กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 8 9 10
21
ภาพแสดงขั้นตอนพัฒนาจิตแบบเซน Zen Meditation




ภาพที่ 1 ชายหนุ่มกำลังเดินตามหาอะไรอย่าง ท่ามกลางป่าเขา เป็นภาพเปรียบเทียบ แทนชีวิตทั่วๆ ไป ที่เกิดมาแล้ว ใช้ชีวิตไปตามจุดหมายระดับสัญชาตญาณทั่วๆ ไป คือ เกิดมา เติบโต เล่าเรียนศึกษา เพื่อฝึกหัดวิชาอาชีพ แล้วทำมาหากินเลี้ยงชีวิตของตน และครอบครัว แสวงลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทางกามคุณ หรือวัตถุกาม ระหว่างนั้น ก็ทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง จนถึงวาระ แก่ เจ็บ ตาย ไปตามวิถีชีวิตของคนทั่วๆ ไป แต่ตลอดชีวิต ก็ไม่เคยตั้งคำถาม หรือแสวงหาจุดมุ่งหมาย คุณค่าของชีวิต ว่ามีอะไรมากไปกว่านั้น ประเสริฐ ประณีต มากกว่านั้นหรือเปล่า



ภาพที่ 2 เขาเห็นร่องรอยของสิ่งที่กำลังตามหาแล้ว เปรียบเหมือนคนที่ตั้งคำถามกับตนเองว่า ชีวิตเกิดมาทำไม อะไรควรเป็นจุดมุ่งหมายที่แท้จริง ของการเกิดมาที่ชีวิตควรได้ ควรไปให้ถึง แล้วเริ่มแสวงหาคำตอบ




ภาพที่ 3 เขาตามรอยไป พบสิ่งที่เขาตามหาคือโค เขาอาศัยการศึกษาหลักในพระพุทธศาสนา จากกัลยาณมิตร เช่น พระ ครูบาอาจารย์ หรือแหล่งข้อมูลทางพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง จนได้คำตอบว่า ชีวิตควรมีจุดมุ่งหมาย 3 อย่าง คือ


1. ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ คือ จุดมุ่งหมายภายนอก หรือเป้าหมายในปัจจุบัน คือ - ทรัพย์สมบัติ หรือปัจจัยสี่ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น ต่อการเลี้ยงชีวิต ของตน และคนในครอบครัว - การทำตนให้อยู่ในหลักแห่งศีลธรรม และจรรยาที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมที่ตนอยู่อาศัย มียศ มีเกียรติ ตามฐานะ - การทำหน้าที่ต่อบุคคลรอบข้าง ตามบทบาทฐานะของตน เช่น ฐานะลูกที่จะพึงปฏิบัติต่อพ่อแม่ ฐานะสามีภรรยา ที่จะพึงปฏิบัติต่อ ภรรยาสามี ฐานะพ่อแม่ ที่จะพึ่งปฏิบัติต่อลูก ฐานะบุคคลในสังคมที่จะพึงปฏิบัติต่อสังคมส่วนรวมที่ตนอยู่อาศัย เป็นต้น เป้าหมายของชีวิตระดับแรกนี้ เป็นสิ่งจำเป็นที่ธรรมชาติบังคับอยู่แล้วโดยส่วนหนึ่ง การบรรลุจุดหมายในชีวิตระดับนี้ จะทำให้ชีวิตได้รับความสุขภายนอก และทำให้ชีวิตมีความเป็นปกติ มีความเรียบร้อยดีงาม สิ่งสำคัญอยู่ที่ิวิธีการที่จะบรรลุจุดหมายดังกล่าว ต้องอาศัยธรรมเป็นสิ่งกำกับขับเคลื่อน ต้องเป็นไปโดยชอบธรรม มิเช่นนั้น ความสุขหรือการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ก็จะนำความเดือดร้อนวุ่นวายมาให้ชีวิตด้วย


2. สัมปรายิกัตถะประโยชน์ จุดมุ่งหมายภายใน หรือจุดมุ่งหมายในอนาคต เพราะชีวิตมิได้มีแต่ส่วนกายภาพ หรือสังคมและบุคคลรอบข้าง ภายนอกอย่างเดียว แต่ยังมีส่วนจิตใจที่สัมพันธ์กับสิ่งเหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา โดยที่คุณภาพของจิตใจมีผลต่อการปฏิบัติต่อสิ่งภายนอกนั้นโดยตรงด้วย มีผลต่อความสุขในชีวิตที่ลึกซึ้งกว่าสุขที่เกิดจาก การบรรลุจุดมุ่งหมายภายนอกนั้นด้วย คุณธรรมภายใน จึงเป็นจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายของชีวิตในระดับที่สองนี้ คือ

1) ศรัทธา การมีหลักความเชื่อที่ถูกต้อง เป็นแนวยึดถือปฏิบัติ 2) ศีล มีพฤติกรรมความประพฤติ ทางกายวาจา ที่ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ไม่สร้างความร้อนอกร้อนใจแก่ตนเอง 3) จาคะ การรู้จักขัดเกลาจิตใจตนเอง ด้วยความเสียสละ เอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่นในสิ่งที่ถูกต้อง รู้จักมีเมตตา และให้อภัยผู้อื่น ซึ่งจะทำให้เป็นผู้มีอัธยาศัยกว้าง มีจิตใจสะอาดปลอดโปร่ง 4) ปัญญา คือ เป็นคนมีเหตุผลไม่งมงาย เชื่อง่าย เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เรื่องราวต่างๆ ด้วยความเข้าใจ ไม่ด่วนสรุป พิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างรอบด้าน แล้วปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นด้วยอำนาจของปัญญาความรู้ความเข้าใจนั้น


3. ปรมัตถะประโยชน์ คือ จุดมุ่งหมายสูงสุด ได้แก่ ความบรรลุถึงแก่นแท้แห่งสัจธรรมความเป็นจริงของชีวิต เห็นชีวิต ที่ประกอบด้วยกายใจ หรือ ส่วนกายภาพ ส่วนนามธรรม ตามความเป็นจริง ว่าไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัวตน ไมใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนปล่อยวางสาเหตุแห่งความทุกข์ได้ตามลำดับ ชีวิตเป็นอิสระปลอดโปร่ง จากความยึดมั่นสำคัญผิด มีความสุขอย่างสมบูรณ์ ไม่ถูกครอบงำด้วยโลกธรรมคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ สูญยศ ถูกนินทา ประสบทุกข์ อยู่ในโลกแต่ไม่เป็นทุกข์ไปกับโลก




ภาพที่ 4 เขาใช้เชือกมัดโค และยื้อยุดฉุดโค เพื่อทำให้โคเชื่องให้หายพยศ เขาต้องอาศัยเรี่ยวแรงกำลัง ต้องใช้ทั้งขันติ และสติปัญญา เพื่อให้ฝึกโคได้สำเร็จ เขาต้องทั้งเหน็ดทั้งเหนื่อย ทั้งต้องระวังไม่ให้โดนโคขวิดด้วยภาพนี้เปรียบเทียบ ได้กับการที่บุคคล ที่หลังจากรู้จุดมุ่งหมายในชีวิตแล้ว เริ่มลงมือฝึกฝนตนตามหลักธรรมปฏิบัติที่ได้เรียนรู้ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ในขั้นของการฝึกหัด ต้องอาศัยความอดทนอย่างหนัก ต้องทนต่อแรงยั่วยุของอำนาจความเคยชินทางใจเดิมๆ ที่จะทำให้ท้อถอย ท้อแท้ เพราะกิเลสมักจะดึงจิตดึงใจให้ไหลลงต่ำ ให้ละเลิกเพิกเฉย ต่อสิ่งที่จะนำพาชีวิตให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ดีงาม เสมอ





ภาพที่ 5 เขาจับโคและฝึกให้โคเชื่องหายพยศได้สำเร็จจึงจูงโคนำกลับไปเปรียบเหมือน บุคคลที่ฝึกฝนตน จนบรรลุจุดมุ่งหมายได้บ้างแล้ว ได้รับความสุขความสำเร็จในชีวิต บ้างแล้ว แต่ยังต้องประคับประคองตนอยู่ ชีวิตจะยังประสบความทุกข์อยู่ จากอุปสรรคขัดข้องในหน้าที่การงาน แต่ก็มีความสุขมีความราบรืน เพราะเหตุแห่งความทุกข์ถูกกำจัดไปบ้างแล้วตามลำดับถ้าพูดในแง่ของสัจธรรม บุคคลในระดับนี้ เห็นความจริงของชีวิตได้ส่วนหนึ่งแล้วว่า ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา แต่ความยึดมันยังไม่หมดอย่างสิ้นเชิง มีตัวตนที่เบาบางลงแล้ว และไม่มีความสงสัยในสัจธรรม





ภาพที่ 6 โคหายพยศ ฝึกจนเชื่อง ชายหนุ่มสามารถนั่งเป่าขลุ่ยอย่างสบายอารมณ์บนหลังโค เปรียบเหมือน บุคคลที่ฝึกฝนตนจนบรรลุจุดมุ่งหมายต่างๆ ได้มากขึ้น และไม่ต้องเหนื่อยกับการฝึกฝนตนมากเหมือนเมื่อก่อน อุปาทานความยึดมั่นสำคัญผิดเหลืออยู่น้อยมาก ความยึดมั่นสำคัญผิดว่ามีตัวมีตนเบาบางลงมาก กิเลสซึ่งเป็นเหตุแห่งความทุกข์ความเร่าร้อนวุ่นวายต่างๆ น้อยลง




ภาพที่ 7 เขากลับถึงบ้าน หมดภาระที่ต้องฝึกโคแล้ว เปรียบเหมือน บุคคลที่แทบจะหมดภาระในการฝึกฝนตนแล้ว เกือบบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างสูงสุดในชีวิตแล้ว ความยึดมั่นในตัวตนเจือจางจนแทบมองไม่เห็น เป็นบุคคลผู้ไม่ติดอยู่ในความสุขความยินดี ในกามคุณห้า ไม่ว่าทาง รูป เสียง กลิ่น รส และ การกระทบสัมผัสทางกาย ก็ตาม เป็นเหมือนผู้หันหลังให้กับกามคุณอย่างสิ้นเชิง




ภาพที่ 8 ภาระหน้าที่หมดสิ้นแล้ว เหลือเพียงความว่างเปล่า ในภาพเหลือเพียงวงกลมที่ว่างเปล่า เปรียบเหมือน เป็นผู้เสร็จกิจหน้าที่ที่ต้องทำ สิ้นภาระส่วนตนแล้ว ไม่ต้องขวนขวายทำอะไรอีก เพราะความยึดมั่นในตัวตน ในกายในใจ ไม่เหลืออยู่แล้ว เป็นผู้จบกิจ บรรลุจุดมุ่งหมาย คือ ปรมัตถะประโยชน์ขั้นสูงสุด





ภาพที่ 9 ภาพต้นไม้ที่ผลิดอกออกใบ งอกงาม เมื่อไม่มีอะไรที่จะต้องทำเพื่อตนเองอีกต่อไป สิ่งที่จะเกิดขึ้นและเป็นไปในชีวิต คือ คุณธรรม ความเมตตา สติปัญญา จะงอกงามโดยส่วนเดียว เป็นผู้มีความสุข มีความเบิกบาน มีความสงบเย็นอย่างเต็มที่ เพราะหมดจดจากกิเลสเหตุแห่งความเศร้าหมองแล้วอย่างสิ้นเชิง ไม่มีความทุกข์ หรือความเร่าร้อนวุ่นวายใดๆ เข้าถึงใจได้อีกต่อไป




ภาพที่ 10 บุรุษเดินเที่ยวแจกตะเกียงแก่คนทั่วไป เปรียบเหมือน เมื่อบุคคลบรรลุถึงจุดมุ่งหมายของตน ตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งความเมตตากรุณา และสติปัญญาที่มีอยู่ ก็จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างเต็มที่ โดยจะเผยแผ่ บอกวิธีการแห่งการนำตนออกจากทุกข์ที่ตนทำได้สำเร็จแล้ว แก่ผู้อื่น เพื่อให้ผู้อื่นบรรลุถึงความสุข ความเย็น ความเบิกบาน เหมือนเช่นตนเองบ้าง ในภาพเขากำลังเที่ยวแจกตะเกียง เพราะตะเกียง เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งปัญญา ในเมื่อเขาพ้นจากความมืด คือความไม่รู้ ซึ่งเป็นเหตุแห่งกองทุกข์ใหญ่ ด้วยปัญญาคือแสงสว่างแล้ว เขาจึงเที่ยวแจกปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องกำจัดความมืด ให้พบกับแสงสว่าง และส่องทางไปสู่ความพ้นทุกข์


หมายเหตุ การแปลความหมายของภาพปริศนาธรรมนี้ อาจตีความหมาย หรือแปลความหมายได้หลากหลายนัยยะ ตามที่ได้อธิบายไปนี้ เป็นการอธิบายความหมายอย่างสูงสุด ถ้าจะเทียบเคียงในภาพ ผู้ที่ดำเนินชีวิตอยู่ในครรลอง เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเหล่านี้ ถือว่าเป็นมาตรฐานของชาวพุทธทั่วไปได้แล้ว แม้จะยังไปไม่ถึงที่สุดคือ ภาพที่ 10 ก็ตาม ถ้าไม่มุ่งความหมายอย่างสูงสุด เป็นความหมายทั่วๆ ไป อาจอธิบายได้อีกอย่างหนึ่งว่า


ภาพที่ 1 ยังไม่รู้ว่าชีวิตมีเป้าหมายอะไร ภาพที่ 2 เริ่มแสวงหาเป้าหมาย ภาพที่ 3 รู้เป้าหมายในชีวิตแล้ว ภาพที่ 4 เริ่มลงมือเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ภาพที่ 5,6,7,8 การบรรลุเป้าหมายไปตามลำดับ ภาพที่ 9 เป้าหมายที่ได้บรรลุแล้ว เริ่มให้ผลเป็นความสุข เป็นลาภ ยศ ต่างๆ ภาพที่ 10 เมื่อได้บรรลุความสำเร็จส่วนตนได้แล้ว ก็เริ่มทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น มีความเสียสละส่วนเกินเพื่อส่วนรวม มีสำนึกรับผิดชอบต่อบุคคลรอบข้าง และสังคมโดยรวม


ทั้งนี้ เป้าหมายในชีวิต อาจจะไม่สูงเช่นการอธิบายข้างต้น แต่ก็อยู่ในครรลองแห่งธรรมะ ไม่เป็นเป้าหมายที่ไปถึงได้ด้วยการเบียดเบียนให้ผุ้อื่นเดือดร้อน และทำชีวิตของตนให้เร่าร้อน มุ่งที่เมื่อบรรลุจุดมุ่งหมาย อันเป็นประโยชน์ส่วนตนบ้างแล้ว ก็ไม่ละเลยประโยชน์เพื่อส่วนรวม

 จาก https://www.siddharthaway.com/blank-1/2018/01/11/Zen-Meditation

อีกเวอร์ชั่น
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11504.0.html

เด๋วมา อัพเดทต่อ รอเดี๋ยว
22
การฝึกสติเป็นที่นิยมในอเมริกา รวมทั้งสำหรับเด็ก ( พื้นที่ชลประทาน ต้นกล้าแห่งสติ)

เดินทางตามวรรณสิงห์ที่ขับรถบ้านตะลุยแคลิฟอร์เนีย เพื่อสำรวจกิจกรรมการฝึกสติสำหรับเด็ก ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงไปทั่วสหรัฐฯ ในตอนนี้เขาเดินทางไปยังวัด Deer Park ของชาวหมู่บ้านพลัม เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการภาวนาสำหรับเด็กและครอบครัว และได้เรียนรู้เทคนิคการถ่ายทอดเรื่องสติให้กับเด็ก ๆ ที่น่าสนใจมากมาย

การฝึกสติสำหรับเด็กในสหรัฐฯ ได้นับความนิยมอย่างสูง จนเกิดการพัฒนาเทคนิควิธีการใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพและสนุกสนานไปพร้อมกัน ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจเหล่านี้

<a href="https://www.youtube.com/v/w_WytO5vC3w" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/w_WytO5vC3w</a>

https://youtu.be/w_WytO5vC3w?si=o7sbaGeK0kVav2Ip

<a href="https://www.youtube.com/v/VR_97vq-Go8" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/VR_97vq-Go8</a>

https://youtu.be/VR_97vq-Go8?si=ltQ9ntJjZCOESIOl


<a href="https://www.youtube.com/v/BMN8BxVJwXI" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/BMN8BxVJwXI</a>

https://youtu.be/BMN8BxVJwXI?si=o8J6bGCO927VrbxD
23
Hinayana : “หินยาน” หมุดหมายแรกบนเส้นทางฝึกตน ตั้งต้นที่ทุกขสัจ

โพสต์โดย วัชรสิทธา

บทความโดย อุทัยวรรณ ทองเย็น


ที่มาภาพ : Lucky Thangka

“ความทุกข์ไม่มีวันหมดไป และเราจะไม่มีวันมีความสุข…” 

– เชอเกียม ตรุงปะ –


ค่ำคืนหนึ่งในชุมนุมสังฆะปฏิบัติของสังฆะวัชรปัญญา​ วิจักขณ์ พานิช หรือ ครูตั้ม ได้ยก quote ของท่านเชอเกียม ตรุงปะ ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของการพูดคุยคำสอน โดยในคืนนั้นครูตั้มได้เน้นย้ำให้เราทุกคนอ่านประโยคนี้ด้วยใจที่ยินดี​

“Please Read with​ ​Joy”

​ทัศนะนี้แม้ว่าจะฟังแล้วอึ้ง สับสน ว้าวุ่นใจ ว่าเราจะหลีกหนีความทุกข์ในชีวิตไปไม่ได้ มันช่างมืดมนเสียจริง อย่างไรก็ตาม นี่ก็ไม่ได้เป็นแค่ข่าวร้ายเพียงอย่างเดียว ทว่ายังมีข่าวดีคือเราถูกเชื้อเชิญ​ให้มองเห็นความเป็นจริงของชีวิตด้วยความเบิกบาน ฟังดูช่างย้อนแย้งและน่าประหลาดยิ่งนัก!

มุมมองเช่นนี้ถูกถ่ายทอดมาจากคำสอนในสายธรรมของวัชราจารย์ เชอเกียม ตรุงปะ ผู้ได้รับการกล่าวขานถึงคำสอนของท่านว่าเป็น Crazy Wisdom หรือ ปรีชาญาณบ้า คำสอนธรรมะที่ตรุงปะนำไปเผยแพร่ให้แก่โลกตะวันตกมีแง่มุมที่หวือหวา ยอกย้อน ทว่าแหลมคมและตรงไปตรงมา ตีแผ่ต้นตอความทุกข์ความสับสนในชีวิตที่มาจากอัตตาตัวตน เป็นธรรมะที่แสดงให้เห็นจากชีวิตมนุษย์ที่เต็มไปด้วยทุกข์ สุข กิเลส ตัณหา และเราสามารถใช้ทุกแง่มุมในชีวิตเราเป็นวัตถุดิบในการฝึกฝนภาวนา

หลายท่านอาจคิดว่าคำสอนในสายธรรมของท่านเชอเกียม ตรุงปะ เป็นคำสอนวัชรยานเท่านั้น แต่ในความจริงแล้วสิ่งที่ตรุงปะสอนลูกศิษย์นั้นประกอบไปด้วย 3 ยาน ได้แก่ หินยาน มหายาน และวัชรยาน





คำสอนหินยาน หรือ ยานเล็ก นั้นถูกเรียกว่าเป็นเส้นทางการหลุดพ้นของแต่ละบุคคล เป็นเส้นทางที่ตรงและแคบ แต่มีความสำคัญต่อการเดินบนเส้นทางจิตวิญญาณของเราอย่างยิ่ง เพราะเราทุกคนล้วนมีร่างกาย มีจิตใจ มีนิสัยและเรื่องราวภายในที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเรา ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องฝึกฝนที่ตัวเองก่อนที่จะขยายออกไปสู่เส้นทางที่กว้างขึ้นคือ มหายานและวัชรยาน หินยานจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อผู้ฝึกปฏิบัติเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงของเส้นทาง เป็นการเริ่มต้นที่การทำงานกับตัวเองอย่างลงลึก ฝึกฝนวินัยให้การปฏิบัตินั้นมั่นคงไม่เหลาะแหละ และมีความแจ่มชัดกับวิถีของการเป็นผู้ฝึกปฏิบัติ

ในหนังสือเรื่อง The Path of Individual Liberation ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดหนังสือรวบรวมคำสอนของตรุงปะที่บรรยายระหว่างการสัมมนาธรรมะสอนลูกศิษย์เป็นระยะเวลา 13 ปี โดยมีเนื้อหาคำสอนของการฝึกปฏิบัติในมุมมองแบบหินยาน เราต้องตั้งต้นที่การทำงานกับตัวเอง เข้าใจเรื่องความทุกข์ สังสารวัฏ ในทัศนะของหินยานมีคำสอนที่เรียกว่าเป็นทุกขสัจ ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของชีวิตที่ประกอบด้วยความทุกข์ ทัศนะดังกล่าว เช่น …

• Life is Painful. ชีวิตคือความทุกข์ มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่มุมมองของชีวิตแบบนี้ไม่ได้ทำให้เราสิ้นหวังหรือหลีกเลี่ยง แต่ให้เปิดใจยอมรับว่าทุกชีวิตคือการทำงานกับความทุกข์ สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ ระหว่างที่เราใช้ชีวิตไปจนกว่าจะถึงวันสุดท้าย เราจะทำอะไรกับชีวิตของเรา

• Life is Like a Stew. ชีวิตเหมือนหม้อสตูว์ คืออาหารที่ใส่ส่วนผสมหลายอย่างรวมกัน ซึ่งบางอย่างอาจจะอร่อยหรือไม่อร่อย ส่วนผสมในหม้อสตูว์คือสังสารวัฏ คำว่าสังสารวัฏในภาษาทิเบตคือ khorwa แปลว่า spinning around in our life ทัศนะนี้บอกว่าสังสารวัฏไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเลวร้ายเท่านั้น บางทีก็แค่ทำให้เราปวดเศียรเวียนเกล้า เพราะสังสารวัฏปั่นให้เราต้องวิ่งวนตามไปแบบไร้สติควบคุมตัวเองไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยการฝึกฝนให้เกิดความเข้าใจในธรรมะ เราจะเริ่มมองเห็นหนทางออกจากสังสารวัฏหรือออกจากทุกข์ได้


หนังสือ The Path of Individual Liberation

ทัศนะของหินยาน

ก่อนที่เราจะออกเดินทาง เราคงต้องเริ่มต้นที่การศึกษารายละเอียดของแผนที่ที่เราจะไปก่อน เช่นกันกับเส้นทางทางจิตวิญญาณ เราก็ต้องเริ่มที่ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้องเพื่อเป็นหลักยึดของการฝึกตนที่ถูกต้อง ในประเด็นนี้ตรุงปะได้อธิบายว่าบนเส้นทางฝึกฝนแบบหินยาน เราต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาทำความเข้าใจในหลักธรรม 4 ข้อ ที่เป็นความจริงแท้อันประเสริฐ เป็นทัศนะหรือมุมมองที่มีต่อโลกของปรากฏการณ์ที่แสดงให้เราเห็น อันได้แก่ ความไม่เที่ยง (Impermanent) ความทุกข์ (Suffering) อนัตตา (Egolessness) และสันติ (Peace) สำหรับความไม่เที่ยงและความทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถมองเห็นและเข้าใจได้ผ่าน การเวียนว่ายในสังสารวัฏ แต่อนัตตาและสันติเป็นเรื่องของการที่เราจะมองเห็นถึงความเป็นไปได้และศักยภาพของเราที่จะขึ้นอยู่เหนือสังสารวัฏ

• ความไม่เที่ยง (Impermanent) : เป็นเรื่องที่เราทุกคนรู้ดีว่าทุกสิ่งต้องมีวันสลายสูญสิ้นไปแต่ด้วยความหวังและความกลัวทำให้เราปรารถนาให้ทุกสิ่งคงอยู่เช่นเดิมตลอดไปหากเราเข้าใจในเรื่องความไม่เที่ยงได้ดีพอจะทำให้เราตระหนักได้ว่าในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่เราจะยึดถือไว้ได้ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งใดให้เราต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้มันคงอยู่เช่นเดิมทุกสิ่งล้วนแปรเปลี่ยน เมื่อขึ้นแล้วก็ลงเป็นธรรมดา

• ความทุกข์ (Suffering) : หลังจากที่เราพยายามทำสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เป็นสิ่งที่คงทนถาวรตามความคาดหวัง เมื่อนั้นสิ่งที่ตามมาคือความเจ็บปวดและความทุกข์จากความผิดหวัง แท้จริงแล้วความทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นมาเองแต่ความทุกข์เป็นผลมาจากการดิ้นรนของตัวเรา จากความคิดยึดติดกับความสุขในอดีต ดังนั้นในโลกของสังสารวัฏ มันไม่มีอะไรเลยที่จะเป็นความสุขใจอย่างแท้จริง



ภาพโดย Pixabay จาก Pexels

• อนัตตา (Egolessness) : ความไม่มีตัวตนเป็นสิ่งที่เราเชื่อได้ยากยิ่ง เพราะเรามีอัตตาเป็นแกนกลางในการดำรงอยู่ เราดิ้นรนเพื่อปกป้องอัตตาของเราอยู่ตลอดเวลาทั้งโดยรู้ตัวและส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว ดังนั้นแล้วความเข้าใจเรื่องอนัตตาจึงยากที่จะเข้าใจผ่านการสอน แต่ด้วยกระบวนการของการภาวนาที่ทำให้การคิดของเรากระจ่างและเรียบง่าย ช่วยให้เราเข้าถึงความเป็นปกติธรรมดาของชีวิตอย่างแจ่มชัด มีความตระหนักรู้ถึงการไม่มีตัวตนให้ยึดถือ เราก็เห็นได้เองว่าไม่มีใครที่ต้องรู้สึกเจ็บปวดและทุกข์

• สันติ (Peace) : เป็นสภาวะที่ปลดปล่อยหรือคลี่คลายออกจากการยึดติดในสิ่งต่างๆ การปล่อยวางซึ่งจะทำให้ความทุกข์และความเจ็บปวดหายไป สภาวะที่สงบสันติจะเข้ามาแทนที่ อาจกล่าวได้ว่าเป็นสภาวะของนิพพานที่แปรเปลี่ยนมาจากสังสารวัฏ หลังจากที่เราเกิดความตระหนักรู้ว่าทุกสิ่งที่เราเคยยึดถือนั้นสลายหายไป เราหยุดการดิ้นรน อยู่กับความว่าง ความสงบสันติภายใน เป็นความเบิกบานที่แท้จริง

ทัศนะของหินยานทั้ง 4 เรื่องนี้เป็นความจริงแท้ (Reality) ที่เราใช้เป็นหมุดหมายของเส้นทางฝึกฝนการภาวนาเพื่อเกิดปัญญาที่จะตระหนักรู้ในความจริงแท้นี้ ความเข้าใจเรื่องความไม่เที่ยงและความทุกข์นั้น ตรุงปะกล่าวว่าสามารถเข้าใจได้จากการถูกชี้แนะสั่งสอนจากคุรุ แต่เรื่องอนัตตาและสันติ เป็นความเข้าใจที่ต้องคิดรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะเกิดจากกระบวนการภาวนาที่ทำให้เกิดปัญญาในการมองโลกอย่างแยบคาย มองลึกเข้าไปถึงแก่นแกนของสรรพสิ่ง เมื่อเราเข้าใจมุมมองนี้อย่างลึกซึ้ง เราจะเข้าใจถึงปัญหาและความเป็นไปได้ในชีวิต เห็นว่าความไม่เที่ยงคือเรื่องธรรมดาแต่เมื่อเราขัดขืนจึงเกิดความทุกข์ เมื่อมองเห็นอนัตตาทำให้เข้าใจว่าไม่มีใครที่ทุกข์ เมื่อนั้นเราจะละวางความไม่พอใจหรือหาคนผิด สุดท้ายสิ่งที่เหลืออยู่คือความสงบ ความว่าง การเข้าถึงสภาวะว่างสงบนี้ไม่ใช่การมีจิตใจที่สงบ แต่เพราะทุกสิ่งสลายไป จึงกลายเป็นสภาวะสงบสันติตามธรรมชาติที่มีอยู่เดิม เป็นความดีงามพื้นฐาน พุทธภาวะ หรือ ธรรมชาติของจิตที่เปิดกว้าง สงบ สันติ อยู่ตรงนั้นเสมอ


ที่มาภาพ: S Migaj จาก Pexels

ทุกขสัจ – ความจริงที่ว่าชีวิตเรามีทุกข์

ในเมื่อความสนใจในการฝึกปฏิบัติภาวนาในช่วงเริ่มต้น

ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อหาทางออกจากทุกข์


แล้วทำไมเราต้องมาเริ่มต้นที่หมุดหมายของการทำความเข้าใจกับทุกขสัจ?

คำถามนี้อาจกลายเป็นอุปสรรคของเส้นทางสำหรับใครบางคน เราเพียงต้องการแสวงหาความหลุดพ้นจากทุกข์ในชีวิต เราต้องการความสงบผ่อนคลาย ทว่าเมื่อเราต้องเริ่มทำงานกับตัวตน ทำงานกับความจริงของชีวิตซึ่งเปิดแผลในใจให้กว้างและลึกยิ่งขึ้น มันช่างเจ็บปวดทรมานอย่างที่ ตรุงปะ เปรียบไว้ว่า “เหมือนถูกหมอผ่าตัดโดยไม่วางยาชา”   

แล้วเราจะยังยินดีที่จะเดินต่อบนเส้นทางการภาวนานี้ต่อไปหรือไม่?

นี่เป็นบททดสอบเบื้องต้นสำหรับเราทุกคน!


ทุกขสัจอาจถูกมองว่าช่างเป็นการมองโลกในแง่ร้าย มืดมน ทำให้เราหม่นหมอง จมอยู่กับความย่ำแย่ของชีวิต แต่ด้วยวินัยของการฝึกแบบหินยานที่ยังคงให้เรากลับมาที่ความเรียบง่ายของการฝึกภาวนา ไม่ว่าเรากำลังอยู่ในสภาวะเช่นไร เราแค่กลับมาฝึกอยู่กับร่างกาย ลมหายใจ ซึ่งเป็นฐานที่เป็นปัจจุบันขณะและไม่ตามความคิดไปสู่อดีตหรืออนาคต ประสบการณ์การฝึกเช่นนี้วันแล้ววันเล่า ชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่า เมื่อเราเปิดใจมองเข้าไปที่ธรรมชาติของจิตอยู่เนืองๆ ก็อาจจะมีชั่วแวบของความเข้าใจหรือความตระหนักรู้ในความเป็นจริงที่จะสลายความคิดยึดติดและสามารถเปิดมุมมองต่อโลกให้ละเอียดและทั่วถึง



ที่มาภาพ: อวโลกิตะ

ในโลกของปรากฏการณ์ที่เราดำรงอยู่ เรารับรู้ถึงชีวิตของเราที่ยังดิ้นรนไปกับสถานการณ์ต่างๆ มีความทุกข์สุขปรากฏขึ้นสลับกันไป แต่เมื่อเราเข้าสู่เส้นทางจิตวิญญาณที่บ่มเพาะความเข้าใจต่อโลกอย่างแยบคาย สถานการณ์ต่างๆที่เคยเป็นอุปสรรคสร้างทุกข์ก็กลับกลายเป็นสิ่งเตือนใจให้เห็นหลักธรรมความจริงแท้ตามธรรมชาติ เราจะผ่อนคลาย เปิดกว้างและโอบรับชีวิตอย่างเต็มที่ รู้สึกอิสระและไม่จำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อหนีอีกต่อไป…

hinayana meditation ทุกขสัจ ภาวนา หินยาน อุทัยวรรณ ทองเย็น เชอเกียม ตรุงปะ



วัชรสิทธา

สถาบันวัชรสิทธา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทางการศึกษา บนพื้นฐานของการภาวนา การใคร่ครวญด้วยใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นมนุษย์ระหว่างผู้เรียน

24
18 กุมภาพันธ์ 2565 |  วัฒนธรรมร่วมสมัย

ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ


ซุปเปอร์ฮีโร่, Comic Book และมานุษยวิทยา Superheroes, Comic Book and Anthropology

           การ์ตูนซุปเปอร์ฮีโร่คือสื่อบรรเทิงในวัฒนธรรมป็อปที่ได้รับความนิยมในสังคมตะวันตกและค่อยๆ แผ่ขยายไปในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ผู้คนชื่นชอบการ์ตูนซุปเปอร์ฮีโร่มีตั้งแต่เด็ก วัยรุ่นไปจนถึงผู้ใหญ่ ครอบคลุมคนทุกชนชั้นและเชื้อชาติ ความนิยมนี้พิจารณาได้จากผลกำไรและรายได้หลายพันล้านดอลล่าร์ของบริษัทที่ผลิตการ์ตูนซุปเปอร์ฮีโร่ในสหรัฐอเมริกา (Comic Chronicles, 2010) ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการนำไปสร้างภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด

 








Ironman, Spiderman และ Batman ภาพจาก https://www.sanook.com/game/1033185/, https://th.crazypng.com/754.html และ https://www.sanook.com/game/1075315/
 

คุณลักษณะของซุปเปอร์ฮีโร่

           ในการศึกษาของ Coogan (2009) อธิบายว่าคุณลักษณะสำคัญของซุปเปอร์ฮีโร่ประกอบด้วย 3 ประการ คือ (1) ต้องมีภารกิจ (2) ต้องมีพลังวิเศษ และ (3) ต้องมีอัตลักษณ์ชัดเจน ทั้งสามคุณลักษณะนี้จะต้องวางอยู่บนหลักการที่ว่าการทำงานเพื่อประโยชน์สังคมและเสียสละ การต่อสู้กับคนชั่วต้องเคารพในสังคม ไม่เห็นแก่ตัว ต้องไม่มุ่งหมายให้เกิดประโยชน์หรือวาระซ่อนเร้นของตนเอง เมื่อซุปเปอร์ฮีโร่ทำภารกิจสำเร็จ นั่นคือการทำลายล้างเหล่าคนชั่วและวายร้ายที่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ซุปเปอร์ฮีโร่ก็จะได้รับการกล่าวขาน เชิดชูและยกย่องในฐานะวีรบุรุษที่แท้จริง ในขณะที่พลังวิเศษของซุปเปอร์ฮีโร่บ่งชี้ถึงความสามารถที่มากล้นที่ทำให้กำจัดคนชั่วได้ในพริบตา รวมทั้งหมายถึงการเป็นมากกว่ามนุษย์ธรรมดาที่ไม่สามารถสร้างพลังวิเศษได้ ส่วนที่สำคัญอีกประการหนึ่งนั่นคือ การมีอัตลักษณ์เฉพาะของตัวเอง เหล่าซุปเปอร์ฮีโร่จำเป็นต้องมีเครื่องแบบและเสื้อผ้า ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์และความแตกต่าง รวมทั้งต้องมีชื่อเรียกที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ ตัวอย่างเช่น Ironman ที่สวมชุดเกราะเหล็กสีแดง มีชื่อเรียกที่บ่งบอกถึงการเป็นมนุษย์โลหะที่แข็งแกร่ง Spiderman ที่สวมชุดรัดรูปสีแดงมีลวดลายใยแมงมุมพร้อมชื่อที่บ่งบอกถึงการมีความสามารถพิเศษแบบแมงมุม นั่นคือการฉีดใยแมงมุมที่เหนียวและแข็งแรง Batman ที่สวมชุดหนังสีดำสวมหน้ากากที่มีหูคล้ายค้างคาวและผ้าคลุมที่คล้ายปีกของค้างคาว เป็นต้น เครื่องแต่งกายของเหล่าซุปเปอร์ฮีโร่จึงเป็นสัญลักษณ์เฉพาะตัวที่บ่งบอกพลังวิเศษและความสามารถที่ไม่เหมือนกัน

           Coogan (2009) กล่าวว่าการ์ตูนแนวซุปเปอร์ฮีโร่ต้องทำให้เหล่าซุปเปอร์ฮีโร่มีภารกิจที่ช่วยมนุษย์ มีพลังอำนาจเหนือกว่ามนุษย์และมีอัตลักษณ์ทางกายภาพที่โดดเด่นชัดเจน อย่างไรก็ตาม ซุปเปอร์ฮีโร่ยังมีความหลากหลายในบริบท สถานะ คุณลักษณะ พลังวิเศษ ความสัมพันธ์ทางสังคมและการทำภารกิจ ในแง่นี้การทำความเข้าใจความหมายของ ซุปเปอร์ฮีโร่จึงจำเป็นต้องเข้าใจความเป็นมาและเงื่อนไขของการเกิดขึ้นของซุปเปอร์ฮีโร่ ตัวอย่างเช่น ตัวละครใน Sin City ที่ไม่มีพลังวิเศษ แต่ใช้ความรุนแรงในการกำจัดคนชั่วให้หมดไป อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของการใช้กำลังเพื่อตัดสินปัญหาและทำลายล้างคนชั่วไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเฉพาะการ์ตูนแนวซุปเปอร์ฮีโร่เท่านั้น แต่ยังพบได้ในนิยาย เรื่องแต่ง และภาพยนตร์แนวแอคชั่นอาชญากรรม ที่ตัวละครหลักเป็นมนุษย์ธรรมดาที่ต้องการล้างแค้นและสังหารศัตรูที่ทำลายชีวิต ญาติพี่น้องและครอบครัวของเขา เช่น ตัวละครในภาพยนตร์ Death Wish, The Transporter, Léon: The Professional, John Wick เป็นต้น

 



ตัวละครใน Sin City ที่ไม่มีพลังวิเศษ แต่ใช้ความรุนแรงในการกำจัดคนชั่วให้หมดไป

ภาพจากhttps://th.wikipedia.org

 

ซุปเปอร์ฮีโร่กับความยุติธรรมทางสังคม

           การศึกษาของ Weston (2012) อธิบายให้เห็นว่าวีรกรรมของเหล่าซุปเปอร์ฮีโร่ในหนังสือการ์ตูนพยายามสะท้อนการแก้ปัญหาสังคมและการลงโทษคนที่ทำผิด ไม่ว่าจะเป็นอาชญากร นักค้ายาเสพติด มาเฟีย แก๊งอันธพาล ข้าราชการคอร์รัปชั่น ผู้ก่อการร้าย นักการเมืองฉ้อฉล ตำรวจที่คดโกง นายทุนที่เอาเปรียบ และคนที่เอาเปรียบผู้อื่น เหล่าซุปเปอร์ฮีโร่ที่ถูกสร้างขึ้นในจินตนาการจะใช้พลังและอาวุธพิเศษปราบปรามคนชั่วเหล่านั้นซึ่งเสมือนเป็นการใช้กำลังแก้ปัญหาและเป็นระบบศาลเตี้ยแบบหนึ่ง (vigilantism) ที่ดูเหมือนสะใจและได้รับความชื่นชมจากผู้อ่านการ์ตูน แต่วิธีการของเหล่าซุปเปอร์ฮีโร่กลับไม่ปรากฎขึ้นจริงในชีวิตทางสังคมของมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งล้วนเต็มไปด้วยคนเห็นแก่ตัวและการเอารัดเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ Weston (2012) ตั้งคำถามว่าทำไมผู้อ่านการ์ตูนหรือดูหนังของ ซุปเปอร์ฮีโร่จึงไม่นำเอาวิธีการเหล่านั้นมาใช้บ้าง เพื่อกำจัดคนชั่วในสังคมเหมือนที่เหล่าซุปเปอร์ฮีโร่ทำ และสร้างสรรค์สังคมที่มีความยุติธรรมเหมือนในหนังและการ์ตูน เหตุผลที่เข้าใจง่ายที่สุดคือ เพราะว่ามนุษย์ไม่มีพลังวิเศษและไม่มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเหมือนกับซุปเปอร์ฮีโร่

           Weston (2012) เปรียบเทียบให้เห็นว่าเรื่องราวการปราบคนชั่วโดยเหล่าซุปเปอร์ฮีโร่ในหนังสือการ์ตูน คล้ายกับเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศกัวเตมาลาในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งประชาชนได้ออกมาเดินขบวนขับไล่รัฐบาลที่โกงกินและคอร์รัปชั่น ความล้มเหลวในการบริหารประเทศ ปล่อยให้ประชาชนมีชีวิตอยู่อย่างอดอยาก นำไปสู่เหตุการณ์จลาจล ความปั่นป่วนและความไม่สงบทางสังคมเป็นเวลาเกือบหนึ่งทศวรรษ การประท้วงของประชาชนเพื่อทวงคืนสิทธิและความยุติธรรมเป็นพล็อตเรื่องที่ปรากฎอยู่ในการ์ตูนซุปเปอร์ฮีโร่ อาจกล่าวได้ว่าการใช้กำลังต่อสู้ของประชาชนในสังคมที่เป็นจริงมีลักษณะคล้ายกับการต่อสู้ของซุปเปอร์ฮีโร่ที่ต้องการสังหารและทำลายคนชั่ว ซึ่งไม่มีการใช้สถาบันศาลและกระบวนการทางกฎหมายมาเป็นเครื่องมือในการตัดสิน การประท้วงของประชาชนที่ยากไร้กับการใช้พลังวิเศษของซุปเปอร์ฮีโร่จึงเทียบได้กับการใช้กำลังตัดสินเพื่อทวงคืนความถูกต้อง

           Abrahams (1998) ตั้งข้อสังเกตว่าการใช้กำลังแก้ไขปัญหาหรือระบบศาลเตี้ย มีคุณลักษณะสำคัญสามส่วนคือ (1) การมีอยู่ของอำนาจรัฐ (2) การมีพลเมืองที่คิดดี และ (3) การมีผู้ทำผิดหรืออาชญากร ทั้งสามส่วนนี้ดำรงอยู่ในระบบศาลเตี้ยที่ถูกนำไปเป็นโครงเรื่องในการ์ตูนซุปเปอร์ฮีโร่ ประเด็นสำคัญก็คือเมื่อพลเมืองดีตระหนักว่าระบบกฎหมายและนโยบายของรัฐไม่อาจทำให้สังคมเกิดความยุติธรรมได้ พวกเขาก็จะออกมาต่อสู้และกำจัดคนที่ทำผิดเพื่อทวงคืนความยุติธรรมมาให้ประชาชน การลงโทษคนทำผิดจะแสดงออกมาด้วยการใช้ความรุนแรง เช่น ทำร้ายร่างกาย ฆ่า และสังหาร เป็นต้น การกระทำดังกล่าวดูเหมือนเป็นความโหดเหี้ยมและรุนแรง แต่เป็นการกำจัดคนชั่วให้หมดไปในพริบตาเพื่อทำให้สังคมสงบร่มเย็นและมีความยุติธรรมเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ในโลกของความเป็นจริง หากประชาชนกระทำการดังกล่าว เช่น จับนักการเมืองเลวมาสังหาร ประชาชนผู้นั้นจะทำผิดกฎหมายและกลายเป็นอาชญากร ในบางกรณี กลุ่มที่ใช้ความรุนแรงอาจได้รับการหนุนหลังจากรัฐบาลเผด็จการที่ใช้กำลังปราบปรามประชาชน จนทำให้รัฐประสบชัยชนะและสืบทอดการคอร์รัปชั่นต่อไป สิ่งนี้ต่างไปจากจินตนาการที่เกิดขึ้นกับการ์ตูนซุปเปอร์ฮีโร่ที่ได้รับความนิยม

           ในการศึกษาของ Pratten & Sen (2008) อธิบายว่าการใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหาและทวงถามความยุติธรรมจากรัฐ จะพบเห็นได้ทั่วไปในสังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ เช่น ในชุมชนแออัดในเขตเมืองหลายแห่ง จะมีแก๊งของวัยรุ่นใช้กำลังต่อสู้กันเพื่อแก้แค้นให้กับเพื่อนที่ถูกฆ่าหรือถูกทำร้าย รวมถึงในสังคมที่เต็มไปด้วยการอค์รัปชั่นเช่นในลาตินอเมริกา เอเชีย และแอฟริกา ชนชั้นล่างและผู้ด้อยโอกาสจะรวมตัวกันออกมาประท้วง ใช้กำลังต่อสู้กับรัฐบาลที่ฉ้อโกงและเอาเปรียบประชาชน Abrahams (1998) กล่าวว่าลัทธิศาลเตี้ย (vigilantism) ที่พบในการประท้วงเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมทางสังคม ล้วนมีมูลเหตุมาจากการที่ประชาชนไม่พอใจการทำหน้าที่ของรัฐและความล้มเหลวในกระบวนการทางกฎหมาย เมื่อรัฐผูกขาดอำนาจและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ประชาชนจะหมดความอดกลั้นและกล้าที่จะออกมาต่อสู้กับรัฐที่ขาดความชอบธรรม ประชาชนผู้กล้าเหล่านี้จึงมีบทบาทที่ไม่ต่างจากซุปเปอร์ฮีโร่

           ในอีกแง่หนึ่ง เรื่องราวของซุปเปอร์ฮีโร่อาจบ่งบอกให้เห็นถึงการทำหน้าที่แทนกฎหมายและกลไกของรัฐ หากตำรวจและผู้รักษากฎหมายไม่สามารถจับอาชญากรมาลงโทษได้หรือละเลยที่จะไม่ทำหน้าที่เพื่อความยุติธรรมทางสังคม เหล่าซุปเปอร์ฮีโร่จะเข้ามาทำหน้าที่แทนโดยการใช้พลังวิเศษปราบปรามคนชั่ว ในแง่นี้ ซุปเปอร์ฮีโร่จึงกลายเป็นกลไกเสริมที่ทำให้ระบบกฎหมายและความยุติธรรมทางสังคมมีความแข็งแกร่งและทำงานได้จริง ส่วนการใช้กำลังเพื่อกำจัดคนชั่วเป็นด้านตรงข้ามกับระบบกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อกฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถลงโทษและเอาผิดอาชญากรและผู้ทำให้ประชาชนเดือดร้อน กลุ่มคนที่ออกมาใช้กำลังต่อสู้และขัดขวางรัฐบาลจะใช้วิธีการลงโทษแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน ดังเช่นการใช้พลังวิเศษของเหล่าซุปเปอร์ฮีโร่ การกระทำเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าบทบาทของซุปเปอร์ฮีโร่คือการลงโทษคนทำผิดอย่างเฉียบขาด ถึงแม้ว่าการลงโทษนั้นจะเต็มไปด้วยความรุนแรงและการใช้กำลังก็ตาม จะเห็นได้ว่าเรื่องราวของซุปเปอร์ฮีโร่จะเต็มไปด้วยการใช้กำลังต่อสู้กับคนร้าย ปีศาจ อำนาจมืด หรือศัตรูของประชาชน

           การ์ตูนและภาพยนตร์แนวซุปเปอร์ฮีโร่ คือจินตนาการที่สะท้อนปัญหาความไม่ยุติธรรมทางสังคมที่พบเห็นในชีวิตจริง ในแง่นี้ Vollum & Adkinson (2003) วิเคราะห์ว่าการส่งเสริมให้เยาวชนได้อ่านการ์ตูนซุปเปอร์ฮีโร่ เสมือนเป็นการทำให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสังคมที่ปราศจากความยุติธรรม และสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กมองซุปเปอร์ฮีโร่เป็นวีรบุรุษตัวอย่างที่สังคมต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อวันหนึ่งสังคมจะปราศจากคนที่คิดร้ายและทุกคนพบกับความเท่าเทียมและยุติธรรม ขณะเดียวกันยังช่วยให้ผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่ได้สำรวจความซับซ้อนของประเด็นทางศีลธรรมผ่านการใช้สถานการณ์สมมติ และมองเห็นเงื่อนไขที่ทำให้มีการใช้ความรุนแรงอย่างมีเหตุผลหรือไร้เหตุผล

 

ซุปเปอร์ฮีโร่ในมุมมองทางมานุษยวิทยา

           Weston (2012) อธิบายว่าเรื่องราวความขัดแย้งระหว่างคนทำดีกับคนทำผิดที่ปรากฏในการ์ตูนและหนังซุปเปอร์ฮีโร่ สะท้อนปรากฎการณ์เกี่ยวกับความคาดหวังเพื่อให้สังคมพบกับความยุติธรรม ผู้อ่านและผู้ชมจะเรียนรู้ถึงเงื่อนไขต่างๆ ที่ทำให้สังคมเต็มไปด้วยการละเมิดกฎหมาย การผูกขาดอำนาจ การหลงในอำนาจและทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งนำไปสู่การแสวงหาประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่ม ทิ้งให้คนส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ด้วยความทุกข์และความขาดตกบกพร่อง การตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนเปรียบเทียบกับความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน และเริ่มสงสัยพร้อมตั้งคำถามว่าทำไมรัฐบาลจึงละเลยและปล่อยให้คนด้อยโอกาสถูกทอดทิ้ง รวมทั้งไม่มั่นใจกับระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไร้ประสิทธิภาพ ผู้บังคับใช้กฎหมายตกอยู่ใต้อำนาจของนักการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตในประเด็นนี้อาจถูกตั้งคำถามต่อไปว่าคนอ่านและผู้ชมหนังซุปเปอร์ฮีโร่อาจไม่สนใจเรื่องความยุติธรรมทางสังคมที่ถูกบอกเล่าก็เป็นได้

           การเปรียบเทียบความจริงทางสังคมกับจินตนาการในการ์ตูนซุปเปอร์ฮีโร่ ให้เป็นคู่ตรงข้ามกันอาจเป็นวิธีการที่หยาบเกินไป ดังนั้น การทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เป็นเรื่องแต่ง กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคม อาจพิจารณาได้จากปฏิบัติการของประชาชนที่แสดงออกเพื่อแสวงหาความถูกต้องทางสังคม ตัวอย่างเช่น ในวัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศกัวเตมาลา ชาวบ้านมักจะเผชิญหน้ากับความรุนแรงทางร่างกาย มีการใช้กำลังต่อสู้เพื่อแสวงหาความยุติธรรมตั้งแต่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวตะวันตกในยุคอาณานิคม ซึ่งในช่วงเวลานั้นคนท้องถิ่นที่ออกมาต่อต้านและต่อสู้กับคนผิวขาวจะถูกจับและถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยม (Burrell & Weston, 2008; Godoy, 2006) เหตุการณ์เหล่านี้อาจเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดการสร้างจินตนการเกี่ยวกับการต่อสู้ระหว่างซุปเปอร์ฮีโร่และคนทำผิด อย่างไรก็ตาม Weston (2012) ตั้งข้อสังเกตว่าในกลุ่มประเทศร่ำรวยอย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่นซึ่งประชาชนนิยมอ่านและดูหนังแนวซุปเปอร์ฮีโร่ แต่สภาพสังคมของประเทศเหล่านี้ไม่ค่อยปรากฎการต่อสู้ของประชาชนที่เรียกร้องความยุติธรรม ผู้บริโภคซุปเปอร์ฮีโร่ในกลุ่มประเทศร่ำรวยจึงเสพสื่อประเภทนี้ในฐานะเป็นการใช้เวลาว่างแสวงหาความสุขและหลีกหนีความวุ่นวายในชีวิตประจำวัน (Nama, 2009) ซึ่งแตกต่างไปจากประเทศในเอเชียและลาตินอเมริกาซึ่งประชาชนที่ถูกกดขี่ข่มเหงได้ออกมาประท้วงเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม แต่รัฐบาลของพวกเขาก็ใช้ความรุนแรงในการปราบปรามประชาชน




Pancho Villa ที่ต่อสู้เพื่อทวงคืนดินแดนของชาวเม็กซิโก ซึ่งถูกยึดครองโดยชาวอเมริกัน ภาพจาก

https://www.chicagotribune.com/opinion/commentary/ct-perspec-flash-pancho-villa-mexico-border-troops-0506-20180430-story.html


           ในสังคมที่ประชาชนขาดโอกาสและถูกปิดกั้นจากรัฐ มักจะมีผู้กล้าหาญออกมาเป็นปากเป็นเสียงให้กับชาวบ้าน ซึ่งผู้กล้าหาญเหล่านั้นเปรียบเสมือนวีรบุรุษของคนยากไร้ ตามแนวคิดของ Hobsbawm (1969) ชี้ว่าผู้กล้าหาญของชาวบ้านเปรียบเสมือนผู้ร้ายที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม (social bandits) กลุ่มคนจนและผู้ยากไร้จะยกย่องและเทิดทูนคนประเภทนี้ ซึ่งเปรียบเป็นดั่งวีรบุรุษที่เข้ามากอบกู้ความยุติธรรมให้กับพวกเขา ตัวอย่างเช่น เรื่องราวของ Pancho Villaที่ต่อสู้เพื่อทวงคืนดินแดนของชาวเม็กซิโกซึ่งถูกยึดครองโดยชาวอเมริกัน เรื่องราวประเภทนี้อาจสร้างจินตนาการและถูกต่อเติมเสริมแต่งให้กลายเป็นเรื่องในความฝัน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอุตสาหกรรมการ์ตูนและภาพยนตร์ซุปเปอร์ฮีโร่มีการนำเสนอเรื่องราวที่ฉีกขนบเดิมๆ โดยการตั้งคำถามเกี่ยวกับการเป็นวีรุบุรุษ อุดมการณ์ณ์ความยุติธรรม การใช้ความรุนแรง และระบอบอำนาจครอบงำทางสังคม คำถามเหล่านี้นำไปสู่การรื้อระบบความคิด วาทกรรม และอิทธิพลของสื่อที่ชี้นำสังคมให้เสพความบันเทิงภายใต้บรรทัดฐานแบบตะวันตก ประเด็นเรื่อง “ความยุติธรรม” ที่เป็นแก่นเรื่องของซุปเปอร์ฮีโร่กำลังถูกทำให้กลายเป็นสินค้าที่ผู้สร้างการ์ตูนและภาพยนตร์ได้ประโยชน์ทางธุรกิจมหาศาล ในขณะที่โลกของความจริง ผู้อ่านและผู้ชมซุปเปอร์ฮีโร่มิได้เชื่อมั่นและคล้อยตามความยุติธรรมที่ถูกสร้างขึ้น

           ในสังคมสมัยใหม่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 อุตสาหกรรมการผลิตการ์ตูนและหนังแนวซุปเปอร์ฮีโร่เกี่ยวโยงกับการแสวงหาสุนทรียะของปัจเจกบุคคล ในประเด็นนี้ Braun (2013) อธิบายว่าธุรกิจบันเทิงที่ขยายตัวในสื่อสังคมออนไลน์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เน้นความสุขสำราญส่วนบุคคล มีความต้องการเสพเรื่องราวของซุปเปอร์ฮีโร่ที่มีฉากตื่นตาตื่นใจด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สิ่งเหล่านี้กลายเป็นสุนทรียะของการปลดปล่อย ซึ่งเรียกว่า “ความเข้มข้นทางสุนทรียะแนวซุปเปอร์ฮีโร่” (superhero aesthetic intensity) กล่าวคือคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ก้าวหน้าช่วยต่อเติมจินตนาการเกี่ยวกับความสามารถของซุปเปอร์ฮีโร่ได้กว้างไกลและดูสมจริง ภาพที่ปรากฏในหนังซุปเปอร์ฮีโร่จึงเป็นประสบการณ์ทางอารมณ์และความรู้สึกที่สื่อยุคเก่าไม่สามารถนำเสนอได้

           ซุปเปอร์ฮีโร่อาจมิใช่ตัวแทนของวีรบุรุษและอาจมีเงาของการเป็นผู้ร้าย คุณงามความดีในซุปเปอร์ฮีโร่จึงมีลักษณะคลุมเครือ การ์ตูนและภาพยนตร์แนวต่อต้านซุปเปอร์ฮีโร่ในระยะหลังทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับระบบศีลธรรมและการยกย่องคนดี Belk (1989) ตั้งข้อสังเกตว่าวีรบุรุษและผู้ร้ายคือหมวดหมู่ของคนที่ตัวเราเป็นผู้สร้างขึ้นมา ซึ่งอาศัยความเชื่อทางวัฒนธรรมมาสร้างภาพตัวแทนของคนดีและคนเลว ทั้งนี้เพื่อหวังผลว่าคนดีคือคนที่สังคมต้องยกย่องสรรเสริญและคนเลวคือผู้ที่สังคมต้องลงโทษและประณาม ข้อสังเกตนี้ทำให้เห็นว่าเรื่องราวของซุปเปอร์ฮีโร่มิใช่สิ่งที่มนุษย์ต้องเลียนแบบ แต่ควรเป็นเครื่องมือที่ทำให้มนุษย์ฉุกคิดและตั้งคำถามว่าคนดีและคนเลวคืออะไร และสังคมที่เป็นอยู่สร้างคนดีและคนเลวได้อย่างไร อาจกล่าวได้ว่า ในมุมมองทางมานุษยวิทยา การ์ตูนและหนังแนวซุปเปอร์ฮีโร่คือภาพของสังคมที่ผลิตซ้ำวาทกรรมเกี่ยวกับความดีและความเลวซึ่งส่งต่อมายาคติเกี่ยวกับคู่ตรงข้าม สิ่งที่เราควรพิจารณาเมื่ออ่านและดูหนังซุปเปอร์ฮีโร่ อาจจะเป็นการไตร่ตรองและทบทวนว่ามายาคติที่ปรากฏเหล่านั้นทำให้มนุษย์รังเกียจพฤติกรรมของมนุษย์แบบไหน และเชิดชูมนุษย์แบบไหน Weston (2012) กล่าวว่าซุปเปอร์ฮีโร่คือบทเรียนที่ทำให้เรารู้จักเฝ้าระวังว่าการตอบโต้เพื่อแสวงหาความยุติธรรมทางสังคมมีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายและซับซ้อนอย่างไร เพื่อเตือนสติว่าเราจะไม่ด่วนตัดสินว่าคนกลุ่มไหนหรือการกระทำประเภทไหนที่ไร้ศีลธรรม

 
จาก
https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/311



25
วัชรยาน / “โซโล่รีทรีท” กับการค้นพบครูภายใน
« กระทู้ล่าสุด โดย มดเอ๊กซ เมื่อ มกราคม 17, 2024, 08:22:08 am »

“โซโล่รีทรีท” กับการค้นพบครูภายใน

โพสต์โดย วัชรสิทธา

บทความโดย อุทัยวรรณ ทองเย็น



เช้าวันนั้นขณะที่ท้องฟ้ายังมืดอยู่และคนในบ้านยังไม่มีใครตื่น ฉันออกมาจากบ้านด้วยความรู้สึกโหวงๆ ในหัวมีคำว่า “สละละวาง” ผุดขึ้น บรรยากาศของการเดินทางไปในความมืดนั้นคล้ายว่าฉันกำลังละทิ้งชีวิตของตัวเองเพื่อออกบวช และนั่นคือตอนที่ฉันตัดสินใจจะไปฝึกภาวนาแบบปลีกวิเวก หรือ “โซโล่รีทรีท” เป็นเวลาร่วม 2 อาทิตย์  ณ กระท่อมฝึกแห่งหนึ่งที่อำเภอหัวหิน 

การเข้า solo Retreat คือการที่เราจะไปใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายที่สุดเพียงลำพัง เพื่อใช้เวลากับการปฏิบัติภาวนาด้วยตนเองอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง งดการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอกและโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นอะไรที่ยากมากๆ สำหรับพวกเราในยุคนี้

ก่อนจะไปก็มีความกังวลร้อยแปดพันประการ เพราะนี่เป็นครั้งแรกของฉัน แต่ด้วยการตั้งเจตจำนงของการเป็นผู้ฝึกปฏิบัติในสายธรรมของวัชราจารย์เชอเกียม ตรุงปะ และสังฆะวัชรปัญญา  ฉันมีโอกาสได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติภาวนาผ่านการเรียนจากครู ทั้งที่เป็นบุคคลและครูที่มาในรูปคำสอนผ่านตัวหนังสือมาแล้วอย่างมากมาย ทว่าการไปเข้า solo Retreat คือการนำตัวเองไปมีประสบการณ์ของการฝึกภาวนาด้วยตนเอง ซึ่งไม่ง่ายนักสำหรับคนที่ชีวิตทางโลก เช่นเรา เรายังไม่ได้สละชีวิตแบบคฤหัสถ์หรือผู้ครองเรือน เพียงแต่เป็นผู้ที่สนใจปฏิบัติภาวนาที่เอาจริงเอาจังเท่านั้น แล้วเราจะไปใช้ชีวิตแบบนักบวชได้ยังไงกันนะ ใจฉันได้แต่กังวลกับการใช้ชีวิตอีก 2 อาทิตย์ข้างหน้า    

และเมื่อไปอยู่จริงก็พบว่าตนเองก็มีสภาวะความกลัวอย่างที่คิดไว้ล่วงหน้าจริงๆ เริ่มต้นจากการเอาชีวิตไปอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยและห่างไกลผู้คน มันสั่นคลอนความมั่นคงทางใจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในช่วง สามวันแรก เวลาเย็นตะวันเริ่มอ่อนแสง ฉันรู้สึกเหงาและว้าเหว่คิดถึงบ้านอย่างมาก ความกลัวก็ผุดขึ้นมาเล่นงานตลอด และเริ่มสงสัยว่าการที่เราต้องมาอยู่โดดเดี่ยวเพื่อฝึกภาวนามันจะไปสัมพันธ์อย่างไรกับการที่ฉันยังใช้ชีวิตแบบมนุษย์โลกๆ ของฉันกันนะ (หมายถึงว่าเราไม่ได้เป็นนักบวช) เจ้าความคิดลังเลสงสัยนี้ผุดขึ้นมาในหัวอย่างไม่หยุดหย่อน และแม้ว่าพอเริ่มชินเข้าที่เข้าทางกับการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายสุดๆ มีเพียงการฝึกภาวนาและกิจวัตรประจำวันไม่มากมาย ไม่มีภาระการงาน ไม่มีโลกออนไลน์ ไม่มีผู้คนให้พูดคุย เพื่อนก็มีเพียงจิ้งจก แมลง กิ้งก่า นกนานาชนิด และเสียงไก่ขันเท่านั้น  และความเงียบสงบของพื้นที่ก็เริ่มดึงให้จิตใจและร่างกายของฉันสงบลงและอยู่กับวิถีของผู้ฝึกภาวนาได้อย่างราบรื่น แต่ทุกวันฉันก็คอยเฝ้านับนิ้วว่าเหลืออีกกี่วันกันนะ




ทุกเช้าฉันจะสวดบทรับไตรสรณคมน์ “ข้าพเจ้าขอน้อมรับเอาพุทธะเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอน้อมรับเอาธรรมะเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอน้อมรับเอาสังฆะเป็นที่พึ่ง” สิ่งนี้เหมือนเป็นการย้ำเตือนให้ตัวเองได้ตระหนักถึงเจตจำนงที่จะไม่พึ่งพาสิ่งอื่นใดนอกไปจาก พุทธะอันหมายถึง พระพุทธเจ้าหรือคุรุ ครูในสายธรรมที่ได้ส่งต่อคำสอนมายังฉัน ธรรมะคือคำสอนในสายธรรมหรือเทคนิคการภาวนาต่างๆ และสังฆะก็คือวิถีชีวิตของการเป็นผู้ฝึกปฏิบัติ  ดังนั้นแม้ว่าในแต่ละวันสภาวะจิตใจและร่างกายจะแปรปรวนขึ้นๆ ลงๆ เพียงไร  การระลึกถึงครูและคำสอนในสายธรรม วินัยของการฝึกภาวนาและเทคนิคการภาวนาต่างๆ คือเครื่องยึดเหนี่ยวชีวิตฉันตลอดสองอาทิตย์นี้ และทำให้ฉันสามารถฝึกภาวนาตามตารางที่ตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน 

ชีวิตที่นี่ สิ่งที่ฉันรู้สึกเป็นทุกข์มากคือการกลัวความมืด ช่วงค่ำจึงเป็นความทรมานสุดๆ ในขณะที่เวลารุ่งเช้าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น แสงสว่างขับไล่ความมืดหายไป  ฉันจะมีความสุขที่สุด  และความคิดนี้ก็ล่องลอยไปสู่ช่วงการภาวนา ในครั้งหนึ่ง ขณะที่กำลังภาวนา ฉันนึกว่า ที่เรามาภาวนา เพื่ออะไรกันนะ? เพื่อทำงานกับความทุกข์ของตัวเองด้วยการศิโรราบและไม่ผลักไสดิ้นรนหนีความทุกข์ใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นเราแค่รับรู้ความทุกข์แล้วยังไงต่อ แล้วจู่ๆ ฉันก็นึกได้ว่าเวลาเรามีความทุกข์ เรามักไม่ค่อยรู้ตัวว่าเรากำลังขังตัวเองไว้ในห้อง แล้วพยายามดิ้นรนอยู่ในนั้นโดยไม่รู้ตัวว่าเราถูกขัง  แต่เมื่อใดที่เราเริ่มรู้สึกตัวว่าเราขังตัวเองไว้ในนั้น เราจะเริ่มลุกขึ้นและเดินออกมาจากห้องขังของเราเองได้ เริ่มมองเห็นว่าชีวิตมันมีทั้งด้านในและด้านนอก มีการยึดและการวาง การปล่อยตัวเองออกมาจากห้องก็ต้องเริ่มจากการที่เรารู้ตัวก่อนว่าเราอยู่ในห้องและมีข้างนอกที่เดินออกมาเองได้ เมื่อเราเห็นว่าความเจ็บปวดในชีวิตมาจากการยึดติดของตัวเอง เราก็จะเริ่มปล่อย

การที่เราเริ่มมองเห็นแล้วว่าปมปัญหาในชีวิตที่เรารู้สึกคับแค้นหรือไม่พอใจ ซื่งกลายเป็นสิ่งเศร้าหมองในชีวิตนั้น มันคือ “karmic situation” ของชีวิต วินาทีที่รับรู้เรื่องนี้ ฉันถึงกับสะอึก สภาวะที่บอกกับตัวเองว่านี่คือชีวิตเธอ เกิดมาต้องเจอสิ่งนี้ ฉันก็ขนลุกซู่น้ำตารื้น จังหวะนั้นยังจำได้ว่ามองเห็นควันธูปสีขาวลอยเข้ามาที่ตัวราวกับว่าครูมายืนยันว่าสิ่งที่รู้นั้นใช่แล้ว มันคือวินาทีของการศิโรราบ มองเห็นความคิดยึดติดความคาดหวัง เลิกผลักไสหรือก่นด่าใครๆ  มีเพียงความรู้สึกว่ากำลังเปิดใจยอมรับว่าชีวิตเป็นแบบนี้ ก็แค่ทำงานกับมันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสิ้นสุด มันก็แค่นั้นเอง

มีหลายครั้งที่เรามักจะไม่รู้เท่าทันส่วนลึกของจิตใจตนเอง  ฉันเจอว่าสิ่งที่ฉันพูดออกไปนั้นไม่ใช่ความรู้สึกจริงๆ ของตัวเองเลย เช่น ฉันมักคิดว่าอยากใช้ชีวิตเงียบๆ คนเดียวไม่ชอบสุงสิงกับใคร ถึงขนาดบอกกับตัวเองและคนอื่นๆ เสมอว่าฉันเป็นอินโทรเวิร์ท แต่สิ่งที่พบในการไปอยู่อย่างโดดเดี่ยวครั้งนี้ บอกความจริงให้ฉันรู้ตัวแบบหงายหลังไปเลยว่า ฉันไม่ใช่คนชอบอยู่คนเดียวเลยสักนิด ฉันยังจำความรู้สึกได้ชัดๆ เวลาที่นั่งพักแล้วเหม่อมองออกไปข้างนอก พอเห็นคนอยู่ข้างนอกไกลๆ อาจจะกำลังขี่รถมอเตอร์ไซค์ผ่านมาหรือเข้ามาทำงานในสวนข้างๆ ก็ตาม ใจฉันก็วิ่งตามเค้าไปทันที รู้สึกหิวคนเป็นอันมาก อยากพูดคุยกับคน มันชัดเจนในใจขนาดนั้น การตามดูจิตใจตนเองอย่างถึงพริกถึงขิง มันช่วยลอกเปลือกให้เราได้เปลือยเปล่าและคลายการยึดเหนี่ยวกับภาพลักษณ์ที่แข็งทื่อตายตัวเช่นเคย เราสามารถเป็นได้มากกว่าที่เราบอกกับตัวเอง ขอบของตัวตนเริ่มพร่ามัวไม่ชัดเจน

หลังจากผ่านช่วงยากลำบากใน 3-4 วันแรกไป ฉันก็พบว่าการที่เราใช้เวลาอยู่กับการฝึกภาวนาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง คำสอนต่างๆ ที่เก็บสะสมไว้ในเนื้อในตัวก็ได้ถูกดึงออกมาใช้งาน ประสบการณ์ตรงของสภาวะจิตต่างๆ ที่การภาวนาได้พาความตระหนักรู้ในสภาวะนั้นไปเรื่อยๆ เราจะมีจังหวะที่เกิดความกระจ่างถึงสภาวะธรรมและกระบวนการทำงานของอัตตา เปรียบเหมือนว่าฉันกำลังกลั่นความเข้าใจต่อความเป็นจริงของชีวิตตนเองออกมาจากการเคี่ยวกรำตัวตนและคำสอนในสายธรรมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งครูของฉันบอกว่านี่คือผลของการมาฝึก solo Retreat ที่ทำให้เราสามารถสอนตัวเองได้ ประสบการณ์ตรงจากการภาวนาคือครูของฉัน




การฝึกภาวนาปลีกวิเวก คือการลดทอนความรกรุงรังของชีวิต ให้เหลือเพียงการต้องอยู่กับตัวเองแบบเปลือยเปล่า ไม่มีข้ออ้างหรือภาระหน้าที่อื่นใดมาดึงเราออกไปจากตัวเอง เหมือนเราถูกแขวนเอาไว้อย่างโดดเดี่ยว ไม่มีสายสัมพันธ์กับสิ่งใดๆ ทั้งนั้น มันจึงมีเพียงการกลับมาดูกายใจตัวเอง มีความตระหนักรู้ที่มองเข้าไป และเมื่อเราตั้งมั่นที่จะอยู่กับการฝึกภาวนาด้วยวินัย  ฝึกที่จะไม่ exit และอยู่กับประสบการณ์ของการภาวนาไปเรื่อยๆ  ฝึกอยู่กับการผ่อนคลายร่างกายและการวางจิตให้อยู่กับกาย เรามองดูความคิดที่ฟุ้งแล้วก็กลับมาอยู่กับร่างกายที่ผ่อนคลาย เปิดกว้าง ว่าง ไปเรื่อยๆ จิตและกายที่ประสานหลอมรวมกันก็จะให้ประสบการณ์ที่ล้ำค่าแก่เรา

ถึงที่สุดแล้ว การภาวนาก็คือการกลับมาทำงานกับตัวตนของเรา ด้วยการฝึกความตระหนักรู้หรือ awareness ในการที่จะมองเข้าไปให้เห็นการทำงานของจิตใจและตัวตน ได้เข้าใจถึงกลไกและกระบวนการทำงานของตัวตนที่ก่อให้เกิดเรื่องราวต่างๆ ในชีวิต เรื่องเล่า ปมปัญหา ความสัมพันธ์ โลกภายใน โลกภายนอก ทุกอย่างล้วนขับเคลื่อนผ่านกลไกนี้  การฝึกภาวนาเพื่อการตระหนักรู้ถึงความเป็นจริงต่างๆ ก็คือเส้นทางจิตวิญญานที่จะค่อยๆ คลี่ออก เป็น unfolding journey ของแต่ละคนที่ต้องดุ่มเดินไปด้วยตนเองเพื่อคลายพันธนาการ และได้พบกับความดีงามพื้นฐานที่มีอยู่แล้วภายใน เป็นเมล็ดพันธ์ดีงามที่เราต้องเฝ้ารดน้ำเพื่อให้งอกงามและเบ่งบานขึ้นในใจของเรา ดังเช่นบทสวดมนต์ ”บทปลุกเร้าโพธิจิต” ที่กล่าวว่า

สับสนเวียนวนไปกับหลากรูปแห่งปรากฏการณ์

บ้าคลั่งกับความหวังและความกลัว

สรรพสัตว์ท่องเที่ยวไปบนวัฏฏปฏิกูลแห่งสังสาร

เพื่อสักวันจะได้สัมผัสกับความจางคลาย

ในแสงเรืองรองประภัสสรของมณฑลการตื่นรู้อันไพศาล

ข้อขอปลุกเร้าความรักและความปรารถนาดี

ความยินดีและความไว้วางใจ

ดั่งแก่นกลางดวงใจแห่งโพธิจิต



จาก https://www.vajrasiddha.com/article-soloretreat2/

วัชรสิทธา

สถาบันวัชรสิทธา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทางการศึกษา บนพื้นฐานของการภาวนา การใคร่ครวญด้วยใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นมนุษย์ระหว่างผู้เรียน

26



ชีวิตและศรัทธา โดย รศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์



หนังสือเกี่ยวกับประวัติรศ.ดรกฤษดาวรรณ เมธาวิกุล ประธานมูลนิธิพันดารา ผู้จากริกแสวงบุญโดยกราบอัษฎางคประดิษฐ์ที่ทิเบต ผู้ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมแบบทิเบตในไทย แรงบันดาลใจในการก่อตั้งพระมหาสถูป

โหลดที่ https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&book_id=9856&page_no=1
27

ผู้ให้ธรรม อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์


วันเสาร์, 14 สิงหาคม 2564


ฮู้ซื่อๆปรากฏการณ์แห่งการเรียนรู้ภายใน

แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]




ผู้ถาม : “อยากจะขออนุญาต อาจารย์ ช่วยอธิบายเรื่องของเซนเหมือนกันเนี่ยแหละครับ แต่อยากจะให้อธิบายในส่วนของโกอาน ครับอาจารย์ครับ เพราะยังไม่เข้าใจครับ”

ประมวล เพ็งจันทร์ : “โกอานก็คือการหลอกให้เราจนมุมครับ เพราะเราเนี่ยเชื่อมั่นในความคิดไงครับ เพราะถ้าเราคิดไปแล้วเราจะได้คำตอบ โกอานก็คือปริศนาธรรมที่คิดยังไงก็ นึกถึงภาพโกอาน เช่น ให้นึกถึงประตูที่ไม่มีช่อง เป็นเรา เรามีประตู มันคือทางออกทางเข้าใช่ไหมครับ มันก็ต้องเป็นช่องใช่ไหม มันไปออกไปเข้าได้ไงใช่ไหม

พอเราคิดไป มันก็ มันเป็นกล เป็นกลวิธีให้เราคิดไปแล้วเนี่ย สุดท้ายเราจะตัน พอตันปุ๊บ เราจะถึง โอ้ กูมาเสียเวลาคิดทำไม ประมาณนี้นะ กูมาเสียเวลาคิดทำไม เพราะฉะนั้นเนี่ย โกอานเนี่ย ทีนี้ในญี่ปุ่นเนี่ยมันเป็นแบบแผน ปริศนาธรรมที่อาจารย์ใช้เพื่อให้ลูกศิษย์เนี่ย เข้าไปจะได้รู้ไงว่าความคิดที่ว่าเนี่ย คิดไปเนี่ย มันใช้ไม่ได้”



ผู้ถาม : “...”

ประมวล เพ็งจันทร์ : “ใช่ อย่าคิดเชียวนะครับ ฮ่าๆๆ...  

...

เช่น โกอานข้อที่หนึ่ง “มู” ให้นึกถึงคำว่ามู คิดถึงคำว่ามู “มู” เป็นความว่าง เรานึกถึง คิดถึงความว่าง มันจะคิดถึงขึ้นมาอย่างไร ในปรัชญาปารมิตาที่ผมบอกว่าฉบับยาวสุดแสนโฉลก ฉบับสั้นอักษรอักขระตัวเดียว ใครเรียนบาลีสันสกฤตมาจะรู้เวลาเฉลยนี่ อักษร “อ (อะ)” อ (อะ) ไม่มีรูป อาจารย์เรียนบาลีมาแล้วรู้ใช่ไหม อ (อะ) เนี่ย มันออกเสียง อะ แต่จะไม่มีรูป อะ บ้านเราเมืองไทยเนี่ย ไปทำให้รูปเกิดขึ้น ประวิสรรชนีย์จะไม่สิ้นสุดแค่นี้นะ แต่ถ้าในบาลีสันสกฤต คำว่าอะ ไม่มีครับ ไม่มีรูป ไร้รูป และคำว่า อ (อะ) เนี่ยครับ นึกถึงภาพสิ เวลาเราต้องการจะเจริญกุศล ในพระพุทธศาสนาจึงบอกว่าจะต้องทำยังไงให้เป็น อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวลาเราพูดถึงสิ่งที่เจริญภาวนา เราไม่ได้พูดถึงกุศลอะไรนะ เราพูดถึงคำว่า อ (อะ) เลยนะ อโลภะ ไม่โลภ อโทสะ คือไม่โกรธ อโมหะ คือไม่หลง เนี่ย เพราะตอนที่มีผู้ ปรัชญาปารมิตามาถึงจุดๆ หนึ่ง อาจารย์เนี่ยบอกว่าฉบับที่สั้นสุดมีอักขระตัวเดียว เพราะฉะนั้นไม่มีปรากฎเป็นคัมภีร์ที่ไหน แต่รู้กันอยู่ทันทีว่า ที่สั้นที่สุดก็คืออักษร อ (อะ) ซึ่งไม่ปรากฏรูปให้เราเห็นด้วยตา ไม่มีความหมายให้เราต้องมาคิดถกเถียงกัน แต่ให้เราเข้าใจ เข้าถึง ปรัชญาปารมิตาฉบับสั้นสุดคืออักขระตัวเดียวเนี่ยครับ แต่ทีนี้ประเด็นที่พูดถึงนี้น่ะครับ ก็คือกลับไปสู่ความหมายที่เราพูดถึงเนี่ยนะครับ ก็คือการที่เราทำในสิ่งที่คิดนี่นะครับ เราจะได้รู้เท่าทันสิ่งที่เรียกว่าความคิดที่เราสร้างขึ้นมาในใจเรา เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่มันเป็นความหมายที่เกิดจากความคิด มันจะทำให้เกิดทวิภาวะ นี้เป็นหลักทางปรัชญาเลยนะครับ ในพุทธศาสนานิกายเซน ต้องการให้เราเนี่ยสลายทวิภาวะ ทวิภาวะคือสภาวะที่มีตัวเรา ที่เป็นผู้กระทำการ และมีสิ่งที่เรากระทำหรือถูกกระทำ ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่มันเป็นความหมายแบบนี้เขาเรียกว่าทวิภาวะ ทวิภาวะคือมีตัวผู้กระทำ มีสิ่งที่ถูกกระทำ ทวิภาวะที่เป็นสภาวะข้างนอก เช่นเรามีคำว่าผิด คำว่าถูก เราก็ผลิตสิ่งที่มันเป็นกรอบคิดเรื่องถูกขึ้นมา แล้วก็บอกว่าสิ่งที่ตรงข้ามนี้ผิด อย่างนี้เนี่ยนะครับ แล้วมันก็มีกระบวนการเยอะเลย เป็นในเรื่องของความคิดเนี่ย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากว่าในพระพุทธศาสนา ช่วงหลังจากพุทธปรินิพพานแล้วเนี่ย ก็มีการจดจำพระพุทธวจน พอจดจำมาก็มีการนำมาถกเถียงกันว่าพระพุทธวจนที่พระองค์ตรัสไว้เช่นนี้ หมายความว่าอย่างนั้น แล้วก็โต้เถียงกัน สุดท้ายเต็มไปด้วยการโต้เถียง ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติ ในความหมายเชิงการภาวนา เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เลยกลายมาเป็นว่า พุทธศาสนานิกายชาน หรือนิกายเซน หรือนิกายโยคาจาร ในอินเดีย ก็เกิดขึ้นเพื่อที่ทำหน้าที่แบบนี้ครับ

จาก https://pagoda.or.th/aj-pramuan/2021-08-14-15-32-04.html
28
Be What You Really Are: เห็นธรรมชาติที่ไปพ้นจากตัวตน และฝึกที่จะ identify กับมัน

โพสต์โดย วัชรสิทธา

บทความโดย วิจักขณ์ พานิช




หากสมถะ คือ Peace

วิปัสสนาก็คือ Light


การภาวนาเริ่มต้นด้วยการพัฒนาท่าทีที่เป็นมิตรต่อสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในร่างกายและจิตใจ การฝึกที่จะรู้เฉยๆ ไม่วิ่งตามความคิด อารมณ์ impulse หรือสิ่งเร้าต่างๆ คือการตัดวงจรอันไม่รู้จบของนิสัยและความเคยชินที่เราใช้ในฐานะกลยุทธ์ของตัวตน หรืออีกนัยยะหนึ่งการภาวนาคือ การไม่ให้อาหารตัวตน ดังคำที่เพม่า โชดรัน กล่าวไว้

ไม่ใช่เพียงแค่ทำงานกับพื้นผิวของตัวตนเท่านั้น การภาวนาที่ตั้งอยู่บนความรู้สึกตัวและลงไปในกายระดับลึก คือการเชื่อมต่อกับมหาสมุทรแห่งประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการสัมพันธ์กับ sensation ในร่างกาย, สังเกตการอัดคลายของร่างกายตามจุดต่างๆ, การฝึกที่จะอยู่กับ felt sense, หรือการทำความรู้จักกับ inner body ที่ประกอบด้วยช่องทางไหลเวียนของพลังงานและการตระหนักรู้ที่แผ่ซ่าน ทั้งหมดจะเปิด “พื้นที่” ของการสัมพันธ์กับทุกสภาวะจิตใจอย่างสันติ อีกทั้งตระหนักว่า สภาวะเหล่านั้นล้วนถักทอเชื่อมต่อกัน ราวกับคลื่นในมหาสมุทรกว้างใหญ่และลึกเกินหยั่งอันเดียวกัน

อาจกล่าวได้ว่า ในชั่วขณะนั้นๆ ของการตระหนักรู้ เรากำลังทำงานกับ totality หรือทั้งหมดของความเป็นไปได้ของจิตวิญญาณมนุษยชาติ

เมื่อสมถภาวนา พาเราไปสัมผัสกับความสงบนิ่งภายใต้คลื่นลมอันผันผวนปรวนแปรของท้องทะเล…
วิปัสสนาภาวนา ก็คือการมองอย่างชัดแจ้งเข้าไปยังธรรมชาติเนื้อแท้ของจิตใจเรา ที่เป็นดั่งมหาสมุทรอันลึกซึ้งและไพศาลนั้น ที่ว่าเป็นการมองอย่างชัดแจ้ง ก็เพราะเราจะไม่มัวสับสนไปกับคลื่นลมอันผันผวน อีกทั้งยังกล้าที่จะเผชิญกับทุกสภาวะที่เกิดขึ้นได้อย่างสันติ

เราเป็นใคร? เราเป็นอะไร?

โดยไม่ต้องมีใครสอนหรือบอก เราเชื่อว่าตัวเองเป็นคนขี้โกรธ ขี้อิจฉา ขี้เบื่อ ขี้เกียจ เราเชื่อว่าตัวเองเป็นคนไม่เก่ง ไม่ดีพอ ฯลฯ มันอาจจะเริ่มต้นด้วยคลื่นลมรุนแรงที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้งในบางวัน แต่ที่สภาวะเหล่านั้นถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นตัวเรา เป็นธรรมชาติที่เป็นเนื้อแท้ของเรา “ฉันเป็นคนแบบนี้” ก็เพราะเรา identify กับสภาวะนั้นในฐานะพื้นฐานของเราไปแล้ว

ตรงกันข้าม เรากลับไม่เคย identify ตัวเองกับคุณสมบัติที่ดำรงในตัวเรายามไร้คลื่นลม เช่น ฉันคือสันติ ฉันคือความรัก ฉันคือความเปิดกว้าง เราไม่เคยบอกตัวเองแบบนั้นเลย เราไม่เคย identify กับสภาวะปกติพื้นฐานนั้นว่าคือตัวเราที่แท้จริง ซึ่งวิปัสสนาภาวนาเป็นโอกาสให้เราได้ “Clear Seeing” มองเห็นอย่างชัดแจ้งถึง who we really are หรือ what we really are

“ฉันเป็นความโกรธจริงเหรอ?”
“ฉันเป็นความกลัวจริงเหรอ?”

ธรรมชาติพื้นฐานที่เป็นปกติจริงๆ ของคนเราคือความโกรธ ความเกลียด และความกลัวจริงล่ะเหรอ?

วิปัสสนาภาวนาคือการมองเข้าไปยังธรรมชาติพื้นฐานของใจที่ไม่ถูกเร้า ไม่ปรุงแต่ง ไม่พยายาม …ในภาวะปกติและมีสันติในใจ โดยเนื้อแท้แล้ว เราเป็นอย่างไร เราเป็นอะไร เราเป็นใคร





Practice to SEE clearly and IDENTIFY


วิปัสสนาภาวนาเป็นการมองที่ไปพ้นการคิดหาเหตุผลหรือคำตอบ ไปพ้นกระบวนการ conceptualization ใดๆ ของจิต เป็นการปล่อยจากความพยายามทั้งปวง เพียงอยู่ตรงนั้น แล้วมองเข้าไปยังธรรมชาติที่อยู่ตรงนั้นอย่างไร้เงื่อนไขของใจตัวเอง

ราวกับดำรงอยู่ในท้องทะเล ที่มีทั้งความนิ่ง การเคลื่อนไหว ความกว้าง ความลึก ความสว่าง ความมืด ความใส ความทึบ ทว่าเมื่อดำรงอยู่ตรงนั้นไปเรื่อยๆ แล้ว make peace กับทุกสภาวะที่เกิดขึ้น เราจะค่อยๆ เห็นอย่างแจ่มชัดด้วยประสบการณ์ตัวเองว่า “เนื้อแท้” ของมหาสมุทรมีธรรมชาติเช่นไร

การฝึก identify ธรรมชาติที่เป็นเนื้อแท้ของจิต ในขั้นวิปัสสนา ดูเหมือนจะง่าย แต่เอาจริงๆ กลับไม่ง่ายเลย ด้วยเหตุว่าเราได้เชื่อหรือยึดติดกับมุมมองที่ผิดจากความจริงไปเสียแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องค่อยๆ ฝึกฝนและทำงานกับสิ่งที่ปกคลุมหรือซุกซ่อนอยู่ในใจของเราไปทีละชั้นๆ เพื่อคลี่คลายและปลดปล่อยมันออก

เราอาจเลือกนิยามตัวเองด้วยประสบการณ์แย่ๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือกระทั่งความล้มเหลวที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในอดีต เราอาจรู้สึกว่าตัวเองมีบาดแผล หรือเคยทำบางสิ่งบางอย่างผิดพลาดที่ไม่อาจให้อภัยตัวเองได้ โดยไม่รู้ตัว เรา identify กับความคิดลบที่มีต่อตัวเอง หรือความคิดที่คนอื่นมีต่อเราอยู่ซ้ำๆ ตลอดเวลา กระทั่งเราได้กลายเป็น “คนที่ลึกๆ แล้วเราไม่อยากเป็น” ไปแล้วจริงๆ

เราไม่เคยเห็นเลยว่า จริงๆ แล้วยามไม่มีความคิดฟุ้งซ่าน ความทรงจำแย่ๆ หรืออารมณ์ลบๆ เหล่านั้น “ฉันคือสันติ” “ฉันคือแสงสว่าง” “ฉันคือความว่างอันไพศาล” เราไม่เคยตระหนักว่า เพียงแค่กลับมาดำรงอยู่ในเนื้อในตัวและในปัจจุบันขณะ เราก็จะได้สัมพันธ์อยู่กับ what we really are in that very moment ซึ่งคือธรรมชาติของความดีพื้นฐาน ความเป็นปกติ ความเต็มเปี่ยม และการตื่นรู้ เมื่อไม่เคยเห็นธรรมชาติที่แท้ของตัวเอง เราจึงไม่เคยสามารถรักหรือศรัทธาตัวเองได้ในแบบที่เป็น อย่างที่ไม่จำเป็นต้องพยายามเป็นอะไรก็ได้

รักและศรัทธาในตัวเอง : Be What You Really Are

วิปัสสนาภาวนา หรือ Clear Seeing คือการฝึกปฏิบัติที่จะมองเห็นตัวเองอย่างที่เป็น ทะลุผ่านชั้นของการตัดสิน คำนิยาม อดีต ตัวตน ความทรงจำ อารมณ์ หรือการปรุงแต่งทางความคิดทั้งหลายเข้าไป การภาวนาช่วยให้เราเห็นว่า มีธรรมชาติพื้นฐานที่เป็นเนื้อแท้ดำรงอยู่ตรงนั้นเสมอ เราฝึกความรู้สึกตัวที่เฉียบคมที่จะมองมัน เห็นมัน รู้จักมัน แล้วค่อยๆ identify กับธรรมชาติพื้นฐานนั้น กระทั่งเราสามารถที่จะรัก ชื่นชม ศรัทธา และวางใจตัวเองได้

นี่คือกระบวนการภาวนา อันประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา บ่มเพาะสันติในใจที่จะมองเห็นอย่างชัดแจ้ง ที่อาจต้องใช้เวลาสักหน่อยในการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ที่จะทวนกระแสความเคยชินของความคิดที่เรากระทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน กระนั้นท้องฟ้าก็ยังคงเป็นท้องฟ้า ท้องทะเลก็ยังคงเป็นท้องทะเล ผืนดินก็ยังคงเป็นผืนดิน และพื้นเดิมของจิตใจก็ยังคงกว้างใหญ่ ไร้ความมัวหมอง และประภัสสรอยู่เช่นนั้น เนื้อแท้อันทำลายไม่ได้ของจิตใจนี่เองที่ในพุทธศาสนาวัชรยานเรียกว่า ธรรมชาติวัชระ (Vajra Nature)

หากเราค่อยๆ เห็นและ identify กับเนื้อแท้นี้ในท่ามกลางทุกความเปลี่ยนแปลงของสภาวะจิตใจ มันคงนำมาซึ่งความหนักแน่น มั่นคง และจริงแท้ ในความปั่นป่วน สับสน โกลาหล ที่เมื่อเราเริ่ม identify กับธรรมชาติพื้นๆ ของจิตใจได้ ความทุกข์ก็ไม่อาจทำให้เราสูญเสียความรักและศรัทธาที่มีให้กับตัวเอง ความดีงามพื้นฐานเสมือนเป็นเข็มทิศนำทาง ราวกับเป็น Great Eastern Sun ที่ขึ้นทางทิศตะวันออกเสมอยามที่เราสุข ทุกข์ ท้อแท้ สิ้นหวัง สมหวัง มีความรัก หรือกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากในชีวิต



จาก https://www.vajrasiddha.com/vipassana/



วัชรสิทธา

สถาบันวัชรสิทธา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทางการศึกษา บนพื้นฐานของการภาวนา การใคร่ครวญด้วยใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นมนุษย์ระหว่างผู้เรียน
29
นันโทปนันทนาคราช และ 6 เรื่องนาคจากพุทธกาล | Myth Universe

ต้อนรับปีมะโรง ที่มีตัวแทนนักษัตรคือ มังกร หรืองูใหญ่ ตามคติแบบไทยก็คือ นาค นั่นเอง อีพีนี้ของ Myth Universe ก็จะมาคุยเรื่องสารพันนาค จากคติพุทธที่เราอาจจะเคยคุ้นๆ เรื่อง คุ้นๆ ชื่อกันมาหลายต่อหลายเรื่อง




ทั้ง 6 เรื่องที่ยกมาเล่า มีตั้งแต่นาคตนนั้น ที่ฝันอยากบวชเป็นพระ จนเป็นที่มาของการบวชนาคก่อนบวชพระในไทย ตำนานขันธปริตรที่พูดถึงพญานาค 4 ตระกูลนาคมุจลินท์ที่ต่อมากลายเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกที่หลายคนคงคุ้นตา พระพุทธเจ้าปรามนาคศรีลังกาทะเลาะกัน กาฬนาคราชที่นอนหลับข้ามพุทธกาล และนันโทปนันทนาคราช ที่ถูกพระมหาโมคคัลลานะปราบจนสิ้นพยศ

<a href="https://www.youtube.com/v//-wtTVhtTqq0" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//-wtTVhtTqq0</a> 

https://youtu.be/-wtTVhtTqq0?si=_PB02U-3nJXVB-XL
30
สมาธิแก้ความเครียด || หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร



 <a href="https://www.youtube.com/v//ofTIjorBcfo" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//ofTIjorBcfo</a> 

https://youtu.be/ofTIjorBcfo?si=ZvkSAB02kk4BmWY5
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 8 9 10