พระมหาเวสสันดรชาดก กลับชาติมาเกิดเป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม คือสรรพสัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์เข้าสู่แดนแห่งความสุขนิรันดรคือพระนิพพาน
พระนางมัทรี เป็นพระราชธิดาแห่งกษัตริย์มัทราช อภิเษกสมรสกับพระเวสสันดร มีพระโอรสชื่อพระชาลีและมีพระธิดาชื่อพระกัณหาพระนางตามเสด็จพระเวสสันดรไปยังเขาวงกต
พระนางมัทรี กลับชาติมาเกิดเป็น
พระนางยโสธราพิมพา พระมารดาพระราหุล
พระชาลี กลับชาติมาเกิดเป็น
พระราหุล เป็นสามเณรรูปแรกของพุทธศาสนาเมื่อบวชเป็นภิกษุแล้วบำเพ็ญเพียรจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้ใคร่ในการศึกษาท่านนิพพานก่อนพระพุทธองค์ ก่อนพระสารีบุตร ก่อนพระโมคคัลลานะ ดับขันธปรินิพพานที่บัณทุกัมพลศิลาอาสน์ ณดาวดึงส์เทวโลก
พระกัณหา เป็นผู้หนึ่งที่ทำให้พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบุตรทานบารมีซึ่งเป็นทานอันยิ่งใหญ่ที่มนุษย์ทั้งหลายไม่สามารถทำได้ นอกจากมหาบุรุษผู้ทรงหวังพระโพธิญาณเท่านั้นดังที่พระเวสสันดรทรงตรัสว่า
“พระลูกเอ๋ย เจ้าไม่รู้หรือพระบิตุรงค์บรรจงรักพระโพธิญาณ หวังจะยังสัตว์ให้ข้ามห้วงมหรรณพภพสงสารให้ถึงฟากเป็นเยี่ยงอย่างยอดยากที่จะข้ามได้”
พระกัณหาเป็นผู้ที่มีความกตัญญูเชื่อฟังคำสั่งสอนและมีความเฉลียวฉลาด
และเมื่อพระเวสสันดรตรัสเรียกโดยกล่าวว่า
“…ไยเจ้าไม่องอาจยอมย่อท้อทิ้งพระบิดา ให้พราหมณ์มันจ้วงจาบหยาบช้าเจ้าเห็นชอบอยู่แล้วหรือหนาพ่อสายใจ…”ทั้งสองกุมารก็ขึ้นจากสระมาแต่โดยดี
พระกัณหาเป็นผู้ว่าง่ายถึงคนคนนั้นจะดีหรือไม่ดีต่อตนก็ตามก็ยังเชื่อฟังคำสั่งโดยไม่ขัดขืน และยังมีน้ำใจคอยช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ เป็นผู้ที่เข้าใจในเจตนาของพระเวสสันดรที่เสียสละเพื่อประโยชน์ของชนหมู่มากแม้การเสียสละนั้นจะทำให้ตนเองลำบากก็พร้อมที่จะเข้าใจเหตุผลความจำเป็นที่ตนต้องเสียสละ
พระนางกัณหา กลับชาติมาเกิดเป็น
พระอุบลวรรณาเถรี ชำนาญในการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้รับตำแหน่งในทางเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่ายผู้มีฤทธิ์และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายซ้าย
ท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์ เป็นผู้เชื่อมเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกให้เนื้อหามีความต่อเนื่องกัน คอยช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี และยังเป็นผู้ดลบันดาลให้ตัวละครต่าง ๆ ได้มาพบกันด้วย เกือบทุกกัณฑ์ พระอินทร์เป็นเทพที่มีจิตใจดีมีความเมตตากรุณา เปี่ยมไปด้วยคุณธรรมชอบช่วยเหลือคนดีมีคุณธรรมที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก
ท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์ กลับชาติมาเกิดเป็น
พระอนุรุทรเถระ เป็นผู้ไม่รู้จักคำว่า ไม่มี และไม่ได้บวชด้วยศรัทธาแต่บวชเพราะเกรงใจเมื่อสำเร็จเป็นพระอรหัต์แล้วได้รับยกย่องว่าเป็นเอตคัคคะทางผู้มีทิพยจักษุญาณเป็นปฐมเหตุประเพณีทอดผ้าบังสุกุล หรือทอดผ้าป่า นิพพาน ณ ภายใต้ร่มกอไผ่ในหมู่บ้านเวฬุวะ แคว้นวัชชี
พระนางผุสดี ธิดากษัตริย์มัททราช มเหสีของพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งกรุงสีพีราษฎร์และพระมารดาของพระเวสสันดรนั้น เมื่อเสวยพระชาติเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าพันธุมราชแห่งพันธุมดีนครทรงได้รับพระราชทานแก่นจันทน์แดงจากพระราชบิดาจึงได้นำไปบดใส่ผอบทองและถวายแด่พระวิปัสสิสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมทั้งอธิษฐานว่าขอให้ได้เป็นพุทธมารดาในอนาคต
พระนางผุสดี กลับชาติมาเกิดเป็น
พระนางสิริมหามายาพระเจ้ากรุงสญชัย กลับชาติมาเกิดเป็น
พระเจ้าสุทโทธนะชูชก กลับชาติมาเกิดเป็น
พระเทวทัต สุดท้ายถูกแผ่นดินสูบ
นางอมิตตดา กลับชาติมาเกิดเป็น
นางจิญจมาณวิกา ถูกแผ่นดินสูบหน้าวัดเชตวันมหาวิหารอยู่บริเวณใกล้ๆกับเทวทัตนั้นเอง
พระอัจจุตฤาษี กลับชาติมาเป็น
พระสารีบุตร เป็นอัครสาวกฝ่ายขวา ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะว่าผู้เลิศด้วยปัญญาเทศน์โปรดโยมแม่แล้วนิพพาน
พรานเจตบุตรเป็นแบบอย่างของคนดีแต่ไม่ฉลาดจึงตกเป็นเหยื่อของคนหลอกลวงที่มากไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมอย่างชูชก
พรานเจตบุตร กลับชาติมาเกิดเป็น
พระฉันนะเถระ พระเจ้ามัททราช กลับชาติมาเกิดเป็น
พระมหานามศากยราช ซึ่งพระมหานามศากยราชเดิมเป็นราชบุตรพระเจ้าอมิโตทนราชผู้เป็นพระเจ้าอาของพระสิทธัตถะกุมาร
พระวิสสุกรรม คือ เทพบุตรผู้มีคุณธรรม ปฏิบัติดี เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของพระอินทร์ เป็นแบบอย่างลูกน้องที่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้านายอย่างดีไม่ขาดตกบกพร่องซึ่งจะเห็นได้จากการที่พระอินทร์สั่งให้พระวิสสุกรรมลงมาเนรมิตอาศรมและคอยดูแลทั้งสี่กษัตริย์
พระวิสสุกรรม กลับชาติมาเกิดเป็น
พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์มาก
ช้างปัจจัยนาค กลับชาติมาเป็น
พระมหากัสสปเถระ เป็นประธานในการปฐมสังคายนาหลังพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วได้รับยกย่องเป็นเอตคัคคะว่าเป็นผู้เลิศในทางธุดงค์เป็นต้นแบบของพระป่า มีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี นิพพานแล้วท่านยังอธิฐานจิตให้สรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่สูญสลาย จนกว่าจะถึงศาสนาพระศรีอริยเมตไตย
แม่ช้างกเรณูเป็นช้างที่สำคัญที่ทำให้เกิดเรื่องต่าง ๆ ตามมามากมายตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง โดยได้ให้กำเนิดลูกช้างชื่อปัจจัยนาค และนำมามอบให้เป็นช้างคู่บารมีของพระเวสสันดร
แม่ช้างกเรณู กลับชาติมาเกิดเป็น
กีสาโคตรมี ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
เทวราชสุรารักษ์ เป็นแบบอย่างของความมีเมตตาที่ทำให้ทุกคนอยู่ร่วมสังคมเดียวกันได้อย่างสงบสุข ทรงให้ความช่วยเหลือและให้ความอบอุ่นแก่สองกุมารแทนพระบิดา ช่วยดูแลอภิบาลพระกัณหาและพระชาลีในขณะที่เดินทางมากับชูชก
เทวดาผู้ชายที่ดูแลพระกัณหาและพระชาลี กลับชาติมาเกิดเป็น
พระมหากัจจายนะเถระ มีรูปร่างหล่อมากเป็นที่ศรัทธาของคนทั่วไปต่อมาแปลงร่างให้รูปร่างอ้วนไม่น่าดูได้รับยกย่องเป็นเอตคัคคะในทางอธิบายความย่อให้พิศดาร
เทวดาผู้หญิงที่ดูแลพระกัณหาและพระชาลี กลับชาติมาเกิดคือ
นางวิสาขา เป็นผู้ที่มีความสวยได้เบญจกัลยาณี มีลูกหลานเหลนทั้งหมด ๘๔๒๐ คน มีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปีได้รับยกย่องเป็นเอตคัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกาผู้มีศรัทธามาก
สหชาติหกหมื่นหรือบุคคลผู้ร่วมการเกิด หรือร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้านั้นมีมากมายมหาศาล อาจเป็นเหล่าเสนาอำมาตย์ที่อยู่ในวังหรือประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธเจ้าในสมัยนั้นซึ่งมีจำนวนมากมาย แต่สหชาติที่สำคัญและถูกบันทึกไว้ในพระพุทธประวัตินั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดของพระพุทธ และเป็นต้นเหตุให้เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๗ สหชาติ
สหชาติโยธี ได้กลับชาติมาเป็น
พุทธเวไนยเทวดาที่เนรมิตเป็นเสือโคร่ง กลับชาติมาเป็น
พระสิมพลีหรือพระสิวลี เป็นสาวกรูปหนึ่งที่ได้ช่วยกิจการพระศาสนาเป็นอย่างมากได้รับยกย่องเป็นเอตคัคคะผู้มีลาภมาก
เ
ทวดาที่แปลงเป็นพระยาพยัคฆราช(เสือเหลือง) กลับชาติมาเกิดเป็น
พระจุลนาคเถระ พระจุลนาคนี้ไม่มีชื่อปรากฏโดยตรงในพระคัมภีร์แต่มีปรากฏในพระสุตันตปิฎกเถรกถา เรียกชื่อว่าพระจุฬกเถระ(ซึ่งอาจเป็นองค์เดียวกันก็ได้)เป็นสาวกที่มีคติธรรม มองทุกสิ่งทุกอย่างในแง่ดีงามถือเอาความดีงามมาเป็นหลักในการปฏิบัติตนจนได้ฌาณสมาบัติบรรลุพระอรหัตตผล
เทวดาที่แปลงร่างเป็นราชสีห์ กลับชาติมาเป็น
พระอุบาลี ได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาในตำแหน่งเอตคัคคะเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้ทรงพระวินัยครั้งเมื่อทำปฐมสังคายนาเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย
นายนักการที่นำข่าวการเนรเทศมาทูลพระเวสสันดร กลับชาติมาเกิดเป็น
พระอานนท์ได้รับยกย่องในตำแหน่งเอตคัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งปวงถึง ๕ ประการเป็นพหูสูตร เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีคติ เป็นผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐากเมื่อครั้งทำปฐมสังคายนาเป็นผู้วิสัชนาพระสูตร มีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปีปรินิพพานกลางอากาศ
เสนาจุตตอำมาตย์ เป็นคนใจบุญ คอยช่วยเหลือในการบริจาคทานของพระเวสสันดรซึ่งต่อมาได้เกิดเป็น
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้รับยกย่องในตำแหน่งทางเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งในฝ่ายผู้เป็นทายก
จาก
https://jirawanjane.wordpress.com/ ตัวละครกับการกลับชาติม/
เพิ่มเติม มหาเวสสันดรชาดก ออกอากาศทาง ททบ.5 พ.ศ. 2530 http://www.tairomdham.net/index.php/topic,10878.0.htmlพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมให้บุตรภรรยาเป็นทานเหมือนกันหมด หรือ ? ( มิลินทปัญหา ) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,351.0.html