ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระปรีชา  (อ่าน 1508 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
พระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระปรีชา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2011, 03:19:46 pm »



   พระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระปรีชา

   ข้อมูลจาก เวปพระรัตนตรัย กระดานสนทนาธรรม กระทู้ที่ 01310
   โดย คุณ : คนรู้น้อย  05-12-2003

    http://www.praruttanatri.com/v1/wb/showthisques.php?datfile=t01310.txt&name22=&nick=
   
  เนื้อความ :

   เป็นระยะเวลาอันยาวนาน นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จขึ้นครองราชย์ และได้พระราชทาน พระราชดำรัสว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม” นับแต่นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปเยี่ยมเยียนอาณาประชาราษฎร์ ในชนบทที่ห่างไกล ทุรกันดาร พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระราชวงศ์ อย่างสม่ำเสมอ ด้วยน้ำพระทัยที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาของพระองค์ นับร้อยนับพันโครงการ ที่เกิดจากพระราชดำริ เพื่อความสุข ความอยู่ดี กินดีของประชาชน การเสด็จเยี่ยมเยียนประชาชน ก็เพื่อให้ได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ และปัญหาต่างๆ ที่ชาวบ้าน พสกนิกรของพระองค์ประสบอยู่ เพื่อจะได้ทรงแนะนำ หรือหาทางแก้ไข โดยจะทรงโปรดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือ เช่น เมื่อทอดพระเนตรบริเวณหมู่บ้าน และอ่างเก็บน้ำที่ จ.เพชรบูรณ์ ก็ได้พระราชทานคำแนะนำให้ปรับพื้นที่ ขอบอ่างเก็บน้ำ เป็นรูปขั้นบันได เพื่อป้องกันไม่ให้ฝนชะหน้าดินพังทลาย
   
   หรือเมื่อได้เสด็จฯไปทอดพระเนตร ฝายเก็บกักน้ำ เพื่อบำรุงรักษาต้นน้ำ ที่จังหวัดเชียงราย ได้มีพระราชดำรัสว่า ร่องน้ำที่ขุดไว้ในภูเขาโดยรอบนั้น ควรทำฝายเล็กๆ กั้นไว้ทุกร่องเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ของต้นน้ำ และจะมีผลต่อการชลประทานในพื้นที่ตอนล่าง เพื่อที่ราษฎรจะได้ไม่บุกรุกขึ้นไปทำลายป่าต้นน้ำ (เพราะพื้นที่ตอนล่าง มีความสมบูรณ์ของน้ำเพียงพอแล้ว) นอกจากนี้ ยังทรงโปรดให้คณะเกษตร และคณะแพทย์ ของมหาวิทยาลัยในภูมิภาค จัดทำโครงการพัฒนา วิชาการเกษตรแก่ชาวบ้านอีกด้วย โครงการต่างๆที่ทรงริเริ่ม จะทรงติดตามอย่างละเอียด และใกล้ชิด จนกว่าจะบรรลุผลในระดับหนึ่ง และจะทรงโปรดให้พัฒนาต่อไป การเสด็จพระราชดำเนิน ในแต่ละวันนั้น แม้จะมีหมายกำหนดการไว้ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงมุ่งหมายในเนื้องานเป็นหลัก เพื่อประโยชน์สุขของราษฎรจริงๆ ในบางจุดบางที่ จึงอาจต้องใช้เวลานาน มากกว่าในหมายกำหนดการ หลายๆ ครั้งที่กว่าจะได้ประทับเสวยพระกระยาหาร ก็เป็นเวลา ๑๕.๐๐ น.แล้ว
   
   พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร ที่ตามเสด็จพระองค์ท่าน ในสมัยที่ทำหน้าที่ นายตำรวจราชสำนักประจำ ได้ระบุไว้ในงานเขียนของท่านว่า การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อทรงเยี่ยมราษฎรในที่ต่างๆ แล้วเสด็จฯกลับที่ประทับในยามค่ำมืดดึกดื่นนั้น เป็นเรื่องปกติในรัชกาลนี้ เพราะฉะนั้น เจ้าหน้าที่ผู้ถวายความสะดวก และปลอดภัยทุกแห่งทุกจังหวัด จึงต้องเตรียมเครื่องให้แสงสว่าง ถวายเสมอ ทั้งยังต้องเตรียมตัวที่จะพักแรม ณ ที่หมายนั้นด้วย (เนื่องเพราะพระราชภารกิจยังไม่เสร็จสิ้น) จะเห็นว่าทั้งสองพระองค์ ทรงทุ่มเทเสียสละความสุข ความสบายส่วนพระองค์ เพื่อพสกนิกร ราษฎรทั้งหลาย ด้วยความรักความเมตตา ที่ทรงมีต่อราษฎรของพระองค์ อย่างยิ่งยากที่จะหาพระมหากษัตริย์ พระองค์ใดในโลก สามารถกระทำได้เสมอเหมือน ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๒๐ เป็นปีที่ประเทศไทยถูกแทรกแซงโดยพวกผู้ก่อการร้ายคอมมูนิสต์ ในทุกๆ รูปแบบ จนพวกเราเกือบจะเสียท่าเขา
   
   ในขณะนั้นมีข้าราชการบางส่วน ที่มีจิตใจเลวร้าย ข่มเหงราษฎร กลายเป็นจุดอ่อนให้ฝ่ายตรงข้าม โจมตีอย่างหนัก ข่าวลือในด้านร้ายมีมากมาย ข้าราชการที่ออกหน่วย ตามชนบทล้วนมีค่าหัวทั้งสิ้น ในระยะนี้เอง องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ต้องทรงเสี่ยงต่ออันตราย ทนต่ออุปสรรค และความยากลำบากนานัปการ และต้องทรงทนต่อข่าวลือในทางลบ เช่น คำนินทา และบัตรสนเท่ห์ต่างๆ (เพราะพวกลัทธิอุบาทว์ พิจารณาแล้วเห็นว่า ถ้าประชาชนเสื่อมถอยจากการนับถือ เทิดทูน สถาบันพระมหากษัตริย์ การเข้าครอบครองประเทศจะทำได้โดยง่ายดาย) ทั้งสองพระองค์ ทรงออกเยี่ยมประชาชนอย่างใกล้ชิด ชนิดที่ข้าราชการในท้องที่นั้น ไม่กล้าทำ หรือไม่เคยทำมาก่อนเลย ผลก็คือ ขวัญและกำลังใจของประชาชนกลับมาใหม่ โดยเฉพาะ ขวัญของตำรวจตระเวณชายแดน (ต.ช.ด.) เพราะระดับนายพลก็กลัวตายเหมือนกัน ไม่ค่อยกล้าออกเยี่ยมบ่อยนัก หรือลืมไปเลย แต่ตรงข้ามทั้งสองพระองค์ ทรงเสด็จไปเองไม่กลัวภัยอันตราย แม้จะมีผู้ทัดทานไว้ก็ไม่ยอม การที่ทรงเสด็จเยี่ยม ต.ช.ด. อย่างใกล้ชิด จึงทำให้ขวัญของ ต.ช.ด. กลับมาเป็นปกติ กระผมขอนำข้อเขียนบางส่วน ของท่าน พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร มาเรียนเสนอ เพื่อให้ท่านได้เห็น ถึงพระวิริยะ อุตสาหะ และพระปรีชาญาณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังต่อไปนี้


   จากคุณ : คนรู้น้อย  05-12-2003
   
   “วันศุกร์ ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ (น่าจะเป็นปี พ.ศ.๒๕๒๑) พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จฯ เสด็จจากท่าอากาศยานเชียงใหม่ ไปยัง อำเภอหล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ พร้อมด้วยทูลกระหม่อมน้อยพระองค์เดียว ตามเสด็จฯ ทรงเปลี่ยนพระราชพาหนะ เป็นเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ที่พิษณุโลก จนเวลาหลังบ่ายโมงเล็กน้อย จึงเสด็จถึง ฐานสมเด็จ ที่เขาค้อ ตำบลแคมป์สน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ฐานนี้มีความสำคัญทางยุทธวิธี เป็นที่ตั้งของกองพันทหารราบที่ ๙๐๙ และกองบัญชาการผสมพลเรือนตำรวจทหารที่ ๑๖๑๗ อยู่ในบริเวณที่การคุกคามของผู้ก่อการร้าย หนาแน่น และรุนแรงที่สุดแห่งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯทรงใช้เวลาอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลานาน ทั้งในการฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์ และการเสด็จเยี่ยมราษฎรทั้ง ๒ หมู่บ้าน ของโครงการ ทุ่งสมอ ซึ่งพัฒนาการประกอบอาชีพ เกษตรกรรม หลังจากนั้นได้ เสด็จฯไปยังวัด เพชรวราราม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นเวลา เกือบ ๑๘.๐๐ น. แล้ว ทรงตัดลูกนิมิต และเยี่ยมเยียนประชาชน ที่มาเฝ้ารับเสด็จ อยู่อย่างล้นหลาม เป็นเวลานาน (คงเพื่อเป็นกำลังใจแก่ประชาชน ซึ่งอยู่ในพื้นที่อันตราย) แม้จะเป็นเวลาค่ำมืดแล้ว
   
   ระหว่างที่กำลังทรงเยี่ยม ประชาชนอยู่นั้น ผู้รับผิดชอบในการถวายความปลอดภัย ประชุมกันอย่างกระสับกระส่าย เร่งรีบและเคร่งเครียด เพราะนักบิน เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งแจ้งว่า เส้นทางที่จะเสด็จฯกลับนั้น จะต้องข้ามภูมิประเทศส่วนที่เป็นเขาสูง และป่าลึกของจังหวัดเพชรบูรณ์ อันเป็นที่ๆรู้กันดีว่า มีการก่อการร้าย หนาแน่น และรุนแรง และเชื่อว่าผู้ก่อการร้ายบางกลุ่ม มีปืนกำลังสูง ที่อาจจะใช้ยิงเฮลิคอปเตอร์ได้ด้วย ผู้วางแผนซึ่งประกอบด้วย สมุหราชองครักษ์ แม่ทัพกองทัพภาคที่ ๓ เจ้าของพื้นที่ พล.อ.เทียนชัย จั่นมุกดา (ยศปัจจุบัน) ขณะนั้นเป็น หัวหน้าแผนกรักษาความปลอดภัย บุคคลสำคัญ ประจำกรมราชองครักษ์ และ พล.ต.ต วสิษฐ เดชกุญชร (ยศขณะนั้น) ต้องประชุมหารือหาวิธี และเส้นทางที่ปลอดภัยถวาย ในที่สุดได้ข้อสรุป จึงได้กราบบังคมทูล พระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอให้เสด็จฯกลับจากเพชรบูรณ์ ไปยังพิษณุโลก โดยทางรถยนต์ และโดยเลี่ยงทางหลวงหมายเลข ๑๒ (หล่มสัก-พิษณุโลก) ซึ่งอาจมีอันตราย และใช้ทางหลวง หมายเลข ๒๑ (เพชรบูรณ์-วังชมพู) ทางหลวงหมายเลข ๑๑๓ (วังชมพู-เขาทราย) และ ทางหลวงหมายเลข ๑๒ (วังทอง-พิษณุโลก) เมื่อนำความกราบบังคมทูลทราบ ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วย พระราชทานกระแสพระราชดำรัสว่า จะเสด็จฯกลับโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง แต่โดยใช้เส้นทางที่กราบบังคมทูลนั้นเอง คือ เพชรบูรณ์-วังชมพู-เขาทราย-วังทอง-พิษณุโลก โดยให้รถวิทยุของตำรวจทางหลวง จอดเป็นระยะๆ โดยเฉพาะที่ทางแยกทั้งหลาย และให้รถยนต์ของตำรวจทางหลวง เปิดไฟวาบวับ บนหลังคาเป็นสัญญาณให้นักบินเห็น
   
   เวลา ๑๙.๔๐ น. เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ออกจากเพชรบูรณ์ นักบินใช้เส้นทางพระราชทาน โดยอาศัยไฟสัญญาณ บนหลังคารถยนต์ของตำรวจทางหลวงข้างล่างชี้ทาง ๔๐นาทีต่อมา เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ก็ถึงสนามบินพิษณุโลก และเครื่องบินแอฟโร่ พระที่นั่งก็ออกจากพิษณุโลกกลับไปยังท่าอากาศยานเชียงใหม่ ทรงกลับถึงพระตำหนักภูพิงค์ฯ คงเป็นเวลาเกินกว่า 21.00 น.”
   
   (จะเห็นว่าแผนการเสด็จฯ กลับของพระองค์ท่านนั้นเฉียบแหลมมาก เพราะว่ากลุ่มผู้ถวายความปลอดภัยได้เลือกเส้นทางที่เห็นว่าปลอดภัยที่สุดแล้วสำหรับพระองค์ แต่การเดินทางโดยรถยนต์ใช้เวลาหลายชั่วโมง และเป็นการวิ่งฝ่าความมืดในเวลากลางคืน ถึงพื้นที่สองข้างทางที่ผ่านไป จะไม่ใช่เขตที่มีการก่อการร้ายหนาแน่น แต่เป็นที่แน่นอนว่าฝ่ายตรงข้ามจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวของขบวนเสด็จฯ ตั้งแต่ที่วัดแล้ว การดักซุ่มโจมตีบนเส้นทางที่ใช้เวลาเดินทางมากกว่า 2 ชั่วโมง ก็มีความเป็นไปได้ และทางเจ้าหน้าที่คงต้องใช้กำลังคนในการเคลียร์เส้นทาง เพื่อถวายความปลอดภัยอย่างเร่งด่วน ซึ่งเป็นความโกลาหลไม่น้อย นอกจากนี้การเดินทางโดยรถยนต์ ในเวลาค่ำคืนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นการที่ทรงโปรดให้นำเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งบินไปตามเส้นทางนี้ ตามที่รถตำรวจชี้นำจึงเป็นความปลอดภัยที่สุด เพราะผู้ก่อการร้ายย่อมคาดไม่ถึง และไม่อาจเคลื่อนย้ายอาวุธปืนกำลังสูงมาซุ่มโจมตีเครื่องบินได้ทันเวลา)

   
   ท่านทั้งหลายคงจะมีความอัศจรรย์ใจ เช่นเดียวกับกระผม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มิได้ทรงศึกษามาโดยตรง เกี่ยวกับการรบ หรือ ยุทธศาสตร์การวางแผนต่างๆ แต่พระองค์ท่านสามารถพิจารณาข้อมูล และพระราชทานข้อเสนอแนะ ในการเดินทางกลับพระราชตำหนัก ได้อย่างแยบยล และเป็นแผนที่เจ้าหน้าที่ผู้มีความเชี่ยวชาญโดยตรง (สมุหราชองครักษ์, แม่ทัพภาคที่๓, หน.แผนกรักษาความปลอดภัยฯ) ยอมรับโดยไม่มีข้อโต้แย้ง ว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด และเป็นสิ่งที่พวกเขาคาดไม่ถึงมาก่อน ไม่เฉพาะในเรื่องนี้เท่านั้น แม้ทางด้านการเกษตร, ชลประทาน, วิทยาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์ หรือวิชาการแขนงอื่นๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ได้ทรงแสดง ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ ได้ประจักษ์ว่า ทรงมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างแท้จริง และลึกซึ้ง พระปรีชาญาณและพระอัจฉริยะภาพของพระองค์ เป็นที่ทราบเป็นอย่างดีในหมู่เจ้าหน้าที่, ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ และพสกนิกรชาวไทยทั้งหลายเสมอมา เป็นโชคดีและเป็นบุญเหลือเกิน ที่ประเทศไทยของเรา มีพระมหากษัตริย์ที่ประเสริฐเลิศยิ่ง และทรงพระปรีชาสามารถ เป็นองค์พระประมุข เป็นศูนย์รวมกำลังใจของเรา ให้ต่อสู้ฟันฝ่าภยันตรายต่างๆ มาได้จนทุกวันนี้ ไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้น ที่ถวายความจงรักภักดีเทิดทูนพระองค์ แม้นานาอารยะประเทศ ก็แซ่ซ้องสดุดี ยอมรับในคุณความดี และพระบารมีของพระองค์ ...
   



   ขอพระองค์ ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
   ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
     
   ที่มา
   http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok-main-page.htm
เรียนขออนุญาต นำมาเผยแพร่ ร่วมเทอดพระเกียรติ
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระปรีชา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2011, 04:29:46 pm »

พระราชกฤษฎาภินิหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดย พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
โพสท์ในเวปกองทัพพลังจิต > พลังจิต > วิทยาศาสตร์ทางจิต – ลึกลับ
โดย vibe เมื่อ 26-06-2005, 02:07 AM

นับตั้งแต่ผมได้เริ่มทำการศึกษาวิจัยวิชาโหราศาสตร์ดวงดาวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “อิทธิพลของคราส” ผมได้มีโอกาสอ่านเอกสารทางประวัติศาสตร์ชาติไทยซึ่งได้แก่หนังสือพระราชพงศาวดาร และจดหมายเหตุโหรต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการค้นคว้า และได้พบข้อความที่บันทึกไว้ในเอกสารเหล่านี้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่ง เป็นสิ่งที่บอกเหตุทั้งร้ายและดีของบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น อาทิ การเกิดสุริยคราส หรือจันทรคราส พระอาทิตย์ทรงกลด แผ่นดินไหว เป็นต้น ในวันที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงปราบดาภิเษก เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตราธิราชไทย เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๑ ได้ปรากฏข้อความในจดหมายเหตุโหรระบุไว้ว่า

“........ณ วันอังคาร แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย เพลาโมงเศษ เสด็จออกขุนนาง ตรัสประภาษเนื้อความ ...

....... พระราชสุจริต ปรารภตั้งอุเบกขาพรหมวิหาร เพื่อจะทะนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนา และ

พระอาณาประชาราษฎรนั้น อัศจรรย์แผ่นดินไหวเป็นเวลาช้านาน..........”

แต่เดิมนั้น ผมในฐานะที่เป็นวิศวกรผู้หนึ่งมิได้ให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้มากนัก เนื่องจากมีความเชื่อว่า เป็นเหตุการณ์ประจวบเหมาะมากกว่า หรือผู้บันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ได้มีเจตนาเขียนเพิ่มเติมเหตุการณ์เรื่องราวในยุคสมัยนั้น ให้ดูขลังเป็นการเสริมพระบารมี พระบรมเดชานุภาพให้แก่พระมหากษัตราธิราชพระองค์หนึ่งพระองค์ใดเป็นพิเศษก็ได้ จนกระทั่งได้ประสบเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้มาหลายครั้ง จึงเกิดแนวความคิดที่จะประมวลเหตุการณ์สำคัญ ที่มีปรากฏการณ์ธรรมชาติเข้าเกี่ยวข้องต่าง ๆ มาวิเคราะห์โดยใช้หลักวิชาพุทธศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และโหราศาสตร์ มาผสมผสานกัน ผมจึงขอนำบางเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในรัชกาลปัจจุบันมายกเป็นตัวอย่างเล่าสู่กันฟังดังนี้

๑. ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช และองค์พระบุพมหากษัตราธิราชเจ้า เนื่องในวโรกาสวันสถาปนากรุงเทพมหานครครบรอบ ๒๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๕ พระอาทิตย์ได้ทรงกลดให้เห็นเป็นที่มหัศจรรย์

๒. ในวันที่เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามด้วยกระบวนพยุหยาตราชลมารค โดยเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๙ เมื่อเสด็จ ฯ ออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ได้เกิดพายุอย่างแรงมีฝนตกหนักเคลื่อนที่ตามหลังขบวนเสด็จ ฯ แล้วก็ซาเม็ดไป และเมื่อเสด็จ ฯ ขึ้นประทับเรือพระที่นั่ง ที่ฉนวนน้ำ ท่าวาสุกรี ได้เกิดพายุฝนตามไล่หลังขบวนเสด็จฯ มาอย่างกระชั้นชิด เมื่อขบวนเสด็จ ฯ ถึงวัดอรุณราชวราราม พายุกลับสงบ ฝนหยุดตกขาดเม็ดสนิท เหตุการณ์ลักษณะนี้ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อเสด็จ ฯ ไปประกอบพระราชพิธีที่สำคัญ ๆ

๓. ในวันเวลาที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งถือได้ว่า เป็นกฎหมายที่สำคัญสูงสุดของประเทศแก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๐ เวลา ๑๗.๓๒ น. ได้เกิดฟ้าผ่าอย่างรุนแรงทันที และต่อมาได้มีพายุฟ้าผ่า ฟ้าคะนอง เกิดฝนตกหนักทั่วกรุงเทพมหานคร ในวันเดียวกันได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างแรงขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะที่บริเวณตอนใต้ของหมู่เกาะในประเทศญี่ปุ่นได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นถึง ๒ ครั้ง ปรากฏการณ์ครั้งนี้คล้ายคลึงกับวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบดาภิเษก คือ มีจันทรุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นล่วงหน้า และมีเหตุแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในวันพระราชพิธีนั้น

การเกิดปรากฏการณ์ในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ได้เป็นที่ยอมรับกันมาแต่โบราณกาลว่า เป็นพระราช กฤษฎาภินิหารของพระมหากษัตราธิราชเจ้าในยุคสมัยนั้น

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงริเริ่มโครงการทดลองปฏิบัติการฝนเทียมซึ่งชาวไร่ชาวนาทั่วไปเรียกกันติดปากว่า “โครงการฝนหลวง” พระองค์ท่านได้ทรงสนพระทัยศึกษาแผนที่อากาศซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศได้แก่อุณหภูมิ ความชื้น ความกดของอากาศ ความเร็วและทิศทางของลม ในวันเวลาปัจจุบัน และที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ไว้ล่วงหน้าอย่างจริงจัง เพราะข้อมูลเกี่ยวกับสภาพดินฟ้าดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติการฝนเทียม นับว่าเป็นโชคดีของผม ที่ในช่วงเวลานั้นผมได้ปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณถวายงานในด้านการติดต่อสื่อสารส่วนพระองค์อยู่ ดังนั้นเมื่อได้ทรงกำหนดแผนปฏิบัติการฝนเทียมแต่ละครั้งแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ผมได้ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานเกี่ยวกับการประสานงาน ถ่ายทอดแผนและคำสั่งปฏิบัติการ ซึ่งจะพระราชทานมาให้ผมตอนหลังเที่ยงคืนแล้วเป็นประจำทุกวัน เพื่อกระจายให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยบินของกระทรวงเกษตร ฯ และสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาทั้งในส่วนกลาง และในท้องถิ่นซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการฝนเทียม กับมีหน้าที่กำกับการ ควบคุมดูแลการปฏิบัติการสื่อสารของหน่วยงานเหล่านี้ด้วย ผมจึงได้มีโอกาสมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องเทคนิคการปฏิบัติการฝนเทียม และการศึกษาสภาพดินฟ้าอากาศจากแผนที่อากาศซึ่งได้ทรงพระกรุณาถ่ายทอดความรู้ให้มากพอสมควร

ในโอกาสต่อมา ถึงแม้ว่าจะมิได้มีการปฏิบัติการฝนเทียม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังคงทรงศึกษาเทคนิคการพยากรณ์อากาศต่อไป จนกระทั่งทรงมีความรู้ความชำนาญในการพยากรณ์อากาศเป็นอย่างยิ่ง มิได้ด้อยกว่าผู้ชำนาญการในวิชาการแขนงนี้ทั้งภายใน และต่างประเทศ

บทเรียนที่ประเทศไทยได้รับจากกรณีวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกเมื่อวันที่ ๒๑ตุลาคม ๒๕๐๕ และจากพายุใต้ฝุ่น “เกย์” เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ นับว่าเป็นบทเรียนที่มีค่าสูงยิ่ง ซึ่งประเทศไทยต้องเซ่นสังเวยด้วยชีวิตมนุษย์ สัตว์ ทรัพย์สิน บ้านเรือน ไร่นา เป็นมูลค่ามหาศาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตระหนักถึงความทุกข์โศกสลดของพสกนิกร และทรงเมตตาสงสารผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์ให้เป็นจำนวนมาก และไม่ทรงปรารถนาที่จะให้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยขึ้นอีก ดังนั้น จึงได้ทรงสละเวลา และความสุขส่วนพระองค์ส่วนหนึ่ง ศึกษาแผนที่อากาศประจำวันที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ทูลเกล้า ฯ ถวาย และข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศจากศูนย์ตรวจสอบพยากรณ์อากาศของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านเครือข่าย Internet เป็นประจำวัน เพื่อเฝ้าติดตามสังเกตการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศในภูมิภาคต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยได้ หากได้ทรงพบว่า มีการก่อตัวของลมฟ้าอากาศในลักษณะร่องความกดอากาศต่ำ แล้วมีการเพิ่มกำลังแรงไปในลักษณะเป็นดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และพายุใต้ฝุ่นขึ้นในเส้นรุ้ง เส้นแวงที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย ทั้งยังมีทิศทางการเคลื่อนที่มุ่งหน้าเข้ามาหาด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรง ติดตามเฝ้าสังเกตการณ์การเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงของลมพายุนั้นอย่างเคร่งเครียดโดยใกล้ชิดอยู่ทุกระยะ และเมื่อได้ทรงพิจารณาเห็นแน่ชัดว่า มีแนวโน้มที่ลมพายุนั้น จะมีโอกาสสร้างภัยพิบัติให้แก่พสกนิกรในพื้นที่หนึ่งใดได้ พระองค์จะทรงมีพระราชกระแส แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะมูลนิธิราชประชานุเคราะห์เตรียมพร้อมที่จะออกดำเนินการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ภัยพิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยทันท่วงที

เหตุการณ์ที่สำคัญยิ่ง ครั้งล่าสุดที่อาจจะไม่มีผู้ใดได้สังเกตจดจำ และสมควรอย่างยิ่งที่จะบันทึกไว ้เพื่อเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ชาติไทย คือ ภัยพิบัติที่เกิดแก่หลายจังหวัดในภาคใต้ตอนบน อันเนื่องจากพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” พัดผ่านเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๐ พายุนี้ได้เริ่มก่อตัวในทะเลจีนตอนใต้ห่างจากแหลมญวนไม่มากนักโดยเริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำมาเป็นดีเปรสชัน เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ แล้ว ได้ทวีความรุนแรงกลายเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ต่อจากนั้นได้แปรสภาพเป็นพายุใต้ฝุ่นมีความเร็วสูงสุดรอบศูนย์กลาง ประมาณ ๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนที่ผ่านแหลมญวน เข้าสู่อ่าวไทย มุ่งหน้าเข้าสู่บางจังหวัดในภาคใต้ตอนบนซึ่งได้แก่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพร ลักษณะการก่อตัว ความรุนแรง และ ทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุใต้ฝุ่นนี้คล้ายกับพายุใต้ฝุ่น “เกย์” ซึ่งได้เคยก่อภัยพิบัติให้แก่จังหวัดเหล่านี้มาแล้วอย่างมหาศาล เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒

จึงเป็นการแน่นอนที่สุด ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะต้องทรงเฝ้าติดตามสังเกตการณ์การก่อตัว การเปลี่ยนแปลงของพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” ตั้งแต่จุดเริ่มต้นอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด แม้แต่ตัวผมเองซึ่งมีความรู้ความเข้าใจ และสนใจในเรื่องดินฟ้าอากาศมาตั้งแต่สมัยที่ได้เคยร่วมถวายงาน ในการปฏิบัติการฝนเทียมก็ได้เฝ้าติดตามอยู่อย่างใกล้ชิดเช่นกัน จากข้อมูลที่ผมได้รับจากศูนย์ตรวจสอบอุตุนิยมวิทยาของบางประเทศผ่านเครือข่าย Internet โดยเฉพาะศูนย์รวมข่าวอุตุนิยมวิทยา และสมุทรวิทยา กับศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อเตือนภัยจาก พายุใต้ฝุ่นของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาประจำภาคพื้นมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะกวมได้คำนวณและพยากรณ์ทิศทาง ความเร็วของพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” ไว้ล่วงหน้าว่า พายุจะมีความรุนแรงสามารถก่อความเสียหายให้แก่ จังหวัดต่างๆซึ่งอยู่ในเส้นทางผ่านไม่น้อยกว่าพายุใต้ฝุ่น “เกย์” ค่อนข้างแน่นอนคำพยากรณ์ดังกล่าวได้ระบุว่า ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ตามเวลาท้องถิ่น ๑๙.๐๐ น. พายุนี้จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด ๑๐.๘ องศาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐.๘ องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดที่จุดศูนย์กลางรุนแรงถึง ๗๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดย เคลื่อนที่มาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ ๑๑ นอต หรือ ๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตรงเข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพร โดยอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ ๒๘ กิโลเมตร และจะเคลื่อนที่ถึงฝั่งภายใน ๑ ชั่วโมงเศษเท่านั้น หากเป็นเช่นคำพยากรณ์ ทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพรคงจะถูกกวาดล้างโดยพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” จนหมดสิ้น สิ่งบอกเหตุดังกล่าวนี้ จึงได้สร้างความกังวลและ ความเคร่งเครียดพระทัยให้แก่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง

แต่โดยที่มิได้คาดคิด อีกไม่กี่นาทีก่อนที่จะเคลื่อนที่มาถึงฝั่ง พายุนี้ได้กลับอ่อนกำลังลงโดยฉับพลันมาเป็นพายุโซนร้อนมีความเร็วสูงสุดที่จุดศูนย์กลางเพียง ๕๐ นอต หรือ ๙๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น ทั้งทิศทางการเคลื่อนที่กลับเบี่ยงเบนขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อย และถึงฝั่งที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขีนธ์ เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ เวลา ๐๒.๐๐ น.จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพรจึงได้รับภัยพิบัติจากพายุนี้ไม่รุนแรงนัก ดูจะเป็นการผิดปกติอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของพายุใต้ฝุ่นในลักษณะนี้ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ถ้าพายุยังเคลื่อนที่อยู่เหนือพื้นน้ำทะเลหรือมหาสมุทร พายุนั้นจะเพิ่มความแรง ความเร็วที่จุดศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น และจะลดลงเมื่อเคลื่อนที่ขึ้นฝั่งแล้ว พายุโซนร้อน “ลินดา” นี้ก็เช่นกัน เมื่อเคลื่อนที่พ้นจากประเทศไทยลงสู่ทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย ก็ได้เพิ่มความรุนแรง มากยิ่งขึ้นตามลำดับแปรสภาพกลับไปเป็นพายุใต้ฝุ่น หรือ ไซโคลน อีกครั้งหนึ่งในวันเวลาต่อมา

ผมมีความเชื่อและมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของพายุ “ลินดา” ครั้งนี้เป็นปาฏิหาริย์ และจะเกิดขึ้นได้โดยอภินิหารของท่านผู้หนึ่งซึ่งได้บำเพ็ญบารมีมาอย่างสูง มีพลังอินทรีย์ทั้งห้าที่แรงยิ่งตามหลักของพระพุทธศาสนา ดังนั้น เมื่อได้นำเอาสิ่งมหัศจรรย์ที่ได้เกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมืองที่ผ่านมาประมวล ก็น่าจะได้ข้อยุติว่าเป็นพระราชกฤษฎาภินิหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้นอย่างแน่นอน ที่แสดงให้เห็นในลักษณะเดียวกับของพระบุพมหากษัตราธิราชไทยพระองค์อื่นๆ โดยเฉพาะสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวสรุปไว้ในหนังสือ “กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้” ว่า

“.......ความปลอดภัยอันแท้จริงมามีเกิดขึ้นเพราะพระนเรศวรเป็นเจ้าพระองค์เดียว ผู้ทรงก่อให้เกิดความคิดใหม่ วิธีการใหม่ และความหวังใหม่ขึ้นในใจคนไทย ........ เพราะพระนเรศวรเป็นเจ้า ทรงปฏิบัติพระองค์ให้เห็นได้ชัดทั่วกันว่า พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ร่วมกันของคนไทย มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วน พระองค์เองเลย แม้แต่น้อย .......... พระบรมราชกฤษฎาภินิหารของพระนเรศวรเป็นเจ้าจึงเป็นกฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้ ........”

ประชาชนคนไทยนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีโชคดีที่พระมหากษัตราธิราชซึ่งทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทรงมีพระราชอัจฉริยภาพสูงส่ง และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พวกเราเหลือคณานับ ดังนั้นใน วโรกาสที่สำคัญยิ่งที่วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ท่านได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นการ สมควรอย่างยิ่งที่พวกเราชาวไทยทุกคนจะได้ร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานถวายพระพรให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานตลอดไป