ผู้เขียน หัวข้อ: โยคะบำบัด ทางเลือกเพื่อสุขภาพ  (อ่าน 1584 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Plusz

  • กล่องแก้วแจ้วเจรจา
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 1555
  • พลังกัลยาณมิตร 376
  • Love yourself cuz no one will
    • extionary
    • Plusz009
    • ดูรายละเอียด
หากถามว่า "โยคะ" สามารถสร้างเสริมสุขภาพได้แค่ไหน คงเป็นเรื่องยากในการค้นหาคำตอบ เพราะการฝึกโยคะไม่ได้เห็นผลทันตา จึงต้องฝึกฝนอย่างต่อเนื่องให้ถูกวิธี ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอาการเคล็ดยอกปวดเมื่อย ปัจจุบันวงการแพทย์แผนปัจจุบัน ได้นำโยคะมาปรับใช้กับผู้ป่วยบางโรค เพราะโยคะเป็นการบริหารอย่างช้าๆ ใช้แรงแต่น้อย ผสานลมหายใจให้เป็นหนึ่งเดียว ทำให้รู้สึกถึงความเบิกบาน มีสติระหว่างการเคลื่อนไหว การฝึกโยคะจึงมีผลต่อข้อต่อเอ็นและกล้ามเนื้อ เมื่อร่างกายมีความยืดหยุ่นดี ย่อมมีผลกระทบต่อต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง ฯลฯ รวมถึงการไหลเวียนของเลือด และสภาวะจิตใจ จึงเป็นที่มาของการนำโยคะมาปรับใช้เพื่อบำบัดโรคควบคู่ไปกับการรักษาสมัยใหม่ พ.ญ.สิรีธร โชลิตกุล โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ นำโยคะมาใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ขาดเลือดใน "โครงการหัวใจใหม่ ชีวิตใหม่" เพื่อให้ผู้ป่วยรู้จักดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยทดลองกับผู้ป่วย 12 คนจัดกิจกรรมเดือนละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน ปรากฏว่า ผู้ป่วยอารมณ์ดีขึ้นและให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายยืดเส้นมากขึ้น มีความมั่นใจในตัวเอง กล้าเลือกวิธีการรักษาอื่นๆ มากขึ้น ลดการใช้ยา มองโลกในแง่ดีจากที่เคยคิดถึงแต่เรื่องความตาย ก็มีความหวังและเข้าใจชีวิตมากขึ้น แพทย์แผนใหม่รู้จักนำโยคะมาปรับใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ เพื่อดูแลและให้กำลังใจผู้ป่วยมีความหวังใหม่กับชีวิตอีกครั้ง จึงไม่แปลกหากโยคะจะมีส่วนในการสร้างเสริมสุขภาพและนำมาใช้รักษาผู้ป่วยหลอดเลือดแดง อันนำไปสู่โรคเบาหวาน ความดันโลหิตและไขมันในเลือด ซึ่งมีสถิติการตายจำนวนมากในบ้านเรา "พวกเบาหวาน ความดันโลหิต ไขมันในเลือด และการสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคหัวใจ ซึ่งมีปัญหาต่อหลอดเลือด บางคนมีอาการหัวใจขาดเลือดต้องกินยาถึง 3 ชนิด ทั้งยาลดไขมัน ยาแอสไพริน และยาอมใต้ลิ้น รวมๆ แล้วต้องกินยาเกือบ 10 เม็ด เราทดลองให้คนไข้รายหนึ่งปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเขา เลือกอาหารพวกข้าวกล้อง ผัก ธัญพืช ฝึกโยคะวันละครึ่งชั่วโมง ทั้งๆ ที่อายุ 82 ปี แต่ฝึกมา 7-8 ปี วันละ 20 กว่าท่า ไม่สูบบุหรี่ กลับบ้านมาก็แต่งกลอน เขียนหนังสือดูหนัง และมีแก๊งเพื่อนๆ ที่สวมลุมฯ" น.พ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยกตัวอย่างคนไข้ที่ใกล้ชิดที่สุดคือ คุณพ่อ เขาใช้วิธีการให้คนไข้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาบริโภคอาหารมังสวิรัติ มีไขมันแค่ 10% รู้จักการออกกำลังกายง่ายๆ ด้วยการเดิน ฝึกโยคะและงดสูบบุหรี่ รวมถึงมีกลุ่มผู้ป่วยคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผลปรากฏว่า คนไข้ไม่จำเป็นต้องกินยาลดไขมันอีก จากการศึกษาทดลองกับคนไข้เส้นเลือดตีบตันสองกลุ่มคือ กลุ่มที่รักษาปกติกับกลุ่มที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรากฏว่า กลุ่มปกติจะมีจำนวนการขยายบอลลูน เพื่อถ่างเส้นเลือดปรากฏว่า มีจำนวนที่ต้องผ่าตัดเลือดหัวใจและเข้าโรงพยาบาลมากกว่า "ผมได้ทำการวิจัยศึกษาจากคนไข้ 44 คน สุ่มคนไข้ที่เป็นเส้นเลือดตีบออกเป็นสองกลุ่มติดตามผลประมาณ 4 เดือน โดยให้กลุ่มไม่ทานยาลดไขมัน เน้นกินธัญพืช พืชผัก เดินและฝึกโยคะฝึกสมาธิ จินตภาพให้ผ่อนคลายอย่างลึก เวลานอนให้ฟังเทป แล้วมองว่าหัวใจตีบน้อยลง ปรากฏว่า คนไข้กลุ่มนี้น้ำหนักลด แต่ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น เพราะเราไม่ได้ควบคุมเรื่องอาหาร และไม่สามารถให้ทุกคนกินมังสวิรัติได้" น.พ.สมเกียรติ กล่าวและเห็นว่า การฝึกโยคะควบไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิต จะมีผลต่อการรักษาโรค การฝึกลมหายใจปราณยามะ ทำให้คุณหายใจช้าลง ความดันโลหิตสามารถลดลงได้ ถึงจะไม่มีเครื่องมือก็ฝึกให้หายใจช้าประมาณ 10 ครั้งต่อนาที คุณพ่อผมลองฝึก ท่านสามารถหายใจได้ 2 ครั้งต่อนาที อีกอย่างโยคะเน้นการบริโภคน้อย ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องดีมาก และหลายๆ คนหันมาทานมังสวิรัติเลย ถ้าคุณกินเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ก็จะได้รับคอเลสเตอรอลส่วนเกินมาด้วย การฝึกโยคะเป็นเรื่องที่ต้องมีวินัยและทุ่มเทเวลาอย่างต่อเนื่อง หากเกิดความรู้สึกท้อแท้และสิ้นหวัง ก็จะไม่ทันเห็นประโยชน์ของโยคะ ผศ.พ.ญ.ปราณี สุจริตจันทร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า เคยมีน้องที่บ้านชวนฝึกโยคะแต่บอกว่าไม่มีเวลา จนวันหนึ่งเขาชวนได้สำเร็จ จึงหันมาฝึกโยคะ ทั้งๆ ที่เป็นหมอแต่ก็เป็นหวัด พอฝึกก็ไม่เป็นหวัดอีกเลย กลับมาคิดว่าทำไมโยคะสามารถลดการทำลายเซลล์ในร่างกายได้ จึงพยายามนำมาใช้กับผู้ป่วยเซลล์เม็ดเลือด แม้การจัดคอร์สฝึกโยคะในโรงพยาบาลจะมีปัญหามากมาย แต่เราเห็นว่าการฝึกโยคะจะทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เซลล์ในร่างกายตายน้อยลง เพราะอาการป่วยโรคเลือดเกิดจากเซลล์ในร่างกายตายจำนวนมาก พอเซลล์ตายก็แตกออกเป็นนิวเคลียส สารต่างๆ ที่อยู่ในเซลล์ ก็วนอยู่ในกระแสเลือด ทำให้ภูมิต้านทานทำงานหนัก นำไปสู่สาเหตุของโรคภูมิแพ้ ถ้าภูมิต้านทานไม่ดี เซลล์มะเร็งก็ก่อตัวได้ง่าย คุณหมอปราณี ยกตัวอย่างผู้ป่วยหญิงวัย 42 ปี มาตรวจร่างกายแล้วบอกว่า เป็นโรคตับและโลหิตจาง ไม่พบโรคดังกล่าว กลับพบโรคแพ้ภูมิตัวเอง จึงให้ยาภูมิต้านทาน แต่คนไข้ไม่ดีขึ้น 7 เดือนต่อมามีอาการเลือดออกตามกระพุ้งแก้ม ก็เจาะไขกระดูก จึงรู้ว่าเป็นโรคไขกระดูกทำงานไม่ดี ในอนาคตจะเป็นมะเร็งเม็ดเลือด เราก็ฉีดยากระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงมากขึ้น ซึ่งเลือดของคนอื่นอาจทำให้คนไข้ติดเชื้อได้ "พอคนไข้รายนี้เป็นมะเร็ง หากเราใช้เคมีบำบัด อาจทำให้เขาตายเร็ว จะปลูกถ่ายกระดูก ก็ไม่ใช่วิธีการที่ดีนัก จึงแนะให้ฝึกโยคะ แต่คนไข้ฝึกๆ หยุดๆ ในช่วงฝึกโยคะปรากฏว่า เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเม็ดเลือดดีขึ้น แต่เราไม่อาจพิสูจน์ได้ว่า ผลของโยคะทำให้เขาดีขึ้น เพราะเธอฝึกไม่ต่อเนื่อง และในวงการแพทย์ยังไม่มีหลักฐานยืนยันผลการใช้โยคะรักษาโรคและเราไม่สามารถเลิกรักษาตามมาตรฐาน แล้วมาฝึกโยคะอย่างเดียว" แต่อย่างน้อยๆ เราได้เห็นว่า โยคะมีผลต่อระบบการสร้างเม็ดเลือด และช่วยทำให้อาการของโรคทุเลาลงได้บ้าง เนื่องในโอกาสที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ทำการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา" โดยจะเปิดให้บริการในวันที่ 15 ม.ค.2550 แต่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณและขาดเครื่องมือทันสมัยอีกจำนวนมาก ทางโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จึงจำเป็นต้องจัดหาทุน โดยจัดทำแผ่นแม่เหล็กเพื่อการสะสม "หมออ่วมใจดี" ออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป โดยจะแถลงข่าวในวันพฤหัสที่ 9 พ.ญ. เวลา 13.30 น. ณ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จึงขอเชิญชวนประชาชนที่สนใจร่วมบริจาคสมทบทุนและเปิดตัวแถบแม่เหล็กในวันดังกล่าว ซึ่งจะพบกับพล.ท.วิทยา ช่อวิเชียร ผอ.ศูนย์อำนวยการแพทย์โรงพยาบาลและศิลปินมากมาย
มีความสุข
ทุกครั้งที่เป็นตัวของตัวเอง

===== ได้เวลาวิ่ง วิ่งนะวิ่งนะแฮมทาโร่ =====                                       ===== ได้เวลาวิ่ง กลิ้งนะกลิ้งนะแฮมทาโร่ =====