ผู้เขียน หัวข้อ: ปี 2555 ที่กำลังจะผ่านไป...คุณตรวจสุขภาพหรือยัง  (อ่าน 1273 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ปี 2555 ที่กำลังจะผ่านไป...คุณตรวจสุขภาพหรือยัง
-http://health.kapook.com/view53268.html-


ปี 2555 ที่กำลังจะผ่านไป...คุณตรวจสุขภาพหรือยัง (ไทยโพสต์)

          พอถึงปลายปีทีไร มักได้ยินคำว่า "ตรวจสุขภาพประจำปีหรือยัง" ประเด็นดังกล่าวนี้ พญ.ธนีศา ภานุมาตรัศมี แพทย์ประจำศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.พญาไท 1 ชี้แจงว่า การตรวจสุขภาพคือสิ่งสำคัญ แต่ก็จะมีหลายท่านถามหมอบ่อย ๆ ว่า "สำคัญจริงหรือไม่ จำเป็นไหมที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี ทั้ง ๆ ที่ร่างกายในปัจจุบันก็ยังแข็งแรงดี" และบ่อยครั้งหลายท่านอาจจะสงสัยว่าในการตรวจสุขภาพแต่ละครั้งจะต้องตรวจอะไรบ้างและควรเริ่มจากสิ่งใด
   
          คุณหมอย้ำว่า หากจะกล่าวถึงเรื่องการตรวจสุขภาพ สำหรับบางคนอาจมิได้ทำเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่ทำเพื่อให้ได้อยู่กับคนที่เรารักไปนาน ๆ ซึ่งจะคิดเช่นนั้นก็ไม่ผิด เพราะเป้าหมายของการตรวจสุขภาพก็เพื่อเป็นการลดอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิต ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุที่ยืนยาวขึ้น หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เพื่อให้ทราบถึงอวัยวะในร่างกายของตนเองว่าอยู่ในเกณฑ์สูงต่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่ เพื่อที่จะได้ซ่อมแซมบำรุงรักษาได้ทันท่วงที
   
          "การตรวจสุขภาพ เป็นการตรวจทั่วไปเกี่ยวกับคนที่ไม่ได้มีอาการใด ๆ แต่ตรวจเพื่อเป็นสิ่งที่จะบอกเราว่า สภาพร่างกายของเราขณะนั้นเป็นอย่างไร แต่เรา ๆ ไม่ค่อยได้มีเวลาไปตรวจสุขภาพมากนัก ดูผิวเผินก็ไม่เป็นอะไร แต่หารู้ไม่ว่าการตรวจสุขภาพนั้นช่วยให้เราได้รู้ว่ามีโรคอะไรที่แอบแฝงอยู่โดยที่เราไม่รู้ และเร่งรีบรักษาเพื่อไม่ให้เกิดการลุกลามจนสายไป"



          คุณหมอ อธิบายด้วยว่า ในตารางตรวจสุขภาพมีรายการมากมาย แต่โดยทั่วไปการตรวจสุขภาพเบื้องต้นจะได้รับการตรวจเหล่านี้ เช่น

           การตรวจความดันโลหิต เพราะความดันโลหิตสูงอาจไม่แสดงอาการปวดศีรษะ แต่ในระยะยาวทำให้เกิดผลเสียต่อสมอง หัวใจ และไต การตรวจร่างกายทำให้พบและรักษาได้ก่อนจะเกิดปัญหาใหญ่ ๆ เช่น ไตวาย หรือเส้นเลือดในสมองแตก การรักษาทำได้โดยการรับประทานยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

           การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจเพื่อดูพยาธิสภาพของปอด หรือโรคที่สามารถตรวจพบได้จากการเอกซเรย์ปอด เช่น วัณโรค ถุงลมโป่งพอง เนื้องอกในปอด เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องสูดดมอากาศที่มีฝุ่นละอองควันพิษ หรือสูบบุหรี่เป็นประจำควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์ปอดปีละครั้ง นอกจากนี้การเอกซเรย์ปอดยังสามารถตรวจดูเงาของกระดูกในระดับทรวงอก และดูเงาของหัวใจ เพื่อตรวจขนาดของหัวใจและประเมินโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้
   
           การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตราซาวด์ในการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง เช่น การตรวจช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) เป็นการตรวจภายในช่องท้องเพื่อดูความผิดปกติของตับ ไต ถุงน้ำดี ม้าม ตับอ่อน, ตรวจช่องท้องส่วนล่าง หรืออุ้งเชิงกราน (Ultrasound Lower Abdomen or Pelvis) เพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง (อุ้งเชิงกราน) เช่น รังไข่ มดลูก ต่อมลูกหมาก หรือก้อนเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน การตรวจหาเชื้อและภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ การตรวจช่วยให้ทราบว่ามีการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายหรือไม่ หรือถ้ายังไม่พบการติดเชื้อ และไม่มีภูมิต้านทานจะได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรค
   
           การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC เป็นการตรวจวัดเซลล์เม็ดเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด เพื่อตรวจหาโรคเลือดหรือภาวะผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกาย ที่อาจแสดงออกมาให้เห็นได้จากความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

           ตรวจการทำงานของไต Creatinine เพื่อวัดระดับสารเคมีในเลือด ดูว่ามีภาวะไตเสื่อม หรือไตวาย

           ตรวจการทำงานของตับ ดูความผิดปกติในส่วนของการทำงานของตับ

           การตรวจระดับกรดยูริกเพื่อหาโรคเกาต์ และนอกจากนี้ ระดับกรดยูริกที่สูงกว่าปกติอาจก่อให้เกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นสาเหตุของโรคไตได้

           การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด FBS เพื่อดูว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือไม่

           การตรวจไขมันในเส้นเลือด เป็นการตรวจระดับไขมันในเลือดว่ามีปริมาณสูงเกินไปหรือไม่ โดยจะดูทั้งไขมัน คอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีที่ก่อให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดง

           การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งการตรวจอุจจาระเพื่อตรวจหาพยาธิต่าง ๆ และระบบขับถ่ายว่าผิดปกติหรือไม่
 
          "จากข้อมูลที่นำมาฝากนั้น คงทำให้หลาย ๆ ท่านได้รับคำตอบเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพกันไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีโรคอีกมากที่การตรวจสุขภาพไม่สามารถตรวจพบโรคได้ในระยะแรก ๆ ดังนั้นแม้ผลของการตรวจสุขภาพจะเป็นปกติดี ก็ยังควรใส่ใจรักษาสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ "อย่าลืมไปตรวจสุขภาพกันนะคะ" พญ.ธนีศา กล่าวสรุป


ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://thaipost.net/x-cite/241212/67054-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)