ผู้เขียน หัวข้อ: มิลินทปัญหา  (อ่าน 107306 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา :ธุดงคคุณ
« ตอบกลับ #330 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 05:20:08 pm »


   มนุษย์ทั้งหลายย่อมบริโภคอาหาร เพราะเป็นเครื่องค้ำชูชีวิต ย่อมบริโภคยา ใช้ยา เพราะเป็นของเกื้อกูล ย่อมคบมิตร เพราะเห็นแก่อุปการคุณ ย่อมหารือ เพราะมุ่งจะข้าฟาก ย่อมหาดอกไม้ของหอม ด้วยต้องการกลิ่นหอม ย่อมหาเครื่องป้องกันภัยด้วยไม่อยากมีภัย ย่อมหาแผ่นดินด้วยเห็นว่าเป็นที่อาศัย ย่อมหาอาจารย์ เพราะอยากได้ความรู้ ย่อมหาพระราชา เพราะอยากได้ยศ ย่อมหาแก้วมณี เพราะอยากได้สำเร็จความปรารถนาทั้งปวงฉันใด
   
   พระอริยะทั้งหลาย
ก็เป็นประพฤติธุดงคคุณ ด้วยเห็นว่าเป็นเครื่องให้สำเร็จคุณแห่งสมณะทั้งปวงฉันนั้น ขอถวายพระพร
   
   อีกอย่างหนึ่ง น้ำเป็นของทำให้พืชงอกงาม ไฟเป็นของเผา อาหารเป็นของทำให้เกิดกำลัง เครื่องไม้สำหรับผูกมัดอาวุธสำหรับผ่าตัด น้ำดื่มสำหรับกำจัดความกระหายน้ำ ขุมทรัพย์ทำให้เกิดความยินดี เรือสำหรับข้ามฟาก ยาสำหรับแก้โรค ยานพาหนะสำหรับไปมาให้สบาย เครื่องป้องกันสำหรับกำจัดภัย พระราชาสำหรับปกครอง โล่ห์สำหรับป้องกันไม้ค้อน ก้อนดิน ก้อนเหล็ก ลูกศร อาวุธ อาจารย์สำหรับสั่งสอน มารดาสำหรับเลี้ยง กระจกสำหรับส่องเครื่องแต่งกายให้สวยงาม ผ้าสำหรับปกปิด บันไดสำหรับให้ขึ้นลง คันชั่งสำหรับชั่งมนต์สำหรับร่าย อาวุธสำหรับป้องกันตัว ประทีปสำหรับกำจัดความมืด ลมสำหรับดับความร้อน ศิลปะสำหรับเลี้ยงชีวิต ยาแก้พิษสำหรับประดับ บ่อสำหรับทำให้เกิดแก้ว แก้วสำหรับประดับ อาญาสำหรับไม่ให้ล่วงละเมิด ความเป็นใหญ่สำหรับให้มีอำนาจ ฉันใด
   
   ธุดงคคุณก็ฉันนั้น
คือธุดงคคุณสำหรับเป็นที่งอกแห่งพืชคือคุณแห่งความเป็นสมณะ สำหรับเผามลทินคือกิเลส ทำให้เกิดกำลังฤทธิ์เป็นเครื่องผูกสติไว้ เป็นเครื่องกำจัดลูกศรคือความสงสัย เป็นเครื่องกำจัดความหิวกระหายคือตัณหา เป็นเครื่องทำให้เบาใจในการสำเร็จธรรม เป็นเครื่องข้ามห้วงกิเลสทั้ง ๔ เป็นเครื่องดับโรคคือกิเลส เป็นเครื่องทำให้ไปสู่ที่มีความสุขคือนิพพาน เป็นเครื่องดับทุกข์ทั้งปวง เป็นเครื่องรักษาสมณคุณ เป็นเครื่องกำจัดวิตกชั่วร้าย เป็นเครื่องสอนให้ได้สมณคุณ เป็นเครื่องเลี้ยงสมณคุณ เป็นเครื่องทำให้เป็นสมถะวิปัสสนา มรรค ผล นิพพาน เป็นที่สรรเสริญแห่งโลกทั้งสิ้น เป็นเครื่องทำให้เกิดคุณอันใหญ่อันงาม เป็นเครื่องเปิดเผยอุบายทั้งปวง เป็นที่ขึ้นไปสู่ยอดเขาคือสมณคุณ เป็นเครื่องชั่งซึ่งความเป็นไปแห่งจิตไม่ให้คดโกง เป็นเครื่องสาธยายธรรมที่ควรเกี่ยวข้องและไม่ควรเกี่ยวข้อง เป็นเครื่องปราบศัตรูคือกิเลส เป็นเครื่องกำจัดความมืดคืออวิชชา เป็นเครื่องดับความเร่าร้อนคือไฟ ๓ กอง เป็นเครื่องให้สำเร็จสมบัติอันสงบละเอียด เป็นเครื่องให้เกิดการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เป็นเครื่องรักษาไว้ซึ่งคุณธรรมทั้งปวง เป็นที่เกิดแห่งแก้วอันประเสริฐคืออภิญญา เป็นเครื่องประกอบทำให้เกิดสันติสุขอย่างยิ่ง ทำให้ไม่ล่วงอริยธรรมไปได้
   
   เป็นอันว่า ธุดงคคุณอย่างหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้ได้คุณเหล่านี้ ธุดงคคุณเป็นของมีคุณชั่งไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนเป็นของประเสริฐสุด ขอถวายพระพร


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #331 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 05:34:41 pm »


   บุคคลผู้มักมาก ผู้ลวงโลก ผู้ละโมภ ผู้เห็นแก่ท้อง ผู้มุ่งลาภยศสรรเสริญ ผู้ไม่ประกอบในทางธรรม ย่อมไม่สมควรสมาทานธุดงค์ เพราะจะทำให้ได้รับโทษทวีคูณ ทั้งในชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป
   
   คือในชาตินี้ก็จะได้รับแต่ความติเตียน ส่วนในชาติหน้าก็จักไปจมอยู่ในอเวจีนรก พ้นจากอเวจีนรกมาแล้ว จะมาเกิดเป็นเปรตอีก เหมือนกับผู้ทำผิดต่อพระราชา ย่อมได้รับพระราชอาชญา มีตัดมือตัดเท้าเป็นต้นฉะนั้น
   
   ส่วนผู้ที่มักน้อยสันโดษ ชอบสงัดมีความเพียรแรงกล้า ไม่มีความโอ้อวดมารยา ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ไม่มุ่งลาภยศ สรรเสริญ เป็นผู้บวชด้วยศรัทธา ปรารถนาจะพ้นจากชรามรณะ จึงควรสมาทานธุดงค์ เมื่อสมาทานธุดงค์แล้ว ย่อมได้รับผลทวีคูณ ย่อมเป็นที่รักใคร่พอใจของเทพยดา มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อมั่นอยู่ในธุดงค์แล้ว คุณธรรมทั้งหลายก็เจริญขึ้น แล้วก็ได้สำเร็จโลกุตตรผลนานาประการ
   
   เหมือนกับผู้เป็นข้าเฝ้าของพระมหากษัตริย์ ทำให้เป็นที่โปรดปรานของพระมหากษัตริย์แล้ว ย่อมได้รับพระราชทานสิ่งของต่าง ๆ ฉะนั้น ขอถวายพระพร



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #332 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 05:39:39 pm »


   ผู้ที่กระทำให้บริสุทธิ์ในธุดงคคุณ ๑๓ แล้ว ย่อมได้สำเร็จคุณวิเศษต่าง ๆ เป็นต้นว่า รูปสมาบัติ ๔ อรูปสมาบัติ ๔ และอภิญญา ๖
   
   อันว่าธุดงคคุณ ๑๓ นั้นได้แก่อะไร...   
   ธุดงค์ ๑๓ ข้อ
   
   ๑. ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร   
   ๒. ถือทรงเพียรไตรจีวรเป็นวัตร   
   ๓. ถือเที่ยวบิณฑาตเป็นวัตร   
   ๔. ถือเที่ยวบิณฑาตไปตามแถวเป็นวัตร   
   ๕. ถือนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
   
   ๖. ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร   
   ๗. ถือห้ามภัตอันนำมาถวาย เมื่อภายหลังเป็นวัตร   
   ๘. ถืออยู่ป่าเป็นวัตร   
   ๙. ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร

   ๑๐. ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร   
   ๑๑. ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร   
   ๑๒. ถืออยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไรเป็นวัตร   
   ๑๓. ถือการนั่งเป็นวัตร
   
   ผู้ที่ทำให้บริบูรณ์ในธุดงคคุณ ๑๓ นั้นแล้ว ย่อมได้สามัญคุณทั้งปวง เปรียบเหมือนพ่อค้าเรือผู้มีทรัพย์ ไปค้าขายได้กำไรงามฉะนั้น หรือเปรียบเหมือนชาวนาทำนาได้ข้าวมาก เปรียบเหมือนกษัตริย์ ได้เป็นใหญ่ในปฐพีฉะนั้น ขอถวายพระพร   
   พระอุปเสนเถระ ผู้เป็นบุตรแห่งวังคันตพราหมณ์ ได้ทำให้บริบูรณ์ในธุดงคคุณ ได้รับสรรเสริญจากพระพุทธองค์ในที่ประชุมชน ขอถวายพระพร


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #333 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 06:11:59 pm »


   ดอกปทุมอันเป็นที่ต้องการของคนทั้งหลาย ย่อมประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ คือเป็นของอ่อนนุ่ม ๑ สวยงาม ๑ มีกลิ่นหอม ๑ น่ารัก ๑ น่าต้องการ ๑ น่าสรรเสริญ ๑ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและตม ๑ ประดับไปด้วยใบอ่อนเกษรและกลีบ ๑ เป็นที่ประชุมแห่งแมลงผึ้งแมลงภู่ ๑ เจริญอยู่ในน้ำอันเย็น๑ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด
   
   ธุดงคคุณก็ประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการฉันนั้น คือ อ่อนสนิท ๑ สวยงาม ๑ มีกลิ่นหอม ๑ น่ารัก ๑ น่าต้องการ ๑ น่าสรรเสริญ ๑ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนเลน ๑ ประดับด้วยใบเกษรและก้าน ๑ เป็นที่เกาะเกี่ยวแห่งหมู่แมลงผึ้ง ๑ เกิดขึ้นในน้ำอันเย็น ๑

   คุณอันประเสริฐ ๓๐ ของผู้บำเพ็ญธุดงค์   
   ขอถวายพระพร อริยสาวกย่อมประกอบด้วยคุณอันประเสริฐ ๓๐
   ด้วยธุดงค์ ๑๓ อันตนได้บำเพ็ญแล้วในชาติก่อน
   
   คุณอันประเสริฐ ๓๐ นั้น ได้แก่อะไร...ได้แก่   
   ๑. มีจิตเมตตา อ่อนโยน เยือกเย็น   
   ๒. ฆ่ากิเลส กำจัดกเลส   
   ๓. ฆ่ามานะทิฏฐิ กำจัดมานะทิฏฐิ   
   ๔. มีศรัทธาตั้งมั่น   
   ๕. ได้ความร่าเริงดีใจง่าย
   
   ๖. ได้สมาบัติอันเป็นสุขอย่างสงบแน่นอน   
   ๗. อบรมด้วยกลิ่นหอมคือศีล   
   ๘. เป็นที่รักของเทวดามนุษย์ทั้งหลาย   
   ๙. ได้กำลังแห่งพระขีณาสพ   
   ๑๐. เป็นที่ปรารถนาของพระอริยบุคคล
   
   ๑๑. เป็นที่สรรเสริญและเป็นที่เชยชม แห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย   
   ๑๒. เป็นที่กราบไหว้บูชาของพวกอสูร   
   ๑๓. เป็นที่สรรเสริญของมารทั้งหลาย   
   ๑๔. เป็นผู้ไม่ติดอยู่ในโลก   
   ๑๕. เป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย
   
   ๑๖. เป็นผู้สำเร็จประโยชน์อันประเสริฐ คือมรรคผล   
   ๑๗. เป็นผู้มีส่วนแห่งปัจจัยอันไพบูลย์ประณีต   
   ๑๘. เป็นผู้ไม่ห่วงใยในที่อยู่ที่นอน   
   ๑๙. เป็นผู้อยู่ด้วยฌานอันประเสริฐ   
   ๒๐. เป็นผู้ตัดวัตถุแห่งกิเลสให้ขาดสูญ
   
   ๒๑. มั่นอยู่ในธรรมอันไม่รู้จักกำเริบ   
   ๒๒. มีการบริโภคสิ่งไม่มีโทษ   
   ๒๓. เป็นผู้หลุดพ้นจากคติ คือภพที่จะถือกำเนิดอีก   
   ๒๔. เป็นผู้ข้ามความสงสัยทั้งปวงได้   
   ๒๕. เป็นผู้เพ่งต่อวิมุตติ คือความหลุดพ้น
   
   ๒๖. เป็นผู้เข้าถึงซึ่งเครื่องป้องกันภัย อันไม่หวั่นไหว   
   ๒๗. เป็นผู้ตัดอนุสัย คือกิเลสละเอียดเสียได้   
   ๒๘. เป็นผู้ถึงความสิ้นอาสวะทั้งปวง   
   ๒๙. เป็นผู้ได้ซึ่งสุขสมาบัติอันสงบ   
   ๓๐. เป็นผู้ประกอบด้วยสมณคุณ คือคุณแห่งสมณะ ขอถวายพระพร
   
   พระสารีบุตรเถระ ผู้ลำเลิศในหมื่นโลกธาตุ ยกองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอเหมือนก็เพราะได้อบรมในธุดงคคุณ ๑๓ มาตลอดอสงไขย หาประมาณมิได้ ได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า   
   " เป็นผู้ใช้พระธรรมจักรอันเยี่ยม ตามเยี่ยงอย่างพระพุทธองค์ได้"   
   จึงเป็นอันว่า ธุดงคคุณ ให้ซึ่งคุณหาที่สุดมิได้อย่างนี้แล ขอถวายพระพร "
   
   พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า   
   " ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่า พระพุทธวจนะทั้งสิ้น ที่ได้สำเร็จคุณวิเศษทั้งหลายย่อมรวมลงใน ธุดงคคุณ ๑๓ ทั้งนั้น ข้อนี้เป็นอันโยมเข้าใจดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า"


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #334 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 06:32:52 pm »


   อุปมากถาปัญหา   
   บทมาติกา
   อุปมาปัญหาว่าด้วยอุปมาต่าง ๆ
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร จึงสำเร็จพระอรหันต์ได้? "   
   " ขอถวายพระพร ภิกษุผู้มุ่งจะสำเร็จพระอรหันต์ ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งลา องค์ ๕ แห่งไก่ องค์ ๑๐ แห่งกระแต องค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลือง องค์ ๒ แห่งพ่อเสือเหลือง องค์ ๕ แห่งเต่า องค์ ๑ แห่งไม่ไผ่ องค์ ๒ แห่งกา องค์ ๒ แห่งวานร ( นี้เป็น วรรคที่ ๑ )   
   ( วรรคที่ ๒ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งเครือน้ำเต้า องค์ ๓ แห่งดอกปทุม องค์ ๒ แห่งพัด องค์ ๑ แห่งไม้ขานาง องค์ ๓ แห่งเรือ องค์ ๒ แห่งเครื่องขัดข้องเรือ องค์ ๑ แห่งเสากระโดง องค์ ๓ แห่งนายท้ายเรือ องค์ ๑ แห่งกรรมกร องค์ ๕ แห่งทะเล
   
   ( วรรคที่ ๓ ) ควรถือเอาองค์ ๕ แห่งปฐพี องค์ ๕ แห่งแม่น้ำ องค์ ๕ แห่งไฟ องค์ ๕ แห่งพายุ องค์ ๕ แห่งบรรพต องค์ ๕ แห่งอากาศ องค์ ๕ แห่งพระจันทร์ องค์ ๕ แห่งพระอาทิตย์ องค์ ๓ แห่งท้าวสักกะ องค์ ๕ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ   
   ( วรรคที่ ๔ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งปลวก องค์ ๒ แห่งแมว องค์ ๑ แห่งหนู องค์ ๑ แห่งแมงป่อง องค์ ๑ แห่งพังพอน องค์ ๒ แห่งสุนัขจิ้งจอก องค์ ๓ แห่งเนื้อในป่า องค์ ๔ แห่งโค องค์ ๒ แห่งหมู องค์ ๕ แห่งช้าง   
   ( วรรคที่ ๕ ) ควรถือเอาองค์ ๗ แห่งราชสีห์ องค์ ๓ แห่งนกจากพราก องค์ ๒ แห่งนกเงือก องค์ ๑ แห่งนกกระจอก องค์ ๒ แห่งนกเค้า องค์ ๒ แห่งตะขาบ องค์ ๒ แห่งค้างคาว องค์ ๑ แห่งปลิง องค์ ๓ แห่งงู องค์ ๑ แห่งงูเหลือม
   
   ( วรรคที่ ๖ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งแมงมุม องค์ ๑ แห่งเด็กออ่น องค์ ๑ แห่งเต่าเหลือง องค์ ๕ แห่งป่า องค์ ๓ แห่งต้นไม้ องค์ ๕ แห่งเมฆ องค์ ๓ แห่งแก้วมณี องค์ ๔ แห่งนายพราน องค์ ๒ แห่งพรานเบ็ด องค์ ๒ แห่งช่างไม้   
   ( วรรคที่ ๗ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งช่างหม้อ องค์ ๒ แห่งกาลักน้ำ องค์ ๓ แห่งฉัตร องค์ ๓ แห่งนา องค์ ๒ แห่งยาดับพิษงู องค์ ๓ แห่งโภชนะ องค์ ๔ แห่งนายขมังธนู องค์ ๔ แห่งพระราชา องค์ ๒ แห่งนายประตู องค์ ๑ แห่งหินบด   
   ( วรรคที่ ๘ ) ควรถือเอาองค์ ๒ แห่งประทีป องค์ ๒ แห่งนกยูง องค์ ๒ แห่งโคอุสุภราช องค์ ๒ แห่งม้า องค์ ๒ แห่งบ่อน้ำ องค์ ๒ แห่งเขื่อน องค์ ๒ แห่งคันชั่ง องค์ ๒ แห่งพระขรรค์ องค์ ๒ แห่งชาวประมง องค์ ๑ แห่งกู้หนี้
   
   ( วรรคที่ ๙ ) ควรถือเอาองค์ ๒ แห่งคนเจ็บป่วย องค์ ๒ แห่งหนทาง องค์ ๒ แห่งแม่น้ำ องค์ ๑ แห่งมหรสพ องค์ ๓ แห่งบาตร องค์ ๑ แห่งของเสวย องค์ ๓ แห่งโจร องค์ ๑ แห่งเหยี่ยวนกเขา องค์ ๑ แห่งสุนัข องค์ ๓ แห่งคนรักษาโรค องค์ ๒ แห่งหญิงมีครรภ์   
   ( วรรคที่ ๑๐ ) ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งนกจามรี องค์ ๒ แห่งนกกระต้อยตีวิด องค์ ๒ แห่งนกพิราบ องค์ ๒ แหงนกตาข้างเดียว องค์ ๓ แห่งคนไถนา องค์ ๑ แห่งสุนัขจิ้งจอกชัมพุกะ องค์ ๒ แห่งผ้ากรองด่าง องค์ ๑ แห่งทัพพี องค์ ๓ แห่งคนใช้หนี้แล้ว องค์ ๑ แห่งอวิจีนิกะ   
   ( วรรคที่ ๑๑ ) ควรถือเอาองค์ ๒ แห่งนายสารถี องค์ ๑ แห่งช่างหูก องค์ ๑ แห่งมัตถยิกะ องค์ ๒ แห่งโภชนกะ องค์ ๑ แห่งช่างชุน องค์ ๑ แห่งนายเรือ องค์ ๒ แห่งแมลงภู่ "

   
   หมายเหตุ ในมาติกามีถึงวรรคที่ ๑๑ แต่ในรายละเอียดท่านกล่าวไว้เพียงวรรค ๗ ปัญหาที่ ๗ (องค์ ๔ แห่งนายขมังธนู) เท่านั้น


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #335 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 06:44:25 pm »


   อุปมากถาปัญหา
   โฆรสวรรคที่ ๑
   
   อุปมาองค์ ๑ แห่งลา   
   " ข้าแต่พระนาคเสน ที่ว่าควรถือองค์ ๑ แห่งลานั้น องค์หนึ่งแห่งลานั้นได้แก่อะไร ? "
   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดาว่า ลา นั้น ไม่เลือกที่นอน นอนบนกองหยากเยื่อก็มี ที่ทาง ๔ แพร่งก็มี ๓ แพร่งก็มี ที่ประตูบ้านก็มี ที่กองแกลบก็มีฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่เลือกที่นอนฉันนั้น ปูแผ่นหนังลงไป ในที่ปูด้วยหญ้าหรือใบไม้ หรือเตียงไม้ หรือแผ่นดินแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วก็นอนฉันนั้น ข้อนี้สมกับที่มีพระพุทธดำรัสไว้ว่า   
   " ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ ทำกายเหมือนท่อนไม้ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร "
   
   ส่วน พระสารีบุตรเถระ ได้กล่าวไว้ว่า   
   " การนั่งคู้บัลลังก์ คือนั่งขัดสมาธิก็พออยู่สบาย สำหรับภิกษุผู้มุ่งต่อพระนิพพาน "   
   ดังนี้ขอถวายพระพร"


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #336 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 07:09:04 pm »


   อุปมาองค์ ๕ แห่งไก่
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งไก่นั้นได้แก่อะไร? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา ไก่ ย่อมอยู่ในที่สงัดแต่ในเวลายังวันฉันใด พระโยคาวจรก็กวาดลานพระเจดีย์ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ อาบน้ำชำระกาย ไหว้พระเจดีย์แต่ในเวลายังวัน แล้วไปหาอยู่ในที่สงัดแต่ในเวลายังวันฉันนั้น อันนี้เป็นองค์แรกแห่งไก่
   
   ธรรมดาไก่ย่อมตื่นแต่เช้าฉันใด พระโยคาวจรก็ตื่นแต่เช้าฉันนั้น แล้วลงไปปัดกวาดลานพระเจดีย์ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ชำระร่างกายดีแล้ว ก็กราบไหว้พระเจดีย์แล้ว จึงเข้าไปสู่ที่สงัดอีก อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งไก่   
   ธรรมดาไก่ย่อมคุ้ยเขี่ยพื้นดินหากินอาหารฉันใด พระโยคาวจรก็พิจารณาแล้วจึงฉันอาหารไม่ฉันเพื่อให้เกิดความคะนอง ความมัวเมาความสวยงามแห่งร่างกาย ฉันเพียงให้กายนี้อยู่ได้ เพื่อจะได้ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไปและเพื่อบรรเทาเวทนาเก่า กำจัดเวทนาใหม่เท่านั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งไก่
   
   ข้อนี้สมกับสมเด็จพระจอมไตรตรัสไว้ว่า   
   " บุคคลกินเนื้อแห่งบุตรในทางกันดารได้ด้วยความลำบากใจ กินพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันใด หรือบุคคลเติมน้ำมันหยอดเพลาพอให้รถแล่นไปได้ฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันอาหารพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันนั้น "   
   ธรรมดาไก่ถึงมีตา ก็เหมือนตาบอดในเวลากลางคืนฉันใด พระโยคาวจรถึงตาไม่บอดก็ควรเป็นเหมือนตาบอดฉันนั้น ทั้งในเวลาอยู่ในป่าหรือเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูหนวก คนใบ้ ต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันน่ายินดี อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งไก่
   
   ข้อนี้สมกับถ้อยคำของ พระมหากัจจายนเถระ กล่าวไว้ว่า   
   " พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูนวก คนใบ้ คนไม่มีกำลัง เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ควรนอนเหมือนคนตาย" ดังนี้   
   ธรรมดาไก่ถึงถูกไล่ตีด้วยก้อนดิน ไม้ค้อนหรือถูกตีด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ตาม ก็ไม่ทิ้งที่อยู่ของตนฉันใด พระโยคาวจรถึงจะทำจีวรกรรมคือการทำจีวร หรือนวกรรม คือการก่อสร้าง การเรียน การถาม ก็ไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการคือตั้งใจไว้ด้วยอุบายอันชอบฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๕ แห่งไก่
   
   ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า   
   " อะไรเป็นโคจรของภิกษุ เป็นวิสัยบิดาของตน อันนี้คือสติปัฏฐาน ๔ " ดังนี้ ถึง พระสารีบุตรเถระ ก็ได้กล่าวไว้ว่า   
   " ไก่ย่อมไม่ทิ้งเล้าไก่ของตน ย่อมรู้จักสิ่งที่ควรกินไม่ควรกิน พอใช้ชีวิตเป็นไปได้ฉันใด พระพุทธบุตรก็ไม่ควรประมาทไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการอันประเสริฐฉันนั้น"
   
   ดังนี้ ขอถวายพระพร "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #337 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 07:14:47 pm »


   อุปมาองค์ ๑ แห่งกระแต
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งกระแตได้แก่อะไร ? "
   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา กระแต เมื่อพบศัตรูย่อมพองหางขึ้นให้ใหญ่ต่อสู้กับศัตรูฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น เมื่อเกิดศัตรูคือกิเลสขึ้น ก็พองหางคือ สติปัฏฐาน ให้ใหญ่ขึ้นกั้นกางกิเลสทั้งปวงด้วยหาง คือสติปัฏฐานอันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งกระแต "
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระจุฬปันถก ว่า
   
   " เมื่อกิเลสอันจะกำจัดคุณสมณะปรากฏขึ้นในเวลาใด เวลานั้นพระโยคาวจรก็พองหาง คือสติปัฏฐานขึ้นบ่อย ๆ ฉันนั้น "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #338 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2012, 10:31:57 am »


องค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลือง
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลืองนั้นคืออย่างไร ? "
   
   "ขอถวายพระพร ธรรมดา แม่เสือเหลือง พอมีท้องแล้ว ก็ไม่เข้าใกล้ตัวผู้อีกฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น พระโยคาวจรได้เห็นปฏิสนธิ คือความเกิด ความอยู่ในครรภ์ ความจุติ ความแตก ความสิ้น ความวินาศ ทุกขภัยในสงสารแล้ว ก็ควรกระทำโยนิโสมนสิการด้วยคิดว่า เราจักไม่เกิดในภพทั้งหลายอีก อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลือง
   
   ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน ธนิยโคปาลสูตร ว่า   
   " ธรรมดาโคผู้สลัดเครื่องผูกไว้ ทำลายเถาวัลย์ให้ขาดแล้ว ย่อมไม่กลับไปสู่เครื่องผูกอีกฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นฉันนั้นคือควรคิดว่า เราจักไม่ยอมเกิดอีก " ดังนี้ขอถวายพระพร "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #339 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2012, 10:49:53 am »


องค์ ๒ แห่งพ่อเสือเหลือง
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งเสือเหลืองนั้นได้แก่อะไร ? "
   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดาว่า เสือเหลือง ย่อมไปแอบซุ่มอยู่ตามกอหญ้า พุ่มไม้ ซอกเขา ในป่าแล้วก็จับเนื้อฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้นคือพระโยคาวจรย่อมไปหาที่อยู่ในที่สงัด อันได้แก่ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าใหญ่ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อได้ที่สงัดอย่างนั้นก็ได้สำเร็จอภิญญา ๖ ในไม่ช้า อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเสือเหลือง
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระเถระผู้ทำสังคายนาทั้งหลาย ว่า   
   " เสือเหลืองแอบซุ่มจับเนื้อฉันใด พระพุทธบุตรผู้ประกอบความเพียร ผู้เจริญวิปัสสนา ก็เข้าไปอยู่ในป่าแล้วถือเอาซึ่งผลอันสูงสุดฉะนั้น "
   
   ธรรมดาเสือเหลืองย่อมไม่กินเนื้อที่ล้มลงข้างซ้ายฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น คือพระโยคาวจรย่อมไม่ฉันอาหารที่ได้ด้วยผิดธรรมวิสัย คือได้ด้วยการลวงโลก การประจบ การพูดเลียบเคียง การพูดเหยียดผู้อื่น การแลกลาภด้วยลาภ หรือด้วยการให้ไม้แก่น ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้ผลไม้ ให้ดินเหนียว ให้ผลผัดหน้า ให้เครื่องถูตัว ให้ไม้สีฟัน ให้น้ำล้างหน้า ให้ข้าวต้ม ให้แกงถั่ว ให้ของแลกเปลี่ยนแก่ชาวบ้าน หรือรับใช้ชาวบ้านหรือเป็นหมอ เป็นทูต เป็นผู้รับส่งข่าว หรือให้อาหารแลกอาหาร หรือวัตถุวิชา เขตตวิชา อัควิชา อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนกับเสือเหลืองไม่กินเนื้อที่ล้มลงข้างซ้าย อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเสือเหลือง
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า   
   " พระภิกษุคิดว่า ถ้าเราฉันอาหารที่เกิดจากการขอด้วยวาจา เราก็จะมีโทษ มีผู้ติเตียนถึงไส้ของเราจะทะลักออกมาภายนอกก็ตามเราก็จักไม่ทำลายอาชีวปาริสุทธิศีล ( เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ ) เป็นอันขาด "
   
   คำนี้ พระอุปเสนวังคันตบุตร ก็ได้กล่าวไว้ว่า   
   " ถึงไส้ใหญ่ของเราจักทะลักออกมาข้างนอกก็ตาม เราก็จะไม่ให้เสียอาชีวปาริสุทธิศีล ไม่ประพฤติอเนสกรรม ทำลายอาชีวะนั้นเป็นอันขาด " ขอถวายพระพร