ผู้เขียน หัวข้อ: แง่คิดดีๆ จากชายชราผู้จากไป โดย พิษณุ นิลกลัด  (อ่าน 1013 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


แง่คิดดีๆ จากชายชราผู้จากไป
โดย พิษณุ นิลกลัด

ว่ากันว่าเรื่องนี้ คุณ พิษณุ นิลกลัดเขียน ลงใน
หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ แล้วมีผู้นำมาส่งต่อกันเป็น
FWM:ต่อๆกัน และ ล่าสุดผมเจอ ในพันทิป จากที่
คุณ :aaa_a...ครับผม โพสต์ไว้เลยเก็บมาฝากกัน

สัปดาห์สุดท้ายของปี ๒๕๔๘
ผมไปงานสวดและงานเผาศพผู้ชายวัย ๘๑ ปีที่ผม
รู้จักเขามายาวนานถึง ๓๐ ปี ไม่ใช่ญาติ แต่สนิทนัก
รักใคร่เสมือนญาติ ก่อนเสียชีวิตไม่กี่วันเขาสั่งลูก
และภรรยาแบบคนไม่ครั่นคร้ามกับความตายว่า
สวดสามวัน...แล้วเผาไม่ต้องบอกใครให้วุ่นวาย
อย่าเศร้า อย่าร้องไห้ ทุกคนต้องมีวันนี้...เพียงแต่
เขาอยู่หัวแถวเลยต้องไปก่อน...ก็เท่านั้นเอง
แล้วลูกเมียก็ทำตามคำสั่ง คือ สวดสามวัน แล้ว เผา
งานสวด ๓ คืนมีคนฟังพระสวดคืนละ ๑๔ คนคือเมีย
ลูก หลาน เขย สะใภ้ และผมซึ่งเป็นคนนอก
เป็นงานศพที่มีคนไปร่วมงานน้อยที่สุดเท่าที่ผมเคย
ไปฟังสวดมา วันเผามีเพิ่มเป็น ๑๗ คน สามคนที่เพิ่ม
เป็นเพื่อนบ้านที่เคยคุยด้วยเกือบทุกเย็นคนหนึ่ง
เป็นแม่ค้าล็อตเตอรี่ที่เคยยืมเงินแล้วไม่มีสตังค์จ่าย
เลยเอาล็อตเตอรี่ทยอยผ่อน ใช้หนี้แทนเงินงวดละ
สองใบคนหนึ่ง

และคนสุดท้ายเป็นหญิงที่ผู้ตาย เคยผูกปิ่นโตด้วยทุก
มื้อเย็น ทั้งสามคนบอกว่าเกือบมาไม่ทันเผา
เคราะห์ดี ที่แวะไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่บอกว่า
เสียชีวิตไปแล้ว ๓ วัน
หลังฌาปนกิจ...พระกระซิบถามเจ้าหน้าที่วัดว่า...เจ้าของ
งานจ่ายเงินค่าศาลาสวด พระอภิธรรม แล้วหรือยัง
พระท่านคงไม่เคยเห็นงานศพที่มีคนน้อยแบบที่ผมก็รู้สึก
ตั้งแต่สวดคืนแรก...
(คงอดเสียว ๆ ว่าจะไม่ได้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของวัด)

จริงๆ แล้วผู้ตายเป็นคนค่อนข้างมีสตังค์
ทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจนเกษียณอายุ...
ในตำแหน่งหัวหน้าหน่วย
แต่ด้วยความที่รักและศรัทธา อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์
อดีตผู้ว่าการแบงค์ชาติ
จึงดำเนินชีวิตแบบไม่ปรารถนาให้ใครเดือนร้อน
แม้กระทั่ง...วันตาย
ผมสนิทกับเขาเพราะเขามีความฝันในวัยเด็กอยากเป็น
นักประพันธ์แบบไม้เมืองเดิม ที่เขาเคยนั่งเหลาดินสอ
และวิ่งซื้อโอเลี้ยงให้
เมื่อตัวเองเป็นนักเขียนไม่ได้ พอมาเจอะผมที่เป็นนักข่าว
ก็เลยถูกชะตาและให้ความเมตตา
การมีโอกาสได้พูดได้คุยกับเขาตามวาระโอกาส...
ตลอด ๓๐ ปีทำให้ได้แง่คิดดีๆ มาใช้ในการดำรงชีวิต

วันหนึ่งเขารู้ว่าขโมยยกชุดกอล์ฟของผมไปสองชุด
ราคา๔ แสนกว่าบาท เขาปลอบใจผมว่า..."ของที่หาย
เป็นของฟุ่มเฟือย สำหรับเรา แต่มันอาจเป็นของจำเป็น
สำหรับลูกเมีย ครอบครัวเขา ...คิดซะว่าได้ทำบุญ จะ
ได้ไม่ทุกข์"

เขามีวิธีคิด 'เท่ๆ' แบบผมคิดไม่ไ ด้มากมาย เป็นต้นว่า
สุขและทุกข์อยู่รอบตัวเรา อยู่ที่ว่าเราจะเลือกหยิบ
เลือกคว้าอะไร (มาใส่ตัว)

คงเป็นเพราะเขาเลือกคว้าแต่ความสุข ช่วงปีสุดท้าย
ของชีวิตเขาต่อสู้กับโรคชรา เบาหวาน หัวใจ ความดัน
เกาต์ และไตซึ่งทำงานเพียง ๕ เปอร์เซ็นต์โดยไม่
ปริปากบ่น แถมยัง สามารถให้ลูกชายขับรถพาเที่ยว
ในวันหยุดสุดสัปดาห์โดยที่ตัวเองต้องหิ้วถุงปัสสาวะ
ไปด้วยตลอดเวลาเนื่องจากไตไม่ทำงาน ปัสสาวะเองไม่ได้

๖ เดือนสุดท้ายของชีวิตต้องนอนโรงพยาบาลสามวัน
นอนบ้านสี่วันสลับกันไป เวลาลูกหลาน หรือเพื่อน
ของลูกรวมทั้งผมด้วยไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล เขามีแรง
พูดติดต่อกันไม่เกิน ๑๐ นาที แต่ ๑๐ นาทีที่พูดมีแต่เรื่อง
สนุกสนานเรียกรอยยิ้มและเสียงหัวเราะจากคนไป
เยี่ยมไข้ ทุกคนพูดตรงกันว่า
"คุณตาไม่เห็นเหมือนคนป่วยเลย ตลกเหมือนเดิม"

พอแขกกลับ ลูกหลานถามว่าทำไมคุยแต่เรื่องตลก
เขาตอบว่า...'ถ้าคุยแต่เรื่องเจ็บป่วย วันหลังใครเขาจะ
อยากมาเยี่ยมอีก' เขาเป็นคนชอบคุยกับผู้คนไม่ว่า
จะอยู่บนเตียงคนไข้หรืออยู่บนรถแท็กซี่ บ่อยครั้งที่
นั่งรถถึงหน้าบ้านแล้ว แต่สั่งให้โชเฟอร์ขับวนรอบ
หมู่บ้านเพราะยังคุย ไม่จบเรื่อง แล้วจ่ายเงินตามมิเตอร์

๔ เดือนสุดท้ายของชีวิตแพทย์ที่รักษาโรคไตมาตั้งแต่
สมัยเป็นแพทย์อินเทิร์น จนกระทั่งเป็นหัวหน้าแผนกแนะนำ
ให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลให้แข็งแรงแล้วค่อยกลับบ้าน
แต่อยู่ได้ ๔ วันเขาวิงวอนหมอว่าขอกลับบ้าน หมอซึ่งรักษา
กันมา ๑๖ ปีไม่ยอม...

เขาพูดกับหมอด้วยความสุภาพว่า 'ขอให้ผมกลับบ้านเถอะ
ผมอยากฟังเสียงนกร้อง คุณหมอไม่รู้หรอกว่าคนคิดถึงบ้าน
มันเป็นอย่างไร เพราะ พอเสร็จงานหมอก็ได้กลับบ้าน'
(แต่ผมยังอยู่โรงพยาบาลต่อ...)
หมอได้ฟังแล้วหมดทางสู้ ยอมให้คนไข้กลับบ้าน
แต่กำชับให้มาตรวจตรงตามเวลานัดทุกครั้ง

๑ เดือนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
เขาสูญเสียการควบคุมอวัยวะของร่างกายเกือบทั้งหมด
เคลื่อนไหวได้อย่างเดียวคือ ..."การกระพริบตา"
แต่แพทย์บอกว่าสมองของเขายังดีมาก
เวลาลูกเมียพูดคุยด้วยต้องบอกว่า 'ถ้าได้ยินพ่อกระพริบตา
สองที' เขากระพริบตาสองทีทุกครั้ง เห็นแล้วทั้งดีใจ และ
ใจหาย เขายังรับรู้ แต่พูดไม่ได้ นี่กระมังที่เรียกว่า
"ถูกขังในร่างของตนเอง" สิบวันก่อนพลัดพราก ภรรยา
กระซิบข้างหูว่า 'พ่อสู้นะ' เขาไม่กระพริบตาซะแล้วทั้งๆ
ที่ก่อนหน้านี้ สองเดือนเคยตอบว่า 'สู้' เขาสู้กับสารพัดโรค
ด้วยความเข้าใจโรค สู้ชนิดที่หมอออกปากว่า 'คุณลุงแกสู้จริงๆ'

ตอนที่วางดอกไม้จันทน์
ผมนึกถึงประโยคที่แกพูดกับลูกเมื่อสี่เดือนก่อนว่า
โรคภัยมันเอาร่างกายของพ่อไปแล้ว
อย่าให้มันเอาใจของเราไปด้วย'

'แง่คิดดีๆ จากชายชราที่จากไป'
สอนให้เรารู้ว่า...

เราเกิดมาพร้อมกับจิตใจบริสุทธิ์ และมันสมองมหัศจรรย์
ที่จะสามารถเรียนรู้ แยกแยะเรื่องดีๆและสิ่งร้ายๆในชีวิต
จงใช้โอกาสดีๆที่ร่างกายและจิตใจของเรา
ยังทำอะไรๆได้อย่างที่สมองสั่ง

จงเรียนรู้ และสร้างประโยชน์สุข
ให้กับตนเองและผู้อื่นอย่างพอเพียง
และดำรงชีวิตอย่างพอเพียงทางเศรษฐกิจ
หากทุกๆครั้งที่เรียนรู้ เราล้ม เราพลาด...
อาจจะรู้สึกท้อบ้างในบางที แม้ไม่มีกำลังกายที่จะลุก
ในทันที แต่ข้อให้มีกำลังใจที่จะสู้ต่อไป

ถ้าเราเรียนรู้...ก็จะทำให้เราพบว่า การล้มหรือพลาดครั้ง
ต่อไปว่า..."เราจะไม่เจ็บเท่าเดิม"

เพจ G+บูชา ธรรมาภิบาล
๘  สิงหาคม  ๒๕๕๘