ผู้เขียน หัวข้อ: หนูหวาน-วโรณิกา โลกน่าอยู่กับการเป็น 'ผู้ให้'  (อ่าน 2229 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



“เพราะเป็นผู้หนึ่งที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ ที่ภูเก็ตเมื่อหลายปีก่อน และได้มีโอกาสใช้ความสามารถด้านภาษา อาสาเข้าไปเป็นล่ามสื่อสารกับชาวต่างชาติในโรงพยาบาลพังงาในเหตุการณ์นั้น จึงเป็นแรงบันดาลใจอยากทำงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร”

“หนูหวาน–วโรณิกา  จูน  เรซ” เปิดฉากเล่าถึงที่มาที่ไป ที่เธอ พี่สาว และครอบครัว ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิมหาสมุทรแห่งปัญญา เพื่อช่วยสนับสนุนด้านการศึกษาให้กับเด็กที่ยากจนและขาดแคลน

หลังจากเรียนปริญญาตรีด้านภาษาศาสตร์และการสื่อสาร จาก ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ แมริแลนด์ คอลเลจ ปาร์ค  เธอได้เข้าทำงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในอเมริกา ที่นั่นทำให้มุมมองที่มีต่อองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในสายตาของหนูหวานกว้างขึ้น และเห็นสัจธรรมที่ว่า “องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเงินทุนจากการบริจาค แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาใช้เงินนั้นอย่างชาญฉลาดและมีคุณธรรม”

“หนูหวานเห็นว่าเงินบริจาคส่วนใหญ่จะหมดไปกับยอดเงินเดือนของพนักงาน เงินเดือนของฝ่ายการตลาด ฝ่ายเขียนขอทุน แทนที่จะเอาเงินบริจาคไปช่วยผู้ด้อยโอกาสตามที่โฆษณา หรือแม้กระทั่งละลายไปกับงานเลี้ยงแสดงมุฑิตาจิตสำหรับผู้บริหาร เพียงคืนเดียวใช้เงินบริจาคไปกว่า 6 แสนเหรียญโดยไม่มีใครเสียดาย”

หนูหวานกลับมาเมืองไทยเพราะต้องการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว และพบข้อมูลขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรในเมืองไทย ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับในอเมริกา คือ เงินบริจาค 5 พันบาท แต่ถึงมือเด็กเพียง 700 บาท หนูหวานจึงตั้งใจว่าจะบริจาคเงินให้เด็กโดยตรง โดยไม่ผ่านองค์กรใด แต่ต้องการทำให้เป็นระบบ ที่เงินบริจาคหนึ่งปีจะถูกดูแลโดยครูและอาจารย์ใหญ่ วางโครงสร้างให้ต่างฝ่ายต่างควบคุมกันเอง ไม่ใช่ยื่นตรงให้พ่อแม่ของเด็ก แล้วเงินถูกใช้ไปอย่างไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค

สาวคนนี้มั่นใจว่าต้องมีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากคิดแบบเดียวกับเธอ เธอจึงตัดสินใจที่จะตั้งมูลนิธิเพื่อเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เงินที่บริจาคถึงมือผู้รับอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย   และถูกใช้อย่างคุ้มค่า จึงก่อตั้งมูลนิธิมหาสมุทรแห่งปัญญาขึ้น เมื่อปี 2550 โดยพนักงานที่ทำงาน และอาสาสมัครในมูลนิธินี้จะไม่มีเงินเดือน ต้องทำงานฟรี เป็นอาสาสมัครจริง ๆ

“มีมูลนิธิฯดูแลนักเรียนอยู่สองโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ เด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กชาวเขา แต่ก็มีเด็กกระจายอยู่ตามจังหวัดอื่น ๆ เวลาหนูหวานหรือพี่หนูดี (วนิษา เรซ) อ่านหนังสือพิมพ์เจอเรื่องของเด็กที่ด้อยโอกาส  เช่น เด็กติดเชื้อเอดส์จากแม่ และเด็ก ๆ ที่พ่อแม่โดนฆาตกรรม ทางมูลนิธิฯก็จะใช้เงินบริจาคกระจายไปให้ทั่วถึง”

นอกจากการสนับสนุนด้านการศึกษา หนังสือ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ แล้ว ยังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ โดยกิจกรรมที่เด็ก ๆ ชอบกันมากก็คือ ศิลปะ เด็กบางคนไม่เคยแม้แต่จะจับอุปกรณ์ระบายสี มูลนิธิฯจึงจัดหาอุปกรณ์ศิลปะ โดยมีคณะครูและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่ง

หนึ่งในเชียงใหม่มาช่วยสอน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ให้เด็กได้ลงมือทดลองทำจริง สร้างประสบการณ์การเรียนรู้แบบที่พวกเขาไม่เคยสัมผัสมาก่อน

หนูหวานบอกว่า ก่อนก่อตั้งมูลนิธิฯมีคนคัดค้านเธอมากมาย หลายคนบอกว่าจะเป็นภาระสำหรับเธอ บ้างก็ว่ารอให้เกษียณอายุก่อนแล้วค่อยทำ เธอก็ค้านว่า การช่วยเหลือเด็ก ๆ เป็นเรื่องที่รอไม่ได้ เธอรู้ดีว่าแค่เธอเพียงคนเดียวคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กและชุมชนให้เติบโตแบบก้าวกระโดดได้ แต่หากทุกคนช่วยกัน เริ่มจากสังคมเล็ก ๆ รอบตัวเรา อาจเป็นวัด โรงเรียนใกล้บ้าน ไปช่วยดูแลเด็กกำพร้าในวันหยุด ไปสอนอาชีพให้ผู้หญิงที่โดนทำร้าย การทำความดีช่วยเหลือสังคมก็จะขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น

“สิ่งที่ยิ่งใหญ่หลาย ๆ อย่างในโลกนี้ ก็เริ่มจากจุดเล็ก ๆ เสมอ  หนูหวานคิดว่า เมื่อไหร่ที่เราเริ่มเป็นผู้ให้  โลกจะกลายที่ที่น่าอยู่ขึ้นมากมายค่ะ” หนูหวานทิ้งท้าย.   

นภาพร พานิชชาติ

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=281&contentId=123702
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...