อีกประเด็นหนึ่ง คือ การพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ของไทยในเรื่องระบบเอทีเอ็ม มักเปิดเผยให้ประชาชนรับทราบ ซึ่งแน่นอนว่า กลุ่มที่คอยโกง ก็จะรับรู้ความเคลื่อนไหว รวมทั้งการป้องกันไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้น ใครที่มีบัตรเอทีเอ็ม จึงจำเป็นต้องมีความรู้ เรื่องรูป แบบการทุจริต และวิธีป้องกันไว้ด้วย เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่ง มาจากผู้ใช้บัตรไม่ใส่ใจ ไม่ดูแลความปลอดภัยของตัวเองเท่าที่ควร
ฟากรัฐบาลเอง ก็เร่งที่จะผลักดัน “กฎหมายการติดตามทวงหนี้อย่างเป็นธรรม” ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด เพื่อลดปัญหาการติดตามทวงหนี้ของเจ้าหนี้ที่ไม่เป็นธรรมกับลูกหนี้ในหลาย ๆ ลักษณะ ตั้งแต่ข่มขู่ ทุบตี และร้ายแรงถึงขั้นเอาชีวิต ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่มีกฎหมายใดเข้ามาดูแลการทวงหนี้โหด มีเพียงแนวปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้ของธปท. สำหรับการดำเนินงานของสถาบันการเงินเท่านั้น และยังไม่มีหลักเกณฑ์ใดครอบคลุมถึงการกระทำของผู้ที่รับจ้างติดตามทวงหนี้ ดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะ หรือมีหน่วยงานใดกำกับดูแลโดยตรง
ดังนั้น รัฐจึงเห็นว่าสมควรที่จะมีกฎหมายเพื่อกำกับดูแลผู้ที่ติดตามทวงถามหนี้ พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการติดตามทวงหนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และมีมาตรฐาน รวมทั้งมีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนอย่างชัดเจน เพื่อสร้างมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลังได้เสนอร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจบัตรเครดิต พ.ศ. ... ไปแล้ว และได้รับความเห็นชอบจากครม.ไปก่อนหน้านี้แล้ว รวมถึงได้เสนอร่างพ.ร.บ.การติดตามการทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ....ควบคู่ไปด้วย ซึ่งคาดว่าจะ เสนอเข้า ครม.พิจารณาได้ในเร็ว ๆ นี้
สำหรับ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. การติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม ประกอบด้วย กำหนดให้ผู้ที่รับจ้างจากผู้ให้ สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ ในการติดตามทวงถามหนี้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ หากเป็นการติดตามหนี้โดยเจ้าหนี้ผู้ให้สินเชื่อโดยตรงไม่ต้องจดทะเบียน
ห้าม ไม่ให้ผู้ติดตามหนี้ ติดต่อผู้ใด ที่ไม่ใช่ลูกหนี้ เพื่อติดตามทวงถามหนี้ และติดต่อบุคคลอื่น ให้ทำได้เพื่อติดต่อสอบถามสถานที่ติดต่อลูกหนี้เท่านั้น รวมทั้งกำหนดวิธีปฏิบัติในการติดต่อกับบุคคลอื่นไว้ เช่น จำกัดช่วงเวลาติดต่อไม่ว่าจะติดต่อทางโทรศัพท์ โทรสาร หรือบุคคล โดยต้องไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ ห้ามทำการใดที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อติดตามทวงถามหนี้ ของลูกหนี้ เป็นต้น
กำหนดวิธีปฏิบัติการติดต่อกับลูกหนี้ และข้อห้ามในการติดตามทวงถามหนี้ โดยวิธีปฏิบัติในการติดต่อกับลูกหนี้ เช่น จำกัดช่วงเวลาติดต่อ ไม่ว่าจะติดต่อทางโทรศัพท์ โทรสาร หรือบุคคล โดยให้ติดต่อกับผู้ บริโภคได้ตามสถานที่ที่ลูกหนี้แจ้งไว้ เป็นต้น รวมถึงข้อห้ามในการติดตามทวงถามหนี้ เช่น ห้ามผู้ติดต่อกระทำในลักษณะที่เป็นการละเมิด และคุกคาม และห้ามผู้ติดตามหนี้กระทำการในลักษณะที่เป็นเท็จ รวมถึงห้ามผู้ติดตามหนี้ติดตามทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม
กำหนด ให้มีคณะกรรมการกำกับการติดตามทวงถามหนี้ โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ มีอำนาจและหน้าที่ในการกำกับดูแลการติดตามทวงถามหนี้ของผู้ติดตามหนี้ ออกประกาศหรือคำสั่ง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้ รับเรื่องร้องเรียนและวินิจฉัย เป็นต้น และให้สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการดังกล่าว
เมื่อประชาชนมีความรู้ ตระหนักถึงสิทธิอันพึงมีพึงได้ของตัวเอง และระมัดระวังตัวจากมิจฉาชีพ ขณะที่รัฐก็พยายามดูแลผู้ประกอบการทั้งในส่วนของธนาคารและที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) ให้อยู่ภายใต้กฎ กติกา และมาตรฐานเดียวกัน เชื่อว่า จะเป็นภูมิคุ้มกันชั้นดี ที่ทำให้เหล่ามิจฉาชีพอยู่ยากขึ้น แต่สิ่งสำคัญ ไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัว หรือรหัสบัตรเครดิต หรือเอทีเอ็มกับคนอื่น และอย่าไว้ใจใคร เป็นไปได้ ควรเปลี่ยนรหัส เอทีเอ็มบ่อย ๆ
หลากวิธีกลโกงบัตรเครดิตในประเทศไทย1.การ ใช้อุปกรณ์อ่านข้อมูลจากแถบแม่เหล็ก (เครื่องสกิมเมอร์) คัดลอกข้อมูลส่วนตัวที่บันทึกในแถบแม่เหล็กบนบัตรเครดิต แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปทำบัตรปลอมและนำบัตรปลอมนั้นไปซื้อสินค้าหรือบริการ
2.การ ขโมยบัตรเครดิตหรือนำบัตรเครดิตที่สูญหายไปใช้โดยเจ้าของบัตรไม่รู้ตัว ดังนั้น หากพบว่าบัตรเครดิตสูญหายหรือถูกขโมย ให้รีบติดต่อสถาบันการเงิน ผู้ออกบัตรเครดิตทันทีเพื่อขออายัดบัตร เพราะหากผู้อื่นนำไปใช้ ผู้ถือบัตรจะต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินที่เกิดขึ้น
3.การปลอมแปลง เอกสารสำคัญเพื่อสมัครบัตรเครดิต ไม่ว่าจะเป็นลายเซ็น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน สลิปเงินเดือน เพื่อหลอกลวงให้สถาบันการเงินผู้ออกบัตรเครดิตหลงเชื่อ และนำบัตรเครดิตนั้นไปใช้จ่ายในนามของท่าน ทำให้ผู้ที่ถูกแอบอ้างเดือดร้อนเพราะถูกเรียกเก็บหนี้ที่ตน ไม่ได้ก่อ
ข้อแนะนำในการป้องกันกลโกงบัตรเครดิต1.ควร เก็บรักษาบัตรเครดิต บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ และเอกสารสำคัญอื่น ๆ ไว้ในที่ที่ปลอดภัย และไม่มอบเอกสารดังกล่าวให้กับผู้ไม่น่าไว้ใจ
2.ควรจดหมายเลขที่บัญชีบัตรเครดิตและหมายเลขโทรศัพท์ของแผนกบริการไว้ในที่ปลอดภัย (ไม่ควรเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์)
3.เพื่อ ป้องกันกลโกงแบบสกิมมิ้ง หากจ่ายค่าสินค้าหรือบริการด้วยบัตรเครดิต ท่านควรอยู่ ณ จุดที่พนักงานทำรายการอยู่ หรืออยู่บริเวณใกล้ ๆ ระยะที่สังเกตได้
4.หลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตในร้านค้าที่มีความเสี่ยงหรือมีข่าวเรื่องการทุจริต
5.ควร ตรวจสอบความถูกต้องของรายการใช้จ่ายในสลิป บัตรเครดิต เช่น จำนวนเงิน วันที่ทำรายการ เลขที่บัญชี ทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต และควรเก็บสำเนาสลิปบัตรเครดิตเอาไว้เพื่อใช้ตรวจกับใบแจ้งยอดบัญชีว่าถูก ต้องและตรงกัน หากพบรายการผิดพลาด ต้องรีบแจ้งผู้ออกบัตรเครดิตทันที
6.ระมัด ระวังการใช้บัตรเครดิตเบิกเงินผ่านตู้เอทีเอ็มที่มีลักษณะน่าสงสัยว่าอาจมี การลักลอบติดตั้งอุปกรณ์ รวมทั้ง ในขณะที่กดรหัสเอทีเอ็มต้องระวังไม่ให้ผู้อื่นเห็นด้วย
7.ควรเลือกซื้อสินค้าหรือบริการทางอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้
Credit :