ผู้เขียน หัวข้อ: จิตวิวัฒน์ : อะไร? คือธรรมชาติของความรู้ การรู้ ความจริง  (อ่าน 1704 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


โดย ศ.นพ.ประสาน ต่างใจ
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน 2553

อยากจะบอกท่านผู้อ่านที่ได้อ่านบทความของผู้เขียนในระยะหลังๆ ราวสี่ห้าปีมานี้ ผู้เขียนที่คงจะเขียนได้อีกไม่นาน จะเขียนหนักไปในเรื่องของจิตทั้งด้านปัจเจกบุคคล และด้านสังคมวัฒนธรรมโดยรวม และแน่นอนรวมไปถึงธรรมชาติสองระดับ ทั้งธรรมชาติที่ตาเห็น เช่น ภูเขา ต้นไม้ และป่าไม้ ฯลฯ และธรรมชาติที่ไม่มีทางเห็น เช่น จิต-พระจิต จิตวิญญาณหรือวิญญาณระดับสูงจนถึงระดับสูงสุดหรือนิพพาน ที่อยากบอกกับผู้อ่านคือ ขอให้อ่านไปอย่างช้าๆ และคิดไตร่ตรองลึกๆ ไปพร้อมๆ กันด้วย หากไม่เข้าใจ ขอให้อ่านซ้ำๆ ผู้เขียนเชื่อว่าท่านผู้อ่านจะได้อะไรติดตัวไปด้วยไม่มากก็น้อย

เมื่อกลางปี ๒๐๐๗ มีการประชุมใหญ่ของนักวิชาการสำคัญๆ ของอเมริกา อังกฤษ และแคนาดาจำนวนมาก เป็นเวลาสองวันที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา จุดมุ่งหมายของการประชุมคือ ต้องการให้นักวิชาการและอาจารย์มหาวิทยาลัยได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนต่อหลักฐานและทฤษฏีต่างๆ ในการอธิบายเรื่องหรือปรากฏการณ์ทางจิตที่นักวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยนักฟิสิกส์ นักประสาทวิทยาศาสตร์ นักจิตวิทยาการทดลอง ฯลฯ ได้วิจัยและนำเสนอในที่ประชุม พร้อมกับเปิดโอกาสให้นักวิชาการทั้งหลายได้ถกเถียงกัน

สถาบันและมูลนิธิผู้จัดการประชุมต้องการให้นักวิชาการเหล่านี้ได้พิจารณาข้อนำเสนอของนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าว และตั้งคำถามเพื่อโต้เถียงกันอย่างจริงๆ จังๆ อย่าให้เป็นเช่นอดีตศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียที่อุทิศทั้งชีวิตร่วมเจ็ดสิบปีทำวิจัยเรื่องการระลึกชาติ (reincarnation) มาตั้งแต่ทศวรรษที่ ๑๙๓๐ และเสียชีวิตไปเมื่อไม่นานมานี้ คือ ศาสตราจารย์เอียน สตีเวนสัน ที่ได้เดินทางไปรอบโลกเพื่อการวิจัยนี้ รวมทั้งประเทศไทย (สองครั้ง) และมีส่วนทำให้สมาคมการค้นคว้าทางจิตแห่งประเทศไทยเกิดขึ้น เอียน สตีเวนสัน กล่าวถึงความเสียใจอย่างที่สุดของเขาต่อนักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการ “สายหลัก” ถึงการวิจัยที่เขาได้อุตส่าห์เสียเวลาค้นคว้าอย่างตั้งใจและยาวนานว่า “นักวิชาการเหล่านี้แทบทั้งหมดไม่เชื่อเรื่องการระลึกชาติก็ไม่ว่า แต่นี่ – ดันไม่เชื่อ - ทั้งๆ ที่ไม่ได้อ่านหลักฐานจากผลของการวิจัยเลย” (อย่าลืมว่าการวิจัยของศาสตราจารย์เอียน สตีเวนสัน นั้นขัดกับทั้งวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม - ทางด้านของศาสนา - ของชาวตะวันตกอย่างรุนแรง)

ในช่วงนั้น “ชีววิทยาดาร์วินิซึ่ม” ในฐานะทฤษฏีที่อธิบายการกำเนิดของชีวิต และทั้งเป็นการกำเนิดของชีวิตมนุษย์เสียด้วย ซึ่ง - ในฐานะมนุษย์ที่สนใจเป็นพิเศษในอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ (anthropocentric) ทฤษฏีดังกล่าวจึงน่าเชื่อกว่าศาสนา นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์จึงหันไปยอมรับชีววิทยาดาร์วินิซึ่มกันมากขึ้นเรื่อยๆ จนเชื่อว่ามนุษย์เป็นสิ่งของเหมือนกับสสารวัตถุทั้งหลายทั้งปวง ทั้ง - วิวัฒนาการก็เป็นเรื่องของกายภาพสถานเดียว ทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งชีวิตต่างล้วนแล้วแต่ก่อประกอบขึ้นมาจากวัตถุและความบังเอิญและบังเอิญๆๆ เหมือนนาฬิกาหรือเครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ทำนายผลได้ และธรรมชาติจัดการควบคุมสิ่งต่างๆ ทั้งหมด เช่น น้ำ ลม อุณหภูมิ หิน ฯลฯ ด้วยความจำเป็นอีกที

นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จึงเข้าใจว่า - ดังคำถามที่ตั้งเป็นหัวข้อบทความ นั่นคือ ถามว่าอะไรหรือ? คือธรรมชาติของความรู้ การรู้ ความจริงของมนุษย์เรา (ซึ่งแตกต่างกันมากยิ่งนัก) - สำหรับเรื่องความรู้นั้น คำตอบของนักวิทยาศาสตร์กายภาพ นักวิชาการ นักวัตถุนิยม นักชีววิทยา และแพทย์ส่วนใหญ่ ในทุกวันนี้ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทยเราหรือประเทศเพิ่งจะพัฒนาใหม่ๆ ของเอเชีย ก็คือ ความรู้ที่มนุษย์เรามีแทบจะทั้งหมดเป็นการคลี่ขยายมาจากตัวของมนุษย์เอง นั่นคือมาจากธรรมชาติมาจากวิวัฒนาการทางกายภาพเพียงอย่างเดียว หรือพูดได้ว่า ความรู้ทั้งหลายของเรานั้น ส่วนใหญ่มากๆ ตั้งอยู่บนวิทยาศาสตร์ – ในราวๆ หนึ่งร้อยกว่าปีมานี้เท่านั้น – ทั้งหมด ซึ่งเมื่อไล่ต่อไปแล้ว ล้วนตั้งอยู่บนความบังเอิญๆๆ ที่ว่านั้น

แต่อีกประการหนึ่ง ดังได้กล่าวแล้วว่าความคิดของ เอียน สตีเวนสัน เรื่องการระลึกชาติ (reincarnation) ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีความขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์ (กายภาพ - ที่ในตอนนั้นเรียกว่าวิทยาศาสตร์เฉยๆ) และยังขัดกับศาสนาคริสต์อย่างรุนแรง ได้ทำให้สาธารณชนคนทั่วไปรวมทั้งผู้ที่ได้รับการศึกษาอย่างดีและนักวิชาการจำนวนไม่น้อยเปลี่ยนความเชื่อ เพราะว่าตั้งแต่เริ่มมีศาสนาคริสต์มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ห้า ศาสนาคริสต์ก็เชื่อในเรื่องการระลึกชาติมาตลอด (G. McGregor: Reincarnation and the Christianity, 1978; Christopher Bache: Life Cycles, 1994) จนกระทั่งโป๊ปวิสิลิอุส (โดยการเมืองบีบบังคับ) บอกให้เลิกเชื่อเพราะว่าไม่ใช่คริสต์ศาสนา คนในศาสนาคริสต์ที่เชื่อโป๊ปยิ่งกว่าใครๆ จึงมีข้อห้ามไม่ให้พูดถึงการระลึกชาติมาตั้งแต่นั้น ส่งผลให้ชาวคริสเตียนค่อยๆ ลืมเรื่องดังกล่าวไป

เพราะฉะนั้นเรื่องความรู้ของมนุษย์ เป็นเพราะวิทยาศาสตร์บวกกับความเชื่อทางศาสนาที่กลายเป็นความรู้ไป เพราะเชื่อมั่นอย่างเคยชินมาเป็นเวลาที่ยาวนานมาก สำหรับวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ คือวิทยาศาสตร์กายภาพที่มีชีววิทยาดาร์วินิซึ่ม หรือ นีโอ-ดาร์วินิซึ่ม เป็นหัวหอก ส่วนการรู้ (ซึ่งไม่ใช่การมีสติที่รู้ตัวของตัวเอง หรือ primary awareness) คือการแยกตัวเองเป็นครั้งแรกของ “รูปธรรม กับ นามธรรม” นั่นคือความเป็นสอง ระหว่างการรู้ของจิตไร้สำนึก กับการรู้ของจิตสำนึก หรือจิตรู้ หรือจิตใจหรือใจ เช่น การตื่นขึ้นมาจากการหลับลึก การฟื้นตื่นขึ้นมาจากการหมดสติอย่างลึกหรือประสบการณ์ใกล้ตายนั่นเอง ซึ่งการรู้ของจิตรู้ หรือของจิตสำนึก (cognition) คือการรู้เพียงอย่างเดียวที่นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา นักการศึกษา นักจิตวิทยา จิตแพทย์ ฯลฯ ส่วนใหญ่มากๆ คิดว่าการรู้มีเพียง “หนึ่ง” เดียวเท่านั้น (Ken Wilber: Cognitive Development)

แต่ผู้เขียนเห็นด้วยกับ คาร์ล ซี. จุง ที่พูดว่าการรู้มีสองอย่าง คือการรู้ของจิตจักรวาลซึ่งเป็นจิตไร้สำนึก กับการรู้ของจิตสำนึกที่ได้กล่าวมาแล้ว ผู้เขียนยังคิดต่อไปว่า การรู้ของจิตไร้สำนึก หรือการรู้ของจิตจักรวาลเป็นการรู้ที่สำคัญกว่า กว้างกว่า ลึกซึ้งกว่า และนั่นคือความจริงที่แท้ซึ่งเราอาจพบการรู้แบบนี้ได้ในเวลาที่เราหลับลึกจริงๆ อันเป็นช่วงสั้นๆ ของการหลับลึก หรือการหมดสติอย่างลึกจริงๆ ก่อนที่จะตายไปจริง (หากว่าช่วยไม่ทัน) เช่น ระหว่างมีการตายทางคลินิกในผู้ที่มีประสบการณ์ใกล้ตาย (clinically dead in NDEs) เพียงร้อยละ ๗ – ๑๘ ของผู้รอดชีวิตที่ได้รับการสัมภาษณ์ทั้งหมด สองหรือสามวันหลังจากการช่วยชีวิตไว้ - จากรายงานของแพทย์ทางหัวใจที่อเมริกาคนหนึ่ง (Michael Sabom ที่มี ๑๖๐ ราย) กับแพทย์ที่เนเธอร์แลนด์อีกคนหนึ่ง (Pim van Lommel ที่มี ๓๔๔ ราย) - ซึ่งแสดงว่าคนที่มีประสบการณ์ใกล้ตาย “อาจจะ” ได้สภาวะจิตวิญญาณหรือขึ้นสวรรค์ก็ได้

การรู้ที่ คาร์ล ซี. จุง กับผู้เขียนแบ่งเป็นสอง คือ การรู้ของจิตไร้สำนึก และการรู้ของจิตสำนึกหรือจิตรู้ ก่อนจะมีการแยกออกเป็นสองนั้น จริงๆ แล้วเราไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร? เพราะสิ่งที่เราและสัตว์มองเห็นเป็นเพียง “มายา” ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เราอยู่รอดในโลกและจักรวาล (สามมิติบวกหนึ่ง) นั่นคือ ความจริงแท้ที่อาจเหมือนความจริงที่จิตไร้สำนึกเห็น เพราะจิตไร้สำนึกหรือจิตจักรวาลโยงใยติดต่อกันเป็นหนึ่งเดียว คนที่นอนหลับลึกแล้วฝันไป หรือคนที่มีประสบการณ์ใกล้ตาย หรือคนที่ตายไปแล้วใหม่ๆ จิตไร้สำนึกจะทำหน้าที่เป็นจิตสำนึก คนที่อยู่ในสภาวะเหล่านี้ รวมทั้งคนที่ตายไปแล้วจึงอาจเห็นจิตคนอื่น รู้ว่ามีอะไร ที่ไหนและอย่างไรทั่วทั้งจักรวาล เพราะว่ามีการโยงใยติดต่อกันเป็นหนึ่งเดียวของจิตไร้สำนึกของจักรวาล ดังหนังสือที่ ดีน ราดิน เขียนมา (Dean Radin : Entangled Mind, 2007)

จริงๆ แล้ว เราไม่รู้ว่าจิตไร้สำนึกของจักรวาล (หรือพระเจ้า) มีลักษณะเช่นไร? อาจจะเหมือนกับสภาพของควอนตัม สตัฟฟ์ (quiff) ที่นักควอนตัมฟิสิกส์ว่าไว้ก็ได้ หรือจะเป็นเช่นเดียวที่พระพุทธเจ้า และ ศรี อรพินโธ อธิบายไว้ก็ได้ คือเป็นเหมือนแสงชนิดหนึ่งที่กระจ่างใส และไม่มีที่มา (ไม่ใช่ดาว เดือน หรืออาทิตย์) ที่ลัทธิพระเวทเรียกว่า เสาวภาวิขะกายา

ท่านที่อ่านบทความนี้จบคงพอจะรู้แล้วว่า ผู้เขียนมีความเห็นอย่างไร? ในเรื่องของความรู้ (knowledge) และการรู้ (cognition) ของมนุษย์ที่เรามีอยู่ทั้งหมด และการรู้ของเรานั้นพุทธศาสนาบอกว่าจะเกี่ยวข้องกับจิตไร้สำนึกหรือจิตจักรวาล – ในฐานะที่มันคือสาเหตุ - เพียงอย่างเดียวไม่ว่าจะเป็นจิตร่วมโดยรวมหรือจิตของมนุษย์แต่ละคนและทุกคนเป็นปัจเจก จิตไร้สำนึกจักรวาลที่มาจากจิตปฐมภูมิ (primordial unconsciousness) ซึ่งมีมาก่อนจักรวาล ก่อนบิ๊กแบง และแยกจากพลังงานปฐมภูมิ (primordial energy) ไม่ได้และไม่มีทางได้ และที่ถูกเรียกว่าจิตจักรวาลเพราะซึมแทรกอยู่ในทุกที่ว่างของจักรวาล จิตไร้สำนึกของจักรวาลนี่เองที่เข้ามาอยู่ในสมองของทุกๆ คน – โดยเป็นชั้นๆ เช่นหัวหอมหรือไข่มุก – และชั้นนอกเท่านั้นที่ถูกบริหารเป็นจิตสำนึกใหม่ๆ ตลอดเวลา ส่วนชั้นในสุดๆ ก็คือจิตหนึ่ง หรือนิพพานหรือพระเจ้าในศาสนาที่มีพระเจ้า

ในตอนท้ายนี้ ผู้เขียนใคร่ขอบอกความจริงที่สุด และใคร่ขอเตือนมนุษย์ทุกๆ คนว่า ทุกๆ ศาสนาสอนแต่สัจธรรมความจริงของธรรมชาติทั้งนั้น พุทธศาสนาในมุมมองของผู้เขียนมีความสอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับควอนตัมฟิสิกส์ กับจักรวาลวิทยาใหม่ที่เพิ่งมีไม่เกินเจ็ดปี จงอย่ากลัวตายเพราะเรา “ต้อง” เกิดใหม่เสมอในสังสารวัฏ ถ้ายังไม่รู้แจ้งซึ่งพิสูจน์ได้ ขอบอกว่า จงทำดี มีคุณธรรมไว้เสมอ และจงเชื่อมั่นในกฎแห่งกรรม!

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 at ที่ 12:00 by knoom     
ป้ายกำกับ: บทความมติชน, ประสาน ต่างใจ | 0 ความคิดเห็น


http://jitwiwat.blogspot.com/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: ขอบคุณครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~