ผู้เขียน หัวข้อ: หัวใจเศรษฐี : ทีฆชาณุสูตร  (อ่าน 2523 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
หัวใจเศรษฐี : ทีฆชาณุสูตร
« เมื่อ: มีนาคม 01, 2011, 08:21:58 am »



หัวใจเศรษฐี : ทีฆชาณุสูตร
(ทีฆชาณุสูตร ๒๓/๒๕๖)

สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกฬิยะ ชื่อว่ากักกรปัตตะ
ในครั้งนั้น มีชายคนหนึ่งชื่อทีฆชาณุ หรืออีกนามหนึ่งว่าพยัคฆปัชชะ

ได้เข้าไปเฝ้า แล้วกราบทูลว่า

“ข้าแต่พระองค์เจ้าผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ ยังบริโภคกาม อยู่ครองเรือน…
ยังยินดี
ทองและเงินอยู่


ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรม ที่เหมาะแก่ข้าพระองค์ อันจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
 เพื่อความสุขในปัจจุบัน   เพื่อประโยชน์และความสุขในภายหน้าเถิด พระเจ้าข้า”

พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า

“พยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ และเพื่อความสุขในปัจจุบัน
แก่กุลบุตร คือ

๑. อุฏฐานสัมปทา ๒. อารักขสัมปทา ๓. กัลยาณมิตตตา ๔. สมชีวิตา…”

(ทีฆชาณุสูตร ๒๓/๒๕๖)


ลายแทง ๔ ข้อนี้ จัดว่าเป็น “หัวใจเศรษฐี” ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่ทีฆชาณุ
ที่เราเอามาย่อว่า อุ อา กะ สะ มีคำอธิบายโดยย่อ ดังนี้


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: หัวใจเศรษฐี : ทีฆชาณุสูตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 01, 2011, 08:26:11 am »




1. อุ ย่อมาจากคำว่า อุฏฐานสัมปทา แปลว่า ให้ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร
ในการแสวงหาความรู้ หนักเอาเบาสู้ในหน้าที่การงาน ที่ได้รับมอบหมาย
กิจการทั้งหลายต้องรู้จักรับผิดชอบ โบราณกล่าวว่า

ทรัพย์นี้มิไกล ใครปัญญาไว หาได้บ่นาน
ทั่วแคว้นแดนดิน มีสิ้น ทุกสถาน  ผู้ใดเกียจคร้าน บ่พาน พบนา

ซึ่งหมายถึง ทรัพย์สินเงินทอง มีอยู่ทุกหนแห่ง ขออย่างเดียว
อย่าเกียจคร้านให้ลงมือทำงานทุกชนิดอย่างจริงจังตั้งใจ

งาน คือ ชีวิต ชีวิต คือ งานบันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุขเมื่อทำงาน
มิใช่รอความสุขจากความสำเร็จของงานอย่างเดียวขาดทุนและขอให้ถือคติว่า
ขี้เกียจเป็นแมลงวัน ขยันเป็นแมลงผึ้ง ขี้หึงเป็นแมลงป่อง จองหองเป็นกิ่งก่า

ความถึงพร้อมด้วย

ความขยันหมั่นเพียร หมายถึง ถ้าอยากเป็นเศรษฐี ก่อนอื่นต้องมีความขยันหมั่นเพียร
เริ่มตั้งแต่ต้องขยันหมั่นเพียรในการแสวงหาความรู้ วิชาการต่าง ๆ

ตลอดจนการเรียนรู้วิชาชีพ ขยันหมั่นเพียรในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมาย
ให้กระทำโดยไม่บกพร่อง และพยายามแก้ไขการงานที่ได้รับมอบหมาย

หรือที่กระทำอยู่ให้ดียิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การงานมีประสิทธิภาพ
และได้ผลดีที่สุด ต้องขยันทำมาหากิน โดยไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคที่ต้องเผชิญหน้า
ตลอดจนต้องคอยศึกษาหาความรู้
สำหรับใช้รักษาตัวเองและครอบครัวมิให้เกิดการเจ็บป่วยด้วย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2011, 03:17:25 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: หัวใจเศรษฐี : ทีฆชาณุสูตร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 01, 2011, 08:33:19 am »


2. อา ความถึงพร้อมด้วยการความหมั่นรักษา หมายถึง
เมื่อได้รับมอบหมายการงานอะไรให้กระทำ หรือเมื่อได้ดำเนินกิจการงานอะไร

ไม่ว่าจะเป็นของตนหรือของคนอื่นก็ดี

ต้องเป็นคนมีความรับผิดชอบในการงานหรือกิจการนั้น ๆ มิให้บกพร่องต่อหน้าที่
อะไรที่ยังทำไม่ดีก็พยายามทำให้ดี อะไรที่ต้องแก้ไขปรับปรุงให้ดี

เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานต้องหมั่นดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา
โดยไม่ปล่อยปะละเลย เช่น มีอะไรชำรุดเสียหายก็แก้ไขให้ดี

ตลอดไปจนถึงต้องรู้จักรักษาทรัพย์สินเงินทองที่เกิดจากการปฏิบัติงาน เกิดจากการทำมาหากิน
หรือที่รับผิดชอบอยู่มิให้สูญเสียหรือใช้ไปให้สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์

หรือปราศจากเหตุผลอันสมควรหน้าที่การงานที่กระทำอยู่ หรือกิจการส่วนตัวที่ดำเนินอยู่ก็อย่าให้ต้อง
หลุดมือไปง่าย ๆ เพราะการงานที่ทำแต่ละอย่างไม่ใช่จะหาได้ง่ายนัก

ฉะนั้น เมื่อได้การงานใด ๆ แล้ว ก็อย่าทำให้งานที่ทำนั้นต้องหลุดไป นอกจากกรณีที่เราได้งาน
หรือกิจการใหม่ที่เราพิจารณาเห็นชัดแล้วว่าจะต้องทำให้เราดีกว่าเดิมได้

จึงค่อยพิจารณาเปลี่ยนแปลง ถ้าการงานหรือกิจการที่ดำเนินการอยู่ดีอยู่แล้ว ต้องพยายามรักษาให้ดีที่สุด
และต้องพยายามปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ และประการสำคัญไม่ว่าจะทำงานกับใคร

ที่ไหนก็ตามต้องถือว่างานนั้นเป็นงานของเราเอง เพราะถ้ากิจการของเขาเจริญขึ้น
เราก็จะพลอยได้ผลประโยชน์ไปด้วย ถ้ากิจการของเขาเลวลง เราก็จะต้องพลอยลำบากไปด้วย
 


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: หัวใจเศรษฐี : ทีฆชาณุสูตร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 01, 2011, 08:45:16 am »

3. กะ ย่อมาจากคำว่า กัลยาณมิตตตา แปลว่า การมีเพื่อนเป็นคนดี
ไม่คบคนชั่ว เพราะคบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล

 คบคนจึงต้องดูหน้าว่าเพื่อนเป็นคนดีที่มีลักษณะไม่เป็นคนปอกลอก ไม่ดีแต่พูด
ไม่หัวประจบและไม่เป็นคนชักชวน ไปในทางฉิบหาย

มีการดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน มั่วเมาในการเล่นและผีการพนันเข้าสิงจิตใจ และขอให้ถือคติว่า
มีเพื่อนดีมีหนึ่งถึงจะน้อย ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา

เหมือนมีเกลือนิดหน่อยด้อยราคา ดีกว่าน้ำเค็มเต็มทะเล



กัลยาณมิตรธรรม 7 องค์คุณของกัลยาณมิตร , คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้

คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้ คือ ท่านที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ
ในที่นี้มุ่งเอามิตรประเภทครูหรือพี่เลี้ยงเป็นสำคัญ

1.น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม (ปิโย )
2.น่าเคารพ ในฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้ และปลอดภัย (คร)

3.น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง
ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุง ตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง
ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ ( ภาวนีโย)

4.รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอย่างไร
คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี ( วตฺตา จ)

5.อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา ชักถาม นำเสนอ
และวิพากษ์วิจารณ์ อดทนฟังได้ ไม่เบื่อไม่ฉุนเฉียว ( วจนกฺขโม)

6.แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจ
และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ่งยิ่งขึ้นไป

7.ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล
หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
(โน จฏฺฐาเน นิโยชเย)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2011, 03:28:31 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: หัวใจเศรษฐี : ทีฆชาณุสูตร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 01, 2011, 09:31:36 am »


มิตรปฏิรูปก์ หรือ มิตรเทียม 4
คนเทียมมิตร , คนที่พึงทราบว่าเป็นศัตรูผู้มาในร่างของมิตร


1.คนปอกลอก คนขนเอาของเพื่อนไปถ่ายเดียว อัญญทัตถุหร มีลักษณะ 4 คือ

1.1 คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
1.2 ยอมเสียน้อย โดยหวังจะเอาให้มาก
1.3 ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
1.4 คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์

2.คนดีแต่พูด วจีบรม มีลักษณะ 4 คือ 

2.1 ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย
2.2 ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย
2.3 สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้
2.4 เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง

3.คนหัวประจบ อนุปปิยภาณี มีลักษณะ 4 คือ

3.1 จะทำชั่วก็เออออ
3.2 จะทำดีก็เออออ
3.3 ต่อหน้าสรรเสริญ
3.4 ลับหลังนินทา

4.คนชวนฉิบหาย อปายสหาย มีลักษณะ 4 คือ

4.1 คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
4.2 คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
4.3 คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
4.4 คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน




4. สะ ย่อมาจากคำว่า สมชีวิตา แปลว่า การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้
 รู้จักกำหนดรายรับและรายจ่าย

อย่าให้สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือยหรืออัตคัดขัดสนจนเกินไปให้รู้จักออมเงิน
ออมเงินเอาไว้ ฉุกเฉินเมื่อไร จะได้ใช้เงินออม และขอให้ถือคติว่า

มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
แม้มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน


โดย : ธารธรรม 
  :  http://taradharma.exteen.com/20070324/entry
Pics by : Google
เรียนขออนุญาตนำมาเผยแผ่
อกาลิโกโฮม * สุุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2011, 04:00:44 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: หัวใจเศรษฐี : ทีฆชาณุสูตร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 10:14:41 am »



ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔
“ธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ในปัจจุบัน”

๑. ความหมายของทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔

เรื่องทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ แปลว่า “ธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ในปัจจุบัน” หมายถึงประโยชน์อันพึงได้รับจากการประกอบกิจการหรือมีอาชีพที่สุจริต ถูกต้องทั้งทางกฎหมายและศีลธรรม ผลประโยชน์ที่ได้จากการประกอบกิจนั้น เป็นผลที่ได้ทันตาเห็นไม่ต้องรอถึงภายภาคหน้า

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการประกอบกิจ อาจจะเป็นเงิน สิ่งของ ชื่อเสียง เกียรติยศ การยกย่องสรรเสริญ หรือกลบ่าวอย่างง่าย ๆ ว่าเป็นผลประโยชน์อาจเป็นวัตถุหรือผลตอบแทนทางด้านจิตใจก็ได้ อาจเป็นสิ่งที่บุคคลทั่ว ๆ ไปปรารถนา การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะได้มาซึ่งประโยชน์นั้น จะต้องแสวงหาอย่างมีหลักการและมีแผนการ ซึ่งหลักการและแผนการนี้ เรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ในปัจจุบัน อันมีอยู่ ๔ ประการ คือ

๑. ความขยันมั่นเพียร
๒. การรู้จักรักษาทรัพย์และประหยัด
๓. คบคนดีเป็นมิตร
๔. เลี้ยงชีพตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาให้

คนดีเมื่อมีทรัพย์สมบัติและบริวารแล้ว ควรปฏิบัติธรรมเรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
คือ ธรรมอันเป็นเหตุให้ได้ประโยชน์ในปัจจุบัน คือ

๑. อุฏฐานสัมปทา มีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบกิจหน้าที่การงานหรือการศึกษาเล่าเรียน (ขยันหา)
๒. อารักขสัมปทา รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ หรือรักษาความดีให้คงอยู่ (รักษาดี)
๓. กัลยาณมิตตา คบแต่คนดีเป็นมิตร (มีกัลยาณมิตร)
๔. สมะชีวิตา ใช้จ่ายเลี้ยงชีพให้เหมาะสมแก่ฐานะ ไม่ฟุ่มเฟือย หรือ สุรุ่ยสุร่าย หากบุคคลใดตั้งอยู่ในคุณธรรมเหล่านี้ จะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ (เลี้ยงชีวิตตามควร)

หลักทางศาสนาเกี่ยวกับการใช้จ่ายเลี้ยงชีพ เป็น “สมะชีวิตา” นั้น ให้แบ่งทรัพย์ที่หามาได้เป็น ๕ ส่วน ดังนี้

“ทิ้งเหว – ใส่ปากงู – ให้เขากู้ – ฝังดินไว้ – ใช้หนี้เก่า”

๑. ใช้หนี้เก่า ๑ ส่วน ให้บำรุงเลี้ยงดูบุพพการี บิดามารดา ญาติ พี่น้องและมิตรสหาย
๒. ทิ้งลงเหว ๑ ส่วน สำหรับใช้จ่ายบริโภค
๓. ใส่ปากงู ๑ ส่วน ให้ภรรยาเก็บไว้ยามขาดแคลนและป่วยไข้ ได้รักษา
๔. ให้เขากู้ ๑ ส่วน ให้เลี้ยงดูบุตรธิดาศึกษาเล่าเรียน
๕. ฝังดินไว้ ๑ ส่วน ให้ทำบุญให้ทานฝากไว้ในพระพุทธศาสนา ทำลายมัจฉริยะตระหนี่

อมฤตธรรม
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amarittadham&month=01-2008&date=17&group=7&gblog=19