ผู้เขียน หัวข้อ: The Buddha in the Eyes of Eminent Scholars พระพุทธเจ้าในสายตานักปราชญ์โลก  (อ่าน 17908 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




โมทนพจน์, คำนิยม, คำนำ
 

PREFACE

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

Homage to
the Blessed One, the Perfect One,
the Fully-Enightened One.
 

The Buddha in the Eyes of Eminent Scholars

 พระพุทธเจ้าในสายตานักปราชญ์โลก

Beyond Words / พระคุณสุดพรรณา

O Lord ! you are the wise, the pure, the pious and the ancient above al others in austerity.

O Lord ! you destroyed evils and discarded anger, you are the omniscient.

O Lord ! you conquered Mara, you are the blissful and you condemned the unholy and false ways.

O Lord ! your fwwt are marked with the thousand spoked wheels.

I do not have thousand tongues ! How shall I praise thee.

Sitalai Sattana, the Tamil Buddhist Poet

(2nd Century’ AD) in “Manimekhalai”

ข้าแต่ ภควันต์ ! พระองค์เป็นผู้ทรงพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระกรุณาคุณ เป็นปฐมาจารย์ก่อนใครในการบำเพ็ญเพียรเผากิเลส ข้าแต่ ภควันต์ ! พระองค์ได้ทำลายความชั่วบาป และขจัดความโกรธได้แล้ว พระอง๕์ทรงเป็นพระสัพพัญญู ข้าแต่ ภควันต์ ! พระองค์ทรงชนะหมู่มาร พระองค์เสวยวิมุตติสุข และทรงตำหนิปฏิปทาแบบชาวบ้าน และหนทางที่ผิดพลาดทั้งหลาย ข้าแต่ ภควันต์ ! พระองค์ผู้มีพระบาทประดับด้วยจักร มีซี่ตั้งพัน ข้าพระองค์ หาได้มีลิ้นเป็นพันไม่ ไฉนเลยจะกล่าวสรรเสริญพระคุณของพระองค์ได้หมดสิ้น

สีตไล สัตตนา มหากวีพุทธชาวทมิฬ (ศตวรรษที่ ๒)

ในวรรณกรรมพุทธภาษาทมิฬชื่อ “มณีเมขไล”


The Incomparable One / หาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้
The Saviour of the world

Prince Siddhartha styled on earth

In the earth and heavens and hells incomparable

All-honoured, wishes, best, most pitiful,

The teacher of Nirvana and Law

Sir Adwin Arnold in “The light of Asia“

พระบรมศาสดา ผู้รื้อขนสรรพสัตว์ออกจากทุกข์ เจ้าฟ้าชายสิทธารถ เยื้องย่างอย่างสง่างามบนพื้นดิน ทั้งในโลกนี้ เทวโลก และนรกทั้งหลาย พระบรมศาสดาของพวกเรา หาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ พระองค์เป็นผู้ได้รับเกียรติจากมหาชน ทรงเป็นผู้มีความปรารถนาดีที่สุด องอาจที่สุด และเมตตาที่สุด ทรงเป็นบรมครูผู้สอนธรรม และพระนิพพาน

เซอร์ แอ็ดวิน อาร์โนลด์

ใน “ประทีปแห่งเอเชีย“


The Greatest One / บรมครูผู้ยิ่งใหญ่
In so much as we have translated that message in our own life, are we fit to pay our homage to that Great Lord, Master and Teacher of mankind, so long as the world lasts, I have no shadow of doubt that He will rank among the Greatest of teachers of mandkind.

Mahatma Gandhi in “Buddhajayanthi Talk” 1925, Calcatta, India

เพราะค่าที่พวกเราได้นำเอาหลักคำสอนของพระองค์มาใช้ในชีวิตจริง พวกเราจึงควรถวายการอภิวาทสดุดีแด่พระองค์ว่า  ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระบรมครูของมวลมนุษย์ ตลอดเวลาที่โลกนี้ยังดำรงอยู่ ข้าพเจ้ามั่นใจอย่างไม่หลงเหลือความเคลือบแคลงเลยแม่แต่น้อยว่า พระองค์จะทรงดำรงฐานะปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมุษยชาติ

มหาตมคานธีใน “สุนทรพจน์ในพิธีพุทธชยันตี” ปี พ.ศ. 2495 เมืองกัลกัตตา ประเทศ อินเดีย


 The Supreme Man / พระมหาบุรุษผู้สูงสุด
On this full moon day of Vaisakh, I have come to join in the Birthday celebration of the Lord Buddha and to bow my head reverence to Him whom I regard in my inmost being as the Great Man ever born on this earth…in far distant lands men proclaimed the epiphany, they announced that they have seen the Supreme Men shining like the sun that had rent the veil of darkness.

Rabindranath Tagore in “the Mahabodhi” Nov-Dec 1961

ในวันพระจันทร์เพ็ญเสวยวิสาขฤกษ์นี้ ข้าพเจ้าได้มาร่วมเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ถวายอภิวาทด้วยเศียรเกล้า แด่พระองค์ผู้ที่ข้าพเจ้ายอมรับนับถือด้วยใจจริง ในฐานะมหาบุรุษ ซึ่งยากหนักหนาที่จะอุบัติขึ้นในโลกนี้….ในนานาประเทศที่ไกลโพ้น ชนทั้งหลายต่างยินดีปรีดาร่มฉลองการเสด็จมาของพระองค์ พวกเขาประกาศยืนยันว่า เพิ่งได้เคยพบเคยเห็นอุดมบุรุษผู้รุ่งเรืองสว่างไสว ดั่งดวงอาทิตย์ ซึ่งอุทัยขึ้นมาขับม่านเมฆแห่งความมืดมนให้ปลาสนาการไป ฉะนั้น

รพินทรนาถ ฐากุร ใน “วารสารมหาโพธิ”

ฉบับ พ.ย.- ธ.ค.๒๕๐๔


The Brightest One / อภิชาตบุตรผู้รุ่งโรจน์
The brightest, the greatest and the wisest Son of India, in this world of strife, hatred and violence, the message of the Buddha shines like a radiant sun.

Jawaharlal Nehru

พระพุทธเจ้า โอรสแห่งภารตประเทศ เป็นผู้รุ่งโรจน์ที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด และชาญฉลาดที่สุด ในโลกแห่งความขัดแย้ง เกลียดชังและเบียดเบียนกันนี้ พระธรรมคำสอนของพระองค์จึงเปล่งรัศมีเป็นประกาย ดั่งพระอาทิตย์ทรงกลด ฉะนั้น

ฯพณฯ ยวาทรลาล เนห์รู

อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย


Most Popular Name / พระนามที่น่าเคารพและโด่งดัง
If there is any name which is known outside India, which is popular and revered, it is not the name of Rama or Krishna, but the name of the Buddha.

Dr. B.R. Ambedkar, in “Great Conversion Talk.”

 ถ้าจะมีพระนามใดๆ ที่โจษขานกันนอกประเทศอินเดีย ที่โด่งดัง และกล่าวกันด้วยความเคารพสักการะแล้ว คงมิใช่พระนามของพระราม หรือพระกฤษณะ แต่จะเป็นพระนามของพระพุทธเจ้าเท่านั้น

ดร.บี.อาร์. อัมเบคการ์ ในบทบรรยายคราวแสดงตนเป็นพุทธมามกะ กับบริวารประมาณ 5 แสนคน

ณ ทิกษาภูมิ เมืองนาคปูระ รัฐมหาราษฎร์ เมื่อ ๑๔ ต.ค. ๒๔๙๙


Pure Hearted One / น้ำพระทัยบริสุทธิ์
There never was occation when the Buddha flamed forth in anger, never an accident when an unkind word escaped His Lips.

Dr. S.Radhakrishnan., the Former President of India.

ไม่เคยมีสักครั้งเลย ที่พระพุทธเจ้าแสดงอาการขุ่นเคืองให้เห็น ไม่เคยมีสักเหตุการณ์เลย ที่ถ้อยคำหยาบปราศจากเมตตาหลุดออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์

ดร.เอส.ราชกฤษณัน

อดีตประธานาธิบดีของอินเดีย


The Buddha’s Greatness / ความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า
I cannot myself feel that either in the matter of wisdom or in the matter of virtue Christ stands quiet as high as some other people known to history – I think I should put Buddha above him in those respects.

Bertrand Russell

in “Why I am not a Christain”

ข้าพเจ้าไม่รู้สึกเลยว่า ไม่ว่าจะในเรื่องของสติปัญญา หรือในเรื่องของคุณความดี พระเยซูคริสต์จะอยู่สูงเท่ากับคนอื่นบางคนในประวัติศาสตร์ ข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าขอยกพระพุทธเจ้าไว้เหนือพระเยซูคริสต์ในทุกๆ ด้าน

เบอร์ทรันต์ รัสเซลล์

ใน “ทำไมข้าพเจ้าไม่เป็นคริสเตียน”


 Compassionate One / พระผู้ทรงมหากรุณา
Infinite is wisdom of the Buddha, borderless is the love of Buddha to all that lives. Buddha as called the Mahakarunika which means the all Merciful Lord who has compassion on all that live. To human mind Buddha’s wisdom and mercy is incomprehensible.

Anagarika Dhammapala,

in “The World’s Debt to Buddha”

ไม่มีสิ้นสุด คือ พระปัญญาญาณของพระพุทธเจ้า ไม่มีพรมแดน คือ พระเมตตาของพระพุทธเจ้า ทีทรงมีต่อสรรพสัตว์ ดังนั้น พระองค์จึงมีพระนิมิตนามว่า “มหาการุณิกะ” หมายถึง “พระผู้ทรงมหากรุณาต่อสรรพสัตว์” พระปัญญาญาณ และพระเมตตาของพระพุทธเจ้านั้น ยากนักที่สติปัญญาสามัญของมนุษย์จะเข้าใจได้

อนาคาริกะ ธัมมปาละ, ผู้บุกเบิกการรื้อฟื้นพระพุทธศาสนา และก่อตั้งสมาคมมหาโพธิในอินเดีย

ใน “โลกเป็นหนี้พระพุทธเจ้า”


 New Race / เผ่าพันธุ์ใหม่
The Buddha created a new race of men, a race of moral heroes, a race of salvation-workers, a race of Buddhas.

Manmatha Nath Sastri

พระพุทธเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์เผ่าพันธ์ใหม่ขึ้นมา เผ่าพันธุ์แห่งผู้กล้าหาญทางศีลธรรม เผ่าพันธุ์แห่งผู้พากเพียรเพื่อความพ้นทุกข์ เผ่าพันธุ์แห่งผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

มันมะฐะ นาถ ศาสตร์


Extraordinary Man / มนุษย์มหัศจรรย์
He was a human being with no connection whatever with God or any other Supernatural Being. He was neither a God nor incarnation of God nor any mythological figure. He was a man but a Superman, an Extraordinary Man (acchariya-manussa). He was beyond the human state inwardly though living the life of human being outwardly. He is for this reason called a Unique Being, Man Par exellent (purisuttama), a Buddha, an Enlightened One.

Ven. Piyadassi Mahathera

in “Buddhism; a Living Message”

พระองค์ทรงเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง ไม่เกี่ยวข้องกับพระเจ้า หรือภาวะเหนือธรรมชาติอื่นๆ พระองค์เองมิใช่ทั้งพระเจ้า องค์อวตารของพระเจ้า หรือองค์ในเทพนิยายใดๆ พระองค์ทรงเป็นเพียงมนุษย์ แต่เป็นมนุษย์ที่ยอดเยี่ยม มนุษย์มหัศจรรย์ (อัจฉริยมนุสสะ) พระองค์อยู่เหนือภาวะมนุษย์ธรรมดาในภายใน แม้จะดำรงชีพอย่างมนุษย์สามัญในภายนอก เพราะเหตุผลนี้ พระองค์จึงได้รับการขนานพระนามว่า มนุษย์ผู้มีเอกลักษณ์พิเศษ บุรุษผู้สูงสุด (ปุริสุตตมะ) พระพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง

พระปิยทัสสีมหาเถร

ใน “พระพุทธศาสนา อมฤตเทศนา”


More We Love / ยิ่งรู้จักยิ่งรักมาก
Fausfoll says the more I know Him the more I love him. A humble follower of His would say “the more I know Him the more I love Him, the more I love Him the more I know Him.”

Ven. Narada Mahathera in “Buddhism in a Nutshell”

เฟาส์โฟล กล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้จักพระองค์มากขึ้นเท่าไร ก็รักพระองค์มากขึ้นเท่านั้น ส่วนพุทธสาวกผู้ต่ำต้อยของพระองค์ขอกล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้จักพระองค์มากขึ้นเท่าไร ก็รักพระองค์มากขึ้นเท่านั้น และข้าพเจ้ารักพระองค์มากขึ้นเท่าไร ก็รู้จักพระองค์มากขึ้นเท่านั้น

พระนารท มหาเถร ใน “พระพุทธศาสนาโดยสังเขป”


Homage to the Buddha / มหาสักการะแด่พระพุทธเจ้า
Lord Buddha can be very easily singled out as one person known to man received homage from the greatest number of mankind.

Prof. Saunders, a literature Decretary Y.M.C.A India, Myanma, Sri lanka

พระพุทธเจ้าอาจได้รับการชี้วัดง่ายๆ ว่า ได้แก่ผู้ที่ได้รับการสักการะบูชาจากมวลมนุษย์จำนวนมากที่สุด

ศาสตราจารย์ เสานเดอรส์

เลขานุการสมาคม วาย.เอ็ม.ซี.เอ. อินเดีย พม่า ศรีลังกา


 Embodiment of Virtues / กลุ่มก้อนแห่งคุณงามความดี

พระพุทธเจ้า คือ กลุ่มก้อนแห่งคุณงามความดีทั้งหมด ซึ่งพระองค์เองได้เทศนาสั่งสอน ตลอดช่วงเวลา 45 พรรษาแห่งการประกาศพรหมจรรย์อย่างสัมฤทธิ์ผล และน่าสังเกตนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงนำเอาพระดำรัสทั้งหมกปรับไปสู่การกระทำจริง ไม่มีที่ใดเลยที่พระพุทธองค์จะเปิดช่องให้กับความอ่อนแอหรือกิเลสของมนุษย์ ดังนั้น หลักการทางศีลธรรมของพระพุทธเจ้าจึงสมบูรณ์ที่สุด เท่าที่ชาวโลกเคยประสบมา

ศาสตรจารย์แมกซ์ มูลเลอร์ : นักภารตวิทยาคนสำคัญชาวเยอรมัน


 Most Noble One / พระผู้ประเสริฐสุด
If yoy desire to see the most noble of mankind, look at the king in beggar’s clothing; it is He whose sanctity is great among men.

Abdul Atahiya, a Muslim Poet.

ถ้าท่านปรารถนาจะพบบุคคลประเสริฐสุดแห่งมวลมนุษย์แล้ว จงมองดูพระราชาในชุดเสื้อผ้าขอทานเถิด นั่นคือพระพุทธองค์ผู้ทรงอำนาจ น่าเกรงขาม ยิ่งใหญ่ที่สุดท่ามกลางหมู่มนุษย์

อับดุล อะตะหิยะ กวีมุสลิม


 Buddha is for Whole Mankind / พระพุทธเจ้าคือ สมบัติของมนุษยชาติทั้งมวล
The Buddha is not a property of Buddhists only. He is the property of whole mankind.His teaching is common to every body. Every religion which comes to exist after the Buddha has borrowed many good ideas from the Buddha.

A Muslim Scholar

พระพุทธเจ้า มิใช่สมบัติของชาวพุทธเท่านั้น แต่เป็นสมบัติของมนุษยชาติทั้งมวล พระธรรม คำสอนของพระองค์ ก็เป็นสมบัติร่วมของทุกคน ศาสนาทุกศาสนาที่เกิดหลังพระพุทธองค์ ต่างก็ได้ยืมเอาแนวคิดดีๆ ไปจากพระพุทธเจ้าทั้งนั้น

ปราชญ์ชาวมุลิม


Buddha is Like a Physician / พระพุทธเจ้าอุปมาด้วยนายแพทย์
The Buddha is like a physician. Just as a doctor must know the diagnosis of the different kinds of illness, their causes, the antidotes and remedies , and must be able be apply them, so also the Buddha has taught the Four Holy Truths which indicate the range of suffering, its origin, its cessation and the way which lead to its cessation.

Dr. Edward Conze, in “Buddhism”

พระพุทธเจ้าเป็นเสมือนนายแพทย์ เช่นคุณหมอที่ต้องการทราบอาการของโรคต่างๆ รวมทั้งสมุฏฐานของโรค ยาแก้ และวิธีการเยียวยา และสามารถประยุกต์ใช้ได้ด้วย ฉันใด พระพุทธเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงแสดงอริยสัจ ๔ ซึ่งชี่ถึงขอบเขตแห่งความทุกข์ เหตุเกิดแห่งความทุกข์ ความดับทุกข์ และมรรค หนทางนำไปสู่ความพ้นทุกข์

ดร.เอ็ดเวิร์ด คอนซ์ ใน “พระพุทธศาสนา”


A Wise Father / บิดาผู้ชาญฉลาด
ฺฺBuddha is one who sees his children playing in the consuming fire of worldliness and employs different expedients to bring them out of this burning house and lead them to the safe asylum of Nirvana.

Prof.P. Lakshami Narasu, in “The Essence of Buddhism”

พระพุทธเจ้า คือ บิดา ผู้เมื่อเห็นบุตรของท่านกำลังเล่นกับไฟโลกีย์อยู่ จึงใช้วิธีการต่างๆ เพื่อนำพวกเขาออกไปให้พ้นบ้านที่กำลังถูกไฟใหม้ และพาไปสู่สถานที่ปลอดภัย คือพระนิพพาน

ศาสตราจารย์ พี.ลักษมี นราสุ ใน “สารัตถะของพระพุทธศาสนา”


Buddha is the Way / พระพุทธเจ้าคือวิถีชีวิต
I feel more and more that Sakyamuni is the nearest in character and effect to Him who is the Way, the Truth and the Life.

Bishop Mlman

ข้าพเจ้ารู้สึกมากขึ้นๆ ตามลำดับว่า พระพุทธเจ้า ศากยมุนี “โดยบุคลิกภาพ” แล้ว ทรงประทับอยู่ใกล้ชิดกับข้าพเจ้าที่สุด โดยความรักที่มีต่อพระองค์แล้ว พระพุทธเจ้าทรงเป็นทั้งมรรควิธี สัจธรรมความจริง และ ชัวิต

บิชอพ มิลแมน


 Cool Head and Loving Heart / สมองเหตุผลกับกมลเมตตา
The most striking thing about the Buddha is almost a unique combination of a cool scientific head and profound sympathy of a warm and loving heart. The world today turns more and more towards the Buddha, for He alone represents the conscience of humanity.

Moni Bagghee, in “Our Buddha“

สิ่งที่กระทบความรู้สึกที่สุดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ก็คือ การผสมผสานกันอย่างพิเศษยิ่งระหว่างสมองวิทยาศาสตร์ ที่สุขุมเยือกเย็น กับหัวใจที่เห็นอกเห็นใจและมีความเมตตาปรารถนาดีอย่างลึกซึ้ง โลกปัจจุบันได้หันมาให้ความสนใจพระพุทธเจ้ามากขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าพระพุทธองค์เท่านั้นที่ทรงเป็นผู้แทนความสำนึกแห่งมนุษยธรรม

มนี บัคฆี

ใน “พระพุทธเจ้าของพวกเรา“


 Mind Training / การฝึกจิต
We hear much nowadays of thought-power, but Buddhism is the most complete and effective system of mind-training yet placed before the world.

Dudley Wright

ทุกวันนี้ พวกเรามักได้ยินคำว่า พลังจิต แต่พระพุทธศาสนา คือระบบการฝึกจิตที่สมบูรณ์และประเสริฐที่สุด เท่าที่ปรากฏแก่โลกมา

ดัดลีย์ ไรท์


Belief in Soul is the Cause of All the Troubles / อัตตานุทิฏฐิ คือต้นเหตุแห่งความยุ่งยากทั้งมวล
Buddhism stands unique in the history of human thought in denying the existence of such a Soul, Self, or Atman. According to the teaching of the Buddha, the idea of self is an imaginary, false belief which has no corresponding reality, and it produces harmful thoughts or “me” and “mine”, selfish desire,craving, attachment, hatred, ill-will, conceit, pride, egotism, and other defilements, impurities, and problems. It is the source of all troubles in the world from personal cinflicts to wars between nations. In short this false view can be traced all the evils in the world.

Venerable Dr. Rahula Mahathera,

in “What the Buudha Taught”

พระพุทธศาสนามีจุดยืนเฉพาะเจาะจงที่ไม่เหมือนใคร ในประวัติศาสตร์แห่งความคิดของมนุษย์ กล่าวคือ การปฏิเสธความมีอยู่ของตัวตน อัตตา หรือ อาตมัน (ที่เที่ยงแท้แน่นอน) เช่นนั้น ว่าตามหลักการของพระพุทธศาสนาแล้ว ความคิดเรื่องตัวตน เป็นเพียงจินตภาพ มิจฉาทิฏฐิ ซึ่งหาสภาวธรรมจริงรองรับไม่ได้ มันปรุงแต่งความคิดที่ทำร้ายเราต่าง ๆ นานา หรือสร้างความรู้สึกว่า “ตัวกู” และ “ของกู” ความเห็นแก่ตัว ความทะยานอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความโกรธเกลียด ความพยาบาท ความสำคัญตนผิด ๆ ความเย่อหยิ่งจองหอง ความถือตัวถือตนจัด  และกิเลส ความเศร้าหมอง ความสกปรก ตลอดจนปัญหาอื่น ๆ มากมาย อัตตานุทิฏฐิ ความเห็นผิดว่า มีตัวมีตนเที่ยงแท้ยั่งยืน เป็นบ่อเกิดของความยุ่งยากทั้งหลายทั้งปวงในโลก  เริ่มแต่ความขัดแย้งกันระหว่างบุคคลไปจนถึงสงครามระหว่างประเทศ กล่าวโดยสรุป จากความเห็นผิดว่า มีตัวมีตนเที่ยงแท้นี้ สามารถสืบค้นไปพบความชั่วร้ายทั้งมวลในโลก

พระ ดร. ดับบลิว ราหุล มหาเถร

ใน “พระพุทธเจ้าสอนอะไร”


Selfless – Life Community in Need / ต้องการชุมชนที่ไม่เห็นแก่ตัว
It is perhaps significant that while mighty empires built upon greed and oppression have never lasted for more than a few centuries, the selfless life of the Budhist community has carried it safely through 2,500 years…Knowledge of Buddhism is being sought with increasing interest in the West, for it offers a personal philosophy to counteract the fragmented condition of Western society where many individuals no longer feel part of or responsible for , the community in which they live. Expressions of this distress are seen in the demonstrations of students, flower people, hippies and others who wish to drop out of, or change a society which they feel no longer supplies their needs.

an American writer

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในขณะที่จักรวรรดิที่ใหญ่โตทั้งหลาย ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาด้วยความโลภ และความกดขี่ ไม่เคยตั้งอยู่ได้นานเกิน ๒-๓ ศตวรรษ แต่ชีวิตที่ไม่เห็นแก่ตัวของชุมชนพุทธ (สงฆ์) กลับรักษาตัวเองให้อยู่รอดปลอดภัยมาได้กว่า ๒,๕๐๐ ปี……ขณะนี้ได้มีความสนใจที่จะแสวงหาความรู้ทางพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในตะวันตก เพราะพระพุทธศาสนาได้เสนอปรัชญาส่วนตัวเพื่อชดเชยภาวการณ์ที่ขาดวิ่นของสังคมตะวันตก ซึ่งปัจเจกบุคคลจำนวนมาก ไม่รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอีกต่อไป หรือไม่ก็มีความรู้สึกไม่รับผิดชอบต่อสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่อีกต่อไป การแสดงออกของความรู้สึกที่อึดอัดขัดข้องนี้ ปรากฏให้เห็นในรูปการเดินขบวนของนักศึกษา พวกบุปผาชน ฮิปปี้ หรือกลุ่มอื่นๆ ที่มุ่งหมายจะปฏิเสธสังคม หรือต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งพวกเขารู้สึกว่า มิได้ให้ในสิ่งที่เขาต้องการอีกต่อไปแล้ว

นักเขียนชาวอเมริกัน


 

No Speak of Sin / ไม่เคยเอ่ยเอื้อนถึงบาปเดิม

ด้วยความสงบเย็น ณ ภายในและพระเมตตาต่อสรรพสัตว์ ที่พระพุทธองค์ทรงมีอย่างเปี่ยมล้น นั้น พระองค์จึงไม่เคยตรัสถึงบาปดั้งเดิมเลย ตรัสถึงเพียงแต่ อวิชชา ความไม่รู้ความจริงและความโง่งมงาย ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยความรู้แจ้ง และความเห็นอกเห็นใจกัน

ดร.เอส.ราธกฤษณัน ใน “พระโคดมพุทธเจ้า”


 Negative Answer / คำตอบเชิงปฏิเสธ

ขอยกตัวอย่าง ถ้าถูกถามว่า “สถานภาพของอิเล็กตรอนอยู่คงที่หรือไม่” พวกเราต้องตอบว่า “ไม่” ถ้าถูกถามว่า “สถานะของอิเล็กตรอนเปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรือ” พวเราก็ต้องตอบว่า “ไม่”  ถ้าถูกถามอีกว่า “มันอยู่ในการเคลื่อนไหวหรือ” พวกเราก็ต้องตอบว่า “ไม่” พระพุทธเจ้าได้ทรงประทานคำตอบเช่นนี้ เมื่อถูกถามถึงสภาพของอัตตา ตัวตน ของมนุษย์หลังจากการตาย แต่คำตอบอย่างนี้ นับเป็นคำตอบที่ไม่คุ้นเคยกันเลยในแวดวงวิทยาศาสตร์ ใน ช่วงศรรตวรรษที่ 17 ถึง 18

เจ.โรเบิร์ต โอปเปน ไฮเมอร์


 Saviour / พระผู้ไถ่บาป

“ถ้า” พระพุทธเจ้าจะถูกขนานพระนามว่า “พระผู้ไถ่บาป” แล้วไซร้ คงจะเป็นได้เพียงในความหมายว่า พระองค์ทรงค้นพบและแสดงทางแห่งความหลุดพ้น คือ พระนิพพาน เท่านั้น แต่ว่าทางไปสู่ความหลุดพ้นนั้น พวเราต้องเดินไปด้วยตนเอง

พระ ดร.ดับบริว. ราหุล มหาเถร ใน “พระพุทธเจ้าสอนอะไร”


 Ethical Man of Genius / นักจริยศาสตร์อัจฉริยะ

ในพิภพนี้ พระองค์ผู้ทรงแสดงสัจจะทางคุณธรรม ซึ่งมีค่านิรันดร์กาล และได้ทรงทำให้จริยศาสตร์ ที่มิใช่เฉพาะของอินเดีย แต่เป็นของมนุษยชาติทั้งมวล รุดหน้าไป พระพุทธเจ้าจึงเป็นหนึ่งในบรรดานักจริยศาสตร์อัจฉริยะที่นิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา

อัลเบิร์ต ชไวเดอร์ นักปรัชญาตะวันตกคนสำคัญ


 Buddha in His Own Words / พระพุทธเจ้าในพระดำรัสของพระองค์เอง

กาลครั้งหนึ่ง มีพราหมณ์คนหนึ่ง เมื่อได้ไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใต้โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง จึงเอ่ยปากทูลถามพระองค์ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นเทวดาหรือ” พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า “อาตมามิใช่เทวดาหรอก” “ท่านเป้นคนธรรพ์หรือ” “อาตมามิใช่คนธรรพ์หรอก” “ท่านเป็นยักษ์หรือ” “อาตมามิใช่ยักษ์หรอก” “ท่านเป็นมนุษย์หรือ” “อาตมามิใช่มนุษย์หรอก” เมื่อถูกพราหมณ์ทูลถาว่า พระองค์อาจจะเป็นนั่นเป็นนี่ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า กิเลส ธุลีเหล่าใด เมื่อยังกำจัดไม่มิได้จะเป็นเหตุให้อาตมาต้องเป็นเทวดา คนธรรพ์ ยักษ์ หรือมนุษย์ บัดนี้อาตมาได้กำจัดได้หมดแล้ว เพราะฉะนั้น พราหมณ์เอยเธอจงรู้ว่า “อาตมาคือ พระพุทธเจ้า”

ศาสตรจารย์ พี.ลักษมี นราสุ ใน “สารัตถะแห่งพระพุทธศาสนา” และ คัมภีร์อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต 21/36/48


Dhamma is the Law / ธรรมคือกฏธรรมชาติ

All the teachings of the Buddha can be summed up in one word “Dhamma”. This law of righeous ness exists not only in a man’s heart but it exists in the universe also. All the universe is an embodiment or revelation of Dhamma. The laws of nature which modern science have discovered, are revelations of Dhamma.

If the moon rises and sets, it is because of Dhamma, for Dhamma is that law residing in the universe that makes matter act in the ways studied in physics, chemistry, zoology, botany and astronomy. Dhamma exists in the universe just as Dhamma exists in the heart of man. If man will live by Dhamma, he will escape misery and attain Nibbana.

Ven.A.Mahinda Mahathera

คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด สามารถสรุปลงในคำ ๆ เดียว คือ “ธรรม” กฏแห่งความถูกต้องดีงาม มิใช่อยู่แต่ในหัวใจมนุษย์เท่านั้น แต่ปรากฏอยู่ในจักรวาลด้วย จักรวาลทั้งหมด คือ กลุ่มก้อน หรือการเปิดเผยแห่งธรรม กฏของธรรมทั้งหลาย ซึ่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ค้นพบ คือการเปิดเผยของธรรม

จักรวาลทั้งหมด คือ กลุ่มก้อน หรือการเปิดเผยแห่งธรรม กฏของธรรมทั้งหลาย ซึ่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ค้นพบ คือการเปิดเผยของธรรม

ถ้าพระจันทร์ขึ้นและตก ก็เป็นเพราะธรรม เพราะธรรมคือกฎที่มีอยู่ในจักรวาล ซึ่งทำให้สสารปฏิบัติการในทำนองที่ได้มีการศึกษาอยู่ในวิชาฟิสิกส์ เคมี สัตวศาสตร์ พฤกษศษสตร์ และดาราศาสตร์  ธรรมที่อยู่ในจักรวาล ก็เหมือนกับธรรมที่ปรากฏในใจมนุษย์ ถ้ามนุษย์มีชีวืตอยู่ด้วยธรรม เขาก็จะพ้นจากความทุกข์และบรรลุถึงพระนิพพาน

พระ เอ. มหินท มหาเถร


A Cosmic Religion / ศาสนาสากลจักรวาล

The religion of the future will be a cosmic religion. It should transcend a personal God and avoid dogmas and theology. Covering both the natural and the spiritual, it should be based on a religious sense arising from the experience of all things, natural and spiritual, as a meaningful unity. Buddhism answers this description…..If there is any religion that would cope with medern scientific needs, it would be Buddhism.

Albert Einstein,

the Great Scientist of this Age

ศาสนาในอนาคต จะเป็นศาสนาสากลจักวาล ซึ่งข้ามพ้นเรื่องพระเจ้าที่มีตัวตน และไม่มีเรื่องความเชื่อคำสั่งสอนแบบฝังหัวและเทววิทยา ศาสนานั้นจะครอบคุลมเรื่องธรรมชาตอและจิตวิญญาณ ตั้งอยู่บนฐานความรู้สึกทางศาสนา ที่เกิดจากประสบการณ์แห่งศรรพสิ่ง ทั้งเรื่องธรรมชาติและจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นเอกภาพรวมอย่างมีความหมาย พระพุทธศาสนาสามารถตอบสนองสิ่งที่พรรณามานี้… ถ้าจะมีศาสนาใดๆ ที่เข้ากันได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ศาสนานั้น ก็คือพระพุทธศาสนา

อัลเบิร์ต ไอสไตน์  : นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่


Real World Religion / ศาสนาสากลที่แท้

Today Buddhism and Buddhist art have spread around the world, from Japan east to America, from India west to Europe.

a American writer

บัดนี้ พระพุทธศษสนา และพุทธศิลป์ได้แพร่หลายไปทั่วโลก จากญี่ปุ่น ตะวันออก ไปสู่อเมริกา จากอินเดีย ตะวันตก ไปสู่ยุโรป

นักเขียนอเมริกัน


 

New Faith of Europe / ศาสนาใหม่ของชาวยุโรป

Many of these European students of Buddhism became converts to new faith. They were also active in the creation and guidance of Buddhist organizations-matters in which the Asiatic Buddhists are less incline to engage.

Ernst Bens,

German Scholar

นักศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาชาวยุโรปจำนวนมาก ซึ่งเปลี่ยนมาสมาทานศาสนาใหม่นี้ พวกเขาขะมักเขม้นในการสร้างสรรค์ และแนะนำองค์กรพุทธต่าง ๆ ในเรื่องสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวพุทธเอเชียมักจะทุ่มเทน้อย

เอรินส์ท เบนซ์

นักปราชญ์ชาวเยอรมัน




Nothing to surpass Buddhism / ไม่มีศาสนาใดเหนือกว่าพระพุทธศาสนา

 Buddhist or not Buddhist, I examined every one of the great religious systems of the world, and in none of them have I found any thing to surpass, in beauty and comprehensiveness, the Noble Eightfold Path and the Four Noble Truths of the Buddha. I am content to shape my life acording to that path.

Prof. Rhys Davids,

the Founder-President of the Pali Text Society.

ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธศาสนา หรือมิใช่พระพุทธศาสนา ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบระบบศาสนาใหญ่ๆ แห่งโลกทั้งหมด ในระบบศาสนาโลกดังกล่าวทั้งหมดนั้น ข้าพเจ้าไม่พบคำสอนของศาสนาใด จะล้ำเลิศกว่าอริยมรรคมีองค์ 8 และอริสัจ 4 ของพระพุทธเจ้าเลย ไม่ว่าในแง่ความงดงาม และความสมบูรณ์ครบถ้วน ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงพึงพอใจที่จะประคับประคองชีวิตของตนเองไปตามทางนั้น

ศาสตราจารย์ รัส เดวิด : ผู้ก่อตั้ง – นายกสมาคมบาลีปกรณ์


Taking Up Where Science Cannot / พระพุทศาสนาทำสิ่งที่วิทยาศาสตร์ทำไม่ได้

Buddhism is a combination of both spectulative and scientific philosophy, it advocates the scientific method and pursues that of a finality that may be called rationalistic… It takes up where science cannot lead because of the limitations of the latter’s instruments. It’s conquests are those of mind… There is no reason to suppose that the world had beginning at all. The idea that things must have a beginning is due to the poverty of our imagination.

Bertrand Russell,

the Great English Philosopher

พระพุทธศาสนา เป็นการผสมผสานเข้ากันระหว่างปรัชญาแบบกาคาดการณ์และปรัชญาแบบวิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนาสนับสนุนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และดำเนินตามวิธีนั้นไปสู่เป้าหมายสุดท้าย ซึ่งอาจจะเรียกว่า วิธีการแบบเหตุผล… พระพุทธศาสนา ได้ลงมือทำในที่ที่วิทยาศาตร์ไม่อาจทำได้ เพราะว่าความจำกัดของสมรรถนะทางเครื่องมือแสดงหาความจริงของวิทยาศาสตร์ ชัยชนะสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ การชนะใจตนเอง… ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะตั้ง ข้อสมมติฐานว่า โลกนี้มีการเริ่มต้น แนวความคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีการเริ่มต้น เกิดขึ้นจากความด้อยทางจินตนาการของพวกเราเอง

เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ : นักปรัชญาอังกฤษยุคปัจจุบัน


 Far Superior / สูงส่งกว่าศาสนาอื่น

As a student of comparative religion, I believe that Buddhism is the most perfect one the world has ever seen. The philosophy of the Buddha, the theory of evolution and the law of Kamma were far superior to any other creed.

Prof. Carl Gustav Jung,

the Outstanding Psychologist of Zurich

ในฐานะนักศึกษาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุดที่โลกเคยเห็นมา หลักปรัชญา หลักวิวัฒนาการและกฏแห่งกรรมของพระพุทธองค์ช่างสูงส่งกว่าลัทธิศาสนาใดๆ

ศาสตราจารย์ คาร์ล กุสต๊าฟ จุง : นักจิตวิทยาแห่งซูริค


 Pre-Eminent / ศาสนาที่ยอดเยี่ยม

If I am to take the results of my philosophy as the standard of truth I should be obliged to concede to Buddhism the pre-eminence over the rest.

Schopenhauer,

the German Philosopher

ถ้าข้าพเจ้าจะถือเอาเนื้อหาปรัชญาของตัวเองเป็นปทัฏฐานแล้ว ข้าพเจ้าก็ต้องประกาศยอมรับว่า พระพุทธศาสนายอดเยี่ยมกว่าศาสนาที่เหลือทั้งหมด

โชเปนเอาเออร์  : นักปรัชญาชาวเยอรมัน


 No Forced Conversation / ไม่แสวงหาสมาชิกใหม่ด้วยการบังคับ

ไม่เคยเป็นวิธีการของชาวพุทธในเรื่องการเปลี่ยนศาสนา ซึ่งเป็นการยัดเยียดความคิด และความเชื่อแก่ผู้ไม่ประสงค์จะเชื่อ ในการเผยแผ่แบบพุทธนั้น มีน้อยที่สุดที่จะใช้วิธีการบีบคั้น หรือการพูดยกยิปอปั้น หลอกลวง คะยั้ยคะยอ เพื่อให้เขายอมรับนับถือทัศนะของตน เพราะพระธรรมทูตของพุทธศาสนา ไม่เคยแข่งขันกันเปลี่ยนศาสนาของคนอื่นมาเป็นของตนเลย

ดร.จี. พี. มาลลาเสกระ : ปราชญ์พุทธชาวศรีลังกา


 Not to Convert But to Enlighten People / มิได้สอนเพื่อให้เปลี่ยนศาสนาแต่สอนเพื่อรู้แจ้ง

พระพุทธศาสนา คือแผนสำหรับการดำรงชีวิตในลักษณะที่จะเก็บเกี่ยวเอาประโยชน์สูงสุดจากชีวิต พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา ที่ความรู้และความฉลาด มีความสำคัญสูงสุด พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสั่สอนเพื่อชักชวนให้เปลี่ยนศาสนา แต่สั่งสอนเพื่ให้ผู้ฟังรู้แจ้งตาม

นักเขียนชาวตะวันตก


 Persecution / การประหารประหัต

เมื่อพิจารณาประวัติความเป็นศาสนาสำคัญๆทั้งหลาย ข้าพเจ้าเลื่อมใสพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะรูปแบบของพุทธยุคต้นๆ เพราะมีการประหัตประหารทางศาสนาน้อยที่สุด

เบร์ทรันด์ รัสเซลล์


 No Persecution / ไม่มีการประหัตประหาร

เท่าที่ข้าพเจ้าเคยทราบมา ม่มีการบันทึกตลอดประวัติศาสตร์ที่ยาวนานหลายศรตวรรษของพระพุทธศานิกชนเมื่อได้ครองความเป็นใหญ่ในช่วงเวลายาวนานเพียงนั้น ได้ทำการประหัตประหารศาสนิกชนของลักทธิศาสนาอื่นใดเลย

ศาตราจารย์ รีส เดวิดส์


 Challenge to Other Religions / ท้าทายศาสนาอื่น

พระพุทธศาสนาตามที่พวกเราพบ เป็นการบันทึกไว้อย่างถูกต้อง มิใช่เป้นระบบความเชื่อดึกดำบรรพ์อย่างไร้เหตุผล ซึ่งยังคงจะสร้างความท้าทายต่อศาสนาอื่นๆ อยู่

บิชอพ กอร์ ใน “พระพุทธเจ้าและพระเยซู”


 Peaceful Way / สันติมรรค

Alone of all the great world religions Buddhism made its way without persecution, censorship or inquisition.

Aldous Huxley

บรรดาศาสนาสากลที่สำคัญทั้งหลายนั้น มีเพียงแต่พระพุทธศาสนาเท่านั้น ได้ยึดถือแนวทางของตน โดยไม่มีการประหัตประหาร การตรวจสอบ หรืการไต่สวนความเชื่อเลย

อัลเดาส์ ฮุกซเลย์


A Radiant Sun / พระอาทิตย์ทรงกลด

In this world of storm and strife, hatred and violence, the message of the Buddha shines like a radiant sun. Perhaps at no time was that message more needed than in the world of the atomic and hydrogen bombs. Two thousand five hundred years have only added to the vitality and truth of the message. Let us remember that immortal message and try to fashion our thoughts and actions in the light of that teaching. We may face with equanimity even the terrors of the atomic bomb age and help a little in promoting right thinking and right action.

Jawaharlal Nehru,

the First Prime minister of India

ในโลกแห่งการเบียดเบียน ต่อสู้ เกลียดชัง และ ประหัดประหารกันนี้ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้เปล่งรัศมีรุ่งเรืองดั่งพระอาทิตย์ทรงกลด บางทีอาจจะไม่มีกาลไหนเลย ที่พระธรรมคำสอนจะเป็นที่ต้องการมาก เหมือนในโลกแห่งระเบิดปรมาณูและไฮโดรเยนนี้ ตลอดเวลา ๒๕๐๐ ปีมานี้ ดูเหมือนมีแต่เพิ่มความมีชีวิตชีวา และความจริงแท้ให้แก่พระธรรมคำสอนยิ่งขึ้น ขอให้พวกเราจดจำอมฤตธรรมนี้ไว้ และพยายามประคับประคองความคิด และการกระทำของเราให้เป็นไปตามทิศทางแห่งคำสอนนั้น พวกเราอาจสามารถพบกับความสงบเย็นได้แม้แต่ในการเผชิญหน้ากับการคุกคามของยุคระเบิดปรมาณู ด้วยความสงบเย็น และช่วยกันอีกสักเล็กน้อย โดยการสนับสนุนให้เกิดความคิดที่ถูกต้องและการกระทำที่ถูกต้องด้วย

ฯพณฯ ยวาทรลาล เนห์รู

อดีตนายกรัฐมนตรีของอินเดีย


Buddhism and other Faith / พระพุทธศาสนา กับ ศาสนาอื่นๆ

พระพุทธศาสนาเปรียเสมือนฝ่ามือในขณะที่ศาสนาอื่นๆ เปรียบเสมือนนิ้วมือ

ข่าน มองกา

 Modern Problems / ปัญหาสมัยใหม่

เมื่อศึกษาพระพุทธศาสนาเพียงเล็กน้อย ก็จะเห็นได้ว่า เมื่อ 2500 ปีมาแล้วชาวพุทธได้รับทราบถึงปัญหาทางจิตวิทยาสมัยใหม่ได้ดีมาก มากว่าที่พวกเราให้เครดิตด้วยซ้ำ พวกเขาได้ศึกษาปัญหาเหล่านี้มานานแล้ว และได้พบคำตอบของการแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วย

ดร.กราฮัม โฮว์


 Life by principle / ชีวิตด้วยหลักการ

พระพุทธศานาสอนว่า ชีวิตมีได้อยู่ด้วยกฏข้อบังคับ แต่ชีวิตที่ดีงามอยู่ด้วยหลักการ และด้วยเหตุนี้ พระพุทธศาสนจึงเป้นศาสนาแห่งความมีใจกว้าง นับเป็นระบบที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มากที่สุดภายใต้ดวงอาทิตย์นี้

คุณพ่อโจเซฟ เวน


 Appreciation of Buddhism / ความน่าเลื่อมใสพระพุทธศาสนา

Although one may originally be attracted by its remoteness, one can appreciate the real value of Buddhism only when one judges it by the result it produces in one’s own,life from day to day.

Dr. Edward Conze, a Western Buddhist Scholar

แม้ว่าในตอนแรกๆ คนอาจถูกชักนำให้มาสนใจพระพุทธศาสนาด้วยความที่อยู่ห่างไกลกัน แต่ต่อมาคนอาจเลื่อมใสศรัทธาในคุณค่าที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา เพียงเมื่อเขาได้พิจารณาตัดสินคุณค่าของพระพุทธศาสนาด้วยผลการปฏิบัติธรรมที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันของเขาเอง

ดร.เอ็ดเวิร์ด คอนซ์ : นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาทางตะวันตก


 Fortunate Buddhists / ชาวพุทธที่โชคดี
How fortunate are the humble followers of the Buddha who have not inherited the fallacy of infallibility of any revealed book from the very beginning.

Ven. Prof. Ananda Kaushalyayana, an Indian Buddhist Scholar

เป็นความโชคดีของพุทธสาวกและสาวิกาทั้งหลาย ที่ไม่ต้องรับมรดกแห่งความเชื่อที่วิปลาสที่ว่า พระคัมภีร์ซึ่งพระเจ้าดลใจให้เขียนขึ้น ไม่มีความผิดพลาดเลย ตั้งแต่ยุคเริ่มแรก

พระคุณท่าน ศาสตราจารย์ อานันท เกาศัลยายนมหาเถร : นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ชาวอินเดีย


Grandest Figure of Buddha / สง่างามที่สุดพระพุทธปฏิมา
I know nothing more grand in the world than the figure of the Buddha. This grandest creation of art, the figure of the Buddha, surely could not have been produced by a pessimistic religion.

Hermann Keyerling, a German Philosopher

ข้าพเจ้าทราบว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะมีความสง่างามไปกว่า พระพุทธปฏิมา ศิลปะที่สร้างได้สง่างามที่สุด คือพระพุทธปฏิมานี้ เชื่อแน่เหลือเกินว่าไม่อาจรังสรรค์ขึ้นได้ โดยศาสนาที่มองโลกในแง่ร้าย

เฮอร์มานน์ เกเยอร์ลิง, นักปราชญ์ชาวเยอรมัน


Ultimate Fact of Reality / ข้อเท็จจริงสูงสุดแห่งสัจธรรม

Here it is necessary to draw attention to another unique feature of the religion of the Buddha, namely that it is the only religion of any religious teacher, which is the outcome of a consistent philosophy, which claims to tell us about the ultimate facts of existence and reality. The religion of the Buddha is a way of life resulting from the acceptance of a view of life, which is said to be factual. His philosophy is not without an account of the nature of knowledge.

Dr.K.N.Jayatileke, in “Buddhism and Peace”

ณ ที่นี้ จำเป็นที่จะต้องมาพิจารณาลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของศาสนาของพระพุทธเจ้า นั่นคือ ศาสนาของพระศาสดาอื่น มักจะเป็นผลผลิตของแนวปรัชญาที่มีความสอดคล้องกัน และให้ข้อเท็จจริงสูงสุดเกี่ยวกับความเป็นอยู่และสัจธรรม ศาสนาของพระพุทธเจ้าจึงเป็นวิถีชีวิตที่เป็นผลมาจากการยอมรับชีวทัศน์ ซึ่งอาจกล่าวอ้างได้ว่าเป็นข้อเท็จจริง ดังนั้น พุทธปรัชญาจึงไม่ว่างเว้นแม้รายละเอียดของธรรมชาติแห่งความรู้

ดร.เค.เอน. ชยดิเลเก ใน “พระพุทธศาสนาและสันติภาพ”


 

Knowing is the Key to Higher Path / ปัญญาคือกุญแจไขไปสู่มรรคชั้นสูง

Without sensuous pleasure would life be endurable? Without belief in immortality can man be moral? Without worship of a God can man advance towards righteousness ? Yes, replies the Buddha, these ends can be attained by knowledge; knowledge alone is the key to the higher path, the one worth pursuing in life; knowledge is that which brings calmness and peace to life, which renders man indifferent to the storms of the phenomenal world.

Prof. Karl Pearson

ถ้าปราศจากความสุขทางกามารมณ์ ชีวิตจะอยู่ยั่งยืนได้แลหรือ ? ถ้าปราศจากความเชื่อในอมฤตภาพ มนุษย์จะเป็นคนดีมีศีลธรรมได้แลหรือ ? ถ้าปราศจากการกราบไหว้บูชาพระเจ้า มนุษย์จะเจริญก้าวหน้าทางธรรมได้แลหรือ ? “ได้ซิ” พระพุทธเจ้าทรงเฉลย เป้าหมายเหล่านี้ อาจบรรลุได้ด้วยปัญญา ปัญญาเท่านั้นคือลูกกุญแจนำไปสู่มรรคที่สูงขึ้น ซึ่งควรค่าแก่การแสวงหาในชีวิตนี้ ปัญญาจึงเป็นสิ่งที่จะนำความเยือกเย็นและสงบมาสู่ชีวิตนี้ จะทำให้มนุษย์ไม่หวั่นไหวต่อโลกมายาทั้งปวง

ศาสตราจารย์ คาร์ล เปียร์สัน


Man can Cease To Be Crushed / มนุษย์อาจหยุดถูกบีบคั้นได้

มนุษย์ยิ่งใหญ่กว่าพลังมืดบอดของธรรมชาติเพราะว่า ถึงแม้มนุษย์จะถูกธรรมชาติบีบคั้น มนุษย์ก็ยังคงความประเสริฐของตนไว้ด้วยคุณสมบัติคือ มีความเข้าใจใจธรรมชาติของตน อนึ่งพระพุทธศาสนายังชูความจริงยิ่งขึ้นไปกว่านั้น นั่นคือการเข้าใจในธรรมชาติซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถควบคุมสภาวการณ์ของตนไว้ได้ด้วย เขาสามารถหยุดการถูกธรรมชาติบีบคั้น และใช้กฏเกณฑ์ของธรรมชาตินั้น เลื่อนชั้นตัวเองให้สูงขึ้นได้

พาสคาล


 Cause and Effect in stead of Rewards and Punishments / เหตุและผลมาแทนการให้รางวัลและการลงโทษ

ตามหลักการของพระพุทธเจ้าแล้ว โลกนี้มิได้ประกอบขึ้นมาอย่างมั่นคงนัก ชาวพุทธเชื่อในความมีเหตุมีผลแห่งกรรม ซึ่งปฏิบัติการได้อย่างอัตโนมัติ และพูดถึงแต่เรื่องของเหตุและผล แทนการให้รางวัลและการลงโทษ

s to man alone as the creator of his pre นักเขียนนิรนาม


A Spiritual Science / วิทยาศาสตร์ทางจิตวิญญาณ

ฺBuddhism is, on the contrary, a system of thought, a religion, a spiritual science and a way of life, which is reasonable, practical and all-embracing. For 2500 years it has satisfied the spiritual needs of nearly one-third of mankind. It appeals to the West, insists on self-reliance coupled with tolerance for the other’s point of view, embraces science, religion, philosophy, psychology, ethics and art, and points to man alone as the creator of his present life and sole designer of his destiny.

Christmas Humpreys

ในทางตรงข้าม พระพุทธศาสนา คือ ระบบความคิด ศาสนา วิทยาศาสตร์ทางจิตวิญญาณ และ วิถีชีวิต ซึ่งมีเหตุผล เป็นหลักการที่ปฏิบัติได้ และรวบรวมเอาสิ่งดีทั้งปวงไว้ เป็นเวลา ๒๕๐๐ ปี ที่พระพุทธศาสนาได้สนองต่อความต้องการทางจิตวิญญาณของประชากรมนุษย์เกือบเศษหนึ่งส่วนสาม พระพุทธศาสนาได้สร้างความสนใจให้กับโลกตะวันตก ยืนหยัดอยู่บนหลักการพึ่งตนเอง ควบคู่กับการมีใจกว้างอดทนต่อความคิดเห็นของคนอื่น คล้อยตามวิทยาศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา จิตวิทยา จริยศาสตร์ และศิลปะ และชี้บอกว่า มนุษย์คือพระผู้สร้างสรรค์ชีวิตของเขาเองในปัจจุบัน และเป็นผู้ออกแบบเป้าหมายชีวิตในอนาคต

นายคริสต์มัส ฮัมฟรียส์


To Awake the Human Heart / ปลุกหัวใจมนุษย์ให้ตื่น

Surely the mysterious East, that fertile mother of religions, has given us in Buddhism a true revelation, since it makes known to us the moral beauty and purity that lies in the deep of human nature needing no other divinity than that which abides in the human heart to awake them into living glory.

Charles T. Gorham

แน่นอนว่า ตะวันออกอันลึกลับ มารดาผู้สมบูรณ์แห่งศาสนาทั้งหลาย ได้ให้วิวรณ์การเปิดเผยที่แท้จริงในพระพุทธศาสนาแก่พวกเราทั้งหลาย เพราะได้ให้ความรู้เกี่ยวกับความงามและความบริสุทธิ์ของศีลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในส่วนลึกของธรรมชาติมนุษย์ ไม่จำเป็นต้องอาศัยทิพยอำนาจใดๆ นอกจากสิ่งที่อาศัยอยู่ในหัวใจมนุษย์ ที่จะถูกปลุกเร้าให้ตื่นสู่ความรุ่งโรจน์อย่างมีชีวิตชีวา

ชาร์ลส์ ที กอร์ฮัม


Elimination of Suffering / การดับทุกข์

Everyone wants to be happy and never wants to suffer. But why are people still suffering and unable to do away with their own sufferings themselves ? Sometimes, the more they try to get rid of them, the more they suffer. This is because they do not know what is the true cause of suffering, what is the true cause of happiness. If they knew,they would be successful. They would eliminate  the cause of suffering and create the cause of happiness. One of the important of obstacless to this success is one’s own mind. Because we comply too much with the dictates of our minds, we have to suffer.

H.H.Somdej Phra Nyanasamvara,

The Supreme Patriarch of Thailand

ทุกคนปรารถนาสุข ไม่ต้องการความทุกข์ แต่ทำไมคนเราจึงยังคงต้องเป็นทุกข์ และไม่สามารถจะแก้ทุกข์ของตนเองได้ บางที่ยิ่งแก้ยิ่งเป็นทุกข์มาก ทั้งนี้เพราะไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริงว่า อะไรเป็นเหตุของทุกข์ อะไรเป็นเหตุของสุข ถ้าได้รู้แล้วก็จะแก้ได้ คือจะละเหตุที่ให้เกิดทุกข์ ทำเหตุที่ให้เกิดสุข อุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งคือใจของตนเอง เพราะคนเราตามใจของตนเองมากไปจึงเกิดความเดือดร้อน

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


 

———————————————————— คัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือ พระพุทธเจ้าในสายตานักปราชญ์โลก , พระศรีปริยัติโมลี , พิมครั้งที่ 4 มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ———————————————————— สำหรับผู้ที่ค้นหาทางรอดที่ปฏิเสธ คำสอนพระพุทธเจ้า ก็เท่ากับปฏิเสธทางรอดทุกทาง ที่มา : http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2006/10/Y4831450/Y4831450.html จากคุณ : สายลมเหงาแห่งขุนเขา  – [ 28 ต.ค. 49 20:38:19 ]

จาก http://www.bvrbuddha.com/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...