ผู้เขียน หัวข้อ: Not Always So ไม่เสมอไป : จิตวิญญาณการฝึกตนแห่งเซน (โดย ชุนริว ซูซูกิ โรชิ )  (อ่าน 1742 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ไม่เสมอไป: จิตวิญญาณการฝึกตนแห่งเซน
Not Always So

ชุนริว ซูซูกิ โรชิ (บรรยาย)

ธรรมะของ ซูซิกิ โรชิ ข้ามพ้นพรมแดนทางภาษาและวัฒนธรรม ลอกเปลือกนอกความเป็นญี่ปุ่นของเซน พุ่งตรงไปยังการสื่อสารแก่นคำสอนจากใจสู่ใจให้แก่นักเรียนเซนชาวอเมริกัน โรชิเป็นหนึ่งในไพโอเนียร์คนสำคัญ ผู้วางรากฐานความเข้าใจพุทธธรรมในโลกตะวันตก หนังสือรวบรวมคำสอนที่ชื่อ "Zen Mind's, Beginner's Mind" ถือเป็นหนังสือธรรมะคลาสสิคที่ได้รับความนิยมสูงสุด

“เมื่อไม่คาดหวังสิ่งใด เราจะสามารถเป็นตัวของตัวเอง นี่คือวิถีของเรา วิถีแห่งการใช้ชีวิตอย่างเต็มเปี่ยมในแต่ละชั่วขณะ”

"เราทุกคนไม่เหมือนกัน แต่ละคนมีความแตกต่าง และแต่ละคนมีปัญหาของตัวเอง โชคยังดีที่เธอได้รับแรงสนับสนุนจากคนอื่นที่ฝึกร่วมกับเธอ แต่นี่ไม่ใช่ร่มเงาที่คอยให้การปกป้อง หากแต่เป็นพื้นที่ว่างให้เธอฝึกตนได้อย่างเต็มที่เป็นพื้นที่ว่างที่เธอมีโอกาสแสดงความเป็นตัวเธอได้อย่างเต็มที่"


— ชุนริว ซูซูกิ โรชิ (๑๙๐๔ - ๑๙๗๑)


ธรรมาจารย์เซนผู้มีชีวิตเผยแผ่พุทธธรรมในโลกตะวันตกช่วงทศวรรษที่ ๑๙๖๐ ผู้ก่อตั้งซานฟรานซิสโก เซน เซนเตอร์ และศูนย์ปฏิบัติธรรมทัสซาฮาร่า ในรัฐแคลิฟอเนียร์ สหรัฐอเมริกา

ธรรมะของ ซูซิกิ โรชิ ข้ามพ้นพรมแดนทางภาษาและวัฒนธรรม ลอกเปลือกนอกความเป็นญี่ปุ่นของเซน พุ่งตรงไปยังการสื่อสารแก่นคำสอนจากใจสู่ใจให้แก่นักเรียนเซนชาวอเมริกัน โรชิเป็นหนึ่งในไพโอเนียร์คนสำคัญ ผู้วางรากฐานความเข้าใจพุทธธรรมในโลกตะวันตก หนังสือรวบรวมคำสอนที่ชื่อ "Zen Mind's, Beginner's Mind" ถือเป็นหนังสือธรรมะคลาสสิคที่ได้รับความนิยมสูงสุด
 

"ผมเชื่อว่าเราควรเคารพในทุกทางเดินที่แต่ละคนได้รับจากการ “แสวงหาทางจิตวิญญาณ” เพราะเอาเข้าจริงแล้ว เราไม่อาจ เข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ว่าบาดแผลของใครต้องการการเยียวยาแบบใด...

ถ้าบังเอิญเราเดินมาบรรจบกันบ้างในบางจังหวะ และคุณสนใจพอจะถามความเห็นในห้วงปัจจุบันของผมแล้วละก็ ผมคงบอกได้เพียงว่าเราต่างยังคงเดินอยู่บนโลกเหมือนกันไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีหลบหนีหรือฟิลเตอร์มันด้วยเซนหรือด้วยสิ่งใดก็ตาม"


— คำนิยม โดย ปราบดา หยุ่น

จาก http://readery.co/9786163290557




เนื้อหาโดยสังเขป     เมื่อไม่ยึดติดกับคำพูดหรือกฎ เมื่อไม่มีความคิดมากมายล่วงหน้าในหัว เราจะลงมือทำอะไรสักอย่างกันจริงๆ เสียที การลงมือทำนั่นแหละ คือการนำคำสอนมาใช้ "ชุนริว ซูซูกิ" ธรรมจารย์เซนผู้มีชีวิตเผยแผ่พุทธธรรมในโลกตะวันตกช่วงทศวรรษที่ 1960 ผู้ก่อตั้งซานฟรานซิสโก เซน เซ็นเตอร์ และศูนย์ปฏิบัติธรรมทัสซาฮารา ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมาเปิดเผยความลับของเซน ซึ่งธรรมะของ ซูซูกิ โรชิ นั้น ได้ข้ามพ้นแดนทางภาษาและวัฒนธรรม ลอกเปลือกนอก ความเป็นญี่ปุ่นของเซน พุ่งตรงไปยังการสื่อสารแก่นคำสอนจากใจสู่ใจ ให้แก่นักเรียนเซนชาวอเมริกัน โรชิเป็นหนึ่งในไพโอเนียร์คนสำคัญ ผู้วางรากฐานความเข้าใจพุทธธรรมในโลกตะวันตก

สารบัญ

- ชิคันทาสะ : ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในแต่ละชั่วขณะ
- จดหมายจากความว่าง
- การฝึกเซน
- ไม่เสมอไป
 - ไม่ว่าเธออยู่ที่ใด การตื่นรู้อยู่ตรงนั้นแล้ว

คัดบางส่วน มาให้ ลองอ่านกัน


“แม้จะปวดขาแค่ไหนก็ไม่ควรขยับ” บางคนอาจเข้าใจสิ่งที่ฉันพูดตรงตามตัวอักษร แต่จริงๆ แล้วฉันหมายความว่า ความมุ่งมั่นในการฝึกซาเซนควรเป็นเช่นนั้น หากปวดขาเหลือเกิน เธออาจเปลี่ยนท่านั่งได้ แต่ความมุ่งมั่นของเธอควรเป็นอย่างนั้น

คำว่า “ควร” เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะไม่จำเป็นว่าต้องเป็นอย่างนั้น

ความลับของโซโตะเซนมีเพียงสองคำ “ไม่เสมอไป” ...สามคำในภาษาอังกฤษ สองคำในภาษาญี่ปุ่น นี่คือความลับของคำสอน มันอาจเป็นเช่นนั้นก็ได้ แต่ก็ไม่เสมอไป เมื่อไม่มีความคิดมากมายล่วงหน้าในหัว เราจะลงมือทำอะไรสักอย่างกันจริงๆ เสียที การลงมือทำนั่นแหละ คือ การนำคำสอนมาใช้
...

การตามหาคำสอนที่ยิ่งใหญ่อย่างเช่นพุทธธรรมคือการตามหาสิ่งที่ดี แต่ไม่ว่าเธอจะพบอะไรก็ตาม เธอก็ไม่ต่างจากนักท่องเที่ยวผู้แวะชม... ในทางจิตวิญญาณ เธอเป็นได้แค่นักท่องเที่ยวที่เพียงแวะเวียนเข้ามา “โอ ช่างเป็นคำสอนอันดีงาม เป็นคำสอนที่จริงแท้มากๆ!” การเป็นแค่นักท่องเที่ยวคืออันตรายอย่างหนึ่งของการฝึกเซน จงระวัง! เพราะความรู้สึกตื่นตาตื่นใจในคำสอนไม่ได้ช่วยอะไรเลย อย่าตกเป็นเหยื่อของสิ่งต่างๆ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะสวยงามหรือดูเหมือนจริงแค่ไหน เพราะมันก็แค่การเล่นเกมไปวันๆ เธอควรไว้วางใจในพุทธะ ธรรมะ และสังฆะ ในความหมายที่แท้จริงต่างหาก

อิสรภาพที่แท้จริงคือการไม่รู้สึกถูกจำกัดเมื่อต้องสวมจีวรพระเซนอันรุ่มร่ามและเป็นทางการ ไม่ต่างจากชีวิตอันยุ่งเหยิงของเราที่เราควรสวมความเป็นสมัยใหม่โดยไม่รู้สึกถูกรบกวน ไม่รู้สึกว่าต้องหนี หรือติดกับอยู่ในความทันสมัยนั้น การไม่ไปไหนและไม่หนีจะทำให้เราพบความสงบในชีวิตอันโกลาหลนี้

ไม่เสมอไป:จิตวิญญาณการฝึกตนแห่งเซน
(NOT ALWAYS SO : Practicing the True Spirit of Zen)
SHUNRYU SUZUKI บรรยาย
อุษณี นุชอนงค์ แปล
สำนักพิมพ์ปลากระโดด

จาก https://www.facebook.com/174411215968900/photos/pb.174411215968900.-2207520000.1469341232./866440733432608/?type=3&theater

<a href="https://www.youtube.com/v/XG84aYMQIHw" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/XG84aYMQIHw</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/qmt5gBKehhI" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/qmt5gBKehhI</a>

ิอีกมากมาย https://www.youtube.com/playlist?list=PLS_dLfEA3fXNyAkJ3VpYMPr1Tn6o6vTSW
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



จิตทะลวงกรง ชุนริว ซุสุกิ

คำสอน

"เมื่อจิตไม่ถูกจำกัดด้วยข้อจำกัด นั่นแหละคือสิ่งที่เราหมายถึงการปฏิบัติ"

เซ็น-ชีวิตปกติ



ท่านซุสุกิเน้นย้ำเสมอถึงการปฏิบัติที่ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ท่านกล่าวว่า การฝึกเซ็นและกิจวัตรปกติประจำวันนั้นไม่มีความแตกต่างกัน การค้นหาความหมายของชีวิตก็คือการค้นหาความหมายของการดำรงชีวิตในแต่ละวันของเรานั่นเอง ท่านกล่าวว่า "เมื่อตอนที่ฉันอยู่ที่อารามเอเฮจิ พวกเราที่นั่นแค่ทำสิ่งที่เราต้องทำ มันเหมือนกับที่เธอตื่นในเวลาเช้า นั่นแหละคือทั้งหมด เมื่อเราต้องนั่ง เราก็นั่ง เมื่อเราต้องกราบพระ เราก็กราบพระ เมื่อเราปฏิบัติ เราไม่รู้สึกว่ามีอะไรที่เป็นพิเศษ เราไม่รู้สึกด้วยซ้ำไปว่า เรากำลังดำเนินชีวิตในอาราม สำหรับพวกเราแล้ว ชีวิตในอารามก็คือชีวิตปกติ"

อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่า "อะไรก็ได้คือการปฏิบัติ ดังนั้นจึงไม่ต้องลงมือปฏิบัติใดๆเลย" ท่านซุสุกิได้เตือนให้เราเข้าใจอย่างถูกต้องว่า "เมื่อจิตไม่ถูกจำกัดด้วยข้อจำกัด นั่นแหละคือสิ่งที่เราหมายถึงการปฏิบัติ" ฉะนั้น หากเรายังคงนึกหรือพูดว่า "อะไรก็ตามที่ฉันทำล้วนคือพุทธภาวะ ดังนั้นจึงไม่ต้องฝึกซาเซ็นอะไรเลย" เราก็ยังคงถูกจำกัดด้วย "ความเข้าใจแบบทวิภาวะ[1]อยู่" นั่นเอง



จิตใจของผู้เริ่มต้น

คำสอนสำคัญที่ท่านซุสุกิบรรยายไว้ และต่อมาได้กลายเป็นเสมือนคำสอนประจำตัวท่าน นั่นคือ "จิตใจของผู้เริ่มต้น" ท่านกล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุด สำหรับนักศึกษาเซ็นก็คือ การไม่อยู่ในทวิภาวะ และ "จิตเดิมแท้" ของเรานั้นได้รวมทุกสรรพสิ่งเข้าไว้อยู่แล้ว จุดมุ่งหมายของการปฏิบัตินั้นก็เพื่อรักษา "จิตใจของผู้เริ่มต้น" นี้ไว้  ซึ่ง จิตใจของผู้เริ่มต้นนี้ ไม่ใช่จิตอันคับแคบ แต่คือจิตว่างและเตรียมพร้อม เพราะ "หากจิตของเธอว่าง มันก็พร้อมสำหรับทุกๆสิ่ง มันเปิดกว้างต่อทุกสิ่ง ในจิตของผู้เริ่มต้นนั้นมีสิ่งที่เป็นไปได้มากมาย ทว่าในจิตของผู้เชี่ยวชาญนั้น มีสิ่งที่เป็นไปได้น้อยมาก" และท่านยังย้ำว่า "ในจิตของผู้เริ่มต้นนั้น ไม่มีความคิดที่ว่า 'ฉันได้บรรลุบางสิ่ง' ความคิดที่ถือเอาตนเองเป็นศูนย์กลางทั้งหลายนั้นแหละที่จำกัดจิตอันกว้างใหญ่ของเรา"

สุขและทุกข์

"ความทุกข์นั้นดำรงอยู่อย่างจริงแท้ในความสุขของเธอ ดังนั้น ถ้าเธอแสวงหาความสุข สิ่งที่เธอจะได้รับก็คือความทุกข์ ไม่ใช่ความสุข ด้วยเหตุนี้ เมื่อเธอทุกข์ เธอควรค้นหาความสุขแท้จริงในความทุกข์ของเธอ นั่นคือวิธีที่เธอจะแสวงหาความสุขที่แท้ หากเธอพยายามค้นหาว่า อะไรคือความทุกข์อันแท้จริง เธอควรแสวงหาความสุข และเธอจะพบว่าอะไรคือความทุกข์ในความหมายที่แท้จริง"



ปัญหา

"หากความเข้าใจชีวิตของเธอเป็นทวิภาวะอยู่เสมอ หากว่ามันตั้งอยู่บนความคิดเห็นแห่ง ถูกหรือผิด, ดีหรือเลว หากว่านี่คือเรื่องปกติของเราในการใช้ชีวิตอยู่ในโลก ไม่ว่าที่ใดๆที่เธอไป มันก็จะมีปัญหา ดีหรือเลว, ถูกหรือผิด แต่ถ้าหากความเข้าใจในปัญหาของเธอนั้นถูกต้อง ตัวปัญหานั้นเองที่จะกลายเป็นการปฏิบัติ แต่เพราะความเข้าใจอันอ่อนด้อยของเธอในปัญหา เธอจึงไม่อาจทำให้การปฏิบัติของเธอเกิดขึ้นได้ในความหลงนั้น... เธอกำลังมีปัญหาแล้ว และบางปัญหาก็ค่อนข้างยากที่จะควบคุม เหตุที่มันยากในการควบคุมปัญหาของเธอนั่นก็คือ แนวทางแห่งการปฏิบัติของเธอนั้นไม่ถูกต้อง หากว่าแนวทางแห่งการปฏิบัติของเธอถูกต้อง ปัญหาของเธอนั่นแหละคือการปฏิบัติแบบหนึ่ง"



ซาโตริ

ตลอดชีวิตของท่าน ท่านพูดถึง "ซาโตริ - การรู้แจ้ง" ไว้น้อยครั้งมาก จนแม้ครั้งหนึ่ง เมื่อศิษย์ของท่านถามว่า เหตุใดท่านจึงไม่ค่อยพูดเรื่องซาโตริ ภรรยาของท่านซึ่งนั่งอยู่ใกล้ๆ ได้กระซิบบอกกับศิษย์ผู้นั้นว่า "เพราะท่านไม่มีมันน่ะสิ" พอท่านซุสุกิได้ยินดังนั้น ท่านก็แกล้งใช้พัดตีภรรยาท่าน  แล้วพูดว่า "ชูวววว อย่าไปบอกเขาสิ!" แล้วทั้งหมดก็หัวเราะกัน จากนั้นท่านกล่าวว่า "ไม่ใช่ว่าซาโตรินั้นไม่สำคัญ แต่ว่ามันไม่ใช่ส่วนของเซ็นที่จำเป็นจะต้องเน้นย้ำ" อย่างไรก็ตาม อันที่จริงแล้วในการไม่พูดเรื่อง ซาโตริ การรู้แจ้ง นั้น ท่านได้ให้เหตุผลไว้ว่า เมื่อเราพูดสิ่งใดๆเกี่ยวกับการรู้แจ้ง นั่นไม่ใช่ "การรู้แจ้ง" จริงๆ โดยท่านยกตัวอย่างว่า "พระพุทธเจ้าตรัสว่า 'โอ้หนอ ช่างวิเศษนักที่ได้แลเห็นธรรมชาติแห่งพุทธะในสรรพสัตว์' พระองค์ทรงพบพุทธภาวะในสัตว์ทั้งหลาย แต่ตอนที่พระองค์ตรัสเช่นนั้น ฉันคิดว่า มันช้าไปมากแล้ว (จากขณะแห่งการตรัสรู้)"



ชีวประวัติ

ชุนริว ซุสุกิ เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1904 ณ หมู่บ้านทซึชิซะวะ (Tsuchisawa) หมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่งใกล้กับเมืองฮิระทซึกะ (Hiratsuka) ในจังหวัดคะนะงะวะ ประเทศญี่ปุ่น  ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 50 ไมล์ บิดาของท่านคือ บุทซึมอน โซกาคุ ซุสุกิ เป็นเจ้าอาวาสวัดโชกันจิ  วัดเล็กๆแห่งนิกายโซโตเซ็นในหมู่บ้าน ส่วนมารดาของท่านนามว่า โยเนะ ก็เป็นบุตรสาวของพระในนิกายเซ็นเช่นกัน ฐานะของครอบครัวซุสุกิค่อนข้างยากจนและลำบาก เพียงใช้ชีวิตได้แบบพอประทังเท่านั้น



หนทางแห่งเซ็น

ในปี ค.ศ.1916 ซุสุกิ อายุ 12 ปี และตัดสินใจศึกษาเซ็นที่วัด โซอุน อิน (Zoun in) ในเมืองโมริ จังหวัดชิซุโอะกะ โดยเข้าเป็นศิษย์ของ พระอาจารย์เกียวคุจุน โซออน ซุสุกิ ผู้เป็นทั้งบุตรบุญธรรมและศิษย์ของบิดาของท่านนั้นเอง แม้ว่าครอบครัวของท่านจะเห็นว่าท่านยังเด็กเกินไปที่จะจากบ้าน แต่พวกเขาก็อนุญาตในที่สุด ซุสุกิจึงกลายเป็นศิษย์ที่อายุน้อยที่สุดในจำนวนศิษย์แปดคนของวัด

ที่โซอุนอิน ซุสุกิ ฝึกตนอย่างหนักเช่นเดียวกับศิษย์คนอื่นๆ กิจวัตรของแต่ละวันคือตื่นตั้งแต่ตี 4 นั่งซาเซ็น สวดมนต์ ทำความสะอาดวัด และทำงานอื่นๆในวัดตลอดทั้งวัน ก่อนที่จะนั่งซาเซ็นอีกครั้งในตอนเย็น ครั้นเมื่ออายุ 13 ปี พระอาจารย์โซออนจึงทำการบวชให้แก่ท่าน และได้ให้สมญานามว่า "โชกาคุ ชุนริว" ต่อมาในปี ค.ศ. 1918 ท่านกลายเป็นศิษย์คนเดียวของวัดที่ยังเหลืออยู่ นั่นทำให้พระอาจารย์โซออนกวดขันท่านอย่างเข้มงวด จนบางครั้งท่านคิดจะออกจากวัด แต่ก็อดทนต่อไปด้วยไม่คิดยอมแพ้

เด็กชายซุสุกิเข้าเรียนประถมเมื่ออายุ 6 ขวบ แม้ท่านเป็นเด็กตัวเล็ก เชื่องช้า แต่ก็เป็นคนอ่อนโยนมีเมตตา และมีผลการเรียนที่ดี จนครูของเขาแนะนำว่าเขาจะก้าวหน้ามากกว่านี้ หากได้ออกไปจากจังหวัดคะนะงะวะ และเรียนให้หนักยิ่งขึ้น



ในปี ค.ศ.1924 ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมแห่งนิกายโซโต ณ กรุงโตเกียว ก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย โคมะซะวะ ไดงะคุริน (Komazawa daigakurin) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของนิกายโซโต ในปีถัดมา ในระหว่างนี้ ท่านยังคงเดินทางไปหาพระอาจารย์โซออนทุกครั้งที่มีโอกาส  และในปี ค.ศ.1926 พระอาจารย์โซออน ได้สืบทอดสายธรรมให้แก่ท่าน

หลังจากสำเร็จการศึกษาวิชาเอกทางด้านนิกายเซ็นและพุทธปรัชญา และวิชาโทภาษาอังกฤษ ในปี 1930 ซุสุกิหนุ่มได้เข้าฝึกฝนเซ็นอย่างจริงจังต่อ ณ อารามเอเฮจิ ในจังหวัดฟุคุอิ ซึ่งเป็นหนึ่งในสองวัดใหญ่ต้นสังกัดของนิกายโซโตเซ็น ที่นี่เองท่านได้พบกับพระอาจารย์ผู้เป็นนักปราชญ์มีชื่อหลายท่าน เช่น พระอาจารย์เกมโป คิตาโนะ โรชิ เจ้าอาวาสของเอเฮจิ  พระอาจารย์ อิอัน คิชิคะวะ โรชิ ผู้เชี่ยวชาญคัมภีร์ โชโบเงนโซ ซึ่งเป็นงานประพันธ์ของ พระอาจารย์โดเง็น ผู้ก่อตั้งนิกายโซโตเซ็น ในญี่ปุ่น การได้ฝึกฝนในอารามเอเฮจิได้ช่วยให้ท่านเข้าใจในพุทธธรรมกระจ่างชัดยิ่งขึ้น จากนั้นท่านได้เดินทางไปฝึกฝนที่อาราม โซจิจิ ซึ่งเป็นวัดต้นสังกัดของนิกายโซโตอีกแห่งหนึ่ง ก่อนที่จะกลับมาดูแลวัดบ้านเกิดของท่าน ในปี 1932 และในปีเดียวกันนี้เองท่านได้เริ่มสอนในฐานะอาจารย์เซ็นเป็นครั้งแรก



สู่อเมริกา

ครั้งแรกที่ท่านซุสุกิถูกทาบทามให้เดินทางไปยัง ซาน ฟรานซิสโก คือเมื่อปี 1956 เพื่อไปช่วยพระอาจารย์ โฮโด โทบะเสะ ที่ โซโคจิ โซโต มิชชั่น แต่ท่านปฏิเสธ จนกระทั่งปี 1959 ท่านได้สะสางงานที่มีอยู่ทั้งหมดและออกเดินทางสู่อเมริกา

พระอาจารย์ซุสุกิ ถึงซาน ฟรานซิสโก ในวันที่ 23 พฤษภาคม ในวัย 55 ปี ท่านได้ทำหน้าที่สอนซาเซ็นและบรรยายธรรมที่โซโคจิ และท่านก็ได้พบว่า ผู้คนที่นี่ให้ความสนใจในเซ็นเป็นอย่างมากและวัฒนธรรมอเมริกันก็น่าสนใจและง่ายต่อการปรับตัวของท่าน ท่านถึงกับกล่าวว่า "หากฉันรู้ว่ามันจะเป็นอย่างนี้ ฉันจะมาที่นี่ให้เร็วกว่านี้"



สาเหตุที่เซ็นเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วในอเมริกา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าในช่วงเวลานั้น ชาวอเมริกันรุ่นใหม่ต่างให้ความสนใจกับศาสนาและปรัชญาตะวันออก ข่าวการบรรยายของท่านได้แพร่สะพัดไปในกลุ่มของคนรุ่นใหม่ ท่านจึงตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า จะสอนเซ็นให้แก่ชาวตะวันตกเหล่านี้อย่างจริงจัง ท่านจัดให้มีการนั่งซาเซ็นเป็นเวลา 20 นาที ในทุกๆ เช้าที่วัดโซโคจิ และจำนวนผู้มาร่วมซาเซ็นก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจึงได้มีการก่อตั้ง ซาน ฟรานซิสโก เซ็น เซ็นเตอร์ (San Francisco Zen Center) ขึ้นในปี ค.ศ. 1962 สำหรับผู้สนใจชาวตะวันตกโดยเฉพาะ และตามมาด้วย ทัซซาฮารา เซ็น เมาน์เท็น เซ็นเตอร์ (Tassajar a Mountain Zen Center) ในปี 1967

กล่าวได้ว่าท่านชุนริว ซุสุกิ เป็นผู้หว่านกล้าและสร้างสถาบันพุทธศาสนานิกายโซโตเซ็น ที่ใหญ่ที่สุดในตะวันตก ศิษย์ชาวตะวันตกเป็นจำนวนมากได้รับการบวชจากท่าน ซึ่งทั้งหมดได้ช่วยกันสืบทอดเผยแผ่ธรรมะอย่างกว้างขวางในอเมริกาจนกระทั่งปัจจุบัน

ชุนริว ซุสุกิ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.1971



เส้นทางชีวิต

ค.ศ. 1904
เกิด

ค.ศ. 1910
เข้าเรียนชั้นประถม

ค.ศ. 1916
จากบ้านไปเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ เกียวคุจุน โซออน ซุสุกิ ที่วัดโซอุนอิน

ค.ศ. 1917
ได้รับการบวช

ค.ศ. 1918
ยังคงอยู่กับพระอาจารย์ โซออน ในคณะที่ศิษย์คนอื่นออกจากวัดหมดแล้ว คอยช่วยเหลือกิจการของวัดโซอุนอิน และรินโซอิน ที่พระอาจารย์โซออนดูแล

ค.ศ. 1924
เข้าศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมแห่งนิกายโซโต

ค.ศ. 1925
เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัย โคมะซะวะ ไดงะคุริน สถาบันอุดมศึกษาของนิกายโซโต

ค.ศ. 1926
ได้รับการสืบทอดสายธรรมจากพระอาจารย์โซออน

ค.ศ. 1930
สำเร็จการศึกษา และเข้าสู่การฝึกฝนที่วัดเอเฮจิ

ค.ศ. 1931
ออกจากวัดเอเฮจิ ฝึกฝนต่อที่วัด โซจิจิ

ค.ศ. 1932
กลับสู่วัดบ้านเกิด เริ่มสอนในฐานะอาจารย์เซ็นครั้งแรก

ค.ศ. 1933
บิดาเสียชีวิต ในปีเดียวกันนี้ท่านได้สมรสกับสตรีคนหนึ่ง แต่เธอป่วยเป็นวัณโรค การแต่งจึงสิ้นสุด

ค.ศ. 1935
สมรสกับ ชิเอะ มุระมัทซึ

ค.ศ. 1952
ชิเอะ ภรรยาของท่านถูกฆาตรกรรมโดยพระเซ็นวิกลจริตรูปหนึ่ง

ค.ศ. 1956
ได้รับการทาบทามให้ไปยัง ซาน ฟรานซิสโก แต่ปฏิเสธ

ค.ศ. 1958
สมรสกับ มิทซุ มัทซึโนะ

ค.ศ. 1959
เดินทางไปอเมริกา

ค.ศ. 1961
เริ่มสอนสมาธิครั้งแรก

ค.ศ. 1962
ก่อตั้ง ซาน ฟรานซิสโก เซ็น เซ็นเตอร์

ค.ศ. 1967
ก่อตั้ง ทัซซาฮารา เซ็น เมาน์เท็น เซ็นเตอร์

ค.ศ. 1970
จัดพิมพ์หนังสือเล่มแรก “Zen Mind, Beginner’s Mind”

ค.ศ. 1971
เสียชีวิต



วาทะ

โลกนี้อัศจรรย์ในตัวมันเอง

"ตัวฉัน" เป็นเพียงประตูที่กำลังสั่นไหวไปตามลมหายใจเข้าออก
ในจิตใจของผู้เริ่มต้น มีความเป็นไปได้อยู่เต็มไปหมด
นั่นคือสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญมองไม่เห็น


อ่านเพิ่มเติม http://www.newheartawaken.com/guru/26
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...