ผู้เขียน หัวข้อ: จิตวิวัฒน์ : ตัวตนกับการภาวนา (๑)  (อ่าน 1600 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
ตัวตนกับการภาวนา (๑)



โดย วิศิษฐ์ วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 18 กันยายน 2553

หากเราไม่เกี่ยงงอนเรื่องที่มา หากมนุษย์คือมนุษย์ ศิลปศาสตร์ทั้งหมดย่อมสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันได้ จิตตปัญญาศึกษาย่อมไม่ถูกตัดขาดเป็นห้วงๆ หากสามารถปะติดปะต่อเชื่อมโยง ไม่ว่าจะมาจากตะวันออกตะวันตก จากห้องทดลองหรือห้องสมาธิ จากอารยธรรมที่เจริญแล้วหรือชุมชนบุพกาล ปัญญาปฏิบัติอาจร้อยเชื่อมเข้าหากันอย่างปราศจากการตีตรา ปราศจากพรมแดนกีดกั้น และเมื่อนั้นหัวใจของเราย่อมอาจเชื่อมถึงกันได้

ด้านหนึ่งของการเทียบเคียงกับศาสตร์ตะวันตก คือการเปรียบเทียบกับงานวิจัยอันเกี่ยวเนื่องกับสมอง ซึ่งผมได้ติดตามมาโดยตลอด ผมคิดว่ามันให้อะไรใหม่ออกไปด้วย อย่างน้อยคือให้การอธิบายอีกมุมมองหนึ่ง มีคนอยู่ไม่น้อยที่จะบอกว่า พุทธศาสนาของเราดีอยู่แล้ว มีทุกอย่างอยู่ในนั้น ผมไม่อยากเชื่อเช่นนั้นจะได้ไหม ผมสนใจอ่านงานของท่านพุทธทาส งานของเจ้าคุณประยุทธ (พระพรหมคุณาภรณ์) แต่ผมเห็นว่าตะวันตกเขามีอะไรให้เราเรียนจริงๆ ผมอาจจะแยกตะวันตกที่น่าเรียนรู้ออกเป็นสองสาย สายหนึ่งคือเรื่องของงานวิจัยเกี่ยวกับสมอง อีกสายหนึ่งคือการค้นเข้าไปในจิตไร้สำนึก โดยเฉพาะในสาย คาร์ล จุง สโตนสามีภรรยา (ฮัล กับ ซิดรา สโตน) และมินเดลสามีภรรยา (อาร์โนลด์ กับ เอมี มินเดล) ซึ่งน่าสนใจมากๆ ผมอยากจะค่อยๆ เทียบเคียงพุทธกับจุงและงานวิจัยทางสมองดู โดยเชื่อมโยงกับประเด็นเรื่องตัวตนกับการภาวนา อยากจะเขียนเป็นเรื่องยาว ซึ่งไม่จบในตอนเดียว โดยเรื่องแรกที่อยากจะเอามาเทียบเคียงคือเรื่องอารมณ์

อารมณ์

เราจะทำความเข้าใจเรื่องของอารมณ์อย่างไร? ในยุคข้อมูลข่าวสาร จะมีหลากหลายวัฒนธรรมแห่งความรู้ไหลเข้ามาปะปนกันอย่างไม่อาจจะแยกออกจากกันชัดเจนได้ หรือเราจะผสมผสานความรู้ต่างๆ เข้ามา แล้วทำให้เป็นความรู้ของเราเอง

แจ็ค คอนฟิลด์ เป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาโรคซึมเศร้าอย่างลุ่มลึก เขาสามารถนำพาตัวเองให้เป็นโรคซึมเศร้าแล้วนำพาตัวเองให้หายจากโรคซึมเศร้าได้ เขาจึงรู้จักมันเป็นอย่างดี เขากล่าวว่า เราไม่สามารถบังคับหรือกำกับอารมณ์ให้เป็นไปอย่างที่เราต้องการได้ แต่เราสามารถกำกับพฤติกรรมได้ ในการรักษาโรคซึมเศร้า คอนฟิลด์จะกำกับพฤติกรรมของตัวเอง ทำสิ่งที่สวนทางกับอาการของโรคซึมเศร้า เช่น แทนที่จะเก็บตัว เขาก็ฝืนนำพาตัวเองไปในงานสังคมต่างๆ แทนที่จะปล่อยปละละเลยตัวเอง เขาก็บังคับตัวเองให้แต่งตัวสดใส เป็นต้น

แคนเดส เพิร์ต เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องของอารมณ์ เธอบอกว่า ศูนย์กลางของชีวิตมนุษย์ไม่ได้อยู่ที่ความคิด ความคิดเป็นส่วนหนึ่งของจิต และจิตนั้นกระจายตัวอยู่ทั่วร่างกายของเรา ที่จริงเมื่อเรามีอารมณ์ อารมณ์จะเป็นของเซลล์ทุกเซลล์ ที่ผนังเซลล์จะมีที่รองรับเปปไทด์ (peptide) หรือโมเลกุลอารมณ์อยู่ เหมือนแม่กุญแจ ส่วนเปปไทด์เป็นลูกกุญแจ โดยเปปไทด์จะก่อเกิดในสมองส่วนไฮโปไทลามัสแล้วถูกสูบฉีดไปทั่วร่างกาย เราจึงสามารถเสพติดอารมณ์ได้เช่นเดียวกับที่เราเสพติดยาเสพติด เพราะฉะนั้นเวลาเกิดอารมณ์ เราจะกลายเป็นอารมณ์นั้นๆ หรือเราได้กลายมาเป็นตัวตนหนึ่งๆ บุคลิกหนึ่งๆ หรือคือการเสวยชาติภพในปฏิจจสมุปบาท ณ ขณะนั้นๆ

ความเป็นปกติ

สิ่งที่น่าสนใจคือ "ความปกติ" ทางอารมณ์ หรือในทางปฏิบัติธรรม ที่ท่านพุทธทาสพูดถึงความเป็นปกติ แต่ผมจะขอกล่าวถึงความไม่เป็นปกติทางอารมณ์เสียก่อน เพื่อจะได้เข้าใจว่าความเป็นปกติคืออะไร ผมได้บอกเล่าไว้ในหนังสือ หันหน้าเข้าหากัน คู่มือกระบวนกร ว่าชีวิตมีอยู่สองโหมด คือโหมดปกติกับโหมดปกป้อง ในโหมดปกป้องนี้เองที่เราจะไม่ปกติ ในระดับของมนุษย์ เมื่อเข้าสู่โหมดปกป้อง สมองจะวิ่งไปหาความทรงจำทางอารมณ์อันไม่ปกติในอมิกดาลาที่อยู่ในสมองส่วนกลาง (สมองสามส่วนจะเชื่อมโยงเข้าหากัน คือ อมิกดาลา สมองสัตว์เลื้อยคลาน และสมองซีกซ้าย) โดยสมองเลื้อยคลานจะเป็นผู้นำ โจเซฟ ชิลตัน เพียร์ซ เรียกกระบวนการใช้สมองแบบนี้ว่า “de-evolution” หรือแปลไทยคือ “ความถดถอยทางวิวัฒนาการ” อันที่จริงมันเป็นกลไกของชีวิตที่ต้องการนำพาชีวิตให้รอดเมื่อเจอภัยอันตราย จึงไม่อาจชักช้าใคร่ครวญ จึงตัดวงจรของสมองส่วนหน้าแห่งการใคร่ครวญออกไป เข้าไปสู่สัญชาตญาณแห่งการอยู่รอด

แต่ในความพิเศษของมนุษย์อันเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย คือเราสามารถจินตนาการ ดังนั้น แทนที่เราจะเข้าสู่โหมดปกป้องเฉพาะในยามที่เผชิญอันตรายจริงๆ การณ์กลับกลายเป็นว่า เราเข้าสู่โหมดปกป้องทุกครั้งที่จินตนาการเห็นเรื่องเลวร้าย โดยที่ยังไม่มีอะไรเลวร้ายเกิดขึ้นเลย

ในพุทธศาสนา ความเป็นปกติเป็นฐานแรกแห่งการเรียนรู้ เราจะตื่นรู้เรียนรู้การออกจากทุกข์ได้ด้วยการเข้าสู่ความเป็นปกติ โดยท่านพุทธทาสได้กล่าวไว้ว่า ศีลคือความเป็นปกติ

แบบแผนอันคุ้นชินแห่งจิตและจิตไร้สำนึก

ตรุงปะใช้คำว่า habituated pattern ในหนังสือของเขา ส่วนใน สู่ชีวิตอันอุดม หรือ Understanding Our Mind ของไถ่ นัท ฮันห์ กล่าวถึง store consciousness หรืออาลัยวิญญาณ ผมคงเทียบเคียงกับจิตไร้สำนึก และเทียบเคียงกับวงจรสมองในงานวิจัยสมอง โดยในอาลัยวิญญาณนี้มีเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นกุศล อกุศลและกลางๆ หากเรานำเมล็ดพันธุ์นั้นๆ มาปฏิบัติ เช่น หากเราโกรธ เมล็ดพันธุ์แห่งความโกรธก็จะงอกงามขึ้นเป็นต้นไม้ใหญ่ได้ และอาจจะขยายพันธุ์ครอบคลุมสวนของเรา ซึ่งได้แก่อาลัยวิญญาณ เช่นเดียวกับที่เราก็อาจจะขยายพันธุ์เมตตากรุณาให้แพร่หลายและเติบใหญ่ได้เช่นกัน

เมื่อเทียบเคียงกับเรื่องของสมอง วงจรสมองนั้น หากเราทำซ้ำๆ จะเกิดวงจรสมองที่เข้มแข็ง กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเรา กลายมาเป็นตัวตนหนึ่งๆ นิสัยหนึ่งๆ บุคลิกภาพหนึ่งๆ ดังเช่นความเป็นคนขี้หงุดหงิด อาจจะกลายมาเป็นบุคลิกภาพที่สำคัญอย่างหนึ่งของเรา ดังที่คนเป็นโรคเบาหวาน ความดัน มักจะเป็นคนดื้อ ไม่ยอมเปลี่ยนนิสัยอย่างง่ายๆ ได้เลย เป็นต้น

เราเอาเรื่องนี้กลับมาเชื่อมโยงกับความเป็นปกติและความไม่เป็นปกติของเราได้หรือไม่ หากเราหวาดผวา กลัว สร้างจินตนาการแห่งความกลัวในชีวิตของเราไปเสียหมดทุกเรื่อง มันจะกลายมาเป็นแบบแผนแห่งความคุ้นชิน แบบแผนที่ฝังตัวเป็นวงจรสมองที่อุปไมยอุปมาจากทางเดินเล็กๆ ได้กลายมาเป็นทางเกวียน กลายมาเป็นถนนลูกรัง กลายมาเป็นถนนลาดยาง จนกระทั่งบัดนี้ได้กลายเป็นทางด่วน จึงสะดวกที่จะจินตนาการด้านลบ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของเรา อย่างยากที่จะกลับกลายเปลี่ยนแปลง

หรือตรงกันข้าม เราจะตื่นรู้และไม่หลงไปในทางดังกล่าว จินตนาการดังกล่าว หากเรามีความตื่นรู้และการใคร่ครวญในทุกเรื่องราวแห่งชีวิต เทียบเคียงกับสมองแล้ว เป็นการทำงานของสมองส่วนหน้า นักวิทยาศาสตร์ชื่อ เดวิด เดวิดสัน ได้วิจัยว่าเมื่อสมองส่วนหน้าทำงาน มันจะออกมาจากวงจรลบๆ ของอมิกดาลา ที่เชื่อมโยงอยู่กับสมองสัตว์เลื้อยคลานกับสมองซีกซ้ายบางส่วน ดังที่กล่าวถึงไว้แล้วข้างต้น คือหากใคร่ครวญ มันจะไม่คิดลบ ไม่ตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ เป็นต้น

ความตื่นรู้

ความตื่นรู้และความรู้เท่าทันจึงอาจกลายเป็นความคุ้นชินอย่างใหม่ให้แก่เราได้ หากเราฝึกฝืน อันนี้เป็นที่มาของการฝึกสติและสมาธิในพุทธศาสนา ใน ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ ของไถ่ นัท ฮันห์ ท่านให้เราฝึกการตื่นรู้ในทุกๆ กิจกรรม ทุกๆ อิริยาบถในชีวิต ไม่ว่าจะล้างหน้า แปรงฟัน พูดคุยกับคน แม้แต่ในขณะที่กำลังคิดโครงการในอนาคต เราก็สามารถฝึกการตื่นรู้ได้ หรือการตื่นรู้เป็นวงจรสมองอีกอันหนึ่ง ซึ่งอาจจะเชื่อมโยงสมองหลายส่วนเข้าด้วยกันกับการทำงานแห่งการตื่นรู้นี้ เราอาจจะไม่ต้องลงไปลึกนักในเรื่องของสมอง แต่ที่แน่ๆ เรารู้ว่า เราสามารถทำการตื่นรู้นี้ ให้ชีวิตเข้มแข็ง แจ่มจำรัส ขึ้นได้


วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553 at ที่ 10:30 by knoom    
ป้ายกำกับ: บทความมติชน, วิศิษฐ์ วังวิญญู
 
 
http://jitwiwat.blogspot.com/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: จิตวิวัฒน์ : ตัวตนกับการภาวนา (๑)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 09:28:39 pm »
 :13:   อนุโมทนาครับพี่มด^^
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~