ผู้เขียน หัวข้อ: Samsara : จะทำน้ำหยดหนึ่งมิให้เหือดแห้งได้อย่างไร ?  (อ่าน 9072 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



ประมวล เพ็งจันทร์



จะทำน้ำหยดหนึ่งมิให้เหือดแห้งได้อย่างไร ?

าพยนตร์เปิดฉากด้วยภาพของเหยี่ยวตัวหนึ่ง โฉบลงมาเอาหินก้อนหนึ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วปล่อยลงมาถูกหัวแกะจนถึงแก่ความตาย

          คณะลามะ (พระภิกษุ) ที่มีท่านลามะเคนโป อาโป เป็นหัวหน้าคณะได้พยายามช่วยเหลือแกะตัวนั้นแต่ก็สุดวิสัย เพราะในที่สุด น้ำหยดหนึ่งคือชีวิตแกะก็เหือดหายไป ลามะน้อยที่รวมอยู่ในคณะน้ำตาซึมเพราะสงสารแกะตัวนั้น

          คณะของท่านลามะอาโปกำลังเดินทางไปที่ถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อนำตัวลามะตาชิที่มาปฏิบัติธรรมบำเพ็ญภาวนาอยู่ภายในถ้ำกลับวัด เพราะได้บำเพ็ญภาวนามาครบ ๓ ปีตามที่กำหนดไว้
 
   
          ลามะตาชิ เป็นศิษย์ของลามะอาโป ได้เข้ามาบวชเป็นศิษย์ปฏิบัติธรรมกับลามะอาโป ตั้งแต่อายุ ๕ ขวบ บัดนี้ได้อายุครบ ๒๕ ปีแล้ว

          ภายในถ้ำ ภาพของลามะตาชิที่ซูบผอม ผมยาว เล็บยาว เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึง ความมุ่งมั่นตั้งใจ ปรารถนาจะเข้าถึงโมกขธรรม ด้วยการปฏิบัติภาวนาอย่างเอาจริงเอาจัง โดยไม่ห่วงหาอาลัยกับร่างกายที่ซูบผอม จนแทบจะไม่มีเลือดและเนื้อเหลืออยู่

          ลามะตาชิ ถูกนำตัวกลับวัดโดยให้นอนไปบนหลังม้า ในสภาพอ่อนระโหยโรยแรง ศีรษะห้อยลง และขณะที่ม้าซึ่งลามะตาชินอนอยู่บนหลัง ได้เดินผ่านพระเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ สายตาของลามะตาชิได้สัมผัสกับแผ่นหินที่สลักบทมนต์ แล้วนำมาวางเรียงเป็นกำแพงรอบพระเจดีย์ เพื่อเป็นพุทธบูชา

          ข้อความอันเป็นบทมนต์ที่ลามะตาชิมองเห็น ยามที่หัวห้อยอยู่บนหลังม้า มีความว่า

          “จะทำน้ำหยดหนึ่งมิให้เหือดแห้งได้อย่างไร”

          ความหมายของมนต์เพื่อการภาวนาบทนี้คือ เป้าหมายของผู้สร้าง ที่ต้องการให้ทุกบททุกตอนของภาพยนตร์ ได้เร้าผู้ชมให้เกิดโจทย์ขึ้นในใจว่า จะทำอย่างไรที่จะให้ชีวิตของเรา ที่ถูกเผาผลาญด้วยเปลวเพลิงแห่งราคะ โทสะ โมหะ ไม่เหือดแห้งหายไปดังเช่นที่น้ำหยดหนึ่ง แห้งเหือดไปเมื่อยามต้องแสงตะวัน

          ภาพยนตร์เรื่องนี้ดำเนินไปเพื่อไขปริศนาว่า จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้น้ำหยดหนึ่งแห้งเหือดหายไป

          ชีวิตของตาชิ คือกรณีตัวอย่าง ที่แสดงให้เห็นถึงความเพียรพยายาม ที่จะรักษาน้ำหยดหนึ่งไว้มิให้เหือดแห้งไป

          ด้วยวัยเพียง ๕ ขวบ เด็กน้อยตาชิ ได้ถูกนำเข้ามาสู่มรรคาแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยความเชื่อที่ว่า นี้คือหนทางแห่งการหลุดพ้นจากเปลวเพลิงแห่งราคะ โทสะ และโมหะ

          ชีวิตแห่งความเป็นลามะของตาชิ คือช่วงเวลาแห่งการก้าวเดินไปสู่เป้าหมายคือ “โมกขธรรม” (ความหลุดพ้นจากการถูกเผาไหม้ด้วยเปลวเพลิงแห่ง ราคะ โทสะ และโมหะ)

          ลามะตาชิ ได้ก้าวเดินไปบนหนทางนี้ด้วยความเชื่อมั่น ถึงระดับอุทิศชีวิตเพื่อการบำเพ็ญทุกรกิริยา (ทรมานร่างกาย) ในถ้ำนานถึง ๓ ปี จนเลือดและเนื้อเหือดแห้งไปจนเกือบหมดสิ้น

          ๓ ปีแห่งการบำเพ็ญสมณธรรม เป็น ๓ ปีแห่งการเผาผลาญเลือดและเนื้อให้เหือดแห้งไปจากร่างกาย แต่นั้นมิได้เป็นเวลาแห่งการเผาผลาญราคะ โทสะ และโมหะให้มอดไหม้ไปจากจิตใจของลามะตาชิ เพราะทันทีที่เลือดเนื้อกลับคืนสู่สภาวะสมบูรณ์ในร่างกาย ไฟแห่งราคะก็ได้ลุกโชนขึ้นในใจของลามะตาชิ เป็นเปลวไฟที่เร่าร้อนถึงกับนอนหลับฝันเปียก

          ในทางคณะสงฆ์ ลามะตาชิได้รับการประกาศยกย่องให้เป็นลามะผู้มีเกียรติคุณดีเด่น ในฐานะที่สามารถปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด จริงจัง เป็นเวลานานถึง ๓ ปี คำประกาศของประมุขแห่งลามะระดับ รินโปเช ที่กล่าวท่ามกลางการชุมนุมของบรรดาลามะ นับเป็นความปลาบปลื้มในหมู่เพื่อนสหธรรมิกของลามะตาชิ และบรรดาพุทธบริษัทผู้อุปถัมภ์บำรุงวัดที่ลามะตาชิพำนักอยู่

          ขณะที่ภาพภายนอกของลามะตาชิเป็นภาพนักบวชผู้เจริญรุ่งเรืองในธรรม แต่ทว่าภายในจิตใจของลามะตาชิ กลับเร้าร้อนด้วยเปลวเพลิงแห่งราคะที่กำลังลุกโชนอยู่ภายใน ในขณะที่กำลังเต้นระบำหน้ากากเพื่อต้อนรับประมุขแห่งลามะสายตาของลามะตาชิ ที่ซ้อนอยู่ภายในหน้ากากได้มองเห็นภาพผู้หญิงแม่ลูกอ่อน ที่กำลังเปิดหน้าอกให้ลูกน้อยดื่มนมจากถันของเธอ ภาพนั้นได้สะกดลามะตาชิให้ยืนนิ่งจนลืมหน้าที่ในการเต้นระบำหน้ากาก เป็นเหตุให้ลามะอาโปซึ่งมองเห็นเหตุการณ์นั้นต้องเข้าไปดึงตัวลามะตาชิออกมาจากวงระบำหน้ากาก

          เมื่อลามะอาโปได้รับนิมนต์ให้ไปเจริญพระพุทธมนต์ที่บ้านของชาวนาครอบครัวหนึ่ง ลามะตาชิได้เป็นหนึ่งในคณะลามะผู้ไปสวดมนต์ด้วย และในขณะที่กำลังสวดมนต์อยู่ภายในบ้านนั้น สายตาของลามะตาชิได้สัมผัสกับรูปกายของลูกสาวเจ้าของบ้าน

          ภาพของหญิงสาว เป็นเชื้อเพลิงที่ถูกโยนเข้าไปในกองเพลิงแห่งราคะในจิตใจของลามะหนุ่ม จนไม่มีสมาธิที่จะเจริญพระพุทธมนต์ได้

          ในยามราตรีที่คณะลามะต้องพักค้างคืนที่บ้านชาวนา ลามะตาชิได้มีโอกาสเผชิญหน้ากับลูกสาวเจ้าของบ้านในระยะใกล้ชิด สายตาของลามะหนุ่มและหญิงสาวที่ประสานกัน ต่างบอกให้รู้ว่า ในดวงตาของแต่ละฝ่ายมีประกายไฟแห่งราคะปรากฏอยู่

          ในคืนนั้น ลามะตาชิไม่รู้ว่าเป็นความจริงหรือความฝัน เมื่อรู้สึกว่าตนเองได้นอนแนบแอบอิงกับร่างกายอันอบอุ่นของลูกสาวเจ้าของบ้าน

          หลังกลับมาจากบ้านของชาวนาแล้ว ลามะอาโปผู้เป็นอาจารย์ของลามะตาชิได้ประจักษ์ชัดแล้วว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นกับศิษย์ของตน จึงได้แนะนำให้ลามะตาชิเดินทางไปพบลามะอาวุโสผู้เชี่ยวชาญในการดับไฟแห่งราคะ

          ลามะตาชิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์ แต่ความรู้ ความสามารถของผู้เชี่ยวชาญก็ไม่สามารถดับไฟแห่งราคะในใจของลามะตาชิได้

          ในที่สุดลามะอาโป อาจารย์ผู้เมตตาต่อศิษย์ก็ได้รู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่ศิษย์กำลังเผชิญอยู่ ไม่ใช่ความฝันเสียแล้วหากแต่เป็นความจริง ท่านจึงได้แจ้งให้ลามะตาชิทราบว่า เหตุการณ์ยามค่ำคืนที่บ้านชาวนาหาใช่ความฝันดังที่ตาชิเคยเข้าใจไม่ หากแต่เป็นความจริงเพราะอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในความฝันยามหลับ แต่เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วยังคิดถึงและพอใจในเหตุการณ์นั้น เหตุการณ์นั้นก็เป็นความจริงมิใช่ความฝันอีกต่อไป

          ลามะตาชิได้หันหลังให้พระนิพพานด้วยการหนีออกจากวัด และได้ละทิ้งเพศลามะไปสู่เพศคฤหัสถ์

          เป้าหมายของตาชิ ไม่ได้อยู่ที่โมกขธรรมอีกต่อไป หากแต่อยู่ที่ เฮม่า ลูกสาวชาวนาผู้เป็นเชื้อเพลิงแห่งกามราคะ

          ตาชิได้ไปสมัครรับจ้างเก็บเกี่ยวข้าวในทุ่งนาของครอบครัวเฮม่า และในที่สุดก็ได้แต่งงานอยู่กินกับเฮม่าจนมีลูกชายไว้สืบสกุล

          ในวิถีแห่งคฤหัสถ์ ตาชิได้ประสบกับแรงบีบคั้นในกระแสของการแสวงหาโภคทรัพย์ เพื่อเป็นอุปกรณ์แห่งการเสพเสวยรสแห่งกาม

          รสแห่งกามที่ทำให้ตาชิรู้สึกว่าเป็นน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตให้สดชื่น แต่ยิ่งเสพก็ยิ่งกระหาย และด้วยอำนาจแห่งกามรส ทำให้ตาชิต้องมองหาหญิงอื่นนอกจากเฮม่า มาเป็นเชื้อเพลิงแห่งกามราคะในใจของเขา

          ความเร่าร้อน กระวนกระวาย ด้วยความกระหายในรสแห่งกาม ทำให้ตาชิต้องหาทางดับมันด้วยการนอกใจเฮม่าผู้เป็นภรรยา ภาพที่ตาชิประกอบกามกิจกับสุชาดาหญิงสาวผู้มาทำงานรับจ้างเกี่ยวข้าว เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความหมายแห่งชีวิตที่ดิ้นรนด้วยอำนาจแห่งความอยาก ความปรารถนา อันไม่มีจุดจบสิ้น

          ความตกใจกลัวที่เกิดขึ้นขณะประกอบกามกิจ และรู้ว่าเฮม่ากำลังกลับมาถึงบ้าน เป็นภาพที่บอกให้รู้ถึงอารมณ์ของตาชิในขณะนั้น เป็นอารมณ์ของสามีที่นอกใจภรรยา เป็นอารมณ์ของผู้ชายที่ตะโกนไล่ผู้หญิงที่ตนเองเพิ่งเสร็จสมอารมณ์หมาย เป็นอารมณ์แห่งความกลัวของมนุษย์ที่รู้ว่าตนเองทำผิดครรลองคลองธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้นของอารมณ์เหล่านี้ ทำให้ได้นึกถึงภาพของลามะที่บำเพ็ญทุกรกิริยาทรมานร่างกายภายในถ้ำนานถึง ๓ ปี เพื่อแสวงหาทางแห่งการหลุดพ้น

          ตาชิรู้สึกสลดใจในการกระทำของตนเอง และในเวลาแห่งความรู้สึกเช่นนั้น เขาได้รับจดหมายจากลามะอาโปผู้เป็นอาจารย์ และบัดนี้ได้ละสังขารไปแล้วตามอายุขัย จดหมายของลามะอาโปที่เขียนขึ้นก่อนละสังขาร ได้แสดงถึงเมตตาธรรมที่มีให้กับตาชิเสมอมาไม่ว่าตาชิจะเป็นลามะหรือเป็นคฤหัสถ์ เมตตาธรรมที่ลามะอาโปบำเพ็ญเป็นเมตตาธรรมที่ไม่จำกัด เป็นเมตตาธรรมที่ทำให้ลามะอาโป ก้าวไปในสังสารวัฏฏ์นี้ด้วยจิตที่เบิกบาน และด้วยจิตที่เชื่อมั่นว่าประชาชนนับหมื่น นับแสนที่โน้มกายลงคารวะและน้อมใจระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็ด้วยอำนาจแห่งเมตตาธรรมที่พระองค์ทรงแผ่ไปในหมู่สัตว์โดยไม่จำกัดว่าใครเป็นใคร เมตตาธรรมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทำให้ความเป็นอื่นและคนอื่น ไม่มีอยู่ในพระทัยอันเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม และด้วยความเชื่อมั่นเช่นนี้ทำให้ลามะอาโปไม่ลังเลที่จะเดินตามแนวทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

          จดหมายของลามะอาโปได้ฉุดดึงให้ตาชิได้ครุ่นคิด และในที่สุดเขาก็ได้หนีออกจากบ้าน โดยทิ้งเฮม่าผู้เป็นภรรยาและลูก ๆ ไว้ตามลำพังข้างหลัง โดยได้สลัดทิ้งชุดคฤหัสถ์หันมาสวมใส่ชุดลามะอีกครั้ง

          ในวังวนแห่งสังสารวัฏฏ์ ตาชิในรูปแบบของลามะได้ย้อนกลับมาพบเฮม่าผู้ออกมาตามหาสามี และทั้งคู่ได้พบกันบริเวณเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์

          เฮม่าได้เตือนให้ตาชิระลึกถึงพระพุทธเจ้าไปพร้อม ๆ กับระลึกถึงพระนางพิมพายโสธราและราหุล เพราะบุคคลเหล่านี้ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ

          ในการบำเพ็ญบารมีอันเป็นเอนกชาติของพระโพธิสัตว์ พระนางพิมพาและราหุล ต่างได้ร่วมกันบำเพ็ญบารมี มาวันนี้ทำไมตาชิจึงระลึกถึงเพียงแค่พระพุทธเจ้า โดยได้ลืมเลือนความหมายและความสำคัญของพระนางพิมพาและราหุลไป ทั้งที่บุคคลเหล่านี้ต่างก็มุ่งหมายที่จะเข้าถึงโมกขธรรมเช่นเดียวกัน

          ถ้อยคำของเฮม่า ทำให้ตาชิเข่าอ่อนทรุดลงบนพื้นดิน เฮม่าได้ยื่นห่อผ้าที่บรรจุเสบียงอาหาร อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความหมายว่านี้ คือส่วนร่วมแห่งการเดินทางตามคติประเพณีของชาวทิเบตที่เมื่อสามีเดินทางจากบ้านไป ภรรยาจะต้องมอบห่อเสบียงอาหารให้สามี เพื่อให้ระลึกรู้ว่าการเดินทางครั้งนั้นเป็นการร่วมมือกันทั้งสามีและภรรยา ความสำเร็จในการเดินทางย่อมจะหมายความได้ว่า ทั้งคู่ต่างเป็นผู้ร่วมกันสร้างความสำเร็จนั้น

          เมื่อยื่นห่อเสบียงอาหารให้แล้ว เฮม่าก็จากไปทิ้งไว้แต่ตาชิผู้หมดเรี่ยวแรงที่จะก้าวเดินต่อไป คำพูดทุกคำของเฮม่าทำให้ตาชิสูญเสียพลังแห่งการก้าวหนี

          การปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดเป็นเวลา ๓ ปี ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นก็ไม่แตกต่างอะไรกับการที่ละทิ้งเพศลามะเพื่อไปหาเฮม่า เพราะทั้งคู่ต่างเป็นไปเพื่อสนองความอยาก ความต้องการส่วนตัวของตาชิเอง

          ถ้าตาชิมีความซื่อสัตย์จริงใจต่อการปฏิบัติธรรม ตาชิก็ไม่ต้องหนีออกจากวัดเพื่อไปหาเฮม่า และเช่นเดียวกันถ้าตาชิซื่อสัตย์จริงใจต่อเฮม่า ตาชิก็ไม่ต้องหนีออกบวชโดยทิ้งลูกและภรรยาไว้ข้างหลัง แต่เพราะความเห็นแก่ตัวมุ่งสนองตอบความอยากแห่งตน จึงทำให้การปฏิบัติธรรมและการครองเรือนของตาชิไร้ค่า และไร้ความหมายทั้งคู่

          ถ้อยคำของเฮม่าทำให้ตาชิหมดเรี่ยวแรงเหมือนครั้งเมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยาในถ้ำ และในขณะที่กำลังหมดเรี่ยวแรงนั้นเอง สายตาของตาชิก็ได้สัมผัสกับหินก้อนเดิมที่เขาเคยมองเห็นขณะที่นอนอยู่บนหลังม้า หินก้อนที่สลักบทมนต์ที่ว่า

                 “จะทำน้ำหยดหนึ่งมิให้เหือดแห้งได้อย่างไร ?”

          ตาชิลุกขึ้นเดินไปหยิบหินก้อนนั้นมาพลิกดูอีกด้านหนึ่งของหิน พลันเขาก็ได้สัมผัสกับข้อความอีกด้านหนึ่งที่สลักจารึกไว้ว่า

                 “จงทำน้ำหยดหนึ่งให้เป็นทะเล”

          พลันที่ข้อความนี้ปรากฏแก่สายตาของตาชิ มนต์บทนี้ได้ทำให้ตาชิแหงนหน้าขึ้นมองท้องฟ้าด้วยจิตใจที่เบิกบาน

          ภาพสุดท้ายของภาพยนตร์เป็นภาพพญาเหยี่ยว ที่บินหายไปในหมู่เมฆ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 19, 2010, 09:34:42 am โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



สังสาร (Sam Sara) 
 
กำกับและเขียนบทภาพยนตร์ :
     ภัณฑ์ นลินทร์

ดาราแสดงนำ :
     เฮม่ารับบทโดยคริสตี้ ชุง
     ตาชิรับบทโดยชอว์น คู

ฉากของเรื่อง และสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ :
     “ลาดัค” ดินแดนเหนือสุดของประเทศอินเดีย สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๑๕,๐๐๐ ฟุต อยู่ติดชายแดนอินเดีย–ทิเบต ในรัฐจัมมูและแคชเมียร์

     ลาดัค ถูกเรียกว่า “ทิเบตน้อย” เพราะเป็นดินแดนที่มีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตเช่นเดียวกับประชาชนชาวทิเบต ประชาชนชาวดาลัค และชาวทิเบตเป็นชนกลุ่มเดียวกัน นับถือพระพุทธศาสนานิกายลามะเหมือนกัน

ผู้กำกับและสาระสำคัญของภาพยนตร์ :
     ภัณฑ์ นลินทร์ เป็นชาวอินเดีย จบการศึกษา และมีความเชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์โฆษณา เขาสร้างภาพยนตร์เรื่อง “สังสาร” ขึ้นมาด้วยความประทับใจในวิถีชีวิต และความเชื่อของพระลามะ ที่ยังหนักแน่นและแนบแน่น อยู่กับระบบความคิดตามหลักพุทธศาสนาเรื่อง “สังสาร”

     “สังสาร” หรือที่ชาวพุทธไทยรู้จักกันโดยชื่อว่า “สังสารวัฏฏ์” เป็นแก่นความคิดหลัก ของระบบความเชื่อของชาวอินเดีย จินตนาการเกี่ยวกับสังสาร เป็นเหมือนน้ำหล่อเลี้ยงให้ความหมายแห่งชีวิต ตามแนวคิดอินเดีย งอกงามขึ้นในจิตใจของประชาชน และได้ผลิดอกออกผลเป็นระบบศีลธรรม – จริยธรรม ที่ทำให้ชีวิต ต่างมีความเกื้อกูลอาทรต่อกันและกัน

     ภาพยนตร์เรื่อง “สังสาร” ได้เสนอแนวคิดและมุมมองชีวิต ผ่านตัวละคอน ที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาและทางออก ตามแนวความเชื่อของพระพุทธศาสนานิกายลามะ ที่เห็นว่าชีวิตของสรรพสัตว์ ไม่ว่าเป็นแกะตัวหนึ่งหรือมนุษย์คนหนึ่ง เป็นเหมือนน้ำหยดหนึ่ง ที่กำลังจะเหือดแห้งไป เมื่อยามต้องแสงตะวัน แล้วเราผู้เป็นน้ำหยดหนึ่ง จะทำอย่างไร เพื่อรักษาน้ำหยดนี้ไว้มิให้เหือดหายไป


Samsara
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 12, 2011, 08:55:10 am โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


   




จงทำน้ำหยดหนึ่งให้เป็นทะเล

าพยนตร์เปิดฉากด้วยภาพพญาเหยี่ยว (บางคนว่าเป็นแร้ง) ที่เป็นเหตุให้แกะตัวหนึ่งต้องตาย และก็ปิดฉากลงด้วยภาพพญาเหยี่ยวที่บินลับหายไปในท้องฟ้า

          ในวัฒนธรรมทิเบต เหยี่ยวหรือแร้งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเปิดฉากและปิดฉากด้วยภาพของเหยี่ยว

          ในวัฏฏสังสาร “ความตาย” เป็นประดุจแสงแห่งตะวันที่เผาผลาญสำนึกแห่งตัวตนให้เร้าร้อน เพราะความหวาดกลัวว่าหยดน้ำแห่งตัวตนจะเหือดแห้งหายไป

          ภายใต้เงื่อนไขคือความตาย ชีวิตของบุคคลก็เป็นเหมือนหยดน้ำค้างบนใบไม้ในยามเช้าตรู่ ที่รอเวลาจะเหือดแห้งหายไปเมื่อต้องแสงตะวัน ช่วงเวลาแห่งการดำรงอยู่ของหยาดน้ำค้างไม่ต่างอะไรกับช่วงเวลาแห่งชีวิตของปัจเจกบุคคล ที่เกิดขึ้นและจบลงในช่วงเวลาอันสั้น ๆ

          ด้วยความหวาดกลัวว่าจะแห้งหายไป บุคคลจึงดิ้นรนเพื่อการดำรงอยู่ ความตายกลายเป็นเงื่อนไขแห่งความทุกข์แก่บุคคลจำนวนมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาของพุทธบริษัท เมื่อครั้งยังเป็นพระมหาบุรุษจึงเสด็จออกบวชเพื่อแสวงหาโมกขธรรม คือสภาวะที่หลุดพ้นจากวังวน (สังสารวัฏฏ์) แห่งความหวาดวิตกกังวลกลัวต่อความตายอันปรากฏอยู่ ณ เบื้องหน้า และเมื่อพระองค์ทรงค้นพบหนทางแห่งการเข้าถึงโมกขธรรม พระองค์ก็ได้ประกาศวิถีแห่งการดำเนินชีวิต เพื่อเข้าถึงโมกธรรมนั้น ด้วยการเสนอให้ทำลายความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนบุคคลเราเขา อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความทุกข์ในการเกิด–แก่–เจ็บ–ตาย

          คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กลายมาเป็นรูปแบบและวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในหลาย ๆ ชุมชนชาวทิเบตไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในอินเดียดังที่ลาดัคหรือในที่อื่น ๆ ได้ยึดถือเอาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยทำให้ความหมายของคำสอนไปปรากฏอยู่ในจารีต ประเพณี และวิถีชีวิตของชุมชน เพื่อให้เป็นอุบายในการเข้าถึงและเข้าใจความหมายแห่งพุทธธรรม

          ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการนำเอาปริศนาธรรมของชาวทิเบตมาเสนอให้ผู้ชมได้รับรู้ว่า เราควรจะทำอย่างไรเพื่อให้ความหมายแห่งชีวิตไม่เหือดหายไปพร้อมกับความตาย และคำตอบก็คือ ทำความหมายให้ปรากฏในนามของสรรพสัตว์ ไม่สร้างความหมายให้รวมศูนย์อยู่ภายในตัวตนบุคคลที่เป็นปัจเจกบุคคล เพราะปัจเจกบุคคลก็เป็นเหมือนน้ำหนึ่งหยด แต่สรรพสัตว์เป็นเหมือนท้องทะเล

          คำว่า “ทะเล” ในภาษาทิเบตเป็นคำที่มีความหมายที่ลึกซึ้งในวัฒนธรรมของชาวทิเบต ประมุขของชาวทิเบตจึงถูกตั้งชื่อว่า ทะเลลามะหรือที่ออกเสียงว่า ทะไลลามะ ซึ่งหมายถึงบุคคลผู้ได้ละลายตัวตนอันเป็นปัจเจกบุคคลให้กลายเป็นมวลหมู่สรรพสัตว์ อันไร้ขอบเขตแห่งความเป็นตัวตน, เรา–เขา

          ท่านทะไลลามะ คือตัวอย่างของมนุษย์ผู้ได้ทำน้ำหยดหนึ่งให้เป็นทะเลได้แล้ว ท่านจึงได้ชื่อว่า

          “ทะไลลามะ”..
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



อะไรสำคัญกว่ากัน
ระหว่างการตอบสนองความปรารถนานานัปการ
หรือการระงับยับยั้งมันอย่างน้อยหนึ่งอย่าง


อโป คือพระชราผู้ทรงภูมิ ท่านเดินทางธุดงค์ไปทั่วหุบเขา เพื่อตามหา ทาชิ (ชอว์น คู) ลูกศิษย์ที่เพิ่งสำเร็จธรรม ณ อาศรมที่อยู่ห่างไกล เป็นเวลาสามปี กับการเดินทางครั้งนี้ อโปมีเพื่อนร่วมทางไปด้วย ประกอบด้วย โซนาม พระลูกศิษย์ และกองคาราวานจำนวนหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม การกลับมายังอาศรมของทาชิ ได้ก่อให้เกิดผลที่คาดไม่ถึง แม้ว่าจะอุทิศชีวิตให้แก่การค้นหาธรรม แต่ทาชิกลับเพิ่งค้นพบความแปลกใหม่ทางเพศ ที่เขาไม่เคยพานพบมาก่อน

ความรู้สึกเช่นนี้ เกิดขึ้นในช่วงที่เขาเดินทาง เข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เพื่อเทศนาธรรม ที่นั่นเขาได้พบกับ เพมา (คริสตี้ ชุง) สาวสวยประจำหมู่บ้าน และรักแรกพบก็เกิดขึ้นกับคนทั้งสอง เป็นครั้งแรกที่ทาชิเริ่มต้นตั้งคำถาม กับสถานบรรพชิตของตนเอง

หลังจากรับรู้ความเปลี่ยนแปลงของทาชิ อโปได้ส่งเขาไปยังสำนักสงฆ์ลึกลับแห่งหนึ่ง เพื่อทำให้เขาได้รู้จักความลึกลับทางเพศ ทาชิตระหนักได้ว่า การละทิ้งเรื่องทางโลก จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เขาผู้นั้นเรียนรู้มันมามากพอ ด้วยเหตุนี้เขาจึงลาสิชาบท จากโลกแห่งธรรมที่เขาอาศัยอยู่ที่นั่น ตั้งแต่อายุได้ห้าขวบ เพื่อค้นหาความหมายของ ซัมซารา หรือแปลว่า 'โลก'
ต่อมาทาชิได้แต่งงานอยู่กินกับเพมา ทั้งคู่ได้ค้นพบความรื่นรมย์ทางเพศ ตลอดจนความสุขและทุกข์ของการลุ่มหลง เพมาได้ให้กำเนิดบุตรชายนามว่า กรรม หลังจากที่ใช้ชีวิตร่วมกัน ทาชิได้พบกับความเปลี่ยนแปลงสำคัญ เมื่อเขาพบด้านแห่งความศรัทธา ในพระธรรมของเพมา ซึ่งได้สร้างความประหลาดใจ ให้แก่เขาเป็นอย่างมาก

ในทางกลับกัน ทาชิกลับต้องเผชิญกับเรื่องทางโลก ที่เขาไม่พร้อมที่จะรับมือ เป็นต้นว่า ความริษยาของจามายาง เพื่อนบ้านที่เคยหลงรักเพมามาก่อน หรือความหลงใหลที่มีต่อสุจาตา หญิงสาวอพยพแสนสวย หรือแม้แต่การมีเรื่องกับดาวา พ่อค้าข้าวจากในเมือง

ทุกอย่างถึงจุดคลี่คลาย เมื่อเกิดไฟไหม้ที่บ้านของทาชิ จนส่งผลให้เขาสูญเสียเกือบทุกอย่าง ทาชิได้วางมวยกับจามายางและดาวา ถึงตอนนี้ ทาชิตระหนักแล้วว่า โลกแห่งวัตถุนั้น ซับซ่อนกว่าที่เขาคิด...

--------------------------------------------------------------------------------
Samsara เป็นภาพยนตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวแห่งความรัก ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณ ที่มีฉากหลังเป็นสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่น่าตื่นตะลึงของ ลาดัค ในเทือกเขาหิมาลัย บอกเล่าถึงการแสวงหา และความพยายามค้นหาความหมาย ของสัจธรรมของชายคนหนึ่ง

Samsara เป็นภาพยนตร์ผลงานของ บริษัทแพนดอร่าฟิล์ม เขียนบทและกำกับโดย พาน นาลิน ชาวอินเดียที่เคยผลิตสารคดี ให้กับบริษัท คานาลพลัส, บีบีซี, ดิสคอฟเวอรี, เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิค ฯลฯ ผลงานภาพยนตร์ของเขาส่วนใหญ่ มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับการค้นหาทางจิตวิญญาณ, กามารมณ์, ความรู้สึก, ศรัทธา, ศาสนา และสังคม ปัจจุบัน พาน นาลิน กำลังทำหนังพูดภาษาอังกฤษสองเรื่อง ได้แก่ Bodhidharma ซึ่งเป็นเรื่องราวของชายคนหนึ่ง ที่อยู่เบื้องหลังศิลปะป้องกันตัว และแนวคิดแบบเซ็น และภาพยนตร์ร่วมสมัย ที่ดัดแปลงมาจากมหากาพย์อินเดียเรื่อง Mahabharata

Samsara เป็นภาพยนตร์เรื่องแรก ที่ถ่ายทำตลอดทั้งเรื่องใน ลาดั๊ค (Ladakh) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ 'ดินแดนแห่งจันทรา' เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลความเจริญมากที่สุดของอินเดีย ประชาชนอาศัยอยู่เหนือทะเลกว่า 15,000 ฟุต เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แสนทุรกันดาร ทำให้ลาดั๊คเป็นสถานที่ปิด สาหรับคนภายนอก จนกระทั่งถึงปี 1975 แม้จนทุกวันนี้ ลาดั๊คก็ยังเป็นเมืองที่ยากจะเข้าถึง กว่าที่ทีมงานจะได้เข้าไปถ่ายทำที่นั่น ต้องใช้เวลาถึงสองปี ก่อนหน้านี้ มีภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ดหลายเรื่อง ที่ขออนุญาตถ่ายทำที่นั่น แต่ก็ถูกปฏิเสธจากรัฐบาลอินเดียตลอดมา เพราะดินแดนดังกล่าว เป็นเขตเปราะบาง ที่กั้นระหว่างประเทศจีนกับปากีสถาน

Samsara เป็นผลงานแสดงภาพยนตร์ เรื่องแรกของ ชอว์น คู แดนเซอร์มืออาชีพ และนักแสดงละครเวทีในนิวยอร์ค ผลงานของเขาได้แก่ The King and I, Miss Saigon ส่วนผู้แสดงนำฝ่ายหญิงคือ คริสตี้ ชุง ผู้รับบท 'บุญเลื่อง' จาก จัน ดารา และกำลังจะมีผลงานร่วมกับเฉินหลง ในภาพยนตร์เรื่องใหม่คือ Highbinders ที่กำลังถ่ายทำ

ภาพยนตร์เรื่อง Samsara ได้รับเลือกจากผู้ชม ให้เป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Audience Award for The Most Popular Film) จาก Melbourne International Film Festival ครั้งที่ 51 (2002), Special Jury Prize และ Silver Arrow award จาก Faces of Love International Film Festival Moscow Russia 2002, Special Critics Jury Award จาก International Environmental Film Festival Istanbul Turkey 2002 รวมทั้งได้รับเลือกให้เปิดฉายโชว์ ในเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ ในอีกหลายประเทศทั่ว


http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/samsara/sam.html
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


กำกับ : Pan Nalin (เขียนบทและคิดเรื่องด้วย)
นำแสดง : Shawn Ku, Christy Chung
ระดับความชอบ : ๑๐/๑๐

ได้ยินชื่อหนังเรื่องนี้มานาน ครั้งแรกน่าจะเป็นที่ www.budpage.com และมาอ่านเจออีกครั้งในเล่ม คาเฟ่เสน่หา ที่คุณ'ปราย พันแสงจั่วหัวไว้ว่า พุทธอิโรติก ยิ่งน่าดู
เพื่อนๆ ใน Blog หลายคนมาลงชื่อเป็นหนังในดวงใจ แถมบอกว่ามีหลากหลายคำถามในหนังเรื่องนี้

เปิดฉากด้วยภาพและเพลงน่าตื่นตาตื่นใจ
แล้วก็ต่อด้วยนกทิ้งหินฆ่าแกะ จากนั้นก็จะเริ่มเห็นพิธีกรรมของลามะ
นกตัวนี้มาตอนปิดเรื่องอีกที

ต่อด้วยการรับตัวพระเอก ต้าชิ กลับจากถ้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่พระเอกมาฝึก ๓ ปี ๓ เดือน ๓ สัปดาห์ ๓ วัน แล้ว ผมเผ้า เล็บยาวเฟื้อย ไร้กำลัง ทีมงานลามะจึงต้องมาแปลงโฉมให้เป็นลามะอีกครั้ง

เรื่องราวทั้งหมดเกิดที่ ลาดัก อินเดีย ความสูง ๑๕,๐๐๐ ฟุต

คำคมเพียบครับ
อย่างตอนต้าชิมาหาอาโปในโบสถ์
หลายสิ่งควรละทิ้งเพื่อการเรียนรู้
หลายสิ่งควรถือไว้เพื่อการละทิ้ง

ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองเท่านั้น อย่าเชื่อตถาคตอย่างเดียว

แค่ฉากนี้ที่มีพระพุทธรูปเป็นฉากหลังก็กินขาดแล้วครับ
สุดท้ายต้าชิก็ขอไปเรียนรู้โลก ก็ทีเจ้าชายสิทธัตถะยังเรียนรู้โลกตั้ง ๒๙ ปี ฉากนี้เจ๋งจริง

การลอบหนีที่เป็นภาพซ้อนกับพุทธประวัติมี ๒ ครั้ง โดยครั้งหลังหนีลูกเมียเหมือนกัน
แต่เจ๋งกว่าตรงเมียในเรื่องนี้ มาพูดถึงหัวอกยโสธรา มเหสีเจ้าชายสิทธัตถะได้อย่างหมดเปลือก ใครกันแน่ที่ควรยกย่อง หากไม่มีเธอ มีหรือจะมีมหาบุรุษของโลก หากแต่เธอไม่เข้มแข็งเพียงนิด พระพุทธเจ้าคงไม่มี
ชอบประโยคที่นางเอกพูดว่า "ถ้าเธอแน่วแน่ในพุทธศาสนา เหมือนที่เสน่หากับฉัน เธอจะบรรลุในร่างนี้" ต้องแน่วแน่ และมีใจรักจริง จึงจะบรรลุครับธรรมะของพระพุทธองค์
หลังจากฉากที่นางเอกมา พูดแทนยโสธราและสตรีทั้งโลกแล้ว เธอก็แสดงความเด็ดเดี่ยว ให้สามีไป ท่ามกลางการคร่ำครวญของต้าชิ

คำบนหินในท้ายเรื่องช่างมีความหมาย
น้ำเพียงหยดเดียว ป้องกันเช่นใดมิให้เหือดแห้ง
คำตอบก็คือต้องเทมันลงสู่ทะเล
เห็นคำนี้ รีบจดเลย
เคยได้ยินไหมครับที่เขาว่า กัลยาณมิตรคือแสงทองของชีวิต หาทะเลที่จะรักษาหยดน้ำแห่งความดีของคุณให้เจอ แล้วเทรวมกับชุมชนนั้นเลยนะครับ

บรรยากาศชาวบ้านก็น่าหลงไหลดีจัง มีการลงแขก นวดข้าว ชอบจัง นี่แหละครับวิถีชาวบ้าน
ตอนพระเอกไปขายข้าวในเมืองเอง พ่อค้าคนกลางก็มาบอกว่าจะเป็นหายนะของหมู่บ้าน เพราะทุนนิยมจะเข้ามาทำลายวิถีชาวบ้านไม่เหลือซาก ตัวอย่างของเล่นเด็ก ที่นางเอกหักดิบทิ้งเสีย และคำทิ้งท้าย เด็กๆ ที่นี่ทำของเล่นเองกัน ต้องเด็ดเดี่ยวอย่างนี้วิถีชาวบ้านจึงจะยังอยู่ ว่าแต่ใครจะเด็ดเดี่ยวเหมือนนางเอกบ้าง ก็กระแสทุนนิยมมันแรงออกจะตาย

ตอนแรกอ่านหลายบทความเน้นที่ฉากรักของหนังเรื่องนี้ แต่พอดูหนังจริงๆ เป็นแค่ส่วนประกอบเท่านั้นเอง

ดนตรีประกอบเป็นส่วนที่ดีมากๆ ในหนังเรื่องนี้ พอเหมาะพอเจาะดีมาก

ภาพที่ออกมาก็สวยดีเหลือเกิน

เป็นหนังที่เอาพุทธประวัติมาตีความได้อย่างน่าชื่นชม น่าจะหามาชมครับ

แต่ต้องเปิดใจรับการตีความนะครับ เมื่อเพศหญิงออกมาบอกว่าที่แท้ยโสธราก็อยากหนีออกบวชเหมือนกัน
คุณจะว่าอย่างไร หนังเรื่องนี้มีคำถามนี้ด้วยครับ

ดร.วรภัทร์เคยสอนว่า เพศหญิงบรรลุธรรมมากกว่าผู้ชาย ๔ เท่า เพราะอดทนต่อการกดขี่มากกว่า ท่าจะจริง

อย่าลืมหมั่นฝึกกันนะครับ เส้นทางสายเอกนี้ ไม่ง่ายแต่เป็นไปได้
ไม่ถึงที่หมายชาตินี้ ก็เป็นเสบียงไว้เดินทางต่อก็ยังดีครับ
ทุกอย่างต้องเริ่มที่ศรัทธาครับ
ขอให้โชคดี

ปล.๑ ขอขอบคุณ คุณ Pilot ที่ให้ยืมหนังดีๆ เรื่องนี้
ปล.๒ เข้าทำเนียบ หนังในดวงใจ เรื่องล่าสุดไปแล้วครับ
ปล.๓ Samsara แปลว่า Delusion Thinking แปลว่า ความเข้าใจคลาดเคลื่อน
ในเล่ม พุทธทาสลิขิตคำกลอน บอกไว้ว่า Samsara แปลว่า สังสารวัฏ
ปล.๔ บทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน Budpage ครับ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amp-atom&month=09-2008&date=27&group=2&gblog=90
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: ขอบคุณครับพี่มด^^
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~