ทางอมตะ
อปฺปมาโท อมตํปทํ
ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
อปฺปมตฺตา น มียนฺติ
เย ปมตฺตา ยถา มตา . . . ฯ ๒๑ ฯ
ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
ผู้ไม่ประมาท ไม่มีวันตาย
ผู้ประมาท ถึงมีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนตายแล้ว
Heedfulness is the way to the Deathless;
Heedlessness is the way to death.
The heedful do not die;
The heedless are like unto the dead.
ความต่าง
เอตํ วิเสสโต ญตฺวา
อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา
อปฺปมาเท ปโมทนฺติ
อริยานํ โคจเร รตา . . . ฯ ๒๒ ฯ
บัณฑิตรู้ข้อแตกต่าง
ระหว่างความประมาทกับความไม่ประมาท
จึงยินดีในความไม่ประมาท
อันเป็นแนวทางของพระอริยะ
Realizing this distinction,
The wise rejoice in heedfulness,
Which is the way of the Noble.
ผู้หมั่น
เต ญายิโน สาตติกา
นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ
โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ . . . ฯ ๒๓ ฯ
ท่านผู้ฉลาดเหล่านั้น หมั่นเจริญกรรมฐาน
มีความเพียรมั่นอยู่เป็นนิจศีล
บรรลุพระนิพพานอันเป็นสภาวะที่สูงส่ง
อิสระจากกิเลสเครื่องผูกมัด
These wise, constantly meditative,
Ever earnestly persevering,
Attain the bond-free, supreme Nibbana.
ผู้ขยัน
อุฏฺฐานวโต สติมโต
สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน
อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ . . . ฯ ๒๔ ฯ
ยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน
มีสติ มีการงานสะอาด
ทำงานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
เป็นอยู่โดยชอบธรรม ไม่ประมาท
Of him who is energetic, mindful,
Pure in deed, considerate, self-restrained,
Who lives the Dharma and who is heedful,
Reputation steadily increase.
เกาะ
อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน
สญฺญเมน ทเมน จ
ทีปํ กยิราถ เมธาวี
ยํ โอโฆ นาภิกีรติ . . . ฯ ๒๕ ฯ
ด้วยความขยัน ด้วยความไม่ประมาท
ด้วยความสำรวมระวัง และด้วยการข่มใจตนเอง
ผู้มีปัญญาควรสร้างเกาะ (ที่พึ่ง) แก่ตน
ที่ห้วงน้ำ (กิเลส) ไม่สามารถท่วมได้
By diligence, vigilance,
Restraint and self-mastery,
Let the wise make for himself an island
That no flood can overwhelm.
วันวัน-เอาแต่เมา
ปมาทมนุยุญฺชนฺติ
พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี
ธนํ เสฏฺฐํว รกขติ . . . ฯ ๒๖ ฯ
คนพาล ทรามปัญญา
มักมัวประมาทเสีย
ส่วนคนฉลาด ย่อมรักษาความไม่ประมาท
เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ
The ignorant, foolish folk
Indulge in heedlessness,
But the wise preserve heedfulness
As their greatest treasure.
อย่าอยากเมา
มา ปมาทมนุยุญฺเชถ
มา กามรติสนฺถวํ
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต
ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ . . . ฯ ๒๗ ฯ
พวกเธออย่ามัวประมาท
อย่ามัวเอาแต่สนุกยินดีในกามคุณอยู่เลย
ผู้ไม่ประมาท เพ่งพินิจตามเป็นจริงเท่านั้น
จึงจะบรรลุถึงความสุขอันไพบูลย์ได้
Devote not yourselves to negligence;
Have no intimacy with sensuous delights.
The vigilant, meditative person
Attain sublime bliss.
กำจัด
ปมาทํ อปฺปมาเทน
ยทา นุทติ ปณฺฑิโต
ปญฺญา ปาสาทมารุยฺห
อโสโก โสกินึ ปชํ
ปพฺพตฏฺโฐว ภุมฺมฏฺเฐ
ธีโร พาเล อเวกฺขติ . . . ฯ ๒๘ ฯ
เมื่อใดบัณฑิตกำจัดความประมาทด้วยความไม่ประมาท
เมื่อนั้นเขานับว่าได้ขึ้นสู่ "ปราสาทคือปัญญา"
ไร้ความเศร้าโศก สามารถมองเห็นประชาชน ผู้โง่เขลา
ผู้ยังต้องเศร้าโศกอยู่ เหมือนคนยืนบนยอดเขา
มองลงมาเห็นฝูงชนที่ยืนอยู่บนพื้นดินฉะนั้น
When banishing carelessness by carefulness,
The sorrowless, wise one ascends the terrace of wisdom,
And surveys the ignorant, sorrowing folk
As one standing on a mountain the grounding.
เมื่อเขาหลับ ก็จากไป
อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ
สุตฺเตสุ พหุชาคโร
อพลสฺสํ ว สีฆสฺโส
หิตฺวา ยาติ สุเมธโส . . . ฯ ๒๙ ฯ
ผู้มีปัญญา มักไม่ประมาท เมื่อคนส่วนมากพากันประมาท
และตื่น เมื่อคนส่วนมากพากันหลับอยู่
เขาจึงละทิ้งคนเหล่านั้นไปไกล
เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว วิ่งเลยม้าแกลบฉะนั้น
Heedful among the deedless,
Wide awake among those asleep,
The wise man advances
As a swift horse leaving a weak nag behind.
ผลความไม่ประมาท
อปฺปมาเทน มฆวา
เทวานํ เสฏฺฐตํ คโต
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ
ปมาโท ครหิโต สทา . . . ฯ ๓๑ ฯ
ท้าวมฆวานได้เป็นใหญ่กว่าทวยเทพ
เพราะผลของความไม่ประมาท
บัณฑิตจึงสรรเสริญความไม่ประมาท
และติเตียนความประมาททุกเมื่อ
By vigilance it was that
Indra attained th lordship of the gods.
Earnestness is ever praised,
Carelessness is ever despised.
ภัยความประมาท
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ
ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํ อณุํ ถูลํ
ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ . . . ฯ ๓๑* ฯ
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
เห็นภัยในความประมาท
ย่อมเผากิเลสเครื่องผูกมัดได้
เหมือนไฟเผาเชื้อทุกชนิด
The bhikkhu who delights in earnestness
And discerns dangers in negligence,
Advances, consuming all fetters,
Like fire burning fuel, both small and great.
* ภยทสฺสิ วา ที่ถูกเขียนภยทสฺสี วา แต่สระอี เป็น อิ ด้วยอำนาจ
ฉันทลักษณ์ อีกนัยหนึ่งเขียนติดกันเป็น ภยทสฺสิวา
ภัยความประมาท(2)
อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ
ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย
นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก . . . ฯ ๓๒ ฯ
ภิกษุผู้ไม่ประมาท
เห็นภัยในความประมาท
ไม่มีทางเสื่อม
ย่อมอยู่ใกล้นิพพานเป็นแน่แท้
The bhikkhu who delights in earnestness
And discerns dangers in negligence,
Is not liable to fall away;
He is certainly in the presence of Nibbana.
http://board.srthinth.info/DhammaPhatha02.html