4) นามรูป (Mind and Matter) 1.
นาม ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ และมนสิการ จัดเป็นจิต เรียกว่า นามขันธ์
2.
รูป ได้แก่ รูปขันธ์ ซึ่งประกอบด้วย มหาภูตรูป 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลมไฟ และอุปาทายรูป 24 อย่าง
5) สฬายตน (Six sense - bases) ได้แก่ อายตนภายใน 6 อย่างคือ 1. จักขุ ตา
2. โสตะ หู
3. ฆานะ จมูก
4. ชิวหา ลิ้น
5. กายะ กาย
6. มโน ใจ คำว่า สฬายตน มาจากคำสมาส 2 คำ คือ ฉ+ อายตนะ ฉ แปลว่า หก อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หมายถึง
ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้หรือแดนต่อภายใน 6 แห่ง (เมื่อ 2 คำ ต่อกันเข้า ฉ เปลี่ยนเป็น สฬ ตามกฎในภาษาบาลี) หน้าที่ของอายตนภายในทั้ง 6 อย่างก็คือ รับความรู้จากโลกภายนอก แล้วรายงานต่อไปยังใจซึ่งเป็นศูนย์กลาง และขณะเดียวกันใจก็สามารถรับรู้โดยตรงได้ โดยไม่ต้องผ่านอายตนะ (ประตู) อื่น ๆ ได้ด้วย
6) ผัสสะ (Contact) คือ ความกระทบหรือประจวบกันระหว่างอายตนภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) อายตนภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์) และวิญญาณ เมื่อ 3 ประการมาพบกันก็จะเกิดผัสสะ 6 ขึ้นคือ
1. จักขุสัมผัสสะ ความกระทบทางตา
2. โสตสัมผัสสะ ความกระทบทางหู
3. ฆานสัมผัสสะ ความกระทบทางจมูก
4. ชิวหาสัมผัสสะ ความกระทบทางลิ้น
5. กายสัมผัสสะ ความกระทบทางกาย
6. มโนสัมผัสสะ ความกระทบทางใจ
7) เวทนา (Feeling) คือความเสวยอารมณ์ได้แก่ เวทนา 6 อย่าง 1. จักขุสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางตา
2. โสตสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางหู
3. ฆานสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางจมูก
4. ชิวหาสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางลิ้น
5. กายสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางกาย
6. มโนสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางใจ
จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย และมโน เป็นฐานให้เกิดเวทนา กล่าวคือ เมื่อเวทนาที่เกิดจากการสัมผัสทางตาเป็นต้นเกิดขึ้น สุขเวทนา (รู้สึกชอบ) ทุกขเวทนา (รู้สึกชัง) และอทุกขมสุขเวทนา หรือ อุเบกขา (รู้สึกเฉย) ก็จะตามมา ฉะนั้น เวทนาทั้งหมดนี้เมื่อรวมกันแล้วก็จะเวทนา 18
8 ) ตัณหา (Craving) คือ ความทะยานอยาก ได้แก่ ตัณหา 6 คือ 1. รูปตัณหา ความอยากในรูป
2. สัททตัณหา ความอยากในเสียง
3. คันธตัณหา ความอยากในกลิ่น
4. รสตัณหา ความอยากในรส
5. โผฏฐัพพตัณหา ความอยากในสิ่งสัมผัส
6. ธัมมาตัณหา ความอยากในธัมมารมณ์
นอกจากตัณหา 6 อย่างนี้แล้ว ยังมีตัณหาอีก 3 อย่าง ซึ่งถือว่าเป็นตัณหาหลักคือ 1.
กามตัณหา ความอยากในกามคือสิ่งที่สนองความต้องการประสาททั้ง 5
2.
ภวตัณหา ความอยากในภพคือความเป็นอยู่ในภพหนึ่ง ภพใด หรือต้องการที่ จะอยู่สภาพใดสภาพหนึ่งตลอดไป
3.
วิภวตัณหา ความอยากพ้นไปจากภพใดภพหนึ่งหรือจากสภาพใดสภาพหนึ่งที่ตนไม่พอใจหรืออยากให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนไม่ชอบดับสูญไป
9) อุปาทาน (Clinging) คือความยึดมั่น ได้แก่ 4 คือ 1.
กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่น่าพอใจ
2.
ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในลัทธิหรือคำสอนต่าง ๆ ว่าของตนเท่านั้นถูกต้องหรือคำสอนของศาสดาของตนเท่านั้นที่ถูกต้อง
3.
สีลพัตตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรตอันเป็นหลักแห่งความประพฤติและข้อปฏิบัติที่นับถือสืบต่อกันมาโดยปฏิบัติและยึดถืออย่างงมงาย และถือ เป็นเรื่องขลังว่าศักดิ์สิทธิ์โดยมิได้นึกถึงเหตุผล
4.
อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทว่าตนหรือความมีตัวตน (อัตตา) เช่น ถือเรา ถือเขาดังคำของท่านพุทธทาสภิกขุใช้คำว่า ตัวกู -- ของกู โดยมิได้เข้า ใจตามหลักอนัตตา
10) ภพ (Becomiag) คือภาวะแห่งชีวิต ได้แก่ ภพ 3 คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ
1) กามภพ คือภพของสัตว์ผู้เสวยกามคุณ
1. อบาย 4
2. มนุษยโลก
3. กามาวจรสวรรค์ทั้ง 6
2)
รูปภพ คือภพของสัตว์ผู้เข้าถึงรูปฌาน ได้แก่ พรหมทั้ง 16 ชั้น
3)
อรูปภพ คือภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน ได้แก่ อรูปพรหม 4
11) ชาติ (Birth) คือความเกิด ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลายคือการได้ซึ่งอายตนกล่าวโดยสรุปก็คือการเกิดขึ้นแห่งชีวิตที่เป็นรูปธรรม และนามธรรมอย่างครบถ้วน
12) ชรามรณะ (Decay and Death) คือความแก่และความตาย ได้แก่
1.
ชรา ความเชื่อมแห่งอายุหรือความหง่อมแห่งอินทรีย์
2.
มรณะ ความสลายไปแห่งขันธ์หรือความขาดแห่งอินทรีย์
ข้อควรทราบเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท บรรดาองค์ธรรม 12 แห่งปฏิจจสมุปบาทนี้ เมื่อนำไปจัดเป็นกาล กลุ่ม สนธิ และวัฏฏะ ก็จะได้ดังนี้
1. กาล 3 คือ 1. อดีตกาล ได้แก่ อวิชชา สังขาร
2. ปัจจุบันกาล ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตน ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
3. อนาคตกาล ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ (+ โสกะ ปริเทว ทุกข์ โทมนัส อุปายาส) 2. กลุ่ม 4 คือ 1. อดีตเหตุ ได้แก่ อวิชชา สังขาร
2. ปัจจุบันผล ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตน ผัสสะ เวทนา
3. ปัจจุบันเหตุ ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน ภพ
4. อนาคตผล ได้แก่ ชาติ ชรามรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)
3. สนธิ 3 คือ 1. ระหว่างอดีตเหตุและปัจจุบันผล
2. ระหว่างปัจจุบันผลกับปัจจุบันเหตุ
3. ระหว่างปัจจุบันเหตุกับอนาคตผล
4. วัฏฏะ 3 คือ 1. กิเลส ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
2. กรรม ได้แก่ สังขาร ภพ
3. วิบาก ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตน ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ