ผู้เขียน หัวข้อ: สถาบันพุทธศาสนา ลารังการ์(Larung Gar) ชุมชนชาวพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก บนหลังคาโลก  (อ่าน 1274 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ชุมชนชาวพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เทือกเขาหิมาลัยในทิเบต เป็นดินแดนที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับการขนานนามว่าเป็นหลังคาโลก
     
       ดินแดนแห่งนี้ไม่ได้มีเสน่ห์เพียงทิวทัศน์งดงาม ทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ภูเขาหิมะและธารน้ำแข็งเย็นยะเยือก หรือพระอาทิตย์ตกดินที่ชวนตื่นตาตรึงใจเท่านั้น
     
       แต่ ณ กลางหุบเขาสูงอันห่างไกล ยังมีสิ่งน่าดึงดูดใจอย่างคาดไม่ถึงซ่อนตัวอยู่ นั่นคือ อาณาจักรของผู้ปฏิบ้ติธรรม “สถาบันพุทธศาสนาเซอตา” ศูนย์กลางการสอนพุทธศาสนาสายทิเบตที่มีชื่อเสียง และมีบทบาทสำคัญที่สุดของทิเบต มีศิษย์ทั้งพระสงฆ์ ชี และฆราวาส เข้ามาศึกษาและสร้างที่พักอาศัยอยู่รอบๆสถาบันประมาณ 40,000 รูป/คน



• ‘ดินแดนธรรม’ ส่องประกายกลางหุบเขา
     
       ท่ามกลางความหนาวเหน็บตามสภาพภูมิอากาศ และแวดล้อมด้วยความขาวโพลนของหิมะนั้น การดำเนินชีวิตถูกขีดจำกัด ถูกบั่นทอนความกระตือรือร้นมากกว่าผู้คนในภูมิภาคอื่นๆของโลก การกระตุ้นด้วยสีสันของเสื้อผ้าและการตกแต่งอาคารบ้านเรือน ก็ยังอาจจะไม่สามารถเรียกคืนความมีชีวิตชีวาและความหมายแห่งชีวิต ได้เท่ากับการได้รับประกายความอบอุ่นจากแสงแห่งธรรมในสถานที่แห่งนี้
     
       สถาบันพุทธศาสนาเซอตา (Serthar Buddhist Institute) หรือสถาบันพุทธศาสนาลารังการ์ (Larung Gar Buddhist Institute) ตามคำเรียกภาษาทิเบต หรืออารามเซดา (Seda Monastery) ตามคำเรียกภาษาจีน ตั้งอยู่ในหุบเขาลารัง (Larung Valley) เมืองเซอตา (ภาษาทิเบตเรียก เซ่อต้า) แคว้นคาม มณฑลเสฉวน เขตปกครองตนเองทิเบต อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน สูงจากระดับน้ำทะเล 4,000 เมตร ห่างจากถนนหลักประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองเซอตาประมาณ 15 กิโลเมตร
     
       อารามแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2523 โดย เกนโป จิกมี พุนซอค (Khenpo Jigme Phunsok) เพื่อการฝึกอบรมพุทธศาสนาสายทิเบตแบบรวมเป็นหนึ่งเดียวไม่แบ่งแยก และตอบโจทย์ความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูการภาวนาและความรู้ด้านพุทธศาสนาทั่ว ทั้งทิเบต ภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนเมื่อปี 2509-2519
     
       คณะกรรมการบริหารของสถาบันประกอบด้วยลามะโดยตำแหน่ง 7 รูป แต่ในเรื่องสำคัญๆ จะต้องนำเข้าหารือขอความเห็นชอบจากเกนโป จิกมี พุนซอค ก่อน จึงจะมีผลในทางปฏิบัติ เซอตามีครูผู้สอนราว 500 คน สอนระดับปริญญาตรีด้านศาสนศาสตร์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องคุณภาพการศึกษา ว่ามีมาตรฐานสูงทั้งทางโลกและทางธรรม มีการสอนภาษาอังกฤษ จีน และทิเบต รวมถึงคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ควบคู่ไปด้วย
     
       แม้จะอยู่ห่างไกลและทุรกันดารเพียงใด อาณาจักรแห่งนี้ก็ยังขยายออกไปเรื่อยๆ จากหยิบมือเดียวในตอนเริ่มต้น กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาสายทิเบตที่ใหญ่ที่สุดและทรงอิทธิพลที่ สุดของโลก ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนา สำหรับบุคคลที่นับถือต่างนิกาย ต่างเชื้อชาติ ทั้งพระสงฆ์ แม่ชี และนักศึกษาฆราวาส ที่มารับการอบรมปฏิบัติธรรม รวมกว่า 40,000 รูป/คน
     
       อาณาเขตของเซอตาครอบคลุมพื้นที่ผืนใหญ่ เนืองแน่นด้วยที่อยู่อาศัยของพระและชีทั่วทั้งหุบเขา โดยมีกำแพงใหญ่กั้นกลางแบ่งเป็นเขตสงฆ์และเขตชี ซึ่งจะไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากพื้นที่ของตน การพบปะสื่อสาร จะทำได้ในสถานที่เพียงแห่งเดียว คือ บริเวณลานส่วนกลางด้านหน้าของอุโบสถ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นการปฏิบัติศาสนกิจทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการไหว้พระ สวดมนต์ ทำวัตร เดินจงกรม ปุจฉา-วิสัชนาธรรม เป็นต้น
     
       สภาพของที่พักอาศัยเป็นบ้านหลังเล็กสร้างด้วยไม้ หน้าตาเกือบเหมือนกันหมด ตั้งชิดชนิดหลังคาแทบจะเกยกัน เหมือนกล่องเล็กๆ วางเรียงปะติดปะต่อกันเป็นแถวยาว แต่ละแถวเรียงรายรอบอุโบสถแผ่ขึ้นไปตามแนวลาดชันของหุบเขา และแต่ละหลังมีขนาด 1-3 ห้อง ไม่มีห้องน้ำ ต้องไปใช้ห้องน้ำสาธารณะที่สร้างสำหรับคนกว่า 40,000 คน เช่นเดียวกับแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ก็ต้องไปตักจากบ่อส่วนรวมที่ใช้ร่วมกัน



• ชุมชนคนปฏิบัติธรรม
     
       เซอตาเปิดรับทุกคนที่มุ่งมั่นจะมาศึกษาพระพุทธศาสนาอันเป็นสากล ตามวิธีการเผยแผ่ของเกนโป จิกมี พุนซอค ที่นี่จึงเป็นศูนย์รวมของผู้ที่สนใจเรียนรู้และฝึกฝนปฏิบัติธรรมจากหลาย แหล่งหลายชนชาติ เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย กระทั่งชาวจีนก็มีจำนวนไม่น้อย (แม้ว่ารัฐบาลจีนจะไม่ยอมรับชาวทิเบตก็ตาม)
     
       ทางสถาบันฯ จึงต้องจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาจีนโดยเฉพาะ แยกจากห้องเรียนภาษาทิเบตซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและจำนวนห้องมากกว่า ทั้งนี้นักศึกษาต้องดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำรงชีพเอง แต่สำหรับผู้ยากไร้ ทางสถาบันฯ จะพยายามจัดหาทุนให้
     
       นอกจากนี้ เกนโป จิกมี พุนซอค มองว่าการศึกษาของแม่ชีเป็นเรื่องสำคัญมาก ขณะที่ในภูมิภาคนี้ยังขาดสถาบันส่งเสริมพุทธศาสนาสำหรับสตรี โดยจำกัดให้มีสำนักชีได้เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ เซอตาจึงเป็นสถานศึกษาพุทธศาสนาสำหรับสตรีที่สำคัญ มีแม่ชีจากทุกเขตของทิเบตมาพักอยู่ประมาณ 3,500-4,000 คน เพื่อศึกษาพุทธศาสตร์กับหลานสาวของเกนโป จิกมี พุนซอค คือ เจตซัน มุนต์โซ (Jetsun Muntso) โดยเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนาและฝึกปฏิบัติสมาธิพร้อมกันไป
     
       และที่น่าทึ่งอีกอย่างหนึ่งคือ ที่นี่ยอมรับให้แม่ชีดำรงตำแหน่งครูผู้สอนได้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทิเบต เพราะความรู้ของแม่ชีที่จบจากเซอตานี้ เทียบได้กับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยทางซีกโลกตะวันตกเลยทีเดียว
     
       อย่างไรก็ดี ความหลากหลายเชื้อชาติและเหตุผลทางการเมือง ทำให้จีนจับตามองและพยายามยับยั้งการเติบโตของเซอตา โดยมีการแจ้งเตือนให้นักศึกษาและแม่ชีออกไปจากสถาบัน ในปี 2544 ตำรวจพร้อมอาวุธได้บุกเข้ามาขับไล่นักศึกษาและแม่ชีให้ออกไป พร้อมกับทำลายที่พักของแม่ชีประมาณ 2,000 หลัง เพื่อไม่ให้กลับเข้ามาพักอาศัยอีก จากเหตุการณ์นั้น เกนโป จิกมี พุนซอค ซึ่งสุขภาพไม่ดี ก็ล้มป่วยลง และถูกควบคุมตัวอย่างเข้มงวดในที่พักภายในสถาบันนานหลายเดือน
     
       นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังใช้รถตักดินขุดเป็นถนนรอบๆ เซอตา และห้ามสร้างที่พักภายนอกเขตถนนนั้น พื้นที่ของสำนักพุทธศาสนาจึงลดน้อยลง แต่ก็ยังมีพระสงฆ์ แม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรม มาสร้างที่พักใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ปีละกว่า 1,000 หลัง ด้วยความช่วยเหลือจากครอบครัวและมิตรสหาย
     
       แม้อาณาบริเวณจะถูกจำกัด แต่ความยิ่งใหญ่ของพื้นที่นั้นถ้าวัดด้วยใจ มหาศาลกว่าที่สายตาเห็นมากนัก



• พุทธศาสนาคือชีวิต
     
       สถาบันพุทธศาสนาเซอตาอาจจะสร้างหลักปักฐานมาได้ไม่กี่สิบปี ทว่าการน้อมรับธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ได้หยั่งรากฝังลึกในใจมาเนิ่นนาน จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและลมหายใจของชาวทิเบต
     
       แต่เดิมก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามาเผยแผ่ ทิเบตมีลัทธิศาสนาเป็นของตนเองอยู่ นั่นคือ ลัทธิโบน (Bonism) ซึ่งเชื่อเรื่องอำนาจภูติผี วิญญาณ ธรรมชาติ และการบูชายัญ แม้เมื่อพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้รับการยอมรับในทิเบตแล้ว ลัทธิโบนก็ยังคงถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้ โดยได้กลมกลืนเข้ากับพระพุทธศาสนากลายเป็นพระพุทธศาสนาแบบทิเบตที่มี เอกลักษณ์เฉพาะ
     
       พุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้ามาในทิเบตนั้น มีทั้งนิกายมหายานจากอินเดียและจีน และนิกายตันตระของอินเดีย จึงเกิดเป็นนิกายวัชรยาน (บางทีเรียกพุทธศาสนานิกายมหายานทิเบต หรือเรียกนิกายตันตระ ก็มี) พร้อมกับเกิดคัมภีร์ขึ้นมาหลายคัมภีร์



เดินเวียนเทียนรอบโบสถ์
     
       ชาวทิเบตนับถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด ดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความกรุณา เมตตาอารีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เคารพซึ่งกันและกัน เพราะเชื่อว่าทุกคนมีความเป็นพุทธะในตัวเอง และสักวันหนึ่งอาจเป็นพระพุทธเจ้าได้
     
       หลักธรรมในพระพุทธศาสนา สอนชาวทิเบตให้มีจิตใจเบิกบาน อดทน ไม่ทุกข์ร้อนเรื่องความยากลำบาก กล้าเผชิญความจริง สนใจสิ่งแปลกใหม่ เป็นผู้ใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญก็จะเดินทางไปแสวงบุญ แม้หนทางจะไกลสักเพียงใด ปัจจุบัน การบวชก็ยังได้รับความนิยมเช่นในอดีต พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ส่วนผู้หญิงก็นิยมบวช เป็นที่รู้กันว่าทิเบตเคยมีสามเณรีมากที่สุดในโลก สมัยก่อนที่จะถูกจีนยึดครอง
     
       การน้อมรับพระธรรมด้วยใจ และนำพระธรรมนั้นมาสู่วิถีแห่งชีวิต ทำให้ดินแดนแห่งนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “แดนแห่งพระธรรม” ซึ่งสถาบันพุทธศาสนาเซอตาก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมพุทธศาสนาสาย ทิเบต ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ประจักษ์ชัดในความยิ่งใหญ่ ชนิดภาพที่ว่าน่าตื่นตะลึงก็ไม่อาจเก็บได้หมด หากท้าทายให้ผู้คนได้เข้าไปสัมผัส และซึมซับพระธรรมอันแทรกอยู่ทุกอณูของชีวิต ที่เรียบง่ายตามวิถีพุทธของชาวทิเบตอย่างแท้จริง



• เกนโป จิกมี พุนซอค ผู้ก่อตั้งสถาบันพุทธศาสนาเซอตา
     
       เกนโป จิกมี พุนซอค เป็นลามะที่ทรงอิทธิพลที่สุดของนิกายนยิงมาปะ (Nyingmapa) หรือนิกายหมวกแดง เป็นชาวเมืองเซอตา แคว้นคาม มณฑลเสฉวน ศึกษาคำสอนแบบอทวิภาวะของทิเบต (Dzogchen หรือ Great Perfection) จากวัดนับซอ (Nubzor Monastery) เป็นผู้นำการภาวนาและสอนอทวิภาวะที่มีชื่อเสียง
     
       ท่านเคยเรียกร้องให้เลิกการซื้อขายจามรี ซึ่งเป็นสัตว์พื้นบ้านประจำถิ่น ด้วยเหตุผลทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรม และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการต่อต้านการทารุณกรรมสัตว์ในหลายประเทศ
     
       และยังเคยเดินนำลูกศิษย์หลายร้อยคนจากวัดเซอตาไปจาริกแสวงบุญที่ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์อู่ไถ (Mount Wutai) ในมณฑลชานซี (Shanxi) ประเทศจีน เคยไปเยือนประเทศอินเดีย และได้รับเชิญให้ไปสอนที่ศูนย์พุทธศาสนาในยุโรปและอเมริกาเหนือ จนเป็นที่รู้จักของโลกตะวันตก อย่างสหรัฐฯ แคนาดา เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศต่างๆ ในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง อินเดีย เนปาล และภูฏาน
     
       วันที่ 29 ธันวาคม 2546 ในวัย 70 ปี ท่านถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลทหารในเมืองเฉิงตู เมืองหลวงของมณฑลเสฉวน ด้วยปัญหาด้านหัวใจ และถึงแก่กรรมในวันที่ 7 มกราคม 2547
     
ที่มา : นิตยสารธรรมลีลา
ฉบับที่ 163 กรกฎาคม 2557
โดย วิรีย์พร
www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9570000073965

<a href="https://www.youtube.com/v/3-_72cME0OQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/3-_72cME0OQ</a>

Spirit of Asia : นารุง สำนักสงฆ์บนหลังคาโลก (24 เม.ย. 59)

นารุง ในภาษาทิเบต แปลความหมายได้ว่า อยากบวช กล่าวคือผู้ที่ย่างกรายเข้ามาดินแดนนี้ล้ว­นแต่ปรารถนาปวารณาตนเพื่อพระพุทธศาสนาทั้ง­สิ้น

นารุงตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระ­ดับน้ำทะเลถึง 4,100 เมตร เมื่อนานมาแล้ว สถานที่แห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบส­ูงทิเบต ในปัจจุบันพื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของจังห­วัดที่ได้รับสิทธิในการ ปกครองตนเองทิเบต กระนั้น ชาวฮั่นหรือชาติพันธุ์อื่นๆ หรือแม้แต่จากประเทศอื่นทั่วโลกยังคงหลั่ง­ไหลเดินทางเพื่อมา แสวงบุญที่นี่ ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นแหล่งความรู้และแก่นข­อง ศาสนาพุทธแบบทิเบต

เมื่อผู้คนอยู่ร่วมกัน นอกจากจิตใจที่มองหาพระนิพพานเหมือนกันแล้­ว กฎระเบียบคือสิ่งที่ทำให้พวกเขาอยู่กันได้­อย่างสงบ พึ่งพาอาศัยกันเท่าที่จำเป็น เคารพกันและกัน และปฏิบัติตัวตามหน้าที่ที่ตนพึงกระทำ เวลาที่ใช้ไปกับการเล่าเรียนและสวดมนต์มีค­่ามากกว่ากิจกรรมอื่นใด แรงศรัทธาที่เข้มข้นเอาชนะความหนาวสะท้านข­องหิมะที่กระหน่ำลงมาไม่ขาดสาย ความเป็นความตายคือเรื่องธรรมดา หากใช้เวลาเข้าหาพุทธองค์มากพอ สิ่งสุดท้ายที่ต้องการคือขอให้แร้งฉีกกระช­ากซากที่เปลือยเปล่าของตนเองเพื่อเป็นขั้น­บันไดนำทางสู่สรวงสวรรค์

ที่ความสูงระดับหลังคาโลก ดินแดนแห่งพุทธศาสนาแห่งนี้กำลังฉายฉานโชน­แสงแห่งธรรมะท่ามกลางภิกษุนับหมื่นรูป สำนักสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือพื้นที่ของ­วิถีชีวิตแห่งผู้มีศรัทธาในกลิ่นรสพระพุทธ­ศาสนา และเสียงสวดภาวนาที่หนักแน่นกำลังกึกก้องค­รอบคลุมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้อย่างไม­่เสื่อมคลาย

ติดตามชมรายการ Spirit of Asia ตอน นารุง สำนักสงฆ์บนหลังคาโลก วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2559 เวลา 16.30 – 17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง http://www.thaipbs.or.th/live


<a href="https://www.youtube.com/v/MzLdFnGjk3k" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/MzLdFnGjk3k</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/WNg0-9a5t5w" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/WNg0-9a5t5w</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/QWs2KWKP8fc" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/QWs2KWKP8fc</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/k-JlUezzf0E" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/k-JlUezzf0E</a>
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
ชมภาพเมืองวัดพุทธทิเบตที่ใหญ่สุดในโลก


ภาพอารามเซดา ที่เนื่องแน่นไปด้วยบ้านเรือนเล็กๆ ที่เป็นที่พักอาศัยของลามะ และชี นับได้เป็นโรงเรียนพุทธศาสนาแบบทิเบตที่ใหญ่ที่สุดในโลก

      เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการออนไลน์--อาราม เซ่อต้า (Seda Monastery/色达) ชาวทิเบตเรียกว่า Serthar เป็นโรงเรียนพุทธศาสนาแบบทิเบตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่แคว้นปกครองตัวเองกันจือ(甘孜藏族自治州)ทางทิศตะวันตกของมณฑลซื่อชวน (หรือเสฉวน) ทั้งนี้บางแหล่งเรียกแคว้นปกครองตัวเองของชนชาติทิเบตแห่งนี้ว่า “Kardze" หรือ “Garzin”
       
       อารามแห่งนี้ เสมือนดงกุฏิเล็กๆ หลายร้อยหลัง เป็นที่พักอาศัยของลามะ และชี ถึง 40,000 คน

     
       ชุมชนพุทธแห่งนี้กลับกลายเป็นสนามประท้วงที่จุดชนวนเหตุรุนแรง นับจากการลุกฮือของชนชาติทิเบตที่กรุงลาซา เดือนมี.ค. ปี 2551 ต่อมา ในปี 2552 ยังเกิดกระแสลามะและชนชาติทิเบตจุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วงการปกครองจีน ต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย รวมกว่า 110 คน ที่ ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บ โดยกลุ่มประท้วงชี้ว่าการพัฒนาในท้องถิ่นโดยรัฐบาลจีนนั้น เป็นการกดขี่ชนชาติส่วนน้อยทิเบต แต่ปักกิ่งมองว่าสิ่งที่รัฐบาลผลักดันในเขตชนชาตทิเบตนั้น เป็นการลงทุนเพื่อการพัฒนา ขณะที่กระแสวิจารณ์ชี้ว่า การพัฒนาในทิเบต ทำให้ชาวฮั่นหลั่งไหลเข้ามาในดินแดน และกลืนวัฒนธรรมท้องถิ่น
       
       สำนักข่าวเอเอฟพีได้นำเสนอภาพชุมชนทิเบตที่อารามเซดา ระหว่างวันที่ 4-5 เม.ย.2556




ชนชาติทิเบตผู้แสวงบุญที่อารามเซดา (โดยการเดินคลานกราบแบบอัฐฎางคประดิษฐ์ คือ การบูชาสูงสุดของชาวพุทธ คือให้อวัยวะบนร่างกายแปดจุดสัมผัสพื้น)




ลามะถอดรองเท้าไว้ด้านนอก ก่อนเข้าไปศึกษาถกพระธรรม


ลามะกำลังโต้วาทีทางธรรม






แม่ชีในศาสนาพุทธทิเบตกำลังนั่งอ่านหนังสือ ข้อความป้าย “วิทยาลัยเป็นบ้านของเรา การรักษาความสะอาดเป็นความรับผิดชอบของทุกคน”


แม่ชีวางลูกประคำเป็นของสักการะบูชา


ชาวทิเบตกำลังล้างมือด้วยกระบวย




ลามะหนุ่มกำลังชูมีดหั่นผัก













จาก http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000051859
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...