แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ขุนแผน

หน้า: [1] 2
1
'เวลากูรักใคร...กูรักด้วย หัวใจ กูไม่เคยต้องคิด ว่าจะต้องทำอะไร ยังงัย กูมีหัวใจไว้รัก ถ้ามึงรัก ใคร แต่มึงดันใช้สมองเหมือนเล่นเกมส์นินเทนโด มึงไม่ได้รัก หรอก นั่นมันเกมส์ชัดๆ'   :11: :11: :11: :11:

3
บทความ (Blog) / Re: ระบาย
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 08:50:57 pm »
 :17: :17: :17: :17: :17: :17:


5


เป้นความสามารถเฉพาะตัว ลอกเลียนแบบรสชาติและสีสันคงไม่ได้ :06: :06: :06: :06:









พอหุงข้าวและทอดไข่เสร็จแล้ว จะได้ข้าวไข่เจียวหอมๆ สูตรขุนแผน หน้าตาต้องแบบนี้  :46: :46: :46: :46: :46:






6


ประวัติ หลวงปู่จูม พนฺธุโล วัดโพธิสมภรณ์


" ความรัก ความชัง เป็นปฏิปักษ์ธรรม" คำกล่าวปรารภของ "หลวงปู่จูม พันธุโล" หรือท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ แห่งวัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี พระวิปัสสนาจารย์สายอีสาน ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนเป็นอย่างมาก

อัตโนประวัติ พระธรรมเจดีย์ มีนามเดิมว่า จูม จันทรวงศ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี 24 เมษายน 2431 ชาติภูมิอยู่บ้านท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำสิงห์ และนางเขียว จันทรวงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาทำไร่

เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม จนจบหลักสูตรประถมศึกษาบริบูรณ์

ต่อมา เมื่ออายุได้ 12 ปี บิดามารดาประสงค์จะให้ลูกชายได้บวชเรียน จึงได้จัดการให้ ด.ช.จูม ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1442 โดยมีพระครูขันธ์ ขันติโก วัดโพนแก้ว อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษา ณ วัดโพนแก้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม อักษรขอม อักษรธรรม และภาษาไทย

มีความสนใจในการศึกษา สามารถเขียนอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม จนเป็นที่รักใคร่ของครูบาอาจารย์ นอกจากนี้ ท่านยังได้ฝึกหัดเทศน์มหาชาติ (เวสสันดรชาดก) เป็นทำนองภาคอีสาน ปรากฏว่า เป็นที่นิยมชมชอบของบรรดาญาติโยม

ต่อมาในปี พ.ศ.2445 สามเณรจูมได้ย้ายไปอยู่วัดอินทร์แปลง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย แต่ท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดอินทร์แปลงได้เพียงปีเดียว


พ.ศ.2446 พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสามเณรจูม มีความสนใจการปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นพิเศษ พระอาจารย์จันทร์ได้ปรารภจะเดินทางไปกราบขออุบายธรรมจากพระอาจารย์ใหญ่ฝ่าย กัมมัฏฐาน คือ พระอาจารย์เสาร์ กันสีตโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ดังนั้น สามเณรจูมและหมู่คณะ จึงได้ติดตามพระอาจารย์จันทร์ มุ่งสู่จังหวัดอุบลราชธานี

คณะพระอาจารย์จันทร์และลูกศิษย์ ได้เข้ากราบนมัสการพระอาจารย์เสาร์ และพระอาจารย์มั่น ณ สำนักวัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี และได้ฝากถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ

ตลอดเวลา 3 ปี สามเณรจูมได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระอาจารย์ใหญ่เป็นอย่างดี จนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัตรปฏิบัติ ทำให้สามเณรจูมประพฤติดีปฏิบัติชอบ สร้างสมบารมีเรื่อยมา จนได้เป็นพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นปูชนียบุคคลของชาวอีสานใน กาลต่อมา

ภายหลังจากที่ได้ศึกษาธรรมปฏิบัติกรรมฐานกับพระอาจารย์เสาร์ และ พระอาจารย์มั่นเป็นเวลา 3 ปีแล้ว ในปี พ.ศ. 2449 ท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย (พระเทพสิทธาจารย์) จึงได้กราบลาพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง พาคณะพระภิกษ และสามเณร เดินทางกลับจังหวัดนครพนมอันเป็นถิ่นมาตุภูมิ ในการเดินทางกลับนั้น ก็มีความยากลำบากเหมือนกับตอนเดินทางมา คือ ต้องเดินทางด้วยเท้า ไม่มียานพาหนะใดๆ ถนนก็ยังไม่มี คงมีแต่หนทาง และทางเกวียนที่ลัดเลาะไปตามป่าตามดง เมื่อผ่านหมู่บ้าน ก็ปักกลดพักแรม เป็นระยะๆ หมู่บ้านละ 2 คืนบ้าง 3 คืนบ้าง ชาวบ้านรู้ข่าวก็พากันมาฟังธรรม โดยท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย เป็นผู้แสดงธรรมโปรดญาติโยม ทุกหมู่บ้านที่ผ่านเข้าไป ประชาชนเกิดศรัทธาปสาทะเป็นอย่างยิ่ง บางแห่งถึงกับนิมนต์ คณะของพระอาจารย์จันทร์ ให้พักอยู่หลายๆ วันก็มี

ครั้นถึงวันที่ 8 เดือนเมษายน พ.ศ.2449 ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย เป็นวันมหาฤกษ์ ที่คณะพระสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุตติกนิกาย เดินทางเข้าเขตจังหวัดนครพนม ถึงบ้านหนองขุนจันทร์ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองนครพนม จึงหยุดพักอยู่ที่นั่น ก่อน พระยาสุนทรกิจจารักษ์ เจ้าเมืองนครพนม ได้ทราบข่าวว่ามีพระผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ และพระอาจารย์มั่น เดินทางมาถึงบ้านหนองขุนจันทร์ ก็เกิดความชื่นชมยินดีเป็นอันมาก จึงสั่งให้ข้าราชการทุกแผนก ประกาศให้ ประชาชนทราบ และจัดขบวนออกไปต้อนรับ โดยมีเครื่องประโคมต่างๆ มีฆ้อง กลอง ปี่ พาทย์ เป็นต้น เมื่อไปถึง ท่านเจ้าเมือง ก็เข้ากราบนมัสการพระสงฆ์เหล่านั้น และนิมนต์ให้ขึ้นนั่งบนเสลี่ยงซึ่งมีชายฉกรรจ์แข็งแรง 4 คนหามแห่เข้าสู่เมืองนครพนมจนถึง วัดศรีขุนเมือง (วัดศรีเทพประดิษฐาราม) คณะสงฆ์ลูกศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น ก็ได้ปักหลักตั้งสำนักสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุตติกนิกายอยู่ ณ อารามแห่งนี้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่อมาในปี พ.ศ.2450 ท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย (พระเทพสิทธา จารย์) ได้พิจารณาเห็นว่า ลูกศิษย์ทั้ง 7 คนของท่านคือ สามเณรจุม จันทรวงศ์ สามเณรสังข์ สามเณรเกต สามเณรคำ นายสาร นายสอน และนายอินทร์ ทั้งหมดนี้เป็นผู้มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สมควรจะทำการอุปสมทบได้แล้ว ท่านพระอาจารย์จันทร์ จึงจัดเตรียมบริขารเครื่องใช้ที่จำเป็นแก่ศิษย์ แล้วพาคณะศิษย์ทั้ง 7 คน เดินทางจากเมืองนครพนม ไปยังเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เพื่อเข้ารับการ อุปสมบทเป็นพระภิกษุสืบต่อไป

ในการเดินทางครั้งนั้น หลวงปู่จูม พนฺธุโล วัดโพธิสมภรณ์ได้เล่าไว้ว่า "เดินทางด้วยเท้าเปล่าจากเมืองนครพนมถึงหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นเวลา 15 วันเต็มๆ ไปถึงแล้วก็พักผ่อนกันพอสมควร วันอุปสมบทคือ วันที่ 9 เดือนมีนาคม พ.ศ.2450 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม ณ พัทธสีมาวัดมหาชัย ตำบลหนองบัวลำภู อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านพระครูแสง ธมฺมธโร วัดมหาชัย เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูสีมา สีลสมฺปนฺโน วัดจันทราราม (เมืองเก่า) อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย (พระเทพ สิทธาจารย์) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พนฺธุโล" การอุปสมบทเสร็จสิ้นเมื่อเวลา 17.10 น.

หลังจากที่พระภิกษุจูม พนฺธุโล ได้อุปสมบทเรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย ก็ได้นำคณะพระนวกะที่เป็นลูกศิษย์ เดินทางกลับจังหวัดนครพนม โดยผ่านเมืองอุดรธานี มุ่งสู่จังหวัดหนองคาย ลงเรือชะล่า ซึ่งพระยาสุนทรเทพสัจจารักษ์ เจ้าเมืองนครพนม จัดให้มารับที่จังหวัดหนองคาย ล่องเรือไปตามแม่น้ำโขงเป็นเวลา 12 วันเต็มๆ ก็ถึงนครพนม จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม (วัดศรีขุนเมือง) 1 พรรษา

ในปี พ.ศ.2451 พระภิกษุสามเณรจำนวน 5 รูป ได้แก่ 1. พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย 2. พระภิกษุจูม พนฺธุโล 3. พระภิกษุสาร สุเมโธ 4. สามเณรจันทร์ มุตตะเวส และ 5. สามเณรทัศน์ ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ให้มีความรู้ ทางด้านนักธรรมและบาลีให้ดียิ่งขึ้น การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ในสมัยนั้น เต็มไปด้วยความลำบาก อาศัยพ่อค้าหมูเป็นผู้นำทาง ผ่านจังหวัดสกลนคร ขึ้นเขาภูพาน และต้องนอนค้างคืนบนสันเขาภูพานถึง 2 คืน ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น อำเภอชนบท และหมู่บ้านต่างๆ จนถึง จังหวัดนครราชสีมา ใช้เวลาเดินทาง ทั้งสิ้น 24 วัน เมื่อเดินทางถึงนครราชสีมา ก็ได้โดยสารรถไฟ ต่อเข้ากรุงเทพฯ เพราะในสมัยนั้นทางรถไฟมาถึงแค่โคราช ถึงกรุงเทพฯ แล้วได้ไปพักอยู่วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งมี พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระสาสนโสภณ เป็นเจ้าอาวาส ท่านพระอาจารย์ จันทร์ เขมิโย ได้นำคณะเข้ากราบเรียน โดยนำจดหมายฝากจาก พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ เจ้าเมืองนครพนมเข้าถวาย ท่านเจ้าคุณพระสาสนโสภณทราบเจตจำนงแล้ว ก็ได้รับพระภิกษุสามเณรทั้ง 5 รูปให้อยู่จำพรรษาที่วัดเทพศิรินทราวาส เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมสืบต่อไป

หลวงปู่จูม พันธุโล ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรมและบาลี ณ สำนักวัดเทพศิรินทราวาส เป็นเวลา หลายพรรษา พระภิกษุจูมได้ตั้งใจ ศึกษาเล่าเรียน ด้วยวิริยะและอุตสาหะ แม้จะทุกข์ยากลำบาก ก็อดทนต่อสู้เพื่อความรู้ ความก้าวหน้า ในที่สุดท่านก็สามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี และชั้นโท ต่อมาก็เรียนบาลีไวยากรณ์ และแปลธรรมบท สอบไล่ ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค จากความสำเร็จทางการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมนี้ พระมหาจูม พนฺธุโล จึงได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูฐานานุกรม ที่ "พระครูสังฆวุฒิกร" ซึ่งเป็นฐานานุกรมของ พระสาสนโสภณ (เจริญ ญาณวโร) ในปี พ.ศ.2448 ปีมะเส็ง เป็นปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ (โพธิ เนตติโพธิ์) มีศักดิ์เป็นมหาอำมาตย์ตรี ซึ่งเป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลอุดรธานี ได้จัดสร้างวัดขึ้นอีกแห่งหนึ่ง (นอกเหนือไปจากวัดมัชฌิมาวาส) ได้นิมนต์พระครูธรรมวินยานุยุต เจ้าคณะ เมืองอุดรธานี จากวัดมัชฌิมาวาส มาเป็นเจ้าอาวาสวัดที่สร้างใหม่นี้ ต่อมาพระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ ได้เข้ากราบทูลขอชื่อวัดใหม่ ต่อพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์ทรงประทานนามว่า "วัดโพธิสมภรณ์" ให้เป็นอนุสรณ์ แด่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ (โพธิ เนตติโพธิ์) ผู้ก่อตั้งจำเดิมแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่อมา พ.ศ.2456 พระยาราชานุกูลวิบูลย์ภักดี (อวบ เปาโรหิตย์) ดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลภาคอีสาน และเป็น สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรธานี ภายหลังได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยามุขมนตรีศรีสมุหพระนครบาล ได้พิจารณาเห็นว่า ภายใน เขตเทศบาลอุดรธานี ยังไม่มีวัดฝ่ายธรรมยุตติกนิกาย สมควรจะจัดให้วัดโพธิสมภรณ์ เป็นวัดคณะธรรมยุติ และในขณะเดียวกันก็ขาด พระภิกษุผู้จะมาเป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากเจ้าอาวาสองค์ก่อน (คือ พระครูธรรมวินยานุยุต) ชราภาพมาก และญาติโยมได้นิมนต์ ให้กลับไปอยู่บ้านเกิดเมืองนอนของท่าน คือ วัดศรีเมือง อ.เมือง จ.หนองคาย ท่านพระยามุขมนตรีฯ (อวบ เปาโรหิตย์) จึงไปปรึกษา หารือกับพระสาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ และได้นำความขึ้นกราบทูล พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธฯ เพื่อขอพระเปรียญธรรม 1 รูป จาก วัดเทพศิรินทราวาส ไปเป็นเจ้าอาวาส วัดโพธิสมภรณ์

ท่านเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส โดยบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้คัดเลือกพระเปรียญธรรม ผู้มีความรู้ความสามารถ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและจริยา และมีภูมิลำเนาอยู่ภาคอีสาน ปรากฏว่าพระครูสังฆวุฒิกร (จูม พนธุโล น.ธ.โท. ป.ธ. 3) ได้รับการคัดเลือก นับว่าเป็นผู้เหมาะสมที่สุด และเป็นที่พอใจของพระยามุขมนตรีฯ อีกด้วย เพราะท่านพระยาฯ มีความสนิทคุ้นเคย และเคยเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงพระครูสังฆวุฒิกร (จูม) มาก่อน

พระครูสังฆวุฒิกร (จูม พนฺธุโล) อยู่จำพรรษาที่วัดเทพศิรินทราวาส เป็นเวลานานถึง 15 ปี เมื่อได้รับพระบัญชาจาก สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และ พระสาสนโสภณ เช่นนั้น ก็มีความเต็มในที่จะสนองพระเดชพระคุณอย่างเต็มที่ จึงอำลาวัดเทพศิรินทราวาส ที่ท่านอยู่จำพรรษามานานถึง 15 ปี เดินทางสู่จังหวัดอุดรธานี ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ อันเป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต ตั้งแต่ปี พ.ศ.2466 เป็นต้นมา เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ในฐานะนักปกครองเป็นครั้งแรก พระครูสังฆวุฒิกร (จูม พนฺธุโล) ก็ได้เร่งพัฒนาวัดโพธิสมภรณ์ให้เจริญรุ่งเรือง ทั้งทางด้านศาสนาสถาน ศาสนศึกษา ศาสนบุคคลและศาสนธรรม

พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มีปฏิปทาอันน่าเลื่อมใส และควรยึดถือเป็นแบบอย่าง เป็นเอนกประการ ท่านได้อุทิศตน เพื่อทำงานเผยแผ่หลักธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมิได้เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ภาระหน้าที่หลัก ที่ท่านถือเป็นธุระสำคัญมี 4 อย่าง ด้วยกัน คือ

(1) การปกครอง
(2) การศึกษา
(3) การเผยแผ่ และ
(4) การสาธารณูปการ

ด้านการปกครองนั้น หลวงปู่จูม พนฺธุโล วัดโพธิสมภรณ์ท่านถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเป็นผู้นำ จะเห็นได้จากที่ท่าน เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ เป็นเวลา 39 ปี เป็นพระอุปัชฌาย์ 39 ปี เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะมณฑลอุดรธานี 3 ปี เป็นเจ้าคณะมณฑลอุดรธานี 14 ปี เป็นสมาชิกสังฆสภา 17 ปี เป็นเจ้าคณะธรรมยุตผู้ช่วยภาค 3, 4 และ 5 รวม 12 ปี ท่านปกครองพระภิกษุสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ด้วยหลักพรหมวิหารธรรม เป็นพระเถระที่เคร่งครัดในระเบียบวินัย

ส่วนทางด้านการศึกษา หลวงปู่จูม พนฺธุโล วัดโพธิสมภรณ์ ก็เอาใจใส่และให้การสนับสนุนด้วยดีตลอดมา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ท่านได้รับการฝึกอบรมสั่งสอน มาจากสำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส อันเป็น ศูนย์กลางการศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนา ท่านได้ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรมและแผนกบาลี และท่านเป็นครูสอนปริยัติด้วยตนเอง นับตั้งแต่ สมัยที่ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ใหม่ๆ จนทำให้วัดของท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง มีพระภิกษุสามเณรสอบได้ทั้งนักธรรม และเปรียญธรรมปีละมากๆ

หลวงปู่จูม พนฺธุโล วัดโพธิสมภรณ์นอกจากการเอาใจใส่ในงานส่วนรวมแล้ว ท่านยังมีปฏิปทา ทางด้านวัตรปฏิบัติ อันมั่นคงด้วยดีตลอดมา นั่นคือ

(1) ฉันภัตตาหารมื้อเดียว หรือ ที่เรียกว่า "เอกาสนิกังคะ"
(2) ถือไตรจีวร คือ ใช้ผ้าเพียง 3 ผืน
(3) ปฏิบัติสมถกรรมฐาน กำหนดภาวนา "พุทโธ" เป็นอารมณ์
(4) ปรารภความเพียร ขยันเจริญ สมาธิภาวนา และ
(5) เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว ท่านก็ออกตรวจการเดินทางไปเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณร ซึ่งอยู่ในเขตปกครองเป็นลักษณะการไปธุดงค์ตลอดหน้าแล้ง

คุณงามความดีที่พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ได้บำเพ็ญมาด้วยวิริยะอุตสาหะ ทำให้พระเถระผู้ใหญ่ มองเห็นความสำคัญ และความสามารถของท่าน จึงได้ยกย่องเทิดทูนท่าน ไว้ในตำแหน่งทางสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้

พ.ศ.2463 เป็นพระครูฐานานุกรม ของ พระสาสนโสภณ (เจริญ ญาณวโร) ในตำแหน่ง พระครูสังฆวุฒิกร
พ.ศ.2468 ได้รับพระราชท่านสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรพัดยศ ที่ พระครูชินโนวาทธำรง
พ.ศ.2470 ได้รับพระราชท่านเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะชั้นสามัญ ที่ พระญาณดิลก
พ.ศ.2473 ได้รับพระราชท่านเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชเวที
พ.ศ.2478 ได้รับพระราชท่านเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพกวี
พ.ศ.2488 ได้รับพระราชท่านเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมเจดีย์

ธรรมโอวาทหลวงปู่จูม พนฺธุโล วัดโพธิสมภรณ์

พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ได้แสดงความจริงในอารมณ์จิตของท่าน และหาวิธีระงับ ดับอารมณ์นั้น โดยไม่หลงใหลให้กับโลกธรรม อุบายนั้นท่านได้แสดงไว้ว่า

"จิตเป็นธรรมชาติที่กวัดแกว่งดิ้นรน กระสับกระส่าย แส่ไปตามอารมณ์ที่ใคร่ พอใจในเบญจกามคุณ ถึงกระนั้นก็ได้มี ทมะ คือความข่มจิตไว้ ไม่ให้ยินดียินร้ายไปตามอารมณ์ พร้อมทั้งมีสติประคับประคองยกย่องจิตตามอนุรูปสมัยนับว่าได้ผล คือจิตสงบ ระงับจากนิวรณูปกิเลสเป็นการชั่วคราวบ้าง เป็นระยะยาวนานบ้าง แต่ในบางโอกาสก็ควบคุมได้ยาก ซึ่งเป็นของธรรมดา สำหรับปุถุชน ต่อจากนั้นก็ได้บากบั่นทำจิตของตนให้รู้เท่าทันสภาวธรรมนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตื่นเต้นไปกับโลกธรรม แต่ว่าระงับได้ ในบางขณะเช่น ความรัก ความชัง อันเป็นปฏิปักขธรรมเป็นต้น เหล่านี้ยังปรากฏมีในตนเสมอ ถึงกระนั้น ก็ยังมีปรีชา ทราบอยู่เป็นนิตย์ว่า เป็นโลกิยธรรมนำสัตว์ให้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้ฝึกหัดดัดนิสัย พยายามถอนตน ออกจากโลกียธรรม ตามความสามารถ รู้สึกว่าสบายกายสบายใจอันแท้จริงธรรมนี้เกิดจากข้อวัตรปฏิบัติในการละ พอใจยินดีอย่างยิ่ง ในความสงบ"

และอีกคราวหนึ่ง หลวงปู่จูม พันธุโล ท่านได้รับนิมนต์ให้ไปเทศน์ โดยมีพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่งติดตามไปด้วย คือ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี วันนั้นท่านได้แสดงธรรมไว้อย่างแยบคาย พอที่จะหยิบยก เอาใจความสำคัญมากล่าวไว้ในที่นี้ดังต่อไปนี้:-

"จิตของพระอริยะเจ้าแยกอาการได้ 4 อาการคือ

อาการที่ 1 อโสก จิตของท่านไม่เศร้าโศก ไม่มีปริเทวนา การร้องไห้เสียใจ จิตใจของท่านมีความสุขล้วนๆ ส่วนจิตใจของปุถุชน คนธรรมดายังหนาไปด้วยกิเลสเต็มไปด้วยความรัก ความโศกถูกความทุกข์ครอบงำ ความโศกย่อมเกิดจากความรักเป็นเหตุ เมื่อมีความรัก ก็มีความโศก ถ้าตัดความรักเสียแล้ว ความโศกจะมีแต่ที่ไหน

อาการที่ 2 วิรช จิตของพระอริยเจ้าผ่องแผ้ว ปราศจากฝุ่น ไร้ธุลี คือ ปราศจากราคะ โทสะ และโมหะ คงจะมีแต่พุทธะคือ รู้ ตื่น เบิกบาน

อาการที่ 3 เขม จิตของพระอริยเจ้ามีแต่ความเกษมสำราญ เพราะปราศจากห้วงน้ำไหลมาท่วมท้นห้วงน้ำใหญ่เรียกว่า "โอฆะ" ไม่อาจจะท่วมจิตของพระอริยะเจ้าได้

อาการที่ 4 จิตของพระอริยะไม่หวั่นไหวไปตามอำนาจกิเลส ไม่ตกอยู่ในห้วงแห่งอวิชชา จิตของพระอริยะมีแต่อาโลโก สว่างไสวแจ่มแจ้ง ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เคยพบเคยเห็นตั้งแต่ภพก่อนชาติก่อน และไม่เคยฟังจากใคร คราวนี้ก็แจ่มแจ้งไปเลย เพราะท่านตัดอวิชชาเสียได้"

หลวงปู่จูม พนฺธุโล วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระมหาเถระผู้มีบุญบารมีมากรูปหนึ่ง มีคุณธรรมสูง มีวัตรปฏิปทาอันงดงาม ซึ่งพอที่จะนำมากล่าวได้ ดังนี้

1. ธีโร เป็นนักปราชญ์
2. ปญฺโญฺ มีปัญญาเฉียบแหลม
3. พหุสฺสุโต เป็นผู้คนแก่เรียน
4. โธรยฺโห เป็นผู้เอาจริงเอาจังกับธุระทางพุทธศาสนา คือ คันถธุระและวิปัสนาธุระ
5. สีลวา เป็นผู้มีศีลวัตรอันดีงาม
6. วตวนฺโต เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งธุดงควัตร
7. อริโย เป็นผู้ห่างไกลจากความชั่ว
8. สุเมโธ เป็นผู้มีปัญญาดี
9. ตาทิโส เป็นผู้มั่นคงในพระธรรมวินัย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
10. สปฺปุริโส เป็นผู้มีกาย วาจา และ ใจ อันสงบเยือกเย็น เป็นสัตบุรุษ พุทธสาวก ผู้ควรแก่การกราบไหว้ บูชาโดยแท้

ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เริ่มอาพาธมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 จนถึงเดือน มีนาคม พ.ศ.2505 คณะแพทย์ โรงพยาบาลศิริราชได้ถวายการรักษา โดยการผ่าตัดก้อนนิ่วออก รักษาจนหายเป็นปกติแล้วเดินทางกลับวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ต่อมาปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2505 ท่านเริ่มอาพาธอีก คณะแพทย์ซึ่งมี ศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์ เป็นประธานได้นิมนต์ท่านเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ท่านเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2505 โดยมีพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ร่วมเดินทางไปด้วย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้ถวายการรักษาด้วยการผ่าตัด ถุงน้ำดีมีก้อนนิ่ว 11 เม็ด อาการดีขึ้นเพียง 3 วัน ต่อจากนั้นอาการก็ทรุดลง ต้องให้ออกซิเจนและน้ำเกลือ วันที่ 9 กรกฎาคม 2505 ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ก็ถูกเวทนาอันแรงกล้า ครอบงำ แต่ท่านก็มิได้แสดงอาการใดๆ ให้ปรากฏ จนกระทั่งวันที่ 11 กรกฎาคม 2505 หลวงปู่จูม พนฺธุโล วัดโพธิสมภรณ์ก็ถึงแก่กรรม มรณภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อเวลา 15.27 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลศิริราช ท่านได้ละสังขารอันไม่มี แก่นสารนี้ไป สิริรวมอายุได้ 74 ปี 2 เดือน 15 วัน พรรษา 55

7



ประวัติ หลวงปู่อวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส

"หลวงปู่อวน ปคุโณ" อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทิยาวาส หมู่ 10 ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก จ.นครพนม พระเถระที่มีจริยวัตรอันน่าเลื่อมใส ลูกศิษย์ของ หลวงปู่กินรี จัน ทิโย

อัตโนประวัติ ประวัติหลวงปู่อวน ปคุโณ ท่านมีนามเดิมว่า จันทร แก้วดวงตา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2470 ที่บ้านนามะเขือ ต.นามะเขือ อ.ปลา ปาก จ.นครพนม โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายนวน และนางทองดี แก้วดวงตา ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

ชีวิตในวัยเด็ก เมื่ออายุ 10 ขวบ ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านนามะเขือ ครั้นพออายุ 14 ปี จึงได้ลาออก จนถึงวัยหนุ่มได้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร

ครั้นพ้นเกณฑ์ทหาร ได้ขออนุญาตพ่อแม่ บวชเป็นสามเณร ที่วัดดงขวาง อ.เมือง ก่อนกลับมาอยู่วัดบ้านเกิด ร่ำเรียนบทสวดมนต์ และอักษรธรรมจนชำนาญ

ท่านได้ย้ายไปเรียนนักธรรมที่วัดบ้านกุดตาไก้ ก่อนย้ายไปเรียนที่วัดศรีเทพฯ ซึ่งเป็นสำนักธรรมยุตแห่งแรกของจังหวัด โดยมีหลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดนครพนม ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี ก่อนลากลับไปเยี่ยมพ่อแม่

กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดบ้านดงขวาง อ.เมือง โดยมีพระติ้น เป็นพระอุปัชฌาย์, พระบุญมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระพรหมา เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงปู่อวนได้รับฉายาว่า ปคุโณ หมายถึง ผู้มีความคล่องแคล่วชำนาญ
ภายหลังอุปสมบท ได้ชักชวนพระก่องและพระจันลา ออกธุดงค์ไปยังวัดป่าเมธาวิเวก ต.หนองฮี อ.ปลาปาก เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่กินรี จันทิโย เพื่อรับโอวาทแนวทางการปฏิบัติ ก่อนกราบลาออกไปธุดงควัตรไปประเทศลาว ผ่านแขวงคำม่วน ไปตามป่าเขาที่มีสิงสาราสัตว์

หลวงปู่อวน ปคุโณท่านได้พบพระอาจารย์ ทองรัตน์ กันตสีโล ที่ดอนผีป่าช้า และออกธุดงค์ไปภูสิงห์ ภูงัว ภูลังกา จ.หนองคาย ก่อนไปวัดศรีเวินชัย อ.ศรีสงคราม แวะนมัสการพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตโต สหธรรมิกรุ่นเดียวกับพระอาจารย์ทองรัตน์ ก่อนเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดเดิม และอยู่กับหลวงปู่กินรี

พรรษาที่ 6 จึงออกธุดงค์อีกครั้งไป จ.สกลนคร จ.ยโสธร แวะพักที่ภูกอยภูน้อยจำพรรษาอยู่กับ พระอาจารย์ชา สุภัทโท ในปี พ.ศ.2494 ก่อนร่วมตั้งวัดหนองป่าพง แล้วกลับมาวัดกันตศิลาวาสอีกครั้ง เพื่อนมัสการหลวงปู่กินรี

ชาวบ้านได้สร้างกุฏิขึ้น 3 หลัง มีสามเณรโสมมาพักอยู่ด้วย เกิดความเลื่อมใสจึงขอติดตามธุดงค์ไป จ.เลย พักที่วัด หลวงปู่คำดี ปภาโส ก่อนธุดงค์ผ่านภาคเหนือ 5 จังหวัดมุ่งสู่ อ.แม่สอด จ.ตาก เข้าสู่เขตพม่า แต่เกิดการสู้รบกัน จึงเปลี่ยนเส้นมา จ.นครสวรรค์ เข้ากรุงเทพฯ มุ่งสู่ปักษ์ใต้เข้าสู่ จ.สงขลา ไปจนถึง ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะ เดา เข้าสู่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย หลังธุดงค์ไป ภาคเหนือและภาคใต้นานร่วม 8 ปี จึงกลับมาเยี่ยมบิดา-มารดา พักที่ป่าบ้านนามะเขือกับสามเณรโสม ได้หยุดเดินธุดงค์ เพื่อหาที่ตั้งวัดเผยแผ่ธรรม

ชาวบ้าน 4 หมู่บ้าน จึงช่วยสร้างกุฏิขึ้น 2 หลัง อีก 3 ปีจึงสร้างศาลาไม้ ผ่านไป 5 ปี ผู้คนเริ่มมีความศรัทธาเข้ามาบวชและปฏิบัติธรรมในวันพระจนล้นศาลา

ต่อมา พื้นที่ 4 หมู่บ้านดังกล่าว ถูก ผกค.คุกคาม ชาวบ้านหนีหมด ทหารแนะนำให้ท่านย้ายหนี เกรงจะเกิดอันตราย แต่หลวงปู่อวน ปคุโณยืนยันไม่ย้ายหนีไปไหน ก่อนพัฒนาวัดเรื่อยมา

กระทั่ง พระสารภาณมุนี (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เจ้าคณะจังหวัดขณะนั้น แนะนำให้เขียนป้ายชื่อวัด โดยเอาฉายาหลวงปู่กินรีมาเป็นชื่อวัด นับแต่นั้นมา หลวงปู่อวน ปคุโณ ได้อาพาธด้วยโรคไตมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ก่อนเข้ารับการรักษาที่ ร.พ.ปลาปาก แพทย์วินิจฉัยว่าอาพาธด้วยโรคไตเรื้อรัง ถูกส่งตัวไปรักษาที่ ร.พ.ศรีนครินทร์ จ.ขอน แก่น แต่เครื่องฟอกไตไม่เพียงพอ จึงส่งตัวกลับมาฟอกไตสัปดาห์ละ 2 ครั้งที่ ร.พ.ปลาปาก

เวลา 09.55 น. วันที่ 15 พฤษภาคม 2547 หลวงปู่อวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาสได้มรณภาพลงอย่างสงบ ด้วยโรคไตวายเฉียบพลัน ท่ามกลางความโศกเศร้าของญาติโยมและลูกศิษย์ สิริอายุ 76 ปี พรรษา 56 คณะศิษย์ได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์สูง 2 ชั้น เพื่อบรรจุอัฐิ ก่อนมีพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่อวน ณ เมรุชั่วคราววัดจันทิยาวาส ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก จ.นครพนม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2548

ภายในพิพิธภัณฑ์วัดจันทิยาวาส ได้จัดตั้งรูปเหมือนและเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่อวน โดยมีพุทธศาสนิกชนต่างเข้าไปกราบนมัสการเป็นจำนวนมาก

ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

8


ประวัติ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต


" อันสตินี้ สัมปชัญญะนี้ ก็สมมติเป็นโชเฟอร์ผู้กำพวงมาลัย ได้แก่ เป็นผู้มีสติคอยระมัดระวังกาย วาจา จิต อยู่เสมอๆ" ธรรมโอวาทจาก พระสุธรรมคณาจารย์ หรือ "หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ" วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย หนึ่งในพระป่ากัมมัฏฐานศิษย์เอกผู้ใกล้ชิด "หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต" บูรพาจารย์

ประวัติหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต (พระสุธรรมคณาจารย์)
"หลวงปู่เหรียญ" เกิดในสกุลใจขาน เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2455 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด สถานที่เกิด ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

เป็นบุตรคนที่ 2 ในบรรดาพี่น้อง 7 คน ของนายผา และนางพิมพา ประกอบอาชีพกสิกรรม ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ชีวิตครอบครัวพี่น้องทุกคนเสียชีวิตตั้งแต่เด็ก ส่วนโยมมารดาถึงแก่กรรมเมื่อท่านมีอายุ 10 ขวบ ภายหลังบิดามีภรรยาใหม่ท่านจึงไปอาศัยอยู่กับยาย ก่อนกลับมาอยู่กับบิดาอีกครั้งเมื่ออายุ 13 ปี

ในวัยหนุ่มฉกรรจ์เคยมีความคิดจะแต่งงานมีครอบครัวเหมือนปุถุชนทั่วไป แต่คิดปลงตกในชีวิตที่มีแต่ความวุ่นวาย มีทุกข์มีสุขวนเวียนไม่รู้จบสิ้น เห็นว่ามีหนทางเดียวเท่านั้นที่จะหลุดพ้นทุกข์ คือ การออกบวช

เมื่อศรัทธาแรงกล้าจึงขอบิดาเข้าวัด บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ 15 วัน ก่อนเข้าอุปสมบท ที่วัดบ้านหงษ์ทอง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เมื่อเดือนมกราคม 2475

สังกัดมหานิกาย โดยมีพระครูวาปีดิฐวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พรหม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ก่อนกลับมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัย บ้านหม้อ ระยะหนึ่งไปจำพรรษาที่วัดศรีสุมัง อ.เมือง จ.หนองคาย เข้าศึกษาด้านพระปริยัติธรรม จนสอบได้นักธรรมตรี

ระยะแรก "หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ"เริ่มศึกษาพระกรรมฐาน ได้รับเมตตาจากพระอาจารย์บุญจันทร์ เป็นผู้สอนภาวนาพุทโธ และพระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน เป็นครูฝึกสอนการปฏิบัติธรรม ต่อมาพระอาจารย์กู่ได้พาท่านออกธุดงค์ไป จ.อุดรธานี และแปรญัตติเป็นธรรมยุต เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2476 ที่วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี โดยมีเจ้าคุณธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พ.ศ. 2476 จำพรรษาวัดป่าสาระวารี บ้านค้อ อำเภอผือ อุดรธานี

เป็นที่ซึ่งพระอาจารย์มั่นเคยจำพรรษา ได้ตั้งใจทำความเพียรสงบใจมาก แต่วิปัสสนายังไม่แกกล้า ได้แต่สมถะ ออกพรรษาแล้วจึงธุดงค์ไปจังหวัดเลย พักวิเวกอยู่ถ้ำผาปู่ และ ถ้ำผาบิ้ง ได้ความสงบสงัดมาก

พ.ศ. 2477 พรรษาสอง จำพรรษาวัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ หนองคาย

มีพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน เป็นหัวหน้า ตั้งใจไม่นอนกลางวัน ค่ำลงทำความเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิ ถึงตีสอง แล้วลุกขึ้นทำความเพียรจนสว่าง พอถึงเดือนหกเดินทางกลับมาจำพรรษาที่ วัดป่าบ้านค้อ ตามเดิม

พ.ศ. 2478 พรรษาสาม จำพรรษาที่วัดป่าสาระวารี

พ.ศ. 2479-2480 พรรษา4และพรรษาที่5 จำพรรษาที่วัดอรัญญบรรพต

"หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ" ทำภาวนาจิตสงบแล้วพิจารณาขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาตามสภาพความเป็นจริง แล้วปล่อยวาง จิตสงบพร้อมกับความรู้เป็นอย่างดี คล้ายหมดกิเเลส แต่ต่อมามีเรื่องต่างๆ มากระทบ ก็รู้สึกจิดผิดปกติ หวั่นไหวไป ตามอารมณ์นั้นๆ อยู่บ้าง แต่ไม่รุนแรง ก็แสดงว่ากิเลสยังไม่หมดสิ้น พยายามแก้ก็ไม่ตก นึกในใจว่าใครหนอจะช่วยแก้จิตให้ได้ จึงนึกไปถึงกิตติศัพท์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงชวนภิกษุรูปหนึ่งลงเรือจากหลวงพระบางขึ้นไปทางอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เดินทางไปหาท่าน

พ.ศ. 2481 หลวงปู่เหรียญ วรลาโภได้พบท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยความเมตตาของหลวงตาเกต ซึ่งเป็นสัทธิ วิหาริก ของท่าน ได้พาไปพบที่ป่าละเมาะใกล้ๆ โรงเรียนแม่โจ้ อำเภอสันทราย ได้เห็นด้วยความอัศจรรย์ใจเพราะตรงกับในนิมิตทุกประการ ท่านได้แนะนำว่านักภาวนา พากันติดสุขจากสมาธิจึงไม่พิจารณาค้นคว้าหาความจริงของชีวิตกัน

"หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ" ท่านซักรูปเปรียญให้ฟังว่า ธรรมดาเขาทำนาทำสวน เขาไม่ได้ทำใส่บนอากาศแลย เขาทำใส่บนพี้นดินจึงได้ผล ฉันใด โยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลายควร พิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ จนเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในนามรูป ด้วยอำนาจแห่งปัญญานั้นแหละจึงจะเป็นทางหลุดพ้นได้ ไม่ควรติดอยู่ในความสงบโดยส่วนเดียว

เมื่อท่านให้โอวาทแล้วจึงพิจารณาดูตังเองว่าได้เจริญเพียงสมถะไม่ได้ เจริญ วิปัสสนาเพียงรู้แจ้งในธรรมที่ควรรู้ คือ อริยสัจสึ่ จึงเจริญวิปัสสนาเรื่อยมา ตั้งแต่พรรษาที่ 6 อยู่ในเขตภาคเหนือจนถึงพรรษาที่ 16 แล้วเดินทางกลับธุดงค์ ผ่านหลวงพระบาง ประเทศลาว เข้าเวียงจันทน์ มายังหนองคาย

พรรษาที่ 19 ถึง 26 หลวงปู่เหรียญ จำพรรษาเผยแพร่ธรรมะปฏิบัติอยู่ภาคใต้ แล้วจึงย้ายไปอยู่วัดอรัญญบรรพต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 เรื่อยมาจากนั้นออกธุดงค์ไปสถานที่ต่างๆ หลายจังหวัดภาคอีสาน ก่อนขึ้นไปทางเหนือและเข้าฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น มุ่งบำเพ็ญเพียรและเข้าจำพรรษาในหลายที่

พรรษา 1-5 อยู่ใน จ.อุดรธานี และ จ.หนองคาย ช่วงพรรษาที่ 6-14 ขึ้นไปจำพรรษาอยู่ใน จ.เชียงใหม่ วัดสันต้นเปาและสำนักสงฆ์ใน อ.สันกำแพง พรรษาที่ 15-18 อยู่ที่ อ.เถิน จ.ลำปาง พรรษาที่ 19-22 ล่องลงใต้เข้าจำพรรษาที่สำนักสงฆ์ จ.พังงา ก่อนย้ายไปอยู่วัดอรัญบรรพต ตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ในบางโอกาสท่านจะมาพำนักอยู่ที่สำนักสงฆ์ในวังสวนจิตรลดา กรุงเทพฯ

กาลต่อมา หลวงปู่เหรียญได้เป็นเจ้าอาวาสวัดอรัญบรรพต ซึ่งในอดีตวัดแห่งนี้ยังขาดความพร้อมในหลายด้าน แต่บรรยากาศทั้งภายในและภายนอกวัดสงบเหมาะสมสำหรับการวิปัสสนากรรมฐาน โดยสมัยที่หลวงปู่มาอยู่ใหม่ๆ มีเพียงกุฏิเล็กมุงหญ้าคาพอหลบฝนได้เท่านั้น แต่กว่า 40 ปีที่หลวงปู่เหรียญได้ปกครองดูแลวัดอรัญบรรพต พยายามคงสภาพของความเป็นวัดป่าไว้มากที่สุด โดยสร้างเสริมสิ่งก่อสร้างเท่าที่จำเป็นแก่การประกอบศาสนกิจ

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เป็นพระกัมมัฏฐาน ถือธุดงควัตร ฉันสำรวมในบาตรมื้อเดียว ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เคร่งในพระธรรมวินัยยิ่ง รับกิจนิมนต์สอนปฏิบัติธรรมสมาธิและเทศนาธรรมแก่ศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศ

แม้หลวงปู่จะมีฐานะทางการปกครองสงฆ์ระดับเจ้าคณะอำเภอศรีเชียงใหม่-สังคม ฝ่ายธรรมยุต และเป็นพระเถระอาวุโสแห่งเมืองหนองคาย แต่ท่านยังคงยึดแนวทางการครองตนตามแบบฉบับพระป่าในสายอีสานไว้อย่างเคร่งครัดด้วยการฝึกฝนอบรมจากหลวงปู่มั่น ปฏิปทาการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่เหรียญจึงงดงาม อุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา

ทุกวันที่ 8 มกราคม คณะศิษยานุศิษย์จะร่วมกันจัดงานบุญใหญ่ที่วัดอรัญบรรพต เพื่อสรงน้ำรับพร เป็นการแสดงกตัญญุตาคุณแด่หลวงปู่เหรียญเป็นประจำเสมอมา ซึ่งจัดให้มีงานทำบุญ 2-3 วัน ประมาณ 7-8-9 ม.ค.ทุกปี ใบหน้าหลวงปู่จะมีรอยยิ้มให้เห็นอยู่เสมอ ไม่เคยแสดงอากัปกิริยาเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าในการสนองศรัทธาญาติโยม

ประสบการณ์ ทางธรรมที่หลวงปู่สั่งสมมาล้วนถูกถ่ายทอดสู่บรรดาศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อหนทางแห่งมรรคผลนิพพาน ด้วยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง


วันที่ 5 มิถุนายน 2548 ถือเป็นวาระแห่งความสูญเสียของพุทธศาสนิกชนชาวหนองคายและชาวไทยทั่วประเทศ เมื่อ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต ได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบ สิริอายุ 93 ปี 73 พรรษา สร้างความอาลัยให้กับบรรดาลูกศิษย์ลูกหาเป็นอย่างยิ่ง

ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด คอลัมน์ อริยะโลกที่6

9



ประวัติ หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง

"อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว" ธรรมโอวาทของ "หลวงปู่หลุย จันทสาโร" แห่งวัดถ้ำผาบิ้ง อ.วัง สะพุง จ.เลย พระวิปัสสนาจารย์สายอีสาน ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนเป็นอย่างมาก

ประวัติหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง
หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ผู้เป็นบูรพาจารย์ แห่งพระกรรมฐานในสมัยปัจจุบัน
ชาติภูมิ หลวงปู่หลุย ถือกำเนิดในสกุล วรบุตร เมื่อวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2444 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และนางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร

ในช่วงวัยเยาว์ ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดศรีสะอาด จบชั้นประถมปีที่ 3 ต่อมาได้ทำงานเป็นเสมียนกับพี่เขยที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อ.เชียงคาน และเมื่อปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาค จ.ร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด

ท่านมีการติดต่อกับฝรั่งฝั่งประเทศลาว อีกทั้งได้ศึกษาศาสนาคริสต์อยู่ 5 ปี จนลุงของท่าน เรียกท่านว่า เซนต์หลุยส์ หรือ หลุย ท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า หลุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

พ.ศ.2466 ตัดสินใจออกบวชเป็นพระมหานิกาย ณ อ.แซงบาดาล จ.ร้อยเอ็ด ระหว่างพรรษาแรก ท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติ ครั้นถึงคราวออกพรรษา ท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์ไปเข้าร่วมการคัดเลือกเกณฑ์ทหารที่จังหวัดเลย และได้เดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม

ระหว่างทางได้ พบพระธุดงค์กัมมัฏฐานรูปหนึ่งมาจากอำเภอโพนทอง รู้สึกถูกอัธยาศัย ท่านได้ร่วมถวายภาวนาเป็นพุทธบูชา ณ ลานพระธาตุพนมตลอดคืน บังเกิดความอัศจรรย์ กายลหุตา จิตลหุตา คือ กาย เบา จิตเบา จึงตั้งสัจจาอธิษฐานว่าจะบวชกัมมัฏฐานตลอดชีวิต

ระหว่างทางสู่ จังหวัดเลย เมื่อมาถึงบ้านหนองวัวซอ ท่านได้มีโอกาสฟังธรรมเทศนาจาก ท่านพระอาจารย์บุญ ปัญญาวโร รู้สึกเลื่อมใสมาก จึงขอถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ได้แนะนำให้ขอญัตติเป็นธรรมยุตที่จังหวัด เลย

ภายหลังพ้นเกณฑ์ทหารแล้ว ท่านจึงได้ขอญัตติจตุตถกรรมใหม่ เป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีสะอาด อ.เมือง จ.เลย และได้กลับมาอยู่กับพระอาจารย์บุญ ที่วัดหนองวัวซอ และติดตามไปวัดพระพุทธบาทบัวบก

ณ ที่นี้ ท่านได้พบกับ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และอยู่ปฏิบัติรับฟังโอวาทจาก พระอาจารย์เสาร์ โดยมี พระอาจารย์บุญ เป็นพระพี่เลี้ยง จากนั้น ได้ไปกราบนมัส การ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ท่าบ่อ จ.หนองคาย ได้อยู่อบรมรับฟังโอวาทและฝึกปฏิบัติกับพระอาจารย์มั่น จวบจนเข้าพรรษา จึงกลับมาจำพรรษาต่อกับพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดพระพุทธบาทบัวบก

ในพรรษานี้ ท่านได้ภาวนาจนจิตรวมแล้วเกิดอาการสะดุ้ง พระอาจารย์บุญ จึงให้ญุตติจตุถกรรมใหม่ที่ วัดโพธิสมพรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2468 โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์บุญ ปญญาวโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ในบรรดาศิษย์หลวงปู่ มั่น กล่าวได้ว่า หลวงปู่หลุยเป็นผู้ที่สันโดษ มักน้อย ประหยัด มัธยัสถ์ที่สุด เป็นผู้ละเอียดลออ และเป็นนักจดบันทึก มีบันทึกหลายสิบเล่มเกี่ยวกับหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อการค้นคว้าศึกษาสำหรับสาธุชนคนรุ่นหลัง รวมทั้งธรรมโอวาทของท่านด้วย

ธรรมเทศนาของหลวงปู่หลุย มีมากมายนับไม่ถ้วน ด้วยท่านได้เทศน์โปรดญาติโยมลูกศิษย์มากกว่าครึ่งศตวรรษ จนกระทั่งคืนสุดท้าย ก่อนจะมรณภาพเพียงหนึ่งชั่วโมง ท่านก็ยังอบรมสั่งสอนศิษย์อยู่

ท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของการ รักษา ศีล โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ ท่านจะเน้นให้บรรดาศิษย์รักษาเพิ่มจาก ศีล 5 เป็น ศีล 8 ท่านได้อธิบายอานิสงส์ของศีลให้ฟังว่า ศีล 5 พระพุทธเจ้า ท่านมีเมตตาต่อผู้ครองเรือน ผู้รักษาศีล 5 ย่อมสำเร็จโสดาบันได้ สำหรับศีล 8 ย่อมช่วยให้สามารถสำเร็จถึง อนาคามีได้

ธรรมเทศนาของท่าน จะย้ำเสมอเรื่องการบริจาคทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา ท่านมักจะเน้นเรื่องศีลอยู่เสมอ เพราะ ศีล แปลว่า ความปกติ เป็นการรักษาใจให้ปกติ อันเป็นบาทเบื้องต้นของการภาวนา หากรักษาศีลได้บริสุทธิ์ การภาวนาก็จะก้าวหน้ารวดเร็ว ผู้มีศีลย่อมต้องมีจิตใจผ่องใส เป็นที่รักของบุคคลทั้งหลาย

หลวงปู่หลุย จันทสาโร เปี่ยมล้นด้วยเมตตา โดยไม่อ้างกาลเวลา แม้อาพาธอย่างหนัก ยังปรารภปัจฉิมเทศนาเป็นครั้งสุดท้าย จวบจนเวลา 23.30 น. ท่านได้กล่าวว่าท่านประคองธาตุขันธ์ต่อไปไม่ไหว คงจะปล่อยวางแล้ว ขอเอาจิตอย่างเดียว และขอขอบใจที่พระเณรได้ช่วยกันอุปัฏฐากท่าน หากได้ล่วงเกินซึ่งกันและกัน ก็ขอให้อโหสิกรรมให้แก่กันและกันด้วย

กระทั่ง เวลา 00.43 น. คืนวันที่ 24 ล่วงเข้าสู่วันจันทร์ที่ 25 ธันวา คม 2532 หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง ได้ละสังขารไปด้วยอาการอันสงบ สิริอายุ 88 ปี พรรษา 67

ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6



10


ประวัติ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์


" เราจะกลัวเสือหรือกลัวกิเลส กิเลสมันทำให้เราตาย นับภพนับชาติไม่ถ้วน เสือตัวนี้ มันทำให้เราตายได้หนเดียว" ธรรมบรรยายจาก "หลวงปู่กงมา (พระอาจารย์กงมา) จิรปุญโญ" แห่งวัดดอยธรรมเจดีย์ ต.ตองโขบ อ.ศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พระป่าสายกัมมัฏฐานชื่อดัง

ประวัติพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ
อัตโนประวัติ หลวงปู่กงมา มีนามเดิมว่า กงมา วงศ์เครือสอน เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2443 ณ บ้านโคก ต.ตองโขบ อ.ศรีสุพรรณ จ.สกลนคร โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายบู่ และนางนวล วงศ์เครือสอน

ในช่วงวัยหนุ่ม ได้ทำหน้าที่เป็นนายฮ้อย ต้อนวัวควายไปขายตามจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงกาลอันควร ได้แต่งงานเมื่ออายุได้ 25 ปี ต่อมาภรรยาและบุตรในครรภ์ได้เสียชีวิตลง ทำให้ท่านรู้สึกสลดใจ ก่อนตัดสินใจออกบวช โดยมีพระอาจารย์โท เป็นพระอุปัชฌาย์

ภายหลังบวชได้ไปจำพรรษาที่วัดบึงทวย กับพระมี ซึ่งเป็นเพื่อนกัน แต่อยู่วัดนี้ได้ไม่นาน ด้วยความเบื่อหน่ายไม่ได้ตามที่ประสงค์ ขณะเดียวกัน พระมีได้เล่าถึงเกียรติคุณของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีผู้ปฏิบัติตามมากมายทำให้พระกงมา เกิดความสนใจ จึงได้ชักชวนกันไปตามหาหลวงปู่มั่น

ครั้นได้พบหลวงปู่มั่น ณ บ้านสามผง ดงพะเนาว์ ทั้งสองได้เข้าไปนมัสการแล้วนั่งฟังธรรม เมื่อท่านแสดงธรรมจบ ได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ และหลวงปู่มั่นก็ได้รับตัวไว้เป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

พระกงมา ได้ญัตติเป็นพระธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2470 ณ วัดบูรพา อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมี พระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เพ็ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ภายหลังญัตติ ท่านได้ธุดงค์ไปจำพรรษาตามที่ต่างๆ อาทิ พ.ศ.2472 บ้านหัววัว จ.ยโสธร พ.ศ.2473 บ้านเหล่างา จ.ขอนแก่น พ.ศ. 2474 บ้านทุ่ม อ.เมือง จ.ขอนแก่น

หลวงปู่กงมา เป็นผู้หนึ่งที่ได้สร้างวัดไว้ไม่น้อย เป็นต้นว่า พ.ศ. 2476 ท่านได้สร้างวัดสว่างอารมณ์ บ้านใหม่สำโรง อ.สีคิ้ว จ.นคร ราชสีมา และในปี พ.ศ.2480 ชาวบ้านหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี ได้สร้างวัดขึ้นใหม่ และนิมนต์ท่านไปจำพรรษา ซึ่งท่านก็รับนิมนต์

ต่อมาชาวบ้านได้พร้อม ใจกันสร้างเสนาสนะถวายให้ชื่อว่า วัดทรายงาม และในปี พ.ศ.2482 ท่านได้สร้างวัดเขาน้อย ท่าแฉลบ ตามข้อชี้แนะของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหมื่นวชิรญาณวงศ์

ในปี พ.ศ.2485 ท่านได้อยู่จำพรรษากับหลวงปู่มั่น ได้รับอุบายธรรมและได้รับความเมตตาเป็นพิเศษ สถานที่ปฏิบัติธรรมนั้น เดิมเป็นเพียงสำนักชั่วคราว หลวงปู่กงมาได้สร้างขึ้นใหม่จนเป็นวัดสมบูรณ์ตั้งชื่อว่า "วัดสุทธิธรรมาราม" เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่มั่นได้ออกธุดงค์ หลวงปู่กงมาเห็นว่าวัดสุทธิธรรมาราม มีความวิเวกน้อย ไม่เหมาะแก่การอยู่ปฏิบัติธรรมท่านจึงไปแสวงหาที่เหมาะสมกว่า ท่านได้พบถ้ำเสือบนเทือกเขาภูพานเห็นว่า มีความสงบวิเวกดี

ดังนั้น ในปี พ.ศ.2489 ท่านได้ขึ้นไปปักกลดที่ปากถ้ำเสือ บนเทือกเขาภูพาน ปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ต่อมาจนเสือที่เคยอาศัยอยู่ ณ ถ้ำแห่งนี้ ต้องหลีกทางให้ท่าน อยู่ปฏิบัติเพราะสู้เมตตาธรรมท่านไม่ได้ สถานที่แห่งนี้ต่อมาหลวงปู่กงมาได้สร้างเป็นวัดชื่อ "วัดดอยธรรมเจดีย์"

หลวงปู่กงมา (พระอาจารย์กงมา) จิรปุญโญ เป็นนักต่อสู้ชีวิต ต่อสู้กับกิเลส เมื่อยังเป็นฆราวาส ก็เป็นฆราวาสที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ มีคุณธรรม เมื่อพบเคราะห์กรรม ก็รู้จักเลือกสรรสาระให้กับชีวิต ถือเป็นเพศบรรพชิตที่น่าเคารพนับถือ ทั้งในคราบของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและธรรมยุต ได้ทุ่มเทชีวิตให้กับการประพฤติปฏิบัติจนมีความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ

มีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทา ทำให้เกิดวัดอันเป็นสถานปฏิบัติธรรมขึ้น ในวงของพุทธศาสนามากมาย เกิดมีผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามหลักโอวาท ของท่านสืบมาจนถึงทุกวันนี้โดยไม่ขาดสาย


กระทั่งเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2505 หลวงปู่กงมา (พระอาจารย์กงมา) จิรปุญโญ ได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริอายุ 61 ปี 11 เดือน 11 วัน ท่าม กลางความเศร้าสลดอาลัยของบรรดาคณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิก ชนทั่วไปเป็นอันมาก ทั้งนี้ได้มีการถวายเพลิงศพท่านในวันที่ 3 มีนาคม 2506 ณ วัดดอยธรรมเจดีย์ เทือกเขาภูพาน จ.สกลนคร

ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด คอลัมน์ อริยะโลกที่6

หน้า: [1] 2