ผู้เขียน หัวข้อ: เซ็ง แซ่ลี ตามรอย ในหลวง ด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ รายได้กว่าเจ็ดหลัก  (อ่าน 969 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



เซ็ง แซ่ลี ตามรอย ในหลวง ด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ รายได้กว่าเจ็ดหลัก


พลิกผืนฝิ่นสู่อินทรีย์ ตามรอย ในหลวง

โรคภัย ความทุรกันดาร การเดินทางที่ยากลำบาก และก็อาจจะความทุกข์ น่าจะเป็นคำอธิบายสภาพความป็นอยู่ของชาวม้งที่ตั้งรกรากอยู่บนภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อหลายสิบปีก่อนได้เป็นอย่างดี ก่อนพบ ในหลวง

เซ็ง แซ่ลี
ผู้อาวุโสชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง วัย 62 ปี เจ้าของแปลงผักเขียวขจีบนเนินเขาและชายผู้เป็นเสาหลักของครอบครัวหนึ่งที่นี่ อธิบายภาพภูทับเบิกในอดีตให้เราฟังว่า สมัยนั้นคนเฒ่าคนแก่แทบจะยึดการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพหลัก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และมีอากาศหนาวเย็นปกคลุมอยู่ตลอด ทำให้ฝิ่นเติบโตและให้ผลผลิตได้ดี แต่ถึงอย่างนั้น รายได้จากการปลูกฝิ่นก็ไม่ได้มากมายเท่ากับคนนำฝิ่นไปขายอีกทอดหนึ่ง


ทิวเขาบนภูทับเบิกยามเช้า

เซ็ง เล่าว่า เวลานั้นชาวบ้านยังคงใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ไม่มีถนนตัดผ่าน ไม่มีแม้แต่เกลือให้กิน และเมื่อไหร่ที่พวกเขาเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ทำได้เพียงเอาฝิ่นมาสูบเพื่อบรรเทาอาการ หรือไม่ก็นำมาทำแผลกันเอง

ไม่เพียงเท่านั้น นานวันเข้าปริมาณของฝิ่นก็ล้นตลาด ประกอบกับมีกฎหมายห้ามปลูกฝิ่นออกมา ทำให้อาชีพหลักของชาวบ้านต้องเปลี่ยนมาเป็นการปลูกผักเมืองหนาว โดยจำเป็นต้องพึ่งสารเคมีเพื่อเร่งผลผลิตและกำจัดศัตรูพืช และเขาเองก็เคยเป็นหนึ่งในชาวเขาที่ไม่สามารถปฏิเสธสารเคมีได้

การปลูกกะหล่ำปลีโดยใช้สารเคมีในช่วงเวลา 20 ปีของเซ็ง แม้จะทำให้เขาและครอบครัวมีความสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้บ้าง ทว่าสารเคมีเหล่านั้นกลับย้อนมาทำร้ายสุขภาพของพวกเขาเอง ตั้งแต่นั้น เซ็ง จึงล้มเลิกการใช้สารเคมีทั้งหมด ก่อนจะหันมาศึกษาโครงการของ ในหลวงอย่างจริงจัง

“เราใช้สารเคมีก็เหมือนเราฆ่ามิตรสหายเราตายหมด ดินก็เสีย น้ำก็เสีย ทุกอย่างจะกลับมาสู่เรา เราจะไม่ปลอดภัย กินไปก็อันตราย คนที่ปลูกก็ถูกสารเคมี เป็นโรคมะเร็ง โรคปอด โรคไต พอไปให้หมอตรวจ หมอก็บอกว่า เป็นเพราะสารเคมี ผมเลยต้องไปศึกษาดูว่า ที่ไหนมีคนที่จะสอนเราปลูกผักแบบไม่มีสารเคมี แล้วก็ได้ไปพบโครงการของ ในหลวง พระองค์สนับสนุนการปลูกผักอินทรีย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ปลอดภัย ผมเลยเอาแนวคิดในหลวงมาประยุกต์ใช้” เซ็ง เล่า


กระบะปลูกผักอินทรีย์ของชาวเขา


แปลงผักกะหล่ำของครอบครัวเซ็ง แซ่ลี

จากเดิมที่เซ็งมีพื้นที่ปลูกผักเพียงแค่ 1-2 งาน เมื่อได้เริ่มน้อมนำเอาแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาปรับใช้ ในระยะเวลา 7-8 ปี เขาก็สามารถขยายพื้นที่ได้ถึง 5 ไร่ พร้อมทั้งสามารถขายผักได้ในราคามากกว่าเดิมถึง 10 เท่า โดยมีรายได้เฉลี่ยในแต่ละปีนับล้านบาท เนื่องจากตลาดต้องการผักปลอดสารพิษมากกว่าผักแบบเดิม

เซ็งไม่เพียงปลูกผักอินทรีย์กันเพียงในครอบครัว แต่เขายังนำแนวคิดของในหลวงมาบอกเล่าต่อให้ชาวม้งครอบครัวอื่น ๆ ฟัง แม้ต้องใช้ระยะเวลายาวนานเกือบ 10 ปี กว่าจะเปลี่ยนความคิดของคนอื่นได้ แต่เขากลับไม่เคยคิดล้มเลิก

“ชาวบ้านคนอื่นเขาคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียงมันไม่รวยและอยู่ไม่ได้ ตอนที่เริ่มทำ เขาก็ดูถูกว่าถ้าไม่ใช้ปุ๋ย ไม่ใช้สารเคมี เมื่อไหร่จะขายได้ ถึงผมจะน้อยใจ แต่ผมก็สืบสาน ก็ทำไป สู้มาสองปีสามปี เราเชื่อว่าเราก้าวไปสู่ทางที่ถูกต้องแล้ว อย่าไปเชื่อคนอื่นว่าเราจะทำไม่ได้  ถ้าใครบอกว่า เราทำแบบนี้ เราอยู่ไม่ได้ ก็แล้วแต่เขาจะไปคิด เราจะบอกว่า สิ่งที่เราทำนั้น เราได้บุญแล้ว เราทำถูกแล้ว ผักเรามีขายทุกวัน เงินก็มี ผมเชื่อว่า ถ้าทำสิ่งที่ถูกต้อง เดี๋ยวก็จะมีเทวดามาช่วยเรา เราซื่อสัตย์ เราทำไปเพื่อคนไทย เราได้ความสุขจากตรงนี้”


การทำเกษตรอินทรีย์สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวเขาได้อย่างยั่งยื่น

เซ็งเล่าต่อว่า สิ่งที่ทำให้เขาภาคภูมิใจไม่ใช่แค่เรื่องการมีเงินใช้ มีรถขับ หรือมีอาชีพที่มั่นคงให้ลูก ๆ แต่ความภาคภูมิใจสูงสุดสำหรับเขาคือ การได้ประกอบอาชีพที่มีคุณค่าและการได้ส่งต่อจิตวิญญาณความเป็นเกษตรกรที่ซื่อสัตย์ให้กับลูก ๆ หลาน ๆ

“ผมภูมิใจว่าสิ่งที่เราทำคุ้มค่า มีค่า เพราะเราทำให้คนกินปลอดสารเคมี คุ้มค่าที่เราทำไปแล้วเราได้เงินบริสุทธิ์กลับมา ภูมิใจที่เราเอา ในหลวง มายึดไว้อยู่ในหัวใจ ในหลวงสอนแต่สิ่งที่ดี ๆ ให้เรา เราเอาความคิดของในหลวงมาวิเคราะห์แล้ว ครอบครัวเรามีความสุข

“ผมสอนลูกทุกคนตลอดว่า สิ่งที่ในหลวงสอนเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจมาก และเก็บเอาไปใช้ได้ไม่มีวันหมด ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจ มีชีวิต ก็เอาคำสอนของในหลวงมาใช้ ผมเชื่อว่า ทั่วทุกภาคของประเทศไทยจะอยู่อย่างมั่นคง”
เซ็ง ทิ้งท้าย

ทุกวันนี้ ทิวเขากว้างใหญ่บนภูทับเบิก นอกจากจะกลายเป็นพื้นที่สำหรับปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่าม้งแล้ว ยังเป็นพื้นที่แห่งความสุขและความทรงจำ ที่ทุกคนคงไม่มีวันลืมว่า ครั้งหนึ่งชีวิตพวกเขาเคยเปลี่ยนแปลงไปเพราะในหลวงของแผ่นดิน


ครอบครัวเซ็ง แซ่ลี

จาก http://www.secret-thai.com/article/15931/seng-saelee/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...