กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 [8] 9 10
71
ตามรอยธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต : ความจริงไม่ตาย (14 ก.ค. 64)

"หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต" ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระอาจารย์ใหญ่สายพระป่าในประเทศไทย ในยุคที่ยังไม่มีเครื่องมือบันทึกเสียงธรรมเทศนาและถนนหนทางยังทุรกันดาร หลวงปู่มั่นเผยแผ่ธรรมะอย่างไร จึงสามารถสร้างพระลูกศิษย์ ซึ่งเป็นพระกรรมฐานที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ และยังมีศิษยานุศิษย์สืบทอดแนวคำสอนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน แนวปฏิบัติสายวัดป่า มีบทบาทสำคัญอย่างไรในวงการพุทธศาสนาของไทย



<a href="https://www.youtube.com/v//2KtoWoRiuoQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//2KtoWoRiuoQ</a> 

https://www.youtube.com/live/2KtoWoRiuoQ?si=LLQj02tK9X1Ths1L
72
การเข้าถึงองค์คุณมหาสติปัฏฐาน (พุทธอิสระ)

<a href="https://www.youtube.com/v//2WlFTnGHNaA" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//2WlFTnGHNaA</a> 

https://youtu.be/2WlFTnGHNaA?si=CUncJ-giAdIsP-hz

เพิ่มเติม https://youtube.com/@BuddhaFollowing?si=l1jWkBm6WEXS7Rci
73
“โพธิสัตว์” : วิถีแห่งความรักความกรุณาที่มนุษย์ทุกคนเข้าถึงและเป็นได้



ในจักรวาลของพุทธไทย คำว่า “โพธิสัตว์” ดูเหมือนจะเป็นคำที่ไม่ได้มีความหมายไปในทางบวกเท่าไรนัก เพราะคำนี้มักจะนำไปสู่ความเข้าใจที่ว่า โพธิสัตว์คือผู้ที่ยังไม่อาจตัดกิเลสได้หมดสิ้น โดยเฉพาะกิเลสด้านที่เป็นความเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง บุคคลประเภทนี้จึงยังไม่อาจ “ข้ามพ้น” ไปสู่พระนิพพานได้ และต้องกลับมาเกิดใหม่ซ้ำๆ เพื่อสนองความอยากนี้ของตน

ทรรศนะรวมๆ เช่นนี้ ในแง่หนึ่งทำให้ภาพของการปฏิบัติธรรมในไทยกลายเป็น “เรื่องส่วนตัว” ไปอย่างไม่น่าแปลกใจ เพราะเป้าหมายสุดท้ายของการบรรลุธรรม คือการตัดกิเลสทั้งหมด รวมถึงความเมตตากรุณา (ซึ่งถูกมองว่าเป็นความอยากชนิดหนึ่ง) ไปด้วย ตรงกันข้ามกับพุทธศาสนาในโลกสากล ที่แนวคิดแบบมหายานเป็นที่แพร่หลาย การปฏิบัติธรรมไม่เคยเป็นเรื่องส่วนตัว แต่เป็นเรื่องของการฝึกตนเพื่อประโยชน์ต่อผู้อื่นก่อนตนเอง กระทั่งเป็นการตระหนักถึง “การหลุดพ้นส่วนรวม” โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของตัวเองแม้แต่น้อย และนี่คือความหมายของเส้นทางโพธิสัตว์ในพุทธมหายาน

อีกความเข้าใจหนึ่งเมื่อกล่าวถึงโพธิสัตว์ก็คือ เรามักจะนึกถึงนามของโพธิสัตว์ชื่อดังในอดีต ไม่ว่าจะเป็น อวโลกิเตศวร มัญชุศรี กษิติครรภ์ ไมเตรยะ (ศรีอริยเมตไตร) ฯลฯ หรือแม้แต่ทศชาติของศากยมุนีพุทธะ แต่ละองค์ที่กล่าวถึงล้วนแต่เป็นโพธิสัตว์ผู้มีชื่อเสียง เปี่ยมไปด้วยบารมี ความศักดิ์สิทธิ์ และอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ต่างๆ ที่ดูเหมือนจะเหนือมนุษย์อย่างยิ่ง จนเราอาจลืมไปว่าเจ้าของนามเหล่านั้นล้วนเป็นมนุษย์เฉกเช่นเดียวกับเราทั้งสิ้น

ความเข้าใจเรื่องโพธิสัตว์ที่มีหลากหลายในสังคมไทย อาจทำให้เรามีมุมมองต่อโพธิสัตว์ในแบบไกลตัว มองเป็นเรื่องตำนานหรือเรื่องคนอื่นที่มีบุญบารมีมากกว่าเรา แต่ในพุทธศาสนาทิเบต ที่มีการจัดกลุ่มองค์ความรู้ในพุทธศาสนาเป็น 3 ระดับ (ตามการหมุนกงล้อพระธรรมของพุทธะทั้ง 3 ครั้ง) โพธิสัตว์คือวิถีที่ผู้ปฏิบัติทุกคนสามารถฝึกฝนและปฏิบัติ ด้วยปณิธานอันแรงกล้าที่จะเป็นหนึ่งในพระพุทธเจ้าในอนาคต

ในคลาสเรียน Second Turning หรือ “การหมุนกงล้อธรรมครั้งที่สอง” ณ วัชรสิทธา เราได้เรียนพุทธธรรมแบบทิเบต ที่กล่าวถึงวิถีโพธิสัตว์ ในฐานะส่วนสำคัญของเส้นทาง “มหายาน” ซึ่งผู้สอนอย่าง วิจักขณ์ พานิช ได้ย้ำในห้องเรียนเสมอว่ามหายานในทรรศนะแบบทิเบตนั้นเป็น “ส่วนขยาย” จากองค์ความรู้ใน First Turning หรือ คำสอน “หินยาน” นั่นเอง แต่ด้วยส่วนขยายนี้ ทำให้วิถีการปฏิบัติและเป้าหมายสูงสุดในขั้นหินยานและมหายานมีจุดที่แตกต่างกันอย่างน่าสนใจ ซึ่งความแตกต่างนี้มีหัวใจอยู่ที่ความเข้าใจเรื่องความไม่มีตัวตน



ธรรมชาติแห่งความไม่มีตัวตน 2 ขยัก

ในคำสอน First Turning เราได้เรียนรู้เรื่องสภาวะธรรม หรือชื่อเรียกหน่วยย่อยที่สุดของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ เราสามารถที่จะมองเห็นสิ่งต่างๆ ในฐานะหน่วยเล็กๆ ที่เกิดและดับลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด การรับรู้ ฯลฯ ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

การมองทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นหน่วยย่อยๆ เช่นนี้ ทำให้เราสามารถเริ่มต้นทำงานกับ “ความทุกข์” ที่เกิดจาก “ตัวตน” หรือ “อัตตา” ของเราได้ เราเริ่มพบว่าสิ่งที่เราคิดว่าเป็นตัวเรา แท้จริงแล้วเกิดขึ้นจากการประกอบขึ้นของสภาวะธรรมต่างๆ มากมาย การดำรงอยู่ของตัวเรา อย่างน้อยที่สุดก็คือการมาประชุมกันของขันธ์ทั้ง 5 กอง เมื่อตระหนักได้เช่นนี้ เราจะเกิดมุมมองใหม่ต่อชีวิต และเกิดแรงบันดาลใจที่จะฝึกฝนการปล่อยวางต้นเหตุแห่งทุกข์หรืออัตตาตัวตนลง ลดละการโต้ตอบที่เกิดจากความเคยชิน ปล่อยให้สภาวะธรรมทั้งหลายดำเนินไปอย่างที่มันเป็น โดยที่เราไม่จำเป็นต้องยึดถือสิ่งใดเอาไว้ในฐานะเจ้าของ นี่คือความเข้าใจในธรรมชาติแห่งความไม่มีตัวตนของ “ตนเอง” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการหมุนกงล้อพระธรรมครั้งแรก

เมื่อเปลี่ยนโหมดเข้าสู่คำสอนใน Second Turning ฉากทัศน์ และองค์ประกอบต่างๆ ก็เปลี่ยนความหมายออกไปอย่างสิ้นเชิง แต่การเปลี่ยนความหมายนี้ไม่ได้เป็นการขัดแย้งกับชุดคำสอนก่อนหน้า มันเป็นความรู้สึกคล้ายๆ กับการดูซีรีส์ภาคต่อ ที่เราเริ่มเข้าใจที่มาที่ไปของสถานการณ์และตัวละครต่างๆ มากกว่าเดิม จากการเรียนรู้ที่จะปล่อยความยึดมั่นในอัตตาของตนเอง เราเริ่มก้าวมาสู่ความเข้าใจเพิ่มเติมที่ว่า สภาวะธรรมต่างๆ ที่เราเคยคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ตามธรรมชาตินั้น แท้จริงแล้วก็ไม่ได้มีตัวตนที่เป็นเอกเทศเช่นเดียวกัน ทุกสิ่งล้วนแต่เกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัยมากมายที่มาสัมพันธ์กัน และไม่อาจดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง ด้วยการอธิบายเช่นนี้ ทำให้หัวข้อใหญ่ในการศึกษา Second Turning คือเรื่องของธรรมชาติแห่งความไม่มีตัวตนของสรรพสิ่ง หรือ ที่เรียกกันว่า ความว่าง นั่นเอง

เมื่อความเป็นตัวฉัน ตัวเธอ และสิ่งอื่นๆ จางลง

การเรียนรู้เรื่องความว่าง ส่งผลต่อท่าทีของผู้ปฏิบัติที่มีต่อตนเองและผู้อื่น การรับรู้ถึงสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นระหว่างสภาวะธรรมต่างๆ อาจทำให้เส้นแบ่งความเป็น “เขา” “เรา” “สิ่งอื่นๆ” จางลงไป เราพบว่าชุดคำสอนนี้ได้เชื่อมโลกทั้งใบเข้าด้วยกัน ไม่มีสิ่งอื่นๆ ที่ปราศจากการมีอยู่ของเรา และไม่มีเราที่ปราศจาการมีอยู่ของสิ่งอื่นๆ ในคลาสเรียนเราพูดกันถึงคำศัพท์ที่ ติช นัท ฮันห์ ใช้อธิบายธรรมชาติแห่งความเชื่อมโยงนี้ว่า “Interbeing” หรือ สภาวะแห่งการเอื้ออิงอาศัยกันและกันของสรรพสิ่ง

การนำเอาความจริงระดับปรมัตถ์ข้อนี้มาสู่การดำเนินชีวิต อาจต้องใช้เวลาและการฝึกฝน แต่ระหว่างการบวนการ มันจะค่อยๆ หล่อหลอมให้เราเริ่มมองเห็นสิ่งต่างๆ ในแบบมวลรวมมากขึ้น เราไม่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งหนึ่งอย่างสิ้นเชิง เราจะให้ความสำคัญกับสายสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่ดำรงอยู่อย่างงดงามในแบบที่มันเป็น เมื่อเรามองเห็นปลาเราอาจเห็นสายสัมพันธ์ของมันกับแม่น้ำ ต้นไม้ และสายฝน เมื่อเรามองเห็นพืชผักในจานข้าวเราอาจมองเห็นแสงแดด ไส้เดือน และผืนดิน ฯลฯ การมองเห็นสายสัมพันธ์เช่นนี้ ทำให้สำนึกแบบตัวตนที่แยกขาดจากทุกสิ่งเบาบางลง

จากนั้น มันอาจเริ่มจากคนที่เรารัก หรือ คนที่เราใกล้ชิด ที่เรามองเห็นอย่างชัดเจนว่าความทุกข์ต่างๆ ที่เขากำลังประสบนั้น เกิดมาจากความพยายามที่จะแยกขาดตัวตนของเขาออกไปจากสิ่งอื่นๆ เรามองเห็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการหลบเลี่ยงธรรมชาติที่กำลังดำเนินไป ความทุกข์ที่เกิดจากการใช้แรงมหาศาลต้านทานหรือพยายามควบคุมสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปตามความคิดหรือสิ่งที่เขาเข้าใจว่ามันควรจะต้องเป็นเช่นนั้น แต่น่าเศร้าที่มันไม่ได้ช่วยให้พวกเขาพ้นจากความทุกข์ได้เลย ณ จุดนี้ ผู้ปฏิบัติย่อมเกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะการมองเห็นคนที่เราห่วงใยเป็นทุกข์กับเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องทุกข์ก็ได้มันน่าเจ็บปวด และเราจะเริ่มเฟ้นหาวิธีการมากมายเพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ของพวกเขาให้จางคลายลง

ความกรุณาของโพธิสัตว์ มีลักษณะเป็นเช่นนี้ มันเป็นความรู้สึกอยากช่วยเหลือผู้อื่นที่เรารักอย่างยิ่งให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง โดยที่เราไม่สนใจว่าจะต้องทำมันด้วยวิธีใดหรือแม้แต่เราจะต้องเหนื่อยแค่ไหนก็ตาม ทั้งยังเป็นความกรุณาที่ไม่ได้เอาตนเองเป็นที่ตั้งอีกด้วย การช่วยเหลือคนที่เรารัก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการที่เราจะมีความสุขในภายหลังหรือไม่ แต่มันเกี่ยวกับการที่คนเหล่านั้นจะสามารถรอดพ้นจากสภาพแห่งความทุกข์ของสังสารวัฏที่ไม่มีวันจบสิ้นได้หรือไม่

อย่างที่กล่าวว่าในเบื้องต้น ปณิธานเช่นนี้อาจเกิดขึ้นจากความรู้สึกที่เรามีต่อคนใกล้ตัวหรือคนที่เรารักอยู่แล้ว แต่เมื่อเราดำเนินอยู่บนเส้นทางนี้ไปนานมากขึ้น โพธิจิตของเราก็จะค่อยๆ เติบโตและเบ่งบาน เราอาจค้นพบว่าสรรพสัตว์ทั้งปวงล้วนแต่เป็นคนที่เราสามารถรักได้ทั้งสิ้น หัวใจที่เปิดออกไปเรื่อยๆ เช่นนี้ เป็นลักษณะของการเติบโตทางจิตวิญญาณในคำสอนของพุทธมหายาน แต่หากกล่าวอย่างถึงที่สุด การเปิดออกนี้ก็ไม่ใช่เรื่องของการเปิดไปสู่ “สิ่งอื่น” หรือ “คนอื่น” ด้วยซ้ำ เพราะบนพื้นฐานของความว่างแล้วสรรพสิ่งทั้งปวงล้วนไม่ได้แยกขาดจากกัน วิจักขณ์พูดถึงมุมมองเช่นนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า “โลกนี้คือส่วนขยายของร่างกายของเรา” ซึ่งหมายความทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้คือส่วนหนึ่งของเราทั้งหมด  การสร้างประโยชน์เพื่อผู้อื่น การเปิดใจสู่สถานการณ์ที่เราไม่คุ้นชินหรือไม่ชอบ ก็ล้วนแต่เป็นการปฏิบัติที่อยู่บนวิถีของการทำความเข้าใจ “เรา” ทั้งสิ้น

การหลุดพ้นในคำสอนของ Second Turning จึงเป็นเรื่องของทั้งหมด หรือ “ส่วนรวม” อย่างไม่มีทางเลือกอื่น บนทรรศนะเช่นนี้ ไม่มีสิ่งใดที่เป็น “เรื่องส่วนตัว” อันแยกขาดจากสิ่งอื่นเลยแม้แต่น้อย จากการเริ่มต้นทำงานกับตัวตนของตัวเองในขั้นหินยาน เรากระโจนสู่การตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องทำงานกับสรรพสิ่งทั้งหมดดั่งคำสอนของมหายาน ซึ่ง ณ จุดนี้เอง ที่วิถีแห่งโพธิสัตว์ได้เริ่มต้นขึ้น



วิถีโพธิสัตว์

บนเส้นทางการเรียนรู้ในพุทธศาสนา มักมีการสอนเรื่องทรรศนะที่ถูกต้องก่อนเป็นลำดับแรกๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเชิงคอนเซปต์ขึ้นมาก่อน แต่กระนั้น ผู้ศึกษาก็ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าความเข้าใจเชิงวิชาการก็ยังเป็นเพียงความจริงระดับสัมพัทธ์ หาใช่ประสบการณ์ที่แท้จริงระดับปรมัตถ์ไม่ เพราะประสบการณ์จริงเป็นเรื่องที่พ้นไปจากความคิดหรือความเข้าใจเชิงความรู้ทั้งสิ้น เราจำเป็นต้องเรียนรู้มันผ่านประสบการณ์เฉพาะตนเท่านั้น

แต่ประโยชน์จากความเข้าใจเชิงความรู้และการมีทรรศนะที่ถูกต้อง จะช่วยให้เราออกเดินสู่หนทางแห่งการปฏิบัติได้อย่างมีทิศทาง และเราจะค่อยๆ เกิดความเข้าใจความเป็นจริงในระดับปรมัตถ์ผ่านประสบการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง วิจักขณ์ พูดถึงความเฉพาะตัวบนเส้นทางมหายานไว้ว่า “มันจะเป็นประสบการณ์ที่ส่วนตัวมากๆ จนบางทีเราไม่สามารถจะอธิบายมันออกมาให้ใครฟังได้ และมีเพียงตัวเราเองเท่านั้นที่เข้าใจมันอย่างแท้จริง”

สิ่งที่น่าสนใจในมิติของประสบการณ์บนเส้นทางมหายานก็คือ นอกเหนือไปจากการปฏิบัติภาวนาซึ่งเป็นพื้นฐานอันขาดไม่ได้แล้ว มหายานยังพูดถึงการปฏิบัติที่เป็นเรื่องของการบ่มเพาะความไม่มีตัวตนผ่านการกระทำหกรูปแบบ (บารมี6) อีกด้วย สิ่งนี้ทำให้มิติของประสบการณ์แบบมหายานขยายกว้างสู่การกระทำ รูปแบบ วิธีการ และผลลัพธ์ ประสบการณ์ของการปฏิบัติในขั้นนี้จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวอย่างยิ่ง

ขณะเดียวกันชุดคำสอนเดียวกันนี้ก็ทำให้การเป็นผู้ปฏิบัติในเส้นทางมหายานหรือโพธิสัตว์ต้องสัมพันธ์กับผู้คน โลก และสถานการณ์ต่างๆ อยู่เสมอ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ปฏิบัติบนหนทางนี้จะปลีกวิเวกตนเองออกไปจากโลกโดยไม่สนใจเสียงเพรียกของสรรพสัตว์ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก และด้วย “วินัย” เช่นนี้ของมหายาน ทำให้ภาพของการฝึกปฏิบัติในพุทธศาสนาพลิกกลับอย่างสิ้นเชิง จากที่เราอาจคุ้นเคยกับภาพของนักบวชที่หลีกเร้นความวุ่นวาย ไม่มาข้องเกี่ยวกับสถานการณ์ล่อแหลมต่างๆ พยามฝึกตนให้บริสุทธิ์ผุดผ่องโดยไม่เกลือกกลั้วสิ่งที่เป็น “ทางโลก” แต่ในทรรศนะของพุทธทิเบตที่มีคำสอนขั้นมหายาน กลับกล่าวให้เราวกกลับมาทำงานกับโลกใบนี้ กับผู้คน และสถานการณ์โลกย์ๆ ไม่ว่าจะขาว ดำ หรือ เทา เพื่อช่วยปลดปล่อยสรรพสัตว์จากความทุกข์ทั้งปวง

ในความหมายเช่นนี้โพธิสัตว์จึงมีพันธกิจที่ผูกพันอยู่กับชีวิตมากมายนับล้าน พวกเขาจึงจำเป็นต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อทำงานกับสังสารวัฏ มันเป็นวินัยข้อสำคัญที่พวกเขาจะไม่เลือกหนทางหลุดพ้นที่ตัดขาดจากสรรพสัตว์ทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง เพราะหนทางแห่งการเป็นผู้มีประโยชน์จำเป็นจะต้องยินดีในการกลับมาเกลือกกลั้วกับสังสารวัฏ จวบจนสรรพสัตว์ทุกหมู่เหล่าจะสามารถข้ามพ้นความไม่รู้ของตนได้ นี่คือปณิธานอันยิ่งใหญ่ที่เสมอเหมือนกับพระพุทธเจ้าในอดีตทุกพระองค์ เส้นทางนี้ของโพธิสัตว์ จึงเป็นเส้นทางแห่งการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

การมีวิถีและชุดคำสอนเช่นนี้ ทำให้เรามองเห็นความเป็น “สากล” และ “ร่วมสมัย” ของพุทธศาสนาได้เสมอไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใด เพราะวินัยแห่งการสร้างประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ทำให้ผู้ปฏิบัติที่จริงแท้กับวิถีนี้พยายามที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมหรือชุมชนที่ตนเกี่ยวข้องด้วยวิธีต่างๆ ที่เหมาะสมกับปัญหาหรือสถานการณ์ ณ พื้นที่และช่วงเวลานั้น วิถีของมหายานจึงเป็นท่าทีของการกระทำ ความเคลื่อนไหว ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรักในสรรพสิ่ง

ขณะเดียวกันด้วยชุดคำสอนเช่นนี้ เราจึงสามารถมองเห็น “โพธิสัตว์” มากมายที่ดำรงอยู่บนโลกร่วมกันกับเรา แม้คนเหล่านั้นอาจไม่ใช่ผู้ที่ใกล้ชิดกับพุทธศาสนาก็ตาม แต่ด้วยคอนเซปต์เช่นนี้ เราสามารถที่จะเคารพ ชื่นชม และศรัทธาในหัวใจของผู้คนที่เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมได้เสมอ เพราะแก่นแท้ของโพธิสัตว์คือวิถี หาใช่ศาสนา หรือความเชื่อใดๆ



เส้นทางโพธิสัตว์ เส้นทางของพุทธะ

เป้าหมายของโพธิสัตว์ทุกคน คือการได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หรือการตื่นรู้อย่างสมบูรณ์ในฐานะพระพุทธเจ้า ซึ่งเส้นทางนี้ไม่ใช่เส้นทางสั้นๆ ที่จะเดินไปถึงภายในภพชาติเดียวเท่านั้น เรจินัลด์ เรย์ กล่าวถึงความยาวนานของเส้นทางนี้ไว้ว่า “เส้นทางสู่การตื่นรู้โดยสมบูรณ์นั้นทอดยาวแทบไม่มีจุดสิ้นสุด ตลอดสามอสงไขย ผ่านล้านล้านภพชาติ…” นั่นคืองานอันหนักหนาของโพธิสัตว์ที่อุทิศตนเพื่อสรรพสัตว์และการตื่นรู้อย่างสมบูรณ์

ในเมื่อมันยากเย็นเช่นนั้น บางเราอาจเกิดคำถามขึ้นว่าทำไมต้องทำขนาดนั้น ทำไมการช่วยเหลือสรรพสัตว์แบบโลกย์ๆ จึงสามารถเป็นหัวใจสำคัญในการตื่นรู้ได้ การกลับมาเกิดใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่ามันเกี่ยวข้องกับการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างไร หรือแม้แต่ว่าเป้าหมายในการเป็นพระพุทธเจ้าแท้จริงแล้วมีความหมายว่าอย่างไร

ในหนังสือ The Indestructible Truth ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่นำมาใช้ศึกษากันในคลาส Second Turning เขียนถึงการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าไว้ว่า “ผู้ปฏิบัติที่ตั้งปณิธานที่จะเดินตามเส้นทางเดียวกับศากยะมุนีพุทธะ ในที่สุดจะกลับมาเกิดเหมือนท่านในโลก(หรือภพภูมิ) ซึ่งพุทธธรรมไม่เป็นที่รู้จัก แสวงหาสัจธรรมสู่การหลุดพ้น จนบรรลุสู่การตื่นรู้อันสมบูรณ์ แล้วจึงก่อตั้งและถ่ายทอดสายปฏิบัติแห่งธรรมะ” จากประโยคนี้ เราจะเห็นได้ว่าความสำคัญของพระพุทธเจ้าคือการที่ท่านสามารถตรัสรู้ได้ด้วยตนเองแม้ในดินแดนที่ปราศจากชุดคำสอนพุทธธรรมใดๆ มาก่อน ทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มสายปฏิบัติแห่งพุทธธรรมในดินแดนนั้นๆ เพื่อปลอดปล่อยสรรพสัตว์จากความทุกข์ทั้งปวงอีกด้วย สิ่งนี้นับว่าเป็นคุณค่าที่สูงที่สุดที่คนผู้หนึ่งจะสร้างให้แก่โลกได้

แต่การจะบ่มเพาะคุณสมบัติเช่นนั้นขึ้นมา เราจำเป็นต้องผ่านประสบการณ์มากมายนับไม่ถ้วน เพื่อที่จะเกิดความเข้าใจอันถ่องแท้ต่อความทุกข์ของสรรพสัตว์ ซึ่งหนทางเดียวในการก้าวไปสู่จุดนั้นก็คือการเริ่มต้นหนทางแห่งโพธิสัตว์ตั้งแต่วินาทีนี้ และเปิดหัวใจเอาไว้ให้พร้อมที่จะสัมผัสกับความเจ็บปวด ความทุกข์แสนสาหัส ความไม่ได้รับการยอมรับหรือถูกเข้าใจ และสัมพันธ์กับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นด้วยความรักที่ตั้งอยู่บนพื้นหลังแห่งความว่างอันปราศจากตัวตน

เรจินัลด์ เรย์ กล่าวถึงคุณสมบัติสัพพัญญูแห่งพุทธะเอาไว้ในหนังสือ The Indestructible Truth ว่า “ความเป็นสัพพัญญูของพุทธะ คือการรู้แจ้งในประสบการณ์และความรักความกรุณาในหัวใจ ที่จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการผ่านความทุกข์มาแล้วทุกรูปแบบ” เส้นทางโพธิสัตว์จึงไม่มีทางลัดใดๆ ทุกประสบการณ์ต้องเล่นเอง เจ็บเอง เรียนรู้เอง กระนั้นด้วยหัวใจอันจริงแท้และเปี่ยมด้วยความรักความกรุณาอันปราศจากตัวตน หนทางแห่งการตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แม้จะยากเย็นแสนเข็ญเพียงไหน ก็จะเปี่ยมด้วยความรื่นรมย์ ดังโศลกของศานติเทวะที่รจนาไว้ว่า

“All the joy the world contains

Has come through wishing happiness for others.

All the misery the world contains

Has come through wanting pleasure for oneself”



จาก https://www.vajrasiddha.com/article-bodhisattva/
74
อานัม ทุบเท็น : ความปรารถนาอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะมีชีวิตอยู่

อานัม ทุบเท็น เขียน
ธัญญา ศรีธัญญา [THANYA วัชรสิทธา] แปล
จากบทความ The Sacred Desire to Exist



เมื่อผู้คนเริ่มมีวิกฤตการดำรงอยู่ หรือนั่งทบทวนชีวิตอย่างลึกซึ้ง  มักมีคำถามที่ปกติแล้วไม่ถามกัน เช่น “ฉันมาทำอะไรที่นี่? ทำไมถึงมีจักรวาลนี้เกิดขึ้นแต่แรก? ทำไมสิ่งต่างๆ จึงมีอยู่?”

โดยส่วนใหญ่แล้ว เราไม่เข้าใจหรอกว่าทำไมเราถึงมาอยู่ ณ ตรงนี้ เรามาเริ่มต้นที่นี่ได้อย่างไร หรือทำไมเหตุการณ์ทั้งหลายจึงเกิดขึ้นกับเรา ความไม่รู้อันแสนลี้ลับนี้เป็นเหมือนพื้นหลังของการดำรงอยู่ของเราเสมอ

แน่นอน บางครั้งเราพยายามใช้หัวคิดวิเคราะห์ว่าทำไมมันจึงเกิดขึ้น ทำไมเราจึงมาอยู่นี่ และอะไรจะเกิดในวันพรุ่งนี้ เราสามารถเข้าใจในเหตุและผลที่มีขอบเขตแน่ชัด ทว่ามันยังคงมีความลี้ลับอยู่เสมอ ความไม่รู้ Unknown ความลี้ลับนี้แหละ ที่เราเรียกว่า “กรรม”

เราสามารถพูดได้ว่า “ทุกสิ่งคือกรรมของเรา” แต่เราไม่อาจเข้าใจกรรมได้ ปราชญ์โบราณหลายคนมักพูดว่า “อย่าเสียเวลาไปวิเคราะห์กรรม เพราะเราไม่มีทางเข้าใจมันได้ทั้งหมด”

จากแนวคิดเรื่องกรรม เราไม่มีวันเข้าใจความลี้ลับของการดำรงอยู่ของตนเอง บางครั้งเราหวังว่ามันจะมีคำอธิบายที่กระจ่างชัดให้แก่ทุกอย่าง เพื่อเป็นตำรับยาที่ใช้ในการแก้ปัญหาทั้งหมดของเรา โดยเฉพาะปัญหาใหญ่ๆ ซึ่งก็คือการที่วันนึงเราจะต้องตาย แน่นอนว่าความปรารถนาของคนเรา คือการมีชีวิตที่ยืนยาว หรืออาจจะมีชีวิตอยู่ไปตลอดกาลเสียด้วยซ้ำ ทว่าการเป็นอมตะนั้นไม่มีทางเป็นไปได้ แต่ผู้คนส่วนหนึ่งก็ยังคงปรารถนาสิ่งนี้ ประเด็นคือเราอยู่ที่นี่แล้ว และเราทำอะไรไม่ได้ มันสายไปเสียแล้วที่จะเปลี่ยนใจ ยินดีต้อนรับสู่โลกใบนี้ เราอยู่ที่นี่อย่างสมบูรณ์ และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีทางจะออกไปจากที่นี่ เช่นนี้ สิ่งที่เราทำได้คงจะเป็นการเพลิดเพลินอยู่ในโลกนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ดูเหมือนว่ามีความปรารถนาของจักรวาลที่จะดำรงอยู่ ไม่ใช่ความปรารถนาในระดับสัญชาตญาณ แต่เป็นความปรารถนาที่เป็นเหมือนแรงขับ แรงที่ดำรงอยู่มาชั่วนิรันดร์ อย่างที่ปราชญ์ชายหญิงในโลกโบราณกล่าวว่า จักรวาลไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ทฤษฎีนี้ยอดเยี่ยมมาก จักรวาลไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด และพลังขับเคลื่อนที่เป็นอนันตกาล คือความปรารถนาที่จะดำรงอยู่ ด้วยแรงปรารถนานี้ ทุกสิ่งทุกอย่างจึงเกิดขึ้นมา ตั้งแต่ที่เล็กที่สุดจนถึงความเป็นจริงอันไร้จุดสิ้นสุด รวมถึงฝุ่นผงบนโซฟา ทั้งหมดของจักรวาลเกิดมาด้วยแรงปรารถนานี้ ความปรารถนาที่จะดำรงอยู่นี้ศักดิ์สิทธิ์ในตัวมันเอง บริสุทธิ์ ไม่ใช่สิ่งธรรมดา เราทั้งหมดเกิดมามีชีวิตก็เพราะพลังนี้ ดังนั้นถ้ามองจากมุมนี้ เราเกิดมาจากความศักดิ์สิทธิ์ …ไม่ใช่จากบาปดั้งเดิม แต่เป็นความศักดิ์สิทธิ์เดิมแท้

มันไม่ผิดเลยที่เราจะมีความปรารถนาในการดำรงอยู่ เมื่อมองไปรอบๆ เราจะเห็นว่าทุกสิ่งมีความปรารถนาที่จะดำรงอยู่ ต้นไม้ ดอกไม้ ภูเขา ล้วนมีความปรารถนานี้ทั้งสิ้น เราสามารถเห็นความปรารถนานี้ในตัวเอง บ้างเป็นไปตามเหตุผล บ้างก็ไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย เวลาเราป่วย เราปรารถนาจะมีชีวิตยืนยาว ไม่ใช้ด้วยเหตุผลที่เห็นแก่ตัว แต่เพื่อจะได้อยู่กับคนที่เรารัก เราอยากช่วยเหลือสนับสนุนพวกเขา มันเป็นความปรารถนาที่มีเหตุผลและกล้าหาญ บางทีความปรารถนาที่จะดำรงอยู่ก็เป็นสัญชาตญาณล้วนๆ ไม่มีเหตุผลเบื้องหลัง ท้ายที่สุดแล้ว เราทำได้แค่ ปล่อย ให้ทุกอย่างเป็นไปตามความลี้ลับอันยิ่งใหญ่ ที่เรียกว่า กรรม มันเป็นข่าวดี ว่ามั๊ย? จำที่นักปราชญ์โบราณกล่าวไว้ได้ใช่ไหม “อย่าไปวิเคราะห์กรรม” เราไม่ต้องพยายามหาที่มาไปเสียทุกเรื่อง เราสามารถปล่อยให้เป็นไปตามความไม่รู้ ในอ้อมกอดของความลี้ลับอันไม่มีที่สิ้นสุด




พุทธะกล่าวว่า รากความทุกข์ของมนุษย์คือความอยาก ท่านพูดถึงความอยากสามประเภท; ความอยากที่จะมีอยู่ ความอยากในรสสัมผัส และความอยากที่จะไม่มีอยู่ วิธีการส่องสว่างให้เห็นรากความทุกข์นี้ไม่ใช่อะไรที่เป็นนามธรรมหรือคอนเซ็ปต์ ทุกคนสามารถมีความคิดเกี่ยวกับความอยาก เราสามารถเข้าใจหลักการนี้ได้ด้วยความคิด ร่างกาย กระทั่งกระดูกของเรา พุทธะกล่าวว่า ความอยากทั้งสามนี้ เป็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งมวลของมนุษย์

ความอยากแรก คือความอยากที่จะดำรงอยู่ ความอยากนั้นเป็นมากกว่าความปรารถนาในระดับสัญชาตญาณ จำไว้ว่าทุกสัญชาตญาณ ทุกความปรารถนานั้นโอเคในตัวมันเอง ความปรารถนาที่จะดำรงอยู่ของจักรวาลนั้นโอเคในตัวมันเอง จงโอบรับมันไว้ เคารพมันโดยไม่ต้องรู้สึกผิด ความปรารถนานั้นเป็นธรรมชาติ แต่ความอยากนั้นต่างออกไป ความอยากไม่ได้เป็นธรรมชาติ ความปรารถนาที่จะดำรงอยู่นั้นเป็นธรรมชาติ มันไม่ถูกปรุงแต่ง อะไรที่เป็นธรรมชาติจะเฮลตี้ เรารู้ว่ามันมีสภาวะจิตที่ดีและที่ไม่ดี และก็มีสัญชาตญาณที่ดีและที่ไม่ดี ความปรารถนาที่จะดำรงอยู่นั้นเป็นสุขสภาวะที่ดี เฮลตี้แน่นอน เพราะมันเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด

ความอยากดูเหมือนจะไม่ใช่สุขภาวะที่ดี มันเหมือนเป็นความปรารถนาในขั้นวิปลาส เป็นความหมกมุ่นที่จะดำรงอยู่ ความอยากมักมาพร้อมความกลัวและความรู้สึกไม่ปลอดภัย เป็นความกลัวตาย ที่บางทีมาพร้อมกับความรุนแรง เป็นความรุนแรงในการต่อสู้กับความเป็นจริง ความไม่เที่ยง และการเปลี่ยนแปลง

เราอาจเคยได้ยินธรรมาจารย์เซนกล่าวว่า พวกเขาข้ามพ้นทั้งการมีชีวิตและความตาย เราสามารถก้าวข้ามความตายได้จริงๆ ล่ะหรือ? มันขึ้นอยู่กับว่าเราเข้าใจการก้าวข้ามความตายว่าอย่างไร จากมุมมองหนึ่ง เราก้าวข้ามความตายไม่ได้ ยังไงเราทุกคนต้องตาย ในอีกมุมมองหนึ่ง เราสามารถก้าวข้ามความตายได้ ในจุดที่เราสามารถตัดผ่านและปล่อยความอยากที่จะดำรงอยู่ได้ เราก็ก้าวข้ามความตายได้แล้ว มันไม่มีแล้วซึ่งความกลัวตาย ณ จุดนั้น เราเข้าสู่การยอมรับอย่างหมดจด

นอกเหนือจากความอยากที่จะดำรงอยู่ ซึ่งเป็นความหมกมุ่นอันวิปลาสในการมีอยู่ของตัวเอง เราจะพบได้กับความอยากอีกหลายรูปแบบที่เกิดขึ้นตามมา ความอยากได้ความปลอดภัย ความสำเร็จ อำนาจ ความรัก การเป็นที่ยอมรับ ความแน่นอน ความมั่งคั่ง และอีกมากมาย ความอยากได้ความสบาย อยากได้สถานการณ์ที่ราบรื่น เราเห็นชัดว่าความทุกข์มาจากความอยากเหล่านั้น อันที่จริง ถ้ามองเข้าไปยังจิตตัวเองตอนนี้ บางทีเธออาจจะเห็นความทุกข์ เธอเห็นความทุกข์ไหม? นี่เป็นการมองเข้าไปที่ทรงพลังมาก มีพลังสุดๆ ในการตรวจสอบตัวเองและทบทวนตัวเอง นั่นคือเหตุที่ทำไมพุทธะจึงกล่าวว่า “เราต้องตั้งคำถามและมองเข้าไป เพื่อที่จะเข้าใจรากแห่งความทุกข์” ​ท่านไม่เคยบอกให้ก้าวข้ามความทุกข์ ท่านบอกให้ตระหนักถึงความทุกข์และตัดที่รากของมัน ช่างเป็นคำกล่าวที่ปราดเปรื่องจริงๆ

ความปรารถนาเป็นธรรมชาติของเรา แต่ความอยากนั้นวิปลาส ความอยากคือความปรารถนาที่กลายเป็นความวิปลาส ความปรารถนานั้นมีคุณสมบัติเดิมแท้ตามธรรมชาติอยู่มากมาย จงรับรู้ความทุกข์และรากแห่งทุกข์ แล้วเรียนรู้ที่จะปล่อยวางมัน บางครั้งเธอจะค้นพบพื้นที่ภายในตัวเธอที่ไม่มีความอยากอีกต่อไป ที่ที่เป็นอิสระ นี่เป็นสาเหตุที่ทำไมเรามาสนใจการภาวนา เมื่อจิตและกายเราสงบนิ่ง เรารู้สึกว่ากำลังยืนอยู่บนพื้นที่ไหนสักแห่งในตัวเราเอง ที่ซึ่งไม่มีความอยากและความกลัวอีกแล้ว นี่คือสภาวะธรรมชาติของการดำรงอยู่ของเรา สภาวะอันเป็นธรรมชาตินี้เป็นอิสระจากความอยากอยู่แล้ว

การดำรงอยู่ของเรานั้นงดงาม เธอเคยมีช่วงเวลาที่รื่นรมย์กับการดำรงอยู่ของเธอไหม? ชั่วขณะที่เธอรู้สึกปลอดโปร่ง เธอแค่ยินดีกับการมีชีวิต เธอมีความสุขเมื่อได้หายใจ ได้กลิ่น สัมผัส รู้รสชาติ เราเป็นสุขเหลือเกินในช่วงเวลาแบบนี้ เรายินดีกับข้อเท็จจริงที่ว่า เรากำลังมีชีวิตอยู่ในชั่วขณะนี้ เรากำลังดำรงอยู่ในตอนนี้



แปลจาก The Sacred Desire to Exist – Lions Roar, April 2023
https://www.lionsroar.com/the-sacred-desire-to-exist/


Anam Thubten
เติบโตขึ้นมาในทิเบตและตั้งแต่อายุยังน้อยเริ่มปฏิบัติในประเพณี Nyingma ของพุทธศาสนาทิเบต เขาเป็นผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาทางจิตวิญญาณของมูลนิธิธรรมะและผู้เขียน The Magic of Awareness and No Self, No Problem

จาก https://www.vajrasiddha.com/article-sacreddesireanam/
75
ผีซ่าส์กับฮานาดะ การ์ตูนที่ควรได้ดูสักครั้งในชีวิต



คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง

คำถามที่มักจะถูกถามเสมอๆ เกี่ยวกับเรื่องการ์ตูนมักจะไม่พ้นการจัดอันดับค่ะ คือมักจะให้เราบอกว่าเรื่องไหนมีความเป็น "ที่สุด" ในความคิดของคนที่อ่านการ์ตูนมาตั้งแต่อนุบาลจนกระทั่งอายุเข้าทศวรรษที่สามอย่างเรา พวก "ชอบที่สุด" หรือ "สนุกที่สุด" เป็นคำถามที่ตอบยากมาก ถามกี่ครั้งก็จะนึกขึ้นมาได้หลายสิบเรื่องเพราะแม้แต่ในคำว่า "ชอบ" ก็ยังตีความได้อีกหลายอย่าง เช่น ชอบภาพ ชอบเนื้อเรื่อง ชอบการดำเนินเรื่อง ฯลฯ

แต่การ์ตูนที่ "ซาบซึ้งที่สุด" จนบรรยายเป็นคำพูดไม่ได้ ต้องบรรยายออกมาเป็นน้ำตา นั่นคือ "ผีซ่าส์กับฮานาดะ" ซึ่งออกขายเป็น VCD และ DVD ในไทยแล้ว เรื่องนี้ได้รับรางวัลภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์ยอดเยี่ยมจาก Tokyo International Anime Fair ปี 2003 (แซงอินุยาฉะได้), รางวัลแอนิเมชั่นยอดเยี่ยมจาก Asian Television Technical & Creative Awards ปี 2003 (เอาชนะการ์ตูนฉายโรงในปีนั้นอย่าง Baron the Cat Returns), กับรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมประเภททั่วไปจากหนังสือการ์ตูนเรื่องเดียวกันในงาน Kodansha Manga Award ครั้งที่ 19 ประจำปี 1995 (ซึ่งปีนั้นคินดะอิจิได้รางวัลประเภทการ์ตูนผู้ชาย)...เป็นหางว่าว"ฮานาดะ อิจิโระ" เป็นเด็ก ป.3 ที่เกิดและเติบโตในจังหวัดแถบชนบทของญี่ปุ่น เรื่องราวน่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่โทรทัศน์สีเพิ่งจะมีขายไม่นาน (น่าจะประมาณสามสิบกว่าปีก่อน) ซึ่งเรื่องทั้งหมดเริ่มจากอิจิโระต้องการให้ซื้อโทรทัศน์ใหม่เป็นรุ่นมีสีจนกระทั่งทะเลาะกับคุณแม่ สุดท้ายเมื่อหนีออกจากบ้านก็กลับประสบอุบัติเหตุถูกรถชนแต่อิจิโระรอดมาได้อย่างปาฏิหาริย์




แม้จะรอดตายแต่อิจิโระต้องเย็บศีรษะถึง 9 เข็ม และได้ของแถมมาอีกอย่างคือความสามารถในการมองเห็นและได้ยินเสียงวิญญาณของคนที่ตายไปแล้ว

แม้อิจิโระจะเป็นเด็กที่ซนที่สุดในหมู่บ้าน เรียกว่าเหยียบที่ไหนสิ่งมีชีวิตตายเรียบ แต่จุดอ่อนเพียงอย่างเดียวของเขาคือ "กลัวผี" ถึงอย่างนั้นกลับต้องมารับฟังคำขอของวิญญาณซึ่งคดีแรกสุดคือวิญญาณสาวสวยต้องการให้ไปหาชายที่รัก

ความที่พื้นเพเป็นเด็กที่มีจิตใจดี (ผสมปอดแหกเมื่ออยู่กับผี) ทำให้อิจิโระยอมช่วยเหลือจนวิญญาณหญิงสาวคนนั้นไปสู่สุคติได้ในที่สุด ข่าวนี้คงแพร่สะพัดไปในหมู่วิญญาณทำให้มีวิญญาณมาขอความช่วยเหลืออีกหลายครั้ง
ความน่ารักของการ์ตูนเรื่องนี้อยู่ที่วิธีคิดแบบเด็ก ป.3 ของอิจิโระนี่ล่ะค่ะ สำหรับเด็กที่ไม่รู้จักความตาย (แต่รู้ว่าตายไปต้องเป็นผีแล้วผีน่ากลัว) ไม่รู้จักความรักหรือความผูกพันอย่างลึกซึ้งระหว่างคนที่มีชีวิตอยู่กับคนที่ตายไปแล้ว (รู้แต่ว่าถ้าไปสู่สุคติก็จะไม่ได้คุยกันอีกเลยเศร้า) ไม่รู้จักกระทั่งการฆ่าด้วยการฉีดยา (แต่รู้แค่ว่าฉีดยามันเจ็บก็เลยกลัว) อิจิโระจึงเลือกกลัวแต่ในสิ่งที่ทำให้คนดูหัวเราะออก เพราะหลายครั้งเราเผลอซาบซึ้งไปกับฉากลาจากที่แสนเศร้า แต่อิจิโระกลับมีมุมมองในแบบเด็กๆ และเหตุผลแบบเอาแพะมาชนแกะที่เรานึกไม่ค่อยถึง



แนวคิดที่ได้จากการ์ตูนเรื่องนี้อีกอย่างคือ "การเปิดโอกาสให้ทำความดีอาจทำให้คนคนหนึ่งได้รับการหล่อหลอมจนเป็นคนดีได้ในที่สุด" อิจิโระที่ซนจนหมดทางเยียวยาและไม่เคยคิดจะทำเรื่องดีๆ ให้พ่อแม่สบายใจกลับต้องมาเสียสละช่วยเหลือวิญญาณเพียงเพราะกลัวโดนผีหลอก ที่จริงเขาก็ไม่ได้เต็มใจช่วยหรอกนะ ว่าง่ายๆ คือโดนบังคับ แต่เมื่อได้เรียนรู้การทำความดีและเห็นผลตอบแทนที่ชัดเจนคือคนที่เราทำดีให้เขาสบายใจ ความดีจึงค่อยๆ หลอมเป็นส่วนหนึ่งในใจของอิจิโระทีละนิดในที่สุด
ยิ่งดูก็ยิ่งเกิด "ศรัทธาในความดี" มากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ จากที่มองคนอื่นโดยคาดเดาเจตนาตามใจตัวเองก็เริ่มมองที่การกระทำกับผลของการกระทำมากขึ้น เคยเห็นคนมีชื่อเสียงบางคนไปทำบุญหรือทำความดีไหมคะ หลายคนอาจมองว่า "สร้างภาพ" หรือ "ไม่จริงใจ" แต่ไม่ว่าเขาจะไม่ตั้งใจหรือถูกบังคับให้ทำความดีแบบอิจิโระ อย่างน้อยผลดีที่เขาทำก็ส่งให้คนอื่นมีความสุขค่ะ และสุดท้ายสักวันก็จะหลอมกลายเป็นความดีในหัวใจของเขาเอง




"ผีซ่าส์กับฮานาดะ" ไม่ได้สอนให้ใครทำความดีค่ะ แต่ทุกครั้งที่ดูเราจะรู้สึกว่าจิตใจตัวเองได้รับการชำระจนสะอาดขึ้นทีละนิด มองว่าความเสียสละไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของคนที่ดีขนาดพ่อพระแม่พระถึงจะทำได้ แต่แม้ว่าเราจะเป็นคนเลวนิดๆ เราก็ยังเสียสละและทำดีได้เช่นกัน

อิจิโระทำให้เราศรัทธาในความกล้าที่จะทำดีของตัวเองค่ะ


จาก https://rith99999.blogspot.com/2008/06/blog-post_1942.html?m=1




<a href="https://www.youtube.com/v//jtV9oek-jag" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//jtV9oek-jag</a> 

https://youtu.be/jtV9oek-jag?si=WtKYN80BkVt13Z8P


76


เข้าพรรษา -วันแม่ทางพุทธศาสนา กับ ต้นกำเนิดพระอภิธรรม คัมภีร์ยิ่งใหญ่ เทียบเท่าค่าน้ำนม พระพุทธมารดา

เหตุใด จึงว่ากันว่า เข้าพรรษา คือ วันแม่ทางพระพุทธศาสนา ?

วันเข้าพรรษา บ้างว่าเป็นวันแม่ของพระพุทธศาสนา เพราะ

เป็นช่วงที่พระสงฆ์ต้องดำเนินตามพระวินัย คือ จำวัดอยู่ที่วัดนั้น ๆ เป็นเวลา ๓ เดือน 

เป็นช่วงที่ พระพุทธเจ้าทรงขึ้นไปจำพรรษาบนเทวโลก ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระพุทธมารดา พระนางสิริมหามายา ที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว


ภาพ : ผู้จัดการออนไฃน์ สืบค้นจาก https://mgronline.com/dhamma/detail/9570000087339


แบบอย่างที่ดีของการเป็นลูกกตัญญู ของมหาบุรุษ

กตัญญูกตเวที ต่อ พระมารดาผู้ให้กำเนิด แม้จะอยู่คนละภพชาติ


แม้พระนางสิริมหามายาจะไม่มีโอกาสได้ฟูมฟักเลี้ยงดู “เจ้าชายสิทธัตถะ” แต่ก็ทรงพระคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลในฐานะแม่ผู้ให้กำเนิด

ดังนั้นในพรรษาที่ ๗ หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว จึงเสด็จไปจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก เพื่อเทศนาโปรดพระพุทธมารดา ซึ่งขณะนั้นพระมารดาอยู่ในเพศของเทพบุตร คือ เป็นชายบนสวรรค์ชั้นดุสิต ตลอดพรรษา
 

กำเนิดคัมภีร์สำคัญ "พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์"

คัมภีร์ที่ยิ่งใหญ่เทียบเท่า น้ำนมพระมารดาในทุกภพชาติรวมกัน


ซึ่งในการโปรดพระพุทธมารดาตลอดเข้าพรรษา ๓ เดือนครั้งนั้น ได้กำเนิดคำสอนที่พิเศษ "พระอภิธรรม” (แปลว่า ธรรมชั้นยอด หรือธรรมที่มากกว่าธรรม) จำนวน ๗ คัมภีร์ ที่พระสงฆ์ใช้สวดในพิธีศพในทุกวันนี้

 

โดยทรงรำลึกถึงพระคุณของพระมารดา ในทุกภพชาติที่ยิ่งใหญ่นัก มากจนเกินกว่าจะสอนเพียง พระวินัยปิฎก และพระสุตตันปิฎก


"พระคุณแห่งมารดาที่ทำไว้สุดที่จะคณานับได้ว่ากว้างหนาและลึกซึ้งปานใด ธรรมอันใดจึงจะสมควรที่จะทดแทนพระคุณแห่งพระมารดานี้ได้

พระวินัยปิฎกและพระสุตตันปิฎกก็ยังน้อยนัก มิเท่าคุณแห่งพระมารดา เห็นควรแต่พระอภิธรรมปิฎกที่พอยกขึ้นชั่งเท่ากันได้

ดูกรชนนี มานี้เถิดตถาตคจะใช้ค่าน้ำนมข้าวป้อนของมารดา อันเลี้ยงตถาตคนี้มาแต่อเนกชาติในอตีดภพ"


จากนั้นจึงตรัสอภิธรรมปิฎก ๗ คัมภิร์ ให้สมควรแก่ปัญญา บารมี มีสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา บุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และมหาปัฏฐาน

เมื่อทรงแสดงสัตตปกรณาภิธรรมเทศนาจบลง พระมารดาก็เกิดดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน

ซึ่งการที่บุตรทำให้พ่อแม่ บังเกิดดวงตาเห็นธรรม ถือได้ว่า ทำหน้าที่บุตรสมบูรณ์ที่สุด
 

นับว่าเป็นพุทธจริยาอันงดงาม ที่เป็นแบบอย่างของความกตัญญูกตเวที ต่อแม่ผู้ให้กำเนิด ซึ่งแม้จะอยู่ไกลกันคนละภพภูมิแล้ว แต่ยังทรงเสาะหาวิธีที่จะทดแทนพระคุณของแม่ ด้วยการให้อมตะธรรมอันยิ่งใหญ่ จนเกิดดวงตาเห็นธรรม ซึ่งเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเหนือการให้ทั้งปวง



ที่มา : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/103246.html

เหตุใด จึงเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ? ทั้งที่พระมารดาทรงเป็นเทวดาชั้นดุสิต

เทวดานั้นมีระดับชั้น โดยเทวดาชั้นสูงกว่าสามารถลงมายังสวรรค์ชั้นต่ำกว่าได้ แต่เทวดาจากสวรรค์ชั้นล่าง ๆ จะไม่สามารถข้ามขึ้นไปสู่สวรรค์ชั้นสูงได้

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงเลือกเทศนา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันเป็นสวรรค์ชั้นล่างสุด เพื่อให้เทวดาในทุกชั้นฟ้าสามารถมาร่วมสดับพระอภิธรรมได้

เหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงไม่เสด็จไปเทศนาบนสวรรค์ชั้นดุสิต



https://bit.ly/3vX2i8T

ต้นกำเนิด ตักบาตรเทโว

ภายหลังจากเทศนาโปรดพระพุทธมารดาตลอดถ้วนทั้งพรรษา ๓ เดือนแล้ว พระพุทธองค์จึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยบันไดแก้ว เคียงข้างขนาบมาด้วยพระอินทร์พระพรหม และหมู่เทวดาที่มาส่งเสด็จ

ซึ่งแม้ในปัจจุบัน เหตุการณ์ครั้งนั้น ยังคงถูกจำลองไว้ทุกปีหลังจากออกพรรษา ในประเพณีที่เรียกกันว่า “ตักบาตรเทโว”


จาก https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/92060

<a href="https://www.youtube.com/v//8UfGnPgaAnQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//8UfGnPgaAnQ</a> 

https://youtu.be/8UfGnPgaAnQ?si=gmtipr98weh9u4mV

<a href="https://www.youtube.com/v//kXAwwTYGH4w" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//kXAwwTYGH4w</a> 

https://youtu.be/kXAwwTYGH4w?si=M4ZfM9bLfPQJJRLC

ขยายความเพิ่มเติม



พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ | สวดเพื่อปลง เข้าถึงพระธรรม

พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ คือพระธรรมในอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อภิธรรม คือธรรมะขั้นสูงหัวใจของอภิธรรมจะกล่าวถึงเรื่องของ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน สิ้นเนื้อความในพระไตรปิฎกนับ ๑๐,๐๐๐ หน้าพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เป็นธรรม ที่พระพุทธเจ้าแสดงโปรดพุทธมารดา( ธรรมแทนค่าน้ำนม) เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนาเทวดาและพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฎิ ได้บรรลุธรรมและสันตุสิตเทพบุตร (พุทธมารดา) ได้สำเร็จ เป็นพระโสดาบันบุคคล

1 บทสวดพระอภิธรรม 7 คัมภีร์
2 บทพระสังคิณี
3 บทพระวิภังค์
4 บทพระธาตุกะถา
5 บทพระปุคคะละบัญญัติ
6 บทพระกะถาวัตถุ
7 บทพระยะมะกะ
8 บทพระมหาปัฏฐาน
9 บทสวดพระสะหัสสะนัย
 10 บทสุทธิกะปะฏิปะทา
11 บทสุญญะตะมูละกะปะฏิปะทา
 12 บทอัปปะณิหิตะปะฏิปะทา
13 บทอะธิปะติ
14 บทสวดแจง
15 บทพระวินัย
16 บทพระสูตร
17 บทธัมมะสังคิณีมาติกา (มาติกาฯ)
 18 บทสวดธรรมนิยาม
19 บทปัพพะโตปะมะคาถา
20 บทอะริยะธะนะคาถา
 21 บทธัมมะนิยามะสุตตัง
22 บทติลักขะณาทิคาถา
23 บทปะฏิจจะสะมุปปาทะปาฐะ
 24 บทพุทธะอุทานะคาถา
 25 บทภัทเทกะรัตตะคาถา

<a href="https://www.youtube.com/v//6PVJLeYC2WU" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//6PVJLeYC2WU</a> 

https://youtu.be/6PVJLeYC2WU?si=vAVGypHqpfM4tR4t
77
เจ้าหนูอะตอม Ver. อุราซาว่า อะตอมแอสโตรบอย



คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวละออง

โลดแล่นจากปลายปากกา เท็ตสึกะ โอซามุ เมื่อ ปี ค.ศ. 1952 หรือ หลังจาก เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ราว 7 ปี ระยะเวลาเพียงเท่านั้น ไม่อาจยืนยันได้เลยว่า จิตใจของชาวซากุระยังคงจมจ่อมอยู่ในฝันร้ายของเปลวสงครามอย่างฝังแน่น หรือดิ่งลึกเพียงใด กระนั้น นายแพทย์ผู้กลายมาเป็นนักเขียนการ์ตูนระดับตำนานอย่าง โอซามุ ก็หาญกล้าที่จะมอบชีวิตให้ “อะตอม” เป็นทูตสันติภาพ เพื่อยับยั้ง “สงคราม” หรือความขัดแย้งต่างๆ อันจะนำไปสู่การทำลายล้าง เสียเลือดเสียเนื้อ ของทั้งมนุษย์และเผ่าพันธุ์อื่นๆ

ซึ่งงานแรกที่เจ้าหนูอะตอมได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ของเขา ก็คือ ยับยั้งสงครามระหว่างชาวญี่ปุ่น กับชาวดาวโลกคู่ขนานของพวกเขา ที่อาจปะทุรุนแรงขยายวงกว้างเกินจะคาดคิด แน่นอนว่า ภารกิจแรก จบลงอย่างงดงาม

ความน่าสนใจอย่างยิ่งประการหนึ่ง ของ “อะตอม” อยู่ที่ ทั้งความตั้งใจของ เท็ตสึกะ โอซามุ เอง กับ ดร. เท็นมะ ตัวการ์ตูนที่เขาเนรมิตรขึ้น ให้เป็นนักวิทยาศาสตร์มากพรสวรรค์ และรับหน้าที่สร้าง “เจ้าหนูอะตอม" ขึ้นมา จนถึงวันนี้ กว่ากึ่งศตวรรษ ผู้อ่านหลายล้านคนก็ยังคงจดจำอะตอม ในฐานะ หุ่นยนต์ทูตสันติภาพ แต่ ขึ้นชื่อ ว่า เท็ตสึกะ โอซามุ เขาย่อมทิ้ง “บางสิ่ง” ไว้ให้ผู้อ่านเสมอ

แม้หน้าวรรณกรรม จะขอหยิบยกเพียงตอนแรกของเจ้าหนูอะตอม มาเป็นตัวอย่างเพื่อกล่าวถึง หากก็เชื่อว่าคงพอจะทำให้ผู้อ่านเห็นถึง จุดประสงค์ ของโอซามุได้ชัดเจนพออยู่ นั่นคือ แรกทีเดียว “อะตอม” ไม่ได้ถูกสร้างเพื่อให้เป็น “ทูตสันติภาพ” แต่ โอซามุ เขียนให้ ดร. เท็นมะ ตั้งใจสร้างอะตอมขึ้นมา แล้วไม่ช้าไม่นาน ก็มอบหมายให้เป็น “หุ่นสังหาร” ซึ่งมีอานุภาพรุนแรงที่สุดในโลก เพื่อให้ทำลายล้างชาวญี่ปุ่นโลกคู่ขนาน ที่อพยพมาอาศัยอยู่ในโลกมนุษย์ นั่นเพราะ ดร. เท็นมะ เกิดความหวาดกลัว ว่าผู้ลี้ภัยทั้งหลายจะมาแย่งชิงทรัพยากรของโลกจนหมดสิ้น



ฝ่ายชาวดาวคู่ขนาน เมื่อรู้ดังนั้น ก็พร้อมจะตอบโต้ ด้วยอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงไม่น้อยไปกว่ากัน ทว่า สงครามที่อาจจะกวาดล้างสิ่งมีชีวิตทั้งมวลบนโลกให้หมดไป ก็ไม่เกิดขึ้น เพราะ “อะตอม” ไม่ได้ทำร้ายใครเลย แม้ ดร.เท็นมะ ผู้สร้างเขาขึ้นมา หวังในสิ่งที่ตรงกันข้าม แต่ หุ่นยนต์ปรมาณู ตนนี้ กลับทำหน้าที่ "ยุติ" การนองเลือด ด้วยบทบาทของ “ฑูตสันติภาพ” ที่นำความสงบมาสู่โลกและมวลมนุษย์ คงไม่ต้องมีคำบรรยายกระมัง ว่า เท็ตสึกะ โอซามุ ส่งต่อความเชื่อใดของเขาให้แก่ผู้อ่าน เพราะเจตนาเหล่านั้น ชัดแจ้งดีแล้ว ในตัวของมันเอง

ส่วนเรื่องราวใน พลูโต ของ นาโอกิ อุราซาว่า เริ่มต้นขึ้นเมื่อหุ่นยนต์อานุภาพสูงสุดของโลก ทั้งหมด 7 ตน ถูก “ฆาตกรรมต่อเนื่อง” อะตอม หุ่นยนตร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงที่สุด จึงรวมอยู่ในเป้าหมายของการทำลายล้างด้วย และเกซิกต์ หุ่นยนตร์ประสิทธิภาพสูง ผู้เป็นตำรวจเจ้าของคดี อีกหนึ่งหุ่นยนต์ที่อาจตกเป็นเหยื่อ ก็เป็นผู้ที่ คลำพบร่องรอย เงื่อนงำอันน่าสงสัยของการฆาตกรรมอันทารุณนี้

ขณะที่ในเล่ม 2 อะตอม เริ่มมีส่วนร่วมมากขึ้น ในการช่วยสืบคดี และหาร่องรอยของฆาตกร เหล่านี้เป็นเพียงเนื้อเรื่องย่นย่ออย่างที่สุด แต่เมื่อได้อ่านฉบับเต็ม ความรู้สึกปวดร้าวของเหล่าหุ่นยนต์ ที่ต้องตกเป็นฝ่าย “ถูกกระทำ” จากน้ำมือมนุษย์ รวมถึงการเข่นฆ่า แย่งชิงอำนาจของเหล่าผู้นำต่างๆ ทั่วโลก นับเป็นเนื้อหาที่ไม่ล้าสมัย

โครงเรื่องหลักๆ ที่ โอซามุ ทิ้งไว้ นับเป็นวัตถุดิบ ชั้นยอด อย่างแท้จริง ขณะที่ อุราซาว่า ก็หยิบมาใช้ได้อย่าง “ไม่เสียของ” การนำเนื้อหาเดิมที่มีอยู่บางส่วน มาตีความใหม่ ในครั้งนี้ อุราซาว่า ไม่เพียงปล่อยให้บทสนทนา หรือความนึกคิดของตัวละคร รับหน้าที่ถ่ายทอดความรู้สึกทั้งด้านมืด ขมขื่น หรือด้านสว่าง ของจิตใจ แต่ก็ยังใช้ เพียง “ภาพ” เป็นตัวสื่อได้ดีไม่น้อยไปกว่ากัน

ดังเช่น หน้าตาของ กษัตริย์ดาริอุส ที่ 14 แห่งราชอาณาจักรเปอร์เซีย และ ประธานาธิบดี อเล็กซานเดอร์ แห่งสหพันธรัฐเธรส (Thrace) นั้น เพียงแว่บแรกที่ได้เห็น เชื่อเหลือเกินว่าผู้อ่านจำนวนไม่น้อย เข้าใจได้ว่า อุราซาว่า จงใจ “ล้อ” หรือ “เสียดสี” ใครบ้าง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเล่มล่าสุด ที่เผยให้พอคาดเดาได้ ว่า ผู้บงการที่แท้จริงเป็นใคร การ “ล้อ” ของ อุราซาว่า” จึงนับเป็นการดึงเอาความจริงในหลายส่วนของสถานการณ์โลกเข้าไปโยงได้อย่างกลมกลืนและน่าหวั่นกลัว ส่วนความแตกต่างอื่นๆ จากต้นฉบับดั้งเดิมนั้น ล้วนถือได้ว่า เป็นการคารวะอย่างสูงสุด ต่อ ปรมาจารย์ผู้ล่วงลับ ซึ่งแรงสนับสนุนที่ช่วยส่งให้อุราซาว่า “กล้า” ที่จะถ่ายทอด “พลูโต” ออกมา ตามแนวทางถนัดของตน ก็ไม่ใช่ใครอื่น หากคือ “เท็ตสึกะ มาโคโตะ” ทายาทของ “เท็ตสึกะ โอซามุ” นั่นเอง



"ไหนๆ ถ้าจะทำแล้ว ผมก็อยากเห็นผลงานการ์ตูนที่เป็นของคุณ อุราซาว่า มากกว่าการ์ตูนที่เป็นภาพเหมือน ดังนั้น รู้ทั้งรู้ว่าเป็นการเสียมารยาท แต่ผมก็ขอร้องให้ช่วยแก้ไขลายเส้นของตัวละครเสียใหม่...ที่ผ่านมา ทุกคนให้ความเคารพรัก เท็ตสึกะ โอซามุ มาก จึงพยายามวาดเลียนแบบลายเส้นเดิม ไม่มีใครกล้าฉีกแนวสักคน คราวนี้ ผมจะขอทำหน้าที่เป็นกรรมการ อยากเห็นการแข่งขันแบบคู่คี่สูสีดูสักครั้ง” มาโคโตะ บอกเล่า ความรู้สึกของเขา ไว้ในตอนท้าย ของพลูโตเล่ม 2 ซึ่งเป็นเล่มล่าสุด

และนับจากนี้ ใช่จะมีเพียง มาโคโตะ เท่านั้น หากแต่สาวกของทั้ง อาจารย์เท็ตสึกะ และ อุราซาวะ ก็คงตื่นเต้นและเฝ้าชมการแข่งขันของสองนักเขียนคุณภาพ ด้วยใจที่จดจ่อระทึกไม่แพ้กัน

นับแต่วินาทีแรก ที่ เซอร์ ไอแซค อาซิมอฟ บัญญัติ “กฎ” ของ หุ่นยนต์ขึ้น นับแต่นั้น ทั่วทั้งโลกก็ได้ร่วมขานรับ กฎที่ว่า อย่างพร้อมเพรียง “หุ่นยนต์ ต้องไม่ฆ่ามนุษย์” ทุกชิพล้วนถูกบรรจุข้อมูลนี้ไว้ แน่นอนว่า ผู้อ่านแต่ละคน ย่อมมีความรู้สึกต่อ “สาร” ของผู้เขียน ต่างกันไป แต่มีสิ่งหนึ่งใน "พลูโต" ที่หน้าวรรณกรรมเห็นว่า ควรหยิบมาถก หรือพิจารณา สิ่งหนึ่งที่ได้รับ ชวนให้รู้สึกว่า มนุษย์ได้ก้าวข้ามการทำร้ายและทำลายไปอีกขั้น ไม่ใช่จากด้านต่ำขึ้นสู่ด้านสูง หากคือขั้นที่ต่ำอยู่แล้ว กลับตกต่ำดิ่งลึกลงไปยิ่งกว่า

ในยุคสมัยแห่งอนาคต แม้สงครามล้างเผ่าพันธุ์ การกระหายในอำนาจ การมุ่งฉกชิงทรัพยากร การจ้องทำลายล้างอีกฝ่ายด้วยความหวาดระแวง จะยังคงอยู่ ไม่แปรเปลี่ยนไปจากยุคสมัยปัจจุบัน แต่เมื่อวิทยาการล้ำหน้า ความมืดบอดในจิตใจ ก็ย่อมต้องได้รับการสนองตอบด้วยเครื่องไม้เครื่องมือที่ชักนำให้ผู้ครอบครองหลงอยู่ในวังวนแห่งความมืดมิดนั้นได้ดียิ่งขึ้น

ไม่เพียงเท่านั้น ยิ่งทำลายล้างเผ่าพันธุ์เดียวกันไปมากเท่าไหร่ สัตว์ที่เรียกตนเองว่า ผู้มีสติปัญญาสูงส่ง อย่าง “มนุษย์” ก็ยังคงไม่สาแก่ใจ สิ่งใดเล่า? จะสามารถรองรับการกดขี่ข่มเหง เพื่อให้เผ่าพันธุ์ของตนยืดอกภาคภูมิใจได้อย่างสง่างาม จะมีเหยื่อรายไหน ประเภทใด? ตอบสนองความรู้สึกดังกล่าวได้บ้าง? อุราซาว่า มอบหมายให้ เหล่าแอนดรอย์ หรือ หุ่นยนต์ทรงประสิทธิภาพทั้งหลาย รับหน้าที่นั้น




“คุณรู้มั้ย? ทำไมมนุษย์ ถึงชอบสร้างอนุสาวรีย์กันนัก?… เพราะมนุษย์ชอบลืมยังไงล่ะ มนุษย์ต้องรีบสร้างอนุสาวรีย์พวกนั้นขึ้นมากันลืม ก่อนที่ความทรงจำจะค่อยๆ ลบเลือน ส่วนพวกเราน่ะเหรอ? ตราบใดที่ยังไม่ลบเม็มโมรี่ “ความทรงจำ” ก็จะคงอยู่ตลอดไป" หุ่นยนต์ทรงประสิทธิภาพตนหนึ่งของโลก กล่าวไว้

ทั้ง ลายเส้นละเมียด, เนื้อหามากชั้นเชิง, ความรู้สึกหม่นเศร้าที่บาดลึก อุราซาว่า ใช้สิ่งเหล่านี้ “เจียระไน” เพชร ของ โอซามุ ให้ส่องประกายได้อย่างน่าชื่นชม แต่ ณ ตอนนี้ บทโหมโรงเพิ่งเริ่มบรรเลง เพชรจะเจิดจรัสมากขึ้นหรือไม่ เป็นหน้าที่ของ อุราซาว่า ที่จักต้อง คารวะ ดวงวิญญาณ เท็ตสึกะ โอซามุ ให้ดีที่สุด


จาก https://rith99999.blogspot.com/2008/06/blog-post_22.html?m=1

<a href="https://www.youtube.com/v//bZYqxdPtrtw" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//bZYqxdPtrtw</a> 

https://youtu.be/bZYqxdPtrtw?si=H6vrLqFF4eaaJ2A5

78


พระคาถาสักกัตวา โอสถะปริตร ใช้สวดเป็นยาป้องกัน รักษาโรค

เชื่อกันว่าผู้ใดหมั่นสวดพระคาถาปริตรนี้ (มาจากบทสวดบทเต็ม อาฏานาฏิยปริตร) จะระงับโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งจะอายุยืนยาว คนโบราณเชื่อว่า ใช้เสกยากินแก้โรคก็ได้ และถ้าผู้ใดสวดเจริญอยู่เป็นนิจ นอกจากจะปราศจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ยังแคล้วคลาดจากภัยต่าง ๆ เช่น ราชภัย โจรภัย ฯลฯ อีกด้วย

 

บทสวดพระคาถา สักกัตตะวา

ต่อด้วยบทสวดสัจจะกิริยาและยังกิญจิ

 

สักกัตวา พุทธะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง

วะรัง หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะเตเชนะ

โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เมฯ

 

สักกัตวา ธัมมะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง

วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนัง ธัมมะเตเชนะ โสตถินา

นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เมฯ

 

สักกัตวา สังฆะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง

วะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ

โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ โรคา

วูปะสะเมนตุ เมฯ

 

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ

 

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก
วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง
พุทธะสะมัง ยีตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก
วิขขะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง
สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตะ เต ฯ

 

คำแปล

อนึ่ง บุคคลผู้ใดบูชาแก้วทั้ง 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้เป็นยาอันอุดม ย่อมคุ้มครองผู้นั้นให้พ้นจากทุกข์ภัยพยาธิทั้งปวง ด้วยอำนาจพระอุณหิสสวิชัยนี้ จะรักษาคุ้มครองให้ชีวิตของท่านเจริญสืบต่อไป ท่านจงรักษาไว้ให้มั่นอย่าให้ขาดเถิด


-ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
-พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
-ด้วยการกล่าวคำจริงนี้
-ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

-ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
-พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
-ด้วยการกล่าวคำจริงนี้
-ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

-ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
-พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
-ด้วยการกล่าวคำจริงนี้
-ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

 

รัตนะอย่า่งใดอย่า่งหนึ่งมากมาย บรรดามีในโลก รัตนะนั้นเสมอ ด้วยพระพุทธเจ้าหามีไม่ เพราะเหตุนั้น ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดี

รัตนะอย่า่งใดอย่า่งหนึ่งมากมาย บรรดามีในโลก รัตนะนั้นเสมอ ด้วยพระธรรมเจ้าหามีไม่ เพราะเหตุนั้น ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดี

รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมากมาย บรรดามีในโลก รัตนะนั้นเสมอ ด้วยพระสงฆเจ้า้หามีไม่ เพราะเหตุนั้น ขอท่า่นมีแต่ความสุขสวัสดี ฯ


จาก https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/90901-dhcha-


<a href="https://www.youtube.com/v//6ZS_rQ0fu_A" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//6ZS_rQ0fu_A</a> 

https://youtu.be/6ZS_rQ0fu_A?si=G1Wf6bbLOw1XqmFK

<a href="https://www.youtube.com/v//5dcYJHWsFZY" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//5dcYJHWsFZY</a> 

https://youtu.be/5dcYJHWsFZY?si=yh9M2orCsbbpASOL
79
เรื่องของมาลี ( สาวนอร์เวย์) ชาวพุทธต่างแดน

เป็นเรื่องราวชีวิตการปฏิบัติธรรมของหญิงชาวนอร์เวย์ผู้หนึ่ง ซึ่งได้พอเจอกับความทุกข์ในชีวิตอย่างหนัก และด้วยความอดทน วิริยะอุตสาหะ ตั้งอกตั้งใจพิจารณาทุกข์อย่างเต็มสติกำลัง จนในที่สุดก็ได้พบสัจธรรมในสรรพสิ่งทั้งปวง เป็นผลให้พ้นจากอำนาจแห่งความทุกข์และดำรงชีวิตอยู่ในกระแสโลกอ­ันเต็มไปด้วยทุกข์ได้อย่างสบายและปลอดภัย โดยไม่ได้ศึกษาทางพุทธมาก่อน และต่อมาเธอได้ศึกษาในทางพระพุทธศาสนา และเห็นผลแห่งการปฏิบัตินั้น

 หนังสือเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เป็นตัวอย่างอันดีว่า ธรรมะของพุทธองค์ หากตั้งใจอย่างจริงจัง มีศรัทธา อดทน วิริยะ ปฏิบัติอย่างถูกต้องตรงไปตรงมาแล้ว ย่อมเกิดผลต่อผู้ปฏิบัติไม่เลือกกาลเวลา สถานที่ บุคคล หรือเชื้อชาติแต่อย่างใดเลย

จัดทำโดย วัดสังฆบารมี ประเทศสวีเดน


<a href="https://www.youtube.com/v//PsilMPSDetw" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//PsilMPSDetw</a> 

https://youtu.be/PsilMPSDetw?si=6pjPxTc4qgMZi7Qi

<a href="https://www.youtube.com/v//XWXGP8NeqUQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//XWXGP8NeqUQ</a> 

https://youtu.be/XWXGP8NeqUQ?si=xnKoH7_HguRdJNF3

<a href="https://www.youtube.com/v//nzujbwMWnQA" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//nzujbwMWnQA</a> 

https://youtu.be/nzujbwMWnQA?si=AMkbIGLk5om90jJp

<a href="https://www.youtube.com/v//3nh1hZkuuYM" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//3nh1hZkuuYM</a> 

https://youtu.be/3nh1hZkuuYM?si=jZuQbXKWjCcXZRhI
80
“หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก” วิถีพระป่า มรดกธรรมหลวงปู่มั่น I คนค้นฅน The Explorer

พบกับเรื่องราวของ หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก ผู้สืบทอดวิถีปฏิบัติตามแนวทางของหลวงปู่มั่นและสร้างพิพิธภัณฑ์ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ณ วัดอุดมมงคลวนาราม หรือ วัดป่านาคำน้อย จังหวัดอุดรธานี เพื่อสืบสานและรักษา “วิถีพระป่า มรดกธรรมหลวงปู่มั่น” ให้คงอยู่ในแผ่นดินสืบไป . ร่วมติดตามการเดินทางสำรวจเรื่องราวชีวิตของ หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก ไปกับ The Explorer อันนา สุขสุกรี ได้ใน คนค้นฅน The Explorer

<a href="https://www.youtube.com/v//FwEuAVj3a0o" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//FwEuAVj3a0o</a> 

https://youtu.be/FwEuAVj3a0o?si=fHOyc_U2DEajubQw
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 [8] 9 10