ผู้เขียน หัวข้อ: คำสอนลับแห่งพุทธะ(๖) : วัชรยานในโลกทัศน์แบบไตรยาน (ต่อ)  (อ่าน 1088 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ไตรสรณคมณ์

จุดเริ่มต้นของการเป็นชาวพุทธอยู่ตรงที่ การรับไตรสรณคมน์ ในรัตนะทั้งสาม

รัตนะทั้งสามได้แก่ พุทธะ ธรรมะ และสังฆะ มีความหมายเหมือนกันทั้งในหินยานและมหายาน ทว่ามีความแตกต่างกันในแง่ของการมองไตรรัตนะเป็นที่พึ่ง

ในหินยาน ผู้ปฏิบัติรับไตรสรณะเป็นที่พึ่งของตนเอง ด้วยเป้าหมายแห่งการปลดปล่อยตัวเองจากความทุกข์แห่งสังสารวัฎ วิสัยทัศน์แบบมหายานนั้นกว้างใหญ่กว่า ในมหายาน ผู้ปฏิบัติรับไตรสรณะเพื่อเป้าหมายแห่งการปลดปล่อยสรรพสัตว์ในสังสารวัฎ หรือด้วยการคิดว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายกำลังรับไตรสรณคมน์ไปพร้อมกันด้วย ซึ่งจะช่วยปัดเป่าความทุกข์ของพวกเขา ในหินยาน ผู้ปฏิบัติรับไตรสรณะเป็นที่พึ่งจนกระทั่งชีวิตดับสูญ แต่ในมหายานการรับไตรสรณคมณ์จะเป็นส่วนหนึ่งของผู้ปฏิบัติกระทั่งบรรลุสู่การรู้แจ้ง

ส่วนในวัชรยาน นำเสนอแนวทางที่เป็นโดดเด่นต่างออกไป ผู้ปฏิบัติไม่ได้รับเฉพาะไตรรัตนะเป็นที่พึ่งเท่านั้น แต่ยังรับเอารากทั้งสามเป็นที่พึ่งอีกด้วย

ครู หรือลามะ อันได้แก่ ครูต้น และครูบาอาจารย์ในสายธรรม คือรากแห่งพลังการปฏิบัติ
ยิดัม คือรากแห่งการบรรลุผล
ธรรมบาล และ ทาคินี  คือรากแห่งพุทธกิจ ซึ่งปัดเป่าอุปสรรคบนเส้นทาง

วัชรยานยังมีการแยกแยะระหว่างการรับไตรสรณคมณ์ "ภายนอก" "ภายใน" และ "ลับ"
ในขั้นภายนอก การรับรัตนะทั้งสามและรากทั้งสามเป็นที่พึ่งก็เหมือนกับที่เข้าใจกัน
ในขั้นภายใน การรับครูต้นเป็นที่พึ่งถูกมองว่าไม่ต่างกับการรวมเป็นหนึ่งกับทุกสถานการณ์ที่พบเจอ กายของครูแสดงถึงสังฆะ วาจาของครูแสดงถึงธรรมะ และจิตของครูแสดงถึงพุทธะ หรือกายคือครู วาจาคือธรรมบาลและทาคินี ส่วนจิตคือยิดัม
ในขั้นลับ คือการรับธรรมชาติแห่งจิตเป็นที่พึ่ง ผู้ปฏิบัติมีประสบการณ์ในธรรมชาติความว่างของจิตในฐานะ กายสมบูรณ์(ธรรมกาย) ความชัดแจ้งในฐานะ กายแห่งประสบการณ์อันเต็มเปี่ยม (สัมโภคกาย) และการประสานเป็นหนึ่งระหว่างความว่างกับความชัดแจ้ง ในฐานะกายแห่งรูป (นิรมานกาย)

ปณิธานแห่งไตรสรณคมน์

หากการรับไตรสรณคมน์เป็นข้อแตกต่างระหว่างชาวพุทธกับคนที่ไม่ใช่ชาวพุทธ ปณิธานก็เป็นตัวแยกหินยานออกจากมหายาน ในคำสอนหินยาน ผู้ปฏิบัติแสวงหาการหลุดพ้นจากทุกข์ให้แก่ตัวเอง ส่วนในมหายาน ผู้ปฏิบัติแสวงหาการหลุดพ้นจากทกข์ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง ปณิธานของวัชรยานไม่ต่างจากมหายาน ทว่ามีวิธีการในการปลดปล่อยสรรพสัตว์ที่หลากหลายจากบริบทเฉพาะ จริงๆ แล้ว วัชรยานมองว่าโดยธรรมชาติสรรพสัตว์นั้น "ตื่นอยู่แล้ว" แต่ยังไม่ตระหนักถึงภาวะแห่งการตื่นนั้น อะไรกันเล่าที่ถือว่าเป็นวัตถุแห่งความกรุณาที่แท้จริง? ความกรุณาคือการมองเห็นว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องทนทุกข์จากการไม่รู้จักสิ่งที่ตนเป็นอย่างแท้จริง และความกรุณาคือการปรารถนาที่จะปลดปล่อยสรรพสัตว์ออกจากความไม่รู้นั้น

มุมมองอันหลากหลาย

แต่ละพาหนะมีมุมมองที่ต่างกันออกไป
พาหนะแห่ง "ผู้ฟัง" หรือ ขั้นต้นแห่งหินยาน บรรลุขั้นของ "ภาวะไม่มีตัวตนแห่งปัจเจกบุคคล" จากการฝึกใจให้ดำรงอยู่ในธรรมชาติของควมว่าง ทว่ายังไม่สามารถรับรู้ถึง "ภาวะไม่มีตัวตนแห่งปรากฏการณ์"
พาหนะแห่ง "ปัจเจกพุทธะ" คือการบรรลุขั้นของ การรู้แจ้งในบางส่วนของ "ภาวะไม่มีตัวตนแห่งปรากฏการณ์"
พาะหนะแห่งโพธิสัตว์ ในมุมมองแบบหายาน มองว่า ปรากฏการณ์ทั้งปวงเป็นเพียงสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยจิต ปรากฏการณ์ปราศจากความจริงในตัวมันเองไม่ต่างจากความฝัน มีอุปมาอุปไมยสิบสองประการที่ช่วยแสดงให้เห็นภาพถึงมุมมองนี้ ปรากฏการณ์ทั้งปวงมีธรรมชาติคล้ายกับภาพในกระจกเงา เงาสะท้อนของดวงจันทร์บนผิวน้ำ รุ้ง ภาพลวงตา ปราสาทบนท้องฟ้า และอื่นๆ  ในพาหนะแห่งโพธิสัตว์ ผู้ปฏิบัติบรรลุถึง ภาวะไม่มีตัวตนแห่งปรากฏการณ์ โดยสมบูรณ์
โดยพื้นฐานแล้ว วัชรยานให้ข้อสรุปต่อหลักการที่ว่า การแสดงตนของสิ่งต่างๆ มีธรรมชาติที่ไม่ต่างจากความฝัน มันคือสิ่งเดียวกับที่ถูกแสดงไว้ในปรัชญาปารมิตา "รูปนั้นว่าง ความว่างคือรูป รูปไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกไปจากความว่าง ความว่างไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกไปจากรูป" ทั้งมหายานและวัชรยานเห็นตรงกันในจุดนี้ ทว่าวัชรยานไปต่อ โดยเพิ่มเติมตรงจุดที่ว่า

จิตโดยกำเนิด คือธรรมกาย
รูปแห่งจิตคือภาวะประภัสสรแห่งธรรมกาย


วัชรยานสอนถึงการประสานกันเป็นหนึ่งของจิตและรูป การบรรลุถึงธรรมชาติแห่งความว่างพบได้ในภาวะประสานเป็นหนึ่งที่ว่านี้

การเยียวยาอันเหมาะสม

ความแตกต่างของพาหนะทั้งหลายไม่ได้หมายความว่าบางพาหนะมีความสำคัญ ขณะที่พาหนะอื่นไม่สำคัญ ขอเน้นย้ำอีกครั้งว่า ทุกพาหนะต่างมีความสำคัญในแต่จะจุดของเส้นทาง เพราะมันช่วยตอบโจทย์ให้แก่สถานการณ์ แรงบันดาลใจ และศักยภาพของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย แม้ว่ายาจะช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนป่วยทุกคนจะได้รับการรักษาแบบเดียวกัน โดยใช้ยาตัวเดียวกันหมด เช่นเดียวกัน คำสอนแห่งพุทธะต่างเป็นประโยชน์ ทว่าด้วยบริบทชีวิตหรือกรรมอันเฉพาะเจาะจงของแต่ละคน ทำให้คำสอนหนึ่งถูกนำเสนอ แทนที่จะเป็นอีกคำสอนหนึ่ง คนที่รู้สึกว่าได้รับการเยียวยาโดยหินยาน ก็ให้นำหินยานมาปฏิบัติ ในขณะที่คนอื่นๆ ก็อาจปฏิบัติมหายาน และคนอื่นๆ อาจปฏิบัติวัชรยาน 

จาก https://th-th.facebook.com/tilopahouse/notes?ref=page_internal#

คำสอนลับแห่งพุทธะ (๑) รากฐานของวัชรยาน (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9987.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๒): หลักการและวิธีการ (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9988.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๓): อำนาจแปรเปลี่ยนภายใน (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9989.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๔): ครูกับศิษย์ (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9990.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๕): วัชรยานในโลกทัศน์แบบไตรยาน http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9991.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ(๖): วัชรยานในโลกทัศน์แบบไตรยาน (ต่อ) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11613.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๗): ตันตระในธิเบต (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11614.0.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 06, 2016, 11:17:13 pm โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...