สมเด็จพระญาณสังวร พระฉายาว่า"สุวัฑฒโน" พระนามเดิมว่าเจริญ พระสกุล "คชวัตร" ประสูติที่บ้านเลขที่ 367ตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี
เมื่อวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคมพ.ศ.2456เวลาประมาณ10ทุ่มหรือประมาณ 4.00 น. เศษแห่งวันเสาร์ที่ 4 ตุลาตม พ.ศ.2456 ตามที่นับในปัจจุบัน โยมบิดาชื่อน้อย คชวัตร ถึงแก่กรรม พ.ศ.2465 โยมมารดาชื่อกิมน้อย คชวัตรถึงแก่กรรม พ.ศ.2508
บรรชน
บรรชนของสมเด็จมาจาก 4 ทิศ บิดามาจากสายกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ไต้ทางหนึ่ง ส่วนมารดามีเชื้อสายญวนทางหนึ่ง และจีนทางหนึ่ง บิดาคือนายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็กและนางแดงอิ่ม เป็นหลานปู่พระยา หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี และนางจีนเป็นชาวกรุงเก่ามารับราชการในกรุงเทพ ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่เมืองไชยาคราวหนึ่ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3ได้เป็นผู้หนึ่งที่ไปคุมเชลยที่เมืองพระตะบอง ได้ภริยาชาว เมืองไชยา 2 คน ชื่อทับ กับชื่อนุ่น และได้ภริยาชาวเมืองพุ่มเรียง 1 คน ชื่อแต้มต่อมาเมื่อได้รับคำสั่งให้ไปราชการปราบแขกที่มาตีเมืองตรังเมืองสงขลาจึงไปได้ภรรยาซึ่งเป็นพระธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง ( สน )และได้พาภริยามาตั้งครอบครัวอยู่ที่กรุงเทพ ฯ เวลานั้นพี่ชายของหลวงพิพิธภักดีเป็นที่พระพิชัยสงคราม เจ้าเมืองศรีสวัสดิ์และพระยาประสิทธิสงคราม ( ขำ ) เจ้าเมืองกาญจนบุรีเป็นอาของหลวงพิพิธภักดีจึงพาภรรยาไปตั้งครอบครัวอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพทำนา ตระกูลคชวัตร นายเล็กกับนางแดงอิ่ม มีบุตร 3 คน
1.นายน้อย คชวัตร
2.นายวร คชวัตร
3.นายบุญรอด คชวัตร
นายน้อย กับนางกิมน้อย คชวัตร มีบุตร 3 คนดังนี้
1.สมเด็จพระญาณสังวรฯ( เจริญ คชวัตร )
2.นายจำเนียร คชวัตร
3.นายสมุทร คชวัตร
โยมบิดา และโยมมารดา
...........นายน้อย คชวัตรโยมบิดาประกอบอาชีพเป็นเสมียนตรา อำเภอเมืองกาญจนบุรีเมื่อ พ.ศ.2445จนเป็นผู้รั้งปลัดขวา เมื่อ พ.ศ.2451ต่อมาไปตรวจราชการเกิดอาการป่วยมากจึงต้องลาออกจากราชการเมื่อหายดีแล้วก็ได้กลับเข้ารับราชการใหม่
...........จนปี พ.ศ.2456 จึงได้บุตรชายคนโตคือ สมเด็จพระญาณสังวรฯและได้ย้ายตำแหน่งเป็นปลัดขวาอำเภอวังขนาย( ท่าม่วง ) เมื่อปี พ.ศ.2458ได้สมัครเป็นสมาชิกเสือป่าได้มีโอกาสซ้อมรบเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ ซ้อมรบเสือป่าที่บ้านโป่งและนครปฐม เมื่อสมเด็จฯกรมพระยาวชิรญาณวโรรสเสด็จฯ เมืองกาญจนบุรีนายน้อยได้นำสมเด็จพระญาณสังวรฯ ขณะนั้นอายุเพียง 2 ขวบ เข้าเฝ้าด้วยต่อมาได้ไปรับราชการที่จังหวัดสมุทรสงคราม เกิดเจ็บป่วยจึงเดินทางกลับเมืองกาญจนบุรีเพื่อพักรักษาตัวและถึงแก่กรรมเมื่อมีอายุได้เพียง 38 ปี สมเด็จพระญาณสังวรฯได้นางเฮงผู้เป็นป้าเลี้ยงดูมาตั้งแต่เล็กเมื่อโยมบิดามารดาย้ายไปสมุทรสงครามก็ไม่ได้ตามไปด้วย อาศัยอยู่กับป้าที่เมืองกาญจนบุรี
การศึกษา
............สมเด็จพระญาณสังวรฯได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาเมื่อมีอายุได้ 7 ขวบที่โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆารามซึ่งอยู่ใกล้บ้าน ทรงเรียนที่ศาลาวัดจนจบชั้นสูงสุด คือประถม 3 ถ้าจะเรียนต่อ ระดับมัธยมต้องย้ายโรงเรียนไปเรียนที่วัดไชยชุมพลชนะสงคราม( วัดไต้ ).ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแต่ครูที่โรงเรียนวัดเทวสังฆารามชวนให้เรียนต่อที่โรงเรียนเพราะเปิดชั้นระดับประถมปีที่ 4 ( เท่ากับชั้น ม.1 )จึงทรงเรียนที่โรงเรียนเดิม พ.ศ.2468ทรงสอบได้เป็นลูกเสือเอก ต้องฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อเตรียมการเข้าซ้อมร่วมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎฯ ที่จะเสด็จพระราชดำเนินมาซ้อมรบเสือป่าที่นครปฐมแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎทรงสวรรคตก่อน
...........ขณะเรียนที่โรงเรียนเคยรับเสด็จฯเจ้านายหลายครั้งเช่น สมเด็จพระปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วรเดช
...........สมเด็จพระญาณสังวรฯ เรียนจนถึงชั้นประถม 5 ก็ทรงถึงทางตันเพราะเมื่อจบแล้วก็ไม่ทราบว่าจะไปเรียนต่อที่ไหน จึงออกจากโรงเรียน
บรรชาเป็นสามเณร
...........เมื่อ พ.ศ.2469มีน้าของท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆารามโยมป้าจึงชักชวนให้บวชเณรแก้บน จึงบรรชาเป็นสามเณรเมื่อมีอายุได้ 14 ปีมีพระครูอดุลสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาทวัดเหนือเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดเพราะคุ้นเคยกับหลวงพ่อและพระเณรเพราะทรงเรียนหนังสืออยู่ในวัดมาตั้งแต่เล็ก ทรงศึกษาธรรมสวดมนต์ จนเมื่อออกพรรษาหลวงพ่อชวนให้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม เพื่อต่อไปจะได้กลับไปช่วยสอนที่วัด ในปี พ.ศ.2470
ทรงศึกษาไวยากรณ์ที่วัดเสน่หา โดยมีพระสังวรวินัย(อาจ) เจ้าอาวาสขณะนั้นและมีอาจารย์ถวายการสอนเป็นพระเปรียญมาจากวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้ทรงเรียนแปลธรรมบท ใน พ.ศ.2472 อีกพรรษาหนึ่งแล้วเสด็จกลับไปประทับที่วัดเทวสังฆาราม
............เมื่อเสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนาในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูสังวรวินัยหลวงพ่อวัดเหนือ
ได้นำสมเด็จฯ มาฝากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์โดยได้อยู่ในความดูแลของพระครูพุทธมนต์ปรีชา ได้รับประทานฉายาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้าว่า " สุวัฑฒโน" ได้ทรงปฏิบัติตามระเบียบของวัด สวดมนต์
ศึกษาพระปริยัติธรรม ทรงสามารถสอบได้ดังนี้
- พ.ศ.2472 พระชนมายุ 17 ปี สอบได้นักธรรมตรี
- พ.ศ.2473 พระชนมายุ 18 ปี สอบได้นักธรรมโท และเปรียญ 3 ประโยค
- พ.ศ.2475 พระชนมายุ 20 ปี สอบได้นักธรรมเอก และเปรียญ 4 ประโยค
เมื่อ พ.ศ.2474 เป็นสามเณรองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานผ้าไตรจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่เสด็จพระราชดำเนินมาทอดกฐิน ณ วัดบวรนิเวศฯ
ทรงอุสมบทเป็นพระภิกษุ
..........เมื่อมีพระชนมายุครบอุปสมบท จึงเสด็จฯ มาอุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนพ.ศ.2476 โดยมีพระครูอดุลยสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินฐสมาจารย์ ( เหรียญ ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปราราม ( วัดหนองบัว )เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดหรุง เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
...........เมื่ออุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆารามจนออกพรรษาจึงเสด็จกลับวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอุปสมบทซ้ำเป็นพระธรรมยุต ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และเสด็จกลับมาอยู่วัดเหนืออีก 2 ปี ทรงสอบปริยัติธรรมได้ทุกปีดังนี้
- พ.ศ.2476 พระชนมายุ 21 ปี สอบได้เปรียญ 5 ประโยค
- พ.ศ.2477 พระชนมายุ 22 ปี สอบได้เปรียญ 6 ประโยค
- พ.ศ.2478 พระชนมายุ 23 ปี สอบได้เปรียญ 7 ประโยค
- พ.ศ.2481 พระชนมายุ 26 ปี สอบได้เปรียญ 8 ประโยค
- พ.ศ.2484 พระชนมายุ 29 ปี สอบได้เปรียญ 9 ประโยค
...........สมเด็จพระญาณสังวรฯ มีภารทางการงานและการศึกษาตั้งแต่ยังเป็นพระเปรียญตร ีเปรียญโท และเมื่อ มีวิทยฐานะเข้าเกณฑ์เป็นกรรมการตรวจข้อสอบนักธรรมและบาลีก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวงเรื่อยมา คือตั้งแต่นักธรรมตรี โท เอก ประโยค ป.ธ.3 - ป.ธ.9
............นอกจากนั้นยังมีภารกิจในการเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ เสด็จฯประเทศต่างๆ มากมายหลายประเทศ
การหนังสือสมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้เรียบเรียงหนังสือต่างๆไว้มาก ทั้งประเภทตำราทางการศึกษา ธรรมกถา ธรรมเทศนา และสารคดีอื่นๆ
............สมณศักดิ์
- พ.ศ. 2490 ทรงเป็นพระราชาคณะสามัญที่พระโสภณคณาจารย์
- พ.ศ. 2495 ทรงเป็นพระราชาคณะในพระราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2498 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพในพระราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2499 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมวราภรณ์
- พ.ศ. 2504 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่พระศาสนโสภณ
- พ.ศ. 2515 ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญษณสังวรฯ
- พ.ศ. 2532 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระญารสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 19
...........นับเป็นความภูมิใจของชาวกาญจนบุรีอย่างยิ่ง ที่สมเด็จพระญารสังวรฯ ได้รับพระราชทานดำรงตำแหน่งเป็น
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 ของประเทศไทย ขอให้ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน............
ที่มา
http://www.akefuture.com/know_detail.asp?id=30