ผู้เขียน หัวข้อ: อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์  (อ่าน 1406 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์



อย่าง ที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า “กรดยูริก” คือ สารที่เป็นตัวการทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ สาเหตุสำคัญก็มาจาก “สารพิวรีน” ทั้งที่มีอยู่ในร่างกายและที่มีอยู่ในอาหาร และวิธีการจำกัดอาหาร จะช่วยควบคุมกรดยูริกได้เฉพาะกรดยูริกที่เกิดจากสารพิวรีนที่ได้มาจากอาหาร ที่รับประทานเท่านั้น
   
ในผู้ป่วยโรคเกาต์เอง เมื่อมาพบแพทย์ก็มักจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์กลับไป ในเรื่องการปฏิบัติตัว การใช้ชีวิตประจำวัน การทำงานบางอย่างที่มีข้อยกเว้น และข้อแนะนำที่สำคัญก็คือ การปฏิบัติตัวให้เกิดขึ้นกับพฤติกรรมการกิน ที่ผู้ป่วยหลายคนบอกว่า เปลี่ยนไปเพราะโรคเกาต์
   
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอาหารที่เหมาะและไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามปริมาณของสารพิวรีนในอาหาร
   
1. อาหารที่มีสารพิวรีนมาก
   
อาหาร ที่มีสารพิวรีน มาก จะมีผลต่อการอักเสบของโรคเกาต์ และมีผลอย่างมากต่อการเกิดโรคเกาต์ สำหรับอาหารที่มีสารพิวรีนมากที่ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรงดเว้นและหลีกเลี่ยง ได้แก่
   
ตับ, น้ำต้มเนื้อ, น้ำเกาเหลา, ไต, น้ำสกัดจากเนื้อเข้มข้น, ตับอ่อน
   
น้ำซุปใส, ปลาไส้ตัน, น้ำปลาและกะปิจากปลาไส้ตัน
   
ปลาซาร์ดีน, ยีสต์และอาหารหมักจากยีสต์ เช่น เบียร์
   
หอยเชลล์, ปลาทู, ปลารัง, เนื้อไก่, เป็ด, นก และ ไข่ปลา
   
2. อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง
   
อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง ก็ยังถือว่าต้องควบคุมปริมาณการรับประทาน
   
ซึ่ง หมายถึงการรับประ ทานอาหารชนิดนี้ในปริมาณจำกัดผู้ป่วยโรคเกาต์ทานได้ในปริมาณจำกัด สำหรับอาหารที่มีสารพิวรีนปานกลางที่ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรงดเว้นและหลีกเลี่ยง ได้แก่
   
เนื้อวัว, กระเพาะ, ผ้าขี้ริ้ว, เอ็น, เนื้อหมู, เนื้อปลา
   
ปู, กุ้ง, หอย, ถั่วเหลือง, ถั่วดำ, ถั่วแดง, ถั่วเขียว                   
   
ผัก, หน่อไม้ฝรั่ง, ผักโขม, เห็ด, ดอกกะหล่ำ, ชะอม รวมทั้งกระถิน
   
3. อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย หรือเกือบไม่มีเลย
   
อาหาร ที่มีสารพิวรีนน้อย หรือเกือบจะไม่มีสารพิวรีนเลย เป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้โดยไม่แสลง สำหรับอาหารที่มีสารพิวรีนน้อย หรือเกือบไม่มีเลยที่ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรควบคุมปริมาณการรับประทาน ได้แก่
   
ข้าวขาว, ขนมจีน, เส้นก๋วยเตี๋ยวทุกชนิด, วุ้นเส้น
       
บะหมี่, เส้นหมี่, ขนมปังปอนด์, มะกะโรนี, ข้าวโพด
     
แคร็กเกอร์สีขาว, ไข่, นม, ผลิตผลจากนม เช่น เนยแข็ง ไอศกรีม
   
น้ำมัน, น้ำมันพืช, กะทิ, เนย, น้ำมันหมู
     
ผัก, ผลไม้ทุกชนิด, เกาลัด, เม็ดมะม่วงหิมพานต์
   
ขนมหวานต่าง ๆ ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เค้ก คุกกี้
   
เครื่องดื่ม เช่น กาแฟ, ชา, โกโก้ และ ช็อกโกแลต
   
ทั้งนี้ นอกจากการงดรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการปฏิบัติตัวอื่น ๆ ที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ ดังนี้
   
1) ทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
   
2) ดื่มน้ำวันละมาก ๆ เพื่อช่วยขับถ่ายกรดยูริก
   
3) งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้าชนิดต่าง ๆ เบียร์
   
4) หากจะต้องทำการผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าเป็นโรคเกาต์ เพื่อป้องกันโรคเกาต์กำเริบหลังผ่าตัด
   
5)  หลีกเลี่ยงภาวะเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ พยายามทำจิตใจให้สงบ.

ผศ.นพ.กิตติ โตเต็มโชคชัยการ
หน่วยโรคภูมิแพ้ อิมมูโนวิทยา และโรคข้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=506&contentId=123563

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)