แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - tamma.th

หน้า: [1]
1
บรรพบุรุษไทยผู้มีชื่อเสียงที่คนไทยรู้จักกันดีและเทิดทูนนั้นมีมากหลาย แต่ละท่านก็ดีไปคนละด้าน แต่สำหรับผู้ที่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ยอมสละแม้กระทั่งชีวิตของตนเพื่อรักษาหน้าที่และกฎระเบียบไว้ คงไม่มีใครเกินพันท้ายนรสิงห์
      ประวัติกล่าวว่า คราวหนึ่ง พันท้ายนรสิงห์ทำหน้าที่ถือท้ายเรือพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้าเสือเพื่อเสด็จประพาสทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี ครั้นเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขาม คลองที่นั่นคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์คัดท้ายเรือไม่ทัน โขนเรือจึงไปชนกิ่งไม้ใหญ่เข้าเต็มแรงจนหักตกลงน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงกระโดดขึ้นฝั่ง และกราบทูลขอพระราชทานอาญาเพื่อให้ตัดศีรษะตนเองตามกฎมณเฑียรบาล แม้สมเด็จพระเจ้าเสือจะพระราชทานอภัยโทษให้ถึงสองครั้ง พันท้ายนรสิงห์ก็ไม่ยอม ทูลขอให้ลงพระอาญาถึงครั้งที่สาม ในที่สุด พระองค์จำต้องให้ตัดศีรษะด้วยความอาลัยเป็นอย่างยิ่ง แล้วโปรดให้สร้างศาลขึ้น ดังปรากฏอยู่ที่บ้านพันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ในปัจจุบัน
      เรื่องนี้ชวนให้คิดว่า ทำไมคนบางคนเมื่อทำผิดก็ยังยืนยันจะรับโทษถึงตายทั้งที่มีโอกาสจะพ้นผิดได้ ยิ่งเหตุการณ์นั้นเป็นเรื่องจริง มีตัวตนอยู่จริง ๆ ไม่ใช่นิยาย หรือเป็นแค่อุดมคติเลื่อนลอย ก็ยิ่งทำให้น่าคิด ถ้าฟังแล้วพยายามอ่านเข้าไปในความคิดของเขา บางทีก็จะช่วยให้ได้แง่คิดดี ๆ และเหตุผลที่กว้างขวางออกไป ไม่จมอยู่แค่ความคิดและความต้องการของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตได้ เพราะเรื่องดี ๆ ทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากความคิดที่ดี ๆ นี่แหละ ... ธรรมะสอนใจทั้งหมด เชิญที่ ธรรมะสอนใจ

   

2
มีเรื่องเล่าว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์หนึ่ง ได้รับแจกันลายครามอายุหลายร้อยปีและมีราคาแพงมากจากผู้ศรัทธา เวลาศิษย์วัดทำความสะอาดพระตำหนัก พระองค์จะคอยกวดขันให้ระมัดระวังแจกันใบนั้นเป็นพิเศษ จนวันหนึ่งก็ได้เรื่องขึ้นมาจริง ๆ ขณะที่ศิษย์ทำความสะอาดอยู่นั้นได้เผลอทำแจกันตกแตกเสียงดังสนั่น พระองค์ประทับอยู่ตรงนั้นพอดี แต่แทนที่จะโกรธหรือเสียใจกลับรับสั่งออกมาว่า “เออ หมดภาระไปเสียที”

        มีคำที่พระพุทธเจ้าสอนบทหนึ่งว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” การสอนเช่นนั้น บางท่านเข้าใจไปว่า ทำให้ขาดความกระตือรือร้น ตัดขาดการเสพสุขในเรื่องต่าง ๆ และเลยไปถึงขั้นทำให้ขาดความรับผิดชอบในภารกิจหน้าที่ เป็นต้น คือ ... ธรรมะสอนใจ ตอน ปล่อยวางเสียบ้าง

3
ธรรมะสอนใจ  เรื่อง ปีศาจจำแลง ตอน ปีศาจหลังยาว
     ปีศาจหลังยาว เป็นปีศาจอีกตัวหนึ่งในกลุ่มปีศาจจำแลง ๖ ตัว เหตุที่ได้ชื่อว่าปีศาจหลังยาว เพราะเมื่อเข้าสิงใครแล้วคนถูกสิงจะกลายเป็นคนเกียจคร้าน เหมือนสำนวนไทยที่ว่า “ขี้เกียจสันหลังยาว” นั่นเอง
        คนเกียจคร้านนั้นเป็นคนอาภัพ เพราะโดยพื้นฐานแล้ว เขาก็เป็นคนที่มีศักยภาพหลายอย่างเหมือนคนอื่น ๆ นั่นแหละ แต่เพราะถูกความเกียจคร้านครอบงำ ความรู้ความสามารถที่จะพึงมีพึงใช้ก็เลยถูกพันธนาการไว้สิ้น แม้แต่มือและเท้าซึ่งเป็นดุจกลไกวิเศษก็พลอยหมดสภาพลงทุกที สติปัญญาเล่าก็วนเวียนอยู่แต่การคิดหาเหตุผลมาสนับสนุนการไม่ทำงานว่า ตอนนี้ยังร้อนอยู่บ้าง หนาวเกินไปบ้าง ยังเช้าอยู่บ้าง เย็นหมดเวลาแล้วบ้าง แล้วผัดผ่อนเข้าข้างตัวเองหาความสบายเฉพาะหน้าไปเรื่อย ๆ ความคิดอย่างนี้พอเกิดขึ้นแล้วก็ไปเสริมความเกียจคร้านที่มีอยู่เดิมให้หนักแน่นขึ้นไปอีก และทำนองเดียวกัน ความเกียจคร้านที่ได้กำลังเสริมนี้ก็ไปหนุนความคิดเดิม ๆ ให้หยั่งลึกลงไปอีก หมุนเวียนอย่างนี้ไม่จบสิ้น
       ถ้าพิจารณาให้ดี ความสุขอาจไม่ใช่ความสบาย และความสบายก็อาจไม่ใช่ความสุข เห็นได้จากคนที่ทำงานอย่างเอาจริงเอาจัง ซึ่งต้องทิ้งความสบาย ต้องเหนื่อย ต้องร้อน แต่เขาก็มีความสุขกับการทำงานนั้นได้ ส่วนคนที่นั่งกินนอนกินอย่างเดียว ทำอะไรไม่ได้ ต้องถือว่าสบาย แต่ก็ไม่มีความสุข ดังนั้น คนที่มุ่งแต่ความสบายเฉพาะหน้าอย่างเดียว ไม่อยากรับผิดชอบ ไม่อยากทำงาน จึงต้องคิดเสียใหม่ว่า การกระทำอย่างนั้นเป็นการเดินเข้าไปหาความเสื่อม ไม่ใช่ความสุข เพียงแต่หน้าฉากแฝงความสบายบ้าง ความสนุกสนานบ้าง ความเพลิดเพลินบ้าง เป็นเครื่องล่อใจตามวิสัยเล่ห์กลของปีศาจหลังยาว ซึ่งผู้ที่หวังความเจริญต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ


ขอแนะนำ "ธรรมะสอนใจ" น่าอ่าน

"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอน ปีศาจหรรษา
ธรรมะสอนใจ เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอน ปีศาจหรรษา
"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอนปีศาจสุรา
ธรรมะสอนใจ  เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอน ตอนปีศาจสุรา


4
คุยสบาย นานาสาระ / งดเหล้าเข้าพรรษา
« เมื่อ: กันยายน 24, 2015, 12:24:11 am »
      วันเข้าพรรษา คือ วันที่พระภิกษุสงฆ์ตั้งใจกำหนดลงไปว่า จะจำพรรษาอยู่ ณ วัดหรือที่ใดที่หนึ่งตามพุทธานุญาตตลอดไตรมาส โดยมีคำอธิษฐานซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "ข้าพเจ้าเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน ในวัดนี้" การเข้าพรรษาเป็นพุทธบัญญัติ คือ ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ การอธิษฐานอยู่จำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์นั้น ชาวพุทธสามารถนำมาอธิษฐานจิตคิดทำความดี ในเทศกาลเข้าพรรษาได้เช่นกัน เช่น การถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรม เจริญจิตภาวนาที่เคยปฏิบัติมาแล้วให้มากยิ่งกว่าเดิม หรืออธิษฐานจิตคิด ลด ละ เลิก อบายมุขต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดื่มสุราอันเป็นเหตุให้เกิดความประมาท ทำให้สูญเสียชีวิตทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งต้องมีการรณรงค์ในโครงการ "เมาไม่ขับ" และใช้มาตรการคุมเข้มในการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่ยานยนต์อย่างจริงจัง แต่เนื่องจากยังไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร คนยังไม่งดดื่มเหล้า แม้เมายังฝืนขับขี่ยานยนต์ จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต และบาดเจ็บเป็นจำนวนมากทุกปี

       ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา การอธิษฐานใจเพื่อ ลด ละ เลิก การดื่มเหล้าช่วงเข้าพรรษา น่าจะมีผลดี คือช่วยลดการสูญเสียดังกล่าวได้ ทั้งนี้เพราะช่วงเข้าพรรษา ชาวพุทธส่วนหนึ่งนิยมบวชลูกหลานตามจารีตประเพณี ทำให้มีการงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย ผู้ที่เป็นพ่อแม่ญาติพี่น้องก็พลอยได้อาศัยใบบุญลูกหลานเข้าวัดทำบุญ หรืออธิษฐานงดเว้นอบายมุขตลอด ๓ เดือน จึงเป็นระยะเวลาลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมาก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ ของปี

       ดังนั้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้ถือเอาระยะเวลาดังกล่าวรณรงค์ "งดเหล้าช่วงเข้าพรรษา" อย่างเป็นทางการ ทั้งให้ความร่วมมือ ไม่ดื่ม ไม่จำหน่ายสุราอย่างจริงจัง และช่วยรณรงค์ให้เห็นโทษภัย ดังคำกลอนสอนใจที่ว่า

   ถ้า ล เหล้าเข้าก่อนบ่ห่อนเว้น
   ทั้ง ล เล่น ล ลัก มักตามหลัง
   อีก ล ลืม ล หลง คงไม่ฟัง       
   จนกระทั่งเลยต่อถึง ล เลว
   ทั้ง ล โลภ ล ลอบ ล ลักล้วง       
   ล หลอกลวง เลยถึงซึ่ง ล เหลว
   ไม่ ล ลด ละ เลิก ให้เร็วเร็ว
   ติดไฟเปลวปลดปลงลง ล โลง

ข้อคิดธรรมะ ตอน งดเหล้าเข้าพรรษา

5
ทุกวันนี้ มีบางคนปรารถนาอะไร ก็มุ่งจะให้ได้ตามใจปรารถนา และเวลาที่กำหนด บางคนก็สร้างข่าวลือ เพื่อผลทางจิตวิทยา บางคนจะทำอะไร ก็มัวแต่ถือโชคเชื่อลาง บางคนก็เดินทางผิด บางแห่งก็ตัดสิทธิคนดี   เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทำให้เกิดความสับสน ทั้งในวงการต่างๆ ตลอดถึงสังคมทั่วๆ ไป ดังนั้น เพื่อไม่ให้สังคมเกิดความสับสน และทุกคนอยู่อย่างมีความสุข จึงขอฝากเรื่องห้าอย่าไว้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ ดังนี้
       ๑. อย่าเร่งเวลา กิจบางอย่าง เรื่องบางอย่าง ต้องค่อยเป็นค่อยไป รีบร้อนจะเสียการ ดังคำโบราณที่ว่า "ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ" หรือ "ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม " ต้องรู้จักรอจังหวะและคอยโอกาส ดุจผลไม้บ่มแก๊ส
        ๒. อย่าบ้าข่าวลือ ข่าวลือมักเป็นข่าวไม่จริง ลือกันไป ลือกันมาก็เงียบ บางครั้งทั้งคนลือ และคนถูกลือ ได้รับผลกระทบทั้งคู่ เพราะฉะนั้น ข่าวลือจึงเป็นอันตราย อย่าใส่ใจและให้ความสำคัญ วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด คือ  อย่าสร้างข่าวลือ อย่าเชื่อข่าวลือ และอย่านำไปลือ

       ๓. อย่าถือโชคลาง การทำงานและการทำดีทุกชนิด ไม่มีกำหนดว่า จะต้องถือหรือรอสิ่งนั้น สิ่งนี้ มาบันดาล จึงถือความดีและเหตุผลเป็นที่ตั้ง อย่าถือสิ่งเหลวไหลภายนอกมาเป็นตักำหนด จะทำให้วุ่นไม่เลิก
       ๔. อย่าเดินทางผิด ทางที่ทุกชีวิต ต้องเดินนั้น มีมากมายหลายทาง ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ แต่ทางเหล่านั้นเป็นเพียงทางสัญจร เพื่อสู่จุดหมายปลายทางธรรมดา ยังหาใช่ทางที่ถูก ที่ประเสริฐและพ้นทุกข์ไม่ ทางที่ถูกที่ประเสริฐ และพ้นทุกข์นั้น มี ๘ สาย และรวมกันเป็นเส้นทางเดียวคือ เห็นถูก คิดถูก พูดถูก ทำถูก เลี้ยงชีพถูก พยายามถูก ระลึกถูก และตั้งใจถูก
       ๕. อย่าตัดสิทธิ์คนดี คนดี คือคนที่มีความรู้ดี ความสามารถดี ความประพฤติดี สังคมควรจะให้โอกาส ให้เวลา ให้กำลังใจ และให้อภัย ทำให้คนดีมีกำลังใจ ไม่ท้อแท้ในการสร้างประโยชน์ เสียสละเพื่อบ้านเมืองและส่วนรวม ดังนั้นต้องช่วยกันสร้างความดี สร้างคนดี สนับสนุนและยกย่องคนดี สังคมจึงจะเกิดความสวัสดี

หน้า: [1]