ผู้เขียน หัวข้อ: มธุรัตถวิลาสินี  (อ่าน 19769 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:42:48 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวาหํ ตัดบทว่า เอวํ อหํ ความว่า
เราคิดโดยประการที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง. บทว่า นาถานาถามํ ความว่า

เราให้แก่คนที่มีที่พึ่งและคนที่ไม่มีที่พึ่ง คือทั้งคนมั่งมี ทั้งคนยากจน พร้อม

ทั้งซุ้มประตูและเรือน ด้วยกล่าวว่า ผู้ต้องการก็จงรับเอา. บทว่า หิมวนฺตสฺสา-

วิทูเร ได้แก่ ในที่ไม่ไกล คือใกล้ขุนเขาหิมวันต์. บทว่า ธมฺมิโก นาม

ปพฺพโต ได้แก่ ภูเขามีชื่ออย่างนี้. ถามว่า เพราะเหตุไร ภูเขาลูกนี้จึงมีชื่อว่า

ธัมมิกะ. ตอบว่า ก็พระโพธิสัตว์ทั้งหลายโดยมาก บวชเป็นฤาษี เข้าอาศัย

ภูเขาลูกนั้นทำอภิญญาให้เกิดแล้วทำสมณธรรม เพราะฉะนั้นภูเขาลูกนั้นจึงได้

ปรากฏชื่อว่า ธัมมิกะ เพราะเป็นที่อาศัยแห่งบุคคลผู้มีสมณธรรม. ด้วยคำว่า

อสฺสโม สุกโต มยฺหํ เป็นต้น ตรัสไว้เหมือนว่าสุเมธบัณฑิต สร้างอาศรม

บรรณศาลาที่จงกรมด้วยฝีมือตนเอง แต่แท้จริง หาได้สร้างด้วยฝีมือตนเองไม่

ท้าวสักกเทวราชทรงส่งวิสสุกรรมเทพบุตรไปสร้าง มิใช่หรือ. แต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงหมายถึงผลสำเร็จนั้น ซึ่งเกิดด้วยบุญญานุภาพของพระองค์ในครั้งนั้น

จึงตรัสเป็นต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร ณ ภูเขานั้น

เราทำอาศรม สร้างบรรณศาลา สร้างที่จงกรม
อันเว้นโทษ ๕ ประการ ไว้ ณ ที่นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺณสาลา ได้แก่ ศาลามุงบังด้วย
ใบไม้. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ อาศรมบทนั้น. บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ

ได้แก่ เว้นห่างไกลจากโทษแห่งที่จงกรม ๕ ประการ. ชื่อว่า โทษแห่งที่จงกรม

๕ ประการ อะไรบ้าง อันเว้นจากโทษ ๕ ประการเหล่านี้ คือ เป็นที่แข็ง

ขรุขระ ๑ อยู่ในต้นไม้ ๑ มีที่รกกำบัง ๑ แคบเกินไป ๑ กว้างเกินไป ๑

ด้วยการกำหนดอย่างสูง ท่านกล่าวว่า ที่จงกรมยาว ๖๐ ศอก กว้างศอกครึ่ง.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ ได้แก่เว้นห่างไกลจากโทษ
คือนิวรณ์ ๕ ประการ พึงเห็นว่า เชื่อมความกับบทหลังนี้ว่า อภิญฺญาพลมา-

หริ ดังนี้. บทว่า อฏฺฐคุณสมุเปตํ ความว่า ชักนำกำลังเเห่งอภิญญา

อันประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ คือ เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างนี้ หมดจด สะอาด

ไม่มีมลทิน ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่งาน มั่นคง ไม่หวั่นไหว.

แต่อาจารย์บางพวก กล่าวเชื่อมความกับอาศรมว่า เราสร้างอาศรม
อันประกอบด้วยสมณสุข ๘ ประการ คือ ประกอบพรักพร้อมด้วยสมณสุข ๘

ประการเหล่านี้ คือ ชื่อว่าสมณสุข ๘ ประการเหล่านี้คือ ไม่หวงทรัพย์และ

ข้าวเปลือก แสวงแต่บิณฑบาตที่ไม่มีโทษ บริโภคแต่ก้อนข้าวเย็นแล้ว ไม่มี

กิเลสเครื่องเบียดเบียนรัฐในเมื่อพวกราชบุรุษเอาแต่เบียดเบียนรัฐ ถือเอาทรัพย์

และข้าวเปลือกเป็นต้น ปราศจากฉันทราคะในเครื่องอุปกรณ์ทั้งหลาย ไม่มีภัย

เพราะการปล้นของโจร ไม่คลุกคลีกับพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา

ไม่ถูกกระทบกระทั่งใน ๔ ทิศ คำนั้นไม่สมกับบาลี.

บทว่า สาฏกํ แปลว่า ผ้า. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในอาศรมนั้น. ด้วย
บทว่า นวโทสมุปาคตํ ทรงแสดงว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเมื่ออยู่ในที่นั้น

ก็เสียสละผ้าที่มีค่ามากที่ตนนุ่งห่มเสีย ก็เมื่อจะละผ้า ได้เห็นโทษ ๙ ประการ

ในผ้านั้นจึงละเสีย. ความจริงประกาศโทษ ๙ ประการในผ้า แก่ผู้บวชเป็น

ดาบสทั้งหลาย. โทษ ๙ ประการคืออะไร ทรงแสดงว่า เราละผ้าที่ประกอบ

ด้วยโทษ ๙ ประการเหล่านี้คือ ผ้าเป็นของมีค่า ชีวิตนักบวชอยู่ได้ด้วยผู้อื่น

ผ้าหมองไปทีละน้อยด้วยการใช้ ผ้าที่หมองแล้วจำต้องซักต้องย้อม ผ้าเก่า

ไปด้วยการใช้ ผ้าที่เก่าแล้วจำต้องทำการชุน ทำการปะ ผ้าเกิดได้ยากในการ

แสวงหาใหม่ ไม่เหมาะแก่การบวชเป็นดาบส เป็นของสาธารณะทั่วไปแก่พวก

โจร ต้องคุ้มครองโดยที่พวกโจรลักไปไม่ได้ เป็นฐานการแต่งตัวของผู้นุ่งห่ม

ผู้ที่พาเที่ยวไปกลายเป็นคนมักมาก แล้วจึงนุ่งผ้าเปลือกไม้. บทว่า วากจีรํ

ความว่า เราถือเอาผ้าที่สำเร็จด้วยเปลือกไม้ ซึ่งกรองด้วยหญ้ามุงกระต่ายเป็นเส้น ๆ

ทำแล้ว เพื่อใช้นุ่งห่ม. บทว่า ทฺวาทสคุณมุปาคตํ ได้แก่ ประกอบด้วย

อานิสงส์ ๑๒ ประการ. ในบทนี้ คุณ ศัพท์มีอรรถว่า อานิสงส์ เหมือนใน

ประโยคเป็นต้นว่า สตคุณา ทกฺขิณา ปาฏิกงฺขิตพฺพา พึงหวังได้ทักษิ-

ณามีอานิสงส์ร้อยหนึ่ง. ม อักษรทำการต่อบท ถึงพร้อมด้วยคุณ ๑๒ ประการ

เหล่านี้ คือ ผ้าเปลือกไม้มีอานิสงส์ ๑๒ ประการคือ มีค่าน้อย ๑ ไม่เนื่อง

ด้วยผู้อื่น ๑ อาจทำได้ด้วยมือตนเอง ๑ แม้เมื่อเก่าเพราะการใช้ก็ไม่ต้องเย็บ ๑

ไม่มีโจรภัย ๑ ผู้แสวงหาก็ทำได้ง่าย ๑ เหมาะแก่การบวชเป็นดาบส ๑ ไม่

เป็นฐานการแต่งตัวของผู้ใช้ ๑ มีความมักน้อยในปัจจัยคือจีวร ๑ ใช้สะดวก ๑

เปลือกไม้ที่เกิดก็หาได้ง่าย ๑ แม้เมื่อผ้าเปลือกไม้สูญหายก็ไม่เสียดาย ๑.

ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิต อยู่ ณ บรรณศาลาอาศรมนั้น ตอนใกล้รุ่ง
ก็ลุกขึ้นพิจารณาถึงเหตุออกบวชของตน คิดอย่างนี้ว่า เราละบ้านเรือนซึ่งมี

อาการประหนึ่งที่อยู่อันประเสริฐของเทพยดา อันงดงามด้วยสมบัติอันโอฬาร

น่ารื่นรมย์ของคฤหัสถ์ชนด้วยการสัมผัสกำไลมือกำไลเท้าทองใหม่เป็นต้นระคน

ด้วยเสียงและการหัวเราะการพูดที่ไพเราะเหมือนละก้อนเขฬะ เข้าไปยังป่าตโป-

วัน บำเพ็ญตบะเครื่องลอยบาปของชนทั้งปวง เพราะเป็นผู้เพลินด้วยวิเวก

แต่การอยู่ที่บรรณศาลา ณ อาศรมนี้ของเรา ก็เป็นเหมือนการครองเรือนครั้ง

ที่สอง เอาเถิด เราจะอยู่เสียที่โคนไม้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เราละบรรณศาลา อันเกลื่อนด้วยโทษ ๘ ประ-
การ.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #41 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:43:57 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐโทสสมากิณฺณํ ความว่า เกลื่อน
คือประกอบพร้อมด้วยโทษ ๘ ประการ. โทษ ๘ ประการอะไรบ้าง. พระมหา

สัตว์เห็นโทษ ๘ เหล่านี้คือ การที่สร้างให้สำเร็จจำต้องใช้เครื่องสัมภาระมาก ๑

จำต้องบำรุงอยู่เป็นนิตย์ด้วยหญ้าใบไม้และดินเหนียวเป็นต้น ๑ จำต้องออกไป

โดยเข้าใจว่า ไม่มีเอกัคคตาจิตสำหรับผู้จำต้องออกไปในเวลาไม่สมควร ด้วย

คิดว่า ขึ้นชื่อว่าเสนาสนะ จักทรุดโทรมไป ๑ ต้องทนุถนอมกาย เพราะกระ-

ทบเย็นร้อน ๑ ต้องปกปิดคำครหาที่ว่า ผู้เข้าไปบ้านเรือนอาจทำชั่วอย่างใดอย่าง

หนึ่งได้ ๑ ต้องหวงแหนว่านี้ของเรา ๑ ต้องนึกอยู่เสมอว่า นี้บ้านเรือน มีอยู่

อย่างผู้มีเพื่อน ๑ ต้องเป็นของทั่วไปเป็นอันมาก เพราะต้องทั่วไปแก่สัตว์ทั้ง

หลายมีเล็น เลือด จิ้งจกเป็นต้น ๑ ดังนี้แล้วจึงละบรรณศาลาเสีย.

บทว่า คุเณหิ ทสหุปาคตํ ความว่า เราปฏิเสธที่กำบัง เข้าไปยัง
โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ คุณ ๑๐ ประการอะไรบ้าง. ตรัสว่า

เราเห็นคุณ ๑๐ เหล่านี้ คือ มีความริเริ่มขวนขวายน้อย ๑ ได้ความไม่มีโทษ

โดยง่ายว่าเพียงเข้าไปโคนไม้นั้นเท่านั้น ๑ ทำอนิจจสัญญาให้ตั้งขั้นด้วยการเห็น

ความแปรปรวนของต้นไม้และใบไม้ ๑ ไม่ตระหนี่เสนาสนะ ๑ เมื่อจะทำ

ชั่ว ณ โคนไม้นั้นย่อมละอาย เพราะฉะนั้น จึงไม่มีที่ลับทำชั่ว ๑ ไม่ทำความ

หวงแหน ๑ อยู่กับเทวดาทั้งหลาย ๑ ปฏิเสธที่กำบัง ๑ ใช้สอยสะดวก ๑ ไม่

ห่วงใยเพราะเสนาสนะคือโคนไม้ หาได้ง่าย ในทุกสถานที่ไป ๑ แล้วจึงเข้า

ไปยังโคนไม้ และตรัสว่า

โคนไม้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสรรเสริญแล้ว
และตรัสว่า เป็นนิสสัย ที่อาศัย ที่อยู่ของผู้สงัด เสมอ
ด้วยโคนไม้ จะมีแต่ไหน.
แท้จริง ผู้อยู่โคนไม้อันสงัด อันกำจัดความ
ตระหนี่ที่อยู่ อันเทวดารักษาแล้ว ชื่อว่าผู้มีวัตรดี.
ผู้เห็นต้นไม้และใบไม้ ที่มีสีแดง เขียว เหลือง
อันหล่นแล้ว ย่อมบรรเทานิจจสัญญาเข้าใจว่าเที่ยงเสีย
ได้.
เพราะฉะนั้นแล ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ไม่
ควรดูหมิ่นโคนไม้อันสงัด ที่เป็นทรัพย์มรดกของ
พระพุทธเจ้า เป็นที่อยู่ของผู้ยินดียิ่งในภาวนา.
ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิต เป็นผู้เห็นโทษของบรรณศาลา ได้อานิสงส์
ในเสนาสนะคือโคนไม้อยู่ จึงคิดยิ่งขึ้นไปว่า การที่เราเข้าไปยังหมู่บ้านเพื่อ

แสวงหาอาหาร เป็นทุกข์ในการแสวงหาอาหาร เรามิใช่เพราะสิ้นไร้อย่างไรจึง

ออกบวชด้วยความต้องการเพื่ออาหาร แต่ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลไม่มี

ประมาณ ถ้ากระไรเราจะยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

แต่เมื่อจะทรงแสดงความที่วิเศษของประโยชน์นี้จึงตรัสคาถาเป็นต้นว่า

เราสละธัญชาติที่หว่านแล้ว ที่ปลูกแล้วโดยไม่
เหลือเลย บริโภคแต่ผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติอัน
พรั่งพร้อมด้วยคุณเป็นอันมาก.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #42 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:44:55 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาปิตํ ได้แก่ ที่หว่านเสร็จแล้ว. บทว่า
โรปิตํ ได้แก่ ที่ปลูกเสร็จแล้ว ข้าวกล้าจะสำเร็จผล มี ๒ วิธี คือ ด้วยการหว่าน

และการปลูก. เราก็ละเสียทั้ง ๒ วิธี ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยผลไม้ที่มีอยู่ตาม

ธรรมชาติ เพราะตัวเรามักน้อย. บทว่า ปวตฺตผลํ ได้แก่ ผลไม้ที่หล่นเอง.

บทว่า อาทิยึ ได้แก่ บริโภค.

บุคคลผู้สันโดษด้วยผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
เลี้ยงชีพไม่เนื่องด้วยผู้อื่น ละความละโมบในอาหารเสีย
ย่อมเป็นมุนีใน ๔ ทิศ.
มุนีย่อมละความอยากในรส การเลี้ยงชีพของ
ท่านจึงบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นแล จึงไม่ควรดูหมิ่นการ
บริโภคผลที่ไม้มีอยู่ตามธรรมชาติ.
สุเมธบัณฑิต เมื่อประพฤติอยู่อย่างนี้ ไม่นานนักก็บรรลุสมาบัติ ๘
และอภิญญา ๕ ภายใน ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศความข้อ

นี้ จึงตรัสว่า ตตฺถปฺปธานํ ปทหึ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

ตตฺถ ได้แก่ ในอาศรมนั้น. บทว่า ปธานํ ได้แก่ความเพียร. จริงอยู่ความ

เพียรท่านเรียกว่า ปธานะ เพราะเป็นคุณควรตั้งไว้ หรือเพราะทำภาวะคือการ

ตั้งไว้. บทว่า ปทหึ ได้แก่ เริ่มความเพียร บทว่า นิสชฺชฏฺฐานจงฺกเม

แปลว่า ด้วยการนั่ง การยืน และการเดิน.

แต่สุเมธบัณฑิต ปฏิเสธการนอน ยังคืนและวันให้ล่วงไปด้วยการนั่ง
ยืนและเดินเท่านั้น จึงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาได้ภายใน ๗ วันเท่านั้น. ก็แล

เมื่อสุเมธดาบสครั้นบรรลุกำลังแห่งอภิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ยับยั้งอยู่ด้วยสุขใน

สมาบัติ. ครั้งนั้น พระศาสดาพระนามว่าทีปังกรผู้ทรงทำการสงเคราะห์ชนทั้ง

ปวงผู้ทรงทำภัยแก่พลแห่งมาร ทรงทำประทีปคือพระญาณเสด็จอุบัติในโลก.

เมื่อว่าโดยสังเขปเท่านั้น การกล่าวลำดับเรื่องพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มีดังนี้ ได้ยินว่า พระมหาสัตว์พระนามว่าทีปังกรพระองค์นี้ ทรงบำเพ็ญ

พระบารมี ๓๐ ทัศ ทรงดำรงอยู่ ในอัตภาพเสมือนอัตภาพของพระเวสสันดร

ทรงให้มหาทาน เป็นเหตุให้แผ่นดินไหวเป็นต้น เมื่อสุดสิ้นพระชนมายุ ก็บัง-

เกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงดำรงอยู่ ณ ที่นั้น จนตลอดพระชนมายุ เมื่อเทวดา

ในหมื่นจักวาลประชุมกันทูลว่า

กาโลยํ๑ เต มหาวีร อุปฺปชฺช มาตุกุจฺฉิยํ
สเทวกํ ตารยนฺโต พุชฺฌสฺสุ อมตํ ปทํ.
ข้าแต่พระมหาวีระ นี้เป็นกาลอันสมควรสำหรับ
พระองค์ โปรดเสด็จอุบัติในครรภ์พระมารดาเถิด
พระองค์เมื่อทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆ-
สงสาร ก็โปรดตรัสรู้อมตบทเถิด.
ดังนี้แล้ว แต่นั้น ทรงสดับคำของเทวดาทั้งหลายแล้วทรงพิจารณามหาวิโลก-

นะ ๕ ทรงจุติจากดุสิตสวรรค์นั้นแล้วทรงถือปฏิสนธิ โดยดาวนักษัตรในเดือน

อาสาฬหะหลัง เพ็ญเดือนอาสาฬหะ ในพระครรภ์ของ พระนางสุเมธาเทวี

ในสกุลของพระราชาพระนามว่า สุเทวะ ผู้เป็นเทพแห่งนรชน ดังท้าววาสุเทพ

ผู้พิชิตด้วยความเจริญแห่งพระยศของพระองค์ ณ กรุงรัมมวดี มีราชบริพาร

หมู่ใหญ่คอยบริหาร ไม่ทรงแปดเปื้อนด้วยของไม่สะอาดไรๆ ในพระครรภ์

ของพระมหาเทวี เหมือนก้อนแก้วมณี อยู่ตลอดทศมาส ก็ประสูติจากพระ

ครรภ์ของพระนาง เหมือนดวงจันทร์ในฤดูสารทโคจรไปในหลืบเมฆ.

บุพนิมิต ๓๒
ก็บุพนิมิต ๓๒ ประการ ปรากฏเป็นปาฏิหาริย์ของพระทีปังกรราชกุมาร
พระองค์นั้น ทั้งขณะปฏิสนธิ ทั้งขณะประสูติ ปาฏิหาริย์ ๓๒ ประการ เป็น

ไปในฐานะ เหล่านี้คือ เมื่อพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทุกพระองค์ เสด็จสู่

๑. ในที่บางแห่งเป็นกาโล โข

พระครรภ์ของพระมารดา ๑ ประสูติ ๑ ตรัสรู้ ๑ ประกาศพระธรรมจักร ๑

เพราะฉะนั้น เราจึงแสดงบุพนิมิต ๓๒ ในการประสูติของพระทีปังกรราชกุมาร

เพราะเป็นของปรากฏแล้ว ดังนี้ว่า

เมื่อพระทีปังกรราชกุมาร ผู้ทำความงาม ผู้ทำ
ความเจริญ ผู้ทำความสงบ ประสูติแล้ว ในครั้งนั้น
หมื่นโลกธาตุก็สะเทือนสะท้านหวั่นไหวโดยรอบ.
ครั้งนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาล ก็พากันประชุม
ในจักรวาลหนึ่ง.
พอพระมหาสัตว์ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ประสูติ
เทวดาทั้งหลายก็รับก่อน ภายหลัง พวกมนุษย์จึงรับ
พระองค์.
ขณะนั้น กลองหุ้มหนังและกลองทั้งหลาย ช่อง
พิณและพิณทั้งหลาย อันใครๆ มิได้ประโคม เครื่อง
อาภรณ์ทั้งหลายที่ใครๆ มิได้แตะต้อง ก็ส่งเสียงร้อง
อย่างไพเราะไปรอบ ๆ.
เครื่องพันธนาการทั้งหลายทุกแห่ง ก็ขาดหลุด
ไป โรคภัยทั้งปวงก็หายไปเอง คนตาบอดแต่กำเนิด
ก็มองเห็นรูปทั้งหลาย คนหูหนวกก็ได้ยินเสียงรอบตัว.
คนใบ้แต่กำเนิด ก็ได้สติระลึกได้ คนขาพิการ
ก็ใช้เท้าเดินได้ เรือก็เดินไปต่างประเทศแล้วกลับท่า
เรือสุปัฏฏนะได้อย่างรวดเร็ว.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:46:03 pm »
รัตนะทุกอย่าง ทั้งที่อยู่ในอากาศ ทั้งที่อยู่ภาค
พื้นดิน ก็เรืองแสงได้เองไปรอบ ๆ ไฟในนรกอันร้าย
กาจก็ดับ แม้น้ำในแม่น้ำทั้งหลายก็ไม่ไหล.
แสงสว่างอันโอฬารไพบูลย์ ก็ได้มีในโลกันตริก-
นรก แม้มีทุกข์ไม่ว่างเว้น ครั้งนั้น มหาสมุทรนี้ก็มี
เกลียวคลื่นละลอกสงบ ทั้งน้ำก็มีรสจืดอร่อยด้วย.
ลมที่พัดแรงหรือร้ายกาจ ก็ไม่พัด ต้นไม้ทั้งหลาย
ก็ออกดอกบานสะพรั่ง ดวงจันทร์พร้อมทั้งดวงดาว
ก็จรัสแสงยิ่ง แม้แต่ดวงอาทิตย์ก็ไม่ร้อนแรง.
ฝูงนก ก็ร่าเริงลงจากฟากฟ้าและต้นไม้ มาอยู่
พื้นดินเบื้องล่าง เมฆฝนที่อยู่ใน ๔ มหาทวีป ก็หลั่ง
น้ำฝนรสอร่อยไปโดยรอบ.
เทวดาทั้งหลายอยู่ในภพทิพย์ของตน มีจิตเลื่อม
ใส ก็พากันฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม โห่ร้อง สรวลเส
กันอึงมี.
เขาว่า ในขณะนั้น ประตูเล็กบานประตูใหญ่ก็
เปิดได้เอง เขาว่า ความอดอยากหิวระหาย มิได้บีบคั้น
มหาชน ไม่ว่าโลกไรๆ.
ส่วนหมู่สัตว์ที่เป็นเวรกันเป็นนิตย์ ก็ได้เมตตาจิต
เป็นอย่างยิ่ง ฝูงกาก็เที่ยวไปกับฝูงนกเค้าแมว ฝูง
หมาป่าก็ยิ้มแย้มกับฝูงหมู.
งูมีพิษ ทั้งงูไม่มีพิษ ก็เล่นหัวกับพังพอนทั้งหลาย
ฝูงหนูบ้าน มีใจคุ้นกันสนิทก็จับกลุ่มกันใกล้กับหัวของ
แมว.
ความระหายน้ำ ในโลกของปีศาจ ที่ไม่ได้น้ำมา
เป็นพุทธันดร ก็หายไป คนค่อมก็มีกายงามสมส่วน
คนใบ้ก็พูดได้ไพเราะ.
ส่วนหมู่สัตว์ ที่มีจิตเลื่อมใส ก็กล่าวปิยวาจาแก่
กันและกัน ฝูงม้าที่มีใจร่าเริงก็ลำพองร้อง แม้ฝูงช้าง
ใหญ่เมามันก็ส่งเสียงโกญจนาท.
รอบๆ หมื่นโลกธาตุ ก็เกลื่อนกลาดด้วยจุรณ-
จันทน์หอมกรุ่น อบอวลหวลหอมด้วยกลิ่นดอกไม้
หญ้าฝรั่นและธูป มีมาลัยเป็นธงใหญ่งามต่างๆ.
ก็ในบุพนิมิต ๓๒ นั้น
๑. ความไหวแห่งหมื่นโลกธาตุ เป็น บุพนิมิต แห่งการได้พระสัพ-
พัญญุตญาณ ของพระองค์

๒. การประชุมเทวดาทั้งหลายในจักรวาลเดียว เป็น บุพนิมิต แห่ง
การประชุมพร้อมเพรียงกันรับธรรม ในกาลที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมจักร

๓. การรับของเทวดาทั้งหลายก่อน เป็น บุพนิมิต แห่งการได้
รูปาวจรฌาน ๔

๔. การรับของมนุษย์ทั้งหลายภายหลัง เป็น บุพนิมิต แห่งการได้
อรูปวจรฌาน ๔

๕. การประโคมของกลองหุ้มหนังและกลองทั้งหลายได้เอง เป็นบุพ-
นิมิต แห่งการยังมหาชนให้ได้ยินเสียงกลองธรรมขนาดใหญ่

๖. การบรรเลงเสียงเพลงได้เองของพิณและอาภรณ์เครื่องประดับเป็น
บุพนิมิต แห่งการได้อนุบุพวิหารสมาบัติ.

๗. การที่เครื่องพันธนาการขาดหลุดได้เอง เป็น บุพนิมิต แห่ง
การตัดอัสมิมานะ

๘. การปราศจากโรคทุกอย่างของมหาชนเป็น บุพนิมิต แห่งการได้
ผลแห่งสัจจะ ๔

๙. การเห็นรูปของคนตาบอดแต่กำเนิด เป็น บุพนิมิต แห่งการได้
ทิพยจักษุ

๑๐. การได้ยินเสียงของคนหูหนวก เป็น บุพนิมิต แห่งการได้ทิพ-
โสตธาตุ

๑๑. การเกิดอนุสสติของคนใบ้แต่กำเนิด เป็น บุพนิมิต แห่งการ
ได้สติปัฏฐาน ๔

๑๒. การเดินไปได้ด้วยเทาของคนขาพิการ เป็น บุพนิมิต แห่งการ
ได้อิทธิบาท ๔

๑๓. การกลับมาสู่ท่าเรือสุปัฏฏนะได้เองของเรือที่ไปต่างประเทศ เป็น
บุพนิมิต แห่งการบรรลุปฏิสัมภิทา ๔

๑๔. การรุ่งโรจน์ได้เองของรัตนะทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่งการ
ได้แสงสว่างในธรรม

๑๕. การดับของไฟในนรก เป็น บุพนิมิต แห่งการดับไฟ ๑๑ กอง
๑๖. การไม่ไหลแห่งน้ำในแม่น้ำทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่งการ
ได้จตุเวสารัชญาณ

๑๗. แสงสว่างในโลกันตริกนรก เป็น บุพนิมิต แห่งการกำจัด
ความมืดคืออวิชชา แล้วเห็นแสงสว่างด้วยญาณ

๑๘. ความที่มหาสมุทรมีน้ำอร่อย เป็น บุพนิมิต แห่งความที่ธรรม
วินัยมีรสเดียว คือรสพระนิพพาน

๑๙. ความไม่พัดแห่งลม เป็น บุพนิมิต แห่งการทำลายทิฏฐิ ๖๒
๒๐. ความที่ต้นไม้ทั้งหลายออกดอกบาน เป็น บุพนิมิต แห่งความ
ที่ธรรมวินัยออกดอกบาน โดยดอกคือวิมุตติ

๒๑. ความจรัสแสงยิ่งของดวงจันทร์ เป็น บุพนิมิต แห่งความที่
พระองค์เป็นที่รักใคร่ของคนเป็นอันมาก

๒๒. ความที่ดวงอาทิตย์สุกใสแต่ไม่ร้อนแรง เป็น บุพนิมิต แห่ง
ความเกิดขึ้นแห่งความสุขกายสุขใจ

๒๓. การโผบินจากท้องฟ้าเป็นต้นสู่แผ่นดินของฝูงนก เป็น บุพนิมิต
แห่งการฟังพระโอวาทแล้วถึงสรณะด้วยชีวิตของมหาชน

๒๔. การตกลงมาแห่งเมฆฝน ที่เป็นไปในทวีปทั้ง ๔ ห่าใหญ่ เป็น
บุพนิมิต แห่งฝนคือธรรมขนาดใหญ่

๒๕. การอยู่ในภพของตนๆ ระเริงเล่นด้วยการฟ้อนรำเป็นต้นของ
เทวดาทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่งการทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว

ทรงเปล่งพระอุทาน


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #44 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:47:34 pm »
ได้ยินว่า ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิต ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในสมาบัติ ไม่
เห็นนิมิตเหล่านั้น ไม่เห็นนิมิตแห่งการไหวของแผ่นดิน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เมื่อเราประสบความสำเร็จ เป็นผู้ชำนาญใน
ศาสนาอย่างนี้ พระชินเจ้าผู้นำโลก พระนามว่าทีปังกร
ก็เสด็จอุบัติ.
เรามัวเอิบอิ่มด้วยความยินดีในฌานเสีย จึงไม่
ได้เห็นนิมิต ๔ ในการเสด็จอุบัติ การประสูติ การ
ตรัสรู้ การแสดงธรรม.
แก้อรรถ
ทรงแสดงคำที่พึงตรัส ณ บัดนี้ ด้วยบทว่า เอวํ ในคาถานั้น. บทว่า
เม แปลว่า เมื่อเรา. บทว่า สิทฺธิปฺปตฺตสฺส ได้แก่ ถึงความสำเร็จอภิญญา

๕. บทว่า วสีภูตสฺส ได้แก่ เป็นผู้ชำนาญแล้ว อธิบายว่า ถึงความเป็นผู้

เชี่ยวชาญ. บทว่า สาสเน ได้แก่ ในศาสนาของดาบสผู้อาศัยความสงัด. ฉัฏฐี

วิภัตติพึงเห็นว่าใช้ในลักษณะอนาทระ. บทว่า ชิโน ได้แก่ ชื่อว่าชินะเพราะ

ชนะข้าศึกคือกิเลส.

บทว่า อุปฺปชฺชนฺเต ได้แก่ ในการถือปฏิสนธิ. บทว่า ชายนฺเต
ได้แก่ ในการประสูติจากพระครรภ์พระมารดา. บทว่า พุชฺฌนฺเต ได้แก่ ใน

การตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. บทว่า ธมฺมเทสเน ได้แก่ ในการ

ประกาศพระธรรมจักร. บทว่า จตุโร นิมิตฺเต ได้แก่ นิมิต ๔. อธิบายว่า

นิมิตมีหมื่นโลกธาตุไหวเป็นต้น ในฐานะ ๔ คือ ถือปฏิสนธิ ประสูติ ตรัสรู้

และประกาศพระธรรมจักร ผู้ทักท้วงในข้อนี้กล่าวว่า นิมิตเหล่านั้นมีมาก

เหตุไรจึงตรัสว่านิมิต ๔ ไม่สมควรมิใช่หรือ. ตอบว่า ไม่สมควร หากว่า

นิมิตเหล่านั้นมีมาก แต่ตรัสว่า นิมิต ๔ เพราะเป็นไปในฐานะ ๔. บทว่า

นาทฺทสํ ได้แก่ นาทฺทสึ แปลว่าไม่ได้เห็นแล้ว. บัดนี้เมื่อทรงแสดงเหตุ

ในการไม่เห็นนิมิต ๔ นั้น จึงตรัสว่า มัวเอิบอิ่มด้วยความยินดีในฌาน ดังนี้.

คำว่า ฌานรติ นี้ เป็นชื่อของสุขในสมาบัติ อธิบายว่า ไม่ได้เห็นนิมิต

เหล่านั้น เพราะเพียบพร้อมอยู่ด้วยความยินดีในฌาน.

ก็สมัยนั้น พระทีปังกรทศพล อันพระขีณาสพสี่แสนรูปแวดล้อม
แล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับ ก็ลุนครชื่อ รัมมะ ที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ประ-

ทับอยู่ ณ พระสุทัสสนมหาวิหาร ชาวรัมมนครฟังข่าวว่า ได้ยินว่า พระ

ทีปังกรทศพลทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศพระธรรมจักร

อันประเสริฐแล้ว เสด็จจาริกมาโดยลำดับ ถึง รัมมนคร แล้วประทับอยู่ ณ

พระสุทัสสนมหาวิหาร ก็ถือเอาเภสัชมีเนยเป็นต้น ฉันอาหารเช้าแล้ว ก็

ห่มผ้าอันสะอาด ถือดอกไม้ธูปและของหอม เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ครั้นเฝ้า

แล้ว ก็ถวายบังคม บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ฟัง

ธรรมกถาอันไพเราะยิ่ง นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น ลุก

จากที่นั่งแล้ว ทำประทักษิณพระทศพลแล้วกลับไป.

วันรุ่งขึ้น ชาวเมืองเหล่านั้น ก็จัด อสทิสมหาทาน สร้างมณฑป
มุงบังด้วยดอกบัวขาบ อันไร้มลทินและน่ารัก ประพรมด้วยของหอม ๘ ชนิด

โรยดอกไม้หอมครบ ๕ ทั้งข้าวตอก ตั้งหม้อน้ำ เต็มด้วยน้ำเย็นอร่อยไว้ ๔

มุม มณฑปปิดด้วยในตอง ผูกเพดานผ้า งามน่าชมอย่างยิ่ง เสมือนดอก

ชะบา ไว้บนมณฑป ประดับด้วยดาวทอง ดาวแก้วมณีและดาวเงิน ห้อย

พวงของหอมพวงดอกไม้พวงใบไม้และพวงรัตนะ สะเดาะวันเคราะห์ร้ายด้วย

ธูปทั้งหลาย และทำรัมมนครที่น่ารื่นรมย์นั้นให้สะอาดสะอ้านทั่วทั้งนคร ตั้งต้น

กล้วยพร้อมทั้งผลและหม้อเต็มน้ำประดับด้วยดอกไม้ และยกธงประฏากทั้งหลาย

หลากๆ สี ล้อมด้วยกำแพงผ้าม่านทั้งสองข้างถนนใหญ่ ตกแต่งทางเสด็จมา

ของพระทีปังกรทศพล ใส่ดินฝุ่นตรงที่น้ำเซาะ ถมตรงที่เป็นตม ทำที่ขรุ-

ขระให้เรียบ โรยด้วยทรายที่เสมือนมุกดา โรยด้วยดอกไม้ครบ ๕ ทั้งข้าวตอก

จัดหนทาง ที่มีต้นกล้วยต้นหมากพร้อมทั้งผลไว้.

สมัยนั้น สุเมธดาบสโลดขึ้นจากอาศรมของตนเหาะไปทางอากาศส่วน
เบื้องบนของมนุษย์ชาวรัมมนครเหล่านั้น เห็นพวกเขากำลังแผ้วถางทางและ

ตกแต่งกัน ก็คิดว่า เหตุอะไรหนอ ลงจากอากาศทั้งที่คนเห็นกันหมด ยืน ณ

ที่สมควรส่วนหนึ่ง ถามคนเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านแผ้วถางทางนี้

เพื่อประโยชน์อะไรดังนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

มนุษย์ทั้งหลาย แถบถิ่นปัจจันตประเทศนิมนต์
พระตถาคตแล้ว มีใจเบิกบาน ช่วยกันแผ้วถางหนทาง

เสด็จมาของพระองค์.

สมัยนั้น เราออกจากอาศรมของตน สลัดผ้า
เปลือกไม้เหาะไปในบัดนั้น.

เห็นคนที่เกิดความโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิง
ใจแล้ว ก็ลงจากท้องฟ้า ถามมนุษย์ทั้งหลายไปทันที.

มหาชนผู้เกิดความโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิง
ใจแล้ว พวกท่านแผ้วถางหนทางเพื่อใคร.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #45 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:49:06 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจนฺตเทสวิสเย ได้แก่ ชนบทที่เข้าใจ
กันว่า ปัจจันตประเทศอยู่ข้างหนึ่งของมัชฌิมประเทศนั่นเอง. บทว่า ตสฺส

อาคมนํ มคฺคํ ความว่า หนทางที่พระองค์พึงเสด็จมา. บทว่า อหํ เตน

สมเยน ได้แก่ ในสมัยนั้น เรา. คำนี้เป็นตติยาวิภัตติพึงเห็นว่าลงในอรรถ

สัตตมีวิภัตติ. บทว่า สกสฺสมา ได้แก่ ออกจากอาศรมบทของตน. บทว่า

ธุนนฺโต แปลว่า สลัดทิ้ง. พึงทราบว่า สองบทนี้ว่า เตน สมเยน และ

ตทา เชื่อมความกับกิริยา ออกไป ของบทต้น และกิริยาไปของบทหลัง เพราะ

มีความอย่างเดียวกัน. นอกจากนี้ ก็ไม่พ้นโทษคือการกล่าวซ้ำ. บทว่า ตทา

แปลว่า ในสมัยนั้น.

บทว่า เวทชาตํ ได้แก่ เกิดโสมนัสเอง. ๓ บทนี้ว่า ตุฏฺฐหฏฺฐํ
ปโมทิตํ เป็นไวพจน์ของกันและกัน แสดงความของกันและกัน. อีกอย่าง

หนึ่ง ยินดีด้วยสุข ร่าเริงด้วยปีติ บันเทิงใจด้วยปราโมช. บทว่า โอโรหิตฺวาน

แปลว่า ลงแล้ว. บทว่า มนุสฺเส ปุจฺฉิ แปลว่า ถามผู้คนทั้งหลาย. หรือว่า

บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ตาวเท แปลว่า ครั้งนั้น อธิบายว่าขณะนั้น

นั่นเอง. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความที่ถาม จึงตรัสคำว่า ยินดีร่าเริง

บันเทิงใจ เป็นต้น ในคำนั้น พึงนำศัพท์ว่า โสเธติ มาประกอบความอย่าง

นี้ว่า มหาชนนี้ยินดีร่าเริงแล้ว มีใจบันเทิงแล้ว ย่อมแผ้วถางทาง เพราะเหตุ

ไรจึงแผ้วถางทาง หรือว่า แผ้วถางทาง เพื่อประโยชน์แก่ใคร ความนอกจาก

นี้ ไม่ถูก. บทว่า โสธียติ ได้แก่ ทำความสะอาด. คำเหล่านี้ว่า มคฺโค

อญฺชสํ วฏุมายนํ เป็นไวพจน์ของทางทั้งนั้น.

มนุษย์เหล่านั้นถูก สุเมธดาบส นั้นถามอย่างนี้แล้วจึงตอบว่า ท่าน
สุเมธเจ้าข้า ท่านไม่รู้อะไร พระพุทธเจ้า พระนามว่า ทีปังกร ทรงบรรลุ

พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริก

ไปในชนบทมาถึงนครของพวกเรา ประทับอยู่ ณ พระสุทัสสนมหาวิหาร

พวกเรานิมนต์พระผู้มีภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงช่วยกันแผ้วถางทางเสด็จมาของ

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์นั้น. ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตสดับคำนั้นแล้ว

ก็คิดว่า แม้คำโฆษณาว่า พุทฺโธ นี้ก็หาได้ยาก จะป่วยกล่าวไปไยถึงความ

เกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า ถ้าอย่างนั้น แม้เราจะร่วมกับคนพวกนี้ช่วยกันแผ้ว

ถางทางก็ควรแท้. ท่านจึงกล่าวกะมนุษย์พวกนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าพวกท่าน

แผ้วถางทางนี้เพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ก็จงให้โอกาสแห่งหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เรา

ก็จักร่วมกับพวกท่าน ช่วยแผ้วถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า พวกมนุษย์เหล่านั้น

ก็รับปากว่า ดีสิ เมื่อรู้อยู่ว่า ท่านสุเมธบัณฑิตผู้นี้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก

จึงกำหนดโอกาสแห่งหนึ่ง ซึ่งแผ้วถางยังไม่ดี ถูกน้ำเซาะพังขรุขระอย่างเหลือ

เกิน มอบให้ด้วยกล่าวว่า ขอท่านจงแผ้วถางโอกาสตรงนี้ และตกแต่งด้วย.

สุเมธบัณฑิตเกิดปีติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ จึงคิดว่า เราสามารถที่จะทำ

โอกาสแห่งนี้ให้น่าชมอย่างยิ่งได้ด้วยฤทธิ์ แต่เมื่อทำอย่างนั้นแล้วก็ยังไม่จุใจเรา

แต่วันนี้ เราจะช่วยขวนขวายด้วยกายจึงควร แล้วจึงนำดินฝุ่นมาถมประเทศแห่ง

นั้นให้เต็ม.

แต่เมื่อสุเมธบัณฑิตนั้น แผ้วถางประเทศแห่งนั้นยังไม่เสร็จ ทำค้าง
ไว้ มนุษย์ชาวรัมมนครก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเวลาอาหารว่า อาหาร

เสร็จแล้วพระเจ้าข้า เมื่อมนุษย์เหล่านั้นกราบทูลเวลาอาหารอย่างนั้นแล้ว

พระทศพลทรงนุ่งอันตรวาสกสองชั้นสีเสมือนดอกชะบา ปิดมณฑลทั้งสาม ทรง

คาดประคดเอว อันมีสิริดังสายฟ้าแลบเหนืออันตรวาสกนั้น เหมือนล้อมกอง

ดอกชะบาด้วยสายสร้อยทอง ทรงห่มบังสุกุลจีวรอันประเสริฐสีแดงเสมือนดอก

ทองกวาวที่ชุ่มด้วยน้ำครั่ง ประหนึ่งรดน้ำครั่งลงเหนือยอดเขาทอง ประหนึ่ง

ล้อมเจดีย์ทองด้วยตาข่ายแก้วประพาฬ ประหนึ่งสวมของมีค่าทำด้วยทองด้วยผ้า

กัมพลแดง และประหนึ่งปิดดวงจันทร์ในฤดูสารทด้วยพลาหกแดง เสด็จออก

จากประตูพระคันธกุฎี ประหนึ่งราชสีห์ออกจากถ้ำทอง ประทับยืนที่หน้าพระ

คันธกุฎี. ขณะนั้น ภิกษุทั้งหมด ถือบาตรจีวรของตนๆ แวดล้อมพระผู้มี

พระภาคเจ้า ภิกษุที่ยืนแวดล้อมเหล่านั้น ก็ได้เป็นอย่างนั้น.

ก็ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้มักน้อย สันโดษผู้บอกกล่าว
ผู้อดทนต่อคำว่ากล่าว เป็นผู้สงัด ไม่คลุกคลี ถูกแนะ
นำแล้ว ผู้ติบาป.
ภิกษุแม้ทุกรูป ถึงพร้อมด้วยศีล ฉลาดในสมาธิ
และฌาน ถึงพร้อมด้วยปัญญาและวิมุตติ ผู้ประกอบ
ด้วยจรณะ ๑๕.
เป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว ถึงความชำนาญ มีฤทธิ์
มียศ มีอินทรีย์สงบ ถึงความฝึกแล้ว เป็นผู้หมดจด
แล้ว สิ้นภพใหม่แล้ว.
ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เอง ปราศ-

จากราคะ อันเหล่าภิกษุผู้ปราศจากราคะแวดล้อมแล้ว ทรงปราศจากโทสะ อัน

เหล่าภิกษุผู้ปราศจากโทสะแวดล้อมแล้ว ทรงปราศจากโมหะ อันเหล่าภิกษุผู้

ปราศจากโมหะแวดล้อมแล้ว ช่างงามรุ่งโรจน์อย่างเหลือเกิน. ครั้งนั้น พระ-

ศาสดา อันเหล่าภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้ได้อภิญญา ๖

จำนวนสี่แสนรูปแวดล้อมแล้ว เสด็จพุทธดำเนินสู่ทางนั้นที่เขาประดับตกแต่ง

แล้ว ด้วยพุทธลีลาหาที่เปรียบมิได้ ซึ่งกำลังพระกุศลที่ทรงสะสมได้ตลอดสมัย

ที่นับไม่ได้บันดาลให้เกิดแล้ว ประหนึ่งท้าวสหัสนัยน์ ผู้มีพระเนตรพันดวงอัน

หมู่เทพแวดล้อมแล้ว ประหนึ่งท้าวหาริตมหาพรหมอันหมู่พรหมแวดล้อมแล้ว

และประหนึ่งดวงจันทร์ในฤดูสารท อันหมู่ดวงดาวแวดล้อมแล้ว.

เขาว่าด้วยพระรัศมีมีสีดังทอง พระจอมปราชญ์
ผู้มีวรรณะดั่งทอง ทรงทำต้นไม้ในหนทางให้มีสีดั่ง
ทอง ทรงทำดอกไม้ให้มีสีดั่งทอง เสด็จพระพุทธดำ-
เนินไปสู่ทาง
แม้สุเมธดาบส จ้องตาตรวจดูพระอัตภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทีปังกร ผู้เสด็จมาตามทางที่เขาประดับตกแต่งแล้วนั้น ซึ่งประดับด้วยมหาปุริส

ลักษณะ ๓๒ ประการ ฉาบด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ล้อด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง

มีสิริเหมือนแก้วมณีสีดอกอินทนิล กำลังเปล่งพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ประดุจ

สายฟ้าแลบมีประการต่าง ๆ ในอากาศ มีพระรูปพระโฉมงดงาม แล้วคิดว่า

วันนี้ เราสละชีวิตเพื่อพระทศพลก็ควร ตกลงใจว่าขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่า

ทรงเหยียบที่ตมเลย ขอทรงเหยียบหลังเราเสด็จไปพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสน

รูป เหมือนทรงเหยียบสะพานที่มีแผ่นกระดานเป็นแก้วผลึกเถิด ข้อนั้นก็จัก

เป็นประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน ดังนี้แล้วก็เปลื้องผม

ปูลาดท่อนหนังชฎาและผ้าเปลือกไม้ลงที่ตม ซึ่งมีสีดำ แล้วทอดตัวนอนบนหลัง

ตมในทีนั้นนั่นเอง. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า

มนุษย์เหล่านั้นถูกเราถามแล้วก็ตอบว่า พระ-
พุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ผู้ยอดเยี่ยม ผู้ชนะ ผู้นำ
โลกทรงอุบัติแล้วในโลก.
พวกเราแผ้วถางหนทาง ที่ชื่อว่ามรรค อัญชสะ
วฏุมะ อายนะ ก็เพื่อพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
เพราะได้ยินคำว่า พุทโธ ก็เกิดปีติขึ้นทันที เรา
เมื่อกล่าวว่า พุทโธ พุทโธ ก็ซาบซึ้งโสมนัส.
เรายินดีปีติใจแล้ว ยืนคิดในที่นั้นว่า จำเราจัก
ปลูกพืชทั้งหลายในพระพุทธเจ้าทีปังกรพระองค์นี้ ขอ
ขณะอย่าล่วงไปเปล่าเลย.
เราจึงกล่าวว่า ผิว่าพวกท่านแผ้วถางหนทาง
เพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ขอพวกท่านจงให้โอกาสแห่ง
หนึ่งแก่เราด้วย ถึงตัวเราก็จักแผ้วถางหนทาง.
มนุษย์เหล่านั้น ได้ให้โอกาสแก่เรา เพื่อแผ้ว
ถางหนทางในครั้งนั้น เราคิดว่า พุทโธ พุทโธ ไปพลาง
แผ้วถางหนทางไปพลางในครั้งนั้น.
เมื่อโอกาสของเรายังไม่ทันเสร็จ พระชินมหา
มุนีทีปังกร พร้อมด้วยภิกษุสี่แสนรูป ซึ่งเป็นผู้มี
อภิญญา ๖ ผู้คงที่ ผู้สิ้นอาสวะ ผู้ไร้มลทินก็เสด็จ
พุทธดำเนินไปยังหนทาง.
การรับเสร็จก็ดำเนินไป เภรีทั้งหลายก็ประโคม
มนุษย์และเทวดาทั้งหลายบันเทิงใจแล้ว ก็พากันแซ่
ซ้องสาธุการ.
พวกเทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม่พวกมนุษย์
เห็นพวกเทวดา เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ก็ประ-
คองอัญชลี ตามเสด็จพระตถาคต.
พวกเทวดาก็บรรเลงด้วยดนตรีทิพย์ พวกมนุษย์
ก็บรรเลงด้วยดนตรีมนุษย์ เทวดาและมนุษย์ทั้งสอง
พวกก็บรรเลงตามเสด็จพระตถาคต
ในอากาศ พวกเทวดา เหล่าเดินหน ก็โปรยดอก
มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะอันเป็นของทิพย์
ไปทั่วทิศานุทิศ.
ในอากาศ พวกเทวดาเหล่าเดินหน ก็โปรยจุรณ
จันทน์ และของหอมอย่างดี อันเป็นของทิพย์ไปสิ้น
ทั่วทิศานุทิศ.
พวกมนุษย์ ที่ไปตามภาคพื้นดิน ก็ชูดอกจำปา
ดอกช้างน้าว ดอกกระทุ่ม ดอกกระถินพิมาน ดอก
บุนนาค ดอกเกด ทั่วทิศานุทิศ.
เราเปลื้องผม ปูลาดผ้าเปลือกไม้และท่อนหนัง
ลงบนตมในที่นั้น นอนคว่ำหน้า.
ด้วยประสงค์ว่า ขอพระพุทธเจ้ากับศิษย์ทั้งหลาย
จงทรงเหยียบเราเสด็จไป อย่าทรงเหยียบที่ตมเลย
ข้อนี้ จักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #46 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:50:04 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิยากํสุ แปลว่า พยากรณ์แล้ว. ปาฐะว่า
ทีปงฺกโร นาม ชิโน ตสฺส โสธียตี ปโถ ดังนี้ก็มี. บทว่า โสมนสฺสํ

ปเวทยึ ความว่า เสวยโสมนัส. บทว่า ตตฺถ ฐตฺวา ได้แก่ ยืนอยู่ในประ-

เทศที่ลงจากอากาศนั่นเอง. บทว่า สํวิคฺคมานโส ได้แก่ มีใจประหลาด

เพราะปีติ. บทว่า อิธ ได้แก่ ในบุญเขตคือพระพุทธเจ้าทีปังกรพระองค์นี้. บทว่า

พีชานิ ได้แก่ พืชคือกุศล. บทว่า โรปิสฺสํ ได้แก่ จักปลูก. บทว่า ขโณ

ได้แก่ ชุมนุมขณะที่ ๙ เว้นจากอขณะ ๘ ขณะนั้นหาได้ยากเราก็ได้แล้ว. บทว่า

เว เป็นเพียงนิบาต. บทว่า มา อุปจฺจคา ความว่า ขณะนั้น อย่าได้เป็น

ไปล่วง คืออย่าล่วงเลยไป. บทว่า ททาถ แปลว่า จงให้. บทว่า เต ได้แก่

พวกมนุษย์ที่เราถาม. บทว่า โสเธมหํ ตทา ตัดบทเป็น โสเธม อหํ ตทา.

บทว่า อนิฏฺฐิเต ได้แก่ ยังไม่เสร็จ ทำค้างไว้.

ในบทว่า ขีณาสเวหิ นี้ อาสวะมี ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ
ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะ ๔ เหล่านี้ของภิกษุเหล่าใดสิ้นไปแล้ว ละแล้ว

ถอนแล้ว ระงับแล้ว ไม่ควรเกิด อันไฟคือญาณเผาแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่อ

ว่าขีณาสพ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ด้วยภิกษุขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่าไม่มีมลทิน ก็

เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะนั่นเอง.

ในบทว่า เทวา มนุสฺเส ปสฺสนฺติ นี้ ไม่มีคำที่จะกล่าวในข้อที่
เทวดาทั้งหลายเห็นมนุษย์. ด้วยว่า โดยการเห็นอย่างปกติ แม้เทวดาทั้งหลาย

ย่อมเห็นมนุษย์ทั้งหลายเหมือนอย่างที่มนุษย์ทั้งหลายยืนอยู่ในที่นี่เห็นอยู่. บทว่า

เทวตา ได้แก่ เทพทั้งหลาย. บทว่า อุโภปิ ได้แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งสอง

พวก. บทว่า ปญฺชลิกา ได้แก่ ประคองอัญชลี อธิบายว่า เอามือทั้งสองตั้ง

ไว้เหนือศีรษะ. บทว่า อนุยนฺติ ตถาคตํ ได้แก่ ไปข้างหลังของพระตถาคต.

พึงทราบลักษณะว่า เมื่ออนุโยค [นิคคหิต] มีอยู่ ทุติยาวิภัตติ ย่อมลงใน

อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า อนุยนฺติ ตถาคตํ. บทว่า วชฺช-

ยนฺตา แปลว่า บรรเลงอยู่.

บทว่า มนฺทารวํ ได้แก่ ดอกมณฑารพ. บทว่า ทิโสทิสํ แปลว่า
โดยทุกทิศ. บทว่า โอกิรนฺติ แปลว่า โปรย. บทว่า อากาสนภคตา

แปลว่า ไปในท้องฟ้าคืออากาศ อีกนัยหนึ่งไปสู่อากาศ คือไปสวรรค์นั่นเอง.

จริงอยู่สวรรค์ท่านเรียกว่าท้องฟ้า. บทว่า มรู แปลว่า เทวดาทั้งหลาย. บทว่า

สรลํ ได้แก่ ดอกสน. บทว่า นีปํ ได้แก่ ดอกกะทุ่ม. บทว่า นาคปุนฺนาค-

เกตกํ ได้แก่ ดอกกะถิน ดอกบุนนาค ดอกเกต. บทว่า ภูมิตลคตา

ได้แก่ ไปที่แผ่นดิน.

บทว่า เกเส มุญฺจิตฺวาหํ ความว่า เปลื้อง คือ สยายผมจากกลุ่ม
และชฎาเกลียวที่มุ่นไว้. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในโอกาสที่ให้แก่เรา. บทว่า

จมฺมกํ ได้แก่ท่อนหนัง. บทว่า กลเล ได้แก่ ในโคลนตม. บทว่า อวกุชฺ -

โช แปลว่า คว่ำหน้า. นิปชฺชหํ ตัดบทเป็น นิปชฺชึ อหํ. ศัพท์ว่า มา

ในบทว่า มา นํ เป็นนิบาตลงในอรรถปฏิเสธ. ศัพท์ว่า นํ เป็นนิบาตลง

ในอรรถปทบูรณะทำบทให้เต็มความว่า ขอพระพุทธเจ้า อย่าทรงเหยียบที่ตม

เลย. บทว่า หิตาย เม ภวิสฺสติ ความว่า การไม่ทรงเหยียบที่ตมนั้น

จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา ตลอดกาลนาน. ปาฐะว่า สุขาย เม ภวิสฺ-

สติ ดังนี้ก็มี.

แต่นั้น สุเมธบัณฑิตนอนบนหลังตมแล้วก็คิดอย่างนี้ว่า ถ้าเราพึง
ปรารถนาไซร้ เราก็พึงเป็นสังฆนวกะ เผากิเลสทั้งหมดแล้วเข้าไปยังรัมมนคร

แต่เราไม่มีกิจที่จะเผากิเลสแล้วบรรลุพระนิพพาน ด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก ถ้า

กระไร เราพึงเป็นเหมือนพระทีปังกรทศพล บรรลุปรมาภิสัมโพธิญาณ ขึ้น

สู่ธรรมนาวา ยังมหาชนให้ข้ามสังสารสาครแล้วจึงปรินิพพานในภายหลัง นี้เป็น

การสมควรแก่เรา. แต่นั้น จึงประชุมธรรม ๘ ประการ ลงนอนทำอภินีหาร

เพื่อเป็นพระพุทธเจ้า. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า

เรานอนเหนือแผ่นดินแล้ว ใจก็ปริวิตกอย่างนี้
ว่า วันนี้เราปรารถนา ก็จะพึงเผากิเลสทั้งหลายของ
เราได้.
แต่ประโยชน์อะไรของเราด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก
ด้วยการทำให้แจ้งธรรมในพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เรา
จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธเจ้า ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก.
ประโยชน์อะไรของเรา ด้วยบุรุษผู้เห็นกำลังจะ
ข้ามสังสารสาครแต่เพียงคนเดียว เขาจักบรรลุสัพพัญ-
ญุตญาณแล้ว ยังโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามสังสาร
สาคร.
ด้วยอธิการบารมีนี้ ที่เราบำเพ็ญในพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นบุรุษสูงสุด เราบรรลุสัพพัญญุตญาณแล้วจะยัง
หมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามสังสารสาคร.
เราตัดกระแสแห่งสังสาร กำจัดภพ ๓ ได้แล้ว
ขึ้นสู่ธรรมนาวา จักยังโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้าม
สังสารสาคร.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฐวิยํ นิปนฺนสฺส แปลว่า นอนเหนือ
แผ่นดิน หรือว่าปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า เจตโส ความว่า ใจก็ได้มี

ปริวิตก. ปาฐะว่า เอวํ เม อาสิ เจตนา ดังนี้ก็มี. บทว่า อิจฺฉมาโน

ได้แก่ หวังอยู่. บทว่า กิเลเส ความว่า ธรรมชาติเหล่าใด ย่อมเศร้าหมอง

ย่อมทำให้เดือดร้อน เหตุนั้น ธรรมชาติเหล่านั้นชื่อว่ากิเลส คือกิเลส ๑๐ กอง

มีราคะเป็นต้น. บทว่า ฌาปเย ได้แก่ พึงให้ไหม้ อธิบายว่า เราพึงยังกิเลส

ทั้งหลายของเราให้ไหม้.

คำว่า กึ. เป็นคำปฏิเสธ. บทว่า อญฺญาตกเวเสน ได้แก่ ด้วยเพศ
ที่ไม่ปรากฏ ที่ไม่มีใครรู้จัก ที่ปกปิด อธิบายว่า ก็เราพึงทำอาสวะให้สิ้น

เหมือนภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้ หรือพึงบำเพ็ญพุทธการกธรรม ทำมหา-

ปฐพีให้ไหวในสมัยถือปฏิสนธิ ประสูติ ตรัสรู้ และประกาศพระธรรมจักรเป็น

ผู้ตรัสรู้เองเป็นพระพุทธเจ้า ยังสัตว์ให้ตรัสรู้พึงเป็นผู้ข้ามเอง ยังสัตว์ให้ข้าม

สังสารสาคร พึงเป็นผู้หลุดพ้นเอง ยังสัตว์ให้หลุดพ้น. บทว่า สเทวเก ได้

แก่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

บทว่า ถามทสฺสินา ได้แก่ เห็นเรี่ยวแรงกำลังของตน. บทว่า
สนฺตาเรสฺสํ ได้แก่ จักให้ข้าม. บทว่า สเทวกํ ได้แก่ ยังหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

เทวดา หรือยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก. บทว่า อธิกาเรน ได้แก่ ด้วยการกระ-

ทำที่วิเศษยิ่ง. อธิบายว่า ด้วยการเสียสละชีวิตตนเพื่อพระพุทธเจ้า แล้วนอน

เหนือหลังตม ชื่อว่า อธิการ.

บทว่า สํสารโสตํ ความว่า การท่องเที่ยวไปทางโน้นทางนี้ในกำเนิด
คติ วิญญาณฐิติ และสัตตาวาส ๙ ด้วยอำนาจกรรมและกิเลส ชื่อว่า สังสาร

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ขนฺธานํ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนาน จ
อพฺโพจฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ.
เรียงลำดับแห่งขันธ์ ธาตุและอายตนะเป็นไปไม่
ขาดสาย ท่านเรียกว่าสังสาร.
สังสารนั้นด้วย กระแสด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังสารโสตะ ซึ่งสังสาร
และกระแสนั้น. อีกนัยหนึ่ง กระแสแห่งสังสาระ ชื่อว่าสังสารโสตะ ความว่า

ตัดกระแสคือตัณหาอันเป็นเหตุแห่งสังสาร. บทว่า ตโย ภเว ได้แก่กามภพ

รูปภพและอรูปภพ. กรรมและกิเลสอันให้เกิดภพ ๓ ท่านประสงค์ว่า ภพ ๓.

บทว่า ธมฺมนาวํ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘. จริงอยู่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น

ท่านเรียกว่า ธรรมนาวา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องข้ามโอฆะ ๔. บทว่า

สมารุยฺห แปลว่า ขึ้น. บทว่า สนฺตาเรสฺสํ แปลว่า จักให้ข้าม.

แต่อภินีหารย่อมสำเร็จแก่ท่านผู้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า เพราะ
ความประชุมพร้อมแห่งธรรม ๘ ประการ คือ ๑. ความเป็นมนุษย์ ๒. ความ

สมบูรณ์ด้วยเพศ ๓. เหตุ ๔. การพบพระศาสดา ๕. การบรรพชา

๖. ความสมบูรณ์ด้วยคุณ ๗. ความมีอธิการ ๘. ความมีฉันทะ.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #47 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:51:14 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสตฺตํ ความว่า ความปรารถนา
ย่อมสำเร็จ แก่ผู้ตั้งอยู่ในอัตภาพเป็นมนุษย์เท่านั้น แล้วปรารถนาเป็นพระ-

พุทธเจ้า ย่อมไม่สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในชาตินาคเป็นต้น. ถ้าถามว่า

เพราะเหตุไร ก็ตอบได้ว่า เพราะชาตินาคเป็นต้น เป็นอเหตุกสัตว์.

บทว่า ลิงฺคสมฺปตฺติ ความว่า ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้แม้
อยู่ในอัตภาพเป็นมนุษย์ ก็ต้องตั้งอยู่ในเพศชายเท่านั้น ย่อมไม่สำเร็จแก่หญิง

หรือบัณเฑาะก์คนไม่มีเพศและคนสองเพศ. ถ้าถามว่าเพราะเหตุไร ก็ตอบได้ว่า

เพราะลักษณะไม่บริบูรณ์ จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสตรี ไม่เป็นฐานะ ไม่เป็น

โอกาสพึงทราบความพิศดารเอาเองเถิด. เพราะฉะนั้น ความปรารถนาย่อมไม่

สำเร็จ แม้แก่ผู้มีชาติเป็นมนุษย์แต่ตั้งอยู่ในเพศสตรี.

บทว่า เหตุ ความว่า ความปรารถนาย่อมสำเร็จแม้แก่บุรุษ ที่ถึง
พร้อมด้วยเหตุ เพื่อบรรลุพระอรหัตในอัตภาพนั้นได้เท่านั้น ไม่สำเร็จแก่บุรุษ

นอกจากนี้.

บทว่า สตฺถารทสฺสนํ ความว่า ถ้าบุรุษปรารถนาในสำนักของ
พระพุทธเจ้าซึ่งยังทรงพระชนมชีพอยู่เท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ

ความปรารถนาในพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเสด็จปรินิพพานแล้ว หรือ ที่สำนัก

พระเจดีย์หรือที่โคนโพธิพฤกษ์ หรือที่พระพุทธปฏิมา หรือในสำนักของ

พระปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธสาวก ย่อมไม่สำเร็จ. เพราะเหตุไร

เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธสาวก ไม่สามารถที่จะรู้ถึงภัพพสัตว์และ

อภัพพสัตว์แล้วกำหนดด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดกรรมและวิบากแล้วพยากรณ์

ได้. เพราะฉะนั้น ความปรารถนาจึงสำเร็จได้ในสำนักของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.

บทว่า ปพฺพชฺชา ความว่า ความปรารถนา ย่อมสำเร็จแม้แก่ผู้
ปรารถนาในสำนักของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า หรือต้องบวชในดาบสทั้งหลาย

จำพวกที่เป็นกัมมกิริยวาทีหรือในภิกษุทั้งหลายเท่านั้น. เพราะเหตุไร เพราะ

ว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นบรรพชิตเท่านั้นจึงบรรลุพระสัมโพธิญาณได้

ที่เป็นคฤหัสถ์ บรรลุไม่ได้. เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นบรรพชิตเท่านั้น แม้ใน

กาลตั้งปณิธานความปรารถนามาแต่ต้น.

บทว่า คุณสมฺปตฺติ ความว่า ปรารถนาย่อมสำเร็จ แม้แก่บรรพชิต
ผู้ได้สมาบัติ ๘ มีอภิญญา ๕ เท่านั้น แต่ไม่สำเร็จแก่ผู้เว้นจากคุณสมบัตินี้.

เพราะเหตุไร เพราะคนไร้คุณสมบัติไม่มีโพธิญาณนั้น.

บทว่า อธิกาโร ความว่า ผู้ใดแม้ถึงพร้อมด้วยคุณ ก็ยังเสียสละ
ชีวิตตนเพื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้น ซึ่ง

พรั่งพร้อมแล้วด้วยอธิการนี้เท่านั้น ไม่สำเร็จแก่คนนอกจากนี้.

บทว่า ฉนฺทตา ความว่า ผู้ใดแม้ถึงพร้อมแล้วด้วยอภินีหาร ก็มี
ฉันทะ พยายาม อุตสาหะ แสวงหาอย่างใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่พุทธการก-

ธรรมทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้นเท่านั้น ไม่สำเร็จแก่คน

นอกจากนี้ ข้ออุปมาแห่งความเป็นผู้มีฉันทะเป็นใหญ่ ในข้อนั้น มีดังนี้. ก็ถ้า

บุคคลพึงคิดอย่างนี้ว่า ผู้ใดสามารถข้ามห้องจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งมีน้ำเป็นอัน

เดียวกันด้วยกำลังแขนของตนไปถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธ-

เจ้าได้. ส่วนผู้ใด ไม่สำคัญกิจนี้เป็นของทำได้ยากสำหรับตน ประกอบด้วย

ฉันทะอุตสาหะอย่างใหญ่อย่างนี้ว่า เราจักข้ามห้องจักรวาลนี้ไปถึงฝั่ง ความ

ปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้น ไม่สำเร็จแก่คนนอกจากนี้.

ก็สุเมธบัณฑิต รวบรวมธรรม ๘ ประการนี้ไว้แล้ว ทำอภินีหารเพื่อ
เป็นพระพุทธเจ้า จึงนอนลง. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ประทับยืน

ประชิดใกล้ศีรษะของสุเมธบัณฑิต เห็นสุเมธดาบสนอนอยู่เหนือหลังตม ทรง

ส่งอนาคตังสญาณว่า ดาบสผู้นี้ ทำอภินีหารเพื่อเป็นพระพุทธเจ้านอนลงแล้ว

ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงพิจารณาทบทวนดู ก็ทรงทราบ

ว่า ล่วงไปสี่อสงไขยกำไรแสนกัป นับแต่กัปนี้ไป เขาจักเป็นพระพุทธเจ้า

พระนามว่าโคตมะ ประทับยืนพยากรณ์ท่ามกลางบริษัทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอเห็นดาบสผู้มีตบะสูงซึ่งนอนเหนือหลังตมผู้นี้ไหมหนอ. ภิกษุทั้ง

หลายกราบทูลว่าเห็นพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดาบสผู้นี้ทำอภินีหารเพื่อเป็นพระ-

พุทธเจ้า จึงนอนลงแล้ว ความปรารถนาของดาบสผู้นี้จักสำเร็จ ในที่สุดสี่

อสงไขยกำไรแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป ดาบสผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า

โคตมะ ในโลก ในอัตภาพนั้นของดาบสนั้น นครชื่อว่า กบิลพัศดุ์ จักเป็น

ที่ประทับอยู่ จักมีพระชนนีพระนามว่า มหามายาเทวี พระชนก พระนามว่า

พระเจ้าสุทโธทนะ พระอัครสาวกทั้งสอง ชื่อว่า อุปติสสะ และ โกลิตะ

พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า อานันทะ พระอัครสาวิกาทั้งสองชื่อว่า เขมา

และ อุบลวรรณา ดาบสผู้มีญาณกล้าจักเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความ

เพียรอย่างใหญ่ รับข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายที่โคนต้นนิโครธ เสวยที่

ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วขึ้นสู่โพธิมัณฑสถาน จักตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิใบ ด้วย

เหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ผู้รู้โลก ทรง
รับทักษิณา ประทับยืนใกล้ ๆ ศีรษะ ได้มีพุทธดำรัส
กะเราดังนี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงดูชฏิลดาบสผู้นี้ ซึ่งมีตบะสูงจัก
เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ในกัปซึ่งนับไม่ได้ ตั้งแต่
กัปนี้ไป.
พระตถาคตเสด็จออกจากกรุงกบิลพัศดุ์ ที่น่ารื่น
รมย์ ทรงตั้งความเพียร ทรงทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิ-
โครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จสู่ริม

ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จเข้าสู่โคนโพธิพฤกษ์

ตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้แล้ว.

ต่อนั้น พระผู้ยอดเยี่ยม มีพระมหายศ ทรงทำ
ประทักษิณโพธิมัณฑสถาน จักตรัสรู้ ณ โคนโพธิใบ.

พระชนนีพุทธมารดาของดาบสผู้นี้ จักมีพระนาม
ว่า มายา พระพุทธบิดาจักมีพระนามว่า สุทโธทนะ

ดาบสผู้นี้ จักมีพระนามว่าโคตมะ.

พระโกลิตะและพระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ
ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่นแล้ว จักเป็นพระอัคร-

สาวก พุทธอุปฐาก ชื่อว่าอานนท์ จักบำรุงพระชิน-

เจ้าผู้นี้.

พระเขมาและพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ
มีจิตสงบ ตั้งมั่นแล้ว จักเป็นอัครสาวิกา ต้นไม้เป็น

ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า

อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.

จิตตะและหัตถาฬวกะ จักเป็นยอดอุปัฏฐาก
อุตตราและนันทมารดา จักเป็นยอดอุปัฎฐายิกา.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #48 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:52:22 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกวิทู ได้แก่ ชื่อว่า โลกวิทู เพราะทรง
รู้จักโลกโดยประการทั้งปวง. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ ทรงรู้ทั่ว

ทรงแทงตลอดโลก แม้โดยประการทั้งปวง คือโดยสภาวะความจริง โดยสมุทัย

ความเกิด โดยนิโรธความดับ โดยนิโรธุบายอุบายให้ถึงนิโรธ เพราะฉะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า โลกวิทู เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

เพราะฉะนั้นแล ท่านสุเมธผู้รู้จักโลก ถึงที่สุดโลก
อยู่จบพรหมจรรย์ รู้ที่สุดโลก สงบแล้ว ย่อมไม่หวัง
โลกนี้และโลกอื่น.
อนึ่ง โลกมี ๓ คือ สังขารโลก สัตวโลกและ โอกาสโลก บรรดา
โลกทั้ง ๓ นั้น ธรรมทั้งหลายมีปฐวีเป็นต้น ที่อาศัยกันเกิดขึ้น ชื่อว่า สังขาร-

โลก. สัตว์ทั้งหลาย มีสัญญา ไม่มีสัญญา แลมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่

ใช่ ชื่อว่า สัตวโลก. สถานที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า โอกาสโลก

ก็โลกทั้ง ๓ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แล้วตามสภาพความเป็นจริง เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านจึงเรียกว่า โลกวิทู. บทว่า อาหุตีนํ

ปฏิคฺคโห ได้แก่ ชื่อว่าผู้รับทักษิณาทาน เพราะเป็นผู้ควรรับทานทั้งหลาย

เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล. บทว่า อุสฺสีสเก มํ ฐตฺวาน ได้แก่ ประทับยืน

ใกล้ศีรษะเรา. ความว่า ได้ตรัสคำนี้คือคำที่ควรกล่าว ณ บัดนี้. บทว่า ชฏิลํ

ความว่า ชฎาของนักบวชนั้นมีอยู่ เหตุนั้น นักบวชนั้นชื่อว่าชฎิล ผู้มีชฎา, ชฎิล

นั้น. บทว่า อุคฺคตาปนํ ได้แก่ ผู้มีตบะสูง. บทว่า อหุ ได้แก่ ในวัน อธิบาย

ว่า ครั้งนั้น. หรือว่าปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า กปิลวฺหยา ได้แก่

เรียกว่า ชื่อว่า กบิลพัศดุ์. บทว่า รมฺมา ได้แก่ น่ารื่นรมย์. บทว่า ปธานํ

ได้แก่ ความเพียร. บทว่า เอหิติ แปลว่า จักถึง จักไป. คำที่เหลือในคาถา

ทั้งหลายง่ายทั้งนั้นแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต เกิดความโสมนัสว่า ได้ยินว่า ความ
ปรารถนาของเราจักสำเร็จผล. มหาชนฟังพระดำรัสของพระทีปังกรทศพลแล้ว

ก็พากันร่าเริงยินดีว่า ท่านสุเมธดาบสได้เป็นหน่อพืชพระพุทธเจ้า. สุเมธ

บัณฑิตนั้นก็คิดอย่างนี้ ชนทั้งหลายก็ได้ทำความปรารถนาว่าบุรุษกำลังจะข้าม

แม่น้ำ เมื่อไม่อาจข้ามโดยท่าตรงหน้าได้ก็ย่อมข้ามโดยท่าหลัง ฉันใด พวก

เราเมื่อไม่ได้มรรคผลในศาสนาของพระทีปังกรทศพล ในอนาคตกาล ก็พึง

สามารถทำให้แจ้งมรรคผล ต่อหน้าท่าน ในสมัยที่ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้พระทีปังกรทศพลก็ทรงสรรเสริญพระมหาสัตว์ผู้เป็น

พระโพธิสัตว์ ทรงบูชาด้วยดอกไม้ ๘ กำ ทรงทำประทักษิณและเสด็จหลีกไป

แม้พระขีณาสพสี่แสนรูปนั้น ก็พากันบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยดอกไม้และของหอม

ทำประทักษิณแล้วหลีกไป.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ผู้ทรงทำประทีปคือความรู้โลก
ทั้งปวง อันพระขีณาสพสี่แสนรูปแวดล้อมแล้ว อันชาวรัมมนครบูชาอยู่ อัน

เทวดาทั้งหลายถวายบังคมอยู่ เสด็จพุทธดำเนิน ประหนึ่งยอดภูเขาทองอันประ-

เสริฐที่อาบแสงสนธยา เมื่อปาฏิหาริย์ทั้งหลายเป็นอันมากดำเนินไปอยู่ ก็เสด็จ

ไปตามหนทางที่ชาวรัมมนครประดับประดาตกแต่งนั้น เสด็จเข้าไปยังรัมมนคร

อันน่าอภิรมย์ อบอวลด้วยกลิ่นดอกไม้หอมนานาชนิด กลิ่นจุณที่น่าชื่นชม

ธงประฏากที่ยกขึ้นไสว มีหมู่ภมรที่ติดใจในกลิ่น บินว่อนเป็นกลุ่มๆ มืดครึ้ม

ด้วยควันธูป สง่างามดังเทพนคร พระทินกรทศพลก็ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์

ที่สมควรอย่างใหญ่ที่เขาบรรจงจัดไว้ เหมือนดวงจันทร์งดงามยามฤดูสารท

เหนือยอดยุคนธร เหมือนดังดวงทินกรกำจัดกลุ่มความมืด ทำความแย้มแก่ดง

ปทุม. แม้ภิกษุสงฆ์ก็นั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตนๆ ตามลำดับ. ส่วนอุบาสกชาว

รัมมนคร ผู้พรั่งพร้อมแล้วด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น ก็ช่วยกันถวายทานที่ประ-

ดับพร้อมด้วยของเคี้ยวเป็นต้นชนิดต่าง ๆ สมบูรณ์ด้วยสีกลิ่นและรส ไม่มีทาน

อื่นเสมอเหมือน เป็นต้นเหตุแห่งสุข แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์สดับคำพยากรณ์ของพระทศพลก็สำคัญความ
เป็นพระพุทธเจ้าประหนึ่งอยู่ในกำมือ ก็บันเทิงใจ เมื่อชาวรัมมนครกลับกัน

หมดแล้ว ก็ลุกขึ้นจากที่นอนคิดว่าจักเลือกเฟ้นบารมีทั้งหลาย จึงนั่งขัดสมาธิ

เหนือยอดกองดอกไม้ เมื่อพระมหาสัตว์นั่งอยู่อย่างนั้น เทวดาสิ้นทั้งหมื่น

จักรวาล ก็ให้สาธุการ กล่าวว่า ท่านสุเมธดาบสเจ้าข้า ในเวลาที่ท่านนั่งขัด

สมาธิ หมายจักเลือกเฟ้นบารมีของพระโพธิสัตว์องค์ก่อนๆ ธรรมดาบุพนิมิต

เหล่าใดปรากฏ บุพนิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ทั้งหมด ท่านจักเป็น

พระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย พวกเรารู้ข้อนี้ว่า บุพนิมิตเหล่านี้ปรากฏแก่ผู้

ใด ผู้นั้นจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจงประ-

คองความเพียรของตนไว้ให้มั่น แล้วได้ชมพระโพธิสัตว์ด้วยสดุดีนานาประการ

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย สดับคำของพระทีปัง-
กรทศพล ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้เสมอเหมือนนี้
แล้ว ก็พากันดีใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพืชพระพุทธเจ้า
เสียงโห่ร้องอึงมี่ เสียงปรบมือ เสียงหัวเราะ
หมื่นโลกธาตุเทวดาก็ทำอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่าพวกเราจะพลาดคำสอน ของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อพระ-
พักตร์ของพระโลกนาถพระองค์นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำพลาดท่าน้ำเฉพาะ
หน้าแล้ว ก็ถือเอาท่าน้ำท่าหลังข้ามแม่น้ำฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่าพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้
เสีย ในอนาคตกาล ก็จักอยู่ต่อพระพักตร์ของพระ
ชินเจ้าพระองค์นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระทีปังกรทศทูล ผู้รู้จักโลก ทรงเป็นปฏิคาหก
ผู้รับของบูชา ทรงประกาศกรรมของเราแล้ว ก็ทรง
ยกพระบาทเบื้องขวา.
พุทธชิโนรสทั้งหมด ที่อยู่ ณ ที่นั้น ก็พากันทำ
ประทักษิณเรา เทวดา มนุษย์และอสูรทั้งหลายก็กราบ
ไหว้แล้วหลีกไป.
เมื่อพระโลกนาถพร้อมทั้งพระสงฆ์ เสด็จลับตา
เราไปแล้ว ครั้งนั้น เราก็ลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิ.
เราประสบสุขโดยสุข เบิกบานโดยปราโมช อัน
ปีติสัมผัสซาบซ่านแล้ว นั่งขัดสมาธิในเวลานั้น.
ครั้นนั่งขัดสมาธิแล้ว เวลานั้น เราคิดอย่างนี้ว่า
เราเป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงฝั่งในอภิญญา ๕.
ในหมื่นโลกธาตุ ไม่มีฤาษีที่จะเสมอเรา ไม่มีผู้
เสมอในอิทธิธรรมทั้งหลาย เราได้ความสุขเช่นนี้.
ขณะที่เรานั่งขัดสมาธิ ทวยเทพในหมื่นโลกธาตุ
ก็เปล่งเสียงโห่ร้องว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ขณะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ บุพนิมิต
เหล่าใดปรากฏก่อน บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันใน
วันนี้.
ความหนาวก็หายไป และความร้อนก็สงบไป
บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่นอน.
หมื่นโลกธาตุ ก็ปราศเสียง ปราศจากความวุ่น
วาย บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
ลมขนาดใหญ่ก็ไม่พัด แม่น้ำทั้งหลายก็ไม่ไหล
บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่นอน.
ดอกไม้บนบก ดอกไม้ในน้ำ ก็บานหมดใน
ขณะนั้น ดอกไม้แม้เหล่านั้นทั้งหมด ก็บานแล้วใน
วันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ผิว่า ไม้เถาก็ดี ไม้ต้นก็ดี ก็มีผลในขณะนั้น
ต้นไม้แม้เหล่านั้นทั้งหมด ก็ออกผลในวันนี้ ท่านจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
รัตนะทั้งหลาย ที่อยู่ในอากาศและที่อยู่ภาคพื้น
ดิน ก็ส่องแสงโชติช่วงในขณะนั้น รัตนะแม้เหล่านั้น
ก็โชติช่วงในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ดนตรีทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็น
ของทิพย์ ก็บรรเลงในขณะนั้น ดนตรีทั้งสองแม้นั้น
ส่งเสียงลั่นในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ฝนดอกไม้อันไพจิตร ก็หล่นลงมาจากท้องฟ้า
ในขณะนั้น ฝนดอกไม่แม้เหล่านั้น ก็หลั่งลงมาในวัน
นี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
มหาสมุทรก็คะนอง หมื่นโลกธาตุก็ไหว แม้ทั้ง
สองนั้น ก็ส่งเสียงลั่นในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธ-
เจ้าแน่นอน.
ไฟหลายหมื่นในนรก ก็ดับในขณะนั้น ไฟแม้
เหล่านั้นก็ดับแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่นอน.
ดวงอาทิตย์ทั้งใสไร้มลทิน ดวงดาวทั้งหลายก็
เห็นได้หมด ดวงดาวแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวัน
นี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
เมื่อฝนไม่ตก น้ำก็พุขึ้นมาจากแผ่นดิน ในขณะ
นั้น น้ำแม้นั้น ก็พุขึ้นแล้วจากแผ่นดินในวันนี้ ท่าน
จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
หมู่ดาวและดาวนักษัตรทั้งหลาย ก็แจ่มกระจ่าง
ตลอดมณฑลท้องฟ้า ดวงจันทร์ก็ประกอบด้วยดาวฤกษ์
วิสาขะ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในโพรง ที่อยู่ในร่องน้ำก็ออก
จากที่อยู่ของตน สัตว์แม้เหล่านั้นก็ออกจากที่อยู่แล้ว
ในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ความไม่ยินดีทั้งหลายไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายย่อมเป็นผู้สันโดษ ในขณะนั้นสัตว์แม้เหล่านั้น
ก็เป็นผู้สันโดษแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่นอน.
ในขณะนั้น โรคทั้งหลายก็สงบไป ความหิวก็
หายไป บุพนิมิตแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ในขณะนั้น ราคะก็เบาบาง โทสะ โมหะก็เสื่อม
หาย กิเลสแม้เหล่านั้นก็เลือนหายไปหมดในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ในขณะนั้นภัยก็ไม่มี ความไม่มีภัยนั้นก็เห็นแม้
ในวันนี้ พวกเรารู้กัน ด้วยเหตุนั้น ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
กิเลสดุจธุลีไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน ความไม่ฟุ้งแห่ง
กิเลสดุจธุลีนั้นก็เห็นกันแม้ในวันนี้ พวกเรารู้กัน ด้วย
เหตุนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาก็จางหายไป กลิ่นทิพย์ก็
โชยมา กลิ่นหอมแม้นั้น ก็โชยมาในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
เทวดาทั้งหมดเว้นอรูปพรหมก็ปรากฏ เทวดาแม้
เหล่านั้น ก็เห็นกันหมดในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธ-
เจ้าแน่นอน.
ขึ้นชื่อว่านรกมีประมาณเท่าใด ก็เห็นกันได้หมด
ในขณะนั้น นรกแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
กำแพงบานประตู และภูเขาหิน ไม่เป็นที่กีด
ขวางในขณะนั้น กำแพงบานประตูและภูเขาหินแม้
เหล่านั้น ก็กลายเป็นอากาศไปในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
การจุติและปฏิสนธิ ย่อมไม่มีในขณะนั้น บุพ-
นิมิตแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันได้ในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
ขอท่านโปรดจงประคับประคอง ความเพียรไว้
ให้มั่น อย่าถอยกลับ โปรดก้าวไปข้างหน้าต่อไปเถิด
แม้พวกเราก็รู้เหตุข้อนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่
นอน.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #49 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:53:22 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ สุตฺวาน วจนํ ความว่า ฟังคำ
พยากรณ์พระโพธิสัตว์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรนี้. บทว่า อสมสฺส

ได้แก่ ชื่อว่าไม่มีผู้เสมอ เพราะไม่มีผู้เสมอเหมือน เหมือนอย่างที่ตรัสว่า

น เม อาจริโย อตฺถิ สทิโส เม น วิชฺชติ
สเทวกสฺมึ โลกสฺมึ นตฺถิ เม ปฏิปุคฺคโล.
เราไม่มีอาจารย์ ผู้เสมือนเราไม่มี ผู้เทียบเรา
ไม่มีในโลก พร้อมทั้งเทวโลก.
บทว่า มเหสิโน ความว่า ชื่อว่ามเหสี เพราะเสาะแสวงหาคุณคือศีล
สมาธิปัญญาใหญ่. ผู้แสวงหาคุณใหญ่พระองค์นั้น. บทว่า นรมรู ได้แก่มนุษย์

และเทวดาทั้งหลาย ก็ศัพท์นี้ชี้แจงความอย่างสูง สัตว์แม้ทั้งหมด แม้แต่นาค

สุบรรณและยักษ์เป็นต้นในหมื่นโลกธาตุก็พากันดีใจ. บทว่า พุทฺธพีชํ กิร

อยํ ความว่า พากันดีใจว่า ได้ยินว่า หน่อเนื้อพุทธางกูรนี้เกิดขึ้นแล้ว.

บทว่า อุกฺกฏฺฐิสทฺทา ความว่า เสียงโห่ร้องเป็นไปอยู่. บทว่า
อปฺโผเฏนฺติ ได้แก่ ยกแขนขึ้นปรบมือ. บทว่า ทสสทสฺสี แปลว่า หมื่นโลก

ธาตุ. บทว่า สเทวกา ความว่า หมื่นโลกธาตุกับเทวดาทั้งหลายที่ชื่อว่า สเทวกะ

ย่อมนมัสการ. บทว่า ยทิมสฺส ตัดบทว่า ยทิ อิมสฺส หรือปาฐะ ก็อย่างนี้

เหมือนกัน. บทว่า วิรชฺฌิสฺสาม ได้แก่ ผิว่าเราไม่บรรลุ. บทว่า อนาค-

ตมฺหิ อทฺธาเน แปลว่า ในอนาคตกาล. บทว่า เหสฺสาม แปลว่า จักเป็น.

บทว่า สมฺมุขา แปลว่า ต่อหน้า. บทว่า อิมํ คือ อิมสฺส ทุติยาวิภัตติ
ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ แปลว่า ของท่านผู้นี้.

บทว่า นทึ ตรนฺตา ได้แก่ ผู้ข้ามแม่น้ำ ปาฐะว่า นทิตรนฺตา

ดังนี้ก็มี. บทว่า ปฏิติตฺถํ ได้แก่ ท่าเรือเฉพาะหน้า. บทว่า วิรชฺฌิย แปลว่า

พลาดแล้ว. บทว่า ยทิ มุญฺจาม ความว่า ผิว่า พวกเราจักพ้นพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นี้โดยไม่ได้ทำกิจไป. บทว่า มม กมฺมํ ปกิตฺเตตฺวา

ได้แก่ ทรงพยากรณ์ประโยชน์ที่เราเจริญแล้ว. บทว่า ทกฺขิณํ ปาทมุทฺธริ

แปลว่า ยกพระบาทเบื้องขวา. ปาฐะว่า กตปทกฺขิโณ ดังนี้ก็มี.

บทว่า ชินปุตฺตา ได้แก่ สาวกของพระศาสดาทีปังกร. บทว่า เทวา
มนุสฺสา อสุรา จ อภิวาเทตฺวาน ปกฺกมุํ ความว่า ท่านเหล่านี้แม้ทั้ง

หมดมีเทวดาเป็นต้น ทำประทักษิณเรา ๓ ครั้ง บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น ตั้ง

อัญชลีไว้เป็นอย่างดี ไหว้แล้วก็กลับ แลดูบ่อย ๆ แล้วชมด้วยสดุดีนานาประการ

ที่มีอรรถพยัญชนะอันไพเราะแล้วหลีกไป. ปาฐะว่า นรา นาคา จ คนฺธพฺพา

อภิวาเทตฺวาน ปกฺกมุํ ดังนี้ก็มี.

บทว่า ทสฺสนํ เม อติกฺกนฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาค
เจ้าล่วงทัศนวิสัยของเราไปแล้ว. ปาฐะว่า ชหิเต ทสฺสนูปจาเร ดังนี้ก็มี.

บทว่า สสงฺเฆ ได้แก่ พร้อมกับพระสงฆ์ ชื่อว่า สสังฆะ พร้อมกับพระ-

สงฆ์นั้น. บทว่า สยนา วุฏฺฐหิตฺวา ได้แก่ ลุกขึ้นจากตม อันเป็นที่ ๆ

ตนนอนลงแล้ว. บทว่า ปลฺลงฺกํ อาภุชึ ความว่า ทำบัลลังก์คือขัดสมาธิ

นั่งเหนือกองดอกไม้. ปาฐะว่า หฏฺโฐ หฏฺเฐน จิตฺเตน อาสนา วุฏฺฐหึ

ตทา ดังนี้ก็มี. ปาฉะนั้น มีอรรถง่าย.

บทว่า ปีติยา จ อภิสฺสนฺโน ได้แก่ อันปีติสัมผัสซาบซ่านแล้ว.
บทว่า วสีภูโต ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ชำนาญ. บทว่า ณาเน ได้แก่ รูปาวจร

ฌานและอรูปาวจรฌาน. บทว่า สหสฺสิยมฺหิ แปลว่า หมื่น. บทว่า โลกมฺหิ

ได้แก่ ในโลกธาตุ. บทว่า เม สมา ได้แก่ เสมือนเรา. พระองค์ตรัสโดยไม่

แปลกว่า ผู้ที่เสมอไม่มี บัดนี้เมื่อจะทรงกำหนดความนั้นนั่นแลจึงตรัสว่า ไม่มีผู้

เสมอในอิทธิธรรมทั้งหลาย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทธิธมฺเมสุ ความ

ว่า ในอิทธิธรรม ๕. บทว่า ลภึ แปลว่า ได้แล้ว. บทว่า อีทิสํ สุขํ

ได้แก่ โสมนัสเช่นนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงว่า ครั้งนั้น สุเมธดาบส ฟังพยากรณ์
ของพระทศพลแล้ว สำคัญความเป็นพระพุทธเจ้าประหนึ่งอยู่ในกำมือแล้วก็มี

หัวใจเบิกบาน มหาพรหมในชั้นสุทธาวาสทั้งหลาย ในหมื่นโลกธาตุ เคยเห็น

อดีตพระพุทธเจ้ามา เพื่อประกาศความเที่ยงแท้ไม่แปรผันแห่งพระดำรัสของ

พระตถาคต เพราะเห็นปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นในการพยากรณ์นิยตพระโพธิสัตว์

เมื่อทรงแสดงคำที่เทวดาทั้งหลายแสดงความยินดีกะเรา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้

จึงตรัสว่า ปลฺลงฺกาภุชเน มยฺหํ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺกาภุชเน มยฺหํ ได้แก่ ในการ
นั่งขัดสมาธิของเรา. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ทสสหสฺสาธิวา-

สิโน ได้แก่ มหาพรหมทั้งหลายที่อยู่ในหมื่นโลกธาตุ. บทว่า ยา ปุพฺเพ

ได้แก่ ยานิ ปุพฺเพ คำนี้พึงทราบว่าท่านกล่าวลบวิภัตติ. บทว่า ปลฺลงฺก-

วรมาภุเช ได้แก่ ในการนั่งขัดสมาธิอย่างดี. บทว่า นิมิตฺตานิ ปทิสฺสนฺติ

ความว่า นิมิตทั้งหลาย ปรากฏแล้ว เมื่อควรจะกล่าวคำเป็นอดีตกาล ก็กล่าว

คำเป็นปัจจุบันกาล ถึงคำที่กล่าวเป็นปัจจุบันกาลแต่ก็ควรถือความเป็นอดีตกาล.

บทว่า ตานิ อชฺช ปทิสฺสเร ความว่า นิมิตเหล่าใด เกิดขึ้นแล้วในการ

ที่นิยตพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งขัดสมาธิแม้ในกาลก่อน นิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกัน

อยู่ในวันนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอนทีเดียว. แต่มิใช่

นิมิตเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว. คำว่า นิมิตเหล่านั้นก็เห็นกันอยู่ในวันนี้ พึง

ทราบว่า ท่านกล่าวก็เพราะเสมือนนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วนั้น.

บทว่า สีตํ แปลว่า ความเย็น. บทว่า พฺยปคตํ แปลว่า ไปแล้ว
ไปปราศแล้ว. บทว่า ตานิ ความว่า ความเย็นก็คลายไปความร้อนก็ผ่อนไป

บทว่า นิสฺสทฺทา ได้แก่ ไม่มีเสียง ไม่อึกทึก. บทว่า นิรากุลา

แปลว่า ไม่วุ่นวาย. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า น สนฺทนฺติ

ได้แก่ ไม่นำไป ไม่ไหลไป. บทว่า สวนฺติโย แปลว่า แม่น้ำทั้งหลาย. บทว่า

ตานิ ได้แก่ ไม่พัดไม่ไหล. บทว่า ถลชา ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดที่ต้นไม้ตาม

พื้นดินและบนภูเขา. บทว่า ทกชา ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดในน้ำ. บทว่า ปุปฺผนฺติ

ได้แก่ บานแล้วแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในกาลก่อน. คำเป็นปัจจุบันลงในอรรถ

อดีตกาล พึงทราบ โดยนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล. บทว่า เตปชฺช

ปุปฺผิตานิ ความว่า ดอกไม้แม้เหล่านั้น บานแล้วในวันนี้.

บทว่า ผลภารา ได้แก่ ทรงผล. บทว่า เตปชฺช ตัดบทว่า เตปิ
อชฺช ท่านกล่าวว่า เตปิ โดยลิงควิปลาส เพราะท่านกล่าวว่า ลตา วา

รุกฺขา วา. บทว่า ผลิตา แปลว่า เกิดผลแล้ว. บทว่า อากาสฏฺฐา จ

ภุมฺมฏฺฐา ได้แก่ ไปในอากาศ และที่ไปบนแผ่นดิน. บทว่า รตนานิ ได้

แก่ รัตนะทั้งหลาย มีแก้วมุกดาเป็นต้น. บทว่า โชตสฺติ แปลว่า ส่องแสงสว่าง.

บทว่า มานุสฺสกา ได้แก่ เป็นของมนุษย์ทั้งหลาย ชื่อว่ามานุสสกะของมนุษย์.

บทว่า ทิพฺพา ได้แก่ เป็นของเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่าทิพพะของเทวดา.

บทว่า ตุริยา ได้แก่ ดนตรี ๕ คือ อาตตะ วิตตะ อาตตะวิตตะ สุสิระและ

ฆนะ. บรรดาดนตรีเหล่านั้น ในดนตรีมีกลองเป็นต้นที่หุ้มหนัง ดนตรีที่หุ้ม

หนังหน้าเดียวชื่อว่าอาตตะ ดนตรีที่หุ้มหนังสองหน้าชื่อว่าวิตตะ ดนตรีมีพิณ

ใหญ่เป็นต้นที่หุ้มหนังหมด ชื่อว่าอาตตะวิตตะ ดนตรีมีปี่เป็นต้น ชื่อว่าสุสิระ.

ดนตรีมีสัมมตาลเป็นต้น ชื่อว่าฆนะ. บทว่า วชฺชนฺติ ได้แก่ บรรเลงแล้ว

โดยนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง คำที่เป็นปัจจุบันกาล พึงทราบว่าใช้ในอรรถ

อดีตกาล แม้ในคำเช่นนี้ต่อๆ ไป ก็นัยนี้. บทว่า อภิรวนฺติ ความว่า ร้องดัง

บันลือลั่นเหมือนดนตรีทีผู้ฉลาดบรรเลงแล้ว ประโคมแล้ว ขับร้องแล้ว.

บทว่า วิจิตฺตปุปฺผา ได้แก่ ดอกไม้ทั้งหลาย มีกลิ่นและสีต่าง ๆ อัน
งดงาม. บทว่า อภิวสฺสนฺติ แปลว่า ตกลงแล้ว อธิบายว่าหล่นแล้ว. บทว่า

เตปิ ความว่า ดอกไม้อันงดงามแม้เหล่านั้น ตกลงอยู่ก็เห็นกันในวันนี้ อธิบาย

ว่าอันหมู่เทวดาและพรหมโปรยลงมาอยู่. บทว่า อภิรวนฺติ ได้แก่ บันลือลั่น.

บทว่า นิรเย ได้แก่ ในนรกทั้งหลาย. บทว่า ทสสหสฺเส ได้แก่ หลายหมื่น.

บทว่า นิพฺพนฺติ ได้แก่ สงบ อธิบายว่าถึงความสงบ. บทว่า ตารกา ได้แก่

ดาวฤกษ์ทั้งหลาย. บทว่า เตปิ อชฺช ปทิสฺสนฺติ ความว่า ดวงดาวแม้

เหล่านั้น ก็เห็นกันกลางวันวันนี้ เพราะดวงอาทิตย์สุกใสไร้มลทิน.

บทว่า อโนวฏฺเฐน ได้แก่ คำว่า อโนวฏฺเฐ นี้เป็นตติยาวิภัตติลงใน
อรรถสัตตมีวิภัตติ. อีกนัยหนึ่ง บทว่า อโนวฏฺเฐ ได้แก่ ไม่มีอะไรแม้ปิด

กั้น. คำว่า น เป็นเพียงนิบาตเหมือนในประโยคเป็นต้นว่า สุตฺวา น ทูตวจนํ

ฟังคำของทูตดังนี้. บทว่า ตมฺปชฺชุพฺภิชฺชเต ความว่า น้ำแม้นั้นก็พุขึ้นใน

วันนี้ อธิบายว่าแทรกพุ่งขึ้น. บทว่า มหิยา ได้แก่ แผ่นดิน เป็นปัญจมีวิภัตติ.

บทว่า ตาราคณา ได้แก่ หมู่ดาวทั้งหมด มีดาวเคราะห์และดาวนักษัตร

เป็นต้น. บทว่า นกฺขตฺตา ได้แก่ ดาวฤกษ์ทั้งหลาย. บทว่า คคนมณฺฑเล

ความว่า ส่องสว่างทั่วมณฑลท้องฟ้า. บทว่า พิลาสยา ได้แก่ สัตว์ที่อยู่ใน

ปล่องมีงู พังพอน จรเข้และเหี้ย เป็นต้น. บทว่า ทรีสยา ได้แก่ สัตว์ที่อยู่ใน

แอ่งน้ำ หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า นิกฺขมนฺติ ได้แก่ ออกไป

แล้ว. บทว่า สกาสยา แปลว่า จากที่อยู่ของตนๆ ปาฐะว่า ตทาสยา ดังนี้ก็มี

ปาฐะนั้นมีความว่า ในครั้งนั้นคือในกาลนั้น จากที่อยู่คือปล่อง. บทว่า ฉุทฺธา

ได้แก่ อันเขาซัดไปแล้ว ขึ้นไปแล้ว คือออกไป.

บทว่า อรตี ได้แก่ ความกระสัน. บทว่า สนฺตุฏฺฐา ได้แก่สัน-
โดษด้วยสันโดษอย่างยิ่ง. บทว่า วินสฺสติ ได้แก่ ไปปราศ. บทว่า ราโค

ได้แก่กามราคะ. บทว่า ตทา ตนุ โหติ ได้แก่ มีประมาณน้อย ทรงแสดง

ปริยุฏฐานกิเลสด้วยบทนี้. บทว่า วิคตา ได้แก่ สูญหาย. บทว่า ตทา ได้แก่

ครั้งก่อน อธิบายว่า ครั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ. บทว่า น ภวติ

แปลว่า ไม่มี. บทว่า อชฺชเปตํ ความว่า แม้ครั้งท่านนั่งขัดสมาธิในวันนี้

ภัยนั้นก็ไม่มี. บทว่า เตน ลิงฺเคน ชานาม ความว่า พวกเราทุกคนย่อม

รู้ด้วยเหตุที่ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า.

บทว่า อนุทฺธํสติ ได้แก่ ไม่ฟุ้งขึ้น. บทว่า อนิฏฺฐคนฺโธ ได้แก่
กลิ่นเหม็น. บทว่า ปกฺกมติ แปลว่า หลีกไปแล้ว ปราศไปแล้ว. บทว่า

ปวายติ แปลว่า พัดไปแล้ว. บทว่า โสปชฺช ได้แก่ กลิ่นทิพย์แม้นั้น ในวันนี้.

บทว่า ปทิสฺสนฺติ ได้แก่ เห็นกันแล้ว. บทว่า เตปชฺช ได้แก่ เทวดา

ทั้งหมดแม้นั้นในวันนี้. ศัพท์ว่า ยาวตาเป็นนิบาตลงในอรรถว่ากำหนด ความว่า

มีประมาณเท่าใด. บทว่า กุฑฺฑา แปลว่า กำแพง. บทว่า น โหนฺตาวรณา

ได้แก่ ทำการขวางกั้นไม่ได้. บทว่า ตทา ได้แก่ ครั้งก่อน. บทว่า

อากาสภูตา ได้แก่ กำแพงบานประตูและภูเขาเหล่านั้น ไม่อาจทำการขวางกั้น

ทำไว้ข้างนอกได้ อธิบายว่าอากาศกลางหาว. บทว่า จุติ ได้แก่ มรณะ. บทว่า

อุปฺปตฺติ ได้แก่ ถือปฏิสนธิ. บทว่า ขเณ ได้แก่ ในขณะพระโพธิสัตว์ทั้ง

หลายนั่งขัดสมาธิในกาลก่อน. บทว่า น วิชฺชติ แปลว่า ไม่มีแล้ว . บทว่า

ตานิปชฺช ความว่า การจุติปฏิสนธิ ในวันนี้แม้เหล่านั้น. บทว่า มา นิวตฺติ

ได้แก่ จงอย่าถอยหลัง. บทว่า อภิกฺกม ได้แก่ จงก้าวไปข้างหน้า คำที่เหลือ

ในเรื่องนี้ ง่ายทั้งนั้นแล.

ต่อจากนั้น สุเมธบัณฑิต สดับคำของพระทีปังกรทศพล และของ
เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล ก็เกิดอุตสาหะ อย่างยิ่งยวด คิดว่า ธรรมดาพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวาจาไม่โมฆะเปล่าประโยชน์ พระวาจาของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายไม่เปลี่ยนเป็นอื่น. เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่เหวี่ยงไปในอากาศก็ตก

แน่นอน สัตว์ที่เกิดมาแล้วก็ตาย เมื่ออรุณขึ้นดวงอาทิตย์ก็ขึ้นสู่ท้องฟ้า ราชสีห์

ออกจากที่อยู่ ก็บันลือสีหนาท สตรีมีครรภ์หนักก็ปลงภาระแน่นอน เป็น

อย่างนี้โดยแท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็แน่นอนไม่

โมฆะเปล่าประโยชน์ ฉันนั้นเหมือนกัน เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เราสดับพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และคำของ
เทวดาในหมื่นโลกธาตุ ทั้งสองแล้ว ก็ยินดีร่าเริงเบิก
บานใจ ในครั้งนั้น จึงคิดอย่างนี้ว่า
พระชินพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่เป็นสอง
มีพระดำรัสไม่เป็นโมฆะ คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้ง
หลายไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ก้อนดินถูกเหวี่ยงไปในอากาศ ย่อมตกที่พื้นดิน
แน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ก็เที่ยงแท้แน่นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ความตายของสัตว์ทั้งหมด เที่ยงแท้ แน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็เที่ยง
แท้แน่นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
เมื่อสิ้นราตรี ดวงอาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอน ฉันใด
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็เที่ยงแท้แน่
นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี
เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ราชสีห์ออกจากที่นอน ก็บันลือสีหนาทแน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐก็ฉันนั้น
คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี เราจะเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
สัตว์มีครรภ์หนัก ก็ปลงภาระแน่นอน ฉันใด
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็เที่ยงแท้แน่
นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี
เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.