วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
"ไหว้พระวัดระฆัง มีชื่อเสียงโด่งดังตลอดปี"
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (วัดระฆัง) ตั้งอยู่ทางฝั่งธนบุรี ตรงข้ามกับท่าช้างวังหลวง เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง และโปรดเกล้าฯ ให้สังคยาพระไตรปิฏกที่นี่ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีการขุดพบระฆังโบราณในเขตวัด ประชาชนจึงเรียกว่า วัดระฆังตั้งแต่นั้นมา แต่ตัวระฆังซึ่งมีเสียงดี รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สิ่งสำคัญในวัดได้แก่ ตำหนักทอง ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) พระอุโบสถกับหอพระไตรปิฏกที่รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้าง ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังประดับทั้งสองหลัง สถาปัตยกรรมไทยในวัดที่มีชื่อเสียงเลื่องลือว่างามยิ่ง คือ หอพระไตรปิฏก เดิมอยู่กลางสระที่ขุดขึ้นด้านหลังพระอุโบสถ สร้างเป็นเรือนแฝด ๓ หลัง ด้วยไม้ที่รื้อพระตำหนักและหอนั่งเดิมของรัชกาลที่ ๑ เมื่อครั้งยังทรงรับราชกาลอยู่กรุงธนบุรี ฝาผนังด้านนอกทาสีดินแดง ด้านในเขียนภาพฝีมืออาจารย์นาค เป็นภาพแสดงวิถีชีวิตประจำวันของคนสมัยนั้น บานประตูตกแต่งด้วยการเขียนลายรดน้ำและแกะสลักอย่างงดงาม นอกจากนั้นยังมี ตู้พระไตรปิฏก ลายรดน้ำขนาดใหญ่สมัยกรุงศรีอยุธยา อยู่ในห้องด้านเหนือและห้องด้านใต้
ข้อมูลจาก
http://www.lib.ru.ac.th/journal/wat/rakungpagetwo.htmlวัดอมรินทราราม
วัดอมรินทราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 566 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ประวัติความเป็นมา
วัดนี้เป็นวัดโบราณ ชื่อว่า "วัดบางหว้าน้อย" สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงคู่กันกับวัดระฆังโฆสิตาราม เดิมเป็นชั้นตรีชนิดราชวรวิหาร ต่อมาได้ถูกจัดเป็น ชั้นตรีชนิดวรวิหาร ตามประกาศลงวันที่ 30 กันยายน 2548
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโ่ลกมหาราชทรางสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นแล้ว กรมพระราชวังหลังได้โปรดสถาปนาวัดนี้ขึ้นใหม่หมดทั้งพระอาราม คือ สร้างพระอุโบสถ พระระเบียง วิหาร กำแพงแก้ว ศาลาราย หอระฆัง หอไตร หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียฐ กุฏิ เสนาสนะ และ ถนนในพระอาราม รัชกาลที่ 1 ได้พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอมรินทราราม" และทรงสร้างพระอุโบสถที่สร้างค้างอยู่ต่อไปจนสำเร็จ ต่อมารัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร และสิ่งอื่น ๆ รวมทั้งทรงสร้างกุฏิเพิ่มเติมอีกหลายห้อง การปฏิสังขรณ์ได้กระทำกันต่อเนื่องมาทุกยุคของเจ้าอาวาส แต่ละรูปรวมทั้งพระบรมราชวงศ์ ข้าราชบริพาร และ ราษฏรผู้มีจิตศรัทธา บริจาคทรัพย์บูรณะปฏิสังขรณ์วัดอมรินทรารามมาด้วยดีจนถึงปัจจุบันนี้
ข้อมูลจาก
http://203.155.220.217/bangkoknoi/travel/watamarintaram.htmวัดราชาธิวาสวรวิหาร
ไปถึงวัดปิดแล้ว แป๊วววววววววววว
วัดนี้ปิด 4 โมงเย็นนะค่ะ
เลยกลับลำเรือไปวัดคฤหบดีแทน
วัดราชาธิวาสวิหาร เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ พัฒนาโดยพระบรมราชูปถัมภ์ จากพระมหากษัตริย์ไทยในราชจักรีวงศ์มาโดยลำดับ เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีมาโดยตลอด มีสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดราชวรวิหาร และเป็นพระอารามหลวงฝ่ายธรรมยุต สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๐ และผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ (กองพุทธสถาน)
เขตและอุปจาร
วัดราชาธิวาสวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกหรือฝั่งพระนคร ห่างจากสนามหลวงสองกิโลเมตรเศษไปทางเหนือ ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ น้ำท่วมถึงเป็นบางส่วน มีถนนใหญ่ผ่านกลางวัด (ถนนสามเสน ๙ หรือซอยวัดราชา) จากถนนสามเสนถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในบริเวณวัดมีเสนาสนะ ถนนเชื่อมเสนาสนะ มีต้นไม้ปกคลุมร่มรื่น มีสนามหญ้าเขียวขจีที่จัดไว้เป็นสัดส่วน มีเนื้อที่ตั้งวัดทั้งสิ้น ๓๔ ไร่ ๒ งาน ๖๓ ตารางวา และมีอาณาเขตวัดดังนี้
ทิศตะวันตก (ด้านหน้าวัด) จรดแม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันออก (ด้านหลังวัด) จรดที่ธรณีสงฆ์ของวัด ถัดไปเป็นถนนสามเสน และสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
ทิศใต้ จรดคลองท่อ และท่าวาสุกรีและหอสมุดแห่งชาติ
ทิศเหนือ จรดคูคลองจากแม่น้ำเจ้าพระยาถึงถนนสามเสน (คลองวัดราชา) ถัดไปเป็นโรงเรียนเซ็นต์คาเบรียลและบ้านญวน
ข้อมูลจาก
http://www.watraja.org/index.php?option=com_content&task=category§ionid=5&id=20&Itemid=50วัดคฤหบดี
ประวัติความเป็นมา
วัดคฤหบดี เป็นวัดที่พระยาราชมนตรีบริรักษ์ (ภู่) ต้นสกุล “ภมรมนตรี” เป็นผู้สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ได้โปรดพระราชทานนามวัด และพระราชทานพระแซกคำไว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถด้วย แต่เดิมนั้นพระยาราชมนตรีบริรักษ์ (ภู่) มีบ้านอยู่ริมฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือบ้านปูน ตำบลบางพลัด (แขวงบางยี่ขันปัจจุบัน) ได้ถวายตัวเข้ารับราชการตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ยังทรงกรมเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ (บ้านเดิมคือ บริเวณวัดคฤหบดีทุกวันนี้) ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้โปรดตั้งนายภู่จางวางเป็นพระยาราชมนตรีบริรักษ์ จางวางมหาดเล็ก และได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นว่าการพระคลังมหาสมบัติ ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบ้านที่พระศรีสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) อาศัยอยู่ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของท่าพระ (ท่าช้างวังหลัง) ให้พระยาราชมนตรีบริรักษ์ (ภู่) ได้อยู่อาศัยใหม่ พระยาราชมนตรีฯ จึงได้ยกบ้านเดิมของท่านให้สร้างเป็นวัด และนำความน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ พระองค์ได้ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง พร้อมกับพระราชทานนามว่า “วัดคฤหบดี” และได้พระราชทานพระแซกคำไว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถด้วย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้ทำการปฏิสังขรณ์วัดคฤหบดีครั้งใหญ่ ทำให้อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีสภาพถาวรมั่นคงเป็นที่พอพระราชหฤทัย และได้ทรงพระราชทานตราประจำรัชกาลพระองค์ท่านประดิษฐานไว้จนกระทั่งบัดนี้
สิ่งศักดิ์สิทธิ์
หลวงพ่อแซกคำ สมัยเชียงแสน ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปทองคำโบราณ
ข้อมูลจาก
http://wadkaruhabodee.wetpaint.com/page/ประวัติวัดคฤหบดี
วัดเทวราชกุญชร
ความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระพุทธเทวราชปฏิมากร
การกราบนมัสการและถวายเครื่องสักการะแด่องค์พระพุทธเทวราชปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถของวัดเทวราชกุญชรนับว่าแปลกกว่าวัดอื่นใด เนื่องจากพุทธศาสนิกชนนิยมถวาย “ผ้าไตร” แทนดอกไม้ธูปเทียน ได้สร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่การกราบขอพรพระศักดิ์สิทธิ์องค์นี้เป็นเท่าทวีคูณ และนับเป็นวัดแรกในประเทศไทยที่นำผ้าไตรมาเป็นเครื่องสักการะที่ได้รับความศรัทธาสูงสุดมาจนทุกวันนี้
ความศักดิ์สิทธิ์แห่งการถวายผ้าไตรแด่องค์พระพุทธเทวราชปฏิมากร มีเรื่องเล่ามาว่าเมื่อครั้งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธีพุทธาภิเสกพระพุทธเทวราชปฏิมากร ขนาดบูชา ๙ นิ้ว เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ พระอุโบสถวัดเทวราชกุญชร สมเด็จพระมหาธีราจารย์วัดชนะสงครามประธานสงฆ์จุดเทียนชัย
รุ่งขึ้นวันจันทร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เวลา ๑๖.๐๐ น. มีการสมโภชพระพุทธเทวราชปฏิมากร พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาและอธิษฐานจิต ต่อมามีผู้นำผ้าไตรจีวรมาถวาย เพราะประสบความสำเร็จตามที่อธิษฐานขอพรไว้ อาศัยเหตุอันเป็นมงคลนี้ จึงเริ่มต้นถวายผ้าไตรจีวรพระพุทธเทวราชปฏิมากร ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึงปัจจุบัน
พุทธศาสนิกชนสามารถถวายผ้าไตรจีวรแด่พระพุทธเทวราชปฏิมากรได้ทุกวันโดยทางวัดได้จัดเตรียมผ้าไตรไว้สำหรับสาธุชนได้ทำบุญตามกำลังศรัทธาในเวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ น.
ข้อมูลจาก
http://www.watdevaraj.com/index.php?mo=10&art=108997ได้ไปไหว้พระขอพรเสริมศิริมงคลก่อนปีใหม่ สุขใจไม่ใช่น้อยเลยค่ะ
เอาบุญมาฝากเพื่อนๆทุกคนด้วยนะค่ะ
ใกล้ปีใหม่แล้วก็ขอให้ทุกท่านโชคดีมีความสุข พบเจอแต่สิ่งที่ดี
สุขภาพแข็งแรง รวยๆกันถ้วนหน้านะค่ะ