๑. หมวดคู่
THE PAIRS
๑. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฎฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฎฺฌฐน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ
จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ ๑ ฯ
ใจเป็นผู้นำสรรพสิ่ง
ใจเป็นใหญ่ (กว่าสรรพสิ่ง)
สรรพสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ
ถ้าพูดหรือทำสิ่งใดด้วยใจชั่ว
ความทุกข์ย่อมติดตามตัวเขา
เหมือนล้อหมุนเต้าตามเท้าโค
Mind foreruns all mental conditions,
Mind is chief, mind-made are they;
If one speak or acts with a wicked mind,
Then suffering follows him
Even as the wheel the hoof of the ox.
๒. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฎฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสนฺเนน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ
ฉายาว อนปายินี ฯ ๒ * ฯ
ใจเป็นผู้นำสรรพสิ่ง
ใจเป็นใหญ่ (กว่าสรรพสิ่ง)
ถ้าพูดหรือทำสิ่งใดด้วยใจบริสุทธิ์
ความสุขย่อมติดตามเขา
เหมือนเงาติดตามตน
Mind forerunr all mental conditions,
Mind is chief,mind-made are they;
If one speaks or acts with a pure mind,
Then happiness follows him
Even as the shadow that never leaves.
* พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐเขียน อนุปายินี แปลว่า ติดตาม
แต่ฉบับของสมาคมบาลีปกรณ์เขียน อนปายินี (อนฺ+อป+อี)
แปลว่า ไม่พราก หรือติดตามนั่นแล ในที่นี้ข้าพเจ้าถือตามฉบับหลัง
๓. อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ
อชินิ มํ อหาสิ เม
เข จ ตํ อุปนยฺหนฺติ
เวรํ เตสํ น สมฺมติ ฯ ๓ ฯ
ใครมัวคิดอาฆาตว่า
"มันด่าเรา มันทำร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา"
เวรของเขาไม่มีทางระงับ
'He abused me, he beat me,
He defeated me, he robbed me'
In those who harbour such thoughts
Hatred never ceases.
๔. อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ
อชินิ มํ อหาสิ มํ
เข จ ตํ นูปนยฺหนฺติ
เวรํ เตสูปสมฺมติ ฯ ๔ ฯ
ใครไม่คิดอาฆาตว่า
"มันด่าเรา มันทำร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา"
เวรของเขาย่อมระงับ
'Heabused me, he beat me,
He defeated me, he robbed me'
In those who harbour not such thoughts
Hatred finds its end.
๕. น หิ เวเรน เวรานิ
สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ
อเวเรน จ สมฺมนฺติ
เอส ธมฺโม สนนฺตโน ฯ ๕ ฯ
แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้
เวรไม่มีระงับด้วยการจองเวร
มีแต่ระงับด้วยการไม่จองเวร
นี้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัว
At any time in this world,
Hatred never ceases by haterd,
But through non-hatred it ceases,
This is an eternal law.
๖. ปเร จ น วิชานนฺติ
มยเมตฺถ ยมามเส
เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ
ตโต สมฺมนฺติ เมธคา ฯ ๖ ฯ
คนทั่วไปมักนึกไม่ถึงว่า ตนกำลังพินาศ
เพราะวิวาททุ่มเถึยงกัน
ส่วนผ้ร้ความจริงเช่นนั้น
ย่อมไม่ทะเลาะกันอีกต่อไป
The common people know not
That in this Quarrel they will perish,
But those who realize this truth
Have their Quarrels calmed thereby.
๗. สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญู
กุสีตํ หีนวีริยํ
ตํ เว ปสหตี มาโร
วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลํ ฯ ๗ ฯ
มารย่อมสามารถทำลายบุคคล
ผ้ตกดป็นทาสของความสวยงาม
ไม่ควบคุมการแสดงออก
ไม่ร้ประมาณในโภชนาหาร
เกียจคร้านและอ่อนแอ
เหมือนลมแรงพัดโค่นต้นไม้ที่ไม่แข็งแรง
As the wind overthrows a weak tree,
So does Mara overpower him
Who lives attached to sense pleasures
Who lives with his senses uncontrolled,
Who knows not moderation in his food,
And who is indolent and inactive.
๘. อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ
โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญู
สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
ตํ เว นปฺปสหตี มาโร
วาโต เสสํว ปพฺพตํ ฯ ๘ ฯ
มารย่อมไม่สามารถทำลายบุคคล
ผู้ไม่ตกเป็นทาสของความสวยงาม
รูจักควบคุมการแสดงออก
รู้ประมาณในโภชนาหาร
มีศรัทธา และมีความขยันหมั่นเพียร
เหมือนลมไม่สามารถพัดโค่นภูเขา
As the wind does not overthrow a rocky mount,
So Mara indeed does not overpower him
Who lives unattached to sense pleasures,
Who lives with his senses well-controlled,
Who knows moderation in his food,
And who is full of faith and high vitality.
๙. อนิกฺกสาโว กาสาวํ
โย วตฺถํ ปริทเหสฺสติ
อเปโต ทมสจฺเจน
น โส กาสาวมรหติ ฯ ๙ ฯ
คนที่กิเลสครอบงำใจ
ไร้การบังคับตนเองและไร้สัตย์
ถึงจะครองผ้ากาสาวพัสตร์
ก็หาคู่ควรไม่
whosoever, not freed from defilements,
Without self-control and truthfulness,
Should put on the yellow robe-
He is not worthy of it.
๑๐. โย จ วนฺตกสาวสฺส
สีเลสุ สุสมาหิโต
อุเปโต ทมสจฺเจน
ส เว กาสาวมรหติ ฯ ๑๐ ฯ
ผู้หมดกิเลสแล้ว มั่นคงในศีล
รู้จักบังคับตนเอง และมีสัตย์
ควรครองผ้ากาสาวพัสตร์แท้จริง
But he who discared defilements,
Firmly established in moral precepts,
Possessed of self-control and truth,
Is indeed worthy of the yellow robe.
๑๑. อสาเร สารมติโน
สาเร จ อสารททสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจํฉนฺติ
มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา ฯ ๑๑ ฯ
ผู้ใดเห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
เห็นสิ่งที่เป็นสาระ ว่าไร้สาระ
ผู้นั้นมีความคิดผิดเสียแล้ว
ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
In the unessential they imagine the essential,
In the essential they see the unessential;
They who feed on wrong thoughts as such
Never achieve the essential.
๑๒. สารญฺจ สารโต ญตฺวา
อาสารญฺจ อสารโต
เต สารํ อธิคจฺฉนฺติ
สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา ฯ ๑๒ ฯ
ผู้ที่เข้าใจสิ่งที่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
และสิ่งที่ไร้สาระว่าไร้สาระ
มีความคิดเห็นชอบ
ย่อมประสบสิ่งที่เป็นสาระ
Knowing the essential as the essential,
And the unessential as the unessential,
They who feed on right thoughts as such
Achieve the essential.
๑๓. ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ
วุฎฺฐิ สมติวิชฺฌติ
เอวํ อภาวิคํ จิตฺตํ
ราโค สมติวิชฺฌติ ฯ ๑๓ ฯ
เรือนที่มุงไม่เรียบร้อย
ฝนย่อมไหลย้อยเข้าได้
ใจที่ไม่อบรมฝึกหัด
ราคะกำหนัดย่อมครอบงำ
Even as rain into an ill-thatched house,
Even so lust penetrates an undeveloped mind.
๑๔. ยถา อคารํ สุจฺฉนฺนํ
วุฎฺฐิ น สมติวิชฺฌติ
เอวํ สุภาวิตํ จิตฺตํ
ราโค น สมติวิชฺฌติ ฯ ๑๔ ฯ
เรือนที่มุงเรียบร้อย
ฝนย่อมไหลย้อยเข้าไม่ได้
ใจที่อบรมเป็นอย่างดี
ราคะไม่มีวันเข้าครอบงำ
Even as rain gets not into a well-thatched house,
Even so lust penetrates not a well-developed mind.
๑๕. อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ
ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ
โส โสจติ โส วิหญฺญติ
ทิสิวา กมฺมกิลิฎฺฐมตฺตโน ฯ ๑๕ ฯ
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกนี้
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกหน้า
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกเดือดร้อนยิ่งนัก
เมื่อมองเห็นแต่กรรมชั่วของตน
Here he grieves, hereaafter he grieves,
In both worlds the evil-doer grieves;
He mourns, he is afflicted,
Beholding his own impure deeds.
๑๖. อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ
กตปุญฺโญ อุภยตฺถ โมทติ
โส โมทติ ดส ปโมทติ
ทิสฺวา กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโน ฯ ๑๖ ฯ
คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกนี้
คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกหน้า
คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกทั้งสอง
คนทำดีย่อมร่าเริง เบิกบานใจยิ่งนัก
เมื่อมองเห็นแต่กรรมบริสุทธิ์ของตน
Here he rejoices, hereafter he rejoices,
In both worlds the well-doer rejoices;
He rejoices, exceedingly rejoices,
Seeing his own pure deeds.
๑๗. อิธ ตปฺปติ เปจิจ ตปฺปติ
ปาปการี อุภยตฺถ ตปฺปติ
ปาปํ เม กตนิติ ตปฺปติ
ภิยฺโย ตปฺปติ ทุคฺคตึ คโต ฯ ๑๗ ฯ
คนทำชั่วย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
คนทำชั่วย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า
คนทำชั่ว ย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง
เมื่อคิดได้ว่า ตนทำแต่กรรมชั่ว
ตายไปเกิดในทุคติ ยี่งเดือดร้อนหนักขึ้น
Here he laments, hereafter he laments,
In both worlds the evil-doer laments;
Thinking; 'Evil have I done', thus he laments,
Furthermore he laments,
When gone to a state of woe.
๑๘. อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ
กตปุญฺโญ อุภยตฺถ นนฺทติ
ปุญฺญํ เม กตนฺติ นนิทติ
ภิยฺโย นนฺทติ สุคตึ คโต ฯ ๑๘ ฯ
คนทำดีย่อมสุขใจในโลกนี้
คนทำดีย่อมสุขใจในโลกหน้า
คนทำดีย่อมสุขใจในโลกทั้งสอง
เมื่อคิดว่าตนได้ทำแต่บุยกุศล ย่อมสุขใจ
ตายไปเกิดในสุคติ ยิ่งสุขใจยิ่งขึ้น
Here he is happy, hereafter he is happy,
In both worlds the well-doer is happy;
Thinking; 'Good have I done', thus he is happy,
When gone to the state of bliss.
๑๙. พหุมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน
น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ
น ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ ๑๙ * ฯ
คนที่ท่องจำตำราได้มาก
แต่มัวประมาทเสีย ไม่ทำตามคำสอน
ย่อมไม่ได้รับผลที่พึงได้จากการบวช
เหมือนเด็กเลี้ยงโค นับโคให้คนอื่นเขา
Though much he recites the Sacred Texts,
But acts not accordingly, the heedless man
is like the cowherd who counts others'kine;
He has no share in religious life.
* สํหิต หมายถึง สํหิตา หรือคัมภีร์ว่าด้วยกฎสนธิของคำและวิธีสวด
พระเวทให้ถูกต้องแบ่งเป็น ๓ คัมภีร์คือ ฤคเวทสํหิตา สามเวทสํหิตา
และอถรรพเวทสํหิตา ภายหลังเพิ่มยชุรเวทสํหิตาอีก ๒ คัมภีร์ รวมเป็น ๕
พุทธศาสนายืมศัพท์นี้มาใช้ เมื่อเราไม่มีพระเวทอย่างพราหมณ์ คำนี้จึง
หมายความเพียง ตำรา หรือคัมภีร์ศาสนา ส่วนพระอรรถกถาจารย์ให้
แปลว่า คำอันประกอบด้วยประโยชน์ ท่านคงคิดว่าคำนี้เขียน สหิตํ (ส + หิตํ) กระมัง
๒๐. อปฺปมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน
ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี
ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ
สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต
อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา
ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ ๒๐ ฯ
ถึงจะท่องจำตำราได้น้อย
แต่ประพฤติชอบธรรม
ละราคะ โทสะ และโมหะได้
รู้แจ้งเห็นจริง มีจิตหลุดพ้น
ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ทั้งปัจจุบันและอนาคต
เขาย่อมได้รับผลที่พึงได้จากการบวช
Though little he recites the Sacred Texts,
But puts the precepts into practice,
Forsaking lust, hatred and delusion,
With rigth knowledge, with mind well freed,
Cling to nothing here or hereafter,
He has a share in religious life.