ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิจจสมุปบาท (dependent origination)  (อ่าน 13091 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิจจสมุปบาท (dependent origination)
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 05:04:49 am »

                 

   ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท
   หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (พันธ์ อินทผิว)
   
   ปฏิจจสมุปบาท
   “การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน
   
   เมื่อไม่มี อวิชชา (การไม่รู้)
   สายโซ่ซึ่งยังให้เกิดทุกข์ก็ขาดสะบั้นลง
   เพราะการรู้เข้าไปแทนที่
   
   เธออาจจะเคยได้ยินมาว่า   
   "พระพุทธเจ้าทรงตัดผมของพระองค์เพียงครั้งเดียว
    และผมของพระองค์ก็ไม่ขึ้นมาอีกเลย"   
   ข้อนี้เป็นปริศนาธรรม   
   เมื่อผมถูกตัดออกไป
   มันไม่อาจจะกลับมาติดได้ดั่งเดิม
   
   ข้อนี้ฉันใด การตัดอวิชชาออกไปอย่างเด็ดขาด
   โดยที่มันไม่อาจจะหวนกลับมาได้อีก ก็เป็นฉันนั้น

   
   นี้กฏตายตัวของธรรมชาติ
   ดุจดั่งเชือกที่ขึงตึงไว้กับเสาสองต้น
   เมื่อเราตัดให้ขาดออกจากกันที่ตรงกลาง
   ก็ไม่อาจกลับมาผูกติดกันได้อีก
   
   เมื่อเราเห็นมาถึงจุดนี้เราจะรู้ว่า
   ภาวะเช่นนี้เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในคน

   
   แล้วทำไมมันจึงกลายเป็นเรื่องที่ยากเย็น
   มันไม่ใช่เป็นสิ่งที่ยาก แต่ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ง่าย
   มันเป็นสิ่งที่ทั้งยากและง่าย
   
   ขอขอบคุณที่มา...บางตอนจาก : “แด่เธอ...ผู้รู้สึกตัว"
   ( โดย หลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ, หน้า ๓๓)

   baby@home .. :http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=14451
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 23, 2011, 07:18:57 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิจจสมุปบาท (dependent origination)
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 06:41:57 am »

                         

   พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔
   กถาวัตถุปกรณ์   
   ปฏิจจสมุปปาทกถา
   
              [๑๐๘๔]สกวาที ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ หรือ?   
              ปรวาที ถูกแล้ว       
              ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นฐานะ อันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?   
              ป. ถูกแล้ว
              ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่างหรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. ที่ต้านทานก็เป็น ๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๒ อย่าง ที่พึ่งก็เป็น ๒ อย่าง
   ที่หมายก็เป็น ๒ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๒ อย่าง อมตะก็เป็น ๒ อย่าง
   นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ?
              ป. ถูกแล้ว

              ส. มีความสูงและต่ำ มีความเลวและความประณีต มีความอุกฤษฏ์และ
   ทราม มีเขตแดน หรือความแตกต่าง หรือร่อง หรือระหว่างขั้นแห่ง
   นิพพาน ๒ อย่างนั้น หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
   
              [๑๐๘๕]ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. อวิชชาก็เป็นอสังขตะ หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. อวิชชาเป็นสังขตะ หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะหรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ก็เป็นอสังขตะ หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชา เป็นปัจจัย เป็นสังขตะ หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นสังขารหรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ก็เป็นอสังขตะ หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นสังขตะ หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะหรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ก็เป็นอสังขตะ หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นสังขตะหรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะหรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. ชราและมรณะที่มีเพราะชาติเป็นปัจจัยก็เป็นอสังขตะ หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. ชราและมรณะที่มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ก็เป็นสังขตะ หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
   
              [๑๐๘๖]ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ หรือ?
              ส. ถูกแล้ว
              ป. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชรา มรณะ มีเพราะชาติเป็นปัจจัย
   โดยพระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติขึ้นหรือมิอุบัติขึ้นก็ตาม
   ธาตุนั้นได้ตั้งอยู่แล้วเทียว เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม คือความที่
   ธรรมนี้เกิดขึ้นเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย พระตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญา
   อันยิ่ง ค้นพบด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธาตุนั้น ครั้นตรัสรู้ด้วยปัญญาอัน
   ยิ่งแล้ว ครั้นค้นพบด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว จึงบอก แสดง ประกาศ
   เผย แพร่ ขยาย ทำให้ง่าย และได้ชี้แจงว่า ชราและมรณะมีเพราะ
   ชาติเป็นปัจจัย

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ
   สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย โดยตถาคตทั้งหลายจะอุบัติขึ้น
   หรือมิอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นได้ตั้งอยู่แล้วเทียว ฯลฯ และได้ชี้แจง
   ว่าสังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้
   ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นโดยประการอื่น คือความที่ธรรม
   เกิดขึ้นเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย สภาวธรรมนั้น
ดังกล่าวนี้ อันใด นี้
   เรากล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาท ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
              ส. ถูกแล้ว
              ป. ถ้าอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นอสังขตะน่ะสิ
   @๑. สํ. นิ. ข้อ ๖๑ หน้า ๓๐
   
              [๑๐๘๗]ส. ปัจจยาการบทหนึ่งว่า สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใด
   เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการนั้น สภาวะนั้นเป็นอสังขตะ
   นิพพานก็เป็นอสังขตนะ หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. ที่ต้านทาน ก็เป็น ๒ อย่าง ฯลฯ หรือมีระหว่างขั้นแห่งนิพพาน ๒ อย่างนั้น หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
   
              [๑๐๘๘]ส. ปัจจยาการบทหนึ่งว่า สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใด
   เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการนั้น สภาวะนั้นเป็นอสังขตะ
   ปัจจยาการอีกบทหนึ่งว่า วิญญาณมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะ
   ใด เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการนั้น สภาวะนั้นก็เป็น
   อสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ
หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. อสังขตะ เป็น ๓ อย่างหรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. อสังขตะ เป็น ๓ อย่างหรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. ที่ต้านทาน ก็เป็น ๓ อย่าง ฯลฯ มีระหว่างขั้นแห่งนิพพาน ๓ อย่างนั้นหรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
   
              [๑๐๘๙]ส. ปัจจยาการบทหนึ่งว่า สังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้
   สภาวะใด เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการนั้น สภาวะนั้น
   เป็นอสังขตะ ปัจจยาการอีกบทหนึ่งว่า วิญญาณมีเพราะสังขารเป็น
   ปัจจัย ดังนี้ สภาวะใด เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการนั้น
   สภาวะนั้นก็เป็นอสังขตะ ฯลฯ ปัจจยาการอีกบทหนึ่งว่า ชรามรณะมี
   เพราะชาติเป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใด เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ใน
   ปัจจยาการนั้น สภาวะนั้นก็เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. อสังขตะ เป็น ๑๒ อย่าง หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. อสังขตะเป็น ๑๒ อย่าง หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. ที่ต้านทาน ก็เป็น ๑๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๑๒ อย่าง ฯลฯ มีระหว่างขั้น
   แห่งนิพพาน
๒ อย่างนั้น หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
   
(** สังขตธรรม ธรรมอันปัจจัยปรุง  สังขตธรรม ธรรมอันปัจจัยมิได้ปรุง)
[ ***ธรรมฐิติ   น. การตั้งอยู่แห่งสิ่งที่เป็นเอง , ความเที่ยงธรรม
ธรรมนิยาม  หมายถึงเป็นธรรมเนียม 
หรือเป็นสภาพธรรมของธรรมนั้นๆที่จะเกิดขึ้นเป็นไปอย่างนั้น
]

ปฏิจจสมุปปาทกถา จบ



:http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=10459&Z=10580
นำมาแบ่งปันโดย...
i_am
.. : http://agaligohome.com/index.php?topic=456.msg13423;topicseen#msg13423
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 24, 2011, 05:19:11 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิจจสมุปบาท (dependent origination)
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: มีนาคม 29, 2015, 01:48:03 pm »


ปฏิจจสมุปบาท มีองค์หรือหัวข้อ 12

(การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน, ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึง เกิดมีขึ้น — the Dependent Origination; conditioned arising)
1 และ 2. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี(Dependent on lgnorance arise Kamma-Formations)
3. สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี(Dependent on Kamma-Formations arise Consciousness)

4. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป จึงมี(Dependent on Consciousness arise Mind and Matter)

5. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี(Dependent on Mind and Matter arise the Six Sense-Bases.)
6. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี(Dependent on the Six Sense-Bases arises Contact)
7. ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา จึงมี(Dependent on Contact arise Feeling)

8. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี(Dependent on Feeling arise Craving.)
9. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี(Dependent on Craving arises Clinging.)
10. อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพ จึงมี(Dependent on Clinging arises Becoming.)
11. ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี(Dependent on Becoming arises Birth.)
12. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี(Dependent on Birth arise Decay and Death.)

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม
(There also arise sorrow, lamentation, pain, grief and despair.)

เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ.
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้
(Thus arises this whole mass of suffering.)

แสดงตามลำดับ จากต้นไปหาปลายอย่างนี้ เรียกว่า อนุโลมเทศนา (teaching in forward order) ถ้าแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น ว่า ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขาร มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา (teaching in backward order)
องค์ (factors) หรือหัวข้อ 12 นั้น มีความหมายโดยสังเขป ดังนี้
1. อวิชชา ความไม่รู้ คือไม่รู้ในอริยสัจ 4 หรือตามนัยอภิธรรม ว่า อวิชชา 8 ดู [208] อวิชชา 4; [209] อวิชชา 8
2. สังขาร (Kamma-formations) สภาพที่ปรุงแต่ง ได้แก่ [120] สังขาร 3๒ หรือ [129] อภิสังขาร 3
3. วิญญาณ (consciousness) ความรู้แจ้งอารมณ์ ได้แก่ [268] วิญญาณ 6
4. นามรูป (mind and matter) นามและรูป ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ หรือตามนัยอภิธรรมว่า นามขันธ์ 3 + รูป ดู [216] ขันธ์ 5 (ข้อ 2, 3, 4); [38] รูป 2๑, 28; [39] มหาภูต หรือ ภูตรูป 4; [40] อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป 24; [41] รูป 2๒
5. สฬายตนะ (six sense-bases) อายตนะ 6 ได้แก่ [276] อายตนะภายใน 6
6. ผัสสะ (contact) ความกระทบ, ความประจวบ ได้แก่ [272] สัมผัส 6
7. เวทนา (feeling) ความเสวยอารมณ์ ได้แก่ [113] เวทนา 6
8. ตัณหา (craving) ความทะยานอยาก ได้แก่ ตัณหา 6 มีรูปตัณหา เป็นต้น (ตัณหาในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัสทางกาย และในธัมมารมณ์) ดู [74] ตัณหา 3 ด้วย
9. อุปาทาน (clinging; attachment) ความยึดมั่น ได้แก่ [214] อุปาทาน 4
10. ภพ (becoming) ภาวะชีวิต ได้แก่ [98] ภพ 3 อีกนัยหนึ่งว่า ได้แก่ กรรมภพ (ภพคือกรรม — active process of becoming ตรงกับ [129] อภิสังขาร 3) กับ อุปปัตติภพ (ภพคือที่อุบัติ — rebirth-process of becoming ตรงกับ [98] ภพ 3)
11. ชาติ (birth) ความเกิด ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะ
12. ชรามรณะ (decay and death) ความแก่และความตาย ได้แก่ ชรา (ความเสื่อมอายุ, ความหง่อมอินทรีย์) กับมรณะ (ความสลายแห่งขันธ์, ความขาดชีวิตินทรีย์)

ทั้ง 12 ข้อ เป็นปัจจัยต่อเนื่องกันไป หมุนเวียนเป็นวงจร ไม่มีต้นไม่มีปลาย เรียกว่า ภวจักร (วงล้อหรือวงจรแห่งภพ — wheel of existence) และมีข้อควรทราบเกี่ยวกับภวจักรอีกดังนี้
ก. อัทธา (periods; times) คือ กาล 3 ได้แก่
1) อดีต = อวิชชา สังขาร
2) ปัจจุบัน = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
3) อนาคต = ชาติ ชรา มรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)

ข.สังเขป หรือ สังคหะ 4 (sections; divisions) คือ ช่วง หมวด หรือ กลุ่ม 4 ได้แก่
1) อดีตเหตุ = อวิชชา สังขาร
2) ปัจจุบันผล = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
3) ปัจจุบันเหตุ = ตัณหา อุปาทาน ภพ
4) อนาคตผล = ชาติ ชรา มรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)

ค. สนธิ 3 (links; connection) คือ ขั้วต่อ ระหว่างสังเขปหรือช่วงทั้ง 4 ได้แก่
1) ระหว่าง อดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล
2) ระหว่าง ปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ
3) ระหว่าง ปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล

ง. วัฏฏะ 3 ดู [105] วัฏฏะ 3
จ. อาการ 20 (modes; spokes; qualities) คือองค์ประกอบแต่ละอย่าง อันเป็นดุจกำของล้อ จำแนกตามส่วนเหตุ (causes) และส่วนผล (effects) ได้แก่
1) อดีตเหตุ 5 = อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ
2) ปัจจุบันผล 5 = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
3) ปัจจุบันเหตุ 5 = อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ
4) อนาคตผล 5 = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
อาการ 20 นี้ ก็คือ หัวข้อที่กระจายให้เต็ม ในทุกช่วงของสังเขป 4 นั่นเอง

ฉ. มูล 2 (roots) คือ กิเลสที่เป็นตัวมูลเหตุ ซึ่งกำหนดเป็นจุดเริ่มต้นในวงจรแต่ละช่วง ได้แก่
1) อวิชชา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงอดีต ส่งผลถึงเวทนาในช่วงปัจจุบัน
2) ตัณหา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงปัจจุบัน ส่งผลถึงชรามรณะในช่วงอนาคต

พึงสังเกตด้วยว่า การกล่าวถึงส่วนประกอบของภวจักรตามข้อ ก. ถึง ฉ. นี้ เป็นคำอธิบายในคัมภีร์รุ่นหลัง เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น

การแสดงหลักปฏิจจสมุปบาท ให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งธรรมต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยสืบทอดกันไปอย่างนี้ เป็น สมุทยวาร คือฝ่ายสมุทัย ใช้เป็นคำอธิบายอริยสัจข้อที่ 2 (สมุทัยสัจ) คือ แสดงให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท ที่แสดงแบบนี้ เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท — direct Dependent Origination)
การแสดงในทางตรงข้ามกับข้างต้นนี้ เป็น นิโรธวาร คือฝ่ายนิโรธ ใช้อธิบายอริยสัจข้อที่ 3 (นิโรธสัจ) เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท (reverse Dependent Origination ซึ่งความจริงก็คือ Dependent Extinction นั่นเอง) แสดงให้เห็นความดับไปแห่งทุกข์ ด้วยอาศัยความดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลายสืบทอดกันไป ตัวบทของปฏิจจสมุปบาทแบบปฏิโลมนี้ พึงเทียบจากแบบอนุโลมนั่นเอง เช่น
1/2. อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ
(Through the total fading away and cessation of lgnorance, cease Kamma-Formations.)
3. สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
(Through the cessation of Kamma-Formations. ceases Consciousness.)
ฯลฯ
12. ชาตินิโรธา ชรามรณํ เพราะชาติดับ ชรามรณะ (จึงดับ)
(Through the cessation go Birth, cease Decay and Death.)

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ
(Also cease sorrow, lamentation, pain, grief and despair.)

เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ.
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
(Thus comes about the cessation of this whole mass of suffering.)

นี้เป็นอนุโลมเทศนาของปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ส่วนปฏิโลมเทศนา ก็พึงแสดงย้อนว่า ชรา มรณะ เป็นต้น ดับ เพราะชาติดับ ชาติดับเพราะภพดับ ฯลฯ สังขารดับเพราะอวิชชาดับ อย่างเดียวกับในอนุโลมปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก ที่สำคัญคือ อิทัปปัจจยตา (ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย — specific conditionality) ธรรมนิยาม (ความเป็นไปอันแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ — orderliness of nature; natural law) และ ปัจจยาการ (อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน — mode of conditionality; structure of conditions) เฉพาะชื่อหลังนี้เป็นคำที่นิยมใช้ในคัมภีร์อภิธรรม และคัมภีร์รุ่นอรรถกถา.

จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://www.sdsweb.org/sdsweb/index.php/2010-09-04-06-22-40/2010-09-04-10-30-09/86-2010-09-05-09-32-59