แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ธรรมรักษ์

หน้า: [1] 2 3 4 5 6
1
วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ



           
                                                                                        อาเศียรวาท ราชสดุดี


                                                                                                 สรวมชีพพระปิ่นฟ้า            รังสฤษฎ์
                                                                                               ราชินีสิริกิติ์                      เกริกฟ้า
                                                                                               ชนม์ยืนชื่นชนชิด             ทุกถิ่น   ไทยแฮ
                                                                                               พระแผ่บุญปกหล้า            ทั่วทั้งแดนสยาม

                                                                                                   กอปรศิลปาชีพช่วย           ชนสราญ   
                                                                                               ปวงพสกนิกรกราน            กราบไท้
                                                                                               ทรงบุญคู่ภูบาล                 รอยพระบาท   ธ เยื้องเฮย
                                                                                               เกริกเกียรติพระทรงไว้        ยิ่งฟ้าพระบารมี

                                                                                                  อัญเชิญองค์เทพไท้          เทวัญ
                                                                                               นมัสการพระตรัยบรรพ์       รัตนาสน์
                                                                                               โสฬสชั้นสวรรค์               โปรดป้อง พระชนม์เทอญ
                                                                                               สมเด็จพระราชินีนาถ         สุขล้นถวายพระพร



2
อย่างน้อยครั้งหนึ่ง ผมก็เคยพูดคุยและแจกเพลงบ้างอะไรบ้างร่วมกับพี่กบในเว๊ปอกาลิโก
เพิ่งจะทราบข่าววันนี้ อาจจะล่าช้าไปสักหน่อย แต่ความรู้สึกแรกที่รู้ก็ช็อคและอึ้งไปครู่หนึ่ง
แน่นอนว่า แม้จะจากเราไปก็จากไปเพียงกาย สิ่งดีๆที่พี่กบทำเอาไว้ ยังคงปรากฏชัดเจนในความรู้สึกเราอยู่เสมอ

ขอร่วมไว้อาลัยกับการจากไปครั้งนี้ ของพี่กบ Peem ครับผม

3
บทความ (Blog) / Re: มีคนเล่น BB มั้ยนะบอร์ดนี้
« เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 10:47:19 am »
ไม่มีเงินซื้อ หว่าๆๆๆๆ :11:

4
ผู้ ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม
พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมโร)
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ



ผู้ปฏิบัติธรรม
จะต้องมีการเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว


บุคคลใดมีธรรมอันพอ
จะช่วยให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ แต่ไม่ช่วย


พระพุทธเจ้าย่อมไม่ทรงสรรเสริญบุคคลชนิดนั้น
และตัวเราเองก็ติเตียน


ถ้าหากเราจะทำอย่างนั้นบ้าง
เราก็สบายไปนานแล้ว
ไม่ต้องมาลำบากอย่างนี้
ทุกสิ่งที่อย่างที่ทำไปนี่
ก็เพราะเห็นแก่ศาสนาส่วนใหญ่



(คัดลอกบางตอนมาจาก “อาณาปานานุสรณ์ตอนต้น”
ใน แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา-กรรมฐาน เรียบเรียงจาก โอวาท ๔ พรรษา
ของ พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจาย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมโร)
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ, หน้า ๓๐๑)

5
ประโยชน์ของศาสนา


ศาสนา มีประโยชน์และความสำคัญในฐานะที่เป็นสถาบันหลักสำหรับยึดเหนี่ยวจิตใจ และเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้อยู่ได้ในสังคมอย่างปกติสุข ซึ่งสรุปได้ดังนี้

๑. เป็นหลักควบคุมความประพฤติของคนในสังคม มนุษย์เราเมื่ออยู่ในสังคมจะต้องมีกฎระเบียบ เพื่อป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน และลงโทษผู้กระทำผิด แต่ในสังคมมีความหลากหลายซับซ้อน กฎระเบียบอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ จึงต้องมีหลักคำสอนทางศาสนามาปฏิบัติเพื่อให้เป็นคนดีตามหลักศาสนานั้น และส่งเสริมให้คนมีเมตตา เอื้ออาทรต่อกัน และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

๒. ช่วยให้สังคมเกิดความสามัคคีมีเอกภาพ เพราะศาสนาจะมีหลักปฏิบัติตามให้เป็นคนมีเหตุมีผล และมีใจกว้างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน รักใคร่ปรองดองกัน สามัคคีกัน แม้กระทั้งคนที่อยู่ต่างศาสนาก็สามารถเข้าใจกันและร่วมมือกัน ประสานสามัคคีได้ สังคมของคนที่นับถือศาสนาจึงมีความสามัคคีและมีเอกภาพ

๓. ศาสนาช่วยให้สังคมดำเนินไปอย่างสันติสุขและราบรื่น อันเนื่องจากศาสนามีส่วนช่วยในการดำเนินชีวิตของศาสนิกชน กล่าวคือ เมื่อศาสนิกชนยึดคำสอนของศาสนาปฏิบัติในชีวิต จะทำให้สามารถแก้ปัญญาชีวิตด้วยเหตุผลและปัญญาเป็นหลักในการตัดสินใจ ทำให้รู้จักอดกลั้น รู้จักขุมอารมณ์ นอกจากนี้ศาสนายังช่วยยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น

๔. เป็นการชดเชยความต้องการพื้นฐานของผู้นับถือศาสนา มนุษย์โดยธรรมชาติมีความต้องการพื้นฐานเหมือนกันคือ ด้านร่างกาย ด้านอาหาร เรื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ด้านสังคม ก็ต้องการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ช่วยเหลือปรองดองกัน ด้านปัญญา ก็ต้องการหลักแห่งความเป็นเหตุ เป็นผล ในการดำเนินชีวิต ด้านจิตใจ ก็ต้องการกำลังใจ ความหวังที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข จึงกล่าวได้ว่าแต่ละศาสนาจะมีหลักที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของศาสนิกชน ของตนได้อย่างชัดเจน

๕. ศาสนาเป็นบ่อเกิดของการสรรค์สร้างวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม สถาปัตยกรรม และวรรณคดี ล้าวนมีแหล่งกำเนิดมาจากคำสอนทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เช่น เรื่องการทำความดี นรก สวรรค์ ที่เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา ทำให้เกิดงานศิลปะเป็นจิตรกรรมฝาผนัง พระเวสสันดรชาดก พระมหาชนก เป็นวรรณกรรมไทยที่สำคัญโดยมีที่มาจากคำสอนในชาดก มารยาทไทย การกราบ การไหว้ รวมไปถึงประเพณีต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนกระทั้งตายของผู้คนส่วนมากล้วนมาจากพระพุทธศาสนาเกือบทั้งสิ้น

6

การบำเพ็ญเพียรภาวนาของหลวงปู่เณรคำสมัยตอนเป็นสามเณร.. จะไม่รอโอกาส ไม่รอเวลา จะไม่เอาเรื่องใหญ่มาเป็นข้อพิจารณา แต่เราจะเริ่มจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้เองทุกอย่าง เมื่อเรามีการเข้าไปสัมผัสรู้ รับรู้ในสิ่งนั้น โดยใช้อำนาจของสติ ความระลึกได้ มีความตั้งมั่นพินิจพิจารณาใคร่ครวญสิ่งนั้นให้ดี จับมันยกขึ้นมา สิ่งนั้น แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ผลที่ได้มหาศาลมาก

เรา ทุกคนอาจจะเข้าใจว่า การบำเพ็ญเพียรภาวนานั้น ฉันต้องรอนั่งสมาธิ ๑ ชม. ๒ ชม. หรือว่าการบำเพ็ญภาวนา ฉันต้องเดินจงกรม ๓๐ นาที กำหนดอิริยาบถท่าทางไปตามสภาวะ ผลมันถึงจะเกิดกับฉัน การคิดอย่างนั้นก็ถูกต้อง อันเป็นแนวทางดั้งเดิม

แต่แนวทางใหม่ เหมือนกับที่เราต้องเข้าใจว่า ระบบเดิมมันต้องรอเวลา มันต้องรอโอกาส เดี๋ยวก็ต้องรอเวลาว่างจากการทำงาน เดี๋ยวก็ต้องรอเวลาว่างจากการปฏิบัติภารกิจในแต่ละวัน ในการปฏิบัติของหลวงปู่ไม่เคยมีการรอคอยเวลา ทุกเวลาเป็นการภาวนาไปหมด ทุกความรู้สึก ทุกสัมผัส จะเป็นสภาวะที่เราจะเข้าไปทำการเจริญสติ ณ จุดนั้นให้ได้

อย่าง ที่สมัยตอนเป็นสามเณรบำเพ็ญอยู่ พอออกจากที่นั่งสมาธิ ไปเดินจงกรมเสร็จเรียบร้อย ยืนทำสมาธิเสร็จ ก็ไปทำภารกิจอื่นๆ อย่างเช่น กวาดใบไม้ มือที่จับด้ามไม้กวาด เราก็รู้ว่าเราจับด้ามไม้กวาด บางทีเห็นผมร่วงลงสู่พื้น เราก็พิจารณาเส้น ผมนั้น สัมผัสรู้ในสิ่งที่มันหลุดร่วงออกมา มดกัด ยุงกัด หรือว่าลมพัดกระทบผิว แม้กระทั่งความคิดที่มันคิดอยู่ในปัจจุบัน ขณะเราคิดอะไรอยู่ เราก็ไปจับรู้ในความคิดอันนั้นเสีย รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ นี้ทรงคุณค่ามาก

ผลที่ได้เข้าไปกำหนดรู้อันนั้นนี่ มันจะรวมกันเป็นหนึ่งในใจของเรา คือ ความเป็นผู้ที่มีความระลึกได้ในทุกสภาวะ ทุกอาการที่เกิดขึ้น พุทธศาสนิกชนทุกคนนี่ จึงสามารถที่จะบำเพ็ญโดยวิธีนี้ได้ โดยท่านไม่ต้องมาอ้าง ไม่ต้องมีข้อแม้ว่า ไม่มีเวลาปฏิบัติ ทุกคนมีเวลา เพราะฉะนั้น ข้ออ้างนั้นก็คือ เป็นการสนองกิเลส มันไม่ใช่ สิ่งที่จะทำให้จิตใจของเราเข้าสู่มรรคผลนิพพานได้ อย่างหลวงปู่กำลังนั่งบรรยายธรรมอยู่ที่นี่ก็เหมือนกัน หลวงปู่มีความระลึกได้อย่างสม่ำเสมอคงเส้นคงวา มีความสัมผัสรู้อยู่ตลอดเวลา แล้วก็มีสติต่อเนื่องตลอดเวลา สมาธิต่อเนื่อง ปัญญาก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่ธรรมะอาจจะให้ความหลากหลายแก่ท่านพุทธศาสนิกชน ที่สำคัญที่สุดก็คือ เราเข้าใจกันแล้วว่า สิ่งละเอียดเล็กน้อย มันมีคุณค่า


ในสากลกายนี้ ที่มีเนื้อ หนัง เอ็น กระดูก หรือว่าในเวทนา ทุกสัมผัสที่มันเกิดขึ้น หรือว่าในจิตในธรรมทั้งหลาย ทุกอย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ มีความสัมพันธ์กันหมด พอหลวงปู่ไม่รู้ ผู้แนะนำไม่มี ก็เลยมานั่งสมาธิ กำหนดจิตให้เข้าสู่ความสงบนิ่ง เจริญปัญญาวิปัสสนา ก็คือ การบำเพ็ญของหลวงปู่ ความหยั่งรู้แจ่มแจ้งในความเป็นจริงของชีวิตมันมีมากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ความหยั่งรู้ตรงนี้มันชัดเจนแจ่มแจ้งมาก สิ่งที่มันรู้ในกายในใจก็ไม่มีข้อสงสัยแล้ว โลกธรรมทั้งหมดเราก็ไม่สงสัย


แล้ว นับประสาอะไรกับเครื่องคอมพิวเตอร์ พอสงสัยอะไร ก็นั่งสมาธิดู ปรากฏว่าเห็นโปรแกรมขึ้นมา มันมหัศจรรย์มาก มันให้รายละเอียดอะไรต่างๆ มากมาย พอจับจุดมันได้ก็พบว่ามันก็มีสาระแก่นสารของมัน เหมือนกับจิตผู้ที่ปฎิบัติธรรมกรรมฐาน เราอย่ามองข้ามสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่มันปรากฏอยู่ในทุกขณะจิตในปัจจุบัน สรุปแล้วก็เลยใช้คอมพิวเตอร์ได้จากการนั่งสมาธิ ตั้งแต่เด็กไม่เคยจับมาก่อนเลย มหัศจรรย์มาก แปลว่า ผลของการปฏิบัติธรรมที่เราทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ให้อะไรหลากหลายมากมาย เป็นสิ่งที่เรารับรู้ ค้นคว้า แล้วนำมาปฏิบัติ




-----------------
พิมพ์คัดลอกมาจากหนังสือ ชาติหน้าไม่ขอมาเกิด 2
หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก
จาก หน้า ๑๙๙ - ๒๐๒

7

เมื่อทราบแล้วว่าสิ่งต่างๆ ในโลกนั้นเป็นเพียงสิ่งสมมติ
แม้จริงก็เป็นตวามจริงที่สมมติขึ้นมา
ควรก้าวล่วงออกจากโลกียธรรมนั้นเสีย

การออกจากโลกียธรรมก็อาศัยโลกียธรรมนั้นแล
ด้วยโลกียธรรมนั้นมีสองประเภท


ประเภทหนึ่งคือสมมติที่ทำให้มนุษย์มัวเมา
อีกประเภทหนึ่งเป็นวิธีบำเพ็ญเพียรมีศีลธรรม จริยธรรม
การเพ่ง การพินิจ และสมาธิ
กอปรเป็นสภาวะที่จะช่วยนำจิตใจออกจากโลกสมมติเสียได้


ถ้าจะเปรียบให้เห็นชัด โลกียธรรมทั้งสองประเภทก็เหมือนหนามสองอันในโลก

เมื่อหนามอันนึงตำเราให้เจ็บปวด
ก็ต้องใช้หนามอีกอันนึงบ่งหนามที่ตำออกอยู่เสีย
เมื่อบ่งหนามที่ตำอยู่ออกได้แล้ว
ก็ละหนามทั้งสองเสีย

แต่การจะใช้หนามบ่งหนามออกนั้นก็มีวิธี
วิธีที่จะล้างสมมติแห่งโลกียธรรมออกจากใจเสียได้นั้น
ต้องอาศัยสมาธิกอปรกับสภาวะ ๔ นั้น คือ


๑. การสำรวมอินทรีย์ ความอดกลั้น การสำรวมใจ และความศรัทธา
๒. ความหน่ายหรือความไม่ปรารถนาในผล ไม่ว่าในโลกนี้ หรือในโลกหน้า
๓. ความแตกฉานรู้แจ่มแจ้งแทงตลอดในสมมติและสัจจะ
๔. ความปรารถนาที่จะยกระดับตนให้พ้นจากโลกียธรรมทั้งหลาย


8
 :44:ขอบคุณบทความดีๆครับผม

9
 :19: สัจธรรมของคนทำงาน :27:
อิอิ :13:

10
คุยสบาย นานาสาระ / Re: ไยแพะต้องรับบาปด้วย
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 01:53:22 pm »
ซึ่งตามหลักศาสนาแล้ว คงไ่ม่มีใครจะรับบาปแทนใครได้หรอก(บาป=ผลกรรม)
แต่ในโลกของความเป็นจริง เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอยู่จนเป็นปกติของคนบางกลุ่มชนไปเสียแล้ว :16:

หน้า: [1] 2 3 4 5 6