กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 9 10
41
สำนึกของดอกไม้ : การแสดงตน และร่ายรำในพื้นที่ว่าง

โพสต์โดย วัชรสิทธา

บทความโดย KONG วัชรสิทธา



ในฐานะอดีตนักเรียนศิลปะคนหนึ่ง​ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจทางศิลปะผ่านการเรียนในสถาบันและประสบการณ์ทางโลกศิลปะมาแบบนึง ​เมื่อได้มีโอกาสร่วมคลาสเรียน​ “ดอกไม้สื่อใจ ขั้น​ 1”​ ในเดือนกุมภา ฯ ที่ผ่านมา​ ชั้นเรียนดังกล่าวว่าด้วยแนวทางของศิลปะการจัดดอกไม้แบบ​ “อิเคบานะ”​ ควบคู่ทั้งทางด้านเนื้อหาทฤษฎีและการปฏิบัติ ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์​ทางศิลปะที่เคยมี ชนิดที่ว่าพลิกผันมุมมองเชิงศิลปะ​-ทัศนศิลป์จากประสบการณ์ที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง

ในโลกของงานศิลปะ​ ตัวผลงานโดยทั่วไปมักจะมี​แนวความคิด​ หรือข้อความที่ต้องการสื่อสารให้ผู้ชม​ได้รับรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศิลปะที่เน้นการใช้ความคิดเพื่อสื่อสารทัศนคติ ความเชื่อ หรือหลักปรัชญาบางประการ ก่อนที่จะออกผลสำเร็จมาเป็นชิ้นงานจริงนั้น​ จำต้องผ่านการร่างแบบ​ คัดสรร​สื่อและวัตถุดิบที่ต้องการ การคำนึงถึงหลักองค์ประกอบศิลป์​ ฯ เพื่อให้สอดรับกับแนวความคิดที่ต้องการสื่อสารออกไป​ ซึ่งในหลายต่อหลาย​ครั้ง ​ท่าทีดังกล่าวมักมีแนวโน้มของการ​ “ยัดเยียดความคิดของผู้สร้างสรรค์แก่ผู้ชมอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ทั้งนี้​เพื่อให้เกิดการคล้อยตามความคิดของผู้สร้างสรรค์โดยใช้งานศิลปะเป็นสื่อกลางในการรับใช้ concept ที่ต้องการส่งต่ออีกทอดหนึ่ง ผ่านความชำนิชำนาญทางการจัดการเชิงศิลปะ




ในขณะที่เริ่มศึกษาการจัดดอกไม้อิเคบานะ​ มีความเป็นได้อย่างใหม่เกิดขึ้นเป็นหน่ออ่อน​ ๆ ซึ่งเริ่มแตกยอดแทรกผ่านความเข้าใจทางศิลปะแบบเดิมออกมา ทั้งทางด้านรูปแบบการเรียนที่ถือเป็นประสบการณ์อย่างใหม่สำหรับตัวผู้เขียน เพราะเป็นการศึกษาศิลปะแขนงนึงซึ่งจัดอยู่ในหมวด tradition อันมีปูมหลังทางวัฒนธรรมมาอย่างเข้มข้น มีพัฒนาการทางด้านรูปแบบและปรัชญามาอย่างยาวนาน ทว่ายังคงสามารถแสดงสุนทรียะในแนวทางของตนได้อย่างสง่างามและเป็นสากล จุดพลิกผันสำคัญซึ่งถือเป็นกุญแจในการไขสู่ความเข้าใจปรัชญาทางศิลปะประเภทนี้คือ การเปิดนิยามต่อมุมมองของ​ “ความก้าวร้าว” ซึ่งในที่นี้ไม่ใช่การแสดงออกที่ดูรุนแรง​ เช่น​ การใช้กำลัง​ หรือ​ อาการหัวฟัดหัวเหวี่ยง​ เสมอไป​ หากคือแนวทางที่เราตีกรอบความคิด​ วางแผนสิ่งต่าง​ ๆ​ ไว้อย่างชัดเจน​ การตั้งจินตภาพในหัว​เบ็ดเสร็จ การตัดสินล่วงหน้า​ ฯ ซึ่งแง่มุมต่าง ๆ ข้างต้นเหล่านี้คืออะไรที่เราไม่เคยตระหนักเลยด้วยซ้ำว่าคือ “ความก้าวร้าว” นั่นเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันต่างแฝงอยู่ในกระบวนการทาง “ศิลปะ”

“เส้นทางคือจุดหมาย”

หน่ออ่อนดังกล่าวได้ถูกบ่มเพาะให้ค่อย ๆ เติบโตขึ้นเรื่อย​ ๆ​ ผ่านการศิลปะการจัดดอกไม้​ โดยมีหลักสำคัญสำหรับการตั้งต้นอยู่ที่​ “วินัย​ 14​ ขั้นตอน” เพื่อผ่านเข้าสู่บานประตูของโลกศิลปะจัดดอกไม้อิเคบานะ (เช่น​ การดูสถานที่​ การยืนภาวนา​ 1​ นาที​ เพื่อปล่อยวางความคิดเกี่ยวกับการจัดดอกไม้​ การพินิจดอกไม้-แจกัน​ ไปจนจบขั้นตอนที่การชื่นชมความงาม)​ การตั้งต้นที่ขั้นตอนทางวินัยดังกล่าวนี้ถือเป็นภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การเคารพ ทั้งนี้เพราะเราต่างก็มีสิ่งที่สั่งสมมาต่างกัน ทั้งทางด้านแบบแผนความคิด ความรู้ ประสบการณ์ และสิ่งละอันพันละน้อยต่าง ๆ ดังนั้น​ หลักคิดของ “วินัย 14 ขั้นตอน” นี้เองจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เราละวางสิ่งต่าง ๆ ดังว่านั้นไว้ในที่ทางของมัน​ ทั้งก่อน-ในขณะ-และหลังการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อช่วยส่งเสริมการแปรเปลี่ยนแบบแผนของ “ความก้าวร้าว​” สู่ “ความอ่อนโยน​​” เพื่อลด​ ละ​ ความคิดและการคาดเดา​ ประสบการณ์​ต่าง​ ๆ​ ที่เคยมีต่อการจัดดอกไม้​ การมีใจฝักใฝ่เลือกเฉพาะดอกที่เราพึงใจ​ การตัดสินล่วงหน้า ความคาดหวังต่อตัวงาน​ ความกลัวว่าจะทำไม่ได้ดี ฯลฯ​ ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อให้เราได้เปิดออก​ และสามารถกระทำการโดยสัมพันธ์กับปัจจุบันขณะในแต่ละกระบวนการอย่างเปิดกว้างโดยธรรมชาติในฐานะเส้นทาง​ ซึ่งก็คือจุดหมายในขณะเดียวกัน


ภาพวาดลายเส้นผลงานสาธิตหลักการ​ ฟ้า​ ดิน​ มนุษย์​ ผลงานจัดดอกไม้โดย​ อ.​ ดิเรก​ ชัยชนะ

ฟ้า​-ดิน​-มนุษย์

​เมื่อผ่านการเรียน-สร้างสรรค์ผลงาน​ผ่านพัฒนาการของอิเคบานะในหัวข้อต่าง​ ๆ​ มาพอสมควรแล้ว​ ในที่สุดก็มาถึงปรัชญาการจัดดอกไม้แห่งสำนัก​ Kalapa​ Ikebana​​ ซึ่งมีวิถีทางปรัชญาที่พัฒนาขึ้นมาผ่านสายธรรม​Shambhala​ โดย​ ตรุงปะ​ รินโปเช​ ชัมบาลาคือดินแดนศักดิ์สิทธิ์​ โลกของผู้ตื่นรู้​หรือสังคมอริยะ​ที่ทุกคนต่างดำรงตนอยู่ในสังคมและสัมพันธ์กับโลกแห่งปรากฏการณ์ด้วยพุทธภาวะเดิมแท้ภายใน แนวคิดที่ว่านำมาสู่ปรัชญาทางศิลปะแบบ​ “ธรรมศิลป์”​ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้ผู้สร้างสรรค์และผู้ชมเข้าถึงสภาวธรรมได้​ ผ่านการทำงานศิลปะ​และถ่ายทอดสภาวะของ “ความดีงามพื้นฐาน”​ (Basic​ Goodness)​ ซึ่งมีอยู่ในตัวเราทุกคนนั้นออกมา

*​ เรียนรู้แนวคิด “ธรรมศิลป์”​ เพิ่มเติมได้ใน “รู้เห็นเป็นธรรม”​

สำหรับการจัดดอกไม้อิเคบานะของสำนัก​ Kalapa​ นั้น​ มีหลักการสร้างสรรค์ผลงานที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่​ คือ​ หลักการ​ “ฟ้า​ ดิน​ มนุษย์”​ โดยสามารถอธิบายคร่าว​ ๆ​ ได้ดังนี้

•ฟ้า​ แทน​ “กิ่งหลัก” (กิ่งแรก) ทำหน้าที่เป็น​ vision ของงาน​ เปิดพื้นที่ว่าง​ (space)​ หรือความเป็นไปได้ต่าง​ ๆ​ ที่จะถือกำเนิดขึ้นในพื้นที่ว่างนับจากนี้ เปรียบได้เป็นเฟรมผ้าใบว่างเปล่า

•ดิน​ แทน​ ​สิ่งแรกที่ผุดขึ้นบนพื้นที่ว่าง มีเซนส์ของความ grouding ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เชื่อมโยงลงสู่เบื้องล่างของผืนดิน เปรียบได้กับรูปร่างหรือรูปทรงที่ปรากฎบนผืนผ้าใบ

•มนุษย์​ แทน สิ่งที่ตามมาหลังจาก ดิน-ฟ้า ได้ปรากฏขึ้น​ เป็นความรื่นรมย์ของชีวิตที่ผุดขึ้นบนโลกเพื่อเล่นล้อไปกับสองสิ่งแรก​ เป็นแง่มุมของการชื่นชมในความงามและการเชื่อมโยงฟ้ากับดินเข้าสู่กัน ซึ่งในศิลปะอิเคบานะ​ มนุษย์ก็คือ​ ดอกไม้​ นั่นเอง

ภาวนากับร่างกายสู่ผืนดิน (Yin Breathing)



สิ่งหนึ่งที่ประทับใจเป็นพิเศษสำหรับการเข้าร่วมชั้นเรียนนี้​ คือ​ การทำ​ bodywork​ คั่นระหว่างกิจกรรม​ เป็นการภาวนาแบบ Yin-Breathing เพื่อเชื่อมโยงกับ “จุดหยิน” บริเวณท้องน้อย​ โดยเน้นการ​ grouding ลงสู่ผืนดิน​ เป็นคุณลักษณะของพลังงานสตรี​ และมีความเชื่อมต่อกับร่างกายส่วนล่าง​ ไม่เน้นความคิด​ (ซึ่งเป็นส่วนบน)​ จุดหยินนี้มีความสัมพันธ์กับ​ root chakra ซึ่งเชื่อมโยงกับผืนโลก​ ความรู้สึกได้รับการโอบอุ้บและความรู้มั่นคง​ โดยในการภาวนาจะค่อย​ ๆ​ ใช้ลมหายใจแตะสัมผัสกับจุดหยิน​ รับรู้ถึงการมีอยู่ของพลังงานส่วนนี้อย่างละเมียดละไม​ มากขึ้นและมากขึ้น​ แล้วปล่อยให้ร่างกายมี​เซนส์ของการจมลงสู่พื้นดิน​ ลึกขึ้น ลึกขึ้น และลึกขึ้นจนไม่อาจหยั่งประมาณ​ สำรวจลักษณะของ​ Space​ ที่เราเข้าไปสัมพันธ์ด้วย​ รวมทั้งการสำรวจขอบเขตของร่างกายและลองแผ่ขยายขอบเขตนั้นออกมา​ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ​ แล้วพากลับมาสู่ปัจจุบันขณะที่สดใหม่​ คมชัด​ ยิ่งขึ้น

หลังจบเซสชั่นการภาวนา bodywork นี้แล้ว รู้สึกว่าส่งผลเป็นอย่างมากต่อการที่จะปฏิบัติงานสร้างสรรค์ต่อไป​ เพราะเมื่อการจัดดอกไม้นับตั้งแต่ช่วงเช้า​ได้ผ่านไป​ 3-4​ กระถาง​ แบบแผนทางความคิดจะเริ่มแทรกตัวเข้ามาโดยไม่รู้ตัว​ เช่น​ การเริ่มรู้จัก-คุ้นตาดอกไม้และกระถาง​​ การได้เห็นงานตัวเองและเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ความคาดหวัง การวิเคราะห์เปรียบเทียบ ฯ อันนำไปสู่การวางแผน​ สร้างภาพในใจ​ และความคิดเกี่ยวกับความงาม-ไม่งาม ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินล่วงหน้า ณ จุดนี้เองที่แง่มุมของ “ความก้าวร้าว” ได้แทรกซึมเข้ามาโดยไม่รู้ตัว ทว่า Yin-Breathing จะช่วยให้เราตระหนักรู้ในส่วนนั้นได้แล้วปล่อยให้สิ่งเหล่านั้นกระจัดกระจายกลับสู่ที่ทางของมัน



ภาพวาดบันทึกผลงานจัดดอกไม้ของผู้เขียนในห้อง​ Hri : Dakini Space

ดิน-ฟ้า (ธรรมชาติ) ก็มีแปรปรวน

เมื่อเข้าสู่วันที่สองของการเรียน โจทย์ของการสร้างผลงานก็จะเริ่มท้าทายมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการทำงานกับดอกไม้และแจกันแล้ว ปัจจัยเรื่องพื้นที่ก็ได้ถูกเสริมเข้ามา เพื่อให้การจัดดอกไม้นั้นมีความเชื่อมโยงกับ space ที่ต้องเข้าไปสัมพันธ์ด้วยโดยใช้ดอกไม้และกระถางเป็นสื่อ จากภาพตัวอย่างผลงานเป็นโจทย์ของการทำงานในวันสุดท้ายและชิ้นสุดท้ายของชั้นเรียน โดยเราจับฉลากได้ห้องโถงกิจกรรม “หรีะ” หรือ Dakini Space ด้วยตัวพื้นที่นั้นกว้างใหญ่และใช้เป็นสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงงานดนตรี

หลังจากผ่านการจัดดอกไม้มาสองวัน เราพยายามวางความคิดและความคาดหวังลง ซึ่งพอดีจังหวะกับเซสชันการภาวนาแบบ​ Yin Breathing ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น​ ​มาคั่นระหว่างกิจกรรมก่อนจะเริ่มงานชิ้นสุดท้ายนี้พอดี​ ดังนั้นการเผชิญความท้าทายใหม่​ ๆ​ ที่ซึ่งความกลัวและความคาดหวังได้เจือจางลง​ก็ดำเนินต่อไป เริ่มจากการเดินสำรวจพื้นที่​-แท่นวาง​ และมาเลือกกระถาง​ โดยใช้กระถางที่ตลอดมาเราหลีกเลี่ยงเสมอ ซึ่งจัดอยู่ในหมวด “กระถางทรงแปลก” และเข้าสู่ความ unknown ของพื้นที่ ตลอดการปฏิบัติงานชิ้นนี้ราว 30-40 นาที ปัญหาต่าง ๆ ก็เริ่มถาโถม แม้จะพอคาดเดาล่วงหน้าไว้บ้างแต่ก็ดูจะเหนือกว่าที่คาด เราเริ่มงานด้วยการใช้กิ่งแห้งแทนฟ้าเพื่อเปิด space ด้านบนให้ดูโปร่งโล่ง ทำงานไปกับหลักการ ฟ้า-ดิน-มนุษย์ ที่เพิ่งได้ร่ำเรียนมา ใช้ดอกและใบที่ไม่คุ้นเคยรวมทั้งสีโทนร้อนของดอกไม้ที่เรามักจะหลีกหนี เวลาผ่านเรื่อยไป เราทำงานกับข้อจำกัดของกระถางและของกิ่ง ใบ ดอก เมื่อเวลาผ่านไปเลยครึ่งทาง อาจารย์ผู้สอนที่เคารพเดินมาดูขณะเราจัดและถามว่า “เราต้องการให้เห็นด้านนี้ใช่ไหม? ด้านนี้เป็นด้านหลังของกระถางนะ” !? ทันใดนั้น แบบแผนทุกอย่างก็พังครืน เราแทบจะต้องรื้อทุกอย่างใหม่หมด สิ่งต่าง ๆ ใด ๆ ที่วาดหวังไว้ต้องมีอันแปรเปลี่ยนไปด้วยเวลาที่ยิ่งกระชั้นเข้ามา

ด้วยสถานการณ์เช่นว่านี้เองทำให้เราไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากทำให้สำเร็จในเวลาที่กำหนด เมื่อแยกส่วนต่าง ๆ ออกจากกันและเรียบเรียงใหม่ เราหยิบ ตัด ปัก ไปอย่างรวดเร็ว จัดวาง ปรับแต่งตามสมควร และปล่อยให้กิ่ง ใบ ดอก สื่อสารออกมาผ่านข้อจำกัดต่าง ๆ ด้วยการหาสมดุลของปัจจัยนานัปการ ณ ขณะนั้น ทั้งของภาพรวมผลงานเมื่ออยู่ในพื้นที่ ของเวลาอันน้อยนิด ของกระถาง (ไม่ให้ล้ม) ของเส้น-สี ของดอก กิ่งและใบ และละความหวังตั้งใจไว้ในที่ทางของมัน น่าแปลกใจ การจัดดอกไม้กระถางนี้ผลลัพย์กลับกลายออกมาในทางที่ดีและน่าประทับใจหลังได้รับ feedback จากอาจารย์และเพื่อน ๆ ดีกว่าหลายกระถางก่อนหน้าที่เราดูจะตั้งใจและมีเวลาให้มากกว่านี้ด้วยซ้ำ การทำงานกับพื้นที่นี้นับเป็นบทเรียนที่เข้มข้นมากสำหรับเราในชั้นเรียนครั้งนี้ ด้วยสถานการณ์ที่สืบเนื่องมาทำให้เราต้อง ละ วาง ปล่อย อย่างแท้จริง สถานการณ์ที่ดำเนินไปมีส่วนทำให้เราต้องสัมพันธ์กับพื้นที่และดอกไม้ด้วยความเป็นไป ณ ขณะนั้นจริง ๆ นั่นอาจเป็นเหตุให้ “ความคิด” เบาบางลงโดยปริยาย เมื่อนั้นพื้นที่ของ “ใจ” (space) ก็ว่างโล่งขึ้น เป็นเหตุให้เราได้สื่อสารกับพืชพันธุ์ด้วยความซื่อตรง แม่นยำ ชัด ลึก ยิ่งขึ้น

กระบวนการระหว่างการปฏิบัติงานอันทุลักทุเลและไม่อาจเดาทางได้นี้ในตัวมันเองก็คงคลับคล้ายการร่ายรำของเหล่าฑากินีบนท้องฟ้า  เมื่อเราสื่อสารกับพื้นที่ผ่านดอกไม้ พื้นที่ก็ดูเหมือนจะสื่อสารกับเราดุจเดียวกัน

เหมือนตอนที่กลับไปถ่ายผลงานชิ้นนี้ กลีบดอกสีส้มในวงรีกลีบหนึ่งก็ร่วงหล่นลงตรงหน้างาน ดังคำทักทายของพื้นที่


ภาพวาดลายเส้นแสดงการเริงรำระหว่าง​ มนุษย์​ พืชพันธุ์​ และพื้นที่ว่าง​ (ฟ้า​ ดิน​ มนุษย์)​

“ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนยอมรับได้ ทั้งใน อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต”

ประโยคหนึ่งของ อ.เชค (ดิเรก ชัยชนะ) ในช่วงท้ายของชั้นเรียนวันที่สอง

ในความเข้าใจของผู้เขียนคือ สภาวการณ์ต่าง ๆ ล้วนเป็นที่ต้อนรับเข้ามาให้เราได้สัมผัส-สัมพันธ์ หากเราสามารถกระทำการไปกับปัจจัยต่าง ๆ ด้วยสภาวะของความเปิดกว้างมากพอ “ความก้าวร้าว” ก็ย่อมแปรเปลี่ยนไปสู่ “ความอ่อนโยน” ได้อย่างเป็นธรรมชาติ แล้วสำนึกของเรากับสำนึกของดอกไม้ก็อาจพบบรรจบกันตรงนั้นเอง

แล้วพบกันอีกใน “ดอกไม้สื่อใจ ขั้น 2”



วัชรสิทธา

สถาบันวัชรสิทธา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทางการศึกษา บนพื้นฐานของการภาวนา การใคร่ครวญด้วยใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นมนุษย์ระหว่างผู้เรียน

จาก https://www.vajrasiddha.com/article-kongikebana/
42


เวลาอยากเขียน จิตก็ไหล ใจก็พุ่ง กระบี่คำ ปราณอักษรก็ทะยาน จนตามตัวเองไม่ทัน แล้ว จู่ ๆ มันก็อันตรธาน หายวับ ไปกับอะไรก็ไม่รู้ ขณะนี้ เราไม่อยากเขียนซะงั้น เรียกว่า แรงดลใจ ไม่ก็ แล้วแต่อารมณ์ คงใช่ ฝากภาพก่อนนอน ละกัน

<a href="https://www.youtube.com/v//g7eQ2x-Lk94" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//g7eQ2x-Lk94</a> 

43
“อิเคบานะ” จัดดอกไม้ญี่ปุ่นกับแนวคิดพุทธ-เซน ดอกไม้ดอกเดียวแทนจักรวาลได้อย่างไร?



ภาพประกอบเนื้อหา - การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น "อิเคบานะ"

เผยแพร่วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2563

วัฒนธรรมญี่ปุ่นแพร่กระจายและได้รับความนิยมไปทั่วโลก อาหาร สื่อบันเทิง วิถีชีวิต หรือแม้แต่แนวคิดหลายอย่างล้วนเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกมาจนถึงแถบภูมิภาคใกล้เคียง ไม่เพียงแค่วัฒนธรรมร่วมสมัยเท่านั้น วัฒนธรรมเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ยุคโบราณยังมีลมหายใจและอาจเรียกได้ว่า “ฟื้นคืนชีพ” ขึ้นมาในโลกยุคโมเดิร์นด้วย ตัวอย่างของวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ว่าคือ การจัดดอกไม้แบบที่เรียกว่า “อิเคบานะ” (Ikebana)

ช่วงปี 2560 จนถึงปี 2563 ปรากฏบทความและหลักฐานหลายประการที่สามารถบ่งชี้ถึงตำแหน่งแห่งหนของวัฒนธรรมการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า “อิเคบานะ” ในหลายพื้นที่ เดบอราห์ นีเดิลมัน (Deborah Needleman) คอลัมนิสต์ของนิวยอร์กไทม์ส (New York Times) เขียนเล่าในบทความเมื่อปี 2560 เล่าว่า ในพื้นที่ของ “โดเวอร์ สตรีท มาร์เก็ต” (Dover Street Market) แหล่งค้าปลีกที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก เคยวางขายเสื้อยืดที่มีสกรีนลายดอกไม้อันจัดตกแต่งแบบ “อิเคบานะ” และมีขายหนังสือเก่าเกี่ยวกับการจัดดอกไม้แบบนี้


ความเป็นมาของ “อิเคบานะ”

อิเคบานะ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบทางวัฒนธรรมซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่ยุคศตวรรษ วัฒนธรรมที่ยังคงรักษาตัวตนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยมานานหลายร้อยปีนั้น คงไม่ได้พึ่งพิงเพียงแค่ผู้คนที่สืบทอดต่อกันมา ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า กลุ่มคนที่ปรับและประยุกต์วัฒนธรรมเหล่านั้นก็มีส่วนสำคัญด้วย การจัดดอกไม้แบบอิเคบานะ จึงไม่ได้มีแค่ลักษณะแบบดั้งเดิมเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป มันถูกคนรุ่นใหม่ตีความและแตกแขนงออกไปเป็นลักษณะต่างๆ แต่แน่นอนว่า การตีความนั้นก็ต้องอาศัยความเข้าใจแก่นดั้งเดิมของมันด้วยเช่นกัน

เดบอราห์ นีเดิลมัน อธิบายถึงบริบทแวดล้อมของวัฒนธรรมญี่ปุ่นชนิดนี้ว่าอยู่ท่ามกลางสังคมญี่ปุ่นที่มีวัฒนธรรมแบบ “ชินโต” (Shinto) ซึ่งมีความเชื่อลักษณะพหุเทวนิยม (polytheism) ควบคู่ไปกับความเชื่อเชิงจิตวิญญาณ พวกเขาเชื่อว่าเทพเจ้าสถิตอยู่ในทุกสิ่ง ตั้งแต่ก้อนหินไปจนถึงดอกไม้และสายลม

เทพเจ้าคือทุกสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ และทุกสิ่งที่เป็นธรรมชาติก็คือเทพเจ้า การจัดดอกไม้จึงเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อเรื่องการประสานสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ขณะที่กิจกรรมนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นรับอิทธิพลของพุทธจากจีนเข้ามา โดยกิจกรรมต้นกำเนิดก็เริ่มมาจากการจัดดอกไม้บูชาพุทธะ จากนั้นจึงเริ่มปรากฏการจำแนก “สำนัก” ของรูปแบบการจัดดอกไม้ในศตวรรษที่ 15 สำนักแรกและเป็นสำนักเก่าแก่ที่สุดคือ “อิเคโนโบะ” (Ikenobo) ในเกียวโต ซึ่งยังเปิดทำการจนถึงปัจจุบัน

หลังจากนั้นเป็นต้นมา การจัดดอกไม้จึงเริ่มแตกแขนงออกเป็นสำนักต่างๆ แต่ละสำนักมีผู้นำทางความคิดผู้ถ่ายทอดวิชาของตัวเองให้ผู้ติดตาม “อิเคบานะ” จึงเริ่มแปรรูปจากเชิงพิธีกรรมมาสู่กิจกรรมในวิถีชีวิตชนชั้นสูง นับตั้งแต่นั้นมา อิเคบานะ ก็ค่อยๆ มีพัฒนาการเรื่อยมาสะท้อนภาพผ่านการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย และอิทธิพลทางความคิดจากบุคคลต่างๆ

สำหรับประเทศไทยในยุคปัจจุบันก็ปรากฏผู้นิยมศึกษาและถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับวิถีนี้ด้วย ศิลปินนักจัดดอกไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักในไทยคือ ดิเรก ชัยชนะ เขาอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดว่า อิเคบานะ (ikebana) มาจากคำว่า “อิเค” หมายถึง การจัด การวาง หรืออีกความหมายคือมีชีวิต และ “บานะ” หรือ “ฮานะ” หมายถึง ดอกไม้ ดังนั้นคำว่า อิเคบานะจึงหมายถึง การรักษาดอกไม้ (ให้คงชีวิตชีวาในภาชนะที่บรรจุน้ำ)

“กระบวนการของอิเคบานะ เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจตนเอง เพื่อให้เราค้นพบความสง่างามของเราที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ สถานที่”

รูปแบบการจัดดอกไม้ที่ปรากฏในช่วงแรกจะเรียกว่า “ริกกะ” (Rikka) ปรากฎขึ้นในศตวรรษที่ 15 จัดในแนวตั้ง ใช้การจัดดอกไม้สื่อสารจักรวาลวิทยาแบบพุทธ อธิบายองค์ประกอบการจัดดอกไม้ตามหลักบันทึก Sendensho ที่ประกอบด้วยสองส่วนคือ Shin (กิ่งหลัก) และ Soe-mono (ส่วนประกอบหรือกิ่งรอง) ดอกไม้ไม่ได้มีความหมายในตัวมันเอง แต่เป็นสัญลักษณ์บางอย่างในพุทธ เช่น กิ่งหลักแทนเขาพระสุเมรุ อธิบายหลักคิดแบบพุทธ ดังนั้น ริกกะแบบดั้งเดิมจึงมีแนวทางชัดเจนมาก จัดกิ่งต้องเป็นแนวไหน ทำมุมกี่องศา มีกิ่งประกอบอย่างไรบ้าง

“ริกกะ เหมือนแนวคิดแบบจิตนิยม เชื่อว่ามีสิ่งที่ยิ่งใหญ่อยู่ ใช้การจัดดอกไม้เพื่อเข้าถึงความยิ่งใหญ่ตรงนั้นซึ่งอาจเป็นพุทธะ หรือแก่นคำสอนพุทธศาสน์”

ในยุคเดียวกันก็ปรากฏแนวคิดการจัดดอกไม้อีกชนิดคือ “นะเงะอิเระ” (Nageire) เป็นแนวคิดที่ตรงข้ามกับแนวคิดเดิม จะอยู่บนฐานของพุทธแบบเซน อธิบายว่า ดอกไม้หนึ่งดอกสามารถแทนจักรวาลได้ทั้งหมด ความหมายคือ เราสามารถเข้าถึงความเป็นพุทธะในชั่วขณะหนึ่ง เหมือนกับการเข้าใจธรรมชาติของดอกไม้หนึ่งดอก การจัดดอกไม้จะเน้นเรื่องรูปแบบตามธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติดั้งเดิมของดอกไม้ เป็นเครื่องมืออันนำไปสู่การทำความเข้าใจธรรมชาติของตัวเราเองด้วย


การจัดแบบ “นาเงะอิเระ”

นอกจากนี้ ตำราอิเคบานะบางเล่มยังแยกการจัดแบบ “นาเงะอิเระ” กับอีกแบบคือ “ชาบานะ” (chabana) ซึ่งเป็นดอกไม้ในพิธีชงชา ถึงแม้ว่าจะมีเทคนิคแบบเดียวกัน กล่าวกันว่า ต่างกันในแง่ของแนวคิด กฎพื้นฐานของชาบานะคือ การจัดแบบธรรมชาติมากที่สุดไม่ใช้เทคนิคหรือตัวช่วยใดในการจัดวางให้ดูเป็นธรรมชาติ เน้นการใช้ดอกไม้ในฤดูกาลนั้น และที่สำคัญคือการชื่นชมความงามของชีวิตชั่วขณะหนึ่งอย่างเต็มที่ เน้นการจัดดอกไม้หนึ่งดอกเพื่อจัดวางความงามทั้งหมดของธรรมชาติ จะมีที่จัดวางโดยเฉพาะ พอจัดเสร็จจะนำมาวางในจุดนี้เพื่อให้คนที่เข้าห้องชาได้ชื่นชม

เมื่อเวลาผ่านไป การจัดดอกไม้ก็ปรากฏอีกหนึ่งรูปแบบที่เรียกว่า เซกะ (Seika) หรือ โซกะ (Shoka) เกิดในช่วงศตวรรษที่ 18 เรียกได้ว่าเป็นการผสมแนวคิดแบบริกกะ กับ นาเงะอิเระ เข้าด้วยกัน มีทั้งรูปแบบทางการ และแบบที่เป็นธรรมชาติ โดยใช้การวางโครงสร้าง 3 กิ่งหลัก ที่เรียกว่า ฟ้า ดิน มนุษย์

ภายหลังเมื่อญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก ดอกไม้ก็มีหลากหลายขึ้น ประเภทของแจกันก็มีมากขึ้น ก่อนหน้านี้แจกันที่ใช้จัดเป็นแบบโถ และแจกันเครื่องจักรสาน เมื่อมีวัฒนธรรมแบบใหม่เข้ามา จึงเริ่มมีแจกันแบบถาดน้ำ มีรูปแบบการจัดแบบใหม่ที่เรียกว่า “โมริบานะ” (Moribana) แปลว่า “กองดอกไม้” โดยจัดดอกไม้ในแจกันปากกว้าง ทรงตื้น หรือถาดน้ำ ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดอิเคบานะรูปแบบใหม่



การจัดแบบ “โมริบานะ”

อิเคบานะ ในไทย

สำหรับดิเรก ชัยชนะ เขาศึกษาและเปิดสอนการจัดอิเคบานะ แบบผสมผสานระหว่างแนวคิดธรรมศิลป์ (dharma art) ของเชอเกียม ตรุงปะ (Chögyam Trungpa) จากทิเบตที่มองว่า “ศิลปะอันจริงแท้หรือธรรมศิลป์เป็นการกระทำที่เรียบง่ายอันปราศจากความก้าวร้าว” กับเทคนิคการจัดดอกไม้แบบโคริงกะ ตามแนวคิดของโมกิจิ โอกาดะ จากมูลนิธิ MOA ซึ่งเน้นการรับรู้ว่า พืชมีชีวิต และการจัดดอกไม้ตามรูปทรงธรรมชาติ และการรื่นรมย์ความงาม

เชอเกียม ตรุงปะ อธิบายว่า ฟ้า ไม่ใช่พื้นที่ว่างเปล่า หากคือมิติตั้งเดิมอันเป็นอิสระจากเหตุปัจจัย (เงื่อนไข หรือแบบแผนความคิด) ฟ้าโน้มมาสู่ดิน เพื่อเผยแสดงตนอันได้แก่ ความรู้สึกถึงความดีงาม ความอ่อนโยน และดุลยภาพ อิสรภาพอันมิอาจประมาณดำรงอยู่ในภาระรากฐานนี้

ดิเรก ชัยชนะ อธิบายเพิ่มว่า ในการจัดดอกไม้ ฟ้าเป็นตัวแทนของกิ่งแรกที่จะปักลงไป

ดิน คือพื้นที่รองรับเต็มไปด้วยพลังเกื้อหนุนทุกสิ่ง และส่วนสุดท้ายคือมนุษย์ ความเป็นมนุษย์และชีวิตที่เชื่อมฟ้าและดิน โดยมนุษย์เป็นตัวแทนของความรื่นรมย์ การดำรงอยู่ของฟ้าและดิน

ดิเรก เชื่อว่าภายใต้แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่เปิดกว้าง และสามารถสื่อสารความคิดสำหรับผู้สนใจระยะแรกเริ่มของการศึกษาการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น และเชื่อว่าการจัดดอกไม้แบบอิเคบานะไม่ได้เป็นแค่งานศิลปะเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงความจริงด้วยความเรียบง่าย โปร่งเบา และอิเคบานะสอนการดำเนินชีวิตที่ต้องอาศัยการใส่ใจอย่างยิ่งยวด ปราศจากความก้าวร้าว และไม่เร่งรีบ




ดิเรก ชัยชนะ ในกิจกรรมจัดดอกไม้ “อิเคบานะ”

ดอกไม้ในไทย

สำหรับชาวไทยที่สงสัยว่า ดอกไม้ที่จะนำมาจัดเป็นดอกไม้อะไร ดิเรก ชัยชนะ อธิบายว่า เป็นดอกไม้ชนิดใดก็ได้ เมื่อเข้าใจว่าทุกกิ่งทุกดอกตามธรรมชาติมีความงามอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องจัดให้เหมือนญี่ปุ่น โดยรากฐานของจิตวิญญาณแล้วคือจัดเพื่อแสดงความงามของธรรมชาติ ของดอกไม้ดอกนั้น จึงคิดว่าเป็นดอกไม้ชนิดใดก็ได้

“เช่น ใช้กิ่งมะกรูดในการจัดอิเคบานะ หรือบางครั้งก็เอากิ่งฝรั่งที่บ้านไปให้ผู้เรียนจัด เมื่อเขาเข้าใจรูปทรงของกิ่งมะกรูดที่โค้งมีน้ำหนักแล้วก็จัดวางในแจกันก็ทำให้เห็นความงามของมันได้ เขาก็ไปเพิ่มดอกไม้ ใช้ดอกลิลลี่เข้าไปได้ ภาพรวมของแจกันก็จะออกมาสวยได้” ดิเรก ชัยชนะ กล่าว

สำหรับการจัดดอกไม้นี้ ผู้ที่ลงมือทำจะผ่อนคลายกับตัวเอง ได้สัมผัสกับมุมมองบางอย่าง ประสบการณ์บางอย่างชั่วขณะหนึ่ง มีแนวโน้มเปิดมุมมองกว้างขึ้น ส่วนในแง่เทคนิคแล้ว เชื่อว่าคนที่จัดดอกไม้อยู่แล้วจะได้มุมมองที่ต่างจากการจัดดอกไม้แบบตะวันตก ตะวันตกเริ่มจากรูปแบบที่ชัดเจน พยายามจัดวางให้ลงในฟอร์มนั้น ส่วนอิเคบานะ ไม่ได้มีฟอร์มชัดเจน ใช้ความเข้าใจธรรมชาติ และค่อยๆ หาความสัมพันธ์ไปกับสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น พืชจะแสดงความงามของมันได้ในท้ายที่สุด

“การได้ชื่นชมความงาม มุมมองจะเปลี่ยนไป เวลาที่เห็นพืช หรือเห็นกิ่งบนท้องถนนอาจเห็นความงามที่ชัดเจนขึ้น เมื่อสามารถชื่นชมความงามของสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ของสิ่งเหล่านั้นได้ จะเป็นความรื่นรมย์ของชีวิต เห็นว่ามีความงามอยู่รอบๆ เรา ที่เราสามารถสัมผัสได้ ถ้าเราใช้มุมมองแบบนี้ไปชื่นชมสิ่งรอบตัวมากขึ้น คิดว่าวิถีชีวิตจะเปลี่ยนด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตัว การทำกิจวัตรประจำวัน จะมีความละเอียดกับการเลือก การใช้ การดู การสัมผัส การรับรู้ของเราจะเปลี่ยนไปด้วย มีสุนทรียะ และเราใส่ใจมากขึ้น” ดิเรก ชัยชนะ กล่าว

จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_55006
44
พงศาวดารจีน น่ำปักซ้อง ตำนานขุนศึกตระกูลหยาง

วีรกรรมของขุนศึกผู้เกรียงไกร กับท่านเปา บุ้นจิ้นผู้ทรงความยุติธรรม ร่วมกันปกป้องราชวงศ์ซ้องด้วยชีวิต อันเป็นที่มาของภาพยนตร์จีนกำลังภายในอันลือลั่น ขุนศึกตระกู ลหยาง... วรรณคดีพื้นบ้านเรื่องสำคัญของจีน ได้รับความนิยมแพร่หลายไม่น้อย กว่าเรื่องสามก๊ก ตระกูลหยางเป็นขุนศึกปกป้องราชวงศ์ซ่งถึงสามชั่วคน ทรงเกียรติคุณสูงสุดเหนือทหารตระกูลอื่นใดในประวัติศาสตร์จีน





วรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องสำคัญของจีน ว่าด้วยพงศาวดารราชวงศ์ซ้องใต้และซ้องเหนือ กล่าวถึงขุนศึกทหารหาญ ข้าราชการที่จงรักภักดีต่อแผ่นดิน ยอมสละแม้ชีวิต เช่น ตำนานวีรกรรมของเหล่าตระกูลหยาง (ตระกูลเอีย) สี่รุ่น ที่ร่วมกันพิทักษ์ราชวงศ์ซ้องด้วยความซื่อสัตย์และกล้าหาญ ทรงเกียรติคุณสูงสุดเหนือทหารตระกูลใด ในประวัติศาสตร์จีน จนมีการนำมาสร้างเป็นภาพยนต์ชุด ขุนศึกตระกูลหยาง

<a href="https://www.youtube.com/v//3-yFaXkh-fs" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//3-yFaXkh-fs</a> 

https://youtu.be/3-yFaXkh-fs?si=hxOv4NKfWJWcPC9u

ยังไม่จบ เขาจะลง เรื่อย ๆ https://youtube.com/@Nonn45?si=xXq2902py2F6d83P
45


เทพยิดัมคือใคร ใครคือ เหวัชระ เหรุกะ [พุทธทิเบต] / โชโฮธรรมราชบุตร ธรรมะตำนาน


ตามความเข้าใจของชาวพุทธโดยทั่วไป พระพุทธศาสนาทั้งสามนิกายคือเถรวาท มหายานและวัชรยาน ต่างก็มีเทพหรือเทวดาผู้เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ในฐานะผู้ดูแลศาสนา และผู้ปกป้องพระธรรมคำสอน แต่ในทางพระพุทธศาสนาแบบวัชรยานทิเบต มีเทพประเภทหนึ่งที่เราไม่ค่อยรู้จัก และบางคนที่เคยได้ยินชื่อก็มักเข้าใจผิดว่าท่านคือใครกันแน่ นั่นก็คือ เทพยิดัม หรือ เทพแห่งการทำสมาธิ

คำว่ายิดัม ภาษาอังกฤษเขียนด้วยคำว่า yidam บางแห่งออกเสียงว่า ยีดัม หรือ ยีตัม คำนี้ มีความหมายว่า เทพแห่งสมาธิ หรือเทพในการทำสมาธิ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า อิษฏเทวตา หรือเทพผู้เป็นตัวแทนแห่งการทำสมาธิ

เทพยิดัม มักมีคนเข้าใจว่า ท่านเป็นเพียงเทพปางดุหรือเทพปางพิโรธ หรือบางคนเข้าใจว่า ยิดัมแปลว่าพระธรรมบาล หรือหมายถึงพระธรรมบาล เทพผู้ปกป้องพุทธศาสนา บางคนจึงมักจะเข้าใจว่า เทพยิดัมมีแต่ปางดุ เพราะจะต้องปกป้องพุทธศาสนา

 ที่จริงแล้ว ยิดัมไม่ได้มีฐานะเป็นพระธรรมบาล และไม่ได้มีความหมายแบบนั้นโดยตรง คำว่า ยิดัม มีความหมายว่า เป็นองค์เทพที่ปรากฏเป็นธรรมาธิษฐาน จากคำสอนที่เราปฏิบัติอยู่ตามการปฏิบัติธรรมในพุทธแบบทิเบต

สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมแบบพุทธทิเบต องค์พระยิดัมเป็นหนึ่งในสรณะทั้งสาม เรียกว่า เป็นหนึ่งในตรีมูล ซึ่งประกอบด้วย คุรุ ยิดัม และ ฑากิณี

คุรุคือผู้สอนพระธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับพระพุทธเจ้า

 ยิดัม เปรียบเหมือนพระธรรม เพราะเป็นองค์ที่เราต้องใช้ในการปฏิบัติธรรม

ฑากินี เปรียบเหมือนพระสงฆ์ เพราะท่านเป็นผู้ทำกิจช่วยเหลือสรรพสัตว์แทนองค์พระพุทธเจ้า

 ในการปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติจะได้รับการอธิบายหลักธรรม ข้อปฏิบัติต่างๆ จากพระอาจารย์ หรือพระลามะ และจะมีการรับมนตราภิเษก โดยมีการถ่ายทอดคำสอนและวิธีภาวนาถึงองค์พระยิดัมแต่ละองค์ หมายความว่า เราจะได้รับการปฏิบัติองค์ยิดัมแบบไหน ก็ต้องได้รับการถ่ายทอดคำสอน เพื่อจะทำให้การปฏิบัติของเราได้ผลดียิ่งขึ้น

 เช่น ถ้าเราปฏิบัติธรรม สวดโอมมณีปัทเมหุม หรือสวดบทพระอวโลกิเตศวร หรือพระแม่ตารา อาจจะกล่าวได้ว่า พระอวโลกิเตศวร หรือพระแม่ตารา ก็คือพระยิดัมที่เราปฏิบัติอยู่ และทำให้เราได้รับผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรมและบรรลุธรรมได้ในที่สุด

ยิดัมจึงไม่ได้หมายถึงพระธรรมบาลหรือเทพพิทักษ์พุทธศาสนาโดยตรง แต่ยิดัมคือเทพที่ปรากฏในขณะที่เราปฏิบัติสมาธิ และท่านเป็นเหมือนกับการสำแดงหรือการปรากฏรูปอีกแบบของพระพุทธเจ้าที่สำแดงออกมาเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ในการปฏิบัติธรรมให้ได้รับผลสำเร็จ

แต่อาจจะมีชื่อขององค์พระบางองค์ ท่านมีฐานะเป็นพระยิดัม หรือบางทีท่านมีฐานะเป็นพระธรรมบาลด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับคัมภีร์และวิธีปฏิบัตธรรมของแต่ละสายธรรม ความสำคัญของพระยิดัม คือท่านเป็นผู้ที่ดูแลและบันดาลผลของการปฏิบัติธรรมที่เราปฏิบัติอยู่ให้เกิดผลสำเร็จ เพราะท่านเป็นเจ้าของการปฏิบัติธรรมบทนั้นๆ

พระคุรุปัทมะสัมภวะ หรือคุรุรินโปเช ท่านได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า การไม่มียิดัม ก็หมายความว่าเราจะไม่ได้รับผลจากการปฏิบัติ หมายความว่า เมื่อเราปฏิบัติสมาธิ เราก็ต้องมีบทปฏิบัติภาวนา นั่นคือวิถีทางไปสู่ความสำเร็จ ในการปฏิบัติพุทธแบบทิเบต ก็เช่นเดียวกัน

พระยิดัม เป็นเทพผู้เป็นเจ้าของคำสอน และเป็นผู้รักษาคำสอน แต่ตัวท่านเองไม่ได้เป็นเทพที่เอาไว้กราบเคารพบูชาหรือขอพรให้กับใคร เพราะท่านปรากฏในการทำสมาธิ และเป็นองค์ที่เราปฏิบัติเพื่อได้รับผลทางธรรมหรือการไปสู่แนวทางการบรรลุธรรม

ยิดัมในทางพุทธแบบทิเบตแบ่งเป็นสองหรือสามลักษณะ คือ ปางสันติ เช่น พระแม่ตารา พระอวโลกิเตศวระ พระมัญชุศรี หรือพระพุทธเจ้าศากยมุนี พระวัชรสัตว์ ท่านเหล่านี้คือองค์พระปางสันติ

ส่วนปางพิโรธ เช่นพระวัชรปาณี และองค์อื่นๆ เช่น พระเหวัชระ หรือ เจดอร์เจ พระเหรุกะ หรือ รักตุง พระจักรสังวร คอร์โล เต็มชก เป็นต้น ท่านเหล่านี้นับรวมว่าเป็น เทพศรีเหรุกะ ซึ่งแปลว่า ผู้ดื่มกินเลือด ฟังดูแล้วเหมือนดุร้าย แต่ที่จริงหมายถึง การกำจัดความทุกข์ในการเวียนว่ายตายเกิด เพราะการปฏิบัติธรรม ทำให้เราพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด นอกจากนั้น คำว่า เหรุกะ มาจากคำว่า เห หมายถึง การดำรงอยู่ด้วยความเมตตาอย่างยิ่งใหญ่ รุ หมายถึง การไม่เก็บรวบรวมสิ่งใด และคำว่า กะ หมายถึงไม่ยึดติดในสิ่งใด องค์พระศรีเหรุกะ จึงหมายถึง ผู้ดำรงอยู่ด้วยเมตตาอย่างยิ่งใหญ่ โดยไม่ยึดติดในสิ่งใดเลย

เทพยิดัมบางองค์จะมีพระโพธิสัตว์ที่มีสภาวะแบบสตรีที่เป็นคู่กัน แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการมีคู่ครองแบบความคิดทางโลก แต่หมายถึงการรวมกันของคุณธรรมและการรู้แจ้ง คือปัญญากับกรุณา

ท่านเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นปางสันติหรือปางพิโรธ ก็ล้วนแต่เป็นการแสดงถึงองค์ธรรมและบทปฏิบัติภาวนา และมีสัญลักษณ์สื่อถึงความหมายของธรรมะข้อต่างๆ ไม่ได้หมายความว่าท่านกำลังโกรธใครหรือพิโรธไม่พอใจใครจริงๆ และที่จริง คำว่า ปางพิโรธ หมายถึง การแสดงความกรุณาอย่างสูงสุดที่จะรื้อถอนสรรพสัตว์ให้พ้นจากสังสารวัฏหรือการเวียนว่ายตายเกิด


<a href="https://www.youtube.com/v//RvDSVjcZLiM" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//RvDSVjcZLiM</a> 

https://youtu.be/RvDSVjcZLiM?si=OLpZ3Hh8ZXEwYK7h
46
การเวียนว่ายตายเกิด การระลึกชาติของพระอริยสงฆ์ #หนังสือพูดได้ #เวียนว่ายตายเกิด


สารคดี วัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อ

บุคคลพึงมีธรรมะเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก



<a href="https://www.youtube.com/v//7UnlQpupimE" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//7UnlQpupimE</a> 

https://youtu.be/7UnlQpupimE?si=hya1I6-oFMQvYzmX
47
"ผจญอสุรกายบนดอย ปาฎิหาริย์ประสบการณ์..! ธุดงค์ หลวงพ่อเกษม เขมโก


<a href="https://www.youtube.com/v//sTW1vHT8AEw" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//sTW1vHT8AEw</a> 

https://youtu.be/sTW1vHT8AEw?si=whTQ9z1bmLkexA6N
48
วัชรยาน / Rise & Fall : การเกิดขึ้นและล่มสลายของอาณาจักรชัมบาลา
« กระทู้ล่าสุด โดย มดเอ๊กซ เมื่อ มกราคม 15, 2024, 08:34:07 am »
Rise & Fall : การเกิดขึ้นและล่มสลายของอาณาจักรชัมบาลา

โพสต์โดย วัชรสิทธา

บทความโดย วิจักขณ์ พานิช



ชัมบาลา คือดินแดนในตำนาน โลกพระศรีอาริย์ สังคมในอุดมคติ มณฑลการตื่นรู้ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่ฝึกตนบนหนทางแห่งความเปิดกว้างและกล้าหาญ

ตำนานชัมบาลาถูกปลุกให้มีชีวิตโดย เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ธรรมาจารย์ชาวทิเบตผู้วางรากฐานพุทธธรรมในโลกตะวันตก แทนที่จะพาผู้คนย้อนเวลากลับไปหาอดีต ตรุงปะมองเห็นความเป็นไปได้ในการค้นพบชัมบาลา ในบริบทโลกสมัยใหม่ ในปัจจุบันขณะที่เรากำลังมีชีวิตอยู่

ในปี 1970 ตรุงปะเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นวางรากฐานการส่งผ่านจิตวิญญาณพุทธธรรมให้แก่ศิษย์ชาวตะวันตก เขาเลือกใช้แนวทาง “ไตรยาน” อันประกอบด้วยหินยาน มหายาน และวัชรยาน ฝึกนักเรียนของเขาตั้งแต่สมถะ-วิปัสสนา ไปจนการปฏิบัติสาธนาและการภาวนาไร้รูปแบบขั้นสูงอย่าง มหามุทรา – ซกเช็น เมื่อมีประสบการณ์บนเส้นทางพุทธธรรมหนักแน่นและมั่นคงมากพอ ในปี 1976 ตรุงปะจึงเริ่มถ่ายทอดคำสอนชัมบาลาออกมาอย่างเป็นระบบ

ในมุมมองของตรุงปะ เส้นทางจิตวิญญาณสามารถถูกสื่อสารพ้นไปจากกรอบคิดทางศาสนา ย้อนกลับไปหารากกำเนิดของภูมิปัญญานักรบโบราณ อย่างในทิเบต อเมริกันอินเดียนส์ หรือนักรบซามูไรของญี่ปุ่น การภาวนาเป็นหัวใจในวิถีการฝึกตนของผู้กล้า เปรียบได้กับหนทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบ แม้จะยังคงมีกลิ่นอายของคำสอนพุทธศาสนา แต่คำสอนชัมบาลานำเสนอภาษาของประสบการณ์ เปิดจินตนาการใหม่ให้การปฏิบัติธรรม เชื่อมต่อสภาวะการตื่นรู้ภายใน กับโลกศักดิ์สิทธิ์อย่างน่าทึ่ง

ธรรมะอันเป็นสากล

ธรรมะในชัมบาลา คือการเชื่อมสมดุล ดิน-ฟ้า นักรบชัมบาลาฝึกดำรงอยู่อย่างผ่อนคลายในเนื้อในตัว การประสานกาย-จิต เปลือยเปล่าในพื้นที่ว่างระหว่างฟ้า-ดิน ดำรงตนอย่างเปิดเผยและสง่างาม “Shape of the Warrior” การตั้งแกนตรงด้วยท่าทีที่องอาจของนักรบ วิถีภาวนาแบบนักรบชัมบาลาให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากการนั่งภาวนาในพุทธศาสนา ตรงที่แสดงออกถึงความเปิดกว้างและกล้าเผชิญต่ออะไรก็ตามที่อยู่ตรงหน้า ดังนิยามของนักรบที่ว่า ” The warrior is the one who is not afraid of space” – นักรบคือคนที่ไม่เกรงกลัวพื้นที่ว่าง

การดำรงอยู่ตรงนั้น ณ วินาทีนั้นอย่างมั่นใจ มาจากการที่นักรบฝึกที่จะสัมพันธ์กับธรรมชาติของ “ฺBasic Goodness” หรือ ความดีพื้นฐาน เปิดหัวใจที่ทั้งอ่อนโยนและกล้าหาญ หัวใจแห่งความเศร้าที่จริงแท้ “Genuine Heart of Sadness” พร้อมให้โลกเข้ามาสะกิดและสั่นสะเทือนในใจนั้นได้อย่างไม่ขัดขืน หัวใจที่อ่อนโยนและวางใจในความดีพื้นฐานนี้เองที่ทำให้นักรบชัมบาลามี Primordial Confidence “ความมั่นใจเดิมแท้” การวางใจสูงสุดใน “The Great Eastern Sun” ความตื่นรู้ที่ดำรงอยู่ในตนเองและในสรรพสิ่งอย่างไม่มีเงื่อนไข นักรบปลุกพลังอำนาจภายในตน พลังม้าลม “Wind Horse” ที่พานักรบขึ้นขี่ความกลัว เปิดช่องสัญญาณ สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ด้วยการใส่ใจและชื่นชมในรายละเอียดเล็กๆ ของสิ่งนั้นๆ อย่างที่เป็น พลังภายในเข้าไปปลุกเสกพลังศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ เกิดเป็นมณฑลแห่งพลัง “Drala” นักรบกลายร่างสู่สัตว์วิเศษทั้งสี่แห่งความมั่นใจเดิมแท้ “The Four Dignities” อันได้แก่ เสือ มังกร สิงโตหิมะ และครุฑ

Creation & Completion การรังสรรค์ของมณฑลแห่งการตื่นรู้

ในมณฑลกว้างใหญ่แห่งความเป็นเช่นนั้น
ในการรังสรรค์ของแสงจ้า
ปาฏิหาริย์ของรูป เสียง สัมผัส
ได้กลายเป็นพุทธปัญญาทั้งห้าของเหล่าพุทธะ
นี่คือมณฑลการตื่นรู้ที่ไม่เคยถูกสรรค์สร้าง  แต่กลับสมบูรณ์อยู่เสมอ
มันคือมหาปีติ  เดิมแท้ และแผ่ซ่านไปรอบทิศ ฮุ่ม

สาธนามหามุทรา รจนาโดย เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช


โลกศักดิ์สิทธิ์แห่งชัมบาลา คือมณฑลการตื่นรู้ที่รังสรรค์ขึ้นจากความว่าง เส้นทางการฝึกตนบนทัศนะไตรยาน เมื่อมาถึงขั้นวัชรยาน ความว่างแสดงออกถึงธรรมชาติแห่งตถาคตครรภ์ – สถานที่ให้กำเนิดทุกสภาวะธรรมที่ปรากฏ ในการภาวนาแบบวัชรยานที่เรียกว่า สาธนา ประกอบด้วยสองส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนการรังสรรค์มณฑล (Creation) และ ส่วนการสลายมณฑล (completion)

จากพื้นของความว่าง สะท้อนถึงคุณสมบัติของ Unconditional Goodness ทุกสภาวะธรรมที่ก่อกำเนิดขึ้นในมณฑลนั้น ล้วนสำแดงธรรมชาติของความดีพื้นฐาน แผ่ซ่านวิสัยทัศน์แห่งการตื่นรู้อันยิ่งใหญ่ อาณาจักรชัมบาลาก่อกำเนิดขึ้น ไม่ใช่อย่างล่องลอยเพ้อฝัน ทว่าดำรงมั่นอยู่บนสายธรรมประสบการณ์ของเหล่านักรบในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

หลังจากถ่ายทอดคำสอนชัมบาลาและวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ของ Secular Enlightenment เชอเกียม ตรุงปะ ก็ได้สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งชัมบาลา (Sakyong King) นามว่า “Dorje Dradul of Mukpo” โดยมีท่าน ดิลโก เคียนเซ รินโปเช มาประกอบพิธีอภิเษกให้ เหมือนกับพิธีอภิเษกที่ทำให้กับกษัตริย์ในราชวงศ์ภูฎานตอนขึ้นครองราชย์




ประเทศชัมบาลา ธงชาติ เพลงชาติ ราชวงศ์ และกองทัพ

ในฐานะกษัตริย์แห่งชัมบาลา ตรุงปะยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น เขาใช้ศักยภาพทั้งทางศิลปะ จิตวิญญาณ และการเป็นผู้นำ รังสรรค์โลกอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชัมบาลาเป็นรูปธรรมจับต้องได้ แปรเปลี่ยนสังฆะทางธรรมที่มีศิษยานุศิษย์จำนวนมาก ให้กลายเป็นประเทศชัมบาลา เสกธงชาติ เพลงชาติ ตราสัญลักษณ์ ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ ตรุงปะมีบทบาทสำคัญทั้งในฐานะผู้นำประเทศ กษัตริย์แห่งราชวงศ์ ศูนย์รวมจิตใจ คุรุทางจิตวิญญาณ และผู้นำกองทัพ










คำสอนชัมบาลาในฐานะ Pre-Yana และ 4th Yana

เรจินัลด์ เรย์ ศิษย์ของเชอเกียม ตรุงปะ ให้มุมมองที่น่าสนใจว่า คำสอนชัมบาลา สามารถถูกมองเป็นคำสอนในขั้น Pre Hinayana หรือ Post Vajrayana ก็ได้ ในมุมหนึ่ง คำสอนชัมบาลาช่วยเปิดวิสัยทัศน์อันไพศาล ก่อกำเนิดแรงบันดาลใจ สู่การอุทิศตนบนเส้นทางจิตวิญญาณ และในอีกมุมหนึ่ง คำสอนชัมบาลาคือผลลัพธ์ของวัชรยาน หากหินยาน มหายาน และวัชรยาน คือยานทั้งสามแห่งการฝึกตน ชัมบาลาก็อาจเปรียบได้กับ “ยานที่สี่” หรือ The Fourth Yana ที่สำแดงถึงพลานุภาพแห่งการตื่นรู้ ไปพ้นกรอบคิดทางศาสนา

กระนั้นก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า การปฏิบัติตามคำสอนชัมบาลา โดยปราศจากรากฐานการฝึกตนผ่านยานทั้งสาม อาจนำไปสู่แนวโน้มของ “วัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ” ได้โดยง่าย ดังนั้นในมุมมองของเชอเกียม ตรุงปะ คำสอนชัมบาลา กับ คำสอนพุทธธรรม จำเป็นต้องฝึกฝนไปควบคู่กัน

ผู้สืบทอด ในระบอบการเมืองของอาณาจักรชัมบาลา

อาจกล่าวได้ว่า เชอเกียม ตรุงปะ ปกครองอาณาจักรชัมบาลาด้วยพลังวิเศษแห่งธรรมะ เพื่อสานต่อพันธกิจนี้ให้คงอยู่ เขาได้แต่งตั้งผู้สืบทอดไว้ 2 คน คนแรกคือ “Vajra Regent” โอซิล เท็นซิน (โธมัส ริช) ทายาทธรรมฝั่งพุทธธรรม และ “Sawang” ปัจจุบันคือ ศากยัง มีพาม ลูกชายคนโตของตรุงปะ ทายาทธรรมฝั่งชัมบาลา

ในการเลือกทายาทธรรมทั้งสอง ตอกย้ำความแยกขาดจากกันไม่ได้ของคำสอนพุทธธรรมกับคำสอนชัมบาลา ทั้งในแง่ของการปกครอง จำเป็นต้องมีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน ระหว่างกษัตริย์และผู้นำชุมชนทางจิตวิญญาณ สังคมแห่งการตื่นรู้ต้องไม่ติดอยู่กับความเป็นพุทธจนเกินไป และไม่ติดอยู่ในอุดมคติจนล่องลอยเกินไปเช่นเดียวกัน

ในคำสอนชัมบาลา กล่าวถึง “ลำดับชั้นตามธรรมชาติ” Natural Hierachy และ “ราชวงศ์อันเป็นสากล” Universal Monarch ซึ่งเกิดขึ้นจากการเคารพในปัญญาญาณเดิมแท้ของแต่ละบุคคล ยกตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง ครู กับ ศิษย์ ไม่อาจเท่าเทียมกันในแบบประชาธิปไตยได้ ครูย่อมมีอำนาจเหนือศิษย์ กระนั้นก็สามารถใช้อำนาจนั้นในหนทางที่เอื้อให้ศิษย์เติบโตและส่งเสริมศักยภาพให้กับศิษย์ได้ เช่นเดียวกันกับในแง่ปกครอง ต้องให้อำนาจในการตัดสินใจเด็ดขาดแก่กษัตริย์ผู้ปกครองเช่นกัน ทั้งนี้พึงตระหนักว่า อำนาจ ทั้งในทัศนะของพุทธและของชัมบาลา คืออำนาจที่มาจากธรรมะ ที่เปิดกว้างต่อความเห็นต่าง ความท้าทาย และความโกลาหลอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งไม่ได้หมายความว่า อนาคตของชัมบาลา จะขึ้นอยู่กับคนคนเดียว เพราะสูงสุดแล้ว “ทุกคนคือผู้สืบสายธรรม… ทุกคนคือนักรบชัมบาลา”


อาณาจักรชัมบาลาหลังยุคก่อตั้ง

เชอเกียม ตรุงปะ จากโลกนี้ไปเมื่อเมษายน ปี 1987 เขาได้ทิ้งมรดกธรรมไว้มากมาย รวมถึงวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ของชัมบาลา ที่ปรากฏขึ้นอย่างแจ่มชัดบนโลกนี้ในช่วงเวลาที่ตรุงปะมีชีวิตอยู่ ความท้าทายคือ แล้วเราจะสืบต่อความรุ่งโรจน์นั้นต่อไปอย่างไร?

ความท้าทายแรกเกิดขึ้นเมื่อ Vajra Regent (ทายาทธรรมฝั่งพุทธธรรม) เสียชีวิตลงด้วยโรคเอดส์ ทำให้สายสืบทอดพุทธธรรมของเชอเกียม ตรุงปะ ไม่มีผู้สืบต่อสายธรรมอย่างเป็นทางการ เหลือแต่ “สว่าง” ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งชัมบาลาคนต่อไป นามว่า “ศากยัง มีพาม” ธรรมาจารย์ชาวทิเบตให้คำแนะนำว่า ควรรวบอำนาจการปกครองทั้งหมดให้ ศากยัง มีพาม ดูแล จึงกลายเป็นว่าทั้งสายพุทธธรรมและสายชัมบาลา ถูกปกครองโดยผู้นำคนเดียวเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

บางคนอาจมองว่า ก็ไม่เห็นแปลกอะไร ในเมื่อสมัยผู้ก่อตั้งก็เป็นเช่นนั้น อีกทั้ง ศากยัง มีพาม ก็เป็นถึงลูกชายของคุรุผู้ยิ่งใหญ่ ที่เพิ่งได้รับการค้นพบว่าเป็น คุรุมีพาม ผู้ยิ่งใหญ่ กลับชาติมาเกิดด้วยแล้ว เขาจึงควรได้รับอำนาจทั้งหมดในการปกครอง ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว ศากยัง มีพาม ไม่ได้รับการถ่ายทอดคำสอนพุทธธรรมอย่างเข้มข้นเป็นระบบ จากเชอเกียม ตรุงปะ ในฐานะศิษย์ใกล้ชิด เหมือนศิษย์ชาวตะวันตกคนอื่นๆ

อีกนัยหนึ่ง การรวบอำนาจเบ็ดเสร็จมาสู่ ศากยัง มีพาม เสมือนหนึ่งการมองข้ามความสำคัญของ สายพุทธธรรม ที่เชอเกียม ตรุงปะ ถ่ายทอดสู่ศิษย์ชาวตะวันตก หรือกระทั่งไม่ไว้ใจการสืบต่อสายธรรมในหมู่ศิษย์ชาวตะวันตก ด้วยนั่นเอง




ความเสื่อมสลายของอาณาจักรชัมบาลา

ในปี 2004 เรจินัลด์ เรย์ ได้ขอแยกตัวจากชัมบาลา ด้วยเหตุผลที่ว่า เขาไม่ได้รับอนุญาตจาก ศากยัง มีพาม ให้ถ่ายทอดคำสอนวัชรยานที่ได้รับจากเชอเกียม ตรุงปะ แก่กลุ่มลูกศิษย์ของเขา ด้วยเหตุผลที่ว่า อำนาจการมอบคำสอนวัชรยาน อยู่ที่ศากยัง มีพาม เพียงคนเดียวเท่านั้น นอกจากนั้นทิศทางการนำเสนอคำสอนของ ศากยัง มีพาม ยังมีความแตกต่างจากเชอเกียม ตรุงปะ มากขึ้นเรื่อยๆ เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการแตกหักในชุมชนอย่างรุนแรง บ้างก็กล่าวหาว่า เรจินัลด์ เรย์ เป็นคนทรยศ บ้างก็ว่า ศากยัง มีพาม ไม่เคารพอำนาจการสืบทอดพุทธธรรมที่เชอเกียม ตรุงปะ มอบไว้ให้กับศิษย์ใกล้ชิด

ผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือรอยร้าวในชุมชน เกิดคำถาม ความสงสัย ความไม่ไว้วางใจ และความไม่ปรองดอง ท้าทายต่อสันติภาพในอาณาจักรชัมบาลา ซึ่งในแง่มุมนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของ ศากยัง มีพาม ในฐานะผู้นำโดยตรง

หลายปีต่อมา มีพายุลูกใหญ่โหมเข้าซัดชุมชนชัมบาลาอีกครั้ง ศากยัง มีพาม ถูกเปิดโปงถึงพฤติกรรมทำร้ายผู้อื่น ที่เขากระทำความรุนแรงต่อศิษย์ใกล้ชิด ทั้งความรุนแรงทางร่างกายและทางเพศ ระหว่างกระบวนการพิสูจน์ความจริง เขาถูกเรียกร้องจากชุมชนให้ลงจากอำนาจ และหลังจากนั้นเป็นต้นมา อาณาจักรชัมบาลาก็อยู่ในสถานะที่ปราศจากผู้นำอย่างสิ้นเชิง

องค์กรชัมบาลาเริ่มประสบปัญหาทางการเงินและเข้าสู่ภาวะล้มละลาย สมาชิกจำนวนมากเดินออกจากสังฆะ ศูนย์ปฏิบัติธรรมหลายแห่งต้องปิดตัว และทรัพย์สินจำนวนมากถูกขายทอดตลาด เพื่อเอาเงินมาชำระหนี้สิน

อนาคตของชัมบาลา

การเกิดและการล่มสลายของอาณาจักรชัมบาลาในช่วงชีวิตของเชอเกียม ตรุงปะ และทายาทธรรมรุ่นแรก สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏขึ้นจากความว่าง และสลายกลับคืนสู่ความว่าง

อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ที่รังสรรค์ขึ้นมาจากวิสัยทัศน์แห่งการตื่นรู้ จะยังดำรงอยู่ในใจผู้คนที่อุทิศตนให้กับสัจธรรมแห่งความจริงแท้และกล้าหาญได้หรือไม่? พันธกิจในการนำพาสรรพสัตว์ออกจากความมืดมิดจะยังคงดำเนินต่อไปได้หรือเปล่า? เหล่านักรบผู้มาก่อนได้มอบปัจฉิมโอวาทล้ำค่า ว่าบนเส้นทางอันศักดิ์สิทธิ์ นักรบพึงดำรงตนอยู่บนความไม่ประมาทเสมอ ไม่มียกเว้น

ชัมบาลาในฐานะองค์กรอาจกำลังอยู่ในช่วงเวลายากลำบาก ทว่าชัมบาลาในฐานะคำสอน ยังดึงดูดผู้คนให้เข้ามาสู่เส้นทาง ที่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ มีนักรบผู้กล้า ประกาศก้องให้เห็นแล้วว่า ชัมบาลาสามารถเกิดขึ้นได้จริงตรงหน้า แม้เป็นเพียงวาบเดียว ก็สว่างจ้า ตราตรึง

และในส่วนลึกที่สุด ชัมบาลาในฐานะอาณาจักรใจ จะดำรงอยู่ตรงนั้นเสมอ ไม่แปรเปลี่ยน ไม่มีอะไรมาทำลายได้

…แล้วทุกอย่างก็กลับมาสู่จุดเริ่มต้น

อนาคตของชัมบาลา ขึ้นอยู่กับเราทุกคน ที่นี่ และตรงนี้

เหล่านักรบ ที่แม้หัวใจแตกสลลาย จะยังคงวางใจในความดีพื้นฐานของมนุษย์
และไม่ว่าเกิดอะไรขึ้น พวกเขาจะยังเชื่อมั่นว่า the Great Eastern Sun always arises.


shambhala trungpa ชัมบาลา วิจักขณ์ พานิช เชอเกียม ตรุงปะ

จาก https://www.vajrasiddha.com/article-risenfall/

วัชรสิทธา

สถาบันวัชรสิทธา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทางการศึกษา บนพื้นฐานของการภาวนา การใคร่ครวญด้วยใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นมนุษย์ระหว่างผู้เรียน

49
“สายน้ำ ชุมชน ผืนป่า พญานาค” : สายสัมพันธ์กับ unseen world ของพุทธธรรมลุ่มน้ำโขง

โพสต์โดย วัชรสิทธา

บทความโดย วิจักขณ์ พานิช



ตำนานเล่าว่า ในสมัยที่พุทธธรรมเดินทางจากอินเดียสู่ทิเบต มีคณะสงฆ์อินเดียนำโดยภิกษุสันตรักษิตะ เดินทางดั้นด้นไปจนถึงดินแดนเทือกเขาหิมาลัย พวกเขาปรารถนาจะตั้งวัดที่นั่นเพื่อเผยแผ่พระสัทธรรม ทว่าเกิดเหตุคาดไม่ถึง คือพยายามสร้างวัดเท่าไรก็ทำไม่สำเร็จ ราวกับมีภูติผีศาจหรือวิญญาณท้องถิ่นขัดขวาง ต่อต้าน ไม่ยอมรับ

พระพุทธะสมณโคดมได้ฝากปณิธานการเผยแผ่พระสัทธรรมกับเหล่าสาวก “จงเดินท่องไปเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์” วิถีแห่งการเดินจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งของเหล่าผู้ฝึกฝนปฏิบัติ คือหัวใจสำคัญของการเผยแผ่พุทธธรรมในทุกยุคทุกสมัย การเดินทางสู่ความไม่รู้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้จะฝึกตนกันมาดีเท่าไหร่ เมื่อต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์ ผู้คน และบริบทที่ต่างออกไป ก็จำเป็นต้องละทิ้งวิธีการหรือกระทั่งความรู้ความเข้าใจเดิม เพื่อหาวิธีการสื่อสารประสบการณ์แห่งการตื่นรู้ในบริบทใหม่

ตำนานเล่าต่อว่า สันตรักษิตะไม่สามารถ “สอนพุทธธรรม” ในทิเบตโดยใช้วิธีการแบบเดียวกับที่เขาเคยเรียนมาได้ ในวินาทีแห่งความสิ้นหวัง เขาร้องขอความช่วยเหลือจาก “คุรุรินโปเช” หรือปัทมสัมภาวะ ตันตราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อเดินทางมาถึง คุรุรินโปเช ใช้อุปายวิธีในการสัมพันธ์กับภูตผีและจิตวิญญาณท้องถิ่นจนเกิดการยอมรับระหว่างกัน กระทั่งเปิดทางให้กลุ่มของพระสันตรักษิตะสามารถสร้าง “สัมเย” อารามแห่งแรกบนผืนดินทิเบตได้สำเร็จ

ตำนานข้างต้นแสดงให้เห็นว่า นอกจากความรู้ในคัมภีร์คำสอน ยังมีอีกมิติหนึ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือความสัมพันธ์ที่ผู้ปฏิบัติมีต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงมิติเร้นลับที่มองไม่เห็นอย่างการสัมพันธ์กับเจ้าที่ท้องถิ่น วิญญาณ ผีสางนางไม้ ทวยเทพเทวดา ฯลฯ

มิติเร้นลับเหล่านี้สอดแทรกอยู่ในประวัติศาสตร์พุทธศาสนามาโดยตลอด และถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การเดินทางของพุทธศาสนาเปี่ยมด้วยมนต์ขลัง มีเสน่ห์ น่าค้นหา





ธุดงควิถีของพระป่าในลุ่มน้ำโขง

พุทธเถรวาทก่อนจะกลายมาเป็นพุทธศาสนาแบบสถาบัน (Institutionalized Buddhism) ที่แข็งทื่อตายตัวอย่างที่เห็นเช่นทุกวันนี้ ในอดีต การเดินทางของพุทธศาสนาแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเชื่อมโยงถึงกันหมด ด้วยพลวัตสำคัญที่เรียกว่า “Forest Tradition” หรือสายปฏิบัติของผู้อยู่ป่า

เราไม่อาจเข้าใจวิถีของผู้อยู่ป่าได้เลย หากปราศจากการให้คุณค่ากับการภาวนา ดั่งนักรบที่ออกเดินสู่ความไม่รู้ สมณะเดินท่องไป เพื่อแสวงหาสถานที่วิเวกสงัดที่เอื้อต่อการฝึกฝนจิตใจ ในภาคอีสาน อิทธิพลของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ทำให้จินตนาการของวิถีสมณะเดินท่องไปยังมีชีวิตและเปี่ยมด้วยพลัง ผู้ฝึกตนรับคำสอนและเทคนิคปฏิบัติจากครูบาอาจารย์แล้วกระจายตัวออกไปแสวงหาสถานที่สัปปายะต่อการภาวนา เผชิญกับความเดียวดายสงัดเงียบ ป่ารกชัฏ สัตว์ป่า และความคาดไม่ถึงของประสบการณ์เร้นลับทุกรูปแบบ

ร่องรอยของสายปฏิบัติผู้อยู่ป่ายังคงมีให้เห็น ตามหมู่บ้านริมโขง ยังมีพระธุดงค์มาพำนักตามถ้ำ ตามป่าใกล้หมู่บ้าน สามสี่วันจึงเดินลงมาบิณฑบาตรสักหน โดยเฉพาะในฤดูฝน ที่มีเวลายาวนานในช่วงเข้าพรรษา ความเขียวขจีของผืนป่า ความชุ่มชื้นของธารน้ำ ที่ไหลรวมลงไปสู่แม่โขงอันทรงพลัง





สายน้ำ ชุมชน ผืนป่า พญานาค

นั่งมองการเยื้อยย่างของสายน้ำโขงในฤดูฝน ณ บ้านตามุย อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี พลังของแม่น้ำสะกดผมกับเพื่อนๆ ให้นิ่งงัน เราตกอยู่ในภวังค์สมาธิ ราวกับต้องมนตร์ แม่น้ำไม่ได้เป็นแค่แม่น้ำ แต่คือผลรวมของการเคลื่อนไหวอันมีชีวิต ข่ายใยสายสัมพันธ์อันถักทอ แรงสันสะเทือนของสรรพสิ่ง แม่น้ำที่ยังไหลเปรียบเหมือนชีพจรที่ยังเต้น หัวใจที่ยังสูบฉีดเลือด ความยิ่งใหญ่ตรงหน้าสะท้อนภาพผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ฤดูกาลที่ผันเปลี่ยน ชุมชนที่ยังเคารพเกื้อกูลธรรมชาติ ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อที่สัมพันธ์อยู่กับพลังงานอันศักดิ์สิทธิ์ที่แทรกซึมอยู่ในทุกอณูของวิถีชีวิต

ชาวบ้านริมโขงไม่ได้แค่ใช้ประโยชน์จากสายน้ำ แต่พวกเขาเคลื่อนชีวิตไปกับสายน้ำ แม่น้ำคือความศักดิ์สิทธิ์ที่ทรงพลังเกินกว่าที่มนุษย์ตัวเล็กๆ จะอหังการไปท้าทายหรือทำลาย อีกทั้งความศักดิ์สิทธิ์นั้นก็หาใช่สิ่งที่อยู่นอกตัวและแยกขาด โลกทัศน์ที่ชาวบ้านมีต่อแม่น้ำจึงเป็นมากกว่าแม่น้ำที่มองเห็นได้ด้วยตา แต่มันหยั่งลึกไปถึงระดับตัวตน ความรู้สึก จินตนาการ ความสัมพันธ์ กระทั่งอาจเรียกได้ว่า จิตวิญญาณ

ยิ่งหากมีพื้นฐานการภาวนาอยู่บ้าง โลกธรรมชาติสามารถกลายเป็นครูสอนธรรมะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด การเกิด แก่ เจ็บไข้ได้ป่วย และความตาย คือคำสอนจากสายน้ำ พร้อมๆ กับความเข้าใจเรื่องการยอมรับและการปล่อยวางไปตามกระแสธารแห่งความไม่เที่ยง



พญานาค กับธรรมะ

เส้นทางการฝึกตนของผู้อยู่ป่า เชื่อมโยงกับโลกปรากฏการณ์อันศักดิ์สิทธิ์ การนั่งภาวนาอยู่ในป่าไม่ใช่แค่การไปนั่งชมนกชมไม้ แต่คือการพาตัวเองเข้าไปอยู่ในครรภ์มารดาธรรมชาติ ความรู้สึกตัวที่ไม่ใช่แค่การตามลมหายใจเข้าออก แต่คือการเปิดผัสสะแห่งการรับรู้ทั้งหมด เชื่อมโยงกับมณฑลอันไร้การปรุงแต่ง ความเย็นวาบ ความร้อนผ่าว ขนที่ลุกชัน เหงื่อที่ไหลยามต้องแสงแดด ความชุ่มฉ่ำเปียกปอนของสายฝน กลิ่นดิน ความชื้นของหมอกยามเช้า เสียงลมกระทบใบไม้ปลิวไหว ฟ้าคะนอง ซุ่มเสียงเซ็งแซ่ของจั๊กจั่นเรไร ความมืดอันลึกล้ำเร้นลับ แรงสั่นสะเทือนเคลื่อนที่ของสายน้ำที่กระทบวิญญาณระดับลึก เมื่อตัวฉันไม่มีอยู่ ความรู้สึกตัวกลายเป็นศักยภาพในการเชื่อมโยงกับสรรพสิ่งอย่างไร้ขอบเขต การปรากฏกายของสภาวะธรรมตามธรรมชาติที่สื่อสารกับจิตวิญญาณ ปลุกเร้าเมล็ดพันธุ์แห่งการตื่นให้ผลิบาน ความตื่นที่ไม่ใช่ความตื่นกลัว แต่คือการเปิดกว้างต่อประสบการณ์ วาบของปัญญาญาณ ที่สื่อสารถึงการดำรงอยู่อันไปพ้นจากขอบเขตตัวตน

เพียงไม่กี่นาทีของการนั่งอยู่ในความสงบเงียบในผืนป่าลุ่มน้ำโขง ที่แตกต่างไปจากการนั่งภาวนาอยู่ในคอนโดใจกลางเมืองหลวง หากจะมีถ้อยคำที่สื่อสารถึงประสบการณ์ในเนื้อในตัวตรงนั้น คงไม่มีถ้อยคำใดดีไปกว่า “พญานาค” ผืนป่าแห่งนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักรักษาธรรมะ …ธรรมชาติ ผู้ปฏิบัติธรรม และผู้ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทั้งหลาย

ในพุทธศาสนาทิเบต ความสัมพันธ์กับ Unseen World หรือโลกที่มองไม่เห็น ถือเป็นเรื่องปกติและเป็นส่วนสำคัญของพิธีกรรมและการภาวนา เจ้าที่ หรือเทพท้องถิ่น สามารถร่วมรับรู้เจตจำนงทางธรรมอันดีงามของผู้ปฏิบัติ และเมื่อใดที่เจตจำนงนั้นมีความชัดเจนมากพอ การสื่อสารให้เทพเหล่านั้นเป็นสักขีพยานรับรู้ จะได้รับการตอบรับและสนับสนุนจากอีกฟากหนึ่งอย่างเต็มที่ พันธกิจที่ยิ่งใหญ่เชื่อมต่อกับจิตใหญ่ที่ไปพ้นตัวตนที่จำกัด และเมื่อจิตใหญ่เปิดสัมพันธ์กับโลกทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น มิติแห่งการ co-creation ก็ระเบิดพลังออกมาอย่างคาดไม่ถึง อย่างน้อยก็ในฐานะกำลังใจและแรงสนับสนุนในพันธกิจนั้นที่ไม่มีวันเหือดแห้ง




การฟื้นสายสัมพันธ์กับพญานาค ในฐานะการยกระดับจิตสำนึกทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

คำปิ่น อักษร นักเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม ที่เอาตัวเองมาสิงสถิตอยู่ที่บ้านตามุยกว่าสองทศวรรษ เธอต่อสู้คัดค้านการสร้างเขื่อน และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการรักษาประเพณี และวิถีชีวิต ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับผืนป่าและสายน้ำให้คงอยู่ บางครั้งแนวทางการต่อสู้แบบเอ็นจีโอ ก็ทำให้เธอเหนื่อยล้าและมองไม่เห็นหนทางที่จะต้านทานกระแสของโลกาภิวัฒน์ ที่ถูกหนุนเสริมด้วยบรรษัทข้ามชาติ หรืออำนาจรัฐที่เบื้องหลังคือประเทศมหาอำนาจ

หลังทำความรู้จักกันได้ไม่นาน ค่ำปินเริ่มแบ่งปันความผูกพันที่เธอมีต่อพญานาค จากมุมมองของเธอ การฟื้นสายสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพญานาค อาจมีพลังยิ่งกว่าวิธีการต่อสู้ใดๆ ในการยกระดับจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม

พวกเราเล่าให้คำปิ่นฟังถึงประสบการณ์การจัดงาน Sacred Mountain Festival ตลอดสี่ครั้งที่ผ่านมา พญานาคได้ปรากฏตัวและเป็นส่วนสำคัญของงานเทศกาลภูเขาศักดิ์สิทธิ์ทุกครั้ง ครั้งแรกเราเปิดเทศกาลด้วยการตั้งศาลพญานาคที่ค่ายเยาวชนเชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ สถานที่จัดงาน โดยมี อ.ประมวล เพ็งจันทร์ และ อ.ตุล คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง เป็นประธานและผู้ประกอบพิธี โดยรับเอารูปแบบและแนวคิดการตั้งศาลพญานาคของชุมชนผู้ปฏิบัติธรรมชาวทิเบต ที่เมืองเครสโตน รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา

ศาลพญานาคที่เมืองเครสโตน ทำเป็นกระโจมไม้ง่ายๆ บริเวณโดยรอบเงียบสงบ มีธงมนตร์ทิเบตผูกไว้ ผู้คนสามารถมานั่งภาวนา เชื่อมโยง และแสดงความเคารพสายน้ำและภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นต้นกำเนิด เรานำเอาศาลรูปแบบเดียวกันนี้มาไว้ที่เชียงดาว อัญเชิญท่านมาร่วมในพันธกิจและเจตจำนงในการยกระดับจิตสำนึกที่ผู้คนมีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปีที่สองของ Sacred Mountain เราสานต่อสายสัมพันธ์ดังกล่าว ด้วยการอัญเชิญเจ้าหลวงคำแดง เทพท้องถิ่น มาร่วมงานและแต่งตั้งท่านเป็นธรรมบาล (dharma protector) ผู้นำเทพท้องถิ่นในการปกปักพิทักษ์ธรรม ในครั้งที่สาม เราไปจัดงานที่เกาะพะงัน สุราษฎร์ธานี ระหว่างการเตรียมงาน เราได้รับการทำนายทายทักจากร่างทรงผู้ทำพิธี ณ ศาลเจ้าแห่งหนึ่งบนเกาะพะงัน เธอได้มาช่วยเราสื่อสารกับเทพท้องถิ่นบนเกาะพะงันถึงเจตนารมณ์ของการจัดงานในครั้งนั้น เธอเปิดทางให้เราได้สัมพันธ์กับ “มังกรมหาสมุทร” หรือพญานาคประจำถิ่นของที่นั่น และอัญเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน













เราแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคำปิ่นอย่างออกรส และเห็นตรงกันว่าสายสัมพันธ์กับ unseen being ไม่ใช่สิ่งงมงายหรือเป็นไปไม่ได้ ในยุคสมัยแห่งวัตถุนิยมและการตัดขาด ผู้คนจำนวนมากเริ่มมี “calling” ให้หวนกลับไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกับ mythical being เหล่านั้น มีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกเชื่อมโยงกับพญานาค ประหนึ่ง “ลูกหลานพญานาค” ที่ถูกเรียกให้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวที่แท้จริงของตน

“น้อย” ประสิทธิ์ จำปาขาว ชาวบ้านบะไห ซึ่งอยู่ติดกับบ้านตามุย เป็นคนนำทางเราเข้าไปชมธรรมชาติของผืนป่าริมผาแต้ม ผมถามน้อยว่าเขาเชื่อการมีอยู่ของพญานาคหรือไม่และแค่ไหน เขาตอบว่า ไม่มีทางเลยที่พญานาคจะไม่มีอยู่ เขาเข้าใจดีว่าถ้าคนไม่เชื่อก็คือไม่เชื่อเรื่องนี้เลย แต่สำหรับคนที่โตมากับวิถีชีวิตริมโขงเช่นเขา พญานาคคือทุกสิ่งทุกอย่าง โลกที่มองไม่เห็นมีอยู่ รุกขเทวดา ทวยเทพ วิญญาณ ผีสาง นางไม้ เป็นองค์ประกอบสำคัญของโลกที่มีชีวิตของชาวบ้าน ผมถามน้อยต่อว่า เวลาเขาเข้าป่า เขากลัวที่จะต้องสัมพันธ์กับรุกขเทวดา หรือโลกทางพลังงานที่มองไม่เห็นเหล่านี้ไหม? น้อยตอบว่าไม่กลัว จริงๆ แล้ว unseen being เหล่านี้ไม่ได้ต้องการทำให้เรากลัว ลึกๆ เขาต้องการให้เรารับรู้ ต้องการสื่อสารอะไรบางอย่างกับเรา ยิ่งเรามีมิติของการภาวนาด้วยแล้ว ก็ยิ่งไม่มีอะไรต้องกลัว เราสามารถเปิดรับการสื่อสารจากอีกฟากฝั่งหนึ่ง บางทีเราได้ยินสิ่งที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน มีวาบของความเข้าใจที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อน สำหรับน้อย พญานาคนั้นมีจริงแน่นอน ไม่ใช่ว่ามีตัวตนจริงที่จับต้องได้ แต่มันคือมิติทางอารมณ์ความรู้สึก เป็นพลังงานที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่นเดียวกัน การมีอยู่ของพญานาค ไม่ได้ทำให้เรากลัว แต่เราเคารพท่าน เราสื่อสารเชื่อมโยงกับท่าน มุมมองเช่นนี้สอดคล้องกับสิ่งที่เราได้ยินจากชาวบ้านตามุยอีกหลายคนที่เราได้สนทนาพูดคุยก่อนหน้านี้

ประสบการณ์ที่ได้รับจากการไปเยือนดินแดนลุ่มน้ำโขงครั้งนี้ ตอกย้ำถึงความสำคัญของการภาวนา ในฐานะหนทางสู่การหลุดพ้นที่เชื่อมโยงกับสรรพสัตว์และสรรพชีวิตทั้งปวง มณฑลแห่งการตระหนักรู้ที่สามารถแผ่ขยายไปไม่มีขอบเขต หลอมรวมกับ natural world / phenomenal world เป็นหนึ่งเดียวในโลกเวทมนตร์แห่งพุทธภาวะ วิถีแห่งการเดินท่องไป การอยู่ป่า และนิเวศภาวนา กำลังพาเราย้อนกลับไป reconnect และ revitalize ภูมิปัญญาท้องถิ่นในฐานะรากและทางออกจากวิกฤติ เป้าหมายคือการย้อนคืนสู่โลกทัศน์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ ภูเขาที่มีชีวิต ผืนดินที่มีชีวิต สายน้ำที่มีชีวิต รุ่มรวยไปด้วยการประชุมของทวยเทพน้อยใหญ่ และสายสัมพันธ์อันเป็นมิตรที่ทวยเทพเหล่านั้นมีต่อมนุษย์ผ่านประเพณี พิธีกรรม อันเป็นมิติที่ขาดไม่ได้ของชุมชนที่มีชีวิต

จาก https://www.vajrasiddha.com/article-naga/

50
23 มีนาคม 2566 |  ศาสนา ประเพณี พิธีกรรม

อนันต์ สมมูล


พิธีสวดภาณยักษ์ : ความหมายและการเปลี่ยนแปลง




รูปที่ 1 ปกหนังสือ พิธีสวดภาณยักษ์ : ความหมายและการเปลี่ยนแปลง
หมายเหตุจาก. ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

           นักมานุษยวิทยาที่ศึกษาพระพุทธศาสนาในสังคมไทยแบ่งรูปแบบพุทธศาสนาออกเป็นสองรูปแบบ คือ พระพุทธศาสนาในอุดมคติ ที่ยึดเอาพระธรรมคำสอนตามคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นหลัก เน้นเรื่องการดับทุกข์ การปฏิบัติธรรมเพื่อการดำเนินชีวิตประจำวันและการพ้นทุกข์ และ พระพุทธศาสนาระดับชาวบ้าน ที่ผสมผสานพุทธศาสนากับลัทธิความเชื่อของพื้นบ้านเข้าด้วยกัน ให้ความสำคัญกับความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติ เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตาย - เกิด เรื่องอดีตชาติ ชาติภพหน้า รวมทั้งเรื่องนรก สวรรค์ ผี เทวดา นางฟ้า พระอินทร์ พระพรหม ยมบาล และยักษ์ พิธีสวดภาณยักษ์ จัดอยู่ในรูปแบบพระพุทธศาสนาระดับชาวบ้าน ซึ่งเดิมตำนานการสวดภาณยักษ์มีจุดประสงค์หลักคือการสวดเพื่อปกป้องคุ้มครองพุทธบริษัทให้ได้ปฏิบัติธรรมอย่างสงบสุข แต่ปัจจุบันถูกนำมาใช้ในเชิงไสยศาสตร์ สวดเพื่อไล่ภูตผีปีศาจ แก้คุณไสยมนต์ดำ ไล่สิ่งอัปมงคล และเสริมสิริมงคล
แก่ผู้ร่วมพิธี

           หนังสือ “พิธีสวดภาณยักษ์ : ความหมายและการเปลี่ยนแปลง” เป็นผลงานที่นักมานุษยวิทยาทั้งสามท่านได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ  รองศาสตราจารย์ ดร.พิเชฐ สายพันธ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริพร สมบูรณ์บูรณะได้ร่วมกันเข้าไปวิจัยและเก็บข้อมูลพิธีสวดภาณยักษ์ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม) ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๓ เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมที่สะท้อนผ่านพิธีกรรมสวดภาณยักษ์ เพื่อชี้ให้เห็นความสัมพันธ์และปฏิบัติการทางสังคมและวัฒนธรรมขณะที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน หรือที่รับทราบโดยทั่วกันว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง” คณะนักวิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่เรียกว่า “การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation)” เพื่อทำความเข้าใจวัฒนธรรมของกลุ่มชนอื่นที่แตกต่าง โดยไม่วินิจฉัย แต่พยายามทำความเข้าใจพฤติกรรมของบุคคลในบริบทของวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นอย่างรอบด้าน ขณะเดียวกันก็ได้ทบทวนพัฒนาการการศึกษาความเชื่อ พิธีกรรม ในมุมมองมานุษยวิทยาเพื่อทำความเข้าใจความเชื่อและพิธีกรรมสวดภาณยักษ์ การเก็บข้อมูลครั้งนี้คณะวิจัยมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่จัดงานที่เปลี่ยนไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ แบบไม่ซ้ำพื้นที่ คณะผู้วิจัยพยายามรักษาหลักการพื้นฐานของการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม เช่น เข้าร่วมพิธีกรรมเสมือนเป็นคนใน การพูดคุยซักถาม สังเกตผู้เข้าร่วมพิธี ร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ในพิธีตั้งแต่ต้นจนจบ ให้ความสำคัญกับทุกประเด็นทั้ง จำนวนพิธีกรรม ช่วงเวลาประกอบพิธี จำนวนคนเข้าร่วมพิธี ภูมิหลังของผู้ให้ข้อมูล ฯลฯ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจที่มาของข้อมูล และข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเก็บข้อมูล

           คำว่า ภาณยักษ์ (อ่านว่า พา นะ ยัก) มาจากคำว่า ภาณ แปลว่า การบอก การกล่าว ดังนั้นคำว่า ภาณยักษ์ จึงแปลว่า คำบอกของยักษ์ หรือ คำกล่าวของยักษ์ การสวดภาณยักษ์ คือ การสวด อาฏานาฏิยสูตร ซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์ทีฆนิยาย ปาฏิกวรรค ด้วยมีเรื่องเล่าถึงพระสูตรนี้ว่า ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่บนเขาคิชฌกูฏ ในเมืองราชคฤห์ เวลากลางคืน ท้าวเวสวัณ (ท้าวกุเวร) ได้นำท้าวจตุโลกบาล ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มีท้าวธตรัฏฐะ ท้าววิรุฬหกะ ท้าววิรูปักขะ พร้อมด้วยบริวาร ได้เข้าเผ้าพระพุทธเจ้า เพื่อถวายคำประพันธ์ “อาฏานาฏิยา รกฺขา” ที่พวกตนร่วมกันประพันธ์ขึ้น และกราบทูลว่า
“มียักษ์ชั้นผู้ใหญ่ ชั้นกลาง ชั้นต่ำ และบริวารไม่พอใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามลักทรัพย์ - ห้ามดื่มสุราเมรัย เกรงว่ายักษ์และบริวารจะมาทำร้ายพุทธบริษัท ทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จึงขอถวาย อาฏานาฏิยสูตร ไว้ให้พระภิกษุ ภิกษุณีใช้สวดเพื่อป้องกันภัย คุ้มครองรักษา ไม่ให้ถูกเบียดเบียน และให้เหล่ายักษ์และบริวารเกิดความเลื่อมใสในพระศาสนา การสวดภาณยักษ์หรืออาฏานาฏิยปริตรตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกมีจุดประสงค์หลักคือการคุ้มครองพุทธบริษัทให้ได้ปฏิบัติธรรมอย่างสงบสุข

           คณะผู้วิจัยยังได้ศึกษารวบรวมประวัติความเป็นมา ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของการสวดพระปริตร หรือ การสวดภาณยักษ์ จากเอกสารและตำราต่าง ๆ เพื่อสืบที่มาที่ไปของพิธีกรรมดังกล่าว และทราบว่า ประเพณีการสวดแบบนี้เกิดขึ้นในลังกาทวีป ๕๐๐ ปีหลังพุทธกาล ต่อมาพระพุทธศาสนาสายลังกาวงศ์ ได้เผยแพร่มายังนครศรีธรรมราชและสุโขทัย และรัฐสยามรับเอาแบบอย่างพิธีตรุษจากลังกามาปรับใช้ในพิธีหลวง ดังได้พบหนังสือภาณวารฉบับฝีมือเขียนสมัยอยุธยาตอนปลายที่หอพระสมุดวชิรญาณ จึงเป็นไปได้ว่ามีการสวดภาณวารตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยใช้สวดในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (ในส่วนพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร) ดังปรากฏในคำให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับหลวง) ว่า พระเจ้าแผ่นดินอยุธยาได้นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์สัตวารและภาณวารและสมัยรัตนโกสินทร์ จารีตการสวดพระปริตรตามแบบแผนที่ปฏิบัติสืบกันมาเรียกว่า  “ราชปริตฺต” ที่พระมหากษัตริย์มีรับสั่งให้พระสงฆ์สวดในงานพิธีหลวง และปฏิบัติสืบต่อกันมาตามจารีตปฏิบัติในราชประเพณีโบราณของไทยปรากฏชัดเจนในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ผ่านพระราชพิธีสองพระราชพิธี คือ  พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินทร์ เป็นพิธีวัง (กรมวังรับผิดชอบ) และพระราชพิธีอาพาธพินาศ  เป็นพิธีเมือง (กรมเมืองรับผิดชอบ) เพื่อทำบุญประจำปี มีเป้าหมายที่จะแผ่ส่วนบุญ ส่วนกุศลให้เทพยดา ยักษ์ และอมนุษย์ทุกตน และขอให้ระงับภัยที่จะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร  ต่อมาพระราชพิธีนี้ถูกยกเลิกจัดในวัง แต่มีการสืบทอดโดยวัดที่เคยสวดในงานพระราชพิธี
และได้กลายเป็น “สวดภาณยักษ์” ในปัจจุบัน มีการจัดพิธีสวดภาณยักษ์ตามวัดต่าง ๆ
เมื่อชุมชน หมู่บ้านเกิดเภทภัย เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย ภูตผีปีศาจให้ออกไปจากชุมชน รวมทั้งเพื่อความเป็นสิริมงคล และอยู่เย็นเป็นสุขของผู้เข้าร่วมพิธี

ลักษณะการสวดภาณยักษ์แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ปุพพภาค กับ ปัจฉิมภาค

           ปุพพภาค คือ ช่วงแรกที่เป็นคำของยักษ์กราบทูลถวายอาฏานาฏิยารักษ์ เรียกว่า ยักขภาณวาร หรือ ภาณยักษ์ เป็นการสวดที่มีน้ำเสียงกระแทกกระทั้นดุดันเกรี้ยวกราด และน่ากลัว ขณะที่สวด มีการกระหน่ำยิงปืนอาฎานาด้วย ใช้สวดเพื่อขับไล่ยักษ์ ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ

           ปัจฉิมภาค คือ ช่วงหลังที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่องให้พระภิกษุฟัง เรียกว่า พุทธภารณวาร หรือ ภาณพระ เป็นการสวดแบบมีทำนอง มีเสียงหนักเบา ใช้น้ำเสียงสวดที่ไพเราะ น่าฟัง ไม่กระแทกกระทั้นดุดันเหมือนการสวดภาณยักษ์

           การจัดการพิธีสวดภาณยักษ์ มีลักษณะเป็นเครือข่ายและดำเนินการแบบธุรกิจ มีเครือข่ายบุคลากรซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในงานที่หลากหลาย มีการกำหนดภาระหน้าที่และบทบาทไว้ชัดเจน เช่น ผู้จัด (วัด หรือ กลุ่มตัวแทนวัด และกลุ่มบุคคล หรือ Agency) ที่ทำหน้าที่ในการดำเนินงานให้เสร็จตั้งแต่ต้นจนจบ พระเกจิอาจารย์ หรือพระ “นั่งปรก ทำหน้าที่แผ่เมตตา ปกป้องคุ้มครอง ขับไล่ผีที่เข้ามาสิ่งผู้เข้าร่วมพิธี บัณฑิตโหร หรือพราหมณ์ ทำหน้าที่โฆษก นำพิธีการสวดภาณยักษ์ แต่งกายด้วยชุดขาวเหมือนการแต่งกายของเหล่าพราหมณ์  มีการจัดการเรื่องต้นทุน รายรับ รายจ่าย มีการจัดสรรรายได้และผลประโยชน์ เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ

           คณะนักวิจัยพยายามนำเสนอกระบวนพิธีสวดภาณยักษ์และความหมายจากมุมมองของ “คนใน” ที่รู้จัก และเกี่ยวข้องกับพิธีสวดภาณยักษ์ทั้งในฐานะผู้จัด ผู้ประกอบพิธีและผู้เข้าร่วมพิธี คนในมองว่า เป็นพิธีทางพุทธศาสนา มีตำนานสวดภาณยักษ์ซึ่งมีรากฐานจากอาฏานาฏิยปริตร ที่ปรากฏในพระสูตรบันทึกว่ามีการสวดอาฏานาฏิยปริตรครั้งแรกที่เมืองไพศาลีเพื่อกำจัดการระบาดของอหิวาตกโรค เป็นหลักฐานชี้ว่า พิธีสวดภาณยักษ์มีความเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ในฐานะผู้จัดและผู้ประกอบพิธีต่างเห็นคุณค่าของพิธีสวดภาณยักษ์ มองว่า เป็นการช่วยเหลือชาวบ้านที่มีปัญหา ช่วยให้พ้นทุกข์ ช่วยหารายได้เข้าวัด วัดจะได้มีปัจจัยในการบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน ถือว่าเป็นการทำบุญวิธีหนึ่ง ในฐานะผู้เข้าร่วมพิธี มองว่า พิธีมีความศักดิ์สิทธิ์ มีความขลัง มีพลังอำนาจที่จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมพิธีพ้นทุกข์ พ้นโศก พ้นเคราะห์ พ้นภัย และเสริมดวงชะตา บารมี เสริมโชคลาภและสร้างขวัญกำลังใจให้กับพวกเขาได้

           การสวดภาณยักษ์ ในมุมมองของพุทธศาสนาในอุดมคติ (คนนอก/ใน) จะมองแบบขั้วตรงข้ามว่า เป็นพิธีกรรมที่ให้ความสำคัญกับไสยศาสตร์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ขัดกับหลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามหลักธรรม คำสอนความพยายามต่อสู้เพื่อลดกิเลส และหลุดพ้นจากความทุกข์ การจัดพิธีสวดภาณยักษ์ไม่ใช่กิจของสงฆ์ เป็นพุทธพาณิชย์ หลอกลวงประชาชนผู้ไม่รู้ให้เข้าร่วมพิธี จากนั้นเชิญชวนให้เช่าบูชาพระเครื่อง พระบูชา เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล และเชิญชวนเข้าร่วมพิธีสะเดาะเคราะห์ พิธีแก้ปีชง พิธีเสริมดวง แก้กรรม ปัดรังควาน พิธีสวดนพเคราะห์ พิธีบังสุกุลเป็น ทำบุญต่ออายุ สืบชะตา ฯลฯ โดยเน้นการสร้างรายได้และแสวงหากำไรจากความไม่รู้ของผู้เข้าร่วมพิธี

           แม้นว่าการสวดภาณยักษ์ที่ปฏิบัติกันอยู่ขณะนี้ จะไม่ตรงตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่าที่ควร แต่ที่มาที่ไปของพิธีสวดภาณยักษ์ก็มีที่มาจากพระสุตตันตปิฎก (ตามตำนานอาฏานาฏิยสูตร) ที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ ถือว่ามีความเกี่ยวพันกับพุทธศาสนา พระสงฆ์เคยใช้บทสวดนี้ในการกำจัดโรคอหิวาต์ ที่เมืองไพศาลี ในสมัยพุทธกาล แม้นว่าพิธีสวดภาณยักษ์ในปัจจุบัน จะผิดเพี้ยนจากเดิมไปมาก และไม่ได้ให้ความสำคัญกับความสงบของจิต หรือนิพพาน แต่ก็มุ่งให้ผู้เข้าร่วมพิธีมีความสุขใจ สุขกาย ที่รู้สึกว่าตนได้รับการปกป้องภัยจากสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือสิ่งชั่วร้ายที่มองไม่เห็น ขณะเดียวกันผู้เข้าร่วมพิธีก็มีความเชื่อว่า การได้ทำบุญในรูปแบบต่าง ๆ ในการเข้าร่วมพิธีสวดภาณยักษ์ตั้งแต่ต้นจนจบไม่ว่าจะเป็นการสะเดาะเคราะห์ เสริมดวง แก้กรรม พิธีบังสุกุลเป็น ทำบุญต่ออายุ สืบชะตา จะทำให้ผู้เข้าร่วมพิธีมีชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งได้สะสมบุญ เพื่อเป็นทุนให้ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีเมื่อเขาได้ตายจากโลกนี้ไป อนึ่งการรับเอาความเชื่อและประเพณีท้องถิ่นดั้งเดิมมาผสมผสานและผนวกรวมกับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของพุทธศาสนาในอุษาคเนย์ หรือประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่น ๆ มักมีลักษณะไม่แย้งกับวัฒนธรรมและความเชื่อดั้งเดิมที่ไม่เป็นปฏิปักษ์กับพุทธศาสนาโดยตรง เป็นพุทธศาสนาแบบบ้าน ๆ

           หนังสือ พิธีสวดภาณยักษ์ ความหมายและการเปลี่ยนแปลงเล่มนี้ เปิดมุมมองและโลกทัศน์ของผู้อ่านที่มีต่อพิธีกรรมทางศาสนา หรือพิธีกรรมท้องถิ่น บอกเล่าเรื่องราวที่มาที่ไป ความหมาย และมุมมองต่อพิธีสวดภาณยักษ์ แบบรอบด้าน เก็บรายละเอียดได้ดีทุกแง่ทุกมุม สามารถตอบคำถามทุกคำถามของคนในและคนนอก (คนที่เข้าร่วม เห็นดีเห็นชอบ กับคนที่ไม่เข้าร่วมและคัดค้าน) และฉายภาพพัฒนาการ และบริบทของพิธีสวดภาณยักษ์ในสังคมไทยช่วงก่อนและระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๓ ได้แบบไม่เคยปรากฏงานวิชาการในลักษณะนี้มาก่อน หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่สนใจและอยากเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ด้วยมุมมองของนักมานุษยวิทยา อยากทราบวิธีการทำงานของนักมานุษยวิทยาขณะปฏิบัติการเก็บข้อมูล และเฝ้าสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่วิจัย เหมาะสำหรับนักสร้างคอนเทนต์ (Content Creator) ที่ต้องการสร้างสรรค์และผลิตเนื้อหาด้วยมุมมองที่แตกต่าง เน้นสร้างความเข้าใจเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไม่ตัดสินใคร และเหมาะสำหรับทุกคนที่สนใจเรื่องประเพณีและพิธีกรรมในสังคมไทย

           ผู้สนใจสามารถเข้าไปดูตัวอย่างได้จาก กิจกรรมเล่าสู่กันฟังเรื่องหนังสือ EP.31 สวดภาณยักษ์ ทาง SAC Channel : http://channel.sac.or.th หรือ https://www.youtube.com/watch?v=KcbNUJ2Ewew

 จาก https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/447
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 9 10