ผู้เขียน หัวข้อ: ทิฏฐิธรรม  (อ่าน 2983 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ทิฏฐิธรรม
« เมื่อ: มีนาคม 18, 2011, 10:24:07 am »


ทิฏฐิธรรม
ธรรมะน่ารู้

ทิฏฐิ ธรรมทั้งหลาย ของเจ้าทิฏฐิใด เป็นธรรมที่บุคคลนั้น กำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่งกระทำไว้ในเบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่และบุคคลนั้นเป็นผู้อาศัยอานิสงส์ที่เห็นอยู่ในตนและอาศัยสันติที่ กำเริบที่อาศัยกันเกิดขึ้น เขาพึงยกตนหรือข่มผู้อื่น.

ความถือมั่น ด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเลย การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น ก็ไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสละธรรมบ้าง ยึดถือธรรมบ้าง.

ทิฏฐิ ที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก เพราะบุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า.

บุคคล ผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลายใครๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงด้วยกิเลสอะไรอย่างไร เล่า เพราะทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ.

เราย่อมเห็นนรชนผู้ หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่าความเห็นนี้เป็นเยี่ยม ดังนี้ ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณบุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด.

หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น หรือว่านรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณ(ปัญญา)ไซร้ นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วย มรรคอื่น เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น.

พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น ในอารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป ละเสียซึ่งตน เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้.

บุคคลใดลอยบาปทั้งปวง เสียแล้ว ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่น(วิปัสสนา)ด้วยดี มีตนตั้งอยู่แล้ว บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้สำเร็จกิจเพราะล่วงสงสารได้แล้ว อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ เรียกว่าเป็นพราหมณ์.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไปตามความแสวงหาย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือย่อมละ เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น.

ชันตุ ชน สมาทานวัตรทั้งหลายเอง เป็นผู้ข้องในสัญญา ย่อมดำเนินผิดๆถูกๆ ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิดๆ ถูกๆ.

บุคคล ผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใครๆ ในโลกนี้พึงกำหนด ซึ่ง บุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นผู้ประพฤติเปิดเผยด้วยกิเลสอะไรเล่า.

สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า สัตบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดส่วนเดียวสัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็นเครื่องถือมั่น ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว ไม่ทำความหวังในที่ไหนๆ ในโลก.




~ ..ขอน้อมถวายเป็นอาจาริยบูชา.. ~
http://www.bhodhiyalaya.com/
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ


นั่นไม่ใช่ของเรา  นั่นไม่เป็นเรา   นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 19, 2015, 11:15:44 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทิฏฐิธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 18, 2011, 11:17:12 am »


   พระสูตร ทิฏฐิกถา  
   ว่าด้วย ทิฏฐิ

         [๒๙๔] ที่ ตั้งแห่งทิฏฐิเท่าไร ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเท่าไร ความถือผิดแห่งทิฏฐิเท่าไร ความถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดเท่าไร 
         ถามว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ ถามว่าความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ ถามว่าทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ทิฏฐิ ๑๖ ถามว่า ความถือผิดแห่งทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ความถือผิดแห่งทิฏฐิ ๑๓๐ ถามว่า ความถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน ตอบว่า โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิ

          [๒๙๕] ถาม ว่า ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดเท่าไร ตอบว่า ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

         [๒๙๖] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่ง จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

         [๒๙๗] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพะสัญญา ธรรมสัญญาว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพะสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนาว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพะตัณหา ธรรมตัณหาว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพะวิตก ธรรมวิตกว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพะวิจาร ธรรมวิจารว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

         [๒๙๘] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ วิญญาณกสิณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

         [๒๙๙] ๒๙๙ ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม ห้วใจ ตับ พังผืด ไต ฯลฯ น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมอง ศีรษะว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

         [๓๐๐] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธรรมายตนะ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

         [๓๐๑] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่ง จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

         [๓๐๒] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เมตตาเจโตวิมุติ กรุณาเจโตวิมุติ มุทิตาเจโตวิมุติ อุเปกขาเจโตวิมุติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

         [๓๐๓] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งอวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชราและมรณะว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดอย่างนี้

   [๓๐๔] ที่ ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ เป็นไฉน   แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ แม้อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ มิตรชั่ว เสียงแต่ที่อื่นทุกอย่าง เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ
         ขันธ์ทั้งหลายเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้ ... อวิชชา... ผัสสะ... สัญญา... วิตก... อโยนิโสมนสิการ... มิตรชั่ว... เสียงแต่ที่อื่น ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเพราะอรรถว่า เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้เสียงแต่ที่อื่นก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้ ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ เหล่านี้


   [๓๐๕] ความ กลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ เป็นไฉน  ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิที่ไป ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นสมภพ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยกรอง ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ เหล่านี้

   [๓๐๖] ทิฏฐิ ๑๖ เป็นไฉน   คือ อัสสาททิฏฐิ ๑ อัตตานุทิฏฐิ ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ สักกายทิฏฐิ ๑ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๑ อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิ ๑ ปุพพันตานุทิฏฐิ ๑ อปรันตานุทิฏฐิ ๑ สังโยชนิกาทิฏฐิ ๑ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา ๑ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา ๑ ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ ๑ ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ ๑ ภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑ ทิฏฐิ ๑๖ เหล่านี้

         [๓๐๗] อัส สาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการเท่าไร อัตตานุทิฏฐิ... มิจฉาทิฏฐิ... สักกายทิฏฐิ... สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ... อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ... อันตคาหิกทิฏฐิ... ปุพพันตานุทิฏฐิ... อปรันตานุทิฏฐิ... สังโยชนิกาทิฏฐิ... ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา... ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา... ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะ... ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยโลกวาทะ... ภวทิฏฐิ... วิภวทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการเท่าไร

         [๓๐๘] อัส สาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ อัตตานุทิฏฐิ...๒๐ มิจฉาทิฏฐิ...๑๐ สักกายทิฏฐิ...๒๐ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ...๑๕ อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ...๑๕ อันตคาหิกทิฏฐิ...๕๐ ปุพพันตานุทิฏฐิ...๑๘ อปรันตานุทิฏฐิ...๔๔ สังโยชนิกาทิฏฐิ...๑๘ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา...๑๘ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา...๑๘ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะ...๒๐ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยโลกวาทะ...๘ ภวทิฏฐิ...๑๙ วิภวทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๙

   [๓๐๙] อัส สาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นไฉน  ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า สุขโสมนัส อาศัยรูปใดเกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะ(ความยินดี)แห่งรูป
         ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง อัสสาทะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะนี้ ท่านกล่าวว่า อัสสาททิฏฐิ
         อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้นั้นมีทิฏฐิลามก
         ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะนี้ ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ
         บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้นั้นมีทิฏฐิลามก
         อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อนึ่งบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ สมาทานกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ธรรมทั้งปวง คือ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่า ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้นั้นมีทิฏฐิลามก เปรียบเหมือนพืชสะเดา พืชบวบขม หรือพืชน้ำเต้าขม ที่เขาฝังลงในแผ่นดินเปียก อาศัยรสแผ่นดินและรสน้ำ พืชทั้งปวงนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของมีรสขม รสปร่า ไม่เป็นสาระ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นมีพืชเลวฉันใด บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมาทานกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิธรรมทั้งปวง คือ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้นั้นมีทิฏฐิลามก
         อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิทื่ไป ทิฏฐิรกชัฏ ฯลฯ ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิดและลูบคลำ


         [๓๑๐] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า สุขโสมนัส อาศัยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส จักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนาใดเกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา
         ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะไม่ใช่ทิฏฐิ... ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิดและลูบคลำ ความเกี่ยวข้องแห่งจิตอันทิฏฐิกลุ้มรุม เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ ด้วยอาการ ๑๘ นี้

         [๓๑๑] สังโยชน์ และทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์และทิฏฐิเป็นไฉน   ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและสีลัพพตปรามาสเหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ สังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิเป็นไฉน   กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้ เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เหล่านี้

   [๓๑๒] อัต ตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน   ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ย่อมเห็๋นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง

           [๓๑๓] ปุถุชน ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีรูปเป็นวัตถุที่ ๑
         อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยอัตตานุทิฏฐิ ย่อมมีคติเป็นสอง ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ
         บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นอาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสวางก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้


         [๓๑๔] ปุถุชน ย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้น มีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่า มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้น มีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็๋นตนว่ามีรูป
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทิฏฐิธรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 18, 2011, 11:42:16 am »


[๓๑๕] ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้ มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้อย่างหนึ่ง กลิ่นหอมอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้นั้นแล มีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขาย่อมมีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนของเรานี้มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นรูปในตน
      ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีรูปเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิ เป็นมิฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตน อย่างนี้

       [๓๑๖] ปุถุชน ย่อมเห็นตนในรูปอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้น มีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในรูป เปรียบเหมือนแก้วมณี ที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแล มีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในรูป
      ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในรูปอย่างนี้


           [๓๑๗] ปุถุชน ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา... มโนสัมผัสสชาเวทนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนอย่างนี้

         [๓๑๘] ปุถุชน ย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็น สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีเวทนาด้วยเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าเห็๋นตนว่ามีเวทนา เปรียบเหมือน ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้นั้นแล มีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่า มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีเวทนาด้วยเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีเวทนา
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้ เป็นสังยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างนี้

         [๓๑๙] ปุถุชน ย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็น สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีเวทนาดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมเป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนของเรานี้มีเวทนา ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนา ในตนอย่างนี้

         [๓๒๐] ปุถุชน ย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็น สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็๋นตนในเวทนา เปรียบเหมือน ฯลฯ ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน... ชื่อว่าย่อมเห็นตนในเวทนา
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้ เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างนี้

           [๓๒๑] ปุถุชน ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา... มโนสัมผัสสชาสัญญา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาโดยความเป็นตน คือย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้ เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างนี้

         [๓๒๒] ] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็น สังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีสัญญาด้วยสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าเห็นตนว่ามีสัญญา เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา... ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น สังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างนี้

         [๓๒๓] ปุถุชน ย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีสัญญาดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสัญญาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม... ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตน อย่างนี้

         [๓๒๔] ปุถุชน ย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็น สังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสัญญา เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนึ้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างนี้


           [๓๒๕] ปุถุชน ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเจตนา... มโนสัมผัสสชาเจตนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาเจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้น เปรียบ เหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างนี้

         [๓๒๖] ปุถุชน ย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็น วิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีสังขารด้วยสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าเห็นตนว่ามีสังขาร เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา... ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น วิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีสังขารเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างนี้

         [๓๒๗] ปุถุชน ย่อมเห็นสังขารในตนอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็น วิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีสังขารดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสังขารในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม... ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีสังขารเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตน อย่างนี้

         [๓๒๘] ปุถุชน ย่อมเห็นตนในสังขารอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็น วิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสังขาร เปรียบเหมือนแก้วมณืที่เขาใส่ไว้ในขวด... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมเห็น วิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างนี้

           [๓๒๙] ปุถุชน ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุวิญญาณ... มโนวิญญาณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนวิญญาณและตนไม่เป็นสองว่า มโนวิญญาณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้ เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างนี้

         [๓๓๐] ปุถุชน ย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าเห็นตนว่ามีวิญญาณ เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา... ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน... นี้ เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างนี้

         [๓๓๑] ปุถุชน ย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีวิญญาณดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นวิญญาณในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างนี้

         [๓๓๒] ปุถุชน ย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในวิญญาณ เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างนี้
         อัตตานุทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้


   [๓๓๓] มิจฉาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิดที่ ๑ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สั่งสอนประชุมชน ให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ
         มิจฉาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้


   [๓๓๔] สักกายทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน
         ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ย่อมเห็๋นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง
         ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร 
         บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมัน กำลังลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นตน ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ฯลฯ นี้เป็นสักกายทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ สักกายทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ สักกายทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้

   [๓๓๕] สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เป็นไฉน
         ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า... ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง เห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง เห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง เห็นตนว่ามีสังขารบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง
         ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร 
         บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดย ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่า มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา... โดยความเป็นตน นี้เป็นสัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุที่ ๑ สัสสตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้ ฯลฯ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทิฏฐิธรรม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 18, 2011, 02:04:33 pm »


   [๓๓๖] อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน 
         ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า... ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นเวทนาโดยความเป็นตน เห็นสัญญาโดยความเป็นตน เห็นสังขารโดยความเป็นตน เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน
         ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร 
         บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ ฯลฯ นี้เป็นอุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุที่ ๑  อุจเฉททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้

   [๓๓๗] อันตคาหิกทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๕๐ เป็นไฉน
         ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ เท่าไร
         ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕

         [๓๓๘] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นทิฏฐิที่ถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ สัญญาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ วิญญาณเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ... นี้เป็นทิฏฐิที่ถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงที่ ๕ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้

         [๓๓๙] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นทิฏฐิที่ถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นทิฏฐิที่ถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงที่ ๕ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกไม่เที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้

         [๓๔๐] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน
         บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดกลม ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่า โลกมีที่สุด ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุดที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
         บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลืองแผ่ไป ทำสีแดงแผ่ไป ทำสีขาวแผ่ไป ทำแสงสว่างแผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดกลมดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่า โลกมีที่สุด ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้


         [๓๔๑] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน
         บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความ เห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ จึงมีความสำคัญว่า โลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุ และเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุดที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
         บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลือง ทำสีแดง ทำสีขาว ทำแสงสว่าง แผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่า โลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิคือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้

         [๓๔๒] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นชีพและเป็นสรีระ ชีพอันใด สรีระก็อันนั้น ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นชีพและเป็นสรีระ สัญญาเป็นชีพและเป็นสรีระ สังขารเป็นชีพและเป็นสรีระ วิญญาณเป็นชีพและเป็นสรีระ ชีพอันใด สรีระก็อันนั้น ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้

         [๓๔๓] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ รูปนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนื่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ สัญญาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ สังขารเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ วิญญาณเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ วิญญาณนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนื่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้


         [๓๔๔] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว ย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว ย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้


         [๓๔๕] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศไป สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีกที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้

         [๓๔๖] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดา ในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้

         [๓๔๗] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดา ในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
         ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดา ในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ อันตคาหิกทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้

   [๓๔๘] ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน 
         สัสสตทิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนและโลกเที่ยง) ๔ เอกัจจสัสสติกาทิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนและโลกเที่ยงเป็นบางอย่าง) ๔ อันตานันติกาทิฏฐิ (ทิฏฐิโลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้) ๔ อมราวิกเขปิกาทิฏฐิ (ทิฏฐิซัดส่ายไม่ตายตัว) ๔ อธิจจสมุปันนิกาทิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ) ๒ ปุพพันตานุทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทิฏฐิธรรม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 18, 2011, 02:07:41 pm »

   [๓๔๙] อปรันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เป็นไฉน 
         สัญญีวาททิฏฐิ (ว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา) ๑๖ อสัญญีวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา) ๘ เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ๘ อุจเฉทวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าสัตว์ตายแล้วขาดสูญ) ๗ ทิฏฐิธรรมนิพพานวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่านิพพานเป็นปัจจุบัน เป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์) ๕ อปรันตานุทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เหล่านี้

   [๓๕๐] สังโยชนิกาทิฏฐิ (ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน 
         ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิที่ไป ทิฏฐิรกชัฏ ฯลฯ ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ สังโยชนิกาทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้

   [๓๕๑] ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน 
         ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาเป็นเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ
         ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า หูเป็นเรา ฯลฯ จมูกเป็นเรา ฯลฯ ลิ้นเป็นเรา ฯลฯ กายเป็นเรา ฯลฯ ใจเป็นเรา ฯลฯ ธรรมารมณ์เป็นเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณเป็นเรา ฯลฯ มโนวิญญาณเป็นเรา ฯลฯ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เป็นเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๑๘ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้

   [๓๕๒] ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน 
         ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาของเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ
         ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า หูของเรา ฯลฯ จมูกของเรา ฯลฯ ลิ้นของเรา ฯลฯ กายของเรา ฯลฯ ใจของเรา ฯลฯ ธรรมารมณ์ของเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณของเรา ฯลฯ มโนวิญญาณของเรา ฯลฯ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ของเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเราที่ ๑๘ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้

   [๓๕๓] ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน 
         ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า... ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ฯลฯ เห็๋นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯลฯ
         ปุถุชนมองเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร   บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง... เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมัน กำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นตน ฯลฯ นี้เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้

   [๓๕๔] ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน
         ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกเที่ยง เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๑ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ
         ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกไม่เที่ยง ฯลฯ ตนและโลกเที่ยง ก็มี ไม่เที่ยงก็มี ฯลฯ ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ ฯลฯ ตนและโลกมีที่สุด ฯลฯ ตนและโลกไม่มีที่สุด ฯลฯ ตนและโลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็ มี ฯลฯ ตนและโลกมีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ ฯลฯ เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๘ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๘ เหล่านี้


   [๓๕๕] ความ ถือผิดด้วยความติดอยู่ เป็นภวทิฏฐิ ความถือผิดด้วยความแล่นเลยไป เป็นวิภวทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฎฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร อัตตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฎฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร ฯลฯ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฎฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร
         อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฎฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิ ก็มี อัตตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฎฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕ มิจฉาทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด สักกายทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด มีความถือผิดด้วย อาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี อปรันตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี สังโยชนิกาทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิทั้งหมดเป็นอัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นสักกายทิฏฐิ เป็นอันตคาหิกทิฏฐิ เป็นสังโยชนิกาทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน เป็นภวทิฏฐิ เป็นวิภวทิฏฐิ ชนเหล่าใดยึดถือทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ญาณในนิโรธ ย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น สัตว์โลกนี้ยึดถือในทิฏฐิใด ก็เป็นผู้มีสัญญาวิปริต เพราะทิฏฐินั้น

   [๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฏฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุมแล้ว พวกหนึ่งย่อมติดอยู่ พวกหนึ่งย่อมแล่นไป ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง ย่อมติดอยู่อย่างไร   ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในธรรมที่เราแสดงเพื่อความดับภพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง ย่อมติดอยู่อย่างนี้แล
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง ย่อมแล่นไปอย่างไร   ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง ย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชังภพ ย่อมยินดีความปราศจากภพว่า ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่า เมื่อใด ตนแต่กายแตกไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เมื่อนั้น ตนเบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก เพราะฉะนั้น ความไม่เกิดนี้ละเอียด ประณีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นไปอย่างนี้แล
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างไร   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง ครั้นแล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับความเป็นสัตว์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างนี้แล   ถ้าภิกษุใด เห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง และก้าวล่วงความเป็นสัตว์แล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมตามที่เป็นจริง เพื่อความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา ภิกษุนั้น กำหนดรู้ความเป็นสัตว์แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยใหญ่ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่มีแห่งความเป็นสัตว์ ดังนี้


   [๓๕๗] บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิสมบัติ
         บุคคล ๓ จำพวกไหน มีทิฏฐิวิบัติ  เดียรถีย์ ๑ สาวกเดียรถีย์ ๑ บุคคลที่มีทิฏฐิผิด ๑ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีทิฏฐิวิบัติ
         บุคคล ๓ จำพวกไหน มีทิฏฐิสมบัติ  พระตถาคต ๑ สาวกพระตถาคต ๑ บุคคลผู้มีทิฏฐิชอบ ๑ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีทิฏฐิสมบัติ
นรชน ใด เป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธ มีความลบหลู่ลามก มีทิฏฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์ พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นคนเลว นรชนใด เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีทิฏฐิ สมบัติ มีปัญญา พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้

   [๓๕๘] ทิฏฐิวิบัติ ๓ ทิฏฐิสมบัติ ๓
         ทิฏฐิวิบัติ ๓ เป็นไฉน   ความเห็นวิบัติว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิวิบัติ ๓ เหล่านี้
         ทิฏฐิสมบัติ เป็นไฉน   ความเห็นอันถูกต้องว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทิฏฐิสมบัติ ๓ เหล่านี้

   [๓๕๙] ทิฏฐิ อะไรว่า นั่นของเรา เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอะไร ทิฏฐิอะไรว่า นั่นเป็นเรา เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอะไร ทิฏฐิอะไรว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอะไร
         ความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีตว่า นั่นของเรา เป็นทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือขันธ์ส่วนอดีต ความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคตว่า นั่นเป็นเรา เป็นทิฏฐิ ๔๔ ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือขันธ์ส่วนอนาคต อัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นสักกายทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ ทิฏฐิ ๖๒ โดยมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ทั้ง ส่วนอดีตและส่วนอนาคต

   [๓๖๐] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงความเชื่อแน่ในเรา ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้
         บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้  บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑ โกลังโกละโสดาบัน ๑ เอกพีชีโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อในธรรมนี้
         บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนึ้   บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อุทธังโสโตอกนิฏฐาคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงความเชื่อแน่ในเรา บุคคล เหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคล ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้

         [๓๖๑] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่างแน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวม ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพชั้นสุทธาวาส ในธรรมนี้
         บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้  บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑... พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อในธรรมนี้
         บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑... อุทธังโสโตอกนิฏฐาคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่างแน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวม ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพชั้นสุทธาวาส ในธรรมนี้ ฉะนี้แล



~ ..ขอน้อมถวายเป็นอาจาริยบูชา.. ~
http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=3112.0
นำมาแบ่งปันโดย : น้องจิงกาเบล
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 19, 2014, 06:18:37 am โดย ฐิตา »