ผู้เขียน หัวข้อ: พระปัจเจกพุทธเจ้า  (อ่าน 2509 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พระปัจเจกพุทธเจ้า
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 10:24:07 pm »
พระปัจเจกพุทธเจ้า
•  พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ซึ่งบำเพ็ญบารมี ๒ อสงไขยกำไรแสนกัป ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เช่นเดียวกับพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นพระพุทธศาสนา โดยมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเหมือนอย่างสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ก็ยังทรงมีพระคุณต่อโลกอันประมาณมิได้
•  พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยพระองค์เองที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน แต่มิได้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้น และไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในธรรมที่เป็นกำลังทั้งหลาย
•  พระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่มีบารมีแก่กล้าพอที่จะเข้าถึงธรรมอันประเสริฐถึงชั้นที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ และพระปัจเจกพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นเฉพาะในยุคที่ว่างพระพุทธศาสนาเท่านั้น ในกาลที่ว่างพระพุทธศาสนานั้น บุคคลทั้งหลายย่อมปราศจากศีลธรรม ประกอบแต่กรรมอันเป็นอกุสล พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่สามารถสั่งสอนผู้ที่ไร้ศีลธรรมให้บรรลุถึงธรรมอันประเสริฐยิ่งปานนั้นได้ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงพระมหากรุณาได้เฉพาะผู้ที่ทรงโปรดได้เท่านั้น ไม่ใช่โปรดได้ทั่วไปทั้งหมด
•  พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นทรงสงเคราะห์สัตว์โลกให้ตั้งอยู่ในทาน ศีล เมื่อสัตว์โลกเหล่านั้นละร่างกายไปแล้ว ก็ไปสู่สุคติภูมิ อันมีสวรรค์เป็นต้น ทรงสงเคราะห์บุคคลที่ตกทุกข์ได้ยาก แต่มีศรัทธาเต็มเปี่ยมให้ได้เป็นมหาเศรษฐี ด้วยการออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วทรงมารับบิณฑบาต กับบุคคลนั้น
•  ในกาลที่ว่างเว้นจากพระศาสนา พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ไม่มีใครเสมอเหมือน สมดังคำพระบรมศาสดาได้ประทานไว้ ในปัจเจกพุทธาปทาน ความว่า
"...ในโลกทั้งปวงเว้นเราเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าได้เลย..."
•  จึงได้มีพระคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าปรากฎขึ้นในโลก บูชาภาวนาสืบกันมาถึงสมัยหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง เป็นที่สุด ปรากฎผลเลอเลิศ ทั้งในด้านพระกรรมฐาน และลาภผลมั่นคงไม่มีประมาณ ต่อเนื่องมาไม่ขาดสาย
•  ลำดับนี้ ขอฟังปัจเจกพุทธาปทาน พระอานนท์เวเทหมุนี ผู้มีอินทรีย์อัน สำรวมแล้ว ได้ทูลถามพระตถาคต ผู้ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันว่า ทราบด้วยเกล้าฯ ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไรท่าน เหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นนักปราชญ์? ในกาลครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคสัพพัญญูผู้ประเสริฐ แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสตอบท่าน พระอานนท์ผู้เจริญ ด้วยพระสุรเสียงไพเราะว่า
•  พระปัจเจกพุทธเจ้า สร้างบุญในพระพุทธเจ้าทั้งปวง ยังไม่ได้โมกขธรรมในศาสนาของพระชินเจ้า ด้วยมุข คือ ความสังเวชนั้นแล
•  ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ มีปัญญาแก่กล้า ถึงจะเว้นพระพุทธเจ้าก็ย่อมบรรลุปัจเจกโพธิญาณได้แม้ด้วยอารมณ์นิดหน่อย
•  ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย
•  เราจักบอกคุณเพียงสังเขปนี้ ของท่านเหล่านั้น
•  ท่านทั้งหลาย จงฟังคุณของพระมหามุนีให้ดี
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปัจเจกพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 10:24:36 pm »
•  ท่านทั้งปวงปรารถนานิพพานอันเป็นโอสถวิเศษ จงมีจิตผ่องใส ฟังถ้อยคำดี อันอ่อนหวานไพเราะของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสรู้เอง คำพยากรณ์โดยสืบๆ กันมาเหล่าใด ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกัน โทษ เหตุ ปราศจากราคะ และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย บรรลุโพธิญาณด้วยประการใด
-พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีสัญญาในวัตถุอันมีราคะว่า ปราศจากราคะ มีจิตปราศจากกำหนัดในโลกอันกำหนัด ละธรรมเครื่อง เนิ่นช้า การแพ้และความดิ้นรน แล้ว จึงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ณ สถานที่ เกิดนั้นเอง ท่านวางอาญาในสรรพสัตว์ ไม่เบียดเบียนแม้ผู้หนึ่งในสัตว์ เหล่านั้น มีจิตประกอบด้วยเมตตา หวังประโยชน์เกื้อกูล เที่ยวไปผู้เดียว เปรียบเหมือนนอแรด ฉะนั้น ท่านวางอาญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียน แม้ผู้หนึ่งในสัตว์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาบุตร ที่ไหนจะปรารถนาสหาย เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคล ผู้เกิดความเกี่ยวข้อง ทุกข์ที่อาศัยความเสน่หานี้มีมากมาย ท่านเล็งเห็น โทษอันเกิดแต่ความเสน่หา จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ผู้มีจิตพัวพัน ช่วยอนุเคราะห์มิตรสหาย ย่อมทำตนให้เสื่อมประโยชน์ ท่านมองเห็นภัยนี้ ในความสนิทสนม จึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ความเสน่หาในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยว กันอยู่ ท่านไม่ข้องในบุตรและภริยา ดังหน่อไม้ไผ่ เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านเป็นวิญญูชนหวังความเสรี จึงเที่ยวไป ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น เหมือนเนื้อที่ไม่ถูกผูกมัด เที่ยวหาเหยื่อ ในป่าตามความปรารถนา ฉะนั้น ต้องมีการปรึกษากันในท่ามกลางสหาย ทั้งในที่อยู่ ที่บำรุง ที่ไป ที่เที่ยว ท่านเล็งเห็นความไม่โลภ ความเสรี จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
ฉะนั้น การเล่น (เป็น) ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางสหาย ส่วนความรักในบุตรเป็นกิเลสใหญ่ ท่านเกลียด ความวิปโยคเพราะของที่รัก จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านเป็นผู้แผ่เมตตาไปในสี่ทิศ และไม่โกรธเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมี ตามได้ เป็นผู้อดทนต่อมวลอันตรายได้ ไม่หวาดเสียว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น แม้บรรพชิตบางพวก และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน สงเคราะห์ได้ยาก ท่านเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรคนอื่น จึงเที่ยว ไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านปลงเครื่องปรากฏ (ละเพศ) คฤหัสถ์ กล้าหาญ ตัดกามอันเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์ เปรียบเหมือน ไม้ทองหลางมีใบขาดหมด เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงครอบงำอันตรายทั้งสิ้นเสียแล้ว พึงดีใจ มีสติเที่ยว ไปกับสหายนั้น ถ้าจะไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชาทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว ดังช้างมาตังคะ ละโขลง อยู่ในป่า ความจริง เราย่อมสรรเสริญสหายสมบัติ พึงส้องเสพสหายที่ ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน (เท่านั้น) เมื่อไม่ได้สหายเหล่านี้ ก็พึง คบหากับกรรมอันไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านเห็นกำไลมือทองคำอันผุดผ่องที่นายช่างทองทำสำเร็จสวยงาม กระทบกันอยู่ที่แขนทั้งสอง จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น การเปล่งวาจา หรือวาจาเครื่องข้องของเรานั้น พึงมีกับเพื่อนอย่างนี้ ท่านเล็งเห็นภัยนี้ต่อไป จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร หวาน อร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยสภาพต่างๆ ท่านเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ความจัญไร หัวฝี อุบาทว์ โรค กิเลสดุจลูกศร และภัยนี้ ท่านเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านครอบงำอันตรายแม้ทั้งหมดนี้ คือ หนาว ร้อน ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน แล้วเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านเที่ยวไปผู้เดียว เช่นนอแรด เปรียบเหมือน ช้างละโขลงไว้แล้ว มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว มีสีกายดังดอกปทุมใหญ่โต อยู่ในป่านานเท่าที่ต้องการ
-ฉะนั้น ท่านใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุติอันเกิดเองนี้ มิใช่ ฐานะของผู้ทำความคลุกคลีด้วยหมู่ จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านเป็นไปล่วงทิฏฐิอันเป็นข้าศึก ถึงความแน่นอน มีมรรคอัน ได้แล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลอื่นไม่ต้องแนะนำ เที่ยวไป ผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ท่านไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีโมโหดุจน้ำฝาดอันกำกัดแล้ว เป็นผู้ไม่มีตัณหาในโลก ทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น กุลบุตรพึงเว้นสหาย ผู้ลามก ผู้มักชี้อนัตถะ ตั้งมั่นอยู่ในฐานะผิดธรรมดา ไม่พึงเสพสหาย ผู้ขวนขวาย ผู้ประมาทด้วยตน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น กุลบุตรพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ ท่านรู้ ประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับ นอแรด ฉะนั้น ท่านไม่พอใจในการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่เพ็งเล็งอยู่ คลายยินดีจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวคำสัตย์ เที่ยวไป ผู้เดียว เช่นกับนอแรด
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปัจเจกพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 10:25:04 pm »
-ฉะนั้น ท่านละบุตร ภริยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก เผ่าพันธ์ และกามทั้งหลายตามที่ตั้งลง เที่ยวไปผู้เดียว เช่น กับนอแรด
-ฉะนั้น ในความเกี่ยวข้องนี้มีความสุขนิดหน่อย มีความ พอใจน้อย มีทุกข์มากยิ่ง บุรุษผู้มีความรู้ทราบว่า ความเกี่ยวข้องนี้ ดุจลูก ธนู พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น กุลบุตรพึงทำลายสังโยชน์ ทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลาทำลายข่าย แล้วไม่กลับมา ดังไฟไหม้เชื้อ ลามไปแล้วไม่กลับมา พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว รักษามนัส อันราคะไม่ชุ่มแล้ว อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงละเครื่องเพศคฤหัสถ์แล้ว ถึงความตัดถอน เหมือนไม้ทอง กวาวที่มีใบขาดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ไม่พึงทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้องเลี้ยงผู้อื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวในสกุล เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕ ประการ พึงบรรเทาอุปกิเลสเสียทั้งสิ้น ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษ อันเกิดแต่สิเนหาแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงทำสุข ทุกข์ โทมนัสและโสมนัสก่อนๆ ไว้เบื้องหลัง ได้อุเบกษา สมถะ ความหมดจดแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงปรารภ ความเพียรเพื่อบรรลุนิพพาน มีจิตไม่หดหู่ ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มี ความเพียรมั่น (ก้าวออก) เข้าถึงด้วยกำลัง เรี่ยวแรง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ไม่พึงละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติ ธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย เที่ยว ไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ ประมาท เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันพิจารณา แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ไม่พึงสะดุ้งในเพราะเสียง ดังสีหะ ไม่ขัดข้อง อยู่ในตัณหาและทิฏฐิ เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ในโลก ดุจดอกปทุม ไม่ติดน้ำ พึง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงเสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง เป็นราชาของเนื้อ มีปกติประพฤติข่มขี่ ครอบงำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงเจริญเมตตา วิมุติ กรุณาวิมุติ มุทิตาวิมุติ และอุเบกขาวิมุติทุกเวลา ไม่พิโรธด้วย สัตว์โลกทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงละราคะ โทสะและโมหะ พึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลายเสีย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้น ชีวิต พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น ชนทั้งหลายมีเหตุ เป็นประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน มิตรทั้งหลายไม่มีเหตุ หาได้ยากใน วันนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามองประโยชน์ตน ไม่สะอาด พึงเที่ยวไป ผู้เดียว เช่นกับนอแรด
-ฉะนั้น พึงมีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา มีปกติเห็นธรรม วิเศษ พึงรู้แจ้งธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์มรรคและโพชฌงค์ (พึงรู้แจ้ง องค์มรรคและโพชฌงค์) นักปราชญ์เหล่าใดเจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ ทั้งมวลได้ มีจิตโสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง เปรียบดังราชสีห์ เช่นกับนอแรด
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปัจเจกพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 10:25:29 pm »
•  พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ มีอินทรีย์ระงับ มีใจสงบ มีจิตมั่นคง มีปกติ ประพฤติด้วยความกรุณาในสัตว์เหล่าอื่น เกื้อกูลแก่สัตว์ รุ่งเรืองในโลกนี้และโลกหน้า เช่นกับประทีป ปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่สัตว์ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวงหมดแล้ว เป็นจอมแห่งชน เป็นประทีปส่องโลกให้สว่าง เช่นกับรัศมีแห่งทองชมพูนุท เป็นทักขิไณยบุคคลชั้นดีของโลก โดยไม่ต้องสงสัย บริบูรณ์อยู่เนืองนิตย์ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไปในโลกทั้งเทวโลก ชนเหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้ว ไม่ทำเหมือนดังนั้น ชนเหล่านั้นต้องเที่ยวไปในสังขารทุกข์บ่อยๆ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นคำไพเราะ ดังน้ำผึ้งรวงอันหลั่งออกอยู่ ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว ประกอบการปฏิบัติตามนั้น ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เห็นสัจจะ คาถาอันโอฬารอันพระปัจเจกพุทธชินเจ้าออกบวชกล่าวแล้ว คาถาเหล่านั้นพระตถาคตผู้สีหวงศ์ศากยราชผู้สูงสุดกว่านรชน ทรงประกาศแล้ว เพื่อให้รู้แจ้งธรรม คาถาเหล่านี้ พระปัจเจกเจ้าเหล่านั้นรจนาไว้อย่างวิเศษ เพื่อความอนุเคราะห์โลก อันพระสยัมภูผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อยังความสังเวช การไม่คลุกคลีและปัญญาให้เจริญ ฉะนี้แล
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปัจเจกพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 10:25:54 pm »
คำถามเกี่ยวกับพระปัจเจกพุทธเจ้า

•  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวโดยส่วนแห่งบรรพชาอย่างไร?
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดกังวลในฆราวาส ตัดกังวลในบุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ ตัดกังวล ในความสั่งสม ปลงผมและหนวดแล้ว ครองผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความ เป็นผู้ไม่มีกังวล เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เดินไป พักผ่อน รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เดียวโดยส่วนแห่งบรรพชาอย่างนี้
•  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะอรรถว่าไม่มีเพื่อนสองอย่างไร?
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้เดียวเสพอาศัยเสนาสนะ คือ ป่าและป่าชัฏ อันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากลม แต่ชนผู้สัญจรไปมา สมควรทำกรรม ลับแห่งมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่ง ผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐาน จงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เดินไป พักผ่อน รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า ผู้เดียวเพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อนสองอย่างนี้
•  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะอรรถว่าละตัณหาอย่างไร?
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้เดียวไม่มีใครเป็นเพื่อนอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิต ไปอยู่ เริ่มตั้งความเพียรมาก กำจัดมารพร้อมทั้งเสนามารที่ไม่ปล่อยสัตว์ให้พ้นอำนาจ เป็นพวก พ้องของผู้ประมาท ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งตัณหาอันมีข่าย แล่นไป ซ่านไป ในอารมณ์ต่างๆ บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน ย่อม ไม่ล่วงพ้นสงสาร อันมีความเป็นอย่างนี้และมีความเป็น อย่างอื่น. ภิกษุผู้มีสติ รู้โทษนี้และตัณหาเป็นแดนเกิด แห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น เว้นรอบ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะอรรถว่าละตัณหาอย่างนี้
•  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียวอย่างไร?
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละราคะ เสียแล้ว ชื่อว่าผู้เดียวเพราะปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละโทสะเสียแล้ว ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละโมหะเสียแล้ว ชื่อว่าผู้เดียวเพราะไม่มี กิเลสโดยส่วนเดียว เพราะท่านละกิเลสเสียแล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียวเพราะ ปราศจากราคะโดยส่วนเดียวอย่างนี้
•  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะไปตามเอกายนมรรคอย่างไร?
(สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘)
ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเห็นธรรมเป็นส่วนสุดแห่งความสิ้นไป แห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยพระทัยเกื้อกูล ย่อมทรงทราบ ธรรมอันเป็นทางเป็นที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว. พุทธาทิบัณฑิต ข้ามก่อนแล้ว จักข้ามและข้ามอยู่ซึ่งโอฆะด้วยธรรมอันเป็น ทางนั้น ดังนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียวเพราะไปตามเอกายนมรรคอย่างนี้
•  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียวเพราะตรัสรู้ซึ่งปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างไร?
(ญาณในมรรค ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญา เป็นเครื่องพิจารณา ปัญญาเป็นเครื่องเห็นแจ้งสัมมาทิฏฐิ)
ท่านกล่าวว่า ปัญญาเครื่องตรัสรู้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตรัสรู้แล้ว ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยปัจเจกพุทธญาณ
-ตรัสรู้ว่า สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
-ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็น ปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและ มรณะ
-ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะ ดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทาน ดับภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับชราและมรณะจึงดับ. ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ตรัสรู้ว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิด อาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับอาสวะ
-ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญ ตรัสรู้เหตุเกิด ความดับ โทษและอุบายเป็น เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ... แห่งอุปาทานขันธ์ ๖ ตรัสรู้เหตุเกิด ความดับ โทษและ อุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งมหาภูตรูป ๔
-ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ตรัสรู้ ตามตรัสรู้ ตรัสรู้พร้อม ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้ ควรตามตรัสรู้ ควรตรัสรู้พร้อม ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้ง ทั้งหมดนั้น ด้วยปัจเจกโพธิญาณ เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า ผู้เดียวเพราะตรัสรู้ ปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างนี้
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปัจเจกพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 10:26:19 pm »
คาถาบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า
สัพเพ ปัจเจกะสัมพุทธา นิโรธะฌานะโกวิทา นิราละยา นิราสังกา อัปปะเมยยา มะเหสะโย  ทูเรปิ วิเนยเย ทิสสะวา สัมปัตตา ตังขะเณนะ เต สันทิฏฐิกะผะเล กัตตะวา สะทา สันติง กะโรนตุ โน
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งปวง ทรงปรีชาญาณในนิโรธสมาบัติและฌาณสมาบัติ
ทรงปราศจากความกำหนัดยินดี หมดความรังเกียจ ทรงคุณอันหาประมาณมิได้ ทรงแสวงหาคุณอันประเสริฐ ทรงมีมหาทานบารมีเป็นเลิศ
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านี้ เห็นหมู่เวไนยสัตว์แม้ในที่ใกล้ไกล ก็ทรงพระเมตตาเสด็จไปช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้น  ให้ได้รับประโยชน์โดยพลัน โปรดประทานความสงบร่มเย็นทั้งทางโลกและทางธรรม แก่พวกข้าพระองค์ในกาลทุกเมื่อเถิด.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)