ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"  (อ่าน 6321 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"
( พระสูตรที่ยังธรรมจักรให้เป็นไป )
ที่มา: หนังสือ "สมาธิหมุน จิตวิวัฒน์เพื่อความพ้นทุกข์"
เรียบเรียงโดย
คุณเกียรติศักดิ์ แสงสุวรรณ




ในอดีตกาลที่ผ่านมา คำสอนที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ถึงวิธีการ
เพื่อทำให้จิตของคนได้เห็นการหมุนวนของความสัมพันธ์
ที่อายตนะภายนอก ภายในส่งต่อเชื่อมโยงสภาพรู้กันกลับไปกลับมา

คือ พระธรรมเทศนาที่ได้ตรัสให้ปล่อยวางจากความยึดติด
จากอายตนะทั้งสองส่วน คือ อายตนะภายนอก กับอายตนะภายใน
ดังคำตรัสนี้


"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว
เป็นธรรมของชาวบ้าน เป็นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1

อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว
ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญานให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ข้อปฏิบัติทางสายกลาง ประกอบด้วยองค์แปดประการ คือ
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ สัมมาวาจา การพูดชอบ
สัมมากัมมันโต การเลี้ยงชีพชอบ สัมมาอาชีโว การงานชอบ สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ
สัมมาสติ ความระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ"

"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือ ทุกข์มีอยู่ อุปาทานขันธ์ 5 คือตัวทุกข์
สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์มีอยู่ คือ ตัณหา
นิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์มีอยู่ คือ ความดับสนิทโดยไม่เหลือของตัณหา
มรรค ข้อปฏิบัติที่ทำให้สัตว์ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์มีอยู่ คือ

ข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ แปดประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ สัมมาวาจา การพูดชอบ สัมมากัมมันโต การเลี้ยงชีพชอบ
สัมมาอาชีโว การงานชอบ สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ สัมมาสติ ความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ญานเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เรา
ไม่เคยฟังมาในกาลก่อนว่า ก็อริยสัจ คือ
ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว
เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรละ เหตุให้เกิดทุกข์ เราละได้แล้ว
ความดับทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง ความดับทุกข์ เราทำให้แจ้งแล้ว
ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เป็นอย่างนี้ ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ ควรทำให้เกิด
ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เราทำให้เกิดแล้ว
อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กำเริบ
ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป"

ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีปราศจากมลทิน
ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา"

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าเทวดาได้บันลือเสียงว่า
นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตพระนครสาวัตถี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้

ชั่วขณะกาลครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน
ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญโกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ
โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ
ด้วยประการฉะนี้


( บางส่วนจากพระสูตร ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ 4 พระบาลีวินัยปิฎก มหาวรรค
ปฐมภาค ขันธกะที่ 1 มหาขันธกะ )





 :13:  : http://sites.google.com/site/ingdhamma/dhamma7

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2010, 11:40:36 am »
 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2010, 09:08:36 pm »

หรืออีกคำตรัสหนึ่ง คือ

ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลกหน้า
พระอรหันต์นั้นย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น

คำว่า ส่วนสุด คือ ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ 1 ผัสสะสมุทัยเป็นส่วนสุดที่ 2 ,
อดีตเป็นส่วนสุดที่ 1 อนาคตเป็นส่วนสุดที่ 2 ,
สุขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ 1 ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ 2 ,
นามเป็นส่วนสุดที่ 1 รูปเป็นส่วนสุดที่ 2 ,
อายตนะภายใน 6 เป็นส่วนสุดที่ 1 อายตนะภายนอก 6 เป็นส่วนสุดที่ 2 ,
กายของตนเป็นส่วนสุดที่ 1 สมุทัยแห่งกายของตนเป็นส่วนสุดที่ 2

( บางส่วนจาก พระไตรปิฏกเล่มที่ 29 พระสูตรตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส )

ความหมายของ กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ หากเราจะแปลความหมายเป็นการเสพกามคุณ 5 คือ

เสพ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เข้ามากระทบที่อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมถึงสิ่งที่ชายหญิงกระทำต่อกันก็คงไม่ผิด เพราะความหมายของกามนั้นกินความได้ค่อนข้างกว้าง แต่หากพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วคงไม่ตรงกับความหมายตามเจตนาที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ กามสุขัลลิกานุโยค ในความหมายที่ลึกกว่านั้น ควรเป็น กามที่เกิดจากการเสพความสุขที่ละเอียดในอารมณ์ของฌาน ซึ่งเกิดจากจิตเข้าไปรวมเป็นหนึ่งกับธาตุรู้ในใจ อันเป็นอายตนะภายใน ดังนั้น ความหมายของกามสุขัลลิกานุโยค จึงควรกล่าวได้ว่า เป็นการทำให้จิตติดอายตนะภายใน

ส่วนความหมายของ อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็คือ การทรมานร่างกายให้ร่างกายได้รับความทุกข์ ซึ่งจิตต้องออกมารับความทุกข์จาก ผัสสะ และ เวทนาที่แรงกล้า ที่กระทำต่ออายตนะภายนอก ความหมายของ อัตตกิลมถานุโยค ที่ลึกกว่าการทรมานร่างกาย จึงกล่าวได้ว่า เป็นการทำให้จิตติดอายตนะภายนอก

ที่แปลความได้เช่นนี้ เพราะ

1. หากดูจากพุทธประวัติของพระพุทธองค์แล้ว ก่อนที่จะตรัสรู้ท่านได้ฝึกฝนจิตใจด้วยแนวทางหลักอยู่ 2 ประการ คือ เริ่มจาก ไปศึกษาการทำสมาธิจากอาฬรดาบสกับอุทกกดาบสฝึกทำจิตใจให้สงบนิ่งเข้าไปอยู่ในอารมณ์ของฌานที่ลึกที่สุด ที่ฟ้าผ่าก็ไม่ได้ยินเสียง ไม่มีความรู้สึกตัว เมื่อท่านออกจากฌานแล้วก็เห็นว่ากิเลสมันก็ยังเกิดขึ้นเหมือนกับคนปกติอยู่ จึงเข้าใจว่า การจะแสวงหาความพ้นทุกข์ จาก เกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยเข้าไปอยู่ในอารมณ์ของฌานคงไม่ประสบความสำเร็จ จึงหาวิธีใหม่ทำสิ่งตรงกันข้ามกับวิธีการแรก คือ ให้จิตมาติดกับความรู้สึกภายนอก ให้เวทนามันมีมากๆ โดยการทรมานร่างกายตัวเองด้วยวิธีการต่างๆ นาๆ เพื่อให้จิตมาติดกับความรู้สึกภายนอกให้มากๆ ท่านก็ฝึกฝนไป จนแทบจะสิ้นชีวิตก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

ในที่สุดท่านก็มาได้สติ เมื่อมีเทวดามาทำอุบายดีดพิณสามสายให้ฟัง จึงเกิดปัญญามีมุมมองและความคิดใหม่ต่อปัญหาที่ตนเองประสบอยู่ คือ ลองฝึกดูด้วยวิธีใหม่ คราวนี้ไม่เข้าฌาน ไม่ทำจิตให้ติดอยู่กับอายตนะภายใน คือ ใจ และ เลิกทรมานร่างกาย ไม่ให้จิตมาติดอยู่กับอายตนะภายนอก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ดังคำตรัสว่า

"ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น"

เมื่อท่านไม่ให้จิตอยู่กับ อายตนะ ภายนอก และ ภายใน ดำรงจิตให้อยู่ท่ามกลางอย่างนั้น จิตก็ไม่มีที่ยึดเกาะ จิตก็หลุดพ้นออกจาก อายตนะ และ จากขันธ์ทั้งมวล บรรลุธรรมในครั้งนั้น

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2010, 09:15:50 pm »

2 . หากเราแปลความหมาย กามสุขัลลิกานุโยค เป็นเพียงการมัวแต่เสพกาม ด้วย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
และ อัตตกิลมถานุโยค เป็นการทรมานร่างกาย มันก็ไม่ให้ความหมายอะไรที่จะเป็นวิธีการปฏิบัติทางจิต เป็นความรู้ใหม่ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อยกระดับจิตใจของเราขึ้นมา อ่านแล้วก็รู้สึกเฉยๆ ทิ้งไว้แค่นั้น
ก็จะเป็นเพียงการบอกกล่าว ว่า ไม่เสพกามแบบชาวบ้าน และ ไม่ทรมานตนเอง ก็จะถึงซึ่งความตรัสรู้ได้

ซึ่งในประเด็นเรื่อง การเสพกาม นี้ นักบวชในสมัยก่อนก็น่าจะรู้กันอยู่แล้วว่าเมื่อออกบวชแล้วเรื่องสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามเป็นอันต้องยุติ พระพุทธองค์ก็ไม่น่าจะนำมากล่าวอีก โดยเฉพาะในเวลาสำคัญที่จะสอนสาวกครั้งแรก ควรที่จะได้สอนเรื่องที่ลึกเกินไปกว่านั้น
แล้วเรื่องการให้งดการเสพกาม ต่อมาท่านก็บัญญัติไว้เป็นพระวินัยอยู่แล้ว อีกทั้ง เรื่องการเสพกามคุณ 5 ท่านก็เลิกยุ่งเกี่ยวมานานมากแล้ว ท่านไม่น่าจะไปกล่าวถึงอีก ท่านก็น่าจะกล่าวถึงเรื่องที่ท่านได้หมกมุ่นครุ่นคิดฝึกฝนผ่านมาอย่างอุกฤตจนได้ข้อสรุปว่า
ที่ผ่านนั้นท่านฝึกฝนอะไรที่ยังเกิดความผิดพลาดไม่สามารถตรัสรู้ได้มากกว่า


ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ท่านทุ่มเทฝึกอย่างมาก ในช่วงแรก ก็คือ การฝึกจิต แบบสมถะกรรมฐาน ทำจิตให้สงบ อยู่กับอารมณ์ของฌานในใจ ซึ่งเป็นการที่จิตติดในอายตนะภายใน การแปลความ กามสุขัลลิกานุโยค เป็นเรื่องการเสพกามคุณ 5 จึงไม่น่าตรงตามเจตนาตามบริบทของคำที่ปรากฏ ความหมายที่แท้จริง จึงควรเป็นเรื่องการทำจิตให้ติดในอารมณ์ของฌาน คือ อายตนะภายใน มากกว่า

ส่วนประเด็น การทรมานร่างกาย เมื่อเราอ่านแล้วก็คงไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะเราแต่ละคนส่วนใหญ่คงกลัวความเจ็บปวด จากการทรมานอยู่แล้ว ย่อมไม่ไปทรมานร่างกายอยู่แล้วเป็นแน่ หากเราแปลความได้เพียงแค่ ไม่ต้องไปทรมานร่างกาย มันก็ไม่ให้ความหมายอะไรที่จะเป็นวิธีการปฏิบัติทางจิต เป็นความรู้ใหม่ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อยกระดับจิตใจของเราขึ้นเหมือนกัน อ่านแล้วก็รู้สึกเฉยๆ ทิ้งไว้แค่นั้น ความหมายที่ลึกกว่านั้นควรจะหมายถึง ข้อสรุปว่าที่ผ่านมานั้นท่านฝึกฝนอะไร ที่ผิดพลาดไม่สามารถตรัสรู้ได้อีกเช่นกัน

ซึ่งอีกเรื่องหนึ่ง ที่ท่านทุ่มเทฝึกอย่างมากในช่วงหลัง ก็คือ การทรมานร่างกาย
เพื่อให้จิต รับความรู้สึกจากผัสสะและเวทนาที่แรงกล้า ให้จิตติดอยู่กับอายตนะภายนอกให้มากที่สุด
การแปลความ อัตตกิลมถานุโยค เป็นเรื่องการทรมานร่างกายอย่างเดียว ไม่พิจารณาให้ลึกกว่านั้น
จึงไม่น่าตรงตามเจตนาตาม คำสอน และเรื่องราวที่ต่อเนื่องกันมา อัตตกิลมถานุโยค ความหมายที่แท้จริง
จึงควรเป็นเรื่อง การทำจิตให้ติดอายตนะภายนอกมากกว่า

เพราะหากแปลความได้เพียง การไม่เสพกาม และ ไม่ทรมานร่างกายแล้ว การหมุนย่อมไม่ปรากฏขึ้น
เพราะไม่สื่อความว่า จะหมุนได้อย่างไร และ อะไรหมุน

ทั้งที่พระสูตรนี้ มีชื่อว่า ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร และมีข้อความกล่าวถึงธรรมจักรว่า

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2010, 09:19:14 pm »

"ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าเทวดาได้บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม"

ซึ่งคำว่าธรรมจักรนั้น เป็นคำที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง ว่าทำไม่พระสูตรนี้ใช้ชื่อนี้ และกล่าวถึงธรรมจักรภายหลังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนแล้ว
คำว่าธรรมจักรนี้ เกิดจากคำสองคำมารวมกัน คือ คำว่า ธรรม กับคำว่า จักร

    * คำว่า ธรรม เป็นคำที่มีความหมายที่กว้าง เช่น สภาพที่ทรงไว้ , ธรรมดา , ธรรมชาติ ,
       สภาวธรรม , สัจจธรรม , ความจริง , ปรากฏการณ์ , คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

    * คำว่า จักร มีความหมายว่า ล้อ , ล้อรถ

ซึ่งมีการแปล ธรรมจักร ได้ความหมายว่า ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย ,
วงล้อธรรม หรือ อาณาจักรธรรม หมายถึงเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่ปัญจวัคคีย์

การแปลได้ความเช่นนี้ ก็นับว่าไม่ผิดจากกรอบของความหมายของคำที่ปรากฏ เป็นการแปลให้ความหมายในเชิงความคิด วิเคราะห์ และให้ความเข้าใจอย่างกว้างๆ ซึ่งยังกว้างเกินไป ยังไม่สื่อให้เห็นถึงความหมายที่น่าจะลึกซึ้งและเฉพาะเจาะจงมากกว่านี้ สำหรับคำสอนสำคัญที่พระพุทธองค์นำมาแสดงในครั้งแรก

    * คำว่า ธรรมจักร นี้เรายังสามารถแปลได้อีกทิศทางหนึ่ง เป็นการแปลตรงตามความหมายของคำ คือ
    * ธรรม หมายถึง ปรากฏการณ์ , ธรรมดา , สภาพ , ความจริง
    * จักร ที่แปลว่า ล้อ นั้นยังแปลได้อีกว่า หมุน , วน ซึ่งเป็นอาการการเคลื่อนที่ไปของล้อ

ดังนั้น ธรรมจักร จึงแปลได้อีกความหมายหนึ่ง คือ ปรากฏการณ์ของการหมุน , สภาพที่หมุน , สิ่งที่หมุน หรือ การหมุน

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2010, 09:22:11 pm »

เมื่อแปลออกมาเช่นนี้ จะเป็นการแปลที่ให้ความหมาย ที่เจาะจง ไปที่ อาการของจิตที่เกิดขึ้น จากการฟังพระสูตรแล้ว ตีความได้ถูกต้อง แล้วปฏิบัติตาม

ซึ่งหากเราแปล ธรรมจักร ได้ความหมายว่า ปรากฏการณ์ของการหมุนแล้ว การแปลความหมายของคำตรัสที่ว่า ที่สุดสองอย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค ก็จะได้ความหมายที่แคบเข้ามา คือการทำจิตไม่ให้ติด อายตนะภายใน กับ อายตนะภายนอก พร้อมกัน เพื่อให้การหมุนระหว่างอายตนะภายนอกภายในปรากฏขึ้น ถึงจะเกิดเป็นความหมายที่สอดคล้องต้องกัน และเมื่อเราได้กระทำจิตตามคำสอนที่ได้กล่าวไว้ตามความหมายนี้ ก็จะพบว่าเกิดการหมุนขึ้นมาจริง ๆ

เมื่อเป็นเช่นนี้ ธรรมจักร จึงสามารถแปลได้เต็มตามความหมายของพระสูตรนี้ว่า สภาพการหมุนวน ที่เกิดขึ้นเมื่อจิตปล่อยวาง จากการยึดติด อายตนะภายนอก และ อายตนะภายใน พร้อมกัน ซึ่งเป็นความหมายที่สื่อความให้เป็นวิธีการปฏิบัติทางจิตได้ทันที

หากคำสอนของพระพุทธองค์ที่มาเทศนาแก่พระปัญจะวัคคีย์ไม่เป็นตามความหมาย ที่ให้ปล่อยวางจากการยึดติดสองส่วน คือ อายตนะภายใน กับ ภายนอก ซึ่งเป็นวิธีการที่ท่านเคยฝึกมาแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ และนักบวชในสมัยนั้นก็ฝึกด้วยแนวทางสองแบบนี้อย่างมากอยู่แล้ว แต่เป็นเพียงการสอนว่า ไม่เสพกามอย่างปุถุชน ไม่ทรมานตนเอง เพียงเท่านี้ความหมายของคำไม่น่าเชื่อมโยงไปถึงคำว่า ธรรมจักร ได้เลยเพราะไม่สื่อความไปให้ถึงเรื่องการหมุน และไม่น่าเชื่อมโยงไปถึงคำกล่าว ที่ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะยิ่งทำให้ชวนสงสัยมากขึ้นว่า สิ่งใดเกิด สิ่งใดดับ กันแน่ คำกล่าวเช่นนี้กล่าวเอาไว้ทำไม แล้วคำกล่าวเหล่านี้ไปสัมพันธ์กับการมีดวงตาเห็นธรรมที่ได้บังเกิดแก่พราหมณ์โกณฑัญญะอย่างไร

เมื่อเราแปลความ และเข้าใจว่า กามสุขัลลิกานุโยค เป็นการเสพกามคุณ 5 กับแปลและเข้าใจ อัตตกิลมถานุโยค เป็น การทรมานตนเอง เพียงเท่านี้ตั้งแต่ต้น พิจารณาดูแล้วคำกล่าวต่างๆ ก็จะเหมือนกับไม่เป็นเรื่องเดียวกันเลย กล่าวไปคนละเรื่อง กระโดดไปกระโดดมาไม่สามารถเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กันได้หมด

คำสอนที่พระพุทธองค์ได้ตรัสออกไป ควรมีความหมายที่มีผลต่อจิตใจคนฟัง ที่เมื่อพราหมณ์โกณฑัญญะได้ฟังแล้ว จะต้องเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในจิตใจของท่านเป็นแน่ และควรเกิดการเปลี่ยนอย่างมากด้วย มิฉะนั้นท่านก็คงไม่ไปไกลถึงการบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล จึงเป็นเรื่องที่น่าพิจารณาว่า เกิดอะไรขึ้นกับจิตใจของท่านพราหมณ์โกณฑัญญะ ก่อนการบรรลุธรรม เมื่อได้ฟังคำตรัสของพระพุทธองค์แล้ว และเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2010, 09:27:26 pm »

เมื่อมาพิจารณาท่านพราหมณ์โกณฑัญญะแล้ว ท่านจัดเป็นบุคคลประเภท อุคฆฏิตัญญูบุคคล คือ เป็นผู้ที่มีปัญญาเฉียบแหลม มีกิเลสเบาบาง อาจสามารถรู้ได้ฉับพลันเพียงแค่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง พูดให้ฟังเพียงหัวข้อก็เข้าใจ เป็นคนประเภทบัวเหนือน้ำ มิฉะนั้นคงไม่บรรลุธรรมเป็นคนแรก

แล้วปัญญาที่เฉียบแหลมของท่านนี้ก็คงไม่ใช่เป็นเพียงปัญญานึกคิดเพื่อตีความคำสอนอย่างเดียว ควรเป็นปัญญาละเอียด ที่มีความแม่นยำของวาระจิตในการที่จะกำหนดวิถีจิตให้อยู่ตำเเหน่งใดก็ได้ด้วย เพราะน่าจะมีพื้นฐานการฝึกจิตมาโดยเฉพาะการฝึกฌาน เนื่องจากนักบวชในสมัยนั้นก็ฝึกจิตให้สงบกันเป็นธรรมดาอยู่แล้ว คนที่ฝึกฌานมาการกำหนดจิตให้อยู่ในระดับต่างๆ ย่อมทำได้แม่นยำเป็นธรรมดา ที่เมื่อท่านได้ฟังพระพุทธองค์ตรัสสอนแล้วนอกเหนือจากการใช้ความเข้าใจในคำสอน กระบวนการทางจิตที่เกิดขึ้นภายในตัวท่านก็คงเกิดขึ้นและคล้อยตาม ดำเนินไปตามลำดับที่พระพุทธองค์กล่าวนำ

ซึ่งเมื่อเรามาพิจารณาลำดับคำสอนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็จะได้ลำดับดังนี้ คือ

   1. ที่สุดสองอย่างที่ไม่ควรเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค
   2. ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
   3. อริยสัจ 4 คือ ทุกข์มีอยู่ อุปาทานขันธ์ 5 คือตัวทุกข์ สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์มีอยู่ คือ ตัณหา นิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์มีอยู่ คือ ความดับของตัณหา มรรค ข้อปฏิบัติทำให้ลุถึงความดับทุกข์มีอยู่
   4. ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแก่ท่าน โกณฑัญญะว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไป เป็นธรรมดา
   5. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าเทวดาบันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม เสียงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ทั้งหมื่นโลกธาตุหวั่นไหว แสงสว่างอันยิ่งใหญ่ ได้ปรากฏแล้วในโลก
   6. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญโกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ


จากลำดับของคำสอนและเหตุการณ์ หากเราใช้วิธีการแปลความและความเข้าใจ จากวิธีการแปลและความเข้าใจทั้งสองแบบมาวิเคราะห์และอธิบาย คำสอน ,เหตุการณ์ และวาระจิตของผู้ฟังในพระสูตรนี้ เพื่อเปรียบเทียบให้เกิดความเข้าใจ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า การแปลความด้วยวิธีใดจะสร้างความเข้าใจได้มากกว่า และ การแปลความด้วยวิธีใดจะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเนื้อหาได้ชัดเจนกว่า


มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธันวาคม 11, 2010, 11:29:20 am »

วิธีการแปลความ แบบที่ 1

    * ธรรมจักร หมายถึง สิ่งนำชีวิตไปสู่ความเจริญ ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย , วงล้อธรรม , อาณาจักรธรรม , เทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่ปัญจวัคคีย์
    * กามสุขัลลิกานุโยค หมายถึงการเสพกามคุณ 5
    * อัตตกิลมถานุโยค หมายถึง การทรมานตนเอง

ซึ่งสรุปทิศทางของการแปลความแบบที่ 1 จะเป็นการแปลที่ทำให้พระสูตรนี้เป็นเพียงคำเทศนาสั่งสอน พูดให้ฟัง ให้เข้าใจ เท่านั้น ไม่เป็นวิธีการฝึกจิต

วิธีการแปลความ แบบที่ 2

    * ธรรมจักร หมายถึง สภาพการหมุนวน ที่เกิดขึ้นเมื่อจิตปล่อยวาง จากการยึดติด อายตนะภายนอก และ อายตนะภายใน พร้อมกัน
    * กามสุขัลลิกานุโยค หมายถึง การทำให้จิตติดอายตนะภายในโดยการฝึกจิตให้สงบรวมเป็นหนึ่งกับใจ
    * อัตตกิลมถานุโยค หมายถึง การทำให้จิตติดอายตนะภายนอกโดยการทรมานร่างกาย

ซึ่งสรุปทิศทางของการแปลความแบบที่ 2 จะเป็นการแปลที่ทำให้พระสูตรนี้เป็นคำเทศนาสั่งสอน ที่เป็นวิธีการฝึกปฏิบัติทางจิต

สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบวิธีการแปลความทั้งสองแบบ เพื่อเชื่อมโยง คำสอน เหตุการณ์ และวาระจิต ได้ดังนี้


วิธีการแปลความ แบบที่ 1

1. ที่สุดสองอย่างที่ไม่ควรเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค แปลความได้ว่า

ที่สุดสองอย่างที่ไม่ควรเสพคือ การเสพกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส การเสพกามที่ชายหญิงกระทำกัน และ การทรมานร่างกาย ที่ทำให้เหน็ดเหนื่อย เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่เกิดประโยชน์เพื่อการบรรลุธรรม
หากความหมายเป็นดังนี้แล้ว ผู้ฟังก็คงฟังอยู่อย่างเฉยๆ ไม่เกิดปฏิกิริยาอะไร ก็ฟังให้เข้าใจไปตามเนื้อความตามธรรมดา เพราะไม่ได้กล่าวถึงวิธีการปฏิบัติทางจิตไว้ว่าอย่างไร


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธันวาคม 11, 2010, 11:33:17 am »

2. ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว เพื่อความตรัสรู้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แปลความได้ว่า

แนวทางสายกลางที่จะไม่ติด กามคุณ 5 และ การทรมานร่างกาย นั้นตถาคตได้รู้แล้ว ได้แก่ ความเห็นชอบ ความคิดชอบ พูดชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ ความเพียรชอบ ระลึกชอบ มีจิตตั้งมั่นชอบ หมายถึง ให้เลิกจาก การเสพกาม การทรมานตนเสีย ให้มาฝึกฝนใหม่ตามแนวทางทั้งแปดประการ โดยให้ทำสิ่งแปดประการนี้ให้ถูกต้อง คือ ให้มีทัศนคติ ความคิด การพูด การทำงาน การเลี้ยงชีพ ความเพียร มีสติ มีสมาธิ ที่ถูกต้อง

ผู้ฟังก็คงยังฟังอยู่อย่างเฉยๆ ไม่เกิดปฏิกิริยาอะไร ก็ฟังให้เข้าใจไปตามเนื้อความตามธรรมดา แต่อาจเกิดความสงสัยขึ้นว่า ทั้งแปดประการนี้หมายถึงอยู่ระหว่าง กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค ใช่ไหม เพราะพระพุทธองค์กล่าวว่า ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว หากอยู่ระหว่างจริงแล้ว เนื้อหาปฏิปทาสายกลาง แปดประการไปอยู่ระหว่าง การไม่เสพกาม กับ การไม่ทรมานตนเอง ได้อย่างไร ไม่เห็นเนื้อหาจะเกี่ยวกันเลย

สำหรับประเด็น ปฏิปทาสายกลาง นี้ก็มีการพยายามแปลความออกมากันได้หลายแบบ โดยเฉพาะการแปลความออกมาเป็นเรื่องการฝึกจิต คือ สัมมาสมาธิ กับ สัมมาสติ

สัมมาสมาธิ คือการทำจิตให้เป็นกลางไม่ให้จิตเกิด อกุศล หรือ กุศลขึ้น ก็จะฝึกจิตให้สงบโดยทำจิตเข้าไปอยู่กับ ศูนย์กลางใจ หรือ ศูนย์กลางกาย ซึ่งการเข้าใจเช่นนี้ทำให้จิตของคนฝึก เกิดภาวะจิตขึ้น สามลักษณะ ที่เรียกว่า ความสว่าง ความสะอาด ความสงบ

    * ความสว่าง คือ จิตสว่างอยู่กับแสงสีเหลือง ก็เข้าใจว่าการทำจิตเข้าศูนย์กลางใจ กับ ศูนย์กลางกายนั้น คือ ทางสายกลาง เป็นสัมมาสมาธิ ทำให้ตนได้เห็นธรรม คือ แสงสว่างสีเหลือง
    * ความสะอาด คือ จิตสว่างอยู่กับแสงสีขาว หรือ กับภาพนิมิต ก็เข้าใจว่าการทำจิตเข้าศูนย์กลางใจ กับ ศูนย์กลางกายนั้น คือ ทางสายกลาง เป็นสัมมาสมาธิ ทำให้ตนได้เห็นธรรม คือ แสงสีขาว หรือ ภาพนิมิต
    * ความสงบ คือจิตเกิด อุเบกขา เป็นความว่าง เป็นความเป็นกลาง ก็เข้าใจว่าการทำจิตเข้าศูนย์กลางใจ กับ ศูนย์กลางกายนั้น คือ ทางสายกลาง เป็นสัมมาสมาธิ ทำให้ตนได้เห็นธรรม คือ ความว่าง ความเป็นกลาง ไม่ทุกข์ไม่สุข

ซึ่งหากพิจารณาให้ดีแล้ว การทำจิตเข้าศูนย์กลางใจ กับ กายนั้น ล้วนเป็นการฝึกจิตให้สงบแบบสมถะกรรมฐานทั้งสิ้น คือ ให้จิตรวมกับธาตุรู้ จึงทำให้เกิดการสรุปกันว่าธรรมะนั้นคือ ความสว่าง สะอาด สงบ ซึ่งหากเราแปล กามสุขัลลิกานุโยค เป็นเรื่องการทำจิตให้สงบ ความเข้าใจว่า สัมมาสมาธิ คือ การทำจิตเข้าศูนย์กลางใจ กับ ศูนย์กลางกาย นั้นย่อมไม่เกิดขึ้น และก็อย่าลืมว่า หากเราแปลความ แบบที่ 1 ก่อนที่พระพุทธองค์ท่านจะกล่าวถึง ปฏิปทาสายกลางแปดประการ ท่านก็ไม่ได้กล่าวถึงวิธีการฝึกจิตมาก่อน ซึ่งหากเราแปลความว่า สัมมาสมาธิ เป็นการทำจิตให้เป็นกลางที่ศูนย์กลางใจ กลางกาย ก็จะไม่เข้าด้วยเหตุผล เพราะถ้ากล่าวถึงการฝึกจิต ก็ต้องกล่าวตั้งแต่เริ่มเรื่อง การไม่ติดสองส่วน ซึ่งไม่เห็นว่าพระพุทธองค์กล่าวว่า สัมมาสมาธิ คือเป็นการทำจิตเป็นกลางที่ศูนย์กลางใจ กลางกาย ด้วยคำไหน

สัมมาสติ คือ การกำหนดรู้ในอาการ ต่างๆ ของ กาย เวทนา จิต ธรรม ทำให้จิตก็จะอยู่กับสภาพรู้กับอาการต่างๆ ของ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เกิดขึ้น โดยพยามฝึกทำให้ การเคลื่อนไหวของกายให้ช้าที่สุดเพื่อให้จิตตนเองตามทันการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น จนจิตเกิดภาวะดับมืดไป ก็เข้าใจว่า การดับ คือ การเห็นธรรมะ ซึ่งประเด็นนี้ย่อมไม่เข้ากับ คำกล่าวตอนที่ท่านโกณฑัญญะบรรลุธรรม เพราะท่านกล่าวถึงแสงสว่าง เมื่อเรามาสรุปว่า ธรรมะคือ การดับ จึงย่อมไม่สอดคล้องกับคำกล่าวใน ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร
เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว วิธีการฝึกสมาธิ ฝึกสติ ที่กล่าวมา ก็ล้วนเป็นวิธีการฝึกจิตที่คิดค้นกันมาทีหลัง หรือ นำเอาจากพระสูตรอื่นมาเพื่อมาตีความให้ คำตรัส ปฏิปทาสายกลาง ในธัมมจักรกัปปวัตนสูตร ให้เข้ากับวิธีการฝึกจิตที่ได้คิดค้นขึ้น หรือ ที่นำมาจากพระสูตรอื่น โดยเฉพาะ มหาสติปัฏฐานสูตร และก็ไม่เคยได้กล่าวถึงกันเลยว่า ในธัมมจักรกัปปวัตนสูตรนี้ มีวิธีการฝึกจิตอยู่


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ธันวาคม 11, 2010, 11:36:49 am »

3. อริยสัจ 4 คือ

ทุกข์มีอยู่ อุปาทานขันธ์ 5 คือตัวทุกข์
สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์มีอยู่ คือ ตัณหา
นิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์มีอยู่ คือ ความดับของตัณหา
มรรค ข้อปฏิบัติทำให้ลุถึงความดับทุกข์มีอยู่

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ญานเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาในกาลก่อนว่า
ก็อริยสัจ คือ

ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว
เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรละ เหตุให้เกิดทุกข์ เราละได้แล้ว

ความดับทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง ความดับทุกข์ เราทำให้แจ้งแล้ว

ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เป็นอย่างนี้ ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ ควรทำให้เกิด
ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เราทำให้เกิดแล้ว


มาถึงตอนนี้ผู้ฟังก็คงยังฟังอยู่อย่างเฉยๆ ยังไม่เกิดปฏิกิริยาอะไร ก็ฟังให้เข้าใจไปตามเนื้อความตามธรรมดา แต่อาจเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า ทำไมพระพุทธองค์ท่านกล่าว ปฏิปทาสายกลางแปดประการ ก่อนที่จะกล่าวถึง อริยสัจ 4 ? แล้วก็มากล่าวถึงปฏิปทาสายกลางแปดประการอีกในเรื่องอริยสัจ 4 แต่ให้นิยามต่างออกไปเล็กน้อย คือ ตอนแรก ท่านกล่าวว่า ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น ส่วนตอนหลัง ในอริยสัจ 4 ท่านกล่าวว่า ข้อปฏิบัติที่ทำให้สัตว์ลุถึงความดับทุกข์มีอยู่ แม้จะเป็นเรื่องเดียวกันมีแปดข้อเหมือนกัน แต่ให้นิยามต่างกัน และอยู่ในบริบทที่ต่างกันจึงน่าจะมีความหมายที่ต่างออกไปบ้าง แล้วความหมายที่ต่างออกไปนี้ คืออะไร ?

4. ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะ ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา
ข้อความนี้เขียนได้อีกแบบหนึ่งว่า
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสคำกล่าวนี้อยู่ คือ ตรัสว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา ท่านโกณฑัญญะก็ได้มีดวงตาเห็นธรรม

เมื่อใช้การแปลความแบบที่ 1 มาอธิบายก็จะเกิดคำถามขึ้นมาว่า

ท่านโกณฑัญญะเกิดมีดวงเห็นธรรมขึ้นมาได้อย่างไร ?
ทำไมคำตรัสนี้ทำให้ท่านโกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรม ?
แล้วทำไมคำตรัสอื่นที่ได้ตรัสจบไปอย่างมากมายไม่ทำให้ท่านโกณฑัญญะบรรลุธรรม ?


หากเราจะอธิบายว่าการมีดวงตาเห็นธรรมของท่านโกณฑัญญะนั้นคือ การฟังเนื้อความที่พระพุทธองค์เทศนามาตามลำดับได้รู้เรื่องว่าพระพุทธองค์กล่าวถึงอะไรไปบ้าง หากอธิบายด้วยคำอธิบายเช่นนี้ ก็เหมือนกับดูแคลนภูมิปัญญาของท่านพราหมณ์โกณฑัญญะไป เพราะเพียงการฟังเพื่อให้รู้เรื่อง ว่าพระพุทธองค์ตรัสอะไรออกมาบ้างเพียงเท่านี้ ก็คงไม่ต้องเป็นถึงผู้เป็นอุคฆฏิตัญญูบุคคล ถึงจะเข้าใจได้ฉับพลัน คนทั่วไปก็ฟังให้รู้เรื่องได้ และพระสูตรนี้ก็คงมีคนได้อ่านมาแล้วอย่างมากมาย ถ้าหากใช้เกณฑ์ว่าการฟังแล้วฟังรู้เรื่อง เข้าใจเนื้อหาว่ามีอะไรบ้าง คนที่อ่านพระสูตรนี้แล้วคงมีดวงตาเห็นธรรมกันหมด ซึ่งในความเป็นจริงไม่เป็นอย่างนั้น

และข้อความ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา ก็จะเป็นอีกข้อความหนึ่งที่ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า

ทำไมข้อความนี้ ไม่เชื่อมโยงกับคำสอนที่พระพุทธองค์ได้ตรัสจบไป ?
แล้วถ้าเชื่อมต่อได้ เชื่อมต่อได้อย่างไร ?
ข้อความนี้เกี่ยวข้องอย่างไร กับการมีดวงตาเห็นธรรมของท่านโกณฑัญญะ ?
ข้อความนี้ กล่าวขึ้นด้วยจุดประสงค์อะไร ?

สิ่งใดกันแน่ที่ข้อความนี้ กล่าวถึงว่า มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และ ดับไปเป็นธรรมดา ?


5. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าเทวดาบันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม เสียงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ทั้งหมื่นโลกธาตุหวั่นไหว แสงสว่างอันยิ่งใหญ่ ได้ปรากฏแล้วในโลก

อาจแปลความได้ว่า เมื่อพระพุทธองค์ แสดงคำสอนที่เป็นสิ่งนำชีวิตให้เจริญก้าวหน้าแล้ว เหล่าเทวดา ก็ส่งเสียงว่า นั้นคือ คำสอนอันยอดเยี่ยม เสียงขึ้นไปถึงชั้นพรหม จนโลกธาตุหวั่นไหว แสงสว่างมากเกิดขึ้นในโลก

ซึ่งก็จะเกิดมีคำถามขึ้นมาอีกว่า

คำว่าธรรมจักรนี้ หากหมายถึงคำสอนแล้ว ทำไมถึงมากล่าวเอาตอนสุดท้าย ทำไมไม่กล่าวตั้งแต่แรก ?
พวกเทวดาคือใคร ? โผล่มาจากไหน ? ทำไมต้องกล่าวถึง ?
พวกเทวดารู้ได้อย่างไรว่าพระพุทธองค์แสดงธรรมจักร ?
ทำไมโลกธาตุต้องหวั่นไหว ? หวั่นไหวเพราะอะไร ?
แสงสว่างที่ยิ่งใหญ่คืออะไร ? มาจากไหน ? เกิดขึ้นได้อย่างไร ?


6. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญโกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ

แปลความได้ว่า คงเป็นการที่พระพุทธองค์รู้วาระจิตท่านพราหมณ์โกณฑัญญะ ว่า ท่านพราหมณ์โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว