองค์เชื่อถือได้ก็จริง แต่ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว”
.
            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
.
            แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ มีพระพุทธพจน์ที่ข้าพระองค์เชื่อถือได้ก็จริง แต่ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว”
.
            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
.
            ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป
.
            เมื่อโกกาลิกภิกษุจากไปไม่นาน ร่างกายก็มีตุ่มขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดเกิดขึ้นทั่วร่าง ตุ่มเหล่านั้นโตเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด แล้วก็โตเท่าเมล็ดถั่วเขียว โตเท่าเมล็ดถั่วดำ โตเท่าเมล็ดพุทรา โตเท่าเมล็ดกระเบา โตเท่าผลมะขามป้อม โตเท่าผลมะตูมอ่อน เท่าผลมะตูมแก่ แล้วก็แตกเยิ้ม หนองและเลือดไหลออกมา โกกาลิกภิกษุเพราะทนพิษตุ่มแตกนั้นไม่ไหวจึงมรณภาพลงในขณะนั้น และเมื่อ
.
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๖}
.
.
มรณภาพลงแล้วได้ไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ
.
            ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๑- ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้วไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ”
.
            ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล
.
            ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
.
            “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป ท้าวสหัมบดีพรหม ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหม ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็กระทำประทักษิณแล้วหายไปณ ที่นั้นแล”
.
            เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรกนานเท่าไรหนอ”
.
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรกนานมาก ประมาณอายุในปทุมนรกนั้น ยากที่จะนับได้ว่า ‘ประมาณเท่านี้ปี ประมาณ ๑๐๐ ปีเท่านี้ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเท่านี้ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปีเท่านี้”
.
            ภิกษุนั้นทูลถามอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์พอจะยกอุปมาได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
.
@เชิงอรรถ :
@๑ ดูเชิงอรรถที่ ๔ หน้า ๖ ในเล่มนี้
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๗}
.
.
            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “ภิกษุ หนึ่งเกวียนเมล็ดงาของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี๑- ล่วงไปแล้ว ๑๐๐,๐๐๐ ปี บุรุษจึงนำเมล็ดงาออกจากเกวียนนั้น ๑ เมล็ด เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา๒๐ ขารีนั้น จะพึงหมดไปโดยทำนองนี้เร็วกว่า แต่ว่า ๑ อัพพุทนรก๒- หาหมดไปไม่ ๒๐ อัพพุทนรก เป็น ๑ นิรัพพุทนรก ๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น ๑ อพพนรก ๒๐ อพพนรก เป็น ๑ อหหนรก ๒๐ อหหนรก เป็น ๑ อฏฏนรก ๒๐ อฏฏนรกเป็น ๑ กุมุทนรก ๒๐ กุมุทนรก เป็น ๑ โสคันธิกนรก ๒๐ โสคันธิกนรก เป็น ๑ อุปปลกนรก ๒๐ อุปปลกนรก เป็น ๑ ปุณฑรีกนรก ๒๐ ปุณฑรีกนรก เป็น ๑ ปทุมนรก
.
            ภิกษุ โกกาลิกภิกษุนี้เกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในสารีบุตรและโมคคัลลานะ”
.
.
@เชิงอรรถ :
@๑ ขารี เป็นชื่อมาตราตวงชนิดหนึ่งของอินเดียโบราณ มีลำดับมาตราดังนี้
@๔ กุฑุวะ หรือปสตะ(ฟายมือ) เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ)
@๔ ปัตถะ เป็น ๑ อาฬหกะ
@๔ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ
@๔ โทณะ เป็น ๑ มาณิกา
@๔ มาณิกา เป็น ๑ ขารี
@๒๐ ขารี เป็น ๑ เกวียน
@(ขุ.สุ.อ. ๒/๖๖๒/๓๐๗, อภิธา.ฏีกา คาถา ๔๘๐-๔๙๔)
@๒ อัพพุทนรก นิรัพพุทนรก อพพนรก อหหนรก อฏฏนรก กุมุทนรก โสคันธิกนรก อุปปลกนรก ปุณฑรีกนรก
@ปทุมนรก ทั้งหมดนี้อยู่ในอเวจีมหานรก เป็นนรกเล็กอยู่ในนรกใหญ่ ไม่มีภูมิเป็นของตนเอง แต่เป็นที่ซึ่ง
@สัตว์จะต้องรับกรรม เช่น อัพพุทนรก เป็นสถานที่ทรมานสัตว์โดยการนับชิ้นเนื้อเป็นเครื่องบอกระยะ
@เวลาในการทรมานสัตว์ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖, ขุ.สุ.อ. ๒/๖๖๒/๓๐๗)
@อนึ่ง นรกเหล่านี้ปรากฏชื่อตามจำนวนสังขยา อรรถกถาให้นัยไว้ว่า นรกเหล่านี้มีวิธีนับระยะเวลาปี
@ของอัพพุทนรกเป็นตัวอย่างดังนี้ คือ
@๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ปี เป็น ๑ โกฏิ-ปี
@๑๐,๐๐๐,๐๐๐ โกฏิ-ปี เป็น ๑ ปโกฏิ-ปี
@๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ปโกฏิ-ปี เป็น ๑ โกฏิปโกฏิ-ปี
@๑๐,๐๐๐,๐๐๐ โกฏิปโกฏิ-ปี เป็น ๑ นหุต-ปี
@๑๐,๐๐๐,๐๐๐ นหุต-ปี เป็น ๑ นินนหุต-ปี
@๑๐,๐๐๐,๐๐๐ นินนหุต-ปี เป็น ๑ อัพพุทะ-ปี
@ต่อจากอัพพุทะไปใช้ ๑ x ๒๐ เช่น ๒๐ อัพพุทะ (๑ อัพพุทะ x ๒๐) ได้เท่ากับ ๑ นิรัพพุทะ เป็นต้น
@(ขุ.สุ.อ. ๒/๖๖๒/๓๐๗, กัจ. ๕/๘/๓๙๕)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๘}
.
.
            พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
.
            [๖๖๓] ผรุสวาจา(คำหยาบ)เป็นเหมือนผึ่ง ๑ เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว ย่อมเกิดที่ปากของคนพาล
.
            [๖๖๔] ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น
.
            [๖๖๕] การปราชัยด้วยทรัพย์ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้ เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น เป็นความผิดมากกว่า
.
            [๖๖๖] บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่วติเตียนพระอริยะย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป กับอีก ๕ อัพพุทกัป
.
            [๖๖๗] คนที่ชอบกล่าวคำไม่จริงหรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า ‘ฉันไม่ได้ทำ’ ต่างก็ตกนรก ๒-
.
.
@เชิงอรรถ :
@๑ คำว่า “ผึ่ง” หมายถึงชื่อเครื่องมือสำหรับถากไม้ชนิดหนึ่ง รูปคล้ายจอบ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตย-
@สถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)
@๒ ดูธรรมบท ข้อ ๓๐๖ หน้า ๑๒๘, อุทาน ข้อ ๓๘ หน้า ๒๔๘, อิติวุตตกะ ข้อ ๔๘ หน้า ๓๙๙
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๙}
.
.
                      คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่วตายไปแล้วมีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า
.
            [๖๖๘] บุคคลใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้ายเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินบาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้นซึ่งเป็นคนพาลอย่างแน่แท้ดุจผงธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลม ฉะนั้น๑-
.
            [๖๖๙] ผู้หมกมุ่นในความโลภต่างๆ ไม่มีศรัทธามีนิสัยหยาบกระด้าง ไม่รู้พุทธพจน์ มีความตระหนี่ ชอบพูดส่อเสียด ย่อมใช้วาจากล่าวร้ายผู้อื่น
.
            [๖๗๐] โกกาลิกะผู้มีปากเป็นหล่ม ชอบพูดเท็จ ไม่ใช่คนดี ชอบกำจัดความเจริญของตนเป็นคนชั่ว ชอบทำแต่กรรมชั่ว เป็นคนต่ำช้า เป็นคนอาภัพ เป็นอวชาตบุตร เธออย่าพูดมากในที่นี้ อย่าต้องเป็นสัตว์นรกเลย
.
            [๖๗๑] เธอย่อมเกลี่ยธุลีคือกิเลสลงใส่ตน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเองเลย เธอชอบทำกรรมหยาบช้าแล้ว ยังติเตียนสัตบุรุษ เธอประพฤติทุจริตมากมาย ต้องไปเกิดในมหานรกเป็นเวลายาวนานแน่นอน
.
            [๖๗๒] กรรม๒- ของใครๆ ย่อมไม่สูญหายไปไหน เขาต้องได้รับผลกรรมนั้น และเป็นเจ้าของกรรมนั้น
.
.
@เชิงอรรถ :
@๑ ดูธรรมบท ข้อ ๑๒๕ หน้า ๗๐ ในเล่มนี้
@๒ กรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรม และอกุศลกรรม (ขุ.สุ.อ. ๒/๖๗๒/๓๐๙)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๖๐}
.
.
                     คนโง่เขลาผู้ชอบทำกรรมชั่วหยาบ  จะประสบทุกข์ที่ตนได้รับในปรโลก
.
            [๖๗๓] ผู้ทำกรรมชั่วย่อมเข้าถึงสถานที่ที่นายนิรยบาล เอาขอเหล็กอันคมกริบมาเกี่ยวไว้ ถูกหลาวเหล็กอันคมกริบเสียบไว้ และมีก้อนเหล็กแดงโชติช่วงเป็นอาหาร ตามสมควรแก่ความชั่ว ตามสมควรแก่กรรมชั่วที่ตนทำไว้
.
            [๖๗๔] นายนิรยบาลทั้งหลายเมื่อพูดกับสัตว์นรก ก็พูดไม่ไพเราะ สัตว์นรกเหล่านั้นจะวิ่งหนีไปก็ไม่ได้ จะเข้าไปขอความช่วยเหลือก็ไม่ได้ จึงนอนอยู่บนถ่านเพลิงอันลาดไว้ เข้าไปสู่กองไฟอันลุกโพลง
.
            [๖๗๕] นายนิรยบาลเอาข่ายเหล็กพันสัตว์นรก แล้วทุบด้วยค้อนเหล็กในที่นั้นๆ สัตว์นรกทั้งหลายเข้าไปสู่นรกหมอกควันที่มืดทึบ ซึ่งปกคลุมอบอวลไปทั่วดุจกลุ่มหมอก
.
            [๖๗๖] ต่อจากนั้น สัตว์นรกเหล่านั้นก็เข้าไปสู่โลหกุมภีนรกที่มีเปลวไฟลุกโพลง ลอยวนขึ้นลงพร้อมกับถูกไฟไหม้อยู่ในหม้อเหล็กที่ติดไฟลุกนั้นเป็นเวลานานแสนนาน
.
            [๖๗๗] สัตว์นรกผู้ทำกรรมชั่วหยาบไว้ประจำ จะพลิกหนีไปทางทิศใดๆ ก็ถูกไฟตามเผาไหม้อยู่ในหม้อเหล็กร้อนแดงที่ปนด้วยหนองและเลือดได้รับทุกข์ระกำลำบากซ้ำยังแปดเปื้อนหนองและเลือดอยู่ในโลหกุมภีนรกนั้น
.
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๖๑}
.
.
            [๖๗๘] สัตว์นรกผู้ทำกรรมชั่วหยาบไว้ประจำย่อมหมกไหม้อยู่ในน้ำที่มีหมู่หนอนยั้วเยี้ยในโลหกุมภี นรกแต่ละขุมนั้นๆ ไม่มีฝั่งที่จะให้ขึ้นอาศัยเลย เพราะมีกระทะครอบอยู่อย่างมิดชิดรอบทุกทิศ
.
            [๖๗๙] ยังมีป่าไม้ที่มีใบคม เหมือนดาบขึ้นอยู่ทั่วไป ซึ่งพวกสัตว์นรกเข้าไปก็จะถูกตัดลำตัวขาดทันที นายนิรยบาลก็จะเอาเบ็ดเกี่ยวลิ้นทรมานด้วยการดึงออกมาเรื่อยๆ
.
            [๖๘๐] ต่อจากนั้น สัตว์นรกนั้นต้องตกนรกน้ำกรดซึ่งเป็นแอ่งถูกคมมีดโกนคมกริบกรีดตามตัว สัตว์ที่โง่เขลาชอบทำบาปไว้มาก จึงต้องตกลงไปบนคมมีดโกนนั้น
.
            [๖๘๑] เพราะได้เคยก่อกรรมทำเข็ญไว้ สัตว์นรกจึงถูกสุนัขดำด่าง และสุนัขจิ้งจอกรุมทึ้งกัดกิน ร้องคร่ำครวญอยู่ในที่นั้นๆ ซ้ำยังถูกฝูงแร้ง กา และนกตะกรุมรุมทึ้งจิกกินอีก
.
            [๖๘๒] คนผู้ชอบทำกรรมชั่วหยาบเป็นประจำ ต้องรู้แก่ใจว่า การดำรงอยู่ในนรกนี้ทุกข์ยากลำบากจริงๆ เพราะฉะนั้น นรชนจึงควรรีบทำกิจที่ควรทำแต่ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่นี้และไม่ควรประมาท
.
            [๖๘๓] เกวียนบรรทุกงาที่ผู้รู้ทั้งหลายนับคำนวณ แล้วนำเข้าไปเปรียบกับอายุสัตว์ที่เกิดในปทุมนรก ก็ได้เท่ากับ ๕๑,๒๐๐ โกฏิ
.
            [๖๘๔] สัตว์นรกทั้งหลาย ต้องอยู่ในนรกซึ่งมีทุกข์มากมายตามที่เรากล่าวไว้ในที่นี้ ตลอดระยะเวลายาวนาน เพราะฉะนั้น บุคคลควรกำหนดรักษาวาจาใจให้เป็นปกติในท่านผู้บริสุทธิ์ มีศีลเป็นที่รัก และมีคุณงามความดี
.
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๖๒}
.
.
โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ จบ
.
.

2
.
.
อริยบุคคล 4 และ อริยบุคคล 8
.
.
อริยบุคคล 4
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
.
.
[56] อริยบุคคล 4
.
       1. โสดาบัน (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, “ผู้ถึงกระแส” — Stream-Enterer)
.
       2. สกทาคามี (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, “ผู้กลับมาอีกครั้งเดียว” — Once-Returner)
.
       3. อนาคามี (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, “ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก” — Non-Returner)
.
       4. อรหันต์ (ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, “ผู้ควร” “ผู้หักกำแห่งสงสารแล้ว” — the Worthy One)
.
       ดู [164] มรรค 4; [329] สังโยชน์ 10
.
D.I.156.
นัย ที.สี. 9/250-253/199-200.
.
.
.
อริยบุคคล 8
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
.
.
[57] อริยบุคคล 8 แยกเป็น มรรคสมังคี (ผู้พร้อมด้วยมรรค) 4, ผลสมังคี (ผู้พร้อมด้วยผล) 4.
.
       1. โสดาบัน (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล — one who has entered the stream; one established in the Fruition of Stream-Entry; Stream-Enterer)
.
       2. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล (พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Stream-Entry; one established in the Path of Stream-Entry; one established in the Path of Stream-Entry)
.
       3. สกทาคามี (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล — one who is a Once-Returner; one established in the Fruition of Once-Returning)
.
       4. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล (พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Once-Returning; one established in the Path of Once-Returning)
.
       5 อนาคามี (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล — one who is a Non-Returner; one established in the Fruition of Non-Returning)
.
       6. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล (พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Non-Returning; one established in the Path of Non-Returning)
.
       7. อรหันต์ (ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล — one who is an Arahant; one established in the Fruition of Arahantship)
.
       8. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล (พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Arahantship; one established in the Path of Arahantship)
.
       ทั้ง 8 ท่านนี้ ในบาลีที่มาทั้งหลายเรียกว่า ทักขิไณยบุคคล 8
.
       ดู [163-4] มรรค 4 ผล 4 ด้วย.
.
.
D.III.255;
ที.ปา. 11/342/267;
A.IV. 291;
องฺ.อฏฺฐก. 23/149/301;
Pug 73.
อภิ.ปุ. 36/150/233.
.
.

3
.

.

วันนี้ เป็นวันเด็ก (วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567) ผมขอทำบุญตามหลักบุญกริยาวัตถุ 10 คือ ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้) ถึงแม้ไม่มีใครเปิดฟัง หรือ อ่านธรรมะ บุญนั้นก็สำเร็จจากการกระทำของผมทั้ง กาย , วาจา(คือการโพส) และ ใจ(เจตนา)

.

หากมีผู้ที่ฟัง (ที่เคยมีความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง) เมื่อฟังหรืออ่านแล้ว มีความเห็นที่ถูกต้อง) ผมได้ทำบุญในเรื่อง ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)

.

มาร่วมโมทนาบุญกัน บุญเสมอกัน ครับ

.

หากมีผู้ที่อ่าน มีความเห็นว่า ผมได้ทำบุญตามที่บอก และ มีจิตที่ยินดีในการทำบุญของผมในครั้งนี้ ท่านผู้อ่านจะได้บุญในเรื่อง ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)

.

.

ผลบุญที่ผมได้ทำในครั้งนี้ ขออธิษฐานว่า ขอความไม่มีโรคภัยไข้เจ็บจงเกิดกับตัวข้าพเจ้า ความไม่มีอื่นๆจงอย่าได้เกิดกับตัวข้าพเจ้า และขอให้ข้าพเจ้าจงมีดวงตาที่เห็นในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างง่ายดายและรวดเร็วด้วยเทอญ

.

.

.

.**********************************.

.

.
.
.
กรัณฑวสูตร ให้ร้ายบุคคลอื่น การอยู่ร่วมกัน
.
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
กรัณฑวสูตร
.
.
            [๑๐๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัครา ใกล้นครจัมปา
.
สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่ถูกภิกษุทั้งหลายโจทด้วยอาบัตินั้นเอาเรื่องอื่นๆ มาพูดกลบเกลื่อน ชักเรื่องไปนอกทางเสียแสดงความโกรธเคืองและความไม่ยำเกรงให้ปรากฏ 
.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จงกำจัดบุคคลนั้นออกไป จงกำจัดบุคคลนั้นออกไป
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนชนิดนี้ต้องขับออก เป็นลูกนอกคอกกวนใจกระไร
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ การแล การเหลียว การคู้ การเหยียด การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร เหมือนภิกษุผู้เจริญเหล่าอื่น
.
ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติของเขาแต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา
เมื่อนั้นภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ
ครั้นรู้จักอย่างนี้แล้ว ย่อมนาสนะออกไปให้พ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่าภิกษุนี้อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหญ้าชนิดหนึ่งที่ทำลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือนข้าวตายรวง พึงเกิดขึ้นในนาข้าวที่สมบูรณ์ ราก ก้าน ใบของมันเหมือนกับข้าวที่ดีเหล่าอื่น ตราบเท่าที่มันยังไม่ออกรวง
.
แต่เมื่อใด มันออกรวง เมื่อนั้นจึงทราบกันว่า หญ้านี้ทำลายข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือนข้าวตายรวง ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว เขาจึงถอนมันพร้อมทั้งราก เอาไปทิ้งให้พ้นที่นา
.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า หญ้าชนิดนี้อย่าทำลายข้าวที่ดีอื่นๆ เลย  ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ ฯลฯ เพราะคิดว่า ภิกษุนี้อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกองข้าวเปลือกกองใหญ่ที่เขากำลังสาดอยู่ ในข้าวเปลือกกองนั้น ข้าวเปลือกที่เป็นตัว แกร่ง เป็นกองอยู่ส่วนหนึ่ง ส่วนที่หัก ลีบ ลมย่อมพัดไปไว้ส่วนหนึ่งเจ้าของย่อมเอาไม้กวาดวีข้าวที่หักและลีบออกไป
.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่ามันอย่าปนข้าวเปลือกที่ดีอื่นๆ เลย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ ฯลฯ เพราะคิดว่าภิกษุนี้ อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลต้องการกระบอกตักน้ำ ถือขวานอันคมเข้าไปในป่า เขาเอาสันขวานเคาะต้นไม้นั้นๆบรรดาต้นไม้เหล่านั้น ต้นไม้ที่แข็ง มีแก่น ซึ่งถูกเคาะด้วยสันขวาน ย่อมมีเสียงหนัก ส่วนต้นไม้ที่ผุใน น้ำชุ่ม เกิดยุ่ยขึ้น ถูกเคาะด้วยสันขวาน ย่อมมีเสียงก้องเขาจึงตัดต้นไม้ที่ผุในนั้นที่โคน ครั้นตัดโคนแล้ว จึงตัดปลาย ครั้นตัดปลายแล้วจึงคว้านข้างในให้เรียบร้อย แล้วทำเป็นกระบอกตักน้ำ ฉันใด
.
ดูกรภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน แลบุคคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ การแล การเหลียว การคู้ การเหยียด การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร เหมือนของภิกษุที่ดีเหล่าอื่น ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติของเขา แต่เมื่อใดภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้นภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ ครั้นรู้จักอย่างนี้แล้วย่อมนาสนะออกไปให้พ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ภิกษุนี้อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย ฯ
.
                เพราะการอยู่ร่วมกัน พึงรู้ได้ว่า ผู้นี้มีความปรารถนาลามก มักโกรธ มักลบลู่ หัวดื้อ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด บางคนในท่ามกลางประชุมชน พูดไพเราะ ดังพระสมณะพูดปิดบังความชั่วที่ตัวทำ มีความเห็นลามกไม่เอื้อเฟื้อ พูด เลอะเลือน พูดเท็จ เธอทั้งหลายทราบบุคคลนั้นว่าเป็นอย่างไรแล้ว จงพร้อมใจกันทั้งหมดขับบุคคลนั้นเสีย จงกำจัดบุคคลที่เป็นดังหยากเหยื่อ จงถอนบุคคลที่เสียในออกเสียแต่นั้น จงนำคนแกลบ  ผู้มิใช่สมณะแต่ยังนับว่า เป็นสมณะออกเสีย เธอทั้งหลาย เมื่อต้องอยู่ร่วมกับคนดีและคนไม่ดี ครั้นกำจัดคนที่มีความปรารถนาลามก มีอาจาระและโคจรลามกออกแล้ว จงเป็นผู้มีสติ แต่นั้น เธอทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้มีปัญญารักษาตน จักกระทำที่สุดทุกข์ได้ ฯ
.
.
จบสูตรที่ ๑๐
จบเมตตาวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
.
            ๑. เมตตสูตร  ๒. ปัญญาสูตร  ๓. อัปปิยสูตรที่ ๑  ๔. อัปปิยสูตร
ที่ ๒  ๕. โลกธรรมสูตร  ๖. โลกวิปัตติสูตร  ๗. เทวทัตตสูตร  ๘. อุตตร-
*สูตร  ๙. นันทสูตร  ๑๐. กรัณฑวสูตร
.
.
-----------------------------------------------------
.
.

.

#ไม่เคยนำปืนไปจ่อหัวบังคับใครให้กระทำ

#การกระทำเป็นการกระทำด้วยกายวาจาใจของตนเองทั้งสิ้น

.

.

.

#กระทำถูกกฎระเบียบหน่วยงานราชการและบริษัทแต่ผิดกฎหมายต้องถูกดำเนินคดี

#กระทำถูกต้องตามกฎหมายแต่ผิดกฎแห่งกรรมต้องไปใช้กรรมเสมอ

.

.

.

#ของจริงต้องพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง

.

.

.

#ต่อให้ไปไหว้พระพุทธรูปทั่วโลก

#ต่อให้ไปไหว้พระอริยสงฆ์ทั่วโลก

#ต่อให้ไปไหว้เทวรูปเทวดาทั่วโลก

#ไม่มีใครช่วยให้หนีกรรมพ้น

.

.

.

#ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน

#ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด

#ไม่มีใครหนีกรรมพ้น

#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น

.

.

.

#ต่อให้ใหญ่แค่ไหน

#ต่อให้รวยล้นฟ้าเพียงใด

#ไม่เคยมีใครหนีกรรมพ้น

#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังต้องชดใช้กรรม

#บุพกรรมพระพุทธเจ้า

.

.

4
.
.
ทำไมทำบุญแล้ว ไม่เห็นได้ดี
.
โพสโดย Dungtrin
.
.
ทำไมทำบุญแล้ว ไม่เห็นได้ดี?
ทำบุญแค่ไหน
ถ้าไม่ได้ทำด้วยใจ
หรือมีใจไม่ต่อเนื่อง
ก็ได้ดีมีสุขยาก
ทั้งชาตินี้และชาติหน้า
.
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
.
ตอนเช้าๆ อากาศดีๆ
พอเห็นพระเดินผ่านหน้าบ้านอย่างสำรวม
แล้วคุณนึกอยากใส่บาตรขึ้นมาเอง
.
จากนั้นวันต่อมา
สนองความปรารถนาของตนเอง
ตื่นขึ้นมาทำกับข้าวกับมือ
แล้วออกไปดักรอใส่บาตรท่าน
พอสำเร็จก็เกิดความปลาบปลื้มโสมนัสอยู่นาน
อย่างนั้นเรียกว่าทำบุญด้วยใจ
ให้ผลเป็นสุขทันที
.
กับทั้งมีกรรมขาวก่อตัวสำเร็จ
มองไม่เห็นด้วยตา แต่รู้สึกได้ด้วยใจ
เป็นเงาตามตัวรอให้ผลในชาติถัดไป
อย่างน้อยจะได้เกิดมา
ทำบุญใส่บาตรกับพระในพุทธศาสนาอีก
และอาจได้เป็นมนุษย์ผู้มีดี
มีอายุ วรรณะ สุข และพลัง
อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด
สมกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ผู้ให้อายุย่อมได้อายุ ผู้ให้วรรณะย่อมได้วรรณะ
ผู้ให้สุขย่อมได้สุข ผู้ให้กำลังย่อมได้กำลัง
.
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
.
อย่างไรก็ตาม
แม้ทำบุญด้วยใจ
ถ้ามีใจวันเดียว ทำหนเดียว
บุญนั้นก็มีกำลังอ่อน
วัดจากใจ ที่สุขได้อย่างมากวันเดียวก็จาง
และเมื่อถึงคิวบุญได้ช่องเผล็ดผลในชาติหน้า
ก็อาจมาแบบรางวัลใหญ่หนเดียวแล้วเว้นวรรคยาว
.
เช่น ได้มรดกช่วยชีวิตขณะใกล้ตกอับ
ซื้อหวยแล้วรวยยกระดับชีวิตได้
หรือกำลังหิวแล้วชอบมีคนเอาของดีๆมาให้กิน
แต่ก็มาง่ายไปง่าย ไม่นานก็หมด ลำบากกันต่อ
สรุปคือ ถ้าไม่ทำบุญด้วยใจให้ต่อเนื่อง
ผลของบุญก็เดี๋ยวเดียว ทั้งชาตินี้และชาติหน้า
อย่าให้ต้องพูดถึงบุญที่ฝืนใจทำ หรือทำด้วยความโลภ
คิดค้ากำไรเกินควร ทำสังฆทาน ๔ ถัง
แต่หวังจะถูกหวย ๔ ล้าน
.
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
.
อีกอย่าง การใส่บาตรเป็นบุญใหญ่อย่างหนึ่ง
แต่ไม่ใช่บุญเดียวที่มีอยู่ในธรรมชาติ
แค่คิดถึงคนอื่นในทางดี
ร่วมปลื้มกับความสำเร็จในทางดีของเขา
ไม่ริษยาหาทางบ่อนทำลายเขา
เท่านี้ก็จัดเป็นบุญอันเกิดจากมโนกรรมอันเป็นกุศลแล้ว
.
แค่ยั้งปากไม่พูดโกหก ด้วยความตั้งใจงดเว้นไว้ก่อน
แล้วทำตามความตั้งใจได้ เกิดความโล่งอกโล่งใจได้
ภาคภูมิใจในความมีใจใหญ่เกินกิเลสของตนได้
เท่านี้ก็จัดเป็นบุญอันเกิดจากวจีกรรมอันเป็นกุศลแล้ว
.
อย่างไรก็ตาม ชาวพุทธสมัยนี้มักจำสืบๆกันมาว่า
บุญมีหลายอย่าง ไม่ใช่ใส่บาตรอย่างเดียว
แต่ให้ถามจริงๆว่า บุญแบบไหนที่ตัวเองทำประจำ
ทำแล้วยังใจให้ชุ่มชื่นเป็นสุขได้อย่างต่อเนื่อง
หลายคนนึกไม่ออก บอกไม่ถูก
เพราะมักทำๆหยุดๆ ไม่โกหกวันนี้ ก็โกหกวันหน้า
มองแง่ดีเมื่อเขาเอาเงินมาให้
พอหายหน้าก็นินทาว่าร้าย
ขุดเรื่องน่าอายสมัยอนุบาลมาแฉ อย่างนี้เป็นต้น
.
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
.
ทางที่ดี คือ
เลือกที่จะทำบุญสักอย่าง หรือหลายๆอย่าง
ให้สม่ำเสมอ คงเส้นคงวาเป็นอาจิณ
อย่างที่ท่านเรียกว่า ‘อาจิณณกรรม’
.
จะได้บอกตัวเองถูกแบบจำได้ขึ้นใจว่าชาตินี้
บุญใหญ่ที่ทำด้วยใจอย่างต่อเนื่องของเราคืออะไร
ชาตินี้มีความสุขชนิดใดพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
.
กับทั้งพยากรณ์ตัวเองถูกว่าถ้าชาติหน้ามีจริง
เราจะได้เสวยบุญแบบไหนไม่เสื่อมคลาย
ผู้มีอาจิณณกรรม ทำบุญด้วยใจต่อเนื่อง
ย่อมไม่เสวยบุญแบบผลุบๆโผล่ๆ
และไม่มีทางบ่นว่า ทำบุญไม่เห็นได้บุญตรงไหน
ไม่เห็นได้ดีกับใครสักทีเลย!
.
.

5
ไหว้พระหน้าคอม / โพชฌังคปริตร
« เมื่อ: มกราคม 09, 2024, 08:17:16 pm »
.
.
บทสวดโพชฌังคปริตร ๙ จบ I บทพระพุทธปริตรพิชิตโรค (19.10 นาที)
.
https://www.youtube.com/watch?v=HO0K12ppqr4&t=419s
.
Bua Loy
30 ม.ค. 2023
.
.
โพชฌังคปริตร โพชฌังคปริตร ถือเป็นพุทธมนต์ที่ช่วยให้คนป่วยที่ได้สดับตรับฟังธรรมบทนี้แล้ว
สามารถหายจากโรคภัยไขเจ็บได้ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะมีเรื่องในพระไตรปิฎกเล่าว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหากัสสปะที่อาพาธ
พระองค์ทรงแสดงสัมโพชฌงค์แก่พระมหากัสสปะ
พบว่าพระมหากัสสปะสามารถหายจากโรคได้
อีกครั้งหนึ่ง พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมบทนี้แก่พระโมคคัลลานะซึ่งอาพาธ
หลังจากนั้น พบว่าพระโมคคัลลานะก็หายจากอาพาธได้
ในที่สุด เมื่อพระพุทธองค์เองทรงอาพาธ จึงตรัสให้พระจุนทเถระแสดงโพชฌงค์ถวาย
ซึ่งพบว่าพระพุทธเจ้าก็หายประชวร พุทธศาสนิกชนจึงพากันเชื่อว่า โพชฌงค์นั้น สวดแล้วช่วยให้หายโรค
ซึ่งในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นธรรมเกี่ยวกับปัญญาเป็นธรรมชั้นสูง
ซึ่งเป็นความจริงในเรื่องการทำใจให้สว่าง สะอาดผ่องใส ซึ่งสามารถช่วยรักษาใจ
เพราะจิตใจมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับร่างกาย
เนื่องจากกายกับใจเป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน
หลักของโพชฌงค์เป็นหลักปฏิบัติทั่วไปซึ่งไม่จำกัดเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น
เพราะโพชฌงค์ แปลว่า องค์แห่งโพธิ หรือองค์แห่งโพธิญาณ เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญา.
.
บทโพชฌงคปริตร
โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา, วิริยัมปีติปัสสัทธิ- โพขฌังคา จะ ตะถาปะเร. สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเตเต สัพพะทัสสินา, มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลีกะตา. สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา, เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา. เอกัส๎มิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง, คิลาเน ทุกขิเต ทิส๎วา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ. เต จะตัง อะภินันทิตวา โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ, เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา. เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต, จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง. สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส, เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา. ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง, มัคคาหะตะกิเลสา วะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง, เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา.
.
คำแปล
โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ ต้องมีสติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์เหล่านี้ อันพระมุนีเจ้าผู้เห็นธรรมทั้งสิ้นตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลมาเจริญทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน และเพื่อความตรัสรู้ ด้วยการกล่าวคําสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้าทอดพระเนตรพระโมคคัลลานะและพระมหากัสสปะ เป็นไข้ถึงทุกขเวทนาแล้ว ทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ ท่านทั้ง ๒ ก็เพลิดเพลินในภาษิตนั้น หายโรคในขณะนั้น ด้วยการกล่าวคําสัตย์นี้ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ ครั้งนึง แม้พระธรรมราชา อันความประชวรเบียดเบียนแล้ว รับสั่งให้พระจุนทเถระแสดงโพชฌงค์นั้นโดยยินดี ก็ทรงบันเทิงพระหฤหัย หายความประชวรนั้นไปโดยฐานะ ด้วยการกล่าวคําสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ ก็อาพาธทั้งหลายนั้น อันพระมหาฤษีทั้ง ๓ องค์ละได้แล้ว ถึงความไม่บังเกิดเป็นธรรมดา ดุจกิเลสมรรคกำจัด ด้วยการกล่าวคําสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ ฯ
.
เสียงสวด "โพชฌงคปริตร" จากการบันทึกเสียงสวดพระพุทธปริตรต่างๆ ในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร พร้อมด้วยคณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทาน ... อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือสวดมนต์ศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนาราม พิมพ์ในวาระฉลองอายุ ๘๐ ปี พระธรรมธัชมุนี (อมร ญาโณทโย) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม
.
.

.
.
โพชฌังคปริตร (๙ จบ) สวดมนต์สร้างสมาธิช่วยขจัดโรคร้าย (26.13 นาที)
.
https://www.youtube.com/watch?v=KA0LJsL65ak
อากงป๋อห่อ
16 มิ.ย. 2019
.
.


.
.
บทสวดโพชฌังคปริตร (เพื่อรักษาโรคดังสมัยพุทธกาล) (1.13.13 ชั่วโมง)
.
https://www.youtube.com/watch?v=V88eBIigBds
Samathi Channel
3 เม.ย. 2020
.
.

6
.
.
เรื่องนี้ ผมนำมาจาก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑   พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ
เรื่อง ประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วยบุพกรรมเก่า
.
.
เรื่องของกรรมดีและกรรมชั่ว ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่พระองค์ท่านเป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุดแล้ว และ ไม่มีใครในโลกใบนี้ เก่งกว่าพระองค์ท่าน
ยังต้องรับในผลกรรม  ทั้ง #กรรมดี และ #กรรมชั่ว
และ พระองค์ท่านก็ #ลบล้างกรรมดีและกรรมชั่วไม่ได้
.
.
.
ผมนำมาให้อ่านอีกครั้ง ในเรื่องของ บุพกรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่พระองค์ท่านยังต้องชดใช้กรรมในพระชาติสุดท้าย
และ เป็นเรื่องเตือนใจไม่ให้กระทำความชั่ว ครับ
.
.
และ ผมขอทำบุญตามหลักบุญกริยาวัตถุ 10 คือ ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้) ถึงแม้ไม่มีใครเปิดฟัง หรือ อ่านธรรมะ บุญนั้นก็สำเร็จจากการกระทำของผมทั้ง กาย , วาจา(คือการโพส) และ ใจ(เจตนา)
.
หากมีผู้ที่ฟัง (ที่เคยมีความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง) เมื่อฟังแล้ว มีความเห็นที่ถูกต้อง) ผมได้ทำบุญในเรื่อง ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)
.
มาร่วมโมทนาบุญกัน บุญเสมอกัน ครับ
.
หากมีผู้ที่อ่าน มีความเห็นว่า ผมได้ทำบุญตามที่บอก และ มีจิตที่ยินดีในการทำบุญของผมในครั้งนี้ ท่านผู้อ่านจะได้บุญในเรื่อง ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)
.
.
.**********************************.
.
.
ประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วยบุพกรรมเก่า
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
.
๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ
ประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วยบุพกรรมเก่า
.
.

(พระอานนทเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วยบุพกรรมเก่า จึงกล่าวว่า)

             [๖๔]            ณ พื้นศิลาที่น่ารื่นรมย์ ใกล้สระอโนดาต  โชติช่วงด้วยรัตนะต่างๆ  ในละแวกป่ามีดอกไม้มีกลิ่นหอมนานาชนิด

             [๖๕]            พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก มีหมู่ภิกษุหมู่ใหญ่ห้อมล้อม  ประทับนั่งที่ศิลาอาสน์นั้น  ทรงพยากรณ์บุพกรรมของพระองค์ว่า

             [๖๖]            ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงฟังกรรมของเรา  เราเห็นภิกษุ ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร   จึงได้ถวายผ้าเก่าผืนหนึ่ง

             [ก]                   ในกาลนั้น ข้าพเจ้าปรารถนาการตรัสรู้  เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ผลของการถวายผ้าเก่าให้ผลในความเป็นพระพุทธเจ้า

             [ข]                   ในชาติปางก่อน เราเกิดเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง  เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่น จึงห้ามมันไว้

             [ค]                   ด้วยผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เรากระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๕๗๔}

.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค]

๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ

.

            [๖๗]            ในชาติอื่นๆ ในปางก่อน  เราเกิดเป็นนักเลงชื่อว่าปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้ามีนามว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายใคร

             [๖๘]            ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงได้เวียนว่ายตายเกิด  อยู่ในนรกเป็นเวลานาน เสวยทุกขเวทนาหลายพันปี

             [๖๙]            ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น  ในภพสุดท้ายนี้ เราได้รับการกล่าวตู่  เพราะนางสุนทรีเป็นเหตุ

             [๗๐]            เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่านันทะ  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง  เราจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานาน

             [๗๑]            เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานานถึง ๑๐๐,๐๐๐ ปี  ครั้นได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็ได้รับการกล่าวตู่มาก

             [๗๒]            ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น  นางจิญจมาณวิกาจึงมากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริงท่ามกลางหมู่ชน

             [๗๓]            เราเกิดเป็นพราหมณ์  ผู้มีสุตะซึ่งประชาชนสักการบูชา ได้สอนมนตร์ให้มาณพประมาณ ๕๐๐ คน ในป่าใหญ่

             [๗๔]            เราได้เห็นฤๅษีผู้น่าเกรงกลัว ผู้ได้อภิญญา ๕  มีฤทธิ์มาก มายังสำนักของเรา  เราจึงกล่าวตู่ฤๅษีผู้ไม่ประทุษร้ายใคร

             [๗๕]            ครั้งนั้น เราได้บอกพวกศิษย์ว่า ฤๅษีตนนี้มักบริโภคกามคุณ  เพียงเราบอกเท่านั้น พวกมาณพก็พลอยเชื่อ

             [๗๖]            ตั้งแต่นั้นมา พวกมาณพทั้งหมด  ไปเที่ยวหาอาหารในตระกูลทั้งหลาย  พากันบอกประชาชนว่า ฤๅษีตนนี้มักบริโภคกามคุณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๕๗๕}

.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค]

๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ

.

             [๗๗]            ด้วยผลกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ได้รับการกล่าวตู่ เพราะนางสุนทรีเป็นเหตุ

             [๗๘]            ในชาติก่อน เราได้ฆ่าน้องชายต่างมารดา  เพราะเหตุแห่งทรัพย์  จับโยนลงซอกภูเขา แล้วโยนหินทับไว้

             [๗๙]            ด้วยผลกรรมนั้น พระเทวทัตจึงผลักก้อนหินกลิ้งลงมา  สะเก็ดหินกระทบนิ้วหัวแม่เท้าของเรา (จนห้อเลือด)

             [๘๐]            ในชาติก่อน เรายังเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่ ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า  จึงหว่านก้อนกรวดไว้ที่หนทาง

             [๘๑]            ด้วยผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้  พระเทวทัตจึงชักชวนนักแม่นธนู  ผู้เป็นนักฆ่า เพื่อฆ่าเรา

             [๘๒]            ในชาติก่อน เราเป็นนายควาญช้าง ได้ไสช้างไล่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นพระมุนีสูงสุด  ซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาต

             [๘๓]            ด้วยผลกรรมนั้น ช้างนาฬาคีรีเชือกดุร้าย จึงวิ่งไล่เราในกรุงราชคฤห์อันประเสริฐ

             [๘๔]            ในชาติก่อน เราเป็นทหารราบ ได้ใช้หอกฆ่าคนจำนวนมาก ด้วยผลกรรมนั้น  เราจึงถูกไฟไหม้อย่างร้อนแรงในนรก

             [๘๕]            ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่  ในบัดนี้ ไฟนั้นยังตามมา ไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราทุกแห่ง เพราะกรรมยังไม่สิ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๕๗๖}

.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค]

๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ

.

             [๘๖]            ในชาติก่อน เราเป็นเด็กเล็กลูกของชาวประมง  อาศัยอยู่ในเกวัฏฏคาม  เห็นชาวประมงฆ่าปลาแล้วเกิดความโสมนัส

             [๘๗]            ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงปวดศีรษะ เมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายถูกฆ่า คราวที่พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่า

             [๘๘]            เราได้ด่าบริภาษเหล่าสาวกในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะด้วยคำว่า ท่านทั้งหลายจงขบเคี้ยว  จงฉันแต่ข้าวเหนียว อย่าได้ฉันข้าวสาลีเลย

             [๘๙]            ด้วยผลกรรมนั้น เรารับนิมนต์พราหมณ์อยู่จำพรรษาในเมืองเวรัญชา ได้ฉันแต่ข้าวเหนียว ตลอด ๓ เดือน

             [๙๐]            ในชาติก่อน เมื่อนักมวยกำลังชกกัน เราได้กันบุตรชายนักมวยปล้ำไว้ ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงเกิดความทุกข์ที่สันหลัง(ปวดหลัง)

             [๙๑]            ในชาติก่อน เราเป็นหมอรักษาโรคได้ถ่ายยาให้ลูกชายเศรษฐี(ถึงแก่ความตาย) ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงป่วยเป็นโรคปักขันทิกาพาธ

             [๙๒]            ครั้งนั้น ข้าพเจ้าชื่อว่าโชติปาละ ได้กล่าวกับพระสุคตพระนามว่ากัสสปะว่า การตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์จักมีมาแต่ที่ไหน การตรัสรู้หาได้แสนยาก

             [๙๓]            ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงได้บำเพ็ญทุกรกิริยานานถึง ๖ ปี ต่อจากนั้น จึงได้บรรลุพระโพธิญาณที่ตำบลอุรุเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๕๗๗}

.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค]

รวมอปทานที่มีในวรรค

.

             [๙๔]            แต่ว่า เราก็มิได้บรรลุพระโพธิญาณที่สูงสุดด้วยทางนี้ เราถูกกรรมในปางก่อนตักเตือนแล้ว จึงแสวงหา(โพธิญาณ)ผิดทาง

             [๙๕]            เราสิ้นบาปสิ้นบุญแล้ว ปราศจากความเร่าร้อนทุกอย่าง ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีอาสวะ จักปรินิพพาน

             [๙๖]            พระพุทธชินเจ้าได้ทรงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวงแล้ว ทรงพยากรณ์โดยมุ่งหวังประโยชน์สำหรับหมู่ภิกษุที่ใกล้สระใหญ่ชื่ออโนดาต ด้วยประการฉะนี้แล ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงภาษิตธรรมบรรยายพุทธาปทาน ชื่อปุพพกัมมปิโลติ ซึ่งเป็นบุพจริตของพระองค์ ด้วยประการฉะนี้แล

.

พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติที่ ๑๐ จบ

อัมพฏผลวรรคที่ ๓๙ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

.

                      ๑. อัมพฏผลทายกเถราปทาน         ๒. ลพุชทายกเถราปทาน

                      ๓. อุทุมพรผลทายกเถราปทาน       ๔. ปิลักขผลทายกเถราปทาน

                      ๕. ผารุสผลทายกเถราปทาน           ๖. วัลลิผลทายกเถราปทาน

                      ๗. กทลิผลทายกเถราปทาน            ๘. ปนสผลทายกเถราปทาน

                      ๙. โสณโกฏิวีสเถราปทาน               ๑๐. พุทธาปทานชื่อว่าปุพพกัมมปิโลติ

.

ภาณวารที่ ๑๔ จบ

.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๕๗๘}

.
.
.
.**********************************.
.
.
#ไม่เคยนำปืนไปจ่อหัวบังคับใครให้กระทำ
#การกระทำเป็นการกระทำด้วยกายวาจาใจของตนเองทั้งสิ้น
.
.
.
#กระทำถูกกฎระเบียบหน่วยงานราชการและบริษัทแต่ผิดกฎหมายต้องถูกดำเนินคดี
#กระทำถูกต้องตามกฎหมายแต่ผิดกฎแห่งกรรมต้องไปใช้กรรมเสมอ
.
.
.
#ของจริงต้องพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง
.
#ต่อให้ไปไหว้พระพุทธรูปทั่วโลก
#ต่อให้ไปไหว้พระอริยสงฆ์ทั่วโลก
#ต่อให้ไปไหว้เทวรูปเทวดาทั่วโลก
#ไม่มีใครช่วยให้หนีกรรมพ้น
.
.
.
#ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน
#ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด
#ไม่มีใครหนีกรรมพ้น
#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น
.
.
.
#ต่อให้ใหญ่แค่ไหน
#ต่อให้รวยล้นฟ้าเพียงใด
#ไม่เคยมีใครหนีกรรมพ้น
#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังต้องชดใช้กรรม
#บุพกรรมพระพุทธเจ้า
.
.

7
.
ผมนำมาให้อ่านอีกครั้ง ในเรื่องของ บุพกรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ท่านยังต้องชดใช้กรรมในพระชาติสุดท้าย
และ เป็นเรื่องเตือนใจไม่ให้กระทำความชั่ว ครับ
.
.
และ ผมขอทำบุญตามหลักบุญกริยาวัตถุ 10 คือ ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้) ถึงแม้ไม่มีใครเปิดฟัง หรือ อ่านธรรมะ บุญนั้นก็สำเร็จจากการกระทำของผมทั้ง กาย , วาจา(คือการโพส) และ ใจ(เจตนา)
.
หากมีผู้ที่ฟัง (ที่เคยมีความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง) เมื่อฟังแล้ว มีความเห็นที่ถูกต้อง) ผมได้ทำบุญในเรื่อง ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)
.
มาร่วมโมทนาบุญกัน บุญเสมอกัน ครับ
.
หากมีผู้ที่อ่าน มีความเห็นว่า ผมได้ทำบุญตามที่บอก และ มีจิตที่ยินดีในการทำบุญของผมในครั้งนี้ ท่านผู้อ่านจะได้บุญในเรื่อง ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)
.
.
.**********************************.
.
.
พระพุทธเจ้าได้เคยทำกรรมชั่วอะไรไว้บ้างในอดีต
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
นานาปัญหา
โดย คณะสหายธรรม
.
๗. พระพุทธเจ้าได้เคยทำกรรมชั่วอะไรไว้บ้างในอดีต
.
          ถาม  ตามพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าทรงอาพาธหนักหลายครั้ง แม้เมื่อใกล้จะปรินิพพานนั่น ก็แสดงว่า ในอดีตพระพุทธเจ้าเองก็ได้เคยกระทำกรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องอาพาธมาแล้วใช่ไหม พระองค์ทรงแสดงไว้หรือไม่ว่า เคยทำกรรมชั่วอะไรไว้ ถ้าทรงแสดง ช่วยเล่าให้ฟังด้วย
.
          ตอบ  เรื่องกรรมเก่าของพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยพระองค์เองในคัมภีร์อปทาน ตอนที่ว่าด้วยปุพพกัมปิโลติ พุทธาปทาน ข้อ ๓๙๒ ถึงกรรมเก่าที่พระองค์ทรงกระทำมาแล้วในอดีต ๑๔ ข้อ ๑๔ ข้อนั้นมีดังนี้
.
          ๑. เราเห็นภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่งแล้ว ได้ถวายผ้าเก่า เราปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรก เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าในกาลนั้น ผลของกรรมคือการถวายผ้าเก่า ย่อมอำนวยผลให้เป็นพระพุทธเจ้า กรรมเก่าข้อแรกนี้เป็นกุศลกรรม
.
          ๒. ในกาลก่อน เราเป็นนายโคบาลต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัวจึงห้ามมัน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ แม้เราจะกระหายน้ำก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามปรารถนา
.
          ๓. ในชาติอื่นแต่กาลก่อน เราเป็นนักเลงชื่อปุนาลิ บางแห่งเป็นมุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสหลายพันปีเป็นอันมาก ด้วยกรรมอันเหลือนั้นในภพหลังสุด เราจึงได้รับคำกล่าวตู่ เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา
.
          ๔. เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่านันทะ สาวกของพระพุทธเจ้าผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงท่องเที่ยวอยู่ในนรกสิ้นกาลนานถึงหมื่นปี ได้ความเป็นมนุษย์แล้วได้ถูกกล่าวตู่เป็นอันมาก ด้วยผลกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมานวิกามากับหมู่ชน ได้กล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่จริง
.
          ๕. เมื่อก่อนเราเป็นพราหมณ์ชื่อสุตวา อันชนทั้งหลายสักการะบูชา สอนมนต์ให้กับมาณพ ๕๐๐ คนอยู่ในป่าใหญ่ ได้เห็นฤาษีผู้น่ากลัว ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มาในสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤาษีผู้ไม่ประทุษร้าย โดยได้บอกกะพวกศิษย์ของเราว่าฤาษีพวกนี้มักบริโภคกาม แม้เมื่อเราบอกเท่านั้น พวกมาณพก็เชื่อฟัง ครั้งนั้นมาณพทั้งปวงเที่ยวไปภิกขาในสกุล พากันบอกแก่มหาชนว่าฤาษีพวกนี้มักบริโภคกาม ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ภิกษุทั้ง ๕๐๐ เหล่านี้ได้รับคำกล่าวตู่ทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา
.
          ๖. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ในกาลก่อน เราได้ฆ่าพี่น้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่งทรัพย์จับใส่ลงในซอกเขา แล้วทับด้วยหิน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระเทวทัตจึงผลักก้อนหินกลิ้งลงมากระทบนิ้วเท้าของเราจนห้อเลือด
.
          ๗. ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ในหนทางใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ใส่ไฟเผาดักไว้ทั่วหนทาง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ พระเทวทัตจึงชักชวนนายขมังธนูผู้ฆ่าคนตายมาก เพื่อให้ฆ่าเรา
.
          ๘. ในกาลก่อน เราเป็นนายควาญช้างได้ไสช้าง ให้จับมัดพระปัจเจกมนีผู้สูงสุด แม้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีตัวดุร้าย วิ่งแล่นเข้าไปในคอกเขา เบื้องหน้าผู้ประเสริฐ
.
          ๙. ในกาลก่อน เราเป็นทหารราบ เป็นแม่ทัพฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรมที่เหลือนั้น บัดนี้ไฟนั้นยังมาไหม้ที่เท้าของเราทั้งสิ้นอีก เพราะกรรมยังไม่พินาศไป
.
          ๑๐. ในกาลก่อน เราเป็นเด็กลูกของชาวประมงในบ้านเกวัฏฏคาม เห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาแล้วเกิดความโสมนัส ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะคือปวดศีรษะได้มีแล้วแก่เรา ในเมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายถูกเบียดเบียน ถูกพระเจ้าวิฏฏุภะฆ่าแล้ว พระเจ้าวิฏฏุภะนี้คือพระเจ้าวิฑูฑภะที่ฆ่าเจ้าศากยะนั่นเอง
.
          ๑๑. เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลายในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ ว่า “ท่านทั้งหลายจงเคี้ยว จงกินแต่ข้าวแดง อย่ากินข้าวสาลีเลย” ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้วอยู่ในเมืองเวรัญชา ได้บริโภคข้าวแดงตลอด ๓ เดือน
.
          ๑๒. ในเวลาที่นักมวยปล้ำๆ กันอยู่ เราได้เบียดเบียนบุตรนักมวยปล้ำ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความปวดหลังได้มีแก่เรา
.
          ๑๓. เมื่อก่อน เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้บุตรเศรษฐีตาย ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นโรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา โรคนี้แหละที่เกิดแก่พระพุทธเจ้าของเราในเวลาใกล้จะปรินิพพาน
.
          ๑๔. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล่าว่า เมื่อเราเป็นมาณพชื่อโชติปาละ ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ในกาลนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหนโพธิญาณนั้นท่านได้ยากยิ่ง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นเราได้ทำกรรมที่ทำได้ยากคือทุกกรกิริยา ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่นั้นจึงได้บรรลุโพธิญาณ แต่เรามิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้ คือมิได้บรรลุโพธิญาณด้วยทุกกรกิริยานี้ เราอันบุพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณในทางที่ผิด บัดนี้เราเป็นผู้สิ้นบาปและบุญ เว้นจากความเร่าร้อนทั้งปวงไม่มีความโศกเศร้า ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน
.
          ทั้งหมดนี้คือกรรมเก่าของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงกระทำไว้ในอดีต ตั้งแต่ยังมิได้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นกุศลเพียงข้อ ๑ ข้อเดียวเท่านั้น ที่เหลืออีก ๑๓ ข้อเป็นอกุศลทั้งสิ้น
.
.
.
ที่มา อ้างอิงและแนะนำ :-
          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔
          ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
          พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติที่ ๑๐
          ว่าด้วย บุพจริยาของพระองค์เอง
          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕
          ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
          กัสสปพุทธวงศ์ที่ ๒๔
          ว่าด้วย พระประวัติพระกัสสปพุทธเจ้า
          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕
          มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
          ฆฏิการสูตร
          อรรถกถา มณิสูกรชาดก
          ว่าด้วย ของดีใครทำลายไม่ได้
          [เรื่อง นางสุนทรีกล่าวตู่พระพุทธเจ้า]
          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑
          มหาวิภังค์ ภาค ๑
          เวรัญชกัณฑ์
                    เรื่องเวรัญชพราหมณ์
                    เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
                    ทรงอุปมาด้วยลูกไก่
                    ทรงแสดงฌาน ๔ และวิชชา ๓
                    เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
                    เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย
                    พระพุทธประเพณี
                    พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท
                    เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
                    ปรารภเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท
                    เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์
.
.

8
.
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
.
๗. ฐานสูตร
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
[๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความแก่ไปได้ ๑ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑ เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑ เราจะต้องพลัดพรากจาก ของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑ เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่ว ก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความแก่ไปได้
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวมีอยู่แก่สัตว์ ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขา พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวนั้นได้โดย สิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามี ความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ฯ
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วง พ้นความเจ็บไข้ไปได้
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความไม่มีโรคมีอยู่แก่ สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในความไม่มีโรคนั้นได้โดย สิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามี ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้ ฯ
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่ง เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะ นั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลง ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้ ฯ
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของ ชอบใจทั้งสิ้น
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์ ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขา พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความพอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้อง พลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ฯ
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่ง กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย อำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณา เนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจัก เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ฯ
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
.
เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรค ย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อริยสาวก นั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่มีความเจ็บไข้เป็น ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ ไปได้
.
เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวก นั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
.
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตาย ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วน มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
.
เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะ นั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียว เท่านั้นที่จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวง บรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของรักของ ชอบใจทั้งสิ้น
.
เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้ มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อม
.
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาท แห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
.
โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดา ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่ง กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะ นั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา สัตว์ทั้งหลายย่อม เป็นไปตามธรรมดา พวกปุถุชนย่อมเกลียด ถ้าเราพึงเกลียด ธรรมนั้น ในพวกสัตว์ผู้มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ข้อนั้นไม่ สมควรแก่เราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ เรานั้นเป็นอยู่อย่างนี้ ทราบ ธรรมที่หาอุปธิมิได้ เห็นการออกบวชโดยเป็นธรรมเกษม ครอบงำความมัวเมาทั้งปวงในความไม่มีโรค ในความเป็น หนุ่มสาว และในชีวิต ความอุตสาหะได้มีแล้ว แก่เราผู้ เห็นเฉพาะซึ่งนิพพาน บัดนี้ เราไม่ควรเพื่อเสพกามทั้งหลาย จักเป็นผู้ประพฤติไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าประพฤติพรหมจรรย์ ฯ
.
จบสูตรที่ ๗
.
.

9
.
.
สวัสดีวันอาทิตย์หรรษา
เป็นวันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม 2566 วันสุดท้ายของปี 2566
เรื่องใดที่ไม่ดี ก็ให้ทิ้งไปในปีนี้ให้หมด
ปีหน้าคือปี 2567 เริ่มต้นทำในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ให้กับตนเอง (และหมู่คณะ ถ้าทำได้)
.
สำหรับวันนี้ ผมขอนำธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม พระโคตมพุทธเจ้า นำมาให้อ่านกัน
หากเรื่องใดที่ต้องการกระทำความดี สามารถทำความดีได้ทุกวัน ไม่จำเป็นต้องมีฤกษ์ในการเริ่มต้น ครับ
.
.
.***********************************.
.
.
อรรถกถา นักขัตตชาดก
ว่าด้วย ประโยชน์คือฤกษ์
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอาชีวกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ เป็นอาทิ.
.
ได้ยินว่า กุลบุตรชาวบ้านนอกผู้หนึ่ง ไปขอกุลธิดานางหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ให้แก่ลูกชายของตน นัดหมายวันกันว่า ในวันโน้น จักมารับเอาตัวไป. ครั้นถึงวันนัด จึงถามอาชีวก ผู้เข้าไปสู่ตระกูลของตน ว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้ พวกผมจักทำมงคลอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมครับ.
.
อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่า คนผู้นี้ ครั้งแรกไม่ถามเราเลย บัดนี้ เลยวันไปแล้ว กลับมาถามเรา เอาเถิด จักต้องสั่งสอนเขาเสียบ้าง. จึงพูดว่า วันนี้ ฤกษ์ไม่ดี พวกท่านอย่ากระทำการมงคล ในวันนี้เลย ถ้าขืนทำจักพินาศใหญ่.
.
พวกมนุษย์ในตระกูลพากันเชื่ออาชีวกนั้น ไม่ไปรับตัวในวันนั้น. ฝ่ายพวกชาวเมืองจัดการมงคลไว้พร้อมแล้ว ไม่เห็นพวกนั้นมา ก็กล่าวว่า พวกนั้นกำหนดไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา แม้การงานของพวกเรา ก็ใกล้จะสำเร็จแล้ว เรื่องอะไรจักต้องไปคอยพวกนั้น จักยกธิดาของเราให้คนอื่นไป แล้วก็ยกธิดาให้แก่ตระกูลอื่นไป ด้วยการมงคลที่เตรียมไว้ นั้นแหละ.
.
ครั้นวันรุ่งขึ้น พวกที่ขอไว้ก็พากันมาถึง แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงส่งตัวเจ้าสาวให้พวกเราเถิด. ทันใดนั้น ชาวเมืองสาวัตถีก็พากันบริภาษพวกนั้นว่า พวกท่านสมกับที่ได้ชื่อว่า เป็นคนบ้านนอก ขาดความเป็นผู้ดี เป็นคนลามก กำหนดวันไว้แล้ว ดูหมิ่นเสีย ไม่มาตามกำหนด เชิญกลับไปตามทางที่มากัน นั่นแหละ. พวกเรายกเจ้าสาวให้คนอื่นแล้ว.
.
พวกชาวบ้านนอกก็พากันทะเลาะกับชาวเมือง ครั้นไม่ได้เจ้าสาว ก็ต้องพากันไปตามทางที่มา นั่นเอง. เรื่องที่อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของมนุษย์เหล่านั้น ปรากฏว่ารู้กันทั่วไปในระหว่างภิกษุทั้งหลาย. และภิกษุเหล่านั้นประชุมกันในธรรมสภา นั่งพูดกันว่า อาวุโสทั้งหลาย อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของตระกูลเสียแล้ว.
.
พระศาสดาเสด็จมา แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอกำลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? ครั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว. ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของตระกูลนั้นเสีย แม้ในกาลก่อน ก็โกรธคนเหล่านั้น กระทำอันตรายงานมงคลเสียแล้ว เหมือนกัน แล้วทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ชาวพระนครพากันไปสู่ขอธิดาของชาวชนบท กำหนดวันแล้ว ถามอาชีวกผู้คุ้นเคยกันว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้ ผมจะกระทำงานมงคลสักอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมขอรับ. อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่า คนพวกนี้กำหนดวันเอาตามพอใจตน บัดนี้ กลับถามเรา คิดต่อไปว่า ในวันนี้ เราจักทำการขัดขวางงานของคนเหล่านั้นเสีย แล้วกล่าวว่า วันนี้ ฤกษ์ไม่ดี ถ้ากระทำการมงคลจักพากันถึงความพินาศใหญ่. คนเหล่านั้นพากันเชื่ออาชีวก จึงไม่ไปรับเจ้าสาว. ชาวชนบททราบว่า พวกนั้นไม่มา ก็พูดกันว่า พวกนั้นกำหนดวันไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา ธุระอะไรจักต้องคอยคนเหล่านั้น แล้วก็ยกธิดาให้แก่คนอื่น.
.
รุ่งขึ้น ชาวเมืองพากันมาขอรับเจ้าสาว ชาวชนบทก็พากันกล่าวว่า พวกท่านขึ้นชื่อว่า เป็นชาวเมือง แต่ขาดความเป็นผู้ดี กำหนดวันไว้แล้ว แต่ไม่มารับเจ้าสาว เพราะพวกท่านไม่มา เราจึงยกให้คนอื่นไป.
.
ชาวเมืองกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกดู ได้ความว่า ฤกษ์ไม่ดีจึงไม่มา จงให้เจ้าสาวแก่พวกเราเถิด. ชาวชนบทแย้งว่า เพราะพวกท่านไม่มากัน พวกเราจึงยกเจ้าสาวให้คนอื่นไปแล้ว คราวนี้จักนำตัวเจ้าสาวที่ให้เขาไปแล้วมาอีกได้ อย่างไรเล่า?
.
เมื่อคนเหล่านั้นโต้เถียงกันไป โต้เถียงกันมา อยู่อย่างนี้ ก็พอดี มีบุรุษผู้เป็นบัณฑิตชาวเมืองคนหนึ่ง ไปชนบทด้วยกิจการบางอย่าง ได้ยินชาวเมืองเหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกแล้ว จึงไม่มาเพราะฤกษ์ไม่ดี ก็พูดว่า ฤกษ์จะมีประโยชน์อะไร เพราะการได้เจ้าสาวก็เป็นฤกษ์อยู่แล้ว มิใช่หรือ? ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ ความว่า :-
.
“ ประโยชน์ผ่านพ้นคนโง่ ผู้มัวคอยฤกษ์ยามอยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวทั้งหลาย จักทำอะไรได้ ” ดังนี้.
.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิมาเนนฺตํ ความว่า ผู้คอยดูอยู่ อธิบายว่า มัวรอคอยอยู่ว่า ฤกษ์จะมีในบัดนี้ จักมีในบัดนี้.
.
บทว่า อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา ความว่า ประโยชน์ กล่าวคือการได้เจ้าสาว ผ่านพ้นคนโง่ผู้เป็นชาวเมืองนี้.
.
บทว่า อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ ความว่า บุคคลเที่ยวแสวงหาประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เขาได้แล้วนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นฤกษ์ของประโยชน์.
.
บทว่า กึ กริสฺสนฺติ ตารกา ความว่า ก็ดวงดาวทั้งหลายในอากาศนอกจากนี้ จักยังประโยชน์เช่นไรให้สำเร็จได้.
.
พวกชาวเมืองทะเลาะกับพวกนั้นแล้ว ก็ไม่ได้เจ้าสาวอยู่นั่นเอง เลยพากันไป.
.
แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกนั้นทำการขัดขวางงานมงคลของตระกูลนั้น ถึงในครั้งก่อน ก็ได้กระทำแล้วเหมือนกัน.
.
ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาตรัสแล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
.
อาชีวกในครั้งนั้น ได้มาเป็นอาชีวกในครั้งนี้
.
แม้ตระกูลทั้งนั้นในครั้งนั้น ก็ได้มาเป็นตระกูลในครั้งนี้
.
ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิต ผู้ยืนกล่าวคาถา ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.
.
.. อรรถกถา นักขัตตชาดก จบ.
.
.
.***********************************.
.
.
#ไม่เคยนำปืนไปจ่อหัวบังคับใครให้กระทำ
#การกระทำเป็นการกระทำด้วยกายวาจาใจของตนเองทั้งสิ้น
.
.
.
#กระทำถูกกฎระเบียบหน่วยงานราชการและบริษัทแต่ผิดกฎหมายต้องถูกดำเนินคดี
#กระทำถูกต้องตามกฎหมายแต่ผิดกฎแห่งกรรมต้องไปใช้กรรมเสมอ
.
.
.
#ของจริงต้องพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง
.
#ต่อให้ไปไหว้พระพุทธรูปทั่วโลก
#ต่อให้ไปไหว้พระอริยสงฆ์ทั่วโลก
#ต่อให้ไปไหว้เทวรูปเทวดาทั่วโลก
#ไม่มีใครช่วยให้หนีกรรมพ้น
.
.
.
#ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน
#ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด
#ไม่มีใครหนีกรรมพ้น
#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น
.
.
.
#ต่อให้ใหญ่แค่ไหน
#ต่อให้รวยล้นฟ้าเพียงใด
#ไม่เคยมีใครหนีกรรมพ้น
#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังต้องชดใช้กรรม
#บุพกรรมพระพุทธเจ้า
.
.

10
.
.
กรรมเป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่ากลัวมาก
.
หากกรรมดี เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง สั่งสมกรรมดี เพื่อเป็นเสบียงไว้ใช้ในการเดินทาง ที่ส่งผลให้ระยะเวลาในการเดินทางไปพระนิพพาน ไม่นานมาก
.
หากเป็นกรรมชั่ว เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก เนื่องจากต้องเสียเวลาในการไปชดใช้กรรมชั่วนั้น ทำให้ระยะเวลาในการเดินทางไปพระนิพพาน ยาวนานขึ้นมาก
.
เรื่องของ กรรมดี และ กรรมชั่ว สามารถเลือกกระทำได้ด้วยตนเอง
อยากจะทำอะไร แล้วแต่ใจตนเอง
.
บุญที่ทุกท่านสามารถกระทำได้ด้วยตนเอง มีวิธีการทำบุญได้ 10 วิธีนี้เท่านั้น
.
นั่นคือ บุญกริยาวัตถุ 10 ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม พระโคตมพุทธเจ้า ทรงได้สั่งสอนเวนัยสัตว์โลกทั้งหลายไว้ และ พระองค์ท่านไม่เคยตรัสในเรื่องใดที่ไม่ถูกต้องเลย
.
วิธีอื่น ไม่ใช่การทำบุญ
.
อีกประการหนึ่งก็คือ การกระทำในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกรรมดี และ กรรมชั่ว ทุกท่านสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเองว่า เรื่องที่เรากระทำไปนั้น เป็นเรื่องที่ดี หรือ เรื่องที่ชั่ว
.
.
.*************************************.
.
.
วิบากกรรมที่ทำให้เสียดวงตาของในหลวง ร.9 โดย หลวงปู่ท่อน ญานธโร
.
https://www.youtube.com/watch?v=FKFs5ZQpuHY
.
INFINITY.Chanel
23 ก.ค. 2022
.
.
.*************************************.
.
.
[89] บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี — bases of meritorious action)
.
      1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in generosity; merit acquired by giving)
.
      2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี — by observing the precepts or moral behavior)
.
      3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ — by mental development)
.
      4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม — by humility or reverence)
.
      5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ — by rendering services)
.
      6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น — by sharing or giving out merit)
.
      7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น — by rejoicing in others’ merit)
.
      8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ — by listening to the Doctrine or right teaching)
.
      9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ — by teaching the Doctrine or showing truth)
.
      10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง — by straightening one’s views or forming correct views)
.
      ข้อ 4 และข้อ 5 จัดเข้าในสีลมัย; 6 และ 7 ในทานมัย; 8 และ 9 ในภาวนามัย; ข้อ 10 ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา
.
.
.*************************************.
.
.
กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
.
.
[317] กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 (หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร — how to deal with doubtful matters; advice on how to investigate a doctrine, as contained in the Kalamasutta)
.
       1. มา อนุสฺสเวน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา — Be not led by report)
.
       2. มา ปรมฺปราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา — Be not led by tradition)
.
       3. มา อิติกิราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ — Be not led by hearsay)
.
       4. มา ปิฎกสมฺปทาเนน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ — Be not led by the authority of texts)
.
       5. มา ตกฺกเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก — Be not led by mere logic)
.
       6. มา นยเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน — Be not led by inference)
.
       7. มา อาการปริวิตกฺเกน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล — Be not led by considering appearances)
.
       8. มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว — Be not led by the agreement with a considered and approved theory)
.
       9. มา ภพฺพรูปตาย (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ — Be not led by seeming possibilities)
.
       10. มา สมโณ โน ครูติ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา — Be not led by the idea, ‘This is our teacher’)
.
       ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
       สูตรนี้ ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติยสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาลามะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาลามะนั้นเป็นชาวเกสปุตตนิคม
.
A.I.189
องฺ.ติก. 20/505/241.
.
.
.*************************************.
.
.

#ไม่เคยนำปืนไปจ่อหัวบังคับใครให้กระทำ
#การกระทำเป็นการกระทำด้วยกายวาจาใจของตนเองทั้งสิ้น
.
.
.
#กระทำถูกกฎระเบียบหน่วยงานราชการและบริษัทแต่ผิดกฎหมายต้องถูกดำเนินคดี
#กระทำถูกต้องตามกฎหมายแต่ผิดกฎแห่งกรรมต้องไปใช้กรรมเสมอ
.
.
.
#ของจริงต้องพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง
.
#ต่อให้ไปไหว้พระพุทธรูปทั่วโลก
#ต่อให้ไปไหว้พระอริยสงฆ์ทั่วโลก
#ต่อให้ไปไหว้เทวรูปเทวดาทั่วโลก
#ไม่มีใครช่วยให้หนีกรรมพ้น
.
.
.
#ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน
#ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด
#ไม่มีใครหนีกรรมพ้น
#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น
.
.
.
#ต่อให้ใหญ่แค่ไหน
#ต่อให้รวยล้นฟ้าเพียงใด
#ไม่เคยมีใครหนีกรรมพ้น
#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังต้องชดใช้กรรม
#บุพกรรมพระพุทธเจ้า
.
.

หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 ... 713