ได้ไปเข้าค่ายวิปัสสนาที่วัดห้วยส้มจังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลา7คืน8วันมา สนุกมากๆ ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างเลยล่ะ
ไม่คิดเลยว่ามันจะเปลี่ยนแปลงและขัดเกลาสภาพจิตใจเราได้ขนาดนี้ เป็นคนที่ไม่เชื่อเรื่องศาสนาอะไรทั้งนั้น
เรียกได้เลยว่า เค้าบอกว่าเราเป็นพุทธ เราก็เออออว่าเป็นพุทธ ทั้งที่จริงๆไม่ได้สนใจธรรมะขนาดนั้น
ใกล้ชิดธรรมะมากสุดก็สนทนาธรรมกับพี่มดเมื่อเกือบสิบปีมาแล้ว
แต่เอ๊ะ มันน่าสงสัยจริงๆนะ ว่าสรุปแล้วธรรมะเนี่ย ศาสนาพุทธเนี่ย มันยังไงกัน
วันที่1 :
ไปถึงค่ายประมาณเกือบเที่ยง แล้วก็ไปนั่งฟังเค้าปฐมนิเทศ ก็ฟังดูงงๆ ไม่ค่อยรู้เรื่อง นั่งบนพื้นในห้องวิปัสสนางี้ ก็ต้องง่วงเป็นธรรมดา
นั่งสัปหงกแบบไม่เกรงใจอาจารย์เลย พอเค้าปฐมนิเทศเสร็จ ก็เริ่มเดินจงกรมนั่งสมาธิกันเลย
แล้วก็บอกว่า เนี่ยนะ มีการเดินจงกรม ระยะที่1 เราจะเดินโดยดูตามบริกรรม อิริยาบทที่เกิดขึ้นจริง
โดยจะท่องว่า "ขวา ย่าง หนอ"
ึคำว่า "ขวา" คือ ท่าที่มีแค่ปลายเท้าเท่านั้นที่ยังแตะพื้น
คำว่า "ย่าง" คือ ท่าที่ยกปลายเท้าขึ้นแล้วไปข้างหน้า แต่ยังไม่ให้เท้าแตะพื้น คืออยู่เหนือพื้นนิดหน่อย
คำว่า "หนอ" มันเป็นคล้ายๆ จุด full stop ในภาษาอังกฤษ ถ้ามีคำว่าหนอ คือ กิจกรรมหรือท่าทางที่พูดก่อนหน้านั้นได้จบลงไปแล้ว โดยหนอในการเดินจงกรมระยะที่หนึ่งนั้น
จะหมายถึงการที่เท้าได้วางลงบนพื้นเรียบร้อย
พอเดินไปได้สักพัก เค้าก็จะให้เราหมุนตัวกลับ
แต่ก้าวสุดท้าย เราจะพูดว่า "ขวา หยุด หนอ"
โดยคำว่า "หยุด" นั้น คือการที่เราย่างเท้ามาแต่ไม่ได้ย่างไปข้างหน้า แต่ย่างมาไว้ที่เดียวกับขาอีกข้าง โดยยกให้สูงประมาณข้อเท้า แล้วจึงตามด้วยคำว่าหนอ คือวางเท้าลงสัมผัสกับพื้นนั่นเอง
พอหยุดปุ๊บ
เราก็จะพูดว่า "ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ" ที่พูดเพื่อจะบอกว่า ตอนนี้ตัวเรากำลังยืนอยู่นะ ไรงี้อะ
พอพูดเสร็จปุ๊บ เราก็จะหันหลังกลับใช่ปะ เราก็จะพูดว่า "อยากกลับหนอ อยากกลับหนอ อยากหลับหนอ"
คำว่า "อยากกลับหนอ" ในตอนนั้น สำหรับเรา เราหมายถึงว่า หนูอยากกลับบ้านแล้วค่ะ หนูไม่อยากทำมันแล้วค่ะ หน้าเบื่อมากเลยค่ะ
ในใจคิดแบบนั้น แต่ตาก็มองพระประทานที่ประทับอยู่ทั้งข้างหน้าและข้างหลังห้องวิปัสสนา รู้สึกบาปมากจริงๆ
พอพูดเสร็จปุ๊บ เราก็จะหมุนกลับ โดยการพูดว่า "กลับหนอ"
คำว่า "กลับ" คือให้เราหมุนส้นเท้าขวาไปในทางที่เราจะกลับ สมมติว่าจะหมุนไปทางขวา
เราก็จะให้ส้นเท้าเนี่ย เปรียบเสมือนจุดหมุนของขาวงเวียน
คำว่า "หนอ" คือให้เราวางเท้าลงสัมผัสกับพื้น
แล้วก็พูดว่า "กลับหนอ" อีกครั้ง
คราวนี้เป็นขาซ้าย
คำว่า "กลับ" ให้เรายกเท้าซ้ายขึ้น คาไว้ในอากาศ ความสูงประมาณข้อเท้า
คำว่า "หนอ" พอถึงคำนี้ เราจึงค่อยเอาเท้าลง โดยเท้าที่ยกลงนั้นต้องวางชิดกับเท้าขวาที่ได้หมุนไปแล้ว
พอทำทั้งเท้าขวาและซ้าย ให้เราพูดว่า "หนึ่ง" คือกลับไปแล้วหนึ่งครั้งนั่นเอง
โดยครั้งที่ 4 นั้น ตัวเราต้องหันมาได้แล้ว 90 องศา ก่อนจะหันต่อไปอีก 90 องศาเพื่อกลับไปทิศเดิม
พูดอาจจะดูงงๆ นะ ไม่ต้องทำความเข้าใจมันมากก็ได้ ส่วนตัวคืออยากเขียนให้ตัวเองเข้าใจคนเดียว
แต่ถ้าใครเข้าใจเรา นั่นก็กลายเป็นของแถม ทั้งนั้นทั้งนี้ ไม่ใช่ไม่ต้องการแบ่งปัน แต่อยากจดจำทุกอย่างที่จำได้แล้วจดบันทึกลงไปเป็นไดอารี่
ไม่ได้มีเจตนาไม่ดีอะไรทั้งนั้นนะคะ
ต่อไปครั้งที่ 5-8 เราต้องหมุนแล้วกลับไปทางทิศเดิมให้ได้ พอกลับไปทางทิศเดิมได้แล้ว
เราก็จะพูดว่า "ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ" พูดเสร็จปุ๊บ อาจารย์เค้าก็จะบอกให้เราไปนั่งบนอาสนะเพื่อเจริญวิปัสสนาในขั้นต่อไป
ตอนที่เค้าบอกให้เราไปยืนอยู่บนอาสนะที่เราจะใช้สำหรับนั่งสมาธิเนี่ยนะ
เค้าจะพูดประมาณว่า "ให้โยคีขึ้นไปยืนบนอาสนะ
ด้วยสติ"
งงล่ะสิ ว่าคำว่า
"ด้วยสติ" คืออะไร???มันคือ .. การที่เรารู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เช่น
สมมติเราจะกินข้าว มือขวาเราก็จับช้อนอยู่ แล้วตักข้าวขึ้นมาอ้าปากเอาช้อนใส่เข้าไปในปาก ปิดปากแล้วก็เอาช้อนออกมา
ท่ากินข้าวของทุกคนคงประมาณนี้ใช่ไหม
แล้วเวลาเรากิน ให้เราพูดในใจไปด้วยประมาณว่า
1.ตอนกำลังตักข้าว เราก็พูดกับตัวเองในใจว่า "ตักหนอ"
2.พอยกช้อนข้าวขึ้น เราจึงพูดว่า "ยกขึ้นหนอ"
3.พอมือเรากำลังเคลื่อนช้อนมาเพื่อเอามาใกล้ๆปาก เราก็จะพูดว่า "มาหนอ" (เอาช้อนมาใกล้ปาก)
4.พอช้อจ่อปากแล้วเรากำลังอ้าปากจะเอาช้อนเข้าไปในปาก เราจึงพูดในใจว่า "อ้าปากหนอ"
5.พอเราเอาช้อนเข้าใส่ปาก เราก็พูดว่า "ใส่หนอ"
6.พอเราหุบปากและกำลังอมช้อนเราก็พูดว่า "อมหนอ"
สรุปแล้ว คำว่า "ด้วยสติ" คือการที่เรารู้ว่าเรากำลังทำอะไร อาจจะต้องพูดกับตัวเองในใจแบบนี้
คือเห็น step ขั้นตอนต่างๆ เวลาที่เรากำลังจะทำอิริยาบทอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง
ทีนี้ พอเรานั่งไปบทอาสนะแล้ว เค้าก็จะให้เราขยับท่าทางด้วยสติจนสามารถนั่งเป็นท่าขัดสมาธิได้
พอเรานั่งได้ที่ เค้าก็จะให้เราหลับตา แล้วนั่งสมาธิ ถ้าจำไม่ผิด เค้าน่าจะให้เรานั่ง 25 นาทีก่อน
25นาทีสำหรับเราคือนานมาก 10 นาทีว่านานแล้ว อันนี้25เลยนะ
และการนั่งสมาธินั้นก็มีกฏว่า "ห้ามลืมตา ห้ามขยับแขนขยับขาขยับมือ ห้ามเปลี่ยนท่า"
เอาง่ายๆ ว่าเค้าต้องการให้เรา "อยู่นิ่งๆ ห้ามขยับ" มันยากมากเลยนะ แล้วเราต้องนั่งหลังตรงอีกต่างหาก
เป็นช่วงที่จิตใจห่อเหี่ยวมาก ... ในใจก็คิดว่า
"ทำไมเราต้องมาทำอะไรแบบนี้ด้วยนะ ทรมานใจมากๆเลย T_T"
แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ตั้งเป้าหมายไว้ว่า
"ถ้าออกค่ายนี้ไป เราจะต้องสามารถยืนเดินนั่งหลังตรงให้ได้ คืออยู่ในท่าทุกท่าด้วยหลังตรงโดยไม่ปวดไม่เกร็งให้ได้"เป้าหมายเล็กๆนี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่คนข้างหน้าเรา เขาสามารถนั่งหลังตรงโดยไม่ขยับตัวได้อย่างน่ามหัศจรรย์
เราเองก็อยากทำได้แบบนั้นมาก และมันคงจะช่วยแบ่งเบาความเจ็บปวดที่ได้จากการนั่งสมาธิได้มากเลยทีเดียว
หลังจากนั้นเราเลยพยายามนั่งหลังตรงตลอด แต่ก็เจ็บปวดตลอดเลยล่ะ
เอ้อๆ ลืมบอกไป ว่าในการวิปัสสนาแต่ละครั้ง(เดินจงกรม+นั่งสมาธิ)
เค้าจะเรียกว่า "บัลลังก์"
ถ้ายังไม่เข้าใจจะยกตัวอย่าง
เช่น ... สมมติเรานั่งสมาธิแล้วเราแหกกฏการนั่งสมาธิตามที่บอกไปข้างต้น
เค้าจะเรียกว่า "บัลลังก์แตก
[size=100%]" ประมาณว่า เธอไม่สามารถนั่งอยู่ตามที่เค้าบอกได้ ไรงี้[/size][/size][size=100%]โดย "บัลลังก์" หรือการวิปัสสนา(เดินจงกรม+นั่งสมาธิ) นี้ มีหลายบัลลังค์มาก[/size][/size][size=100%]แต่ละบัลลังก์มีเวลาในการนั่งสมาธิที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงจุดประสงค์[/size][/size][size=100%]การที่เรานั่งสมาธิแล้วอธิษฐานขออะไรหลายๆอย่าง เช่น ขอให้เราได้บุญ แล้วผลบุญนี้ส่งไปให้คุณแม่[/size][/size][size=100%]เราก็จะเรียกมันว่า "บัลลังก์อธิษฐาน"[/size][/size][size=100%]การที่เราเดินจงกรมนั่งสมาธิแล้วเดินจงกรมแล้วนั่งสมาธิจนครบเวลาอีกรอบ เราก็จะเรียกมันว่า "บัลลังก์แฝด"[/size]อันนี้อยากจะให้เข้าใจไว้ เผื่อคำศัพท์พวกนี้อาจจะได้ใช้ในบทความ/คอมเม้นท์ต่อๆไปที่จะเล่าให้ฟังเนอะพอเรานั่งสมาธิเสร็จปุ๊บ ก็เที่ยงพอดี เราไปกินข้าว อาจารย์เค้าก็บอกว่าตอนที่เดินไปที่โรงอาหารก็ให้เรากำหนดจิตกำหนดจิต ก็คล้ายๆกับ "ด้วยสติ" คือ ... ไม่ว่าเรากำลังทำอะไรขอให้เราพูดในใจว่าตอนนั้นเรากำลังทำอะไรอยู่สมมติว่าเรากำลังนั่งบนอาสนะ จะลุกไปกินข้าวละ เราก็จะบอกกับตัวเองว่า "อยากลุกหนอ อยากลุกหนอ" เหมือนเป็นการสั่งตัวเองให้ลุกตอนที่เรากำลังลุก เราก็บอกว่า "ลุกหนอ ลุกหนอ" อะไรประมาณนี้คือเรากำลังทำอะไร เราก็พูดแบบนั้นกับตัวเอง จนกระทั่งไปถึงโรงอาหาร สำหรับวัยรุ่นใจร้อนอายุ19อย่างเราแล่้วเนี่ย มันเหนื่อยและเพลียเต็มทน
อ้อ! มีกฏอีกข้อนึง ของการมาวิปัสสนาที่วัดนี้ คือ ... "ห้ามพูด"หมายความว่า ... ตลอดระยะเวลา7คืน8วัน เราจะไม่ได้พูดกับใครเลยนอกจากอาจารย์และพี่เลี้ยงทั้งที่คอยควบคุมกับวิปัสสนา>>> ค่อนข้างเข้มงวดมากๆเลย 5555 T_T ร้องไห้แปบคือต้องเข้าใจก่อน ว่าค่ายนี้ เรามากันทั้งคณะ และแน่นอนว่ามีเพื่อน มีคนรู้จัก ส่วนอีกครึ่งในค่ายคือประชาชนทั่วไป
วันแรกๆมันก็ค่อนข้างห้ามใจยากที่จะไม่ให้พูดกับเพื่อนอะนะ
แค่มองตาก็รู้ใจ เห็นหน้าก็ใจอ่อนแล้ว
ตอนกินข้าว เราก็ยังต้องมากำหนดจิตการกินข้าว ตอนข้าวเข้าปาก
ก็ยังต้องใช้ลิ้นและฟันสัมผัสการกระทบกันของฟันและลิ้นและชิ้นอาหารและน้ำลาย
พอเคี้ยวเสร็จ จะกลืน เราก็ต้องมาสัมผัสตอนที่ก้อนอาหารกำลังไหลลงหลอดลมไป
การทำแบบนีั้ มันทำให้เรากินข้าวได้ช้ามาก
ไม่ไหวละ ไปก่อนนะเดี๋ยวมาเล่าใหม่ เมื่อยมือ แงง 55555