ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล  (อ่าน 59717 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 08:49:41 am »


  ความคิดชั่วร้ายเพียงดวงเดียว  จากจิตเดิมแท้ของเรา  อาจจะทำลายความดีที่เราสร้างสม  อบรมมานาน  นับเป็นสมัยๆ ให้เสื่อมเสียไปหมดได้ทำนองเดียวกับความคิดอันดีงานจากจิตเดิมแท้นั่นอีกเหมือนกัน อาจจะชำระชะล้างบาปอกุศลของเรา  ซึ่งแม้จะมากมายเหมือนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ได้ดุจกันการเห็นประจักษ์ชัดต่อจิตเดิมแท้ของเราเองอยู่ทุกขณะจิต  ปราศจากการแทรกแซงจนกระทั่งลุถึงการตรัสรู้ขั้นสูงสุด ถึงกับอยู่ในภาวะแห่งความเต็มเปี่ยมด้วยความรู้ อันถูกต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นั่นแหละ คือสัมโภคกาย



ทีนี้ อะไรเล่า ชื่อว่านิรมานกายอันมากมายนับด้วยหมื่นแสน?
เมื่อใดเราทำตัวเรา
ให้เข้ามาอยู่ในฝักฝ่ายของความรู้จักแบ่งแยกว่า อะไรเป็นฝ่ายไหน

และระบุออกไปว่า อะไรเป็นสิ่งที่ควรต้องการ  ได้แม้แต่เพียงนิดเดียวเท่านั้น 
เมื่อนั้นความเปลี่ยนรูปแปลงร่างก็จะเกิดขึ้น (แก่ตัวเราเอง)*33

ถ้าผิดไปจากนี้  สิ่งทุกสิ่งจะยังคงว่างเปล่า เหมือนกับอวกาศ  ดังเช่นที่มันเป็นอยู่
ในตัวมันเองมาแต่เดิม
โดยการเอนอิงจิตของเราลงไปบนสิ่งชั่ว  นรกก็เกิดขึ้น
โดยการเอนอิงจิตของเราลงไปบนการกระทำกรรมดี  สวรรค์ก็ปรากฏ

มังกรและงูร้าย คือการแปลงร่างมาเกิดของเวรภัยอันมีพิษ
เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์
ก็คือตัวตน ของความเมตตากรุณา  จับกลุ่มกันมาเกิด

ซีกบนคือปัญญาซึ่งจับตัวกันเป็นผลึก ส่องแสงจ้าอยู่ 
ในขณะที่โลกซึกล่าง
เป็นเพียงอีกรูปหนึ่งของสิ่งที่ก่อรูปมาจากอวิชชา  และความมัวเมา

การเปลี่ยนรูปแปลงร่างของจิตเดิมแท้ช่างมีมากมายเสียจริงๆ
พวกที่ตกอยู่ภายใต้ความหลงก็ไม่มีวันตื่น  และไม่มีวันเข้าใจ 
จึงน้อมใจลงสู่ความชั่วเสมอและประพฤติความชั่วนั้นเป็นปกตินิสัย



แต่ถ้าเขาจะน้อมจิตเลี้ยวจากความชั่ว มายังความดีงาม
แม้แต่เพียงสัก ขณะจิตเดียว เท่านั้น
ปัญญาก็จะเกิดขึ้นทันที  นี่แหละ คือสิ่งซึ่งเรียกว่า
นิรมานกายของพระพุทธเจ้าแห่ง.. จิตเดิมแท้ 

       ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ธรรมกาย คือ สิ่งซึ่งมีความเต็มเปี่ยมอยู่ในตัวเอง 
อย่างแท้จริง 
การเห็นกันอยู่อย่างเผชิญหน้ากับจิตเดิมแท้ของคนทุกๆขณะจิต  นั้นคือ
สัมโภคกาย ของพระพุทธเจ้า

การเอนอิงจิตของเราลงที่สัมโภคกายนั้น (จนถึงกับเกิดความสว่างหรือปัญญา)
นั่นคือนิรมานกาย
การปฏิบัติให้ลุถึงการตรัสรู้  ด้วยน้ำพักน้ำแรงของเราเอง และการที่ตนเอง
ปฏิบัติความดีงาม ตามที่มีอยู่ในจิตเดิมแท้ของตนเอง
นั่นแหละ คือกรณีชั้นเลิศของ "การถือที่พึ่ง"

กายเนื้อของเรานี้ประกอบอยู่ด้วยเนื้อและหนัง ฯลฯ มันไม่มากอะไรยิ่งไปกว่า
เป็นที่พักแรม (สำหรับอาศัยเพียงชั่วคราว)
 
ดังนั้นเราจึงไม่ถือที่พึ่งในกายเนื้อนั้น แต่เราจงพยายามให้เห็นแจ้ง
ในตรีกายแห่งจิตเดิมแท้
ของเราเถิด และเราจะรู้จักพระพุทธเจ้าแห่งจิตเดิมแท้ของเราเอง




*33 ข้อความนี้ คงฟังยากสำหรับบางคน จึงขออธิบายเสียด้วยว่า พอปัญญาแท้จริงเกิดขึ้นแม้นิดเดียว ในขณะนั้นก็เกิดการเปลี่ยนรูปขึ้นภายในจิต  เช่นเปลี่ยนจากความมืด มายังความสว่าง จากความเปื้อน มาเป็นความสะอาด  จากความร้อนมาเป็นความเย็น เป็นต้น  เป็นของใหม่ขึ้นมา มากน้อยตามสมควรแก่ความรู้จักแยก (discrimination) และความรู้จักระบุของที่ควรต้องการ (particularization) ของตนเอง หมายความสั้นๆว่า พอปัญญาเกิด ก็ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในภายในด้วยเสมอไป ถ้าผิดไปจากนี้ ก็คือยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผู้แปลไทย พุทธทาส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 22, 2013, 04:17:25 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #41 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 04:44:22 pm »





อาตมามีโศลกโคลง *34 อันไม่เกี่ยวกับ"รูปธรรม" อยู่บทหนึ่ง

ซึ่งการท่องและการปฏิบัติตามโศลกโคลงนี้ จะสามารถ..
.. เพิก อวิชชา ให้สูญไป
และชำระ.. ชะล้าง บาป..
.. อันได้สะสมอบรมมานานนับด้วยกัลป์ๆได้ โดยสิ้นเชิง
โศลกโคลงนั้นมีดังนี้:-





พวกที่จมอยู่ความเขลา ย่อมมัวแต่สะสมบุญอันแปดเปื้อน (ด้วยการลูบคลำ
ของตัณหาและทิฏฐิ)*35  ไม่ไต่ไปตามมรรคปฏิปทา

พวกนี้ตกอยู่ภายใต้ความรู้สึก ว่าการสะสมบุญ กับการไต่ไปตามมรรคปฏิปทานั้น
เป็นของสิ่งเดียวและอย่างเดียวกัน


แม้ว่าบุญของคนพวกนี้ อันเกิดจากการให้ทานและการบูชา
จะมีมากหาประมาณมิได้

เขาก็ไม่เห็นแจ้งว่า  วิถีทางมาอันเฉียบขาดของบาปนั้น เนื่องอยู่กับมูลธาตุ
อันมีพิษร้ายสามประการ (โลภ โกรธ หลง)อันมีอยู่ในใจของตนเอง

เขาคิดว่าเขาจะเปลื้องบาปของเขาได้ ด้วยการสะสมบุญ 
โดยหารู้ไม่ว่าความสุขที่เขาจะได้รับในชาติข้างหน้านั้น ไม่มีอะไร
เกี่ยวกับการเปลื้องบาปนั้นเลย


ทำไมจึงไม่เปลื้องบาป (ด้วยวิธีที่ทำกัน) ภายในใจของตนเอง เพราะนั่นแหละ
เป็นการชำระบาป (ภายในจิตเดิมแท้ของเรา) อย่างแท้จริง


คนบาปที่ได้มีความเห็นแจ้งขึ้นในทันทีทันใด ว่าอะไรจะนำมาซึ่งการสำนึกบาป
อย่างแท้จริง ตามวิธีของนิกายมหายาน

และได้เลิกละเด็ดขาดจากการทำบาป ทำแต่ความดีงาม
นี่แหละ คือ ผู้หมดบาป
ผู้ที่ไต่ไปตามมรรคปฏิปทา ซึ่งกำหนดในจิตเดิมแท้อยู่เนืองนิจนั้น

ควรถูกจัดเข้าในระดับชั้นเดียวกันกับ พุทธบุคคลอันมีประเภทต่างๆ




*34 โคลงโศลก ในที่นี้คือคำที่ผูกเข้าเป็นคำประพันธ์ชนิดกาพย์ หรือโคลงในภาษาบาลีเรียกคำชนิดนี้ว่า "คาถา" หรือคำสำหรับขับ  "ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม" ในที่นี้  ก็เช่นเดียวกับที่อื่นนั่นเอง คือสอนวิธีปฏิบัติไม่เกี่ยวกับรูปธรรม  หรือพึ่งพาอาศัยรูปธรรม  ผู้แปลไทย พุทธทาส

*35 บุญเป็นสิ่งที่แปดเปื้อนหรือมีราคี เพราะบุญทุกอย่างต้องอาศัยตัณหาและทิฏฐิ หรือย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเกิดขึ้นได้  ที่เป็นชั้นสูง  เช่นทิฏฐิที่ยังสำคัญว่าตัวตนบังคับให้ทำดีอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อตัวเช่นนี้ บุญนี้ ชื่อว่ายังถูกทิฏฐิ หรืออุปทานลูบคลำอยู่ ถ้าสูงพ้นนี้ไป คือมีความรู้สึกในความไม่มีตัวตน  ทำอะไรก็พ้นจากความเป็นบุญเสียแล้ว จึงมีหลักตายตัวว่า  บุญทุกชนิดต้องแปดเปื้อนแต่เป็นความแปดเปื้อนชนิดที่ถือกันว่าสวยเช่น การเขียนปาก เขียนคิ้ว  ของคนในสมัยนี้ เป็นตัวอย่าง  บุญย่อมนำหรือส่งเสริมให้เกิดในภพใดภพหนึ่งเสมอไป ซึ่งทำให้มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทางพุทธศาสนาจึงถือว่า  แม้บุญก็มีพิษร้ายเท่ากับบาป  แต่ว่าลึกซึ้งเกินกว่าที่คนธรรมดาจะมองเห็น  และเมื่อเขายังไม่สามารถทำอะไรให้สูงไปกว่านั้นได้  จึงให้ทำบุญกันไปก่อนดีกว่าทำบาป แต่เมื่อใดความเห็นจริง  เมื่อนั้น จะเบื่อบุญเท่ากับเบื่อบาป และหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์  ผู้แปลไทย พุทธทาส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 22, 2013, 04:56:43 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #42 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 09:19:37 pm »
 :13: อนุโมทนากับความสวยงามของหัวใจครับ พี่แป๋ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 12:24:02 am »




พระสังฆปริณายกของเราที่แล้วๆมา ไม่ค่อยสอนระบบธรรมอย่างอื่นเลย
นอกจากระบบ "ฉับพลัน"*36 นี้เท่านั้น
ขอให้ ผู้ปฏิบัติตามระบบนี้ทุกคน  จงเห็นอย่างเผชิญหน้าต่อ จิตเดิมแท้ของตน
และอยู่กับพระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้ในทันที



        ถ้าท่านกำลังแสวงหาธรรมกาย
        ก็จงมองให้สูง  เหนือขึ้นไปจากลักษณะธรรมดา *37 (ปรากฏการณ์ต่างๆ) แล้วจิตเดิมแท้ของท่านก็จะบริสุทธิ์
        จงตั้งตัวมั่น  ในความมุ่งหมายที่เห็นจิตเดิมแท้อย่างเผชิญหน้า อย่าถอยหลัง
        เพราะความตายอาจมาถึงโดยปัจจุบัน และทำชีวิตในโลกนี้ของท่าน  ให้สิ้นสุดลงโดยทันที
        ผู้ที่เข้าใจคำสอนตามหลักแห่งมหายาน และอยู่ในฐานะที่จะมองเห็นจิตเดิมแท้เช่นนี้
        ควรจะกระพุ่มมือทั้งสองเข้าด้วยกันอย่างนอบน้อม (ด้วยอาการแห่งความเคารพ) แล้วแสวงหาธรรมกาย ด้วยความกระตือรือร้นเถิด

        พระสังฆปริณายกได้กล่าวเสริมอีกว่า:-
        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ท่านทั้งหลาย ควรสาธยายโศลกนี้และปฏิบัติตาม ถ้าท่านมองเห็นจิตเดิมแท้ของท่านหลังจากที่สาธยายแล้ว ท่านก็จะเห็นได้เองว่า ท่านได้อยู่ในที่เฉพาะหน้าของอาตมาตลอดไป แม้ว่าตามที่แท้ท่านอยู่ห่างออกไปตั้งพันๆไมล์ แต่ถ้าท่านไม่สามารถทำได้  แม้เราจะอยู่จ่อหน้ากันอย่างนี้  โดยทีแท้ก็คือเราอยู่ห่างกันตั้งพันๆ ไมล์นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น  จะมีประโยชน์อะไรในการที่ท่านทนทรมานเดินทางจนมาถึงที่นี่ จากที่อันไกลแสนไกล จงระวังตัวของท่านให้ดี อาตมาลาก่อน

       บรรดาผู้มาประชุมกันนั้น เมื่อได้ฟังพระสังฆปริณายกกล่าวจบแล้ว ได้พากันรู้แจ้งเห็นจริง ด้วยอาการอันปลื้มปิติ เขาพากันร้บเอาคำสอน และนำไปปฏิบัติ



*36 ระบบฉับพลัน  หมายถึงระบบลัดตามวิธีนี้  เพื่อตัดขาดจากการมัวข้องแวะกับรูปธรรม นับตั้งแต่ตำราไปจนถึงบุญกุศลหรือสวรรค์ อ้นเป็นหลักสำคัญของท่านผู้นี้ ผู้แปลไทย พุทธทาส
*37 คำนี้ของเดิมว่า "ธรรมลักษณะ" หมายถึงลักษณะธรรมดาของสิ่งทั้งปวงทั่วไป ข้าพเจ้าไม่ทับศัพท์เพราะอาจเกิดความสับสนแก่ท่านผู้อ่านได้ ผู้แปลไทย พุทธทาส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2012, 08:48:35 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #44 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 12:26:34 am »




หมวดที่ 7
ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัย และสิ่งแวดล้อม

***********************************

       แม้ว่าพระสังฆปริณายก  จะได้กลับมายังตำบลโซฮัวแห่งเมืองชิวเจา จากวองมุยอันเป็นที่ซึ่งท่านได้รับมอบพระธรรม (แห่งนิกายธยานะจากพระสังฆปริณายกองค์ก่อน)  อีกก็ตาม  ท่านก็ยังเป็นคนแปลกหน้า ที่ไม่มีใครรู้จักในหมู่คนทั้งหลายอยู่นั่นเอง  และผู้ทีให้การต้อนรับเลี้ยงดูอย่างครบครันแก่ท่านนั้น ได้แก่นักศึกษาแห่งลัทธิขงจื้อผู้หนึ่ง  ซึ่งมีนามว่าหลิวชีลั่ก เผอิญหลิวชีลั่กผู้นี้  มีน้าผู้หญิงอยู่คนหนึ่ง ชื่อวูจูจอง  ได้บวชเป็นบรรพชิตในพุทธศาสนา  และโดยปรกติสวดสาธยายมหาปรินิวาณสูตรอยู่เป็นนิจ  เมื่อพระสังฆปริณายกได้ฟังการสาธยาย  ของสตรีผู้นี้เพียงชั่วเวลาหน่อยเดียวเท่านั้น ก็สามารถจับฉวยเอาใจความอันลึกซึ้งของพระสูตรนั้นได้  และได้เริ่มอธิบายแก่เธอ  เมื่อเป็นดังนั้น  สตรีผู้นี้ได้หยิบคัมภีร์ขึ้นมาถามถึงความหมายของข้อความตอนหนึ่งแก่ท่าน

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  อาตมาไม่รู้หนังสือ  แต่ถ้าท่านประสงค์จะทราบใจความ  แห่งพระคัมภีร์เรื่องนี้  ก็จงถามเถิด  นักบวชสตรีผู้นั้นจึงถามต่อไปว่า  เมื่อท่านไม่รู้จักแม้แต่จะอ่านถ้อยคำเหล่านั้นแล้ว  ท่านจะสามารถทราบถึงความหมายแห่งตัวสูตรได้อย่างไรเล่า?   พระสังฆปริณายกได้ตอบคำถามนี้ว่า  ความลึกซึ้งแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่เกี่ยวอะไรกันเลยกับภาษาที่เขียนด้วยตัวหนังสือ

                   

        คำตอบนี้  ได้ทำให้สตรีผู้นั้นรู้สึกประหลาดใจเป็นอันมาก  และเมื่อได้เล็งเห็นว่า  ท่านผู้นี้มิได้เป็นพระภิกษุอย่างธรรมดาสามัญแล้ว ก็ได้บอกกล่าวให้เป็นที่ทราบกันทั่วไป  ในบรรดาผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือในหมู่บ้านนั้น  เธอได้บอกกล่าวว่า  ท่านผู้นี้เป็นอริยะบุคคล  เราทั้งหลายควรขอร้องท่านให้พักอยู่ที่นี่  และขออนุญาตจากท่านเพื่อถวายอาหารและที่พักอาศัย

        ต่อมา  มีเชื้อสายแห่งท่านขุนนางชั้นสูง  คือท่าน หวู่ แห่งราชวงศ์อาย ผู้หนึ่ง มีนามว่า  โซชุกเหลียง  พร้อมด้วยชาวบ้านจำนวนมาก ได้พากันมาในเวลาบ่ายวันหนึ่ง  เพื่อถวายความเคารพแด่พระสังฆปริณายก  วัดเปาลัมอัน เป็นวัดเก่าแก่ในประวัติศาสตร์  ซึ่งร้างไปเพราะภัยสงครามในปรายราชวงศ์ชิว  ในบัดนี้หักพังเหลือแต่เศษสิ่งของเป็นกองๆ นั้น  มหาชนได้พากันบูรณะขึ้นใหม่ตรงที่เดิมนั่นเอง  และได้ของร้องให้พระสังฆปริณายกอยู่อาศัยประจำที่นั่น ไม่นานนักก็กลายเป็นวัดที่มีชื่อเสียงมาก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2012, 11:45:10 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #45 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 12:28:09 am »



เมื่อได้อยู่ที่นั่นมาประมาณเก้าเดือนเศษ  ศัตรูผู้ปองร้ายท่าน  ก็ได้ติดตามมา  และคอยพยายามจองล้างจองผลาญท่านอีก  เนื่องด้วยเหตุนี้ท่านได้ไปหลบซ่อนยังภูเขาใกล้ๆกัน คนโหดร้ายเหล่านั้นได้จุดไฟเผาป่าซึ่งท่านได้ไปหลบซ่อนอยู่  แต่ท่านหนีรอดไปได้ด้วยหลบไปซ่อนอยู่บนชะง่อนฝา  ชะง่อนผาแห่งนี้  ซึ่งต่อมาเรียกว่า  "ภูเขาแห่งความปลอดภัย"  นั้น  ยังมีรอยคุกเข่าของพระสังฆปริณายกปรากฏอยู่  และยังมีรอยเป็นลายเนื้อผ้าแห่งเครื่องนุ่งห่มของท่านปรากฏติดอยู่บนแผ่นหินนั้นด้วย

        เมื่อท่านระลึกได้ถึงคำเตือน  ของพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า  ผู้เป็นครูของท่าน ที่ได้เคยสั่งไว้ว่า  "จงหยุดที่ตำบลเวย  แล้วซ่อนอยู่ผู้เดียวที่ตำบลวุย"  ดังนี้  ท่านจึงได้เอาตำบลทั้งสองนี้ เป็นที่หนีร้อน  และเวียนไปเวียนมา

        ภิกษุฟัตห่อย  ช่าวบ้านฮุกกองแห่งชิวเจา  เมื่อทำการสนทนากับพระสังฆปริณายกเป็นครั้งแรก  ได้ถามถึงความหมายของกระทู้ธรรมที่คนทุกคนสนใจบทหนึ่งที่ว่า "ใจคือสิ่งใด  พุทธะคือสิ่งนั้น"  พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า การไม่ปล่อยให้ความคิดที่ผ่านไปแล้วกลับเกิดขึ้นมาอีก นี่คือ  "ใจ" การไม่ปล่อยให้ความคิดที่กำลังจะเกิด ถูกทำลายไปเสีย  นี่คือ  "พุทธะ"  การแสดงออกซึ่งปรากฏการณ์ทุกชนิด นี่คือ  "ใจ"  การเป็นอิสระจากรูปธรรมทั้งปวง(คือการู้เท่าถึงความลวงตาของปรากฏการณ์ทั้งหลาย) นี่คือ  "พุทธะ" แต่ถ้าข้าพเจ้าจะต้องอธิบายแก่ท่านให้ครบถ้วนทุกกระบวนความ  เรื่องที่จะต้องนำมาพูดก็จะไม่จบสิ้นลงไปได้  แม้ว่าข้าพเจ้าจะใช้เวลาอธิบายสักกัลป์หนึ่ง  ดังนั้น จงฟังโศลกของข้าพเจ้าจะดีกว่า:-




ปรัชญา (ปัญญา) คือ  "สิ่งที่ใจเป็น"
สมาธิ คือ  "สิ่งที่พุทธะเป็น"
ในการบำเพ็ญปรัชญาและสมาธิ  ต้องให้แต่ละอย่างลงจังหวะกันและกัน
แล้วความคิดของเราก็จะบริสุทธิ์


คำสอนข้อนี้เข้าใจได้ ก็แต่โดยการ  "ประพฤติดูจนช่ำชอง"

ที่ว่าสมาธิตั้งมั่นนั้น   ที่จริงมิใช่สมาธิอะไรเลย
คำสอนที่ถูกต้องนั้นคือ ให้บำเพ็ญปัญญา คู่กันไปกับสมาธิโดยไม่แยกกัน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 01, 2012, 09:53:06 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #46 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 12:29:00 am »

น้ำตกไนแองการ่า

เมื่อได้ฟังดังนั้น  ภิกษุฟัตห่อยมีความส่ว่างไสวในธรรมในขณะนั้นเอง เธอได้กล่าวสรรเสริญคุณพระสังฆปริณายกด้วยโศลกดังต่อไปนี้:-

ใจคือสิ่งใด  พุทธะคือสิ่งนั้น นี่เป็นความจริงเสียจริงๆ

แต่ข้าพเจ้ามัวไปปราบพยศของตัวเอง ทั้งที่ไม่เข้าใจในมัน

บัดนี้ข้าพเจ้ารู้จักเหตุอันเป็นประธานของปรัชญาและสมาธิ

ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ ข้าพเจ้าจักบำเพ็ญเพื่อเปลื้องตัวเสียจากรูปธรรมทั้งหลาย





    พระภิกษุฟัตตัต  ชาวเมืองฮุงเจา  ผู้เข้ามาบรรพชาในพระศาสนา  ตั้งแต่อายุพึ่งได้ 7 ปี  มีปรกติสาธยายสัทธรรมปุณฑริกสูตรอยู่เป็นนิจ  เมื่อท่านผู้นี้มาแสดงความเคารพต่อพระสังฆปริณายก  ท่านไม่ได้กราบให้ศีรษะจรดพื้น ท่านทำความเคารพอย่างขอไปที  พระสังฆปริณายกได้ตำหนิว่า ถ้าท่านรังเกียจที่จะทำความเคารพให้ศีรษะจรดพื้นแล้ว  การไม่ทำความเคารพเสียเลยจะมิดีกว่าหรือ  ต้องมีอะไรอยู่ในใจของท่านสักอย่างหนึ่ง  ซึ่งทำให้ท่านมีความทะนงเช่นนั้น  ขอถามว่า ท่านทำอะไรประจำหรือวัน?

       
ภิกษุฟัตตัตได้ตอบว่า  กระผมสาธยายสัทธรรมปุณทริกสูตร  กระผมท่องตลอดทั้งสูตร สามพันครั้งแล้ว

พระสังฆปริณายก ได้เตือนว่า ถ้าท่านจับใจความของพระสูตรนี้ได้ ท่านจะไม่มีการถือตัวเช่นเลย  แม้ท่านจะถึงกับเคยท่องพระสูตรนี้มาถึงสามพันครั้งแล้ว ถ้าท่านจับความหมายของพระสูตรนี้ได้จริงๆ ท่านก็จะต้องได้เดินอยู่ในทางๆ เดียวกันกับข้าพเจ้า  สิ่งที่ท่านเรียนสำเร็จ ได้ทำให้ท่านกลายเป็นคนหยิ่งไปเสียแล้ว  และหยิ่งกว่านั้น  ดูเหมือนท่านไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำไป  ว่าการที่เป็นเช่นนี้เป็นของผิด  ท่านจงฟังโศลกของข้าพเจ้าเถิด:-

ก็เมื่อความมุ่งหมายของระเบียบวินัยต่างๆเป็นไปเพื่อปราบปรามความทะลึ่งแล้ว

ทำไมท่านไม่กราบให้ศีรษะจดพื้น?

"การยึดถือในตัวตน" เป็นมายาแห่งบาป

แต่  "การถือว่าการได้บรรลุธรรมหรือผลใดๆ ก็ตาม เป็นเพียงของลมๆแล้งๆ"
นี้เป็นทางมาแห่งกุศลอันใหญ่หลวง

       จบแล้ว  พระสังฆปริณายกได้ไต่ถามถึงชื่อของท่านผู้นี้  เมื่อได้ฟังว่าชื่อฟัตตัต (ซึ่งแปลว่าผู้เข้าใจในธรรม)  พระสังฆปริณายกจึงได้กล่าวต่อไปว่า ท่านชื่อฟัตตัตก็จริง แต่ท่านยังไม่เข้าใจในธรรมเลย  แล้วท่านได้สรุปความด้วยโศลกต่อไปอีกว่า:-
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 30, 2010, 12:39:55 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #47 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 12:31:32 am »


ชื่อของท่านว่า ฟัตตัด

ท่านสาธยายพระสูตรอย่างพากเพียรไม่ท้อถอย

การท่องพระสูตรด้วยปาก เป็นแต่การออกเสียงล้วนๆ

ส่วนผู้ที่มีใจสว่างไสวเพราะจับใจความได้  นั่นคือโพธิสัตว์แท้

เพราะเป็นเรื่องปัจจยาการ  อันอาจสืบสาวไปถึงภพก่อนๆ

ข้าพเจ้าจะอธิบายความข้อนี้แก่ท่าน

ถ้าท่านเพียงแต่เชื่อว่า  พระพุทธเจ้าไม่ตรัสอะไร  แม้แต่คำเดียว

เมื่อนั้น  ดอกบัวจะบานขึ้นในปากของท่านเอง

เมื่อได้ฟังโศลกนี้  ภิกษุฟัตตัตรู้สึกสลดใจ  และขออภัยต่อพระสังฆปริณายก เธอได้กล่าวต่อไปว่า แต่นี้ต่อไป กระผมจะเป็นคนสุภาพและถ่อมตนในทุกโอกาส  เนื่องจากกระผมไม่มีความเข้าใจในความหมายของพระสูตรที่ท่องนั้นอย่างถูกต้อง  กระผมก็ฉงนในการตีความหมายอันแท้จริงของพระสูตรนั้น ใต้เท้ามีความรู้และปัญญาอันลึกซึ้งที่สุด ขอได้โปรดอธิบายโดยสรุปแก่กระผมเถิด

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  ฟัตตัตเอ๋ย  พระธรรมเป็นของกระจ่าง เต็มที่อยู่เสมอ  ใจของท่านต่างหากซึ่งไม่กระจ่าง  พระสูตรนั้นไม่มีข้อความที่น่าฉงนเลย แต่ใจของท่านต่างหาก  ที่ทำให้พระสูตรนั้น เป็นของชวนฉงนไป  ในการสาธยายพระสูตรนั้น  ท่านทราบถึงความมุ่งหมายอันสำคัญ  ของพระสูตรนั้นหรือเปล่า?

        ภิกษุฟัตตัดได้ตอบว่า  กระผมจะทราบได้อย่างไร  ในเมื่อกระผมมีแต่ความมืดมัวทึบอยู่เช่นนี้  เท่าที่กระผมทราบก็คือท่องอย่างไรจึงจะว่าปากเปล่าต่อกันไปได้เท่านั้น

        พระสังฆปริณายกได้กล่าวต่อไปว่า  ท่านจงสาธยายพระสูตรออกมาเถิด ฉันอ่านเองไม่ได้  แล้วฉันจะอธิบายความหมายให้ฟัง

        ภิกษุฟัตตัตได้สาธยายพระสูตรนั้นขึ้น  ครั้นมาถึงบทอันมีชื่อว่า "นิยายเป็นเครื่องอุปมา"*38 พระสังฆปริณายกได้บอกให้หยุด  แล้วกล่าวว่า ความ
หมายของพระสูตรๆ นี้ ก็คือเพื่อแสดงให้ปรากฏถึงความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์  ของการที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาบังเกิดขึ้นในโลกนี้นั่นเอง  แม้ว่านิยายและภาพความหมายจะมีมาก  ในข้อความแห่งพระสูตรนี้  ก็ไม่มีเรื่องใดหรือภาพใดที่มุ่งหมายจะแสดงอะไรขึ้น  นอกไปจากจุดประสงค์อันสำคัญนี้  ทีนี้อะไรเล่า คือ วัตถุประสงค์?  อะไรเล่า คือ ความมุ่งหมายดังที่กล่าวมานั้น?  ข้อความในพระสูตรกล่าวว่า  "เพื่อวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียว  เพื่อความมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว  เป็นวัตถุประสงค์อันสูงสุดจริงๆ เป็นความมุ่งหมายอันสูงสุดจริงๆ  ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบังเกิดขึ้นในโลกนี้"  ในเรื่องนี้ วัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียว  ความมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว  อันเป็นวัตถุประสงค์อันสูงสุด เป็นความมุ่งหมายที่สูงสุด  ที่กล่าวถึงในพระสูตร ก็คือ "การเห็น" ซึ่งพุทธธรรม*39



*38 คือบทที่3 ของพระสูตร ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 27 บท นิยานนั้นมีว่า พ่อเอาตุ๊กตาเครื่องเล่นล่อลูกเล็กๆ ให้วิ่งออกมาเสียจากเรือนที่กำลังถูกไฟไหม้ จนปลอดภัย  เปรียบกับพระพุทธองค์ในข้อที่พระพุทธองค์มียานต่างชนิดต่างขนาด สำหรับขนสัตว์ข้ามสังสารวัฏ. ผู้แปลไทย พุทธทาส

*39เอาใจความว่า  พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกนี้ ก็เพื่อทำให้เกิดมี "การเห็น ธรรมชนิดที่ทำผู้เห็นให้เป็นพุทธะ" ขึ้นได้ในโลกนั่นเอง  คือช่วยทำให้เกิดโอกาสแก่ "พุทธภาวะ"  ที่มีอยู่ในทุกๆคน แสดงตัวปรากฏออกมา ผู้แปลไทย พุทธทาส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 23, 2010, 05:38:16 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #48 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 12:32:59 am »



คนธรรมดาสามัญทั่วไป  ทำตัวให้ติดพันอยู่กับวัตถุในภายนอก, ส่วนภายในก็จมอยู่ในความเห็นผิดเรื่อง "ความว่างเปล่า" เมื่อใดเขาสามารถเปลื้องตนเองออกมาเสีย  จากความผูกพันอยู่กับวัตถุต่างๆ ที่เขาได้ประสบ  และเปลื้องตัวเองออกมาเสียจากความเห็นผิด  เรื่องความขาดสูญ  อันเกี่ยวกับคำสอน เรื่อง "ศูนยตา"   เมื่อนั้น เขาจะเป็นคนอิสระจากอวิชชาความหลงผิดในภายใน  และจากสิ่งอันเป็นมายาในภายนอก  บุคคลที่เข้าใจแจ่มแจ้งในความจริงอันนี้  และใจของเขาสว่างไสวออกไปในทันที  นี่แหละควรเรียกว่า  ผู้ที่ได้เปิดตาของเขาแล้ว  เพื่อการเห็นแจ้งซึ่งพุทธธรรม

คำว่า  "พุทธภาวะ"  นี้ มีความหมายเท่ากับคำว่า
"การตรัสรู้"
 ซึ่งควรจะถูกกำหนดไว้ภายใต้หัวข้อ (ดังที่กำหนดไว้ในสูตร)
 4 หัวข้อ ดังต่อไปนี้

เปิดตาขึ้นเพื่อการเห็นแจ้ง  "ธรรม อันเป็นเหตุ ให้ ตรัสรู้"
แสดงความเห็นแจ้งใน "ธรรม อันเป็นเหตุ ให้ ตรัสรู้" นั้น ให้ปรากฏ
ตื่นขึ้นเพื่อการเห็นแจ้งใน  "ธรรม อันเป็นเหตุ ให้ ตรัสรู้"
เป็นผู้ตั้งมั่นใน  "ธรรม อันเป็นเหตุ ให้ ตรัสรู้"

เมื่อได้รับการสั่งสอนแล้ว  ถ้าเราสามารถจับฉวย  และเข้าใจโดยทั่วถึง  ในคำสอนอันว่าด้วย  "ธรรมอันเป็นเหตุให้ตรัสรู้"  เมื่อนั้นแหละคุณสมบัติอันประจำอยู่ภายใน  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมชาติอันแท้จริง อันได้แก่ "ธรรมอันเป็นเหตุให้ตรัสรู้"  นั้นก็จะมีโอกาสแสดงตัวออกมาให้ปรากฏ  ท่านไม่ควรตีความหมายในตัวพระสุตรอย่างผิดๆ แล้วลงมติเสียในที่สุดว่า  พุทธธรรมนั้นเป็นสิ่งที่มีไว้สำหรับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ  ไม่เป็นของทั่วไปสำหรับเราทั้งหลายด้วย  โดยที่เผอิญไปพบข้อความในสูตรที่กล่าวไว้ว่า  "เปิดตาขึ้นเพื่อการแจ้งในพุทธธรรม  แสดงความเห็นแจ้งในพุทธธรรมให้ปรากฏ ฯลฯ" ดังนี้  การตีความหมายผิดเช่นนี้  จะถึงกับเป็นการป้ายร้ายให้แก่พระพุทธเจ้าและเป็นการแช่งด่าพระสูตรนั้นเอง ทุกๆคำที่ตนพูด เพราะเขาก็เป็นพุทธะด้วยคนหนึ่ง เขาจึงมีโพธิธรรมอันนี้มาด้วยพร้อมแล้ว  แต่ไม่มีโอกาสสำหรับเขาเอง  ที่จะเปิดตาออกดูสิ่งอันนั้น  เพราะฉะนั้น  ท่านควรจะรับเอาการตีความหมายที่ว่า พุทธธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นพุทธะ) นั้น คือ พุทธธรรมของใจเราเอง  หาใช่ของพระพุทธเจ้าอื่นใดที่ไหนไม่

        เมื่อถูกทำให้หลงรักโดยอารมณ์อันยั่วยวน  และปิดกั้นตัวเองเสียจากแสงสว่างของตัวเอง  ด้วยเหตุอันนั้น  สัตว์ทั้งปวงซึ่งระทมทุกข์อยู่เพราะอารมณ์ภายนอก  และความเร่าร้อนภายในจึงได้ตกเป็นเหมือนทาสแห่งตัณหาของตนเองโดยหมดสิ้น  เมื่อทรงเห็นเหตุการณ์อันนี้  พระพุทธองค์ของเรา  จึงได้ทรงลุกออกจากสมาธิ  เพื่อเร้าใจสัตว์เหล่านั้นด้วยพระโอวาทอันเป็นเครื่องกระตุ้นมีประการต่างๆ ให้ย่ำยีตัณหาของตนเอง  และเว้นขาดเสียจากการแสวงสุขจากอารมณ์ภายนอก  เพื่อว่าเขาจะได้เป็นผู้เสมอกันกับพระพุทธเจ้า เพราะเหตุอันนี้เอง  ข้อความในตัวสูตรจึงมีว่า "เปิดตาขึ้น  เพื่อเห็นแจ้งพุทธธรรม ฯลฯ"




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2013, 01:49:08 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #49 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 12:45:16 am »



ข้าพเจ้าได้ตักเตือนคนทั่วไปอยู่เสมอ ให้เปิดตาของตนเอง  เพื่อเห็นแจ้งพุทธธรรมในภายในใจของตนเอง  แต่ด้วยอำนาจความผิดปรกติของคนเหล่านั้นเขาพากันทำบาปภายใต้อวิชชาและความโง่เขลา ปากของเขาว่ากรุณา  แต่ใจของเขาโหดร้าย  เขาเป็นคนตะกละ มุ่งร้าย ริษยา คดโกง สอพลอ เข้าข้างตัว  รุกรานคนอื่น  เป็นผู้ทำลายกระทั่งสิ่งที่ไม่มีชีวิต  ดั่งนั้น  จึงชื่อว่าเขาเปิดตาของเขาขึ้นเพื่อ "ปุถุชนธรรม"   ถ้าเขากลับใจของเขาเสีย ในลักษณะที่ปัญญาปรากฏตัวอยู่ตลอดกาล  ใจก็จะมีความเห็นแจ้งในภายในอยู่เป็นปกติ  การทำชั่วก็จะมีการทำดีเข้ามาแทนที่  แล้วเขาก็จะลากตัวเองเข้ามาในทางแห่งพุทธธรรมได้ด้วยเหตุนั้น

        เพราะฉะนั้น  ท่านควรจะเปิดตาของท่านอยู่ทุกๆ ขณะ มิใช่เพื่อปุถุชนธรรม  แต่เพื่อพุทธธรรม ซึ่งเป็นสิ่งอยู่เหนือวิสัยโลก  ในเมื่อปุถุชนธรรมเป็นของอย่างโลกๆ  อีกอย่างหนึ่งถ้าหากท่านติดแน่นอยู่แต่ในความคิดเห็นของตนเอง  ว่าเพียงแต่สาธยายพระสูตรเป็นประจำวันอย่างเดียว ก็เป็นการดีเพียงพอเสียแล้วดังนี้  ท่านจะหลงรักมันเหมือนจามรีหลงรักพวงหางของมันเอง (จามรีนั้น  เป็นสัตว์ที่รู้กันอยู่แล้วว่ามีความหวงแหนอย่างแรงกล้าในหางของมัน)

       ในขณะนั้น  ภิกษุฟัตตัดได้ถามขึ้นว่า  ถ้าเป็นดังนั้น  เราเพียงแต่รู้ความหมายของพระสูตรก็พอแล้ว  ไม่มีความจำเป็นที่เราต้องสาธยายข้อความนั้นๆถูกไหมขอรับ?

       พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  ไม่มีอะไรเป็นของผิดอยู่ในพระสูตร  จนถึงท่านจะต้องเลิกการสาธยายเสียเลย  การสาธยายพระสูตร จะช่วยให้ท่านตรัสรู้ธรรมได้หรือไม่ จะเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านหรือไม่ ข้อนั้นทั้งหมด มันเนื่องอยู่ที่ตัวท่านเอง  ผู้ที่ท่องพระสูตรอยู่ด้วยปาก และเอาข้อความไปปฏิบัติอยู่เสมอด้วยใจ  คนนั้นชื่อว่า "พลิก" พระสูตร  ส่วนผู้ที่ท่องพระสูตรด้วยปาก  ปราศจากการปฏิบัติแต่อย่างใด ผู้ใดชื่อว่า  "ถูกพลิกเสียแล้ว" โดยพระสูตรที่เขาท่องนั้นเอง ท่านจงฟังโศลกโคลงของข้าพเจ้าดังต่อไปนี้:-




เมื่อใจของเราตกอยู่ภายใต้อวิชชา  สัทธรรมปุณฑริกสูตร "พลิกเรา"
เมื่อมีใจสว่างไสวในธรรม  เมื่อนั้นเรากลับ  "พลิก" สัทธรรมปุณฑริกสูตร

การสาธยายสูตรนับไม่ถ้วนครั้ง  โดยไม่ทราบความหมาย นั้น
ย่อมแสดงว่า ท่านเป็นแขกแปลกหน้าต่อใจความของพระสูตร

วิธีที่ถูกต้องสำหรับการสาธยายสูตรก็คือ อย่ายึดถือตามความเห็นของตัว

มิฉะนั้นแล้ว มันจะต้องพลาด
ผู้ที่อยู่เหนือ  "การรับ" และ  "การปฏิเสธ"
ย่อมนั่งอยู่เนืองนิจ บนเกวียนวัวขาว (กล่าวคือพุทธยาน)

เมื่อได้ฟังโศลกนี้จบลงแล้ว  ภิกษุฟัตตัต  เกิดความสว่างไสวในธรรมและมีน้ำตาไหล ได้ร้องขึ้นว่า  เป็นความจริง  ที่ก่อนหน้านี้  ข้าพเจ้าไม่สามารถจะ "พลิก" พระสูตร  แต่เป็นข้างพระสูตรเสียเองมากกว่า ที่ "พลิก" ข้าพเจ้า


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2013, 01:02:38 am โดย ฐิตา »