ก่อนจะเปลี่ยนมือถือใหม่....อยากให้อ่านตรงนี้สักนิด !!!!
1,222,245,200,000คือ ยอดขายโทรศัพท์มือถือในปี 2551
จากสถิติ ของ Worldwatch institute ระบุว่า
ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้โทรศัพย์มือถือ 1 เครื่อง
ในปัจจุบันมีอยู่ราว 14 เดือน ก่อนจะเปลี่ยนเครื่องใหม่
นับว่าน้อยกว่าอายุการใช้งานจริงที่ควรจะเป็น
ทั้งๆที่มือถือยุคใหม่ไม่ได้ทำอะไรออกมาสนองความต้องการมากนัก
และระยะเวลาในการใช้งานอาจจะน้อยเกินไปกว่านั้น
ในกลุ่มผู้ใช้มือถือที่เห็นเป็นเพียงอุปกรณ์เสริมความมั่นใจ
เปลี่ยนเครื่องใหม่ทุกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในเทรนด์
และได้ของที่ฉลาดสุดๆอยู่ในมือ
แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังความพอใจที่ได้อินเทรนด์นี้
ยอดขายหลายล้านๆเครื่องในแต่ละปี หมายถึง น้ำตา ฝันร้าย
และความตายของชาวคองโกนับล้านชีวิต
นี่ยังไม่นับรวมการฆาตกรรมหมู่ในป่าลึก,
ความตายของกอริลล่ายักษ์ที่อาจเหลือฝูงสุดท้ายในรวันดา
ตัวเชื่อมที่ทำให้มือถือโยงไปถึงสงครามร้ายแรงที่สุด
ในประวัติศาสตร์แอฟริกาคือ โคลัมไบต์-แทนทาไลต์
หรือ แร่โคลแทนที่พบมากในแอฟริกากลาง,แน่นอน...ในคองโก
ด้วยคุณสมบัติทนความร้อนสูง ทำให้ผงแทนทาลัม
ที่สกัดได้จากโคลแทน กลายเป็นวัตถุดิบจำเป็นที่อยู่ในมือถือ
คอมพิวเตอร์,เพลย์สเตชั่นฯลฯ
โคลแทน กลายเป็นblack goldในขณะเดียวกัน
สงครามคองโกครั้งที่ 2 ทำให้แร่สีดำชนิดนี้
กลายเป็นแร่สีเลือด blood coltan
เพราะการลักลอบทำเหมืองและส่งออกโคลแทน
กลายเป็นแหล่งหารายได้ที่เติมเชื้อไฟให้กับAfrican World War
ในจำนวนประเทศทั้ง8 ที่ติดหล่มสงคราม
และกองกำลังติดอาวุธกว่า20กลุ่ม
หลายกลุ่มหาผลประโยชน์จากพื้นที่คองโก
ที่ประเมินว่ามีแร่โคลแทนมากถึง 80% ของปริมาณโคลแทนในโลก
การดิจิไทซ์โลก ถนนทุกสายจึงมุ่งไปที่พื้นดินของคองโก
กองกำลังประชาธิปไตย กลุ่มปลดปล่อยรวันดาหรือ FDLR
ที่มีชาวฮูตูเป็นแกนนำ เป็นตัวอย่างที่เห็นชัด
ของการทำเหมืองแร่ในคองโกอย่างผิดกฏหมาย
แม้จะต้องเสี่ยงจากการถูกปราบปรามจากรัฐบาลคองโก
แต่FDLR และอีกหลายกลุ่ม
ก็เห็นว่ามันเป็นความเสี่ยงที่คุ้มค่าอยู่ดี
เพราะแทนทาลัมเพียง 1 ปอนด์ทำเงินร่วม หมื่นบาท
แทนทาลัม 1 ปอนด์ เป็นได้ทั้งตัวเก็บประจุในโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่
และแปลงเป็นAK-47พร้อมกระสุนให้กับกองกำลังติดอาวุธ
หน่ำซ้ำในกระบวนการร่อนแร่หาโคลแทน
แรงงานที่ถูกบังคับให้ทำเยี่ยงทาส ก็คือเด็กๆคองโกลีส
ซึ่งองค์การสหประชาชาติรายงานว่า ในบางพื้นที่ของคองโก
ในเด็ก100คนจะมี30คน ที่ต้องใช้เวลาทั้งวัน
ไปกับการแยกโคลแทนออกจากเศษหินอื่นๆ
เงินค่าจ้างไม่ถึง 35 บาท ต่อการหาโคลแทนให้ได้ 1 ปอนด์
เรื่องมือถือเปื้อนเลือดถูกพูดถึงเมื่อหลายปีก่อน
บริษัทระดับโลกอย่าง Nokia,Ericsson,Moto,Acer ,Compaq
ออกมาปฎิเสธเสียงแข็งว่า โคลแทนที่ใช้ในการผลิตของตน
ไม่ได้มาจากคองโก แต่มีซัพพลายเออร์ที่เชื่อถือได้หามาให้
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่บอกได้ว่า
แทนทาลัมในมือถือที่พกติดตัวจนกลายเป็นอวัยวะที่33
นั้นมาจากคองโกหรือเปล่า
การตรวจสอบเส้นทางของแทนทาลัมนั้น
ต่อให้ใช้วิธีตามไปดูถึงที่แบบกบนอกกะลา
ก็ยังไม่สามารถบอกที่มาได้
โคลแทนได้ถูกลักลอบเอาออกนอกคองโก
เข้าสู่ตลาดมืด และขายทอดต่อไปเรื่อยอีกอย่างน้อย 10 ทอด
กว่าจะไปถึงผู้จัดหารายใหญ่ ที่บริษัทบิ๊กๆเลือกเป็นคู่ค้า
ความพยายามทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้วัตถุดิบ
มารองรับความต้องการการซื้อมือถือในตลาดโลก
นอกจากจะมีส่วนสร้างประวัติศาสตร์เลือดให้กับอัฟริกาแล้ว
ยังส่งผลร้ายต่อสัตว์ป่าด้วย
เพราะในพื้นที่ๆขุดหาโคลแทน มันคือบ้านของ กอริลล่าภูเขา
ที่เหลืออยู่บนโลกนี้ไม่กี่ร้อยตัว
สัตว์ร่วมวงศ์กับมนุษย์ ที่แสนจะขี้อาย สุภาพ
ไม่เพียงถูกเหมืองคุกคามถิ่นที่อยู่
พวกทำเหมืองยังล่าพวกมันเอาหัว บางทีก็ชำแหละนำเนื้อมากินด้วย
สวนสัตว์ในแอฟริกาหลายแห่ง รณรงค์การรีไซเคิลมือถือ
เพื่อลดอัตราการใช้โคลแทนในการผลิตมือถือใหม่
ด้วยหลังจะชะลอการสูญพันธุ์ของกอริลล่าภูเขาในคองโกได้บ้าง
แต่ดูเหมือนไม่ทันต่ออัตราการเติบโต
ของอุปกรณ์ที่เป็น “มากกว่าใช้พูด” แต่ส่วนใหญ่”ก็ใช้แค่พูด”เท่านั้น
ในทวีปแอฟริกาเอง พิษภัยจากมือถือคุกคามชีวิตและทรัพยากรตัวเอง
แต่อัตราการใช้มือถือก็เพิ่มขึ้น 1000%
เช่นเดียวกับจำนวนคนบริสุทธิ์ที่ล้มตายลง
ในสงครามกลางเมืองคองโก ประมาณการณ์กันว่า
นับแต่ปี 2547 ซึ่งเป็นปียุติสงครามอย่างเป็นทางการ
ยังมีผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงรูปแบบต่างๆถึงเดือนละ 45,000คน
หรือปีละ 540,000 คน ตัวเลขนี้ยังไม่รวมถึง
ผู้หญิงหลายหมื่นที่ถูกทารุณทางเพศ
ของกลุ่มติดอาวุธต่างๆ เพียงแต่พวกเธอยังไม่ตาย
1,222,245,200,000กับ540,000 อาจมีหน่วยนับต่างกัน
แต่อัตราการขยายตัวกลับแปรตามกันอย่างน่ากลัว
ถ้าความอินเทรนด์ของคุณ นำมาซึ่งตัวเลขที่มีหน่วยศพเพิ่มมากขึ้น
คุณยังอยากเปลี่ยนมือถือทัชสกรีนมาใช้เล่นอีกสักเครื่องไหม ...!?!