ผู้เขียน หัวข้อ: รับพรจาก พระโพธิสัตว์ หลวงปู่ดู่ให้พรนานมาก ตั้งจิตให้ดี ได้รับบารมีเต็ม ๆ  (อ่าน 1219 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

<a href="https://www.youtube.com/v/9MtNIYCgs14" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/9MtNIYCgs14</a>


(รูปหลวงปู่ดู่)

ก่อนที่จะรับพรจากหลวงปู่ดู่ ขอให้ท่านสงบจิตใจทำสมาธิ กรรมฐาน ตามแนวทางที่หลวงปู่ได้สอนไว้
โดยเริ่มต้นจาก

ให้ท่านกล่าว นะโม ขึ้นมา ๓ ครั้งดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)

ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบนมัสการนอบน้อมต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่จะเกิดขึ้น
ข้าพเจ้าขอระลึกถึงพระปัญญาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้จิตของพระพุทธองค์เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์แจ่มใส
เรียกว่า พระบริสุทธิคุณ
และเมื่อพระองค์มีพระบริสุทธิคุณ และมีพระปัญญาธิคุณแล้ว
ก็มิได้นิ่งนอนใจ หวังเพียงเพื่อที่จะช่วยให้สัตว์โลกทั้งหลาย
ที่กำลังระทมไปด้วยความทุกข์ได้พ้นทุกข์
ซึ่งมีวิธีการที่จะทำให้จิตของตนเองนั้น เกิดความสว่างจากความดี จากคุณธรรม
เป็นพระคุณในข้อที่ ๓ อันนี้เรียกว่า พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ
ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมรับ ระลึกถึงพระคุณ
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับตั้งแต่บัดนี้...

พุทธัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
ธัมมัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
สังฆัง ชีวิตัง เมปูเชมิ

ให้ท่านกล่าว นะโม ขึ้นมา ๓ ครั้งดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)

ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบนมัสการนอบน้อมต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่จะเกิดขึ้น
ข้าพเจ้าขอระลึกถึงพระปัญญาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้จิตของพระพุทธองค์เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์แจ่มใส
เรียกว่า พระบริสุทธิคุณ
และเมื่อพระองค์มีพระบริสุทธิคุณ และมีพระปัญญาธิคุณแล้ว
ก็มิได้นิ่งนอนใจ หวังเพียงเพื่อที่จะช่วยให้สัตว์โลกทั้งหลาย
ที่กำลังระทมไปด้วยความทุกข์ได้พ้นทุกข์
ซึ่งมีวิธีการที่จะทำให้จิตของตนเองนั้น เกิดความสว่างจากความดี จากคุณธรรม
เป็นพระคุณในข้อที่ ๓ อันนี้เรียกว่า พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ
ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมรับ ระลึกถึงพระคุณ
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับตั้งแต่บัดนี้...

พุทธัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
ธัมมัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
สังฆัง ชีวิตัง เมปูเชมิ

ข้าพเจ้าขอเอาชีวิตจิตใจ ร่างกาย ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
ในบางครั้งที่เราทำสมาธิ เราอาจจะไม่มีดอกไม้ธูปเทียน
เราก็ใช้วิธีเอาชีวิต จิตใจ ถวายเป็พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
เพราะว่าพระพุทธองค์ พระธรรม พระสงฆ์
จะเป็นผู้ชุบชีวิต ทำจิตของเราจากการที่เป็นผู้ที่มีสันดานบาปหยาบช้า
เป็นปุถุชน ให้เป็นสาธุชนหรือกัลยาณชน ในที่สุดจนเป็นพระอริยบุคคล
เนื่องจากว่า ในระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้สอนเพียงให้ทำดี และละความชั่ว
แต่มีขั้นตอนอีกอย่างหนึ่งคือ วิธีการทำจิตให้บริสุทธิ์
เมื่อจิตที่บริสุทธิ์แจ่มใสแล้ว จะเป็นจิตที่เป็นเหมือนพระอริยะ
จึงกล่าวได้ว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเอกของโลก
เนื่องจากพระพุทธองค์ ทรงค้นพบสัจจะธรรม
ทรงพบทุกข์ - เหตุของทุกข์ - วิธีการดับทุกข์ และผลที่ได้รับจากการดับทุกข์



หลังจากนั้น ให้ตั้งใจสมาทานศีล
เนื่องจากว่าในวันหนึ่งๆ นั้น เราอาจจะไปทำผิดศีลข้อหนึ่งข้อใด
การสมาทานศีลจะป็นการทำจิตให้พร้อม
เพราะเมื่อสมาทานศีลแล้ว จิตของเราก็จะบริบูรณ์
โดยให้ระลึกนึกถึงดังนี้

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิสังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิสังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ทั้งครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓
การที่เราได้กล่าวไตรสรณคมน์นี้ ก็เป็นการประกาศตนเองเป็นพุทธมามกะ
เมื่อประกาศตนเป็นพุทธมามกะได้ ก็จะต้องมีศีล
โยเฉพาะศีลของฆราวาส หรือศีลของปุถุชนทั่วไป คือ ศีล ๕
ศีลแปลว่า ความปกติ จะเป็นปกติได้ก็อยู่ที่กฎเกณฑ์ของสังคม
พระพุทธเจ้าทรงมองสังคมว่า ถ้าไม่มีการล่วงละเมิดศีลทั้ง ๕ ข้อนี้
สังคมนั้น ก็จะเป็นสังคมที่สงบ
เนื่องจากว่า ถ้าคนทุกรูป ทุกนาม ถือศีล รักษาศีล
ศีลก็จะรักษาตัวเรา และรักษาสังคม


(รูปหลวงปู่ดู่)

หลังจากนั้น ให้พึงกำหนดจิต
กล่าวอาราธนาบารมีพระ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะะหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)

พุทธัง อาราธนานัง กะโรมิ
ธัมมัง อาราธนานัง กะโรมิ
สังฆัง อาราธนานัง กะโรมิ

นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (๓ ครั้ง)
นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ (๓ ครั้ง)

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขออารธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
ทั้งแสนโกฎิจักรวาล พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทั้งแสนโกฎิจักรวาล
พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
บารมีหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
บารมีของหลวงพ่อดู่ วัดสะแก
ขอได้โปรดได้ควบคุมการปฏิบัติสมาธิของข้าพเจ้า
ให้มีจิตใจที่สะอาด ให้มีจิตใจที่สว่าง และมีจิตใจที่สงบด้วยเทอญ


ลำดับต่อไปให้นึกถึง ความผิดที่เราได้เคยกระทำมา
ด้วยกาย วาจา ใจ หรืการประมาทพลาดพลั้งในพระรัตนตรัย
คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ซึ่งการกระทำของเราจะเป็นไปด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
เราตั้งใจที่จะขอขมาโทษ เพราะว่ากรรมที่ได้ประมาทในพระรัตนตรัยนั้น
จะทำให้จิตของเราเนิ่นช้าต่อคุณธรรมที่ควรจะได้
จงดำริขึ้นในใจว่า

โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ


(รูปสำหรับการน้อมจิตไปสู่กรรมฐาน)

ทำจิตของเรานึกถึงบารมีของ หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่
ทำจิตของเรานึกถึงบารมีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
รวมทั้งบุญที่เราเคยทำมาตั้งแต่อดีตชาติ ปัจจุบัน และในขณะนี้
แผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายว่า

พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโยโหตุ

การที่เราจะทำสมาธิต่อไปนั้น ให้นั่งเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย
มือขวาวางไว้บนมือซ้าย มือขวากำพระไว้ในมือ
กำพระไว้ในอุ้งมือโดยให้หัวแม่มือชนกัน
ตั้งกายให้ตรง ทำกายให้ตรงไม่ต้องยืดหรือเกร็งตัวจนเกินไป
นั่งให้สบายๆ เสร็จแล้วนำความรู้สึกนึกคิดทั้งหมดมาวางไว้ที่ตรงหน้าผาก
เหมือนเราคิดอะไรในใจ ความคิดอะไรวางไว้ตรงนั้น
ซึ่งหน้าผากนี้ จะเป็นฐานหนึ่งของลมหายใจเช่นกัน
ไม่ต้องนึกถึงลมหายใจเข้าออก
เพราะลมหายใจเป็นของที่ละเอียด แต่จิตของเราจะเป็นของที่หยาบ
ของที่หยาบจะไปจับของที่ละเอียดนั้น เป็นไปได้ยาก
อันแรกเราก็ำหนดฐานของลมหายใจไว้ตรงที่กลางหน้าผาก
แล้วบริกรรมในใจว่า

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

หรือคาถามหาจักรพรรดิก็ได้เช่นกัน

การบริกรรมนี้ก็ให้บริกรรมไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบไม่ต้องร้อน
ไม่ต้องเร่ง ทำใจให้สบายๆ
ทีนี้ บางครั้งก่อนที่เราจะบริกรรมนั้น เราอาจจะสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆ
เพื่อเป็นการปรับอารมณ์ ให้จิตของเราสบาย
โปรดจำไว้อย่างหนึ่งว่า ให้ปฏิบัติหรือให้ทำอย่างสบายๆ
อย่าไปเคร่งเครียด อย่าไปเร่งรัด
เพราะจะทำให้ไม่ได้อะไรขึ้นมา
ให้ทำใจเราให้ยึดอยู่แต่คำภาวนา

หน้าที่ของเราก็คือ การบริกรรมนี้ เขาเรียกว่า การทำงานของจิต
เนื่องจากว่าจิตของคนเรานั้นจะสนองทันทีในการคิด วุ่นวาย สับสน ปรุงแต่ง
เมื่อมีการปรุงแต่งแล้ว จิตของเราก็จะหาความสงบไม่ได้
เมื่อจิตหาความสงบไม่ได้ ก็เป็นจิตที่วุ่นวายสับสน
เมื่อจิตวุ่นวายสับสน ก็หความสุขไม่ได้
ดังพุทธภาษิตของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า

นัตถิ สันติปะรัง สุขัง
สุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี

จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/199701/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...