ผู้เขียน หัวข้อ: ทิเบต ขอบฟ้าที่สูญหายไป : ดินแดนแห่งพระโพธิสัตว์  (อ่าน 7845 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ดินแดนแห่งพระโพธิสัตว์       
 
ในหมู่บ้านทิเบตห่างไกล เวลาค่ำคืน บ้านเรือนเงียบสงัด ไม่มีแสงไฟ นีออนหรือแสงไฟจากข้างทาง มีเพียงแสงจากดวงดาวที่ส่องสว่างระยิบ ระยับอยู่เต็มท้องฟ้า ในเวลากลางวัน ไม่มีถนนลาดยางที่มีรถราคานับ แสนนับล้านแล่นไปแล่นมา มีแต่กองคาราวานจามรีบรรทุกสมุนไพร หรือสินค้าอื่น ๆ ที่ชาวบ้านต้องการนำไปขายในเมือง
     
ชาวทิเบตไม่ว่าจะเป็นถิ่นใดดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายแต่สนุกสนาน เต็ม ไปด้วยเสียงเพลงและเสียงหัวเราะจากการเล่าเรื่องขบขัน หรือหยอกล้อ กัน เมิ่อน้ำในหนองกลายเป็นน้ำแข็งในหน้าหนาว พวกเขาแปลงมันให้ เป็นลานสเกตชั้นดี เมื่อดอกไม้บานในฤดูใบไม้ผลิ พวกเขาตั้งแคมป์ ปิกนิกที่ตีนเขาพูดคุยเฮฮา ดื่มน้ำชาในตอนกลางวันและในตอนค่ำ เล่น มาจอง ร้องเพลงเต้นรำอย่างไม่รู้เบื่อ   
 
แต่ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลใด สิ่งสำคัญสำหรับชีวิตคือศาสนา คำพูดที่ติด ปากของพวกเขาคือ ติ แล แหระ " นี่คือกรรม " เป็นคำอธิบายสำหรับ ความทุกข์และสุขที่เกิดขึ้นในชีวิต   
 
ฉันยังจำเพลงทิเบตเพลงหนึ่งได้ดี บทเพลงบรรยายการพลัดพรากของ พี่น้องสองคน ซึ่งหมายถึงองค์ดาไลลามะและองค์ปัญเช็นลามะ คนหนึ่ง ต้องจากถิ่นฐานไปอยู่ไกล อีกคนแม้จะไม่ต้องจากไปที่ใดแต่ก็อยู่กับการ พลัดพราก เนื้อเพลงตอกย้ำความเชื่อที่ว่านี่คือกรรม ไม่ว่าใครก็หลีก เลี่ยงไม่ได้      
หากใครมีโอกาสไปใช้ชีวิคอยู่กับครอบครัวทิเบตไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ของเศรษฐีหรือชาวไร่ชาวนาสักวันสองวัน จะสังเกตเห็นกิจกรรมเหล่า นี้       

เมื่อตื่นนอนแม่หรือยายจะต้มน้ำเพื่อทำน้ำชาถวายพระพุทธ ถวายเครื่อง หอมซึ่งเป็นใบไม้แห้งจุดไฟที่เยกว่า ซัง แด่พระโพธิสัตว์และเทพยดา ประจำหมู่บ้าน ถวายน้ำบริสุทธิ์ในถ้วยเงินหรือถ้วยทองเหลืองเจ็ดใบที่ วางบนหิ้งพระเพื่อเป็นตัวแทนเครื่องบูชาในแต่ละวัน นอกจากน้ำชา และน้ำ เมื่อมีซัมป้าใหม่ ๆ หรืออาหารพิเศษที่ได้มาจากตัวเมือง เช่น ผลไม้หรือขนมเค้ก พวกเขาก็จะถวายอาหารเหล่านี้เช่นกัน       
หลังจากทำน้ำชาและเตรียมอาหารเช้า ( ซึ่งทำง่ายมากเพราะแค่เอา ซัมป้าผสมน้ำ ) คนที่อ่านหนังสือออกก็จะอ่านบทสวดมนต์ พวกเขา เชื่อว่าพระโพธิสัตว์ที่พวกเขาเลือกบูชาและสวดมนต์ถึงจะปกป้อง คุ้มครอง     

หากที่พักของพวกเขามีสถูป วัดหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่ไกล้ ๆ พวก เขาก็จะออกไปเดินประทักษิณรอบสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น นอกจาก ตอนเช้า พวกเขาก็อาจจะออกไปเดินรอบอีกครั้งในช่วงบ่ายหรือเย็น
 
ฉันยังจำวันแรกที่ตื่นนอนในหมู่บ้านเบ็นดาได้ดี เสียงมนต์ถึง เช็นเรซี หรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร โอม มณี เป๋มา ฮุม ปลุกฉันให้ตื่นจาก ความหลับใหล ลาโม่ พี่สาวของทุบเต็น เพื่อนนำทางของฉันเดินไป เดินมาระหว่างห้องที่ฉันนอนซึ่งมีเตาต้มน้ำวางอยู่ไกล้ ๆ กับห้องด้าน ในซึ่งเป็นห้องพระ นาฬิกาในข้อมือบอกเวลาตีห้า ภายนอกยังดูมืดมิด ลมหนาวพัดเข้ามาทางหน้าต่างที่เปิดไว้แง้ม ๆ ฉันขดตัวนอนภายใต้ เสื้อขสัตว์ตัวใหญ่ที่ลาโม่เอามาคลุมให้เมื่อคืนก่อน นอนฟังเสียงท่อง มนต์ซ้ำไปซ้ำมาจนหลับไปอีกครั้ง      
 
มนต์นี้แปลตามตัวคือ " มณีใดอกบัว " โดยมณีในที่นี้หมายถึงวิธีการซึ่ง ก็คือความกรุณา และดอกบัวหมายถึงปัญญาหรือความรู้ที่ยิ่งใหญ่ การ ตระหนักว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นความว่างเปล่า การเชื่อมโยงระหว่าง กรุณาและปัญญาไปสู่ความหลุดพ้น ในการทำพิธีทางศาสนา อุปกรณ์ สองสิ่งคือดอร์เจหรือวัชระ กับระฆังซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนกรุณาและ ปัญญา จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ คนทิเบตเชื่อว่าหากท่องมนต์ที่มีหกพยางค์ นี้วันละหลายร้อยหรือพันรอบ จะทำให้แคล้วคลาดจากอันตรายใด ๆ ทั้งปวง ด้วยเช็นเรซี พระโพธิสัตว์แห่งความกรุณาจะปกป้องผู้ที่นับถือ พระองค์     
 
ในทิเบต มนต์นี้ยังพบเห็นบน " ก้อนหินมณี " ซึ่งชาวทิเบตนิยมแกะ สลักเป็นตัวอักษร แล้ววางกองเป็นเนินสูงตามวัดหรือตามทางบนภูเขา พวกเขาผูกพันกับเช็นเรซีมากเพราะเชื่อว่าพระองค์ได้รับมอบหมายจาก พระพุทธเจ้า ให้มาโปรดดินแดนหิมะของพวกเขาเป็นพิเศษ เมื่อถาม ว่าทำไมพระองค์ถึงทรงเลือกทิเบต พวกเขาตอบว่าไม่ใช่เพราะเราดีกว่า คนกลุ่มอื่น แต่เป็นเพราะเราชอบรบราฆ่าฟัน ก่อนที่เราจะรับธรรมะมา จากอินเดียดินแดนอารยประเทศ เราทำสงครามตลอดเวลาและได้เมือง ต่าง ๆ มากมายมาเป็นเมืองของเรา       

ด้วยความผูกพันธ์ที่มีต่อเช็นเรซี วัดต่าง ๆ ของทิเบตจึงมีรูปบูชาของ พระองค์ พระพุทธรูปของพระองค์อาจมีสี่กร สองหัตถ์พนมมือ อีก สองหัตถ์ถือลูกประคำและดอกบัวแต่ปางที่พบเห็นบ่อยและเด่นชัด คือปางที่พระองค์มีสิบเอ็ดเศียรหนึ่งพันเนตรหนึ่งพันกร ที่พระองค์มี ลักษณะเช่นนี้ก็เนื่องจากความกรุณาของพระองค์ที่ต้องการช่วยเหลือ สรรพสัตว์ต่าง ๆ ให้ได้จำนวนมากและรวดเร็ว ปางอื่น ๆ มีพระนาม ต่างออกไป เช่น ชานะ เป๋มา ( ปัทมปาณี ) " ผู้ถือดอกบัว "ในพระหัตถ์ ซ้ายมีดอกบัวที่มีก้านยาว      
เมื่อถามถึงต้นกำเนิดของพวกเขา ชาวทิเบตเล่าว่าพวกเขาเกิดมาจากพ่อ ที่เป็นลิงกับแม่ที่เป็น โอเกรส " ปีศาจคล้ายยักษิณี " ซึ่งอาศัยอยู่ที่ภูเขา เกินโปในหุบเขายาลุง ทางตอนกลางของประเทศ

สถานที่อยู่อาศัยของลิงกับโอเกรสยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในหมู่นักวิชา การทิเบตศึกษา บางคนบอกว่าจริง ๆ แล้วบรรพบุรุษของทิเบตน่าจะ อาศัยอยู่ทางตะวันออกของประเทศต่างหากเนื่องจากพบหลักฐานทาง โบราณคดีที่นั่นเป็นจำนวนมาก นักวิชาการกลุ่มนี้มองว่าการกำหนดว่า ต้นกำเนิดของทิเบตมาจากทางตอนกลางของประเทศเป็นแนวคิดแบบ รัฐ ชาติ นั่นคือเน้นประวัติศาสตร์ของทิเบตต้องเริ่มที่ภาคกลางซึ่งเป็น ที่ตั้งของราชวงศ์ยาลุงจวบจนถึงรัฐบาลลาซา       

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักวิชาการและชาวบ้านเห็นพ้องต้องกันคือ ลิงตัวนี้ ไม่ใช่ลิงธรรมดาแต่เป็นนิรมาณกายของพระอวโลกิเตศวร ส่วนโอเกรส ก็คือนิรมาณกายของพระโพธิสัตว์ตาราซึ่งปรากฏในปางดุร้าย พวกเขา จึงนับถือพระโพธิสัตว์ทั้งสองพระองค์เป็นพิเศษ 
     
นอกจากการท่องมนต์ การถวยซังหรือเครื่องหอม การถวายน้ำบริสุทธิ์ น้ำชาและเครื่องบูชาอื่น ๆ อันแสดงให้เห็นศรัทธาในศาสนาแล้ว ชาว ทิเบตยังนิยมนิมนต์พระมาสวดมนต์ที่บ้าน พระจะอ่านคัมภีร์และทำพิธี ทางศาสนาในห้องพระ พวกเขาเชื่อว่าการทำเช่นนี้จะนำความเป็นสิริ มงคลมาสู่ครอบครัว พวกเขาจึงนิยมนิมนต์พระมาสวดมนต์ที่บ้านปีละ อย่างน้อยหนึ่งครั้ง ในระหว่างสวดมนต์และทำพิธีซึ่งอาจใช้เวลามาก กว่าหนึ่งสัปดาห์ พระจะจำพรรษากับพวกเขาโดยใช้ชีวิตเหมือนเป็น สมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว เมื่อท่องมนต์เสร็จในแต่ละวันก็จะร่วมฉัน อาหารกับครอบครัวและพูดคุยกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 28, 2016, 02:02:14 pm โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

 

เมื่อมีโอกาส ชาวทิเบตจะไปปีนเขาเพื่อปักธงมนต์ พวกเขานิยมเดิน ทางไปจาริกแสวงบุญที่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์และตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระ ลามะสำคัญได้เคยนั่งสมาธิ หลายครั้งพวกเขาจะรวมการไปจาริกแสวง บุญกับการปิกนิกหรือการไปเที่ยวไปพร้อม ๆ กัน เมื่อปีนเขาเหนื่อยก็ จะหยุดแวะต้มน้ำชา นั่งคุยเล่าเรื่องขบขัน จากนั้นก็เดินทางต่อ เมื่อ เหนื่อยอีกก็จะแวะกินน้ำชาอีกจนกระทั่งถึงจุดหมายปลายทาง   
   
ครั้งหนึ่งแม่ชีทิเบตจากแคว้นกอร์ข่าเหนือเนปาล ชาวฉันไปวัดของท่าน ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางทางเท้าหลายวันจากตัวเมืองกาฏมัณฑุ ท่านบอก ว่าเมื่อเดินทางไปกับท่าน ไม่ต้องกลัวว่าจะเหนื่อย เราจะค่อย ๆ เดินและ หยุดกินน้ำชาทิเบตไปเรื่อย ๆ ถ้าเดินทางไปกับคนเนปาล พวกเขาเหล่า นั้นจะรีบเดินเพราะต้องการไปให้ถึงที่หมายเร็ว ๆ เพราะฉะนั้นพวกเขา อาจจะไปถึงหมู่บ้านของท่านซึ่งเรียกเป็นภาษาทิเบตว่า ชุม ภายในห้าหก วัน แต่เราจะเดินทางไปพักไปและอาจใช้เวลาสิบวันจึงจะถึง
 
การเดินทางไปจาริกแสวงบุญเป็นสิ่งที่คนทิเบตให้ความสำคัญเป็นอย่าง มาก แม้ชาวคามในภาคตะวันออกที่ห่างไกลก็ไม่ย่อท้อที่จะเดินทางไป ภูเขาไกรลาสทางตะวันตกของทิเบต โดยกราบอัษฏางคประดิษฐ์ไปตลอด ทาง     
 
หลายครั้งที่การเดินทางไปจาริกแสวงบุญในที่ไกล ๆ เช่นนี้หมายความว่า พวกเขาอาจจะไม่มีโอกาสกลับมาเจอหน้าคนในครอบครัวอีก เพราะการ เดินทางโดยวัดระยะทางจากรอยมือ รอยเท้าและหน้าผากที่สัมผัสพื้นดิน เช่นนี้เป็นสิ่งที่อาศัยความอดทนอย่างหนักและใช้เวลาหลายปี พวกเขา อาจจะไม่มีชีวิตรอดจากความยากลำบาก แต่พวกเขาไม่หวาดหวั่น เพราะ ผลที่ได้จากการกระทำเช่นนี้มีค่ามหาศาล หากพวกเขาเดินทางไปจาริก แสวงบุญโดยนั่งรถหรือแม้แต่ขี่ม้า ผลบุญที่ได้ก็จะไม่มากเท่ากับการเดิน ด้วยเท้าและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกราบไปตลอดทาง  
 
เพราะฉะนั้น เนื้อตัวของผู้ปฏิบัติธรรมจึงดูมอมแมม ผมเผ้ายุ่งเหยิง แต่ หน้าและแววตาของพวกเขาบอกความเชื่อมั่น เมื่อเขาประสานมือไว้ที่ กลางกระหม่อม พวกเขาตั้งจิตบูชาพระอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อพวกเขาปะสานมือไว้ที่หน้าอก พวกเขาตั้งจิตมั่นว่าจะเดิน ตามทางที่พระอาจารย์และอริยบุคคลทั้งหลายได้ชี้นำ      
 
หากเงินและอาหารที่ติดตัวมาหมดลง พวกเขาจะดำรงชีวิตอยู่ด้วยการ ขอทานจากผู้ใจบุญ เพื่อนร่วมศาสนาคนอื่น ๆ ก็จะไม่ดูถูกหรือหัวเราะ เยาะพวกเขา ตรงกันข้ามพวกเขาจะร่วมอนุโมทนาไปด้วย เพราะพวก เขารู้ดีว่าจุดหมายของชีวิตไม่ได้อยู่ที่การใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้ แต่อยู่ที่การ ฝึกปฏิบัติเพื่อสละโลกต่างหาก   
     
ในช่วงเวลาที่ฉันเดินทางไปในถิ่นคาม ฉันมักจะเห็นรถบรรทุกที่มีผู้โดย สารทั้งคนเฒ่าคนแก่ ผู้หญิง ผู้ชายและเด็กยืนกันเต็มหลังรถมุ่งหน้าไป ลาซาท่ามกลางฝุ่นตลบอบอวล รถบรรทุกเหล่านี้จะประดับด้วยธงมนต์ หลายหลากสีซึ่งเป็นเครื่องบูชาบนภูเขาสูงระหว่างทางที่พวกเขาเดินทาง ไปจาริกแสวงบุญ บางครั้งฉันพบครรอบครัวประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูกขี่ ม้ามุ่งหน้าไปลาซา เพื่อไปจาริกแสวงบุญเช่นกัน ทุกคนดูมอมแมมเพราะ ไม่มีโอกาสได้เปลี่ยนชุดหรืออาบน้ำ ประกอบกับเดินทางอย่างยากลำบาก ท่ามกลางฝุ่นและพายุ แต่จิตใจของพวกเขาผ่องแผ้วด้วยอานิสงส์แห่งการ ปฏิบัติธรรม         
เพื่อนอินเดียของฉันคนหนึ่งเล่าว่าเขาได้เคยจาริกแสวงบุญที่ภูเขา ค่าว่า ก๊าโบ้ " ภูเขาหิมะสีขาว " ซึ่งเปรียบเสมือนภูเขาไกรลาสของธิเบตตะ วันออก ภูเขานี้อยู่ในเมืองเตเชนในเขตปกครองตนเองเตเชนของทิเบต ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยูนนาน เส้นทางเดินรอบภูเขานี้มีสองเส้น เส้นนอกกับเส้นใน เขาเดินเพียงเส้นในซึ่งใช้เวลา ๗ วัน หากเดินเส้น นอกจะใช้เวลาเพิ่มเป็นสองเท่า       
 
ทั้ง ๆ ที่เพื่อนคนนี้เป็นนักต่อสู้ และเคยเดินนทางไปในที่ต่าง ๆ ของ ทิเบตมากมายรวมทั้งได้เคยเดินรอบภูเขาไกรลาสมาแล้ว เขาบอกว่า การเดินทางครั้งนี้ เขาเกือบเอาชีวิตไม่รอดเพราะอาหารหมดและล้ม ป่วย ประกอบกับระหว่างทางเกิดพายุหิมะ เขาเกิดอาการหดหู่ใจที่ เห็นแม่ลูกคู่หนึ่งถูกพายุหิมะพัดหายไปต่อหน้าต่อตา โชคดีที่ว่ามี บวนของทรุกุรูปหนึ่งผ่านนมาซึ่งยังมีเสบียงอยู่มาก เขาจึงรอดตาย อย่างน่าอัศจรรย์     
 
ในชีวิตหนึ่งของทิเบต วัดโจคัง ซุกลักคัง เป็นสถานที่สำคัญที่สุด แห่งหนึ่งที่เขาใฝ่ฝันจะไปจาริกแสวงบุญ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สร้าง ในสมัยกษัตริย์ซงซัน กัมโป ในคริสต์ศตวรรษที่ ๗ เชื่อกันว่าสร้าง โดยเจ้าหญิงภริขุตี เจ้าหญิงเนปาลซึ่งเป็นมเหสีพระองค์หนึ่งของ กษัตริย์ ซงซัน กัมโป ส่วนองค์พระประธาน โจโวริมโปเชเป็นพระ พุทธรูปที่เจ้าหญิงเหวินเฉิงมเหสีอีกพระองค์หนึ่งอัญเชิญมาจากจีน

วัดนี้มีความสำคัญต่อจิตใจชาวทิเบตเป็นอย่างมาก ไม่ว่าพวกเขาจะ อยู่ไกลเพียงไร และไม่ว่าพวกเขาจะเป็นชาวไร่ชาวนาหรือชนเผ่า เร่ร่อน พวกเขาจะพยายามเดินนทางมาจาริกแสวงบุญที่วัดนี้เพื่อขอ พรจากโจโวริมโปเช         
 
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ฉันเดินทางไปทิเบตเป็นครั้งแรกโดย เดินทางทางรถยนต์จากเมืองโกดารี ชายแดนทิเบต- เนปาล เป้าหมาย ของการเดินทางครั้งนั้นไม่ต่างจากเป้าหมายของผู้จาริกแสวงบุญชาว ทิเบตทั่วไปคือการได้เข้าไปกราบนมัสการโจโวริมโปเช         
หลังจากเดินทางมาสี่วันแวะค้างคืนตามเมืองต่าง ๆ เราก็มาถึงกรุงลาซา นครศักดิ์สิทธิ์ที่ซึ่งชาวทิเบตทุกคนอยากมาเยือนอย่างน้อยครั้งหนึ่งใน ชีวิต เราไปกราบพระที่วัดโจคังในเช้าวันรุ่งขึ้น เมื่อไปถึง เห็นชาวบ้าน จำนวนมากอยู่หน้าวัดกำลังกราบอัษฎางคประดิษฐ์ ภาพนี้ดูเป็นอมตะ เพราะไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงไร ไม่ว่าลาซาจะเปลี่ยนไปอย่างไร ชาวทิเบตจำนวนมากก็จะมากราบอัษฎางคประดิษฐ์ที่หน้าวัดนี้   
   
เมื่อผ่านเข้าไปในวัด สิ่งแรกที่เห็นคือตะเกียงเนยดวงเล็ก ๆ จุดสว่าง ไสวเต็มไปหมด ผู้มาวัดจะมาจุดตะเกียงเนยเหล่านี้เพื่อถวายแด่พระ พุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ซึ่งมีทั่งที่เป็นปางเมตตาและปางดุร้าย

      ภายในวิหารหลัก มีชาวบ้านจำนวนมากเข้าแถวรอนมัสการ โจโวริม โปเช พวกเขาใจดีให้ฉันและเพื่อนชาวต่างชาติเดินไปข้างหน้าแถว โจโวริมโปเชเป็นพระพุทธรูปที่มีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ สวมมงกุฎประดับด้วยหยกมูลนกการเวก ทองและหินปะการังสีชมพู ในขณะนั้นฉันคิดแต่ว่าฉันโชคดีเหลือเกินที่ได้มากราบพระพุทธรูป องค์นี้ซึ่งมีประวัติยาวนานและเป็นที่เคารพบูชาของคนทิเบตทั่วทุกภาค
 
โมหล่าอยากเดินทางไปลาซากับฉันด้วยในครั้งนั้น แต่ทุกคนลงความ เห็นว่าคุณยายจะผ่านความยากลำบากระหว่างทางไม่ไหว และอาจจะ เสียชีวิตกลางทาง ท่านจึงขอให้ฉันเอาข้าวสารหนึ่งกำมือและผ้า คาตัก ( ผ้าแพรสีขาวขนาดเท่าผ้าพันคอ ใช้แสดงความเคารพและมิตรภาพ ) ของท่านไปถวายโจโวริมโปเชแทนท่าน หากฉันรู้ว่าสิบสองปีหลักจาก นั้น คุณยายยังคงมีชีวิตอยู่ ฉันคงไม่ฟังคำทัดทานเหล่านั้นและพาท่าน ไปกราบโจโวริมโปเชที่ท่านเคารพรักให้ได้  
     
พูดถึงโม่หล่า คุณยายทิเบตคนแรกของฉัน ฉันอดจะนึกถึงประวัติ ชีวิตของท่านไม่ได้ ท่านเกิดที่กงโบ้และแต่งงานกับขุนนางลาซา ตั้งแต่อายุ ๑๘ ปี ฉันรู้เรื่องราวในวัยเด็กของคุณยายน้อยมาก เพราะ ดูเหมือนว่าประวัติของท่านจะเริ่มเมื่อตอนเป็นสาว เวลาคุณยายเล่า เกี่ยวกับชีวิตในทิเบตให้ฉันฟัง ท่านมักจะเริ่มเล่าด้วยการเกริ่นนำ อย่างมีความสุขว่า " รู้มั๊ย เมื่อตอนคุณยายไปเป็นเจ้าสาวในลาซา ... "   ]
 
    การนำเครื่องบูชาของคุณยายซึ่งได้กลายเป็นชาวทิเบตอพยพในเนปาล ( ท่านอพยพจากทิเบตพร้อมลูกชายในปีที่ทิเบตเสียเอกราช ) จึงเป็นสิ่ง ที่ฉันให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในวันนี้ คุณยายมีอายุ ๙o ปีเศษ จำใคร ไม่ค่อยได้และไม่สามารถเดินทางไปไหนไกล ๆ ได้อีก โอกาสที่ท่านจะ ได้กลับไปตายที่ลาซาเหมือนที่ท่านหวังไว้คงไม่มีอีกแล้ว

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


 



การนอนหลับหลบหนีไปจากฉัน ราวกับว่าฉันป่วยเป็นโรคนอนไม่
หลับเหมือนที่นักเขียนชาวโคลัมเบีย การ์เซีย มาร์เกซ พรรณนาใน
นิยายเรื่อง หนึ่งปีแห่งความเหงา ฉันติดใจแสงแดด รู้สึกมีความสุข
และเป็นอิสระโดยไม่ต้องนอน เวลาเช้าฉันก็เดินอย่างเร่งรีบไปในโลก
ที่เต็มไปด้วยแสงแดดนี้ เพลิดเพลินกับการมองเพดานหลังคาทอง
ยอดทองเหลืองและพุทธศิลป์ตามวัดต่าง ๆ ฉันได้กลิ่นหอมของธูป
และตะเกียงเนยที่กำลังจุดอยู่ ฉันทอดน่องไปมาบนถนนบาร์คอที่เต็ม
ไปด้วยทิวทัศน์ตื่นตาตื่นใจ แล้วร่วมเดินไปกับผู้จาริกแสวงบุญที่ก้าว
เท้าตามเสียงสวดมนต์ และระฆังทองเหลืองในมือ


 
 
ความประทับใจจากลาซาในหนังสือเรื่อง ความเย้ายวนของแสงแดด
และป่าเขา ของบา หวง ( Huang ๑๙๙o : ๔๖ )


" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
ทุชชี่ในหนังสือเรื่อง ทิเบต ดินแดนหิมะ เปรียบศาสนาพุทธทิเบตว่า เหมือนต้นไม้ที่มีหลายแฉกเพราะมาจากต้นตอเดียวกันแต่แบ่งออกเป็น หลายนิกายขึ้นอยู่กับว่าจะเน้นคำสอนส่วนใดและมีวิธีการเข้าถึงจุดมุ่ง หมายของการปฏิบัติธรรมอย่างไร     
 
กุงกา ซังโบ ริมโปเช ก็บอกฉันเช่นนี้เหมือนกัน ท่านเปรียบหนทาง ไปสู่เป้าหมายของการปฏิบัติธรรมหรือที่เราเรียกว่านิพพานว่าคือทาง เข้าไปในห้องที่มีสี่ประตู จะเข้าประตูไหนก็เข้าไปในห้องได้เหมือน กัน   
   
จริง ๆ แล้ว นิกายต่าง ๆ ของทิเบตมีมากกว่าสี่นิกายหรือสี่ประตูตาม กุงกา ซังโบ เปรียบเทียบ แต่นิกายหลักซึ่งปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้มี อยู่สี่นิกายคือ นิกายหนิงม่าปะ สาเกียปะ กากยูปะ และเกลุกปะ สาม นิกายแรกรวมเรียกว่านิกายหมวกแดง เพราะพระจะสวมหมวกสีแดง ในขณะทำพิธี เป็นนิกายที่ไม่ได้ผ่านการปฏิรูป       
ส่วนนิกายเกลุกปะหรือรู้จักกันดีในนามนิกายหมวกเหลืองเป็นนิกายที่ สืบทอดจากนิกายกาดัมปะที่พระอาจารย์อติชาเป็นผู้ก่อตั้งใน ศตวรรษ ที่ ๑๑ แต่ผ่านการปฏิรูปโดยเน้นการศึกษาแบบโต้วาทีธรรมและวินัยที่ เข้มงวดของสงฆ์ ผู้ปฏิรูปและผู้ก่อตั้งนี้คือพระอาจารย์ซงคาปา ( ค.ศ. ๑๓๕๗ - ๑๔๗๙ / พ.ศ. ๑๙oo - ๒o๒๒ ) ปัจจุบันประมุขของนิกายนี้ คือองค์ดาไลลามะ พระองค์ยังเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวทิเบต ทุกคนไม่ว่าพวกเขาจะนับถือนิกายอะไร  
   
นอกจากนี้ นิกายเกลุกปะยังต่างจากนิกายอื่น ๆ ตรงที่จะไม่ศึกษาคัมภีร์ ตันตระที่รับมาจากอินเดียในช่วงก่อนการเผยแพ่พุทธศาสนาครั้งที่สอง ( คริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ ) แต่จะศึกษาเฉพาะสิ่งที่เรียกว่าคัมภีร์ตันตระใหม่ โดยให้เหตุผลว่าต้นฉบับภาษาสันสกฤตของคัมภีร์ตันตระเก่าสูญหายไป ทำให้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคัมภีร์ตันตระเก่าเป็นคัมภีร์ดั้งเดิมจริง   
 
  แม้ว่าศาสนาพุทธทิเบตจะแบ่งย่อยเป็นหลายนิกาย แต่ไม่ว่าจะเป็นนิกาย ใด หลักความเชื่อพื้นฐานและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน   
   
กุงกา ซังโบ ริมโปเช อธิบายให้ฉันฟังว่า ในทิเบตมี

ประณิธานหรือการ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่ ๓ แบบ
     
แบบที่หนึ่งเรียกว่า ปราติโมกษประณิธาน หมายถึงการที่ผู้ปฏิบัติธรรมตั้ง จิตให้ตนเองหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เป้าหมายนี้เป็นเป้าหมาย หลักของชาวพุทธเถรวาทเช่นกัน     
 
โพธิจิตประณิธาน คือการขอให้ได้มาเกิดใหม่เพื่อทำประโยชน์ให้สรรพ สัตว์จนกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ประณิธานข้อนี้ เป็นประณิธานสำคัญของศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน

ประณิธานประเภทที่สามคือตันตระประณิธาน ซึ่งหมายถึง การปฏิบัติ ธรรมโดยการศึกษาและฝึกปฏิบัติตามคัมภีร์ตันตระเพื่อให้เข้าถึงการหลุด พ้นโดยเร็ว

ประณิธานข้อสุดท้ายนี้เป็นการตั้งจิตที่จะปฏิบัติธรรมขั้นสูง จึงไม่เหมาะกับทุก ๆ คน เฉพาะผู้ที่มีความพร้อมและผ่านการยอมรับโดย การเข้าพิธีอภิเษกเท่านั้นจึงจะฝึกปฏิบัติได้ ดุจดังเมล็ดข้าวสาลีที่ต้องได้ รับการหว่านจึงจะโตได้    
 
การตั้งประณิธานทั้งสามประการนี้เปรียบได้กับความปรารถนาที่จะข้าม แม่น้ำเพื่อให้ถึงฝั่ง ปราติโมกษประณิธานเป็นการเดินอ้อมแม่น้ำ โพธิจิต ประณิธานเป็นการนั่งเรือข้ามแม่น้ำ ส่วนตันตระประณิธานเป็นการเดิน ลุยข้ามน้ำ เพื่อให้ถึงฝั่งโดยเร็ว แนนอนการทำเช่นนี้ย่อมมีอันตราย     
 
กุงกา ซังโบ ริมโปเชเน้นย้ำกับฉันว่าประณิธานทั้งสามเป็นหัวใจศาสนา พุทธทิเบตหรือที่นิยมเรียกกันว่า วัชรยาน และนอกจากทิเบตแล้ว ท่านไม่ คิดว่าจะมีการปฏิบัติร่วมสามประณิธานเช่นนี้ในสังคมพุทธที่อื่น
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

 
 
ร่างกายมนุษย์มีค่ายิ่งกว่าเพชรนิลจินดาใด ๆ
จงเห็นคุณค่าเพราะร่างนี้เป็นของคุณเพียงชาตินนี้เท่านั้น
ร่างมนุษย์ได้มายากยิ่งนัก
แต่สูญไปง่ายเหลือเกิน
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้สั้น
เปรียบดังหยาดฝน
ความงามหายไปในขณะที่มันเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นจงตั้งเป้าหมาย
และใช้ทุกวันคืนทำให้เป้าหมายนั้นเป็นความจริง

งานเขียนของพระอาจารย์ซงคาปา

 
จากหนังสือเรื่อง ทิเบต ของทุบเต็น จิกเม นอร์บุ
และ คอลิน เทอร์บูล ( Norbu and Turnbull ๑๙๖๙ )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 28, 2016, 02:03:52 pm โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


เมื่อชาวทิเบตมีระบบตัวเขียน สิ่งแรกที่พวกเขาทำคือแปลคำสอนของ พระพุทธเจ้าจากคัมภีร์ภาษาสันสกฤคให้เป็นภาษาทิเบตเพื่อว่าชาวทิเบต จะได้เข้าถึงธรรมะของพระพุทธองค์ ต้นฉบับภาษาสันสกฤตของคัมภีร์ หลายเล่มปัจจุบันไม่มีแล้ว คงเหลืออยู่เพียงฉบับแปลในภาษาทิเบต       
 
พระไตรปิฎกทิเบตเรียกว่า กันจูร์ มีประมาณร้อยเล่ม เมื่อรวมกับ ตันจูร์ อรรถกถาและคัมภีร์สำคัญ ๆ ของสัสกฤตที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา โดยตรง เช่น ร้อยกรอง ตำราการแพทย์ อีกประมาณสองร้อยเล่ม คัมภีร์ พุทธศาสนาของทิเบตจึงมีมากถึงสามร้อยเล่ม คัมภีร์เหล่านี้จะวางอยู่ตาม ผนังล้อมวัด แต่ละเล่มห่อด้วยผ้าไหมอย่างเรียบร้อย สันของคัมภีร์นิยม เอายามาทาเพื่อกันแมลงจึงเก็บได้นานหลายร้อยปี  
   
คัมภีร์เหล่านี้จะไม่ได้เย็บเป็นเล่มเหมือนกับหนังสือทั่วไปแต่ประกอบ ด้วยใบลานเป็นใบ ๆ แต่ละใบจะมีเลขหน้าและชื่อย่อของคัมภีร์พร้อม กับมีภาพพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ประดับที่ขอบทั้งสองด้าน บาง ใบอาจมีภาพตรงกลางหน้าเพิ่มอีกด้วย คัมภีร์ส่วนใหญ่เป็นลายมือเขียน เขียนด้วยอักษร อูแชน " หัวโต " ซึ่งเป็นอักษรที่ใช้ในการพิมพ์ คัมภีร์ บางเล่มเขียนด้วยอักษร อูเม " ไม่มีหัว " ซึ่งเป็นลายมือหวัด อักษรนี้ยัง นิยมใช้เขียนหน้าปกคัมภีร์และป้ายโปสเตอร์ต่าง ๆ และเป็นอักษรหลัก ที่ใช้ในโรงเรียนภาษาธิเบต   
 
อักษรอีกประเภทเรียกว่า คิวยิก เป็นลายมือเขียนซึ่งต่างจากอักษรอูแชน แต่มีส่วนคล้ายคลึงกับอักษรอูเม เพียงแต่หวัดกว่า อักษรนี้เป็นอักษรหลัก ที่ชาวทิเบตใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ในการเขียนจดหมายและจดบันทึก ต่าง ๆ        
 
เมื่อชนเผ่าเร่ร่อนเดินทางย้ายถิ่นฐาน สมบัติสำคัญของพวกเขาคือคัมภีร์ที่ เขาบูชาอยู่ที่เต้นท์และ ทังกา ภาพวาดบูชาแบบม้วนได้ มักเป็ภาพพระ พุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ มันดาลา หรือวัฏสงสารประกอบด้วยสัตว์หก ประเภทที่ใช้ชีวิตวนเวียนกับการเวียนว่ายตายเกิด พวกเขาจะห่อผ้าคัมภีร์ กับทังกาติดตัวไปด้วยโดยสะพายไว้ข้างหลังในขณะที่ขี่ม้า
 
พระทิเบตที่มีความตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อย่างลึกซึ้งจะพยายามท่องคัมภีร์เหล่านี้ให้จำจนขึ้นใจ พระล็อบซัง เกียทโซ เล่าในอัตชีวประวัติของท่านว่าทุกปีที่ถึงช่วงนั่งสมาธิท่านจะเอาคัมภีร์ที่จะ ต้องใช้ในการโต้วาทีธรรมขึ้นไปบนเขา ท่านจะสมาธิประมาณสามเดือน อยู่ในถ้ำโดยไม่พบปะผู้ใด แต่ละวันท่านจะท่องคัมภีร์และนั่งวิปัสสนาเพื่อ ทำความเข้าใจคัมภีร์นั้น หากไม่ทำเช่นนี้ท่านจะไม่สามารถเป็นนักโต้วาที ธรรมที่ดีได้ ในการโต้วาที หากทำไม่ดีเพราะศึกษามาน้อย ความรู้ไม่แน่น ผู้โต้วาทีจะรู้สึกอับอายและจะต้องแก้ตัวด้วยการศึกษาและนั่งสมาธิอย่าง หนักในปีต่อมา
     
การนั่งสมาธิในถ้ำเป็นสิ่งที่คนธิเบตเห็นคุณค่าเป็นอย่างยิ่งพวกเขาบูชา บุคคลเยี่ยงฤาษี เช่น มิราเลปะ กวีพุทธรรมของทิเบต ด้วยพวกเขาตระ หนักดีว่าจริง ๆ แล้วทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเพียงสุญตา จึงไม่ควรมีความ ยึดมั่นถือมั่น และหากจะสละความสุขในทางโลกและสามารถสละแม้ เครื่องนุ่งห่ม นั่นคือการเข้าถึงแก่นแท้นั้น พระลามะหลายรูปจึงฝึก ปฏิบัติด้วยการนั่งสมาธิในถ้ำหรือสถานที่สงบเงียบห่างไกลผู้คน บาง ครั้งพวกเขานั่งสมาธิเป็นเวลาสามปีสามเดือนสามวันสามนาทีและสาม วินาทีโดยไม่ออกมาเห็นเดือนเห็นตะวันหรือพบเห็นผู้ใด   
 
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่พระทิเบตทุกรูปจะปฏิบัติตนเช่นนี้ ในชุมชนทิเบต ลี้ภัยหรือในเขตปกครองตนเองของทิเบตในจีน ภาพต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ เห็นอยู่บ่อย ๆ พระไว้ผมยาวขี่มอเตอร์ไซค์ สวมแว่นตาดำ ผูกข้อมือ ด้วยนาฬิกาเรือนโต นั่งรถเก๋ง ฉันอาหารราคาแพงจากภัตตาคารและ ไม่ได้แสดงลักษณะของพระนั่งสมาธิที่เคร่งขรึม       
 
ศาสนาพุทธที่ปฏิบัติโดยคนทิเบตจึงมีทั้งที่เป็นเป้าหมายสูงสุดเพื่อนำพา สัตว์ทั้งหลายไปสู่นิพพาน และที่เป็นวิถีการดำรงชีวิตซึ่งแสดงให้เห็นว่า มนุษย์มีความอยากได้อยากมีและพระสงฆ์ก็ไม่ต่างออกไป
 
การบวชเป็นพระทิเบตไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ละวัดมีวินัยที่เข้มงวดและมีกิจ กรรมมากมาย นอกจากการสวดมนต์ร่วมกัน อ่านและท่องคัมภีร์หลาย พันหน้าจนขึ้นใจ พระจะต้องประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทำอาหารทั้ง นี้เป็นเพราะทิเบตไม่มีประเพณีการตักบาตรและชาวบ้านก็ไม่นำอาหาร ไปถวายที่วัด หากจะถวายอาหารก็มักจะทำเป็นการส่วนตัวมากกว่า เช่น ถวายให้แก่กุฎิของพระในครอบครัวหรือถวายให้แก่ คัมแซน กุฎิรวม ของพระที่มาจากบ้านเกิดเดียวกันและนิยมถวายอาหารแห้ง เช่น ซัมป้า และเนื้อแห้ง มากกว่าจะถวายอาหารสด
 
นอกจากการประกอบอาหารเพื่อยังชีพแล้ว พระจะฝึกเครื่องดนตรีสำ หรับใช้ในพิธี แสดงการแสดงประจำปีที่เรียกว่า ชัม เป็นละครเงียบ สอนศาสนา ตลอดจนดูแลที่ดินของวัดซึ่งหมายถึงการเดินทางไปเก็บ ภาษีหรือผลิตผลจากที่ดินที่วัดให้ชาวบ้านเช่า พระหลายรูปยังมีภารกิจ ที่จะต้องไปช่วยครอบครัวทำงานในยามที่วัดว่างจากกิจกรรมต่าง ๆ
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


จุดเด่นหนึ่งที่ศาสนาพุทธทิเบตแตกต่างจากพุทธเถรวาทหรือพุทธมหายาน คือบทบาทของพระลามะหรืออาจารย์ ทำให้ชาวตะวันตกเรียกศาสนาพุทธ แบบทิเบตว่า Lamaism " ลามะยาน "     
 
ในบทประพันธ์เรื่อง ลาเชอ ตังทรุนบา ตัมเปเมเช กิเตอกา " สวนบัว บทละครอิงคติพุทธศาสนา " ของซาปัลทรู ริมโปเช พระลามะจากเมือง ซาชูค่า มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. ๑๘o๘ - ๑๘๘๗ ( พ.ศ. ๒๓๕๑ - ๒๔๓o ) ฤาษีในเรื่องสอนธรรมะให้แก่ผึ้งน้อยสองตัวที่เป็นสามีภรรยากันโดย กล่าวว่าพระอาจารย์มีความกรุณาและบุญคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้ บุญคุณ นี้มีมากเอนกอนันต์เพราะหากปราศจากท่าน เราก็เป็นเสมือนคนตาบอด ที่หาผู้นำทางไม่ได้ เดินเที่ยวเร่ร่อนอยู่ในสังสารซึ่งเป็นเสมือนทางตัน พระอาจารย์เป็นดั่งดวงประทีปในกลียุคที่ชี้นำทางไปสู่ความหลุดพ้น เพราะท่านเราจึงรู้จักธรรมะของพระพุทธเจ้า       
 
ด้วยความเชื่อเช่นนี้ เวลาสวดมนต์ ประโยคแรกที่ชาวทิเบตท่องคือ ขอ กราบบูชาพระอาจารย์ จากนั้นจึงเป็นขอกราบบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งรวมเรียกว่า โกนชกซุม " ไตรรัตน์ ( สิ่งที่หาได้ยาก สามอย่าง ) "
     
จุดเด่นอีกจุดหนึ่งของศาสนาพุทธทิเบตคือ ความเชื่อเรื่องการกลับชาติ มาเกิด คนทิเบตเหมือนคนไทยตรงที่เชื่อว่าเมื่อตายแล้วไม่เป็นสูญ แต่สิ่ง ที่เหลืออยู่ซึ่งเป็นผลของกรรมเป็นเหตุให้เกิดใหม่ แต่คนไทยไม่มีความ เชื่อหรือประเพณีในการเสาะแสวงหาผู้มาเกิดใหม่      
หากพระที่ปฏิบัติสมาธิจนแก่กล้ามรณภาพไป คนไทยอาจจะเชื่อว่าท่าน บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่จะไม่เชื่อว่าท่านสามารถตั้งจิตปรารถนามาเกิด ใหม่เป็นคนใดคนหนึ่งได้ พวกเขาจะแสวงหา ทรุกผู้มาเกิดใหม่ ( ศัพท์ แปลตรงตัวว่าร่างที่เปลี่ยนไป )   
   
องค์ดาไลลามะองค์ปัจจุบันซึ่งเป็นองค์ที่ ๑๔ ก็คือร่างใหม่ขององค์ดาไล ลามะที่ ๑๓ ส่วนองค์ดาไลลามะที่ ๑๓ ก็คือร่างใหม่ขององค์ที่ ๑๒ เป็น เช่นนี้จนถึงองค์ที่ ๑ ซึ่งก็คือนิรมาณกายของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระอวโลกิเตศวร พระองค์ทรงไม่เสด็จไปนิพพานแต่เสด็จมาประสูติใน โลกมนุษย์เพราะต้องการช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์และเข้า ถึงนิพพานเหมือนกันหมด       
 
อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องการเกิดใหม่เช่นนี้ได้รับอิทธิพลจาก การเมือง ด้วยเช่นกันเนื่องจากผู้ที่กลายมาเป็นองค์ดาไลลามะ องค์ปัญเชนลามะ หรือพระลามะสำคัญ ๆ จะเป็นผู้ที่มีอำนาจและมีความร่ำรวย การระบุ ว่าเด็กคนใดเป็นผู้กลับชาติมาเกิด จึงจะต้องกระทำด้วยความรอบคอบ และเป็นไปตามขั้นตอนที่เชื่อว่าจะทำให้การคัดเลือกถูกต้อง
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

 
เมื่อกลาสีมีเรือ เขาควรจะข้ามมหาสมุทร
เมื่อแม่ทัพมีกองทหารที่กล้าหาญ เขาควรจะชนะข้าศึก
เมื่อคนจนมีวัวสารพัดนึก เขาควรจะรีดนมมัน
เมื่อนักเดินทางมีม้าที่ยอดเยี่ยม เขาควรจะขี่มันไปยังแดนไกล
ทีนี้ เมื่อคุณมีร่างมนุษย์ที่ล้ำค่าและมีอาจารย์ที่รวมคุณลักษณะของ
พระพุทธเจ้าทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จงคิดด้วยความปิติ
และกระตือรือล้นว่าคุณจะเดินทางไปบนทางหลวงธรรมะอันศักดิ์
สิทธิ์อย่างไร เพื่อให้เข้าไกล้จุดมุ่งหมายสูงสุดอันได้แก่การหลุดพ้น
และการตรัสรู้

 
ข้อคิดจากพระอาจารย์ชับการ์
อ้างในแมธิเยอ ริการ์ด ( Ricard ๑๙๙๖ : ๒๙ )
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


นอกจากจะเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นลักษณะ เด่นของพุทธทิเบตคือความเชื่อใคัมภีร์มรณศาสตร์ หากในการดำรงชีวิต อยู่ เราต้องวางแผนเพื่อกระทำการต่าง ๆ ให้ลุล่วง ก่อนตาย เราก็จำ ต้องวางแผนหรือพูดให้ชัดขึ้นคือเราต้องเตรียมตัวตายอย่างมีสติ ผู้ใดที่ ตายโดยทันทีโดยที่เขายังไม่ทันได้ตั้งตัว หรือตายด้วยจิตขุ่นเคือง เศร้า หมอง พยาบาท ชาวทิเบตจะมองว่าคนเหล่านั้นโชคร้ายเพราะพวกเขา จะไม่ได้ไปเกิดในภพที่ดี การประคองจิตให้นิ่ง มั่นคงและตั้งอยู่ในธรรม เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเกิดใหม่
     
ด้วยเหตุนี้เมื่อมีคนป่วยใกล้ตายในบ้าน คนในครอบครัวจะนิมนต์พระ มาอ่านคัมภีร์ไว้ที่ข้างหูของผู้ป่วย เพื่อว่าเขาจะได้เตรียมใจว่าจะต้อง เผชิญกับอะไรบ้างเมื่อตายไปแล้ว และเพื่อให้เขาได้คิดถึงแต่สิ่งดี ๆ จะทำให้เขาได้ไปเกิดใหม่ในภพที่ดี    
 
ความเชื่อเรื่องความตายยังเกี่ยวพันกับวิธีการกำจัดศพ หนังสือบางเล่ม อธิบายการกำจัดศพแบบหั่นศพให้แร้งกินในลักษณะที่ว่าเป็นประเพณี ประหลาดของคนทิเบต จริง ๆ แล้วมีวิธีการกำจัดศพหลายวิธีในทิเบต เช่น ฝัง เผา และให้ทานแก่ปลาโดยการหั่นเนื้อลงน้ำ แต่เนื่องจากทิเบต มีอากาศหนาวเย็น น้ำกลายเป็นน้ำแข็งและดินก็แข็งยากแก่การขุด นอก จากนี้ฟืนที่จะนำมาเผาไฟเป็นสิ่งที่หายาก การกำจัดศพโดยหั่นเนิ้อให้ แร้ง ตำกระดูกกับแป้งซัมป้า และโปรยให้พวกมันกินจึงเป็นสิ่งที่นิยมทำ       
 
อย่างไรก็ตาม วิธีการกำจัดศพเช่นนี้ในปัจจุบันกระทำลดลง ด้วยในช่วง ปฏิวัติวัฒนธรรมในจีน การกระทำเช่นนี้ถูกว่าเป็นสิ่งที่ป่าเถื่อน น่าสังเกตุ ว่าชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นที่ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาทิเบตก็มีวิธีการกำ จัดศพเช่นนี้เหมือนกัน หากพิจารณาในมุมของศาสนาการกระทำเช่นนี้ ทำให้ผู้ตายมีโอกาสได้ทำประโยชน์ครั้งสุดท้ายในชีวิตโดยการกระทำทาน อันยิ่งใหญ่แก่นก         
 
ทีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง พระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งจุติมาในโลกเป็นเจ้าชาย แห่งราชธานีหนึ่ง เนื่องจากมีศึกมาประชิดชายแดน พระองค์จึงต้องเสด็จ ไปรบ ก่อนเสด็จออกจากวัง พระองค์ตรัสลาพระมารดาด้วยทรงเชื่อว่า จะทรงไม่รอดชีวิตจากการรบครั้งนี้ คำขอร้องที่ยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้ายของ พระองค์คือเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้วขอให้พระมารดาทรงกำจัด พระศพของพระองค์ด้วยการบริจาคให้นกกิน
     
เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ ชาวทิเบตหลายคนปรารถนาที่จะ ให้ร่างกายของตนถูกกำจัดแบบนี้           
 
จาก ทิเบต ขอบฟ้าที่สูญหายไป โดย อาจารย์ กฤษฎาวรรณ
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~