ปัญจมรรคและทศภูมิคนส่วนมากเสแสร้งว่าตนเป็นนักปฏิบัติธรรม แต่ยังคงถูกผูกมัดโดย โลกธรรมทั้งแปดและหลงใหลในวัตถุ ยังแสวงหามาครอบครอง หาก ไม่คิดถึงสิ่งอื่นใดนอกจากอาหาร เครื่องนุ่งห่มและความสุขในชีวิตนี้ บางคนทำลายตนเองโดยยาพิษคือความภาคภูมิใจ คุยโวอยู่กับการเรียน ปริยัติและความรู้ แต่ไม่สามารถเป็นนายเหนือจิตใจของตนเองได้ บาง คนมีความมุ่งมั่นปฏิบัติหากแต่ขาดครูบาอาจารย์ผู้สามารถแนะนำสั่งสอน ได้ ดังนั้น จึงขังตนเองอยู่ในคุกแห่งการปฏิบัติตนให้ลำบาก ไม่รู้วิธี ปฏิบัติให้ราบรื่น นักปฏิบัติหลายท่านจึงได้รับความเบื่อหน่ายเป็นรางวัล
ในยุคปัจจุบันซึ่งขุนเขาและหุบเขาเต็มไปด้วยนักปฏิบัติที่หมกมุ่นกับการ ปฏิบัติที่ผิดและขาดอุปกรณ์ส่งเสริมการปฏิบัติ คล้ายสตูจากปอด หรือ กลวง เช่น ท้องของช่างตีเหล็ก อธิบาย ( สาธก ) เกี่ยวกับคุณของโยคะสี่ แต่จะไม่ได้รับผลอะไร มากไปกว่าการอธิบายเรื่อง คุณของน้ำในทะเล ทราย ไม่มีประเด็นที่ควรกล่าวถึงเลย
นักปฏิบัติผู้โชคดีมีประสบการณ์และรู้แจ้งไม่ขึ้นอยู่กับถ้อยคำและอักษร ภายนอก เมื่อความรู้จากการภาวนาเกิดขึ้นจากภายใน ดังนั้นเขาจึงไม่ ต้องการคำอธิบายยืดยาวจากผู้อื่นเช่นผู้เขียน ซึ่งคล้ายกับการบอกเล่าถึง สถานที่แห่งหนึ่งโดยผู้ที่ไม่เคยอยู่ที่นั่น
ผู้มีความสามารถและทักษะ ผู้ละความห่วงใยเกี่ยวกับชีวิตนี้และเปี่ยม ด้วยความอุตสาหะ ผู้ปฏิบัติตามอาจารย์ผู้ทรงคุณและได้รับการประสาท พรจะปฏิบัติได้ด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่น ในแง่มุมของประสบการณ์ และการรู้แจ้ง
โยคะสี่จะก้าวหน้าไปใน
ปัญจมรรค ( หรือมรรคทั้งห้า ) และ
ทศภูมิ ( หรือภูมิทั้งสิบ ) แห่งยานทั่วไป
ราชาสมาธิสูตร (
King of Samadhi Sutra ) กล่าวว่า
บุคคลตั้งมั่นในสมาธิสูงสุดนี้
และผู้ถือตามคำสอนนี้ ไม่ว่าไปที่ใด
ย่อมมีการเป็นอยู่ที่สุภาพและมีสันติ
( ย่อมก้าวสู่ภูมิ ) มุทิตา วิมลา ประภาการี อรจีสมดี
สุทุรชยา อภิมุขี ทูรังคมา อจลา สาธุมดี
ธรรมเมฆา ดังนั้น จึง
บรรลุถึงภูมิทั้งสิบ
ปัญจมรรค กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ระดับของมรรคแห่งการสะสม เธอจะบรรลุถึง
สติปัฏฐาน ๔ ปธาน ๔ และอิทธิบาท ๔ สิ่งเหล่านี้จะสมบูรณ์ใน
มหามุทราดังต่อไปนี้
แรกสุด คือ
การเห็นแจ้งความทุกข์จากสังสารวัฏฏ์ ทุกข์ในการแสวง หาอิสรภาพและความมั่งมี ความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต และอื่น ๆ สิ่งเหล่า นี้ประกอบด้วยการใช้สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กายานุปัสสนาเห็นว่ากายไม่ บริสุทธิ์ เวทนานุปัสสนาเห็นเป็นความเจ็บปวด จิตตานุปัสสนาเห็น ความไม่เที่ยง และธรรมานุปัสสนาเห็นความว่างจากตัวตน การมุ่งสนใจ สิ่งเหล่านี้และมีประสบการณ์หรือความมั่นใจเรียกว่าผ่านมรรคแห่งการ สะสมชั้นต้น
ทำนองเดียวกับ
ปธาน ๔ กล่าวคือ ระวังอกุศลธรรมไม่ให้เกิด ละ อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สร้างกุศลธรรม บ่มเพาะกุศลธรรมที่ทำแล้ว ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วยการถือสรณาคมน์ อบรมโพธิจิต สวด มนต์ และถวายทานเรียกว่า ผ่านมรรคแห่งการสะสมชั้นกลาง
ถัดมาคือ
คุรุโยคะ อันประกอบด้วย
อิทธิบาท ๔ ได้แก่ อุทิศตนต่อ คุรุ เรียกว่า ฉันทอิทธิบาท ได้รับการถ่ายทอดพลัง ( empowerment ) เรียกว่า วิมังสาอิทธิบาท การมุ่งมั่นพากเพียรเรียกว่า วิริยอิทธิบาท หลอมรวมจิตของอาจารย์และตนเข้าด้วยกันเรียกว่า จิตตอิทธิบาท ด้วยสิ่งเหล่านี้เธอผ่านมรรคแห่งการสะสมชั้นสูง
มหายานปารมิตาสอนว่าองค์คุณแห่งการสำเร็จมรรคแห่งการสะสมคือ เธอสามารถเดินทางสู่ภูมิที่บริสุทธิ์และพบพระพุทธองค์ในตัวบุคคลและ อื่น ๆ ในบริบทนี้ คุรุผู้ทรงคุณคือแก่นแห่งตรีกายและการกระทำของ เขาคือนิรมาณกาย ดังนั้น จึงยังสอดคล้องกับความหมายข้างบน
มรรคแห่งการผสมคือ เอกัคคตาชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสูง ซึ่งบรรลุพร้อม ด้วย " ความมั่นใจ ๔ ประการ " เห็นแจ้งจิตเดิมแท้เรียก
อัคคี ได้รับความ เชื่อมั่นไม่หวั่นไหวเรียก
อนุตระ ไม่มีเวรภัยจากสิ่งแวดล้อมเรียก ปลอดภัย และไม่สะดุดขาดตอนในการปฏิบัติเอกัคคตา เรียกว่า
" คุณสูงสุด " ใน มรรคแห่งการผสม ถึงขั้นนี้เธอจะบรรลุคุณแห่งอินทรีย์ทั้งห้า ได้รับความ มั่นใจไม่มีขอบเขต เรียกว่าสัทธินทรีย์ เพ่งธรรมไม่วอกแวก เรียกสตินทรีย์ ไม่ถูกขัดจังหวะเพราะความเกียจคร้าน เรียกวิริยินทรีย์ ภาวนาได้โดย ไม่ถูกขัดจังหวะ เรียกสมาธินทรีย์ เข้าใจโดยถ่องแท้ เรียกปัญญินทรีย์ อินทรีย์ทั้งห้าสมบูรณ์และกลายเป็นกำลังจึงเรียกพละ
เมื่อบรรลุถึงเอกัคคตาอย่างนี้ เธอได้บรรลุมรรคแห่งการผสมและถึง ความเรียบง่าย เพราะเห็นแจ้งความจริงซึ่งยังไม่เคยเห็น เธอจึงบรรลุ ถึงมรรคแห่งการเห็นแจ้ง
มหายานปารมิตาสอนไว้ว่า เมื่อถึงจุดนี้บุคคลจะพัฒนาโพชฌงค์ ๗ จะ พบว่ามันเกิดขึ้นแล้ว พูดอย่างละเอียดได้ว่า เมื่อเป็นอยู่ตามธรรมชาติ ของมัน คือ สมาธิสัมโพชฌงค์ ไม่ผสมกับอารมณ์ที่มารบกวน คือ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เนื่องจากกิเลสถูกกำจัดโดยมรรคแห่งการเห็น แจ้ง ถูกชำระง่าย ๆ เพียงแค่จดจำสมาธิชนิดนี้ นี้คือ สติสัมโพชฌงค์ เพราะเป็นอิสระจากความเกียจคร้านและความวอกแวกฟุ้งซ่าน นี้คือ วิริยสัมโพชฌงค์ เพราะเธอประสบนิรามิสสุข นี้คือ ปีติสัมโพชฌงค์ เนื่องจากกิเลสที่ต้องถูกกำจัดถูกชำระแล้ว นี้คือ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เมื่อเห็นสังสาระและนิพพานว่าเสมอเหมือนกัน นี้คือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนั้น จึงบรรลุโพชฌงค์เจ็ดโดยสมบูรณ์
ยังสอนอีกว่า เธอบรรลุคุณแห่งมรรคแห่งการเห็นอย่างมากมายพร้อม กับประตูสู่
อนันตริกสมาธิ อาจารย์บางท่านยังถือว่ามรรคแห่งการพัฒนาและภูมิแรกบรรลุถึงเมื่อ ได้ทำให้เรียบง่ายสมบูรณ์และมาถึงหนึ่งรส อาจารย์อื่น ๆ ส่วนมากยอม รับว่าการบรรลุถึงภูมิแรกเป็นหลังภาวนาอย่างจริง ภายหลังจากที่เห็น แก่นของความเรียบง่ายและเกิดมรรคแห่งการเห็นแจ้ง ความแตกต่างทาง ด้านความสามารถของแต่ละบุคคล ทำให้การจำแนกเป็นไปได้ยาก ดังนั้น จึงไม่สามารถถามได้ว่ามีช่องทางและความเร็วในการผ่านพ้นมรรคต่าง ๆ หรือไม่
การเห็นแจ้งมรรคแห่งการเห็นแจ้งในวิถีทางแบบนี้เรียกว่าภูมิ เพราะมัน เป็นแหล่ง ( สมุฏฐาน ) หรือบ่อเกิดแห่งคุณทั้งปวง
อวตังสกสูตร กล่าว ไว้ว่า
ทันทีที่บรรลุถึงภูมิ เธอเป็นอิสระจากเวรภัย ๕ ประการ
อิสระจากเวรภัยแห่งการทำร้าย ความตาย การเกิดในอบายภูมิ
อิสระจากเวรภัยเพราะการหมุนไปในสังสารวัฏฏ์ และอิสระจากความวิตก
ในลักษณะเช่นนี้ คุณภาพแห่งภูมิทั้งสิบย่อมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ระยะหลังจากบรรลุภูมิแล้วเรียกว่า
มรรคแห่งการพัฒนา ทำไมจึงเป็น อย่างนั้น เพราะเธอทำตัวให้เข้าได้กับธรรมชาติของมรรคแห่งการ เห็นแจ้ง
ณ จุดนี้เธอพัวพันกับอริยมรรคมีองค์ ๘ ในมรรคแห่งการพัฒนาในภาวะ แห่งการภาวนา เธอพัฒนาอสังขตสมาธิ ( อนิมิตสมาธิ ) อย่างยิ่งยวด และในประสบการณ์ผลลัพธ์ เธอพัฒนาองค์ทั้งแปดแห่งอริยมรรค ซึ่ง กล่าวกันว่าเป็นสังขตะ มรรคมีองค์แปดมีอะไรบ้าง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ พูดสั้น ๆ ไม่ได้เป็นสิ่งใดนอกจาก
บรรลุถึงธรรม- ชาติที่สมบูรณ์หมดจด ซึ่งประกอบด้วยองค์คุณมากมายซึ่งยอดเยี่ยมยิ่ง กว่ามรรคชั้นต่ำ ๆ