พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 361
[อรรถาธิบาย คำว่า นิรพฺพุทโท เป็นต้น]
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิรพฺพุโท คือเว้นจากเสนียด. พวกโจร
ท่านเรียกว่า เสนียด. อธิบายว่า หมดโจร. ก็ในอรรถนี้ พวกภิกษุผู้ทุศีล
ท่านประสงค์เอาว่า เป็นโจร. จริงอยู่ ภิกษุผู้ทุศีลเหล่านั้น ย่อมลักปัจจัย
ของคนเหล่าอื่น เพราะเป็นผู้มิใช่สมณะ แต่มีความสำคัญว่าเป็นสมณะ เพราะ
เหตุนั้น ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ไม่มีโจร มีอธิบายว่า ไม่มีคนทุศีล. บทว่า
นิราทีนโว ได้แก่ ไม่มีอุปัทวะ คือไม่มีอุปสรรค. มีคำอธิบายว่า เว้นจาก
โทษของผู้ทุศีลทีเดียว. ผู้ทุศีลแล ท่านเรียกว่า คนดำ ในคำว่า อปคตกาฬโก
นี้. จริงอยู่ ผู้ทุศีลเหล่านั้น แม้เป็นผู้มีวรรณะดุจทองคำ พึงทราบว่า เป็น
คนดำทีเดียว เพราะประกอบด้วยธรรมดำ. เพราะไม่มีคนมีธรรมดำเหล่านั้น
จึงชื่อว่า อปคตกาฬก. ปาฐะว่า อปหตกาฬก ก็มี. บทว่า สุทฺโธ คือ
ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะมีคนดำปราศไปแล้วนั่นเอง. บทว่า ปริโยทาโต คือ
ผุดผ่อง. คุณคือศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ท่านเรียกว่า
สาระ ในคำว่า สาเร ปติฏฺฐิโต นี้. เพราะตั้งอยู่แล้วในสาระนั้น จึงชื่อว่า
ตั้งอยู่ในสารคุณ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่ภิกษุสงฆ์ตั้งอยู่ใน
สารคุณอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงอีกว่า ก็ความที่ภิกษุสงฆ์นั้นตั้งอยู่ใน
สารคุณนั้น พึงทราบอย่างนี้
http://www.samyaek.com/pratripidok/index.php?topic=809.0