ผู้เขียน หัวข้อ: นิทานคติ - ตั้งฉายาให้แมว  (อ่าน 1105 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
นิทานคติ - ตั้งฉายาให้แมว
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2015, 02:27:55 pm »


นิทานคติ - เรื่องชวนหัวในยุคราชวงศ์จีน ตอน ตั้งฉายาให้แมว
โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์

บ้านของฉีเหยี่ยนเลี้ยงแมวเอาไว้หนึ่งตัว เขามักจะคิดว่าแมวตัวนี้ไม่ใช่แมวธรรมดา ผิดแผกกับแมวตัวอื่นๆ จึงเรียกขานมันว่า “แมวพยัคฆ์”
       
       ต่อมาเมื่อมีสหายผู้หนึ่งทักท้วงขึ้นมาว่า “ชื่อพยัคฆ์ในสัตว์เลี้ยงนั้นดูดุร้ายเกินไป ทั้งอิทธิฤทธิ์ของเสือก็สู้มังกรไม่ได้ มิใยตั้งชื่อว่า ‘แมวมังกร’ ดีกว่า" ดังนั้นฉีเหยี่ยนจึงเปลี่ยนชื่อแมวของตนตามคำทักท้วงของสหาย
       
       จากนั้นเมื่อมีแขกมาที่บ้านและหยิบยกเรื่องชื่อ “แมวมังกร” ขึ้นมาพูดถึงก็กล่าวว่า จริงอยู่ที่มังกรนั้นมีอิทธิฤทธิ์มากกว่าเสือ แต่มังกรเมื่อเหาะเหินอยู่บนท้องฟ้า จำเป็นต้องอาศัยการหนุนเนื่องของหมู่เมฆ ทั้งเมฆยังอยู่เหนือมังกรเสียอีก มิสู้ตั้งชื่อแมวเป็น “แมวเมฆา” ดีกว่า
       
       หลังจากนั้นอีกไม่นานก็มีบัณฑิตอีกคนหนึ่งกล่าวทักท้วงขึ้นว่า “มวลเมฆาแม้จะสามารถครอบคลุมแผ่นฟ้าและผืนดินได้ทั้งหมดก็จริง แต่เมื่อมีสายลมพัดมา หมู่เมฆก็ฟุ้งกระจายแตกออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ดังนั้น เมฆจึงสู้ลมไม่ได้ ดังนั้นจึงควรจะเรียกแมวตัวดังกล่าว ‘แมววาตะ’ ถึงจะเหมาะสม”
       
       ทว่า ก็มีคนที่ทราบชื่อ “แมววาตะ” แล้วเกิดความสงสัยขึ้นอีกและเอ่ยขึ้นว่า “จริงอยู่ที่ลมพายุร้ายแรงก็จริง แต่บนผืนปฐพีนี้ก็มีผนังกำแพงที่สามารถจะคุ้มครองป้องกันให้มนุษย์สามารถอยู่ได้อย่างสงบสุขในบ้านเรือน ดังนั้นตั้งชื่อว่า ‘แมวกำแพง’ ถึงดูจะเข้มแข็งที่สุด”
       
       กระทั่งมีคนกล่าวขึ้นอีกว่า แม้ผนังกำแพงจะแข็งแกร่งเพียงไร ทว่า เหล่ามุสิกก็ยังสามารถเจาะกำแพงที่แข็งแกร่งเหล่านั้น สร้างเป็นรูเป็นถ้ำได้โดยกำแพงมิอาจจะตอบโต้อะไรกับมุสิกได้เลย ดังนั้นจึงควรเรียกแมวตัวนี้ว่า “แมวมุสิก”
       
       ในท้ายที่สุดจึงมีผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน กล่าวเตือนสติฉีเหยี่ยน เจ้าของแมวว่า “แท้จริงแล้วภารกิจในการจับมุสิกนั้นเป็นของแมว ใยจะต้องฟังคำผู้อื่นตั้งฉายาแมวตามสัตว์หรือสิ่งของอื่นให้เสียเอกลักษณ์ของแมวด้วย เพราะแมวแท้จริงแล้วก็คือแมว!”

เรียบเรียงจาก 《应谐录》โดย หลิว หยวนชิง (刘元卿), ราชวงศ์หมิง